ชวนตามรอยเส้นทางสายบุญ 4 จังหวัด ภาคใต้ 🚙
"ไหว้ 4 พระธาตุ" ศักดิ์สิทธิ์ เที่ยวตามสักครั้ง ปังไปทั้งปี ✨
.
ชวนทุกคนออกเดินทาง ไปเช็กอินกินเทียวภาคใต้ ผ่าน 1 เส้นทางการท่องเที่ยว เชื่อม ความศรัทธาผ่าน 4 พระธาตุคู่บ้านคู่เมือง อันศักดิ์สิทธิของคนไทย พร้อมชมความงามธรรมชาติ 2 ข้างทาง กับ “สวรรค์แดนใต้ แหล่งธรรมมะ” ขึ้นชื่อว่าเมืองไทย ดินแดนเมืองพุทธ จึงมีวัดต่าง ๆ มากมาย เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ให้ผู้ที่มีจิตศรัทธาเข้าไปสักการะ ทำบุญและขอพร พร้อมเป็นแหล่งยึดเหนี่ยวจิตใจมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ จนเกิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม
.
📍Location📍
📌 ชุมพร : วัดพระบรมธาตุสวี หนึ่งในจตุธรรมธาตุของดินแดนทางภาคใต้ เจดีย์ทรงระฆังคว่ำ ตกแต่งด้วยกระเบื้องโมเสคสีทองอร่าม มีอายุมากว่า 700 ปี
.
📌 สุราษฎร์ธานี : วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร สถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นวัดแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ยังคงรักษาศิลปกรรมสมัยศรีวิชัยได้อย่างสมบูรณ์แบบ
.
📌 นครศรีธรรมราช : วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่ที่สุดในภาคใต้ และเป็นเจดีย์ทรงระฆังองค์แรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังมีความน่าอัศจรรย์จนผู้คนเรียกว่า พระธาตุไร้เงา
.
📌 พัทลุง : พระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว พระธาตุคู่บ้านคู่เมือง ตั้งแต่สมัยศรีวิชัย และเป็นโบราณสถานที่เก่าแก่มากที่สุดของจังหวัดพัทลุง ที่มีอายุมาอย่างยาวนานกว่า 1,000 ปี
.
🎉 สำหรับพิกัด เส้นทางสายบุญ “เที่ยวใต้ ไหว้ 4 พระธาตุ” ใน 4 จังหวัดภาคใต้ อย่างชุมพร สุราษฎร์ฯ นครศรีฯ และพัทลุง เพื่อเก็บเกี่ยวบุญบารมี เสริมความปังไปทั้งปี ใครกำลังมองหาที่เที่ยวไหว้พระ ทำบุญ เสริมดวง ห้ามพลาดโพสต์นี้เด็ดขาด ‼️
.
#เที่ยวใต้ไหว้4พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ #ชีพจรลงsouth #วันธรรมดาเที่ยวใต้ #การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย #ททท #นครศรีธรรมราช #พัทลุง #ชุมพร #สุราษฎร์ธานี #วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร #พระบรมธาตุสวี #วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร #พระบรมธาตุเจดีย์เขียนบางแก้ว
同時也有1837部Youtube影片,追蹤數超過0的網紅Channel RL,也在其Youtube影片中提到,อัพเดทถนนหนทาง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 240664...
จังหวัด 在 My Mate Nate Facebook 的最佳貼文
เล่นซ่อนแอบ 2จังหวัด อ่างทอง และ สิงห์บุรี!! ใหญ่ 1,790 กิโลเมตร!!!
