เพราะการทำธุรกิจ เปรียบเสมือนการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว เชื่อว่าทุกคนที่เดินบนเส้นทางนี้ย่อมได้รับบทเรียนและข้อคิดมากมาย ซึ่งแน่นอนว่าวันนี้ ผม “ก้อง อรรฆรัตน์ นิติพน” CEO บริษัท มัชรูม กรุ๊ป จำกัด และพิธีกรรายการ อายุน้อยร้อยล้าน มีเรื่องราวดีๆ มาฝากพ่อค้าแม่ขาย และผู้ประกอบการทุกท่าน หากต้องการบริหารธุรกิจให้มั่นคง เติบโต และอยู่รอด นั่นก็คือ “การบริหารจัดการเงิน” จากคุณตง “หม่อมหลวงพอยศ กัลยาณะวงศ์” กรรมการบริหาร บริษัท มัชรูม กรุ๊ป จำกัด อีกหนึ่งบุคคลสำคัญที่สามารถพาบริษัทก้าวข้ามทุกวิกฤตไปได้ กับประสบการณ์ด้านการเงินในแวดวงธุรกิจ SME กว่า 20 ปี
1.“กำไร = (ยอดขาย - ต้นทุนแปรผัน) – ต้นทุนคงที่” ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเล็กหรือใหญ่ ล้วนแล้วแต่มีหลักการบริหารการเงินที่เริ่มต้นมาจากสมการสั้นๆ ง่ายๆ นี้ด้วยกันทั้งนั้น
2. ต้องมียอดขายให้ได้มากกว่าต้นทุนทั้งหมดที่มี ทั้งต้นทุนแปรผันและต้นทุนคงที่ เพราะบางครั้งรายได้เยอะก็ไม่ได้หมายความว่า “เงินที่เหลือ” จะเยอะตามไปด้วย หากคุณยังมีต้นทุนที่ต้องจ่าย แล้วค่อยคิดเรื่องมีกำไรมีเงินเยอะ
3. ต้นทุนทั้งหมด มีความหมายรวมถึงต้นทุนที่จ่ายไปแล้ว และที่ยังรอจ่ายในอนาคตด้วย
4. เมื่อเราต้องการมียอดขายที่มาก สิ่งถัดมาที่ต้องคิด คือ “ต้องเตรียมเงินลงทุนไว้เท่าไร” และ “ทำอย่างไรให้มีกำไร”
5. พยายามแยกแยะงบกำไรขาดทุนทางบัญชีกับกระเเสเงินสดในมือให้ออก เพราะมันเป็นคนละเรื่องกัน แต่สำหรับ SME น่าจะสนใจอย่างหลังมากกว่า
6. กำไรก็สำคัญ แต่กระแสเงินสดสำคัญกว่า ดังนั้น อย่าสนใจเพียงแค่กำไร แต่ต้องบริหารจัดการกระแสเงินสดให้มีสภาพคล่องหมุนเวียนดีด้วย
7. ”ขายดีจนเจ๊ง” "ยิ่งขายดียิ่งขาดทุน" คือเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยกับ “ธุรกิจ” ที่หาเงินอย่างเดียว แต่ไม่ “บริหารเงิน” ให้ดี
8. โมเดลธุรกิจมีหลายรูปแบบ อย่าเลือกแต่ที่คิดว่าจะทำเงินได้เพียงอย่างเดียว แต่จงเลือกโมเดลธุรกิจที่เหมาะกับตัวคุณ เมื่อยิ่งชอบ จะยิ่งอยากทำ
9. การเลือกโมเดลในการทำธุรกิจ มีผลอย่างยิ่งต่อการบริหารเงินและการเริ่มธุรกิจ
10. เมื่อตัดสินใจแล้วว่าจะลงทุนทำธุรกิจ สิ่งแรกที่ต้องรู้ก่อนคือ เอาเงินจากที่ไหน ? “เงินตัวเอง” หรือ “กู้” หากเงินตัวเอง จะมีเพียงพอตลอดการทำธุรกิจหรือไม่ แล้วถ้ากู้ จะกู้จากที่ใด คนใกล้ตัว ครอบครัว เพื่อน หรือ สถาบันการเงิน ต้องวางแผนให้ดีและรัดกุมที่สุด
11. หากถามว่าควรใช้ “เงินตัวเอง” หรือ “กู้แบงก์” ดีกว่ากัน ? ขึ้นอยู่กับว่าคุณสะดวกทางไหน แต่ถ้าให้แนะนำเมื่อแบงก์ให้กู้ ก็ควรกู้แบงก์ เพราะไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจบ้าง ที่สำคัญไม่มีอะไรรับรองได้ว่า เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องการกู้แบงก์ แล้วแบงก์จะให้กู้ได้ทันเวลารึเปล่า
12. ทำธุรกิจ เรื่องเครดิตนั้นสำคัญ ยิ่งเครดิตดีเท่าไร โอกาสทางการเงินของธุรกิจกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การขอสินเชื่อเพื่อหมุนเวียนหรือขยายธุรกิจยิ่งมีมากเท่านั้น ดังนั้น คุณต้องให้ความสำคัญกับรักษาเครดิต และชำระหนี้ให้ตรงเวลา
