บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่มาจากการทำรัฐประหารรัฐบาลในขณะบริหารราชการแผ่นดิน
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่มาจากการทำรัฐประหารรัฐบาลในขณะบริหารราชการแผ่นดิน และไม่ใช่เป็นรัฐบาลรักษาการณ์ จะพบว่ามีที่มาอยู่ 2 กรณี คือ
กรณีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่มาจากการทำรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและอยู่ในขณะบริหารราชการแผ่นดินกับ
กรณีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่มาจากการทำรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งในขณะการบริหารราชการแผ่นดิน ดังนี้
1.1 บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่มาจากการทำรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในขณะการบริหารราชการแผ่นดิน (ไม่ใช่รัฐบาลรักษาการณ์)
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่มาจากการทำรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในขณะการบริหารราชการแผ่นดิน มีอยู่ 4 ฉบับ ดังนี้
1.บทบัญญัติรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 มาตรา 17 ที่มาจากการทำรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในขณะการบริหารราชการแผ่นดินถูกรัฐประหารโดย พล.ท. ถนอม กิตติขจร ร่วมกับ จอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาลตัวเอง ที่มี พล.ท. ถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่20 ตุลาคม 2501 พร้อมทั้งได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ คือ ยกเลิกแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 และได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ปกครองประเทศแทน
2.บทบัญญัติธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2515มาตรา 17 ที่มาจากการรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในขณะการบริหารราชการแผ่นดินถูกรัฐประหารโดย จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจการปกครองรัฐบาลของตัวเอง ที่มีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวัน 17 พฤศจิกายน 2514 พร้อมทั้งยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 และได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2515 ปกครองประเทศแทน
3.บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 มาตรา 21 ที่มาจากการรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในขณะการบริหารราชการแผ่นดินถูกรัฐประหารโดยพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจการปกครองรัฐบาล ที่มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 พร้อมทั้งยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 และได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 ปกครองประเทศแทน
4.บทบัญญัติธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 มาตรา 27 ที่มาจากการรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในขณะบริหารราชการแผ่นดิน ถูกรัฐประหารโดย พล.อ. สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจปกครองรัฐบาลที่มี พอ.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 พร้อมทั้งยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 ปกครองประเทศแทน
1.2 บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่มาจากการทำรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งในขณะการบริหารราชการแผ่นดิน
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่มาจากการทำรัฐประหารรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งในขณะการบริหารราชการแผ่นดินคือบทบัญญัติธรรมนูญปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520มีที่มาจากการรัฐประหารจากรัฐบาลที่มาจาการแต่งตั้งในขณะบริหาราชการแผ่น ถูกรัฐประหารโดยพล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจการปกครองตัวเอง จากรัฐบาลที่มี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 พร้อมทั้งยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 และได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2520 ปกครองประเทศแทน
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過21萬的網紅SawEsanBanthung,也在其Youtube影片中提到,ไปสับหน่อไม้ กันอีกแล้ว มื้อนี้ กับซาเล้งคู่ใจ ของน้องวารินทร์ สาวอีสานบ้านทุ่ง ติดตามที่นี่ค่ะ สาวอีสานบ้านทุ่ง แฟนเพจ:https://goo.gl/dOQ7NV สาวอีสาน...
