#ชมลูกอย่างไรให้เกิดGrowth_mindset🌳🌾
ถ้าใครเคยอ่านหนังสือเรื่อง mindset ของ Dr.Carol Dweck
จะพบว่า ใจความสำคัญที่ Dr.Carol
พยายามจะสื่อให้กับผู้ปกครองและครู
ก็คือ
1. #mindset_ก่อร่างสร้างตัวตั้งแต่เด็กช่วงปฐมวัย
(หนึ่งในการทดลองที่อ้างอิงถึงในหนังสือ ผู้เข้าร่วมคือ เด็กอายุ 4 ขวบ)
2. #สารที่พ่อแม่และครูส่งให้กับลูกมีบทบาทสำคัญในการสร้างmindsetของเด็ก
สารที่ว่า ก็คือ ทัศนคติที่พ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ส่งให้เด็กรับรู้
ว่า เค้าจะได้รับความรัก ได้รับคำชื่นชม เมื่อเค้าเป็นอย่างไร
.
หลังจากที่เด็กสร้าง self ตอนอายุประมาณ 3 ขวบ
เค้าก็อยากจะเป็นส่วนหนึ่งของโลก
โลกของเด็กเล็ก คือคนที่เค้ารัก
ได้แก่ พ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่รอบตัว
ดังนั้น วิธีคิด มุมมอง ทัศนคติ ค่านิยม ของพ่อแม่ ครู
ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ mindset ของเด็ก ไปโดยปริยาย
.
ถ้าเด็กรับรู้ว่า
เค้าต้องเก่ง, ไม่ผิดเลย, ฉลาดจัง, อัจฉริยะชัดๆ, สุดยอด, ไม่พลาดเลยนะ etc.
ถึงจะเป็นที่นิยมชมชอบ
เพราะฉะนั้น คนเก่งจะต้องไม่เกิดความผิดพลาด
ต้องดูเหมือนพวกฉลาดแต่เกิด เป็นอัจฉริยะ
(ไม่ต้องพยายามมาก ก็เหนือกว่าคนอื่น)
บางคนพยายามหนักมากหลังฉาก แต่เบื้องหน้าต้องทำเป็นฉันไม่ได้ทำอะไรนะ มันเป็นธรรมชาติ
แต่...ชีวิตมันต้องยากขึ้น มีอุปสรรคมากขึ้น เป็นธรรมดา
ในเมื่อ เด็กกลุ่มนี้ (fixed mindset)
มีแรงจูงใจหลัก คือ #ต้องไม่มีความผิดพลาด
ดังนั้น บางครั้ง ไม่พลาด ก็คือ
ไม่ต้องเข้าไปลองทำสิ่งนั้น
สิ่งใดที่ยาก ไม่ทำ
สิ่งใดที่เสี่ยง เลี่ยงซะ
.
ยิ่งกลัวผิดพลาด-->ยิ่งหลีกเลี่ยงที่จะทำสิ่งใหม่-->
ยิ่งลดโอกาสในการเรียนรู้-->เมื่อไม่ได้เรียนรู้ ถ้าต้องลงมือทำจริง ก็ยิ่งมีโอกาสผิดพลาด -->เมื่อผิดพลาด ก็ยิ่งสูญเสียความมั่นใจในตนเอง
คนที่มี fixed mindset ก็จะวนเวียนอยู่ใน loop นี้
==============================
แล้วจะส่ง #สาร อย่างไร
ให้ลูกเป็นคนที่มี Growth mindset
1.#ความจริงใจสำคัญที่สุด
(อย่าชมพร่ำเพรื่อ ถ้าจะชมให้พูดจากใจ)
ถ้าเราชมออกมาจากใจจริง คนที่ถูกชมเค้าจะรับรู้ได้