13. ในวันที่ธุรกิจยังมีความสามารถในการชำระหนี้ พยายามชำระหนี้แบงก์ให้มาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังต้องมีวงเงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินให้ใช้ได้อยู่ด้วย เพื่ออนาคตข้างหน้าจำเป็นต้องใช้เงินกะทันหันจะได้ไม่เดือดร้อน
14. อนาคตเป็นเรื่องที่ไม่แน่นอน วันนี้ธุรกิจกำลังไปได้ดี แต่ใครจะรู้พรุ่งนี้อาจมีเรื่องมากระทบให้ธุรกิจ “สั่นคลอน” ก็ได้ ดังนั้น ธุรกิจจำเป็นต้องมีเงินสดสำรองไว้
15. อย่าใช้เงินผิดประเภท ต้องแยกเงินแต่ละประเภทออกจากกันและห้ามใช้ปนกันเด็ดขาด เช่น เงินสำหรับใช้ในระหว่างการทำงาน, เงินสำหรับการลงทุน หรือเงินสำหรับใช้หนี้ที่ยืมมา
16. ถ้าต้องการบริหารจัดการเงินให้มีประสิทธิภาพ เรื่อง “ภาษี” ไม่ควรมองข้าม และให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพราะมันอาจกลายเป็นภาระทางการเงินของธุรกิจในอนาคตได้ หากคุณเลี่ยงที่จะ “ไม่จ่าย” หรือ “จ่ายไม่ครบ”
17. เมื่อการเงินเข้าสู่ขั้นวิกฤต เพื่อให้เจอกับวิธีการแก้ไขที่ดีและเหมาะสมที่สุด ต้องดูก่อนว่า มันขาดทุนเพราะอะไร? อะไรคือต้นเหตุที่ทำให้ธุรกิจต้องเผชิญวิกฤต แล้วเริ่มแก้จากจุดนั้น
18. ต้องตัดใจยอม “ลด” บางสิ่ง เพื่อนำเงินไปหมุนในรายจ่ายที่จำเป็นกว่า และเพื่อนำมาใช้ในส่วนที่คาดว่าจะทำเงินได้มากกว่าในอนาคต
19. การบริหารการเงินของธุรกิจในภาวะวิกฤต เมื่อ “เงิน” ที่มี ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็ต้องหาช่องทางเพิ่มรายได้ พร้อมกับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น หรือหาวิธีจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ช้าลง เพื่อให้ธุรกิจเก็บเงินสดอยู่กับตัวได้นานขึ้น
20. แต่ถ้าเมื่อไรที่ขาดทุน จนไม่เห็นหนทางที่จะไปต่อได้ คำแนะนำที่ดีที่สุดคือ “เปลี่ยนโมเดลธุรกิจใหม่” ที่มีโอกาสทำเงินและกลายเป็นธุรกิจที่มั่นคงกว่าในอนาคต เพราะโลกเปลี่ยนเร็วมาก
สุดท้ายนี้ ต่อให้คุณบริหารจัดการธุรกิจด้านต่าง ๆ ดีแค่ไหน ขายเก่งแค่ไหน หรือหาลูกค้าเก่งขนาดไหน แต่ลืมใส่ใจเรื่อง “การบริหารการเงิน” ก็ไม่มีทางที่ธุรกิจคุณจะเติบโตหรือมั่นคงได้แน่นอน ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการ พ่อค้าแม่ขายที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการเงิน การลงทุน ก็สามารถนำเอาบทเรียนทั้ง 20 ข้อ ไปปรับใช้และเป็นแนวทางในการบริหารจัดการเงินในธุรกิจของตัวเองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan #อายุน้อยร้อยล้านNEWS #Business #ธุรกิจ #อรรฆรัตน์นิติพน #หม่อมหลวงพอยศ #กัลยาณะวงศ์ #มัชรูมกรุ๊ป #Mushroomgroup #บริหารการเงิน #การเงิน #บทเรียนการเงิน
同時也有9部Youtube影片,追蹤數超過6萬的網紅บัญชีอย่างง่าย,也在其Youtube影片中提到,ติดตามข้อมูลได้ที่ facebook : https://www.facebook.com/bunchee.easy... line@ : https://line.me/R/ti/p/%40bunchee.easy...