「ถนอม คือ」的推薦目錄:
- 關於ถนอม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於ถนอม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於ถนอม คือ 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最佳貼文
- 關於ถนอม คือ 在 SawEsanBanthung Youtube 的最佳貼文
- 關於ถนอม คือ 在 นักปฏิบัติการทางศิลปะ | ก(ล)างเมือง - YouTube 的評價
- 關於ถนอม คือ 在 จอมพลถนอมบวชเณรกลับไทย ชนวนเหตุ 6 ต.ค. 2519 - YouTube 的評價
- 關於ถนอม คือ 在 อาลัย "ถนอม สามโทน" เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ | 30-03-66 的評價
- 關於ถนอม คือ 在 อาลัย "ถนอม สามโทน" นักร้องดังป่วยมะเร็งตับเสียชีวิต - YouTube 的評價
- 關於ถนอม คือ 在 อาลัยครั้งสุดท้าย “ถนอม สามโทน” บุคคลสำคัญของวงการเพลง 的評價
- 關於ถนอม คือ 在 ดวงตาคืออวัยวะสำคัญที่ต้องถนุถนอม วันนี้เลยมีถนอมตาคู่สวย... - ส ... 的評價
ถนอม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
"กฎอัยการศึกที่เกี่ยวเนื่องกับการรัฐประหาร"
รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ความหมายของกฎอัยการศึก
กฎอัยการศึก (martial law) เป็นกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ซึ่งในเขตที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน
ลักษณะของกฎอัยการศึก
ในปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพุทธศักราช 2457 เป็นกฎหมายจำกัดสิทธิพลเมืองฉบับแรกๆ ของประเทศไทยได้ประกาศใช้ในสถานการณ์พิเศษ ที่จำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1.สถานการณ์พิเศษที่เกี่ยวเนื่องกับการจลาจลหรือสงคราม
2.สถานการณ์พิเศษที่เกี่ยวเนื่องกับการรัฐประหาร
3.สถานการณไม่สงบภายในราชอาณาจักร (เช่น สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
การประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก กฎอัยการศึกมักกำหนดเป็นการชั่วคราวเมื่อรัฐบาลหรือข้าราชการพลเรือนไม่อาจทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของรัฐ อาจจะประกาศใช้ในลักษณะ ดังนี้
1.การประกาศใช้พระราชบัญัติกฎอัยการศึกใช้ที่ใดที่หนึ่ง เช่น การประกาศในท้องที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักรไทยเป็นต้น การประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกในลักษณะนี้ ฝ่ายที่ดำเนินการไปต้องรายงานให้รัฐบาลทราบหลังจากดำเนินการประกาศใช้
2.การประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกทั่วทั้งประเทศ ซึ่งการประกาศใช้ทั้งประเทศส่วนมากจะใช้ควบคู่ไปกับการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลและฉีกรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ เป็นการประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกเต็มขั้น นายทหารยศสูงสุดจะยึด หรือได้รับแต่งตั้ง เป็นผู้ว่าการทหารหรือเป็นหัวหน้ารัฐบาลฉะนั้น จึงเป็นการถอดอำนาจทั้งหมดทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการของรัฐบาล
การประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกที่เกี่ยวเนื่องกับการรัฐประหาร