ทั้งจาก สีหน้า แววตา น้ำเสียง และเนื้อความที่พูด
คำชมที่ไม่จริงใจ นอกจากไม่ช่วยให้ใครพัฒนาแล้ว
ยังทำให้ความเชื่อใจ ความเชื่อมั่นในตัวเราลดลง
สำหรับลูกแล้ว พ่อแม่ต้องเป็นคนที่เค้าเชื่อถือได้เสมอนะคะ
เช่น ลูกเอารูปที่วาดมาโชว์ แต่รูปนี้ เค้าวาดหลายครั้งแล้วเราไม่ได้รู้สึกว่ามันสวยเป็นพิเศษ
แทนที่เราจะชมว่า สวย หรือ เก่งจังที่วาดได้
เราอาจจะต้องมองหาจุดเด่น
ในภาพวาดใหม่แต่ไม่ใหม่ของลูก
เช่น ครั้งนี้ลงเส้นได้ชัดดีนี่ลูก หรือ
เก็บรายละเอียดตรงนี้ได้ดีจัง
แล้วอาจจะชวนให้เค้าลองวาดอะไรใหม่ๆ ให้โจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น
หรือ ถ้าลูกแพ้การแข่งขัน
เราไม่ต้องใช้คำชมเพื่อปลอบใจ
“แค่นี้ก็เก่งมากแล้วจ่ะ” หรือ “แต่แม่ว่าลูกทำได้ดีมากนะ”
ถ้าเราไม่รู้จะพูดอะไร ก็อยู่เคียงข้างเค้า ให้เค้ารู้ว่าถ้าต้องการกำลังใจเราอยู่ตรงนี้
เมื่อเค้าพร้อม ค่อยชวนพูดคุย เรื่องความรู้สึก และบทเรียนที่ได้ แนวทางพัฒนา
================================
2.#ใช้คำชมให้เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาของลูก
หลายคนกังวลใจ ที่จะใช้คำว่า เก่งจัง สวยจัง ดีจัง น่ารักจังกับลูก แต่ถ้าลูกของเราเป็นเด็กอายุ 0-1 ปี คำพวกนี้ ก็เป็นคำในแนว positive ที่เค้าฟังแล้วเข้าใจ
โดยส่วนตัวหมอคิดว่าใช้ได้ค่ะ
มันคงแปลกพิลึก หากเราชมเด็ก 1 ปี เมื่อเอาของไปเก็บเข้าที่
“แม่รู้เลยว่าลูกพยายามเอื้อมไปเก็บอย่างสุดความสามารถ”😅
จริงๆแล้ว เด็กวัยก่อนพูด
ดูภาษากายของคุณแม่เป็นหลัก
และคำที่ใช้ ก็ควรเป็นคำสั้นๆ คำที่เราใช้กันอยู่ก็ใช้ได้นะคะ (ขอให้จริงใจ ไม่พร่ำเพรื่อก็พอ)
.
แต่ถ้าลูกของเรา เป็นเด็กอายุ 3 ปี
เค้าเข้าใจภาษาได้ดีมากแล้ว
คำว่า เก่ง ดี ฉลาด สวย etc. มันกว้างเกินไป
คงจะดีกว่า ถ้าเราพูดระบุรายละเอียดของสิ่งที่ทำให้เราพอใจ
Feedback ที่ดี คือ
สิ่งที่ดีอยู่แล้วคืออะไร
สิ่งที่สามารถพัฒนาได้อีกคือจุดไหน
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ
ถ้าเราไปตัดผมทรงใหม่ ทำสีผมมา เรามาโชว์เพื่อนๆ
“อืม สวยดี”
“ตัดผมทรงนี้ เข้ากับรูปหน้ามาก ผมสีนี้เข้ากับสีผิว ทำให้ผิวสว่างขึ้น”
เราชอบคำชมไหนคะ?
