ประเทศแถบหนาว เจริญกว่า ประเทศแถบร้อน จริงหรือ? /โดย ลงทุนแมน
ถ้าถามว่า ประเทศพัฒนาแล้ว ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่ไหน ?
คำตอบคือ ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ที่ตั้งอยู่ในเขตที่มีอากาศหนาวเย็น
ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ จะอยู่ในทวีปเอเชียและแอฟริกา ที่มีอากาศร้อนกว่า
จึงมีคนเคยตั้งข้อสังเกตว่า จริง ๆ แล้วสภาพอากาศ
อาจมีอิทธิพลต่อการพัฒนาประเทศ
ประเทศแถบหนาว ต้องเจริญกว่า ประเทศแถบร้อน จริงหรือ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นเรามาดูข้อมูลเหล่านี้กันก่อนว่า แนวคิดดังกล่าวสะท้อนความจริงของเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน
รู้ไหมว่า ประเทศที่มีมูลค่าเศรษฐกิจขนาดใหญ่เมื่อวัดตามผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) จะเป็นประเทศที่อยู่ในเขตหนาว และส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
โดย 10 ประเทศ ที่มี GDP มากที่สุดในโลก เมื่อเอา GDP มาบวกรวมกันแล้ว จะมีมูลค่าประมาณ 1,980 ล้านล้านบาท หรือเกือบ 70% ของ GDP ทั้งโลก
ซึ่ง 10 ประเทศนั้นมาจาก
- ทวีปอเมริกาเหนือ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกาและแคนาดา
- ทวีปยุโรป 4 ประเทศ คือ เยอรมนี สหราชอาณาจักร อิตาลี และฝรั่งเศส
- ทวีปเอเชีย 4 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน และอินเดีย
ถ้าไม่นับจีนและอินเดีย ที่มี GDP สูงจากจำนวนประชากรที่มาก
ประเทศที่เหลือทั้งหมดจะเป็นประเทศที่อยู่ในเขตที่มีอากาศหนาว
อีกประเด็นคือ ประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงสุด 10 อันดับแรกของโลก มาจาก
- ทวีปยุโรป 6 ประเทศ คือ ลักเซมเบิร์ก สวิตเซอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ และเดนมาร์ก
- ทวีปอเมริกาเหนือ 1 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา
- ทวีปเอเชีย 2 ประเทศ คือ สิงคโปร์และกาตาร์
- ทวีปออสเตรเลีย 1 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีอากาศหนาว
ยกเว้น สิงคโปร์และกาตาร์ ที่ตั้งอยู่เขตอากาศร้อน
และออสเตรเลียนั้น เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่
ที่มีพื้นที่ทั้งที่มีอากาศหนาวเย็น และบางพื้นที่มีอากาศอบอุ่นถึงร้อน
ซึ่งที่น่าสนใจคือ เมืองดาร์วินที่เป็นเมืองหลวงของรัฐนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี รัฐทางตอนเหนือของออสเตรเลีย เป็นเมืองหลวงที่ร้อนที่สุดในประเทศ และเป็นเมืองหลวงที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวน้อยที่สุดในบรรดา 6 รัฐของออสเตรเลีย
จากข้อสังเกตเหล่านี้ จึงทำให้เกิดความเชื่อกันว่า ประเทศหรือพื้นที่ที่มีอากาศหนาวมักจะเจริญกว่าประเทศหรือพื้นที่ที่มีอากาศร้อน
David Landes อาจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Harvard เคยกล่าวไว้ว่า สำหรับประชากรที่อาศัยอยู่ในประเทศในแถบร้อน การจะมีชีวิตอยู่รอดได้ ผู้คนเหล่านั้นควรต้องทำงานช้าลง เพราะเหงื่อจะออกมาก ซึ่งนั่นอาจหมายถึง ผลิตภาพในการผลิต (Productivity) จะลดลงไปด้วย
สำหรับประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาว นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเชื่อว่า สภาพอากาศที่เย็น ทำให้ผู้คนจำเป็นต้องมีการวางแผนและร่วมมือมากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในฤดูหนาว
เช่น ในสมัยโบราณ การล่าสัตว์และการหาอาหารนั้น ถือว่าทำได้ยากในฤดูหนาว ทำให้มนุษย์ในสมัยก่อนต้องวางแผนล่วงหน้า ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านั้น