「ต้นทุนคงที่」的推薦目錄:
- 關於ต้นทุนคงที่ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最佳貼文
- 關於ต้นทุนคงที่ 在 Money Coach Facebook 的最佳貼文
- 關於ต้นทุนคงที่ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於ต้นทุนคงที่ 在 บัญชีอย่างง่าย Youtube 的精選貼文
- 關於ต้นทุนคงที่ 在 เด็กบัญชี ติวเตอร์ Youtube 的最佳解答
- 關於ต้นทุนคงที่ 在 เด็กบัญชี ติวเตอร์ Youtube 的最讚貼文
- 關於ต้นทุนคงที่ 在 Wongnai for Business - 1. ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) ต้นทุนคงที่ คือ ... 的評價
- 關於ต้นทุนคงที่ 在 การคำนวณต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่ต่อหน่วย - YouTube 的評價
- 關於ต้นทุนคงที่ 在 ประกาศอัตราค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติ ส่วนของต้นทุนคงที่ ... - pttplc 的評價
ต้นทุนคงที่ 在 Money Coach Facebook 的最佳貼文
#สรุป #เถ้าแก่มีตังค์ EP.6
ตั้งราคาขายอย่างไรดี? ให้มีกำไร
การตั้งราคาขายเป็นปัจจัยสำคัญ
ในการทำธุรกิจของเถ้าแก่ทุกคน
วิธีการตั้งราคาขายมีมากมาย
แต่วันนี้ขอเสนอหลักการง่ายๆให้ขบคิด
ราคาขาย = ต้นทุน + กำไร + กลยุทธ์
นี่คือจุดที่จะทำให้ธุรกิจมีกำไรไปตลอด
เริ่มจากตัวแรกก่อน รู้ต้นทุนทั้งหมด
ต้นทุนไม่ใช่ต้นทุนขาย แต่ต้องเป็น
ต้นทุนทั้งหมดของประกอบของธุรกิจ
ต้นทุนคงที่ ค่าเช่า เงินเดือนพนักงาน
ต้นทุนผันแปร ค่าวัตถุดิบ สินค้า ลูกน้อง
ต้นทุนอื่่นๆ รายจ่ายบริหาร โปรโมท
ถ้าเรารู้ต้นทุนทั้งหมดได้
เราจะรู้ว่าควรขายเท่าไร
เช่น ต้นทุนทั้งหมด คือ 80,000 บาท
ผลิตสินค้าออกมาได้ทั้งหมด 1,000 ชิ้น
แบบนี้ต้นทุนจะตกที่ 80 บาทต่อชิ้น
หลังจากนั้นมาชวนคิดกันต่อ
ในส่วนของกำไรที่อยากจะบวกเพิ่ม
วิธีการบวกเพิ่มก็มีหลายแบบ
จะบวกจากต้นทุนตรงๆเลยก็ได้
เช่น บวกเพิ่ม 20% ของต้นทุน
จากตัวอย่างเมื่อกี้จะเป็นยอดขาย 96 บาท
หรือจะตั้งราคาขายกำหนดกำไรไว้
เช่น กำไร 20% ของราคาขาย
แบบนี้ก็ต้องขาย 100 บาทต่อชิ้น
ยัง.. ยังไม่พอ อาจจะต้องไปดูกับราคาตลาด
ว่าคนอืนเขาขายเท่าไร ลูกค้าให้มูลค่าแบบไหน
เอามาประกอบการตัดสินใจอีกสักทีหนึ่งให้ชัดเจน
รวมถึงมองไปที่กลยุทธ์ของการตั้งราคาเพิ่มเติมด้วย
แต่ก่อนจะไปดูกลยุทธ์
อยากให้หยุดแวะเผื่ออีกเรื่อง
นั่นคือเรื่องของ "ภาษี"
อย่าลืมคิด 2 เรื่องนี้ คือ
1. ราคาขายบวก VAT 7% ได้ไหม
บวกเข้าไปแล้วลูกค้าจ่ายได้หรือเปล่า
เช่นจาก 100 บาทเมือกี้ ขาย 107 บาทได้ไหม
2. กำไรจากการขาย ต้องเสียภาษีด้วย
ดังนั้นอาจจะมีกำไรบางส่วนหายไป
ตามรูปแบบของธุรกิจที่เราเลือกทำ
เช่น บุคคล หรือ บริษัท
ดังนั้นเอาจุดนี้มาใส่ในราคาด้วย
มันจะช่วยให้ภาษีไม่ทำร้ายเราภายหลัง
หลังจากนั้นมามองถึงกลยุทธ์ต่างๆ
กลยุทธ์ธุรกิจ ภาพลักษณ์ของแบรนด์