เด็กก็เช่นกัน เค้าเข้าใจภาษาได้ดีแล้ว
พ่อแม่ก็ช่วย #ให้เกียรติภาษาของเค้าด้วย
ด้วยการพูดใส่รายละเอียด
นอกจากจะทำให้ลูกรู้ว่าเราใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อย
ยังฝึกมุมมองของลูก ให้มองเห็นจุดดี และจุดที่มีโอกาสพัฒนา
================================
3.ใช้ชมที่ #ความพยายามหรือกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์
เด็กๆ เป็นวัยที่ใส่ใจกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์อยู่แล้ว
ในใจของเด็กนั้น
ไม่ได้มีกรอบของความสวยงามแต่แรก
ไม่มีเส้นที่ระบายออกนอกไม่ได้
ไม่มีรูปทรงที่ไม่ได้ขนาด
แต่เมื่อเด็กถูกวิจารณ์บ่อยๆเข้า
เค้าถึงจะสร้างกรอบของ
ดี/ไม่ดี สวย/ไม่สวย เรียบร้อย/ไม่เรียบร้อย ขึ้นมาทีหลัง
ขอให้พ่อแม่เข้าใจว่า กว่าเด็กจะทำอะไรสำเร็จหนึ่งอย่าง
มันประกอบด้วย หลายกระบวนการ
ปั้นแป้งโดว์ -->เลือกสี-->นวดแป้ง-->คิดและจินตนาการถึงสิ่งที่จะปั้น -->ปั้นเป็นรูปทรงต่างๆ เอารูปทรงต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกัน
กว่าจะได้เอามาโชว์แม่
ก็ผ่านความพยายาม และตั้งใจทุกกระบวนการ
ดังนั้น หากมันยังไม่สวย(ตามมาตรฐานผู้ใหญ่) ก็ให้ชมข้อดี ในกระบวนการที่เราเห็นก็แล้วกัน
“แม่ว่าลูกเอาแป้งสีขาวกับแดงผสมเป็นสีชมพูได้สวยจัง”
“ตรงนี้ปั้นเป็นหน้าพิซซ่า ปั้นเป็นพริกชิ้นเล็กๆ โห มันละเอียดมากเลย”
ถ้าลูกสอบได้คะแนนดีมาก หรือ ได้รับรางวัล
คำว่า “เก่งจังเลย” ย่อมเป็นคำที่เด็กอยากได้ยิน
แต่สิ่งที่สำคัญที่เราต้องส่งสัญญาณให้ลูกคือ
#เราชื่นชมความสำเร็จที่มาจากความพยายามความตั้งใจของลูก (ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร)
“แม่ดีใจมากเลยลูก แม่รู้เลยว่าลูกตั้งใจทำมันมากจริงๆ
แล้วก็ได้ผลสมกับความทุ่มเทที่ทำไป”
หรือ แม้แต่ตอนที่เค้าล้มเหลว
ถ้าเราเป็นพ่อแม่ที่อยู่เคียงข้างเค้า
และเป็นคนที่รู้ความเป็นไปของลูกเสมอ
เราก็สามารถชี้ให้เห็นว่า เรารับรู้ความพยายามตรงขั้นตอนไหน หรือขั้นตอนไหนที่ต้องเพิ่มเติม
=============================
4.ชมให้สุด...อย่าทำตัวเป็นใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง
ประโยคที่ใช้เมื่อชมลูก ต้องมีแต่คำดีๆ
คำชมที่ฟังแล้ว ไม่รู้สึกดีเช่น
“ว้าว...วันนี้ตื่นอาบน้ำแปรงฟันได้เอง แม่ฝันไปรึเปล่าเนี่ย”
“วันนี้ตั้งใจทำการบ้านเสร็จเร็วมาก ถ้าทำแบบนี้ได้ทุกวันแม่ก็ไม่ต้องเหนื่อย”
“เก่งจัง ครั้งนี้สอบได้คะแนนเต็มเลย หรือว่าได้เต็มกันทุกคน”
ดีให้สุด อย่าสอดไส้ ด้วยคำประชดประชัน
ทำให้เด็กสับสนว่าตกลงที่ทำไป แม่ว่าดีหรือไม่ดีกันแน่
================================
5.การชื่นชมไม่จำเป็นต้องพูดเสมอไป
หากเราไม่ชิน เรื่องการพูดบรรยายความพยายาม
เพราะทั้งชีวิตเราก็ใช้คำว่า ดี เก่ง ฉลาด มาตลอด
ถ้าคิดไม่ทัน คำแนะนำคือ
ภาษากาย ก็เป็นส่วนสำคัญ
แววตา สีหน้า รอยยิ้ม แห่งความภาคภูมิใจของพ่อแม่
ก็ทำให้ลูกรับรู้ได้แล้วค่ะ
.