การอาศัยในพื้นที่ที่หนาวเย็น ยังบังคับให้ผู้คนบริเวณนั้น ต้องหาทางสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความหนาวเย็น ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ความร่วมมือระหว่างคนหลายฝ่ายเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ
ในขณะที่ถ้าลองเทียบกับประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบร้อน จะพบว่า มนุษย์ที่อาศัยในภูมิอากาศแบบเขตร้อนที่มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมมากเท่าไรนัก
ขณะที่การล่าสัตว์และหาอาหาร ก็สามารถทำได้สะดวกกว่าตลอดทั้งปี
แม้หลักฐานหลายอย่างจะบอกว่า สภาพอากาศเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งผลต่อการพัฒนาประเทศหรือระดับของคุณภาพชีวิตของประชากรในพื้นที่หรือประเทศนั้น ๆ
แต่ถ้ามองอีกมุมหนึ่ง เราก็จะเห็นว่า มีหลายประเทศที่ไม่ได้มีอากาศหนาว แต่กลับสามารถพัฒนาประเทศให้ก้าวขึ้นไปเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว
เช่น สิงคโปร์ และหลายประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง
ทั้งนี้ก็เพราะว่า การพัฒนาประเทศมันไม่ได้มีแค่ ปัจจัยเรื่องอุณหภูมิในประเทศเพียงเท่านั้น
แต่ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญไม่แพ้กัน เช่น ความมั่นคงทางการเมือง เสถียรภาพของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ ความมั่งคั่งของทรัพยากรทางธรรมชาติของแต่ละประเทศ และคุณภาพประชากร
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ กรณีของสิงคโปร์
ที่แม้ว่าจะเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน ทั้งยังเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดขึ้นในปี 1959 หรือเมื่อ 62 ปีที่แล้วเท่านั้น แต่ก็สามารถก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วในปัจจุบัน
ด้วยความที่สิงคโปร์นั้นเป็นเกาะขนาดเล็กและไม่มีทรัพยากรธรรมชาติที่มากมายเหมือนหลายประเทศในเอเชีย ทำให้ในอดีตสิงคโปร์เคยถูกมองว่า จะเป็นประเทศที่ไม่สามารถพัฒนาจนร่ำรวยได้
อย่างไรก็ตาม การที่ผู้นำของสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากรบุคลากร ให้มีความรู้ทั้งด้านภาษาอังกฤษและเทคโนโลยี
มีการลงทุนพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคต่าง ๆ อย่างกรณีของท่าเรือที่สิงคโปร์ ซึ่งเป็นท่าเรือที่มีการขนถ่ายสินค้าผ่านตู้คอนเทนเนอร์มากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
หลังจากนั้นก็ต่อยอดมาเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จนตอนนี้ได้ตั้งเป้าเพื่อเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีและสตาร์ตอัปของภูมิภาค ด้วยการดึงผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้เข้ามาทำงานในประเทศมากขึ้น
ยังไม่รวมการที่รัฐบาลสิงคโปร์มุ่งมั่นในการปราบคอร์รัปชันอย่างต่อเนื่อง จนทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index) สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
สิ่งเหล่านี้ก็ช่วยทำให้เกาะเล็กอย่างสิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศพัฒนาแล้วและมีรายได้ต่อหัวของประชากรมากเป็นอันดับ 8 ของโลกในวันนี้
กรณีของประเทศในตะวันออกกลาง ที่อยู่ในเขตร้อนอย่าง กาตาร์ ก็เช่นเดียวกัน
แม้กาตาร์จะมีความโชคดี ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่จำนวนมหาศาล
มีปริมาณสำรองน้ำมันดิบ 25,244 ล้านบาร์เรล หรือคิดเป็นมูลค่ากว่า 55 ล้านล้านบาท สูงเป็นอันดับที่ 14 ของโลก