กลุ่มลูกค้า ภาพรวมของสินค้าหรือบริการ
ราคาขายมีโอกาสต้องลดไหม
เช่น มีระบบตัวแทน มีการขายส่งจำนวนมาก
เผื่อไว้ก่อนเลยดีกว่า จะได้ไม่ใช่ขายแล้วขาดทุน
สินค้าหรือบริการตัวนี้มีวัตถุประสงค์อะไร
เอาไว้ล่อซื้อให้คนเข้ามาหาร้านเรา
เอาไว้ใช้คู่กับสินค้าอีกตัวที่เขาต้องใช้ตาม
วางแผนตรงนี้ให้ดี ราคาที่ได้อาจจะมีเปลี่ยน
สุดท้ายแล้ว การตั้งราคาไม่ใช่แค่เพื่อให้ขายได้
แต่จะเป็นตัวกำหนดในสิ่งที่ธุรกิจของเรามีทั้งหมด
ตั้งแต่ภาพลักษณ์ ความคาดหวัง คุณค่า
และสุดท้ายคือความพอใจที่ลูกค้าจะได้รับ
เพราะถ้าขายได้แต่ไม่มีกำไร
บางทีเราควรไปทำการกุศลแทนธุรกิจ
ด้วยความปราถนาดีจาก "เถ้าแก่มีตังค์"
ปล. ติดตามรับชมรายการ #เถ้าแก่มีตังค์
ทุกวันศุกร์ 2 ทุ่มตรง ได้ทั้งสองช่องทาง
Facebook และ Youtube Money Coach
ต้นทุนคงที่ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ไม่ใช่ทุกธุรกิจ จะเหมาะกับโมเดล Subscription /โดย ลงทุนแมน
รูปแบบการเก็บค่าบริการในโลกนี้หลักๆ มีอยู่สองแบบ
แบบเหมาจ่ายหรือที่เรียกกันว่า “Subscription” กับแบบ “ตามการใช้งาน”
ถ้าเอาแนวคิดเรื่องโครงสร้างต้นทุน มาวิเคราะห์ธุรกิจที่เก็บค่าบริการแตกต่างกันสองแบบนี้
จะเห็นความสัมพันธ์ได้ง่าย
แล้วการเก็บค่าบริการแต่ละแบบเหมาะกับธุรกิจแบบไหน
ลงทุนแมนจะวิเคราะห์ให้ฟัง
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ถ้าพูดถึงต้นทุน ส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วย
1. ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost)
2. ต้นทุนแปรผันตามการให้บริการ (Variable Cost)
ธุรกิจประเภทแรก คือธุรกิจที่เก็บค่าบริการแบบเหมาจ่ายหรือค่า Subscription
ตัวอย่างเช่น Netflix, Spotify
ข้อสังเกตของธุรกิจประเภทนี้ คือไม่มีต้นทุนที่แปรผันตามการใช้งานจึงสามารถเก็บค่าบริการเหมาจ่ายแบบ Subscription ได้
ยกตัวอย่างเช่น Netflix แพลตฟอร์มวิดีโอสตรีมมิงออนไลน์
ที่การเพิ่มขึ้นของการใช้งาน ไม่ได้เพิ่มต้นทุนในการให้บริการอย่างมีนัยสำคัญ
ไม่ว่าจะมีสมาชิก 100 คน หรือ 1,000 คน ที่เข้ามาชมภาพยนตร์ ซีรีส์
Netflix จะยังมีค่าใช้จ่ายหลักคล้ายเดิม
เช่น ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแอปพลิเคชัน ดูแลระบบ สร้างคอนเทนต์ ค่าโฆษณาประชาสัมพันธ์
อาจจะมีต้นทุนเพิ่มบางส่วน เช่น ค่าทราฟฟิก ค่าเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ ที่ต้องจ่ายเพิ่ม แต่ก็ไม่ได้มีนัยสำคัญ
พูดง่ายๆ คือ ต้นทุนส่วนใหญ่ของ Netflix คือต้นทุนคงที่
ในขณะที่ต้นทุนแปรผันตามการใช้งานมีน้อย
Netflix จึงไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มจากจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้น