เมื่อพิจารณาศึกษาจะพบว่า มีการประกาศกฎอัยการศึก ที่เกี่ยวเนื่องกับการรัฐประหารซึ่งถือว่าเป็นการประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกเต็มขั้นมีทั้งสิ้น 8 ครั้ง ด้วยกัน ดังนี้
ครั้งที่ 1 เนื่องจากการก่อรัฐประหารภายใต้การนำของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 เวลา 23.00 น. ใช้บังคับทุกจังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 74 ตอนที่ 76 ต่อมาประกาศยกเลิกจนครบทุกจังหวัด เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2501
ครั้งที่ 2 เนื่องจากการก่อรัฐประหารโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 เวลา 21.13 น. บังคับใช้ทุกจังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 81 ต่อมาประกาศยกเลิก 37 จังหวัด เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2514
ครั้งที่ 3 เนื่องจากการรัฐประหารโดย จอมพล ถนอม กิตติขจร ประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 เวลา 20.11 น. ใช้บังคับทุกจังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 88 ตอนที่ 124 ต่อมาได้มีประกาศยกเลิก 41 จังหวัด เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2517 จนกระทั่งต่อมาในเวลาไล่ๆ กันก็ประกาศยกเลิกอีก 2 จังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 50
ครั้งที่ 4 เนื่องจากการรัฐประหารโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เวลา 09.10 น. ใช้บังคับทุกจังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 93 ตอนที่ 120
ครั้งที่ 5 เนื่องจากการรัฐประหารโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 เวลา 18.00 น. คงให้ใช้บังคับกฎอัยการศึกตามที่ประกาศเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ต่อไป และต่อมาได้มีประกาศยกเลิก 30 จังหวัด เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2527 เวลา 06.00 น. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 101 ตอนที่ 104
ครั้งที่ 6 เนื่องจากการรัฐประหารโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 เวลา 11.30 น. ใช้บังคับทุกจังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 32 ต่อมาได้มีประกาศยกเลิก 52 จังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 77 และต่อมาได้ประกาศยกเลิกอีก 1 จังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 242 ก
ครั้งที่ 7 เนื่องจากการรัฐประหารโดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เวลา 21.05 น. ใช้บังคับทุกจังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 123 ตอนที่ 95 ก ต่อมาได้มีประกาศยกเลิก 35 จังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 7 ก และต่อมาได้มีประกาศยกเลิกอีก 27 จังหวัด แต่ประกาศใช้บังคับเพิ่มเติม 9 จังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 5 ก