แต่กาตาร์ก็รู้ว่า ในอนาคตรายได้จากน้ำมันมีความไม่แน่นอนสูง ดังนั้น รายได้ดังกล่าวจึงต้องถูกนำมาใช้และบริหารเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อย่างในปี 2008 รัฐบาลกาตาร์ได้ออกแผน Qatar National Vision 2030 ซึ่งเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกาตาร์ เพื่อพัฒนาด้านบุคลากร เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม สำหรับรองรับความท้าทายและกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก
หนึ่งในนั้นคือ การลงทุนด้านการศึกษาซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาบุคลากรของประเทศ
อย่างเช่น การจัดตั้ง Education City ด้วยการดึงมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกทั้งจากสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศส เข้ามาตั้งเป็นวิทยาเขตในประเทศ
วันนี้ ประชาชนชาวกาตาร์ มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงเป็นอันดับที่ 10 ของโลก และถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นกัน
สรุปคือ แม้เราจะเห็นหลายประเทศที่พัฒนาแล้ว อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นกันมาก และแม้ว่าความหนาวเย็นของอากาศในประเทศ จะมีผลต่อ Productivity ของคนในประเทศนั้นไม่มากก็น้อย
แต่อย่าลืมว่า การจะเป็นประเทศที่คนมีรายได้สูง และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วนั้น มันไม่สามารถตัดสินได้ด้วยปัจจัยเรื่องความสูงต่ำของอุณหภูมิเพียงอย่างเดียว
ซึ่งเราคงบอกได้ว่า ถ้าประเทศนั้นมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจน
ใช้จุดเด่นของประเทศให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
ไม่ว่าประเทศนั้นจะตั้งอยู่ตรงไหนของแผนที่โลก
อากาศในประเทศจะร้อนหรือจะหนาว
ประเทศนั้น ก็คงสามารถกลายเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ได้เช่นกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.sgsep.com.au/assets/main/SGS-Economics-and-Planning-Economic-performance-fo-asutralias-cities-and-regions-report.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://www.dailymail.co.uk/news/article-8477297/Why-colder-countries-richer-hot-nations.html
-https://data.worldbank.org/
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_proven_oil_reserves
-https://www.transparency.org/en/cpi/2020/index/nzl
-https://en.wikipedia.org/wiki/Education_City
- http://www.futurecasts.com/Landes,%20Wealth%20&%20Poverty%20of%20Nations.html
-https://blogs.worldbank.org/opendata/new-world-bank-country-classifications-income-level-2020-2021
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過0的網紅Channel RL,也在其Youtube影片中提到,กด subscribe ติดตามทาง youtube ช่วยแชร์ด้วยบอกต่อเล่าต่อ เขียนคอมเม้นใต้คลิปด้วยนะครับ หมูป่า ( ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sus scrofa ) เป็น สัตว์ จัดอยู่ใ...
「ทวีปเอเชีย」的推薦目錄:
- 關於ทวีปเอเชีย 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於ทวีปเอเชีย 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於ทวีปเอเชีย 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於ทวีปเอเชีย 在 Channel RL Youtube 的最佳貼文
- 關於ทวีปเอเชีย 在 Carabao Official Youtube 的最佳貼文
- 關於ทวีปเอเชีย 在 ทวีปเอเชีย - สังคมฯ ม.1 - YouTube 的評價
- 關於ทวีปเอเชีย 在 ภูมิภาคของทวีปเอเชีย - Facebook 的評價
ทวีปเอเชีย 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั้งในการปกครองระบอบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ในลักษณะระบอบราชาธิปไตยกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีหลายประเทศด้วยกันในแต่ละทวีป ดังนี้