และสามารถเก็บค่าบริการได้ในราคาเหมาจ่าย
ส่วนผู้ใช้งาน ก็รับชมคอนเทนต์ได้เต็มที่
ไม่ต้องกังวลว่าดูมากแล้วจะเสียเงินมาก
ส่วนธุรกิจอีกประเภท คือธุรกิจที่คิดค่าบริการตามการใช้งาน
เช่น GrabFood, Kerry
ข้อสังเกตของธุรกิจประเภทนี้คือมีต้นทุนแปรผันตามการให้บริการ
ยกตัวอย่าง เช่น GrabFood แอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ และบริการจัดส่งอาหาร
ที่การเก็บค่าบริการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะทางที่ให้บริการ
เพราะระยะทางในการจัดส่งที่ไกลขึ้น มีต้นทุนค่าน้ำมัน และเวลาที่ต้องเสียมากขึ้น
พูดง่ายๆ คือ นอกเหนือจากต้นทุนคงที่ เช่น ต้นทุนการพัฒนาแอปพลิเคชัน สวัสดิการของพาร์ตเนอร์คนขับ
ยังมีต้นทุนที่แปรผันตามการให้บริการเพิ่มขึ้นมา
ทำให้ GrabFood ต้องคิดค่าบริการตามระยะทางหรือตามการใช้งาน
เพื่อให้เหมาะสมกับต้นทุนในการให้บริการแต่ละครั้ง
แต่เมื่อมีซ้ายสุดและขวาสุด ก็ย่อมมีตรงกลาง
ธุรกิจบางประเภท สามารถเก็บค่าบริการได้ทั้งสองแบบ
ทั้งแบบเหมาจ่าย และแบบคิดตามการใช้งาน เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้มีตัวเลือกมากขึ้น
แล้วอาศัยการนำรายได้จากทั้งสองแบบมารวมกัน
ตัวอย่างเช่น ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต
มีทั้งคิดค่าบริการแบบเหมาจ่ายรายเดือน และตามการใช้งานหรือแบบเติมเงิน
โดยบริษัทที่ให้บริการจะใช้ค่า Average Revenue Per User (ARPU)
หรือรายได้เฉลี่ยต่อผู้ใช้งาน มาเป็นเครื่องมือบริหารรายได้
จากมุมมองโครงสร้างต้นทุนของแต่ละธุรกิจ
ก็สรุปได้ว่า ธุรกิจที่มีโครงสร้างต้นทุนต่างกัน เหมาะกับการคิดค่าบริการกันคนละแบบ
ธุรกิจที่ไม่มีต้นทุนแปรผันตามการใช้งานอย่าง Netflix
เหมาะกับการเก็บค่าบริการแบบเหมาจ่าย
ส่วนธุรกิจที่มีต้นทุนแปรผันตามการให้บริการอย่าง GrabFood
เหมาะกับการคิดค่าบริการตามการใช้งาน
ถ้าให้ GrabFood คิดค่าส่งเหมารวมราคาเดียวก็คงจะลำบาก
เพราะต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการให้บริการแต่ละครั้งนั้นไม่เท่ากัน
ผู้บริโภคก็คงไม่ชอบใจ หากต้องจ่ายค่าส่งอาหารที่สั่งจากร้านที่ระยะทางขนส่ง 2 กิโลเมตร
เท่ากันกับอีกคนที่สั่งจากร้านที่ระยะทางขนส่ง 10 กิโลเมตร
โจทย์ของผู้ให้บริการ คือจะจัดการรายรับอย่างไร ให้เหมาะสมกับรูปแบบต้นทุนที่สุด
นั่นหมายความว่า
ไม่ใช่ทุกธุรกิจบนโลกจะเหมาะกับการเก็บค่าบริการแบบ Subscription ไปเสียทั้งหมด
ท้ายสุดแล้ว
อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้คุณภาพของสินค้าหรือบริการ คือการบริหารรายได้ให้สัมพันธ์กับโครงสร้างต้นทุน
ไม่เช่นนั้นแล้ว ต่อให้มีผู้ใช้บริการมากมายแค่ไหน
ธุรกิจก็คงอยู่ไม่ได้ ถ้ารายได้น้อยกว่าต้นทุน..