เมื่อคิดคำพูดดีๆได้ ค่อยพูด
================================
หมอแพม
สุขสันต์วันแห่งความรักค่ะ
(เขียนยาว สรุปให้ตัวเองอ่านด้วยค่ะ)
「ชมลูกอย่างไรให้เกิดgrowth_mindset」的推薦目錄:
- 關於ชมลูกอย่างไรให้เกิดgrowth_mindset 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最讚貼文
- 關於ชมลูกอย่างไรให้เกิดgrowth_mindset 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳解答
- 關於ชมลูกอย่างไรให้เกิดgrowth_mindset 在 สารพันปัญหาการเลี้ยงลูก - #GrowthMindset #วิธีคิดแบบเด็กมีความ ... 的評價
- 關於ชมลูกอย่างไรให้เกิดgrowth_mindset 在 เลี้ยงลูกอย่างไรให้มีGrowthmindset งานวิจัยพบว่า การที่เด็กคนหนึ่ง ... 的評價
- 關於ชมลูกอย่างไรให้เกิดgrowth_mindset 在 เลี้ยงลูกแบบ Growth Mindset วิถีคิดเพื่อการเติบโต#คุณอรุณฉัตร คุรุ ... 的評價
- 關於ชมลูกอย่างไรให้เกิดgrowth_mindset 在 เลี้ยงลูกแบบ Growth Mindset ให้ฉลาดและพัฒนาแบบไม่สิ้นสุด ... 的評價
- 關於ชมลูกอย่างไรให้เกิดgrowth_mindset 在 50 แคปชั่นภาษาอังกฤษสั้นๆ แคปชั่นความสุขภาษาอังกฤษ ความ ... 的評價
ชมลูกอย่างไรให้เกิดgrowth_mindset 在 หมอแพมชวนอ่าน Facebook 的最佳解答
#ชมลูกอย่างไรให้เกิดGrowth_mindset🌳🌾
ถ้าใครเคยอ่านหนังสือเรื่อง mindset ของ Dr.Carol Dweck
จะพบว่า ใจความสำคัญที่ Dr.Carol
พยายามจะสื่อให้กับผู้ปกครองและครู
ก็คือ
1. #mindset_ก่อร่างสร้างตัวตั้งแต่เด็กช่วงปฐมวัย
(หนึ่งในการทดลองที่อ้างอิงถึงในหนังสือ ผู้เข้าร่วมคือ เด็กอายุ 4 ขวบ)
2. #สารที่พ่อแม่และครูส่งให้กับลูกมีบทบาทสำคัญในการสร้างmindsetของเด็ก
สารที่ว่า ก็คือ ทัศนคติที่พ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่ ส่งให้เด็กรับรู้
ว่า เค้าจะได้รับความรัก ได้รับคำชื่นชม เมื่อเค้าเป็นอย่างไร
.
หลังจากที่เด็กสร้าง self ตอนอายุประมาณ 3 ขวบ
เค้าก็อยากจะเป็นส่วนหนึ่งของโลก
โลกของเด็กเล็ก คือคนที่เค้ารัก
ได้แก่ พ่อแม่ ครู ผู้ใหญ่รอบตัว
ดังนั้น วิธีคิด มุมมอง ทัศนคติ ค่านิยม ของพ่อแม่ ครู
ก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของ mindset ของเด็ก ไปโดยปริยาย
.
ถ้าเด็กรับรู้ว่า
เค้าต้องเก่ง, ไม่ผิดเลย, ฉลาดจัง, อัจฉริยะชัดๆ, สุดยอด, ไม่พลาดเลยนะ etc.
ถึงจะเป็นที่นิยมชมชอบ
เพราะฉะนั้น คนเก่งจะต้องไม่เกิดความผิดพลาด
ต้องดูเหมือนพวกฉลาดแต่เกิด เป็นอัจฉริยะ
(ไม่ต้องพยายามมาก ก็เหนือกว่าคนอื่น)
บางคนพยายามหนักมากหลังฉาก แต่เบื้องหน้าต้องทำเป็นฉันไม่ได้ทำอะไรนะ มันเป็นธรรมชาติ
แต่...ชีวิตมันต้องยากขึ้น มีอุปสรรคมากขึ้น เป็นธรรมดา
ในเมื่อ เด็กกลุ่มนี้ (fixed mindset)
มีแรงจูงใจหลัก คือ #ต้องไม่มีความผิดพลาด
ดังนั้น บางครั้ง ไม่พลาด ก็คือ
ไม่ต้องเข้าไปลองทำสิ่งนั้น
สิ่งใดที่ยาก ไม่ทำ
สิ่งใดที่เสี่ยง เลี่ยงซะ
.