1.1 รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั้งในการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในลักษณะ “ระบอบปรมิตาญาสิทธิราชย์” หรือเรียกว่า “ระบอบราชาธิปไตย” โดยมีชื่อเรียกเป็นทางการ ดังนี้
1. ทวีปอัฟริกา คือ ราชอาณาจักรสวาซิแลนด์ (Kingdom of Swaziland) เป็นรัฐเล็ก ๆ อยู่ใกล้กับอัฟริกาใต้
2. ทวีปยุโรป คือ นครรัฐวาติกัน (Stato della Citta del Vaticano)
3. ทวีปเอเชีย ได้แก่ ราชอาณาจักรฮัชไมจอร์แดน (Hashermite Kingdom of Jordan) ราชอาณาจักรซาอุดิอารเบีย (Kingdom of Saudi Arabia)
รัฐสุลต่านโอมาน (Sultanate of Oman) รัฐการ์ตา (State of Qatar) รัฐบรูไนดารุสซาลาม (State of Brunei Darussalam)
1.2 รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ มีชื่อเรียก
เป็นทางการ ดังนี้
1. ในทวีปอเมริกาเหนือ คือ บีไลซ์ (Belize) ซึ่งเป็นรัฐเล็ก ๆอยู่ติดกับเม็กซิโกและกัวเตมาลา
2. ทวีปอัฟริกา ได้แก่ ราชอาณาจักรมอร็อคโค (Kingdom of Morocco) ราชอาณาจักรเลโซโท (Kingdom of Lesotho) เป็นรัฐเล็ก ๆ ที่อยู่
ใกล้กับอัฟริกาใต้
3. ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย คือ ราชอาณาจักรตองกา (Kingdom of Tonga)
4. ทวีปยุโรป ได้แก่ สหราชอาณาจักรแห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนเหนือ (United Kingdom of Great Britian and Northern Irland) ราชอาณาจักรเดนมาร์ก (Kingdom of denmark) ราชอาณาจักรนอร์เวย์ (Kingdom of Norway) ราชอาณาจักรสวีเดน (Kingdom of Sweden) ราชอาณาจักรเบลเยี่ยม (Kingdom of Belgium) ราชอาณาจักรลักแซมเบอร์ก (Grand Duchy of Luxembourg) ราชรัฐโมนาโค (Principality of Monaco) ราชรัฐลิกเตนสไตน์ (Principality of Ligtenstine) ราชรัฐอันดอรา (Principality of Undora) ราชอาณาจักรสเปน (Kingdom of Spain)
5.ทวีปเอเชีย ได้แก่ ราชอาณาจักรฮัชไมจอร์แดน (Hashermite Kingdom of Jordan) รัฐคูเวต (State of Kuwait) รัฐบาเรนห์ (State of Barain) ญี่ปุ่น (Japan) ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) มาเลย์เซีย (Malaysia) และ ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)
แต่อย่างไรก็ตาม ชื่อประมุขของรัฐและชื่อเรียกของรัฐนั้น
จะมีการเรียกชื่อประมุขของรัฐอย่างเป็นทางการที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ถ้าประมุขของรัฐเป็น “พระมหากษัตริย์หรือราชินี”
เราเรียกรัฐนั้นว่า “ราชอาณาจักร” (Kingdom) ถ้าประมุขของรัฐเป็น “เจ้าชาย” (Prince) หรือ “ดยุ๊ค” (Duchy) เราเรียกรัฐนั้นว่า “Grand Duchy” หรือ “ราชรัฐ”
เราเรียกรัฐนั้นว่า “Principality”
2. มีรัฐที่มีชื่อเรียกประมุของรัฐแตกต่างกัน ดังนี้
1) รัฐที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เช่น คูเวต บาร์เรนห์ การ์ตา หรือบรูไน ไม่ใช้คำว่า “ราชอาณาจักร” (Kingdom) ประกอบชื่อ กลับใช้คำว่า “รัฐ” (State) ซึ่งเป็นคำกลาง ๆ ประกอบชื่อ ซึ่งรัฐเหล่านี้จะเป็นรัฐเล็กๆทั้งสิ้น
2) รัฐที่ใช้คำว่า “รัฐสุลต่าน” (Sultannate) ประกอบชื่อไม่ใช่คำว่า “ราชอาณาจักร” (Kingdom) หรือ “รัฐ” (State) นั้นเป็นการบอกให้ทราบถึงผู้ปกครองของรัฐเป็นสุลต่าน
3) ญี่ปุ่นกับมาเลย์เซียไม่ใช้คำว่า “ราชอาณาจักร” (Kingdom) หรือคำใดๆเลยประกอบชื่อประเทศใดๆทั้งสิ้น
(อ้างใน สิทธิกร ศักดิ์แสง “รูปแบบของรัฐและรูปแบบการปกครองของรัฐ : กรณีศึกษารูปแบบ
การปกครองของประเทศไทย” วารสารรัฐสภาสาร ปีที่ 61 ฉบับที่ 10 เดือนตุลาคม 2556 )
ทวีปเอเชีย 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
