รายการของที่เพื่อนๆพี่น้องทุกคน ร่วมมาที่จะนำไปให้ วัดเพื่อพระและ สัปเหร่อ ได้ใช้ในการจัดการศพ ทั้ง 10 วัดที่ได้ข้อมูลมาคือ 10 ชุด แต่ละชุดจะมี
1.ถุงซิปใส่ศพ 20 ถุง
2.ชุด ppe ขาว 20 ชุด
3.ชุด ppe พระ 10 ชุด
3.ถุงคลุมขา 20 ถุง
4.ชุดกาวน์ 20 ชุด
5.แอลกอฮอล์สเปรย์ 20 แกลลอน
6.นำ้ยาฆ่าเชื้อ 10 ลิตร
7.ถุงมือทางการแพทย์
7.face shield 10 ชุด
8.น้ำมันดีเซลเผาศพ 100 ลิตร
9.ยาฟ้าทะลายโจร
ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมส่งกำลังใจกันมา
อนุโมทนาทุกๆท่าน ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิต และเป็นกำลังใจให้กับเจ้าหน้าที่ทุกท่านนะครับ
ชุดกาวน์ 在 Facebook 的最佳解答
เตรียมการแบบจัดเต็มครับ …
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
สธ.เร่งจัดหายาฟาวิพิราเวียร์เพิ่ม ต.ค.-ธ.ค.300 ล้านเม็ด ซื้อยาเรมเดซิเวียร์เพิ่มอีก 1 แสนขวด ให้เพียงพอตามเกณฑ์การรักษาใหม่
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า ช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้นมาก จากสายพันธุ์เดลตา ทำให้ติดเชื้อได้รวดเร็ว และทวีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์ที่เรามีอยู่เดิท จึงต้องมีวิธีพึ่งพาตนเอง แม้จะมียาต้านไวรัส “ฟาวิพิราเวียร์” ซึ่งเมื่อก่อนเราใช้ 5-6 พันเม็ดต่อวัน แต่วันนี้ เราต้องใช้วันละ 8.5 แสนเม็ด
“เราต้องกดโควิดลงมาให้ได้ เราจะอยู่ในสภาพแบบนี้ตลอดเวลาไม่ได้ เพราะยาฟาวิพิราเวียร์ต้องนำเข้า ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล โดย สธ.จัดหาจัดซื้อยาฟาวิพิราเวียร์ตลอดเวลา เดือนนี้ซื้อแล้ว 40 ล้านเม็ด เดือนหน้า 100 ล้านเม็ด เม็ดละ 10 บาท เราต้องช่วยเหลือประเทศ ถ้าร่วมมือทุกฝ่ายยังป้องกันได้”
ด้าน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มขึ้น และการปรับการรักษาให้ยาฟาวิพิราเวียร์เร็วขึ้น ทำให้จำนวนความต้องการใช้ยารักษาโควิดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลล่าสุดจนถึงวันที่ 4 ส.ค.64 มีความต้องการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ วันละ 8.5 แสนเม็ด ซึ่งได้จัดสรรลงพื้นที่ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 7 ก.ค. ถึง 4 ส.ค.ไปแล้ว 20.5 ล้านเม็ด
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า สธ.มอบให้องค์การเภสัชกรรม จัดหายาเพิ่มเติมอีก โดยใน 3 เดือนนี้ ตั้งแต่ ต.ค.-ธ.ค. 2564 ให้จัดหาฟาวิพิราเวียร์เพิ่มขึ้นอีก 300 ล้านเม็ด หรือเดือนละ 100 ล้านเม็ด ส่วนยาเรมเดซิเวียร์ให้จัดหาเพิ่มอีก 1 แสนขวด รวมเป็น 2 แสนขวดภายใน ส.ค.นี้ ให้เพียงพอตามเกณฑ์การรักษาใหม่ เพื่อกระจายให้ทุกจังหวัด
สำหรับเวชภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้ประจำ เช่น หน้ากาก N 95 หน้ากากอนามัย ชุดกาวน์ ถุงมือ ถุงเท้า รองเท้า หมวกคลุมผม กว่า 11 รายการ จากข้อมูลมีการใช้เวชภัณฑ์ในแต่ละเดือนมากที่สุดจากทั่วประเทศ เช่น ถุงมือยาง (disposable glove) มีการใช้กว่า 19 ล้านคู่ รองลงมา หน้ากากอนามัย (surgical mask) กว่า 16 ล้านชิ้น หมวกคลุมผม (Disposable cap) 3 ล้านชิ้น ชุดกาวน์ (Coverall & gown) 1.6 ล้านชุด ซึ่งได้คาดการณ์การใช้งานเพื่อจะได้สำรองไว้ให้เพียงพอสำหรับใช้แต่ละเดือน โดยจัดซื้อด้วยงบกลางและงบเงินกู้ มีการจัดสรรไปยังภูมิภาคทุกสัปดาห์ หากพื้นที่ใดไม่เพียงพอ สามารถประสานขอสนับสนุนเวชภัณฑ์เร่งด่วนมาที่กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ชุดกาวน์ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ทำไม IRPC ต้องปรับตัวเป็น “องค์กรนวัตกรรม”