ยิ่งกลัวผิดพลาด-\-\>ยิ่งหลีกเลี่ยงที่จะทำสิ่งใหม่-\-\>
ยิ่งลดโอกาสในการเรียนรู้-\-\>เมื่อไม่ได้เรียนรู้ ถ้าต้องลงมือทำจริง ก็ยิ่งมีโอกาสผิดพลาด -\-\>เมื่อผิดพลาด ก็ยิ่งสูญเสียความมั่นใจในตนเอง
คนที่มี fixed mindset ก็จะวนเวียนอยู่ใน loop นี้
==============================
แล้วจะส่ง #สาร อย่างไร
ให้ลูกเป็นคนที่มี Growth mindset
1.#ความจริงใจสำคัญที่สุด
(อย่าชมพร่ำเพรื่อ ถ้าจะชมให้พูดจากใจ)
ถ้าเราชมออกมาจากใจจริง คนที่ถูกชมเค้าจะรับรู้ได้
ทั้งจาก สีหน้า แววตา น้ำเสียง และเนื้อความที่พูด
คำชมที่ไม่จริงใจ นอกจากไม่ช่วยให้ใครพัฒนาแล้ว
ยังทำให้ความเชื่อใจ ความเชื่อมั่นในตัวเราลดลง
สำหรับลูกแล้ว พ่อแม่ต้องเป็นคนที่เค้าเชื่อถือได้เสมอนะคะ
เช่น ลูกเอารูปที่วาดมาโชว์ แต่รูปนี้ เค้าวาดหลายครั้งแล้วเราไม่ได้รู้สึกว่ามันสวยเป็นพิเศษ
แทนที่เราจะชมว่า สวย หรือ เก่งจังที่วาดได้
เราอาจจะต้องมองหาจุดเด่น
ในภาพวาดใหม่แต่ไม่ใหม่ของลูก
เช่น ครั้งนี้ลงเส้นได้ชัดดีนี่ลูก หรือ
เก็บรายละเอียดตรงนี้ได้ดีจัง
แล้วอาจจะชวนให้เค้าลองวาดอะไรใหม่ๆ ให้โจทย์ที่ท้าทายมากขึ้น
หรือ ถ้าลูกแพ้การแข่งขัน
เราไม่ต้องใช้คำชมเพื่อปลอบใจ
“แค่นี้ก็เก่งมากแล้วจ่ะ” หรือ “แต่แม่ว่าลูกทำได้ดีมากนะ”
ถ้าเราไม่รู้จะพูดอะไร ก็อยู่เคียงข้างเค้า ให้เค้ารู้ว่าถ้าต้องการกำลังใจเราอยู่ตรงนี้
เมื่อเค้าพร้อม ค่อยชวนพูดคุย เรื่องความรู้สึก และบทเรียนที่ได้ แนวทางพัฒนา
================================
2.#ใช้คำชมให้เหมาะสมกับพัฒนาการทางภาษาของลูก
หลายคนกังวลใจ ที่จะใช้คำว่า เก่งจัง สวยจัง ดีจัง น่ารักจังกับลูก แต่ถ้าลูกของเราเป็นเด็กอายุ 0-1 ปี คำพวกนี้ ก็เป็นคำในแนว positive ที่เค้าฟังแล้วเข้าใจ
โดยส่วนตัวหมอคิดว่าใช้ได้ค่ะ
มันคงแปลกพิลึก หากเราชมเด็ก 1 ปี เมื่อเอาของไปเก็บเข้าที่
“แม่รู้เลยว่าลูกพยายามเอื้อมไปเก็บอย่างสุดความสามารถ”😅
จริงๆแล้ว เด็กวัยก่อนพูด
ดูภาษากายของคุณแม่เป็นหลัก
และคำที่ใช้ ก็ควรเป็นคำสั้นๆ คำที่เราใช้กันอยู่ก็ใช้ได้นะคะ (ขอให้จริงใจ ไม่พร่ำเพรื่อก็พอ)
.