แนวคิดการจัดองค์กรของรัฐเกี่ยวกับการกระทำทางปกครอง
การที่จะทราบถึงการจัดองค์กรของรัฐเกี่ยวกับการกระทำทางปกครอง นั้นจะกล่าวถึง การจัดองค์กรของรัฐที่เป็นรัฐรวมในลักษณะสหพันธรัฐกับองค์กรของรัฐที่เป็นรัฐเดี่ยว และอธิบายถึงการองค์กรของรัฐโดยใช้หลักการปกครองของรัฐเดี่ยว รวมไปถึงการจัดองค์กรของรัฐฝ่ายบริหารที่ประเทศไทยใช้อยู่ดังนี้
1.การจัดองค์กรของรัฐในสหพันธรัฐ
การจัดองค์กรของรัฐที่เป็นรัฐรวม ในลักษณะสหพันธรัฐ (Federation of State) คือ สมาคมรัฐที่เกิดจากการรวมตัวของรัฐเดี่ยวในลักษณะเป็นปึกแผ่นเป็นเอกภาพ จนทำให้ประชาชนของรัฐเดี่ยวกลายสภาพมาเป็นรัฐใหม่อีกรัฐหนึ่งทับซ้อนรัฐเดี่ยวแต่ละรัฐที่เป็นสมาชิกที่เรียกว่า “มลรัฐ” ซึ่งเป็นการที่รัฐแต่ละมลรัฐทั้ง 2 มลรัฐหรือหลายมลรัฐได้มารวมกันโดยยอมสละอำนาจอธิปไตยภายนอกให้แก่สหพันธรัฐอย่าสิ้นเชิง มลรัฐที่ถูกรวมย่อมหมดสภาพความเป็นรัฐอีกต่อไป กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยภายนอกเป็นของรัฐบาลกลางของสหพันธรัฐแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้ใช้อำนาจ เช่น การทำสนธิสัญญา การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การประกาศสงคราม เป็นต้น
การใช้อำนาจอธิปไตยในสหพันธรัฐ การใช้อำนาจอธิปไตยกระทำการทางนิติบัญญัติบริหารและตุลาการจะกระจัดกระจายอยู่ที่ศูนย์หลายศูนย์กลาง กล่าวคือ การใช้อำนาจอธิปไตยจะกระทำการบางด้านบางเรื่องไปรวมศูนย์อยู่ที่ตัวสหพันธรัฐ ส่วนการใช้อำนาจอธิปไตยอีกบางเรื่องจะไปรวมศูนย์อยู่ที่มลรัฐแต่ละมลรัฐคือรวมศูนย์อยู่ที่รัฐสมาชิกแต่ละรัฐ ตัวอย่างเช่น การใช้อำนาจอธิปไตยในเรื่องที่เกี่ยวกับการต่างประเทศการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ การใช้อำนาจอธิปไตยในเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงอันได้แก่ทางทหาร การใช้อำนาจอธิปไตยในเรื่องที่เกี่ยวกับด้านการปราบปราม การใช้อำนาจอธิปไตยในเรื่องที่เกี่ยวกับการด้านการค้าระหว่างประเทศ การใช้อำนาจอธิปไตยในเรื่องที่เกี่ยวกับการพาณิชย์ คือ การค้าและการขนส่งทางเรือจะไปรวมศูนย์อยู่ที่ตัวสหพันธรัฐที่เรียกว่า “รัฐบาลกลาง”
ส่วนการใช้อำนาจอธิปไตยในเรื่องที่เกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในการรักษาศีลธรรมอันดีของประชาชน การสมรส ด้านที่เกี่ยวกับการทรัพย์สินจะไปรวมศูนย์อยู่ที่มลรัฐแต่ละมลรัฐที่เรียกว่า “รัฐบาลมลรัฐ” ซึ่งการกระจายอำนาจการใช้อำนาจอธิปไตยรัฐบาลระหว่างสหพันธรัฐกับรัฐเดี่ยวแต่ละรัฐจะถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาจะกำหนดว่าสหรัฐอเมริกาอันได้แก่ ตัวสหพันธรัฐจะมีอำนาจหน้าที่ในเรื่องใดบ้าง คือ มีอำนาจหน้าที่ด้านการต่างประเทศ ด้านความมั่นคงของประเทศ ด้านการค้าระหว่างประเทศ ด้านการพิจารณาคดี (ศาลสูงสหรัฐอเมริกา) ส่วนที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญว่าให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสหพันธรัฐให้ถือว่าอยู่ในอำนาจหน้าที่ของมลรัฐแต่ละมลรัฐ มลรัฐแต่ละมลรัฐจะมีรัฐธรรมนูญของตนเอง
1.1 ลักษณะของสหพันธรัฐ
ลักษณะของสหพันธรัฐมีข้อพิจารณา 2 ประการ คือ ราษฎรแต่ละคนจะมี 2 สถานะกับมีรัฐสภา มีฝ่ายบริหาร และตุลาการ 2 ระดับ ดังนี้
1. ราษฎรแต่ละคนจะมี 2 สถานะ คือ เป็นราษฎรของสหพันธรัฐและในขณะเดียวกันก็เป็นราษฎรของมลรัฐใดมลรัฐหนึ่งที่ตนตั้งถิ่นฐานอาศัยด้วย เช่น ในสหรัฐอเมริกาเป็นราษฎรของสหรัฐอเมริกาและในขณะเดียวกันก็เป็นราษฎรของมลรัฐที่ตนเองตั้งถิ่นฐาน อาทิ มลรัฐเท็กซัส มลรัฐฟลอริดา เป็นต้น
2. ในสหพันธรัฐจะมีรัฐสภา มีฝ่ายบริหาร และมีฝ่ายตุลาการ 2 ระดับ คือ