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
ต้นทุนคงที่ 在 บัญชีอย่างง่าย Youtube 的精選貼文
ติดตามข้อมูลได้ที่
facebook : https://www.facebook.com/bunchee.easy...
line@ : https://line.me/R/ti/p/%40bunchee.easy
ต้นทุนคงที่ 在 เด็กบัญชี ติวเตอร์ Youtube 的最佳解答
ติวบัญชี เรียนบัญชี เรียนพิเศษบัญชี สอนพิเศษบัญชี ติวสดบัญชี
http://www.dekbunchee.com
โทร. 084-103-0099
ติวออนไลน์ ติวบัญชีออนไลน์
http://www.dekbuncheeclub.com
บัญชีสำหรับบุคคลทั่วไป
รายการเด็กบัญชีวาไรตี้ ช่วงเทคนิคบัญชีขั้นต้น
ตอน บันทึกบัญชีรายการซื้อ เรียนบัญชีไม่มีเครียดโดยพี่อัส
เนื้อหาเกี่ยวกับเทคนิตการคำนวณจุดคุ้มทุนการต่อยอดการเรียนรู้วิธีการแยกต้นทุนผันแปร
CVP ต้นทุนแยกเป็นสองพฤติกรรม สูตรของจุดคุ้มทุน เพื่อให้รู้เป็นหน่วย
กำไรส่วนเกินต่อหน่วย กำไรส่วนเกิน ต้นทุน หรือ CM ต้นทุนคงที่
และนี้คือการหา BEP
ต้นทุนคงที่ 在 เด็กบัญชี ติวเตอร์ Youtube 的最讚貼文
ติวบัญชี เรียนบัญชี เรียนพิเศษบัญชี สอนพิเศษบัญชี ติวสดบัญชี
http://www.dekbunchee.com
โทร. 084-103-0099
ติวออนไลน์ ติวบัญชีออนไลน์
http://www.dekbuncheeclub.com
บัญชีสำหรับบุคคลทั่วไป
รายการเด็กบัญชีวาไรตี้ ช่วงเทคนิคบัญชีขั้นต้น
ตอน ตัวอย่างการคำนวณจุดคุ้มทุน(ร้านกาแฟ) เรียนบัญชีไม่มีเครียดโดยพี่อัส
เนื้อหาเกี่ยวกับ ตัวอย่างการคำนวณจุดคุ้มทุน(ร้านกาแฟ)
วิธีการคำนวณจุดคุ้มทุน โจทย์เป็นร้านกาแฟ ยกตัวอย่าง
ราคาขาย 50 บาท ต้นทุนผันแปร 30 บาท ต้นทุนคงที่ 40,000 บาท
เรามาดูกันว่าร้านกาแฟนี้จะต้องขายกี่แก้วถึงจะคุ้มทุน
ถ้าของที่ซื้อเก็บมาไว้ถ้ายังไม่ได้ขายออกไปถือว่าเป็นสินทรัพย์ของคุณ
ต้นทุนคงที่ มาลองคำนวณกันว่าร้านนี้จะต้องขายให้ได้กี่แก้วถึงจะคุ้มทุน
ใช้สูตร CM FC เมื่อไรที่เปอร์เซ้นเป็นจุดอาจจะมีราคาไม่เท่ากัน
ต้นทุนคงที่ 在 การคำนวณต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่ต่อหน่วย - YouTube 的推薦與評價
รายการอาจารย์มานพพบปัญหา 37 โดย อ.มานพ สีเหลือง สถาบันYellowการบัญชี www.yellowaccounting.com (ระบบE-learning เรียนออนไลน์ฟรี) ... <看更多>
ต้นทุนคงที่ 在 ประกาศอัตราค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติ ส่วนของต้นทุนคงที่ ... - pttplc 的推薦與評價
ธันวาคม 2550 และอาศัยความตามมาตรา ๓๐ แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ได้รับใบอนุญาตการ ... ... <看更多>
ต้นทุนคงที่ 在 Wongnai for Business - 1. ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) ต้นทุนคงที่ คือ ... 的推薦與評價
1. ต้นทุนคงที่ (Fixed cost) ต้นทุนคงที่ คือ ค่าใช้จ่ายที่ไม่ผันผวนเดือนต่อเดือนและเป็นอิสระจากยอดขาย . ไม่ว่าจะขายได้หรือไม่คุณก็ต้องจ่ายในจำนวนที่เท่ากัน เช่น ... ... <看更多>