แต่ถ้าลูกของเรา เป็นเด็กอายุ 3 ปี
เค้าเข้าใจภาษาได้ดีมากแล้ว
คำว่า เก่ง ดี ฉลาด สวย etc. มันกว้างเกินไป
คงจะดีกว่า ถ้าเราพูดระบุรายละเอียดของสิ่งที่ทำให้เราพอใจ
Feedback ที่ดี คือ
สิ่งที่ดีอยู่แล้วคืออะไร
สิ่งที่สามารถพัฒนาได้อีกคือจุดไหน
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ
ถ้าเราไปตัดผมทรงใหม่ ทำสีผมมา เรามาโชว์เพื่อนๆ
“อืม สวยดี”
“ตัดผมทรงนี้ เข้ากับรูปหน้ามาก ผมสีนี้เข้ากับสีผิว ทำให้ผิวสว่างขึ้น”
เราชอบคำชมไหนคะ?
เด็กก็เช่นกัน เค้าเข้าใจภาษาได้ดีแล้ว
พ่อแม่ก็ช่วย #ให้เกียรติภาษาของเค้าด้วย
ด้วยการพูดใส่รายละเอียด
นอกจากจะทำให้ลูกรู้ว่าเราใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อย
ยังฝึกมุมมองของลูก ให้มองเห็นจุดดี และจุดที่มีโอกาสพัฒนา
================================
3.ใช้ชมที่ #ความพยายามหรือกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์
เด็กๆ เป็นวัยที่ใส่ใจกระบวนการมากกว่าผลลัพธ์อยู่แล้ว
ในใจของเด็กนั้น
ไม่ได้มีกรอบของความสวยงามแต่แรก
ไม่มีเส้นที่ระบายออกนอกไม่ได้
ไม่มีรูปทรงที่ไม่ได้ขนาด
แต่เมื่อเด็กถูกวิจารณ์บ่อยๆเข้า
เค้าถึงจะสร้างกรอบของ
ดี/ไม่ดี สวย/ไม่สวย เรียบร้อย/ไม่เรียบร้อย ขึ้นมาทีหลัง
ขอให้พ่อแม่เข้าใจว่า กว่าเด็กจะทำอะไรสำเร็จหนึ่งอย่าง
มันประกอบด้วย หลายกระบวนการ
ปั้นแป้งโดว์ -\-\>เลือกสี-\-\>นวดแป้ง-\-\>คิดและจินตนาการถึงสิ่งที่จะปั้น -\-\>ปั้นเป็นรูปทรงต่างๆ เอารูปทรงต่างๆมาประกอบเข้าด้วยกัน
กว่าจะได้เอามาโชว์แม่
ก็ผ่านความพยายาม และตั้งใจทุกกระบวนการ
ดังนั้น หากมันยังไม่สวย(ตามมาตรฐานผู้ใหญ่) ก็ให้ชมข้อดี ในกระบวนการที่เราเห็นก็แล้วกัน
“แม่ว่าลูกเอาแป้งสีขาวกับแดงผสมเป็นสีชมพูได้สวยจัง”
“ตรงนี้ปั้นเป็นหน้าพิซซ่า ปั้นเป็นพริกชิ้นเล็กๆ โห มันละเอียดมากเลย”
ถ้าลูกสอบได้คะแนนดีมาก หรือ ได้รับรางวัล
คำว่า “เก่งจังเลย” ย่อมเป็นคำที่เด็กอยากได้ยิน
แต่สิ่งที่สำคัญที่เราต้องส่งสัญญาณให้ลูกคือ
#เราชื่นชมความสำเร็จที่มาจากความพยายามความตั้งใจของลูก (ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร)
“แม่ดีใจมากเลยลูก แม่รู้เลยว่าลูกตั้งใจทำมันมากจริงๆ
แล้วก็ได้ผลสมกับความทุ่มเทที่ทำไป”
หรือ แม้แต่ตอนที่เค้าล้มเหลว