จังหวัด 在 Facebook 的最佳解答
เตือน 9 จังหวัด รวมทั้ง กทม.ครับ จากปัจจัยหลักคือ การระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักฯ
1. จังหวัดชัยนาท แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตำบลโพนางดำออก และตำบลโพนางดำตก อำเภอสรรพยา
2. จังหวัดสิงห์บุรี แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเสือข้าม วัดสิงห์ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี
3. จังหวัดอ่างทอง คลองโผงเผง และแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดไชโย อำเภอไชโย และอำเภอป่าโมก
4. จังหวัดลพบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณอำเภอพัฒนานิคม
5. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณคลองบางบาล และริมแม่น้ำน้อย บริเวณตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอผักไห่ และริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอท่าเรือ และอำเภอนครหลวง อำเภอพระนครศรีอยุธยาจรดแม่น้ำเจ้าพระยา
6. จังหวัดสระบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเมือง อำเภอเสาไห้ และอำเภอบ้านหมอ
7. จังหวัดปทุมธานี บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
8.จังหวัดนนทบุรี บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
9.กรุงเทพมหานคร แนวคันกั้นน้ำบริเวณพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
#น้ำท่วม
ประกาศ กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ
ฉบับที่ 16/2564
เรื่อง เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา
จากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมภาคกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในช่วงวันที่ 22 - 24 กันยายน 2564 และการคาดหมายของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 28 กันยายน – 2 ตุลาคม 2564 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน และส่งผลให้เกิดน้ำหลากในพื้นที่ดังกล่าวได้
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ประเมินปริมาณฝนที่ตกหนักสะสมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนและลุ่มน้ำป่าสัก คาดว่ามีน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาไหลลงเหนือเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากลุ่มน้ำปิงจากบริเวณคลองสวนหมาก อำเภอเมืองกำแพงเพชร
จำนวน 438 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 267 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดนครสวรรค์ (C.2) อยู่ในอัตราประมาณ 2,750 - 2,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีปริมาณน้ำหลากจากแม่น้ำสะแกกรังไหลผ่านสถานีวัดน้ำจังหวัดอุทัยธานี (Ct.19) อยู่ในอัตรา 450 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ประเมินปริมาณน้ำไหลเข้าสู่เขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในอัตรา 3,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทั้งนี้ กอนช. ได้มอบหมายให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ร่วมกับการตัดยอดน้ำเข้าระบบคลองชลประทานทั้งสองฝั่ง และพื้นที่ลุ่มต่ำ ซึ่งจะทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ในอัตรา 2,700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ประกอบกับมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพิ่มมากขึ้น เพื่อรักษาเสถียรภาพความปลอดภัยและความมั่นคงของเขื่อน จึงจำเป็นต้องระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในอัตรา 900 - 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านสถานีวัดน้ำอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (C.29A) อยู่ในอัตราประมาณ 3,000 – 3,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และส่งผลให้ระดับน้ำตั้งแต่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 1.20 - 2.40 เมตร และท้ายเขื่อนพระรามหกเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันประมาณ 2.30 - 2.80 เมตร ในช่วงวันที่ 1 – 5 ตุลาคม 2564 ดังนี้
1. จังหวัดชัยนาท แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณตำบลโพนางดำออก และตำบลโพนางดำตก อำเภอสรรพยา
2. .จังหวัดสิงห์บุรี แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเสือข้าม วัดสิงห์ อำเภออินทร์บุรี อำเภอเมืองสิงห์บุรี และอำเภอพรหมบุรี
3. จังหวัดอ่างทอง คลองโผงเผง และแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดไชโย อำเภอไชโย และอำเภอป่าโมก
4. จังหวัดลพบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก บริเวณอำเภอพัฒนานิคม
5. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณคลองบางบาล และริมแม่น้ำน้อย บริเวณตำบลหัวเวียง
อำเภอเสนา ตำบลลาดชิด ตำบลท่าดินแดง อำเภอหักไผ่ และริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอท่าเรือ และอำเภอนครหลวง อำเภอพระนครศรีอยุธยาจรดแม่น้ำเจ้าพระยา
6. จังหวัดสระบุรี ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก อำเภอวังม่วง อำเภอแก่งคอย อำเภอเมือง อำเภอเสาไห้ และอำเภอบ้านหมอ
7. จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดนนทบุรี บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกแนวคันกั้นน้ำริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
8. กรุงเทพมหานคร แนวคันกั้นน้ำบริเวณพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1. ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่จุดเสี่ยงบริเวณที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลและแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมลำน้ำ
2. ปรับแผนบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ โดยพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ รองรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน เพื่อลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัยและให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว
3. เตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที
ประกาศ ณ วันที่ 29 กันยายน 2564
จังหวัด 在 77 จังหวัดในประเทศไทย (ภาษาจีน) - Facebook 的推薦與評價
巴蜀府 Bāshǔ fǔ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (班武里府 Bān wǔ lǐ fǔ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์) 达府 Dá fǔ จังหวัดตาก (来兴府 Lái xìng fǔ จังหวัดตาก) 北碧府 Běi bì fǔ ... ... <看更多>