IRPC x ลงทุนแมน
ในโลกของการทำธุรกิจ เรามักเห็นนวัตกรรมเกิดมาจากการต่อยอดความถนัดในแต่ละธุรกิจนั้น
สำหรับ IRPC ที่มีความถนัดในธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
ก็ได้ปรับเพื่อเปลี่ยนเป็นองค์กรนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม
โดยเน้นการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจหลัก และต่อยอดสู่ธุรกิจใหม่
รวมถึงตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุนเวียน ด้วยการพัฒนาระบบดิจิทัลเทคโนโลยี และระบบปฏิบัติการที่ทันสมัย เข้ามาร่วมใช้ในขั้นตอนการดำเนินธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เรื่องราวของการปรับเปลี่ยนเป็น “องค์กรนวัตกรรม” เป็นอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือเรียกสั้นๆ ว่า IRPC
คือ ธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยมีสัดส่วนรายได้ แบ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจ คือ
71% มาจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียม เช่น น้ำมัน, ก๊าซ, ยางมะตอย
28% มาจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมี เช่น เม็ดพลาสติก
1% มาจากกลุ่มธุรกิจสนับสนุนอื่น เช่น ท่าเรือน้ำลึก, คลังน้ำมัน
จากตัวเลขนี้ เราจะเห็นได้ว่า รายได้หลักของ IRPC มาจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียม
แต่ความน่าสนใจ อยู่ที่ธุรกิจปิโตรเคมี ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
โดยเฉพาะธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติก ที่สามารถนำไปผลิตเป็นชิ้นส่วนของยานยนต์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์การแพทย์ และอื่นๆ อีกมากมาย
จุดนี้เอง คือโอกาสทางธุรกิจครั้งสำคัญของ IRPC
กลยุทธ์ของ IRPC คือ การใช้ความรู้และประสบการณ์กว่า 40 ปี ผนวกเข้ากับเทคโนโลยี เพื่อพัฒนานวัตกรรม ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ซึ่ง IRPC เลือกพัฒนาตัวเองให้เป็นองค์กรนวัตกรรมในทุกๆ ด้าน
ทั้งด้านการผลิต, การขาย, การจัดซื้อจัดจ้าง, การบริหารจัดการบุคคล และโดยเฉพาะด้านการวิจัยและพัฒนา
โดยการทำงานภายในองค์กร ได้นำระบบดิจิทัลต่างๆ เข้ามาช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น
ในด้านการปฏิบัติการ มีการใช้ระบบแสดงผลตัวชี้วัดแบบ Real-time ที่แสดงค่าเป็นตัวเงิน และสามารถคาดการณ์การซ่อมบำรุงล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ
ด้านซัพพลายเชน มีระบบจัดการข้อมูลตั้งแต่ Crude Supply ไปจนถึงการจัดส่งสินค้า
ด้านการตลาด ได้นำ Big Data มาใช้วิเคราะห์ความต้องการของตลาด และติดตาม Inventory ของลูกค้าเพื่อนำเสนอสินค้าและบริการได้อย่างรวดเร็ว
ด้านงานจัดซื้อจัดจ้าง ใช้ระบบบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนให้กับบริษัท
ด้านการเงิน มีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ ทำให้ทุกธุรกรรมมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับทั้งลูกค้าและคู่ค้า