ถ้าเราเป็นพ่อแม่ที่อยู่เคียงข้างเค้า
และเป็นคนที่รู้ความเป็นไปของลูกเสมอ
เราก็สามารถชี้ให้เห็นว่า เรารับรู้ความพยายามตรงขั้นตอนไหน หรือขั้นตอนไหนที่ต้องเพิ่มเติม
=============================
4.ชมให้สุด...อย่าทำตัวเป็นใบมีดโกนอาบน้ำผึ้ง
ประโยคที่ใช้เมื่อชมลูก ต้องมีแต่คำดีๆ
คำชมที่ฟังแล้ว ไม่รู้สึกดีเช่น
“ว้าว...วันนี้ตื่นอาบน้ำแปรงฟันได้เอง แม่ฝันไปรึเปล่าเนี่ย”
“วันนี้ตั้งใจทำการบ้านเสร็จเร็วมาก ถ้าทำแบบนี้ได้ทุกวันแม่ก็ไม่ต้องเหนื่อย”
“เก่งจัง ครั้งนี้สอบได้คะแนนเต็มเลย หรือว่าได้เต็มกันทุกคน”
ดีให้สุด อย่าสอดไส้ ด้วยคำประชดประชัน
ทำให้เด็กสับสนว่าตกลงที่ทำไป แม่ว่าดีหรือไม่ดีกันแน่
================================
5.การชื่นชมไม่จำเป็นต้องพูดเสมอไป
หากเราไม่ชิน เรื่องการพูดบรรยายความพยายาม
เพราะทั้งชีวิตเราก็ใช้คำว่า ดี เก่ง ฉลาด มาตลอด
ถ้าคิดไม่ทัน คำแนะนำคือ
ภาษากาย ก็เป็นส่วนสำคัญ
แววตา สีหน้า รอยยิ้ม แห่งความภาคภูมิใจของพ่อแม่
ก็ทำให้ลูกรับรู้ได้แล้วค่ะ
.
เมื่อคิดคำพูดดีๆได้ ค่อยพูด
================================
หมอแพม
สุขสันต์วันแห่งความรักค่ะ
(เขียนยาว สรุปให้ตัวเองอ่านด้วยค่ะ)
ชมลูกอย่างไรให้เกิดgrowth_mindset 在 เลี้ยงลูกอย่างไรให้มีGrowthmindset งานวิจัยพบว่า การที่เด็กคนหนึ่ง ... 的推薦與評價
สอนลูกให้เข้าใจว่าทุกครั้งที่คนเราฝึกอะไร ลงมือทำอะไร จะทำให้เซลล์สมองเติบโตเสมอ 2. หลีกเลี่ยงคำชมที่ทำให้เกิด “fixed mindset” เช่น เก่ง ฉลาดมาก อัจฉริยะ คำชมเหล่านี้ ... <看更多>
ชมลูกอย่างไรให้เกิดgrowth_mindset 在 เลี้ยงลูกแบบ Growth Mindset วิถีคิดเพื่อการเติบโต#คุณอรุณฉัตร คุรุ ... 的推薦與評價
Growth mindset ” หรือ “วิถีคิดเพื่อการเติบโต” เป็นหนทางหนึ่งที่ช่วย ให้ลูก สู่ความสำเร็จ ทั้งในด้านการศึกษาและด้านอื่นๆ ในชีวิต วิถีคิดจะเป็นมุมมองที่เรามีต่อตัวเอง ต่อการเรียนรู้ ... ... <看更多>
ชมลูกอย่างไรให้เกิดgrowth_mindset 在 สารพันปัญหาการเลี้ยงลูก - #GrowthMindset #วิธีคิดแบบเด็กมีความ ... 的推薦與評價
การเสริมสร้าง Growth Mindset ให้กับลูก คุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้โดยการ สอนลูกให้เข้าใจเรื่องการฝึกฝนสิ่งต่างๆ โดยหลีกเลี่ยงคำชม ... ... <看更多>