ครั้งที่ 8 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ลงนามในประกาศกองทัพบก ฉบับที่ 1/2557 เรื่องการประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เวลา 03.00น. เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำความสงบสุขกลับคืนสู่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายโดยเร็ว จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 2 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการประกาศพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกที่เกี่ยวเนื่องการรัฐประหาร
เมื่อพิจารณาศึกษาจะพบว่า ในจำนวน 7 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1-7 จะต้องมีการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลเก่าฉีกรัฐธรรมนูญแล้วประกาศใช้กฎอัยการศึก แต่ในครั้งที่ 8 (ครั้งล่าสุด) นั้นได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกก่อนแล้วทำการรัฐประหาร นับว่าเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในการประกาศพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก
ถนอม คือ 在 โหรฟันธง ลักษณ์ เรขานิเทศ Facebook 的最佳貼文
พระกริ่งพระเสาร์ ๕๐ (พระกริ่งเจ้าพระยา ๒)
เจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตรฯ
มหามงคลสถาปนาในวาระที่ “ดาวเสาร์ (๗)” โคจรยกย้ายราศี จากราศีกรกฎเข้าสู่ราศีสิงห์
ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐
ในวาระมหามงคลโอกาสที่จะได้จัดให้มีการประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์นพเคราะห์ ในวาระอันเป็นมงคลแห่งดาวพระเคราะห์ใหญ่โคจรยกย้ายราศี ท่านเจ้าคุณพระพรหมมังคลาจารย์ (เจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตรฯ) ท่านจะให้ความสำคัญกับวาระที่เป็นปรากฏการณ์ในทางดาราศาสตร์ตามคัมภีร์สุริยยาตร์ และสัมพันธ์กับเรื่องราวทางโหราศาสตร์ และเนื่องด้วยเจ้าคุณธงชัย (พระพรหมมังคลาจารย์) ท่านเกิดตามวันทางจันทรคติตรงกับวันเสาร์ จึงนับว่าเป็นโอกาสอันดี และเมื่อผม ลักษณ์ เรขานิเทศ เข้าไปเป็นศิษย์ที่ใกล้ชิดในขณะนั้น ด้วยความเคารพศรัทธาในท่านเจ้าคุณอาจารย์ จึงได้กราบขออนุญาตจัดสร้างพระกริ่ง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาสืบอายุพระพุทธศาสนา และเพื่อเป็นมงคลวาระให้ระลึกนึกถึง “ดาวเสาร์ (๗)” โคจรย้ายราศี อันเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเทพยดานพเคราะห์องค์ที่สำคัญพระองค์หนึ่ง
ในปรัชญาทางโหราศาสตร์ตามเทวกำเนิด กล่าวถึง “พระเสาร์” ว่า พระเสาร์เกิดจากการที่พระศิวะหรือพระอิศวร นำเอาเสือ ๑๐ ตัว มาป่นให้เป็นผง แล้วห่อด้วยผ้าสีดำหรือสีม่วง ประพรมด้วยน้ำอัมฤทธิ์ชุบชีวิตให้บังเกิดเป็นเทวราชนามว่า “องค์พระเสาร์เทพบุตร” ในปรัชญาทางโหราศาสตร์กล่าวถึงพระเสาร์ว่า “โทษทุกข์ให้ทายเสาร์” ในองค์ความรู้ของความหมาย เทพพระเสาร์อาจจะหมายถึงทุกข์นานาประการ ซึ่งเป็นอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ในหมวดของทุกข์นั้นยังเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกรรมที่นำมาเกิดของบุคคลและสัตว์ทั้งหลายในโลกมนุษย์ แล้วอาจยังหมายถึงเรื่องของกรรมในปัจจุบันที่เกิดขึ้นทั้งจากการกระทำในอดีตและปัจจุบันแสดงผล การแสดงผลก็มักจะเป็นไปในทางที่ทำให้เกิดโทษและทุกข์ ด้วยเหตุของตนแห่งตนที่เคยกระทำไว้ในอดีตถึงปัจจุบันนั่นเอง พระเสาร์จึงไม่ได้เป็นดาวที่ร้ายกาจ แต่เป็นดาวที่สะท้อนเงากรรมของดวงชะตาในบุคคลแต่ละบุคคล ที่ได้เคยกระทำไว้ในอดีตแล้วมาแสดงผลในปัจจุบัน เหตุแห่งทุกข์ในทางพระพุทธศาสนา ทำให้รู้ต้นเหตุแห่งการเวียนเกิด ซึ่งเป็นไปตามกรรมและวิบาก เข้าใจในสัจธรรม และเข้าใจในหลักที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ตามหลักอริยสัจ ๔ พระเสาร์ในปรัชญาของศาสตร์ชั้นสูง จึงแสดงอรรถาธิบายด้วยกถาทั้งหมดทั้งมวลตามที่ได้กล่าวไปในเบื้องต้นนี้
เนื่องด้วยในทางดาราศาสตร์ ตามคัมภีร์สุริยยาตร์ “ดาวเสาร์ (๗)” จะโคจรผ่าน ๑ ราศี ใช้เวลา ๒ ปีครึ่ง แรกเมื่อเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ “ดาวเสาร์ (๗)” สถิตในราศีธนู แล้วหลังจากนั้นถึง ๒ ปีครึ่ง “ดาวเสาร์ (๗)” ท่านจะโคจรในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา เวียนบรรจบมาครบรอบหนึ่งใช้เวลา ๓๐ ปี เพราะในจักรราศีทั้ง ๑๒ ราศีนั้น คือขอบเขตปริมณฑลแห่งเส้นทางโคจรของ “ดาวเสาร์ (๗)” ในรอบปีปัจจุบันขณะนั้น “ดาวเสาร์ (๗)” โคจรอยู่ราศีกรกฎ ครบ ๒ ปีครึ่ง แล้วจะมีการยกย้ายจากราศีกรกฎ เข้าสู่ราศีสิงห์ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม ปี ๒๕๕๐ นั่นเอง จึงนับเป็นโอกาสอันสำคัญที่พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระพรหมมังคลาจารย์ (เจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร) ท่านได้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์นพเคราะห์ในวาระที่สำคัญ ๆ อย่างนี้เสมอ โดยเฉพาะเมื่อมีดาวนพเคราะห์พระองค์ใหญ่ ๆ โคจรยกย้ายราศี ซึ่งท่านกระทำต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาหลาย ๑๐ ปี(ในขณะนั้น)และในปีดังกล่าวมีปรากฏการณ์ที่น่าสนใจในหลายประการ กล่าวคือ
1. ในช่วงปีดังกล่าวนั้น เป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์ของปาฏิหาริย์ในองค์จตุคามรามเทพ เสด็จมาโปรดและเผยแผ่บารมีให้ประชาชนทั้งประเทศได้บังเกิดโชคลาภความสุขอย่างมหัศจรรย์
2. ในปีดังกล่าว เกิดปรากฏการณ์ที่สำคัญบนการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่องราวทางการเมืองหลาย ๆ อย่าง
3. ในปีดังกล่าว ผม ลักษณ์ เรขานิเทศ ได้มีชื่อเสียงโด่งดังและประสบความสำเร็จในวิชาชีพโหร จึงได้กราบขออนุญาตจัดสร้าง “พระกริ่งพระเสาร์ ๕๐” หรือสถาปนาต่อมาว่า “พระกริ่งเจ้าพระยา ๒” ซึ่งจะมีเหตุผลในการอธิบายในลำดับต่อไป
4. ในวาระดังกล่าว ผม ลักษณ์ เรขานิเทศ ได้ขอเมตตาจัดสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรกองค์ใหญ่ พิมพ์เดียวกับที่ท่านเจ้าประคุณพระพรหมมังคลาจารย์ (เจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร) ได้จัดสร้างไว้ในทุกภาคของประเทศไทย ที่ประดิษฐานไว้ในวัดสำคัญ ท่านก็เมตตาอนุญาต และได้เป็นธุระจัดหาในเรื่องของการจัดหาช่างมาประกอบพิธีเททองด้วยตัวของท่านเอง รวมถึงการจัดสร้างและการเททองพระกริ่ง ผมได้รับเมตตาจากท่านเจ้าคุณธงชัย โดยท่านเป็นคนกำหนดทั้งแบบพิมพ์พระกริ่งและรายละเอียดของการประกอบพิธีเททองทั้งหมด รวมถึงจัดเตรียมมวลสารที่สำคัญที่ท่านเจ้าคุณธงชัยได้รวบรวมสะสมเอาไว้ ซึ่งผมก็ไม่ได้ทราบเลยว่านายช่างที่จะมาประกอบพิธีเททองเป็นใคร มาทราบภายหลังว่าเป็นนายช่างจากจังหวัดพิษณุโลก และนายช่างจากจังหวัดนครสวรรค์ ทราบต่อมาว่าน่าจะเป็นนายช่างสมชาย ซึ่งเป็นนายช่างคนเดียวกับเพื่อนของผมที่จังหวัดนครสวรรค์ ได้ใช้คณะนายช่างสมชาย เป็นผู้ที่เททองหล่อพระกริ่ง , หล่อพระชัย หรือหล่อรูปหล่อให้ครูบาอาจารย์ทางสายนครสวรรค์อยู่เป็นระยะ
5. ในปีดังกล่าว มีบุคคลที่ไปมาหาสู่ มากราบนมัสการท่านเจ้าคุณธงชัย โดยเฉพาะผู้มีความชำนาญการในเรื่องต่าง ๆ มากมาย ผมก็ได้พบปะหลาย ๆ ท่าน โดยเฉพาะมีคุณลุงกำพล มาจากเมืองนครศรีธรรมราช ได้จัดหาครุฑโบราณอายุนับเป็นพันปี เป็นเนื้อสำริด องค์ไม่ใหญ่มาก ท่านเจ้าคุณธงชัยบอกให้ผมได้บูชาเอาไว้ เพื่อเป็นมงคลศรัทธา แล้วท่านก็ได้เล่าเรื่องราวของพญาครุฑในตำนานแห่งการก่อกำเนิด ซึ่งเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ โดยเฉพาะหัวใจของครุฑ คือความรัก ความกตัญญูที่มีต่อมารดามากสุดนับประมาณ ผมก็ได้ครุฑโบราณองค์ดังกล่าวมาบูชาสักการะเป็นองค์แรก ที่นับว่าเป็นมงคล
นี่เป็นปรากฏการณ์หรือเรื่องราวที่พอจะบันทึกไว้ได้ในขณะนั้น ซึ่งเป็นความทรงจำผ่านระยะเวลามาเกิน ๑๐ ปี ถ้านับถึงปีที่เขียนบทความนี้ในราวปีพุทธศักราช ๒๕๖๑
ในเรื่องของชนวนมวลสารที่สำคัญ ของการจัดสร้าง “พระกริ่งพระเสาร์ ๕๐” (เจ้าพระยา ๒) เบื้องต้นท่านเจ้าคุณธงชัยได้รวบรวมชนวนมวลสารเก่า ๆ เป็นจำนวนมาก ที่ท่านได้สะสมเอาไว้ในรอบหลาย ๑๐ ปี ผมได้จัดนำชนวนมวลสารที่ได้รับมอบจากประชาชน เพราะในห้วงเวลานั้นผมได้จัดสร้างองค์จตุคามรามเทพ และมีส่วนหนึ่งที่จะนำไปแจกทหาร ตำรวจ ประกาศบอกบุญให้สาธุชนทั่วประเทศร่วมบุญสร้างผ่านสื่อต่าง ๆ มีประชาชนส่งชนวนมวลสารมามากมาย นับเป็นพันรายการ โดยเฉพาะชนวนมวลสารโลหะ จึงได้นำเอามาหลอมแล้วจะได้มาร่วมพิธีในการเททองในครั้งนี้ ประกอบกับ ผมได้จัดเตรียมทองคำบริสุทธิ์อันได้แก่ทองคำน้ำหนักประมาณ ๑๐ บาท ซึ่งเป็นกำลังของพระเสาร์เทพบุตร ได้จัดเตรียมเงินบริสุทธิ์ จัดเตรียมมงคลที่ผมบูชาสักการะส่วนตัวหลายอย่าง เช่น แหวนพญานาคราชทองคำ , กำไลพญานาคราชทองคำ , สร้อยคอทองคำที่ใช้ประจำตัว แล้วได้สละเพื่อนำมาจัดสร้าง , เหรียญเทวดานพเคราะห์เนื้อเงิน ๙ พระองค์ , เหรียญพระนเรศวร รุ่น สู้ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อทองแดง และชนวนมวลสารบางส่วนที่ได้รับมอบจากคุณสมร รัชนธรรม นายช่างแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นนายช่างประวัติศาสตร์คนหนึ่งที่สำคัญ มีชนวนมวลสารที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ แผ่นผ้ายันต์อันศักดิ์สิทธิ์ 108 นะ 14 ที่ท่านเจ้าคุณธงชัยได้รวบรวมชุดผ้ายันต์ต่าง ๆ ที่ อ.เทพย์ สาริกบุตร ได้เคยจัดลงผ้ายันต์ไว้ส่วนหนึ่ง และส่วนหนึ่ง อ.ถนอม ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรม ได้มามอบให้ท่านเจ้าคุณธงชัย เพื่อหลอมเป็นมหามงคลในการจัดสร้าง “พระกริ่งพระเสาร์ ๕๐” (เจ้าพระยา ๒) และพระพุทธรูปนาคปรก
ตลอดจนผมได้ทราบภายหลังจากเพื่อนที่เคยใช้คณะนายช่างที่มาประกอบพิธีเททองในครั้งนี้ ว่าก่อนหน้าที่จะมีการเททองหล่อ “พระกริ่งพระเสาร์ ๕๐” (เจ้าพระยา ๒) คณะนายช่างได้ไปจัดพิธีเททองหล่อพระให้ อ.ไพรินทร์ แห่งวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร อ.ไพรินทร์ได้นำเอาเหวัชระ ยอดปราสาทของเก่า ตลอดจนได้นำเอาผ้ายันต์ศักดิ์สิทธิ์เมื่อครั้ง อ.เทพย์ สาริกบุตร ยังมีชีวิตอยู่ ไปเข้าพิธีหลอมเพื่อหล่อพระในวาระนั้น ชนวนที่เหลือนายช่างสมชายได้นำมาเป็นชนวนมวลสารที่จัดหลอมโลหะรวมกับชนวนมวลสารต่าง ๆ ในพิธีเททองในครั้งนี้ด้วย
จึงนับได้ว่ามีชนวนมวลสารโลหะศักดิ์สิทธิ์ของเก่าที่ผ่านมากาลเวลามาร่วมหลอม เพื่อเป็นเนื้อโลหะในการหล่อพระกริ่งและพระเสาร์นาคปรกเป็นจำนวนมาก เพราะในครั้งนั้นต้องใช้น้ำทองที่หล่อเฉพาะองค์พระเสาร์นาคปรก น่าจะ ๒๐๐-๓๐๐ กิโลกรัม และใช้ในการหล่อพระกริ่งน่าจะอีกประมาณ ๑๐๐ กิโลกรัม จึงต้องบันทึกเรื่องราวในความเป็นมงคลนี้ ไว้เป็นความทรงจำสำหรับคนในยุคหลังที่จะได้รับรู้และรับทราบ อนุโมทนา และเกิดความชื่นชมยินดีเมื่อได้บูชาครอบครองพระกริ่งในชุดนี้
สิ่งที่ต้องบันทึกไว้อีกประการหนึ่งคือ ในวันที่ ๑๐ สิงหาคม วันที่มีพิธีการเททองหล่อ “พระกริ่งพระเสาร์ ๕๐” (เจ้าพระยา ๒) มีบุคคลที่มาร่วมพิธีเททองพร้อมทั้งพิธีเจริญพุทธมนต์ต่อเนื่องกันนั้น ได้แก่ คุณยุวรัตน์ กมลเวชช , คุณวิชุดา ไตรธรรม , นายทหาร นายตำรวจที่เป็นลูกศิษย์ของท่านเจ้าคุณธงชัย ตลอดจนมีดารานักแสดงหลายท่าน เช่น คุณดามพ์ ดัสกร , คุณจตุพล ชมภูนิช , ข้าราชการอีกหลาย ๆ ท่าน ตลอดจนมีเซียนพระผู้ใหญ่ อย่างเช่น พี่วันชัย สุพรรณ และประชาชนมาร่วมพิธีเททองและพิธีเจริญพระพุทธมนต์นพเคราะห์อีกเป็นจำนวนมาก
ส่วนหนึ่งของบันทึกความ ประวัติการสร้างสถาปนาพระกริ่ง วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
ลักษณ์ เรขานิเทศ
ถนอม คือ 在 SawEsanBanthung Youtube 的最佳貼文
ไปสับหน่อไม้ กันอีกแล้ว มื้อนี้ กับซาเล้งคู่ใจ ของน้องวารินทร์
สาวอีสานบ้านทุ่ง ติดตามที่นี่ค่ะ
สาวอีสานบ้านทุ่ง แฟนเพจ:https://goo.gl/dOQ7NV
สาวอีสานบ้านทุ่ง YouTube :https://goo.gl/g1wXiq
ถนอม คือ 在 จอมพลถนอมบวชเณรกลับไทย ชนวนเหตุ 6 ต.ค. 2519 - YouTube 的推薦與評價
ชนวนเหตุสำคัญของเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 ประการหนึ่งในมุมของฝ่ายนักเรียน นิสิต นักศึกษา คือ การที่จอมพล ถนอม กิตติขจร ... ... <看更多>
ถนอม คือ 在 อาลัย "ถนอม สามโทน" เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งตับ | 30-03-66 的推薦與評價
" ถนอม สามโทน" เจ้าของเพลงเจ้าภาพจงเจริญ เสียชีวิตแล้วด้วยโรคมะเร็งตับ กดติดตาม & กดกระดิ่ง : http://bit.ly/Subscribe_Thairath ... ... <看更多>
ถนอม คือ 在 นักปฏิบัติการทางศิลปะ | ก(ล)างเมือง - YouTube 的推薦與評價
ถนอม คือ ผู้อยู่เบื้องหลังนิทรรศการศิลปะและกิจกรรมที่สร้างให้เกิดการ ... ได้ในสารคดีก(ล)างเมือง ตอน "นักปฏิบัติการทางศิลปะ ถนอม ชาภักดี" ... ... <看更多>