รวมถึงด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ก็มีเว็บไซต์ “PLASTKET.COM” สำหรับให้ผู้ซื้อและผู้ขายในอุตสาหกรรมพลาสติกทำธุรกรรมได้อย่างสะดวกรวดเร็วทุกที่ทุกเวลา
นอกจากนี้ IRPC ยังมีศูนย์นวัตกรรม ซึ่งภายในมีห้องวิจัยแบบยืดหยุ่น หรือที่เรียกว่า Flexi Lab ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้ และมีระบบสนับสนุนการทำงาน พร้อมพื้นที่อำนวยความสะดวกให้เกิดการทำงานร่วมกัน
ทำให้ห้องวิจัยนี้ กลายเป็นศูนย์กลางให้กับนักวิจัย ลูกค้า ฝ่ายขาย และส่วนผลิต ได้เข้ามาพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน และช่วยกันคิดค้นนวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งรูปแบบ B2B ไปจนถึงลูกค้าแบบ B2C
โดยตัวอย่างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ที่ประสบความสำเร็จของ IPRC ก็มีตั้งแต่ เม็ดพลาสติก HDPE สีเทา สำหรับทุ่นโซลาร์ลอยน้ำ,เม็ดพลาสติกเกรดพิเศษ สำหรับรถ EV, เม็ดพลาสติก สำหรับชุด PPE และอุปกรณ์ทางการแพทย์ และหน้ากาก Graphene ที่ป้องกันแบคทีเรียและ PM2.5 เป็นต้น
ซึ่งหากในอนาคต ยิ่งมีความต้องการของนวัตกรรมเชิงพาณิชย์เหล่านี้มากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ของ IRPC ด้วย
คำถามต่อมาก็คือ นอกจากเรื่อง โอกาสทางธุรกิจแล้ว IRPC ยังให้ความสำคัญกับเรื่องใดอีกบ้าง?
เพื่อให้ธุรกิจเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน IRPC จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรม ที่สามารถสร้างสมดุลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
เช่น นวัตกรรมพลาสติกเพื่อคนพิการ ที่ได้รับรางวัล นวัตกรรมแห่งชาติ ปี 2563
ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง IRPC และ มูลนิธิขาเทียม เพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนพิการ
รวมถึงการขยายธุรกิจไปยังปิโตรเคมีปลายน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Smart Material กลุ่มอุปกรณ์การแพทย์ จึงมุ่งพัฒนาและผลิตผ้า Melt Blown แห่งแรกของไทย ซึ่งใช้ผลิตชั้นกรองในหน้ากากอนามัย, หน้ากาก N95, หน้ากากทางการแพทย์, ชุดกาวน์ ฯลฯ รวมถึง Nitrile Butadiene Latex (NBL) ที่ใช้ทำถุงมือทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มเสถียรภาพด้านสาธารณสุขของประเทศ
แม้ IRPC จะเป็นองค์กรที่มีความถนัดด้านปิโตรเลียม และปิโตรเคมีภัณฑ์ แต่เมื่อมองไปยังความต้องการของผู้บริโภค และสังคม IRPC ก็สามารถต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมในด้านอื่นๆ ได้เหมือนกัน
ทั้งหมดนี้ คงทำให้เห็นแล้วว่า IRPC ได้ปรับตัวเป็น “องค์กรนวัตกรรม”
โดยมีเจตนารมย์ในการเป็น “องค์กรนวัตกรรมยั่งยืน”
เพื่อให้องค์กรและสังคมไทยสามารถเติบโตอย่างยั่งยืน ไปพร้อมๆ กัน..
References
-รายงานประจำปี 2562 ของ IRPC
-เอกสารประชาสัมพันธ์ของ IRPC
ชุดกาวน์ 在 พาไปส่อง "งานรับเสื้อกาวน์" แพทย์วชิรพยาบาล | Nile issaree 的推薦與評價
กลับมาแล้วค่าทุกคนนน✨ ในที่สุดก็จบปี3แล้วค่ะ! เย่ขอโทษที่หายไปนานสัญญาว่าจะทำคลิปออกมาเรื่อยๆนะคะ(ถ้าว่าง อิๆ)งานรับเสื้อ กาวน์ คืออะไร? ... <看更多>
ชุดกาวน์ 在 จำหน่ายเสื้อกาวน์ พร้อมส่ง | Bangkok - Facebook 的推薦與評價
จำหน่ายเสื้อกาวน์ พร้อมส่ง, กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. ถูกใจ 14110 คน · 8 คนกำลังพูดถึงสิ่งนี้. เสื้อกาวน์พร้อมส่ง สินค้าคุณภาพดี ราคาไม่แพง. ... <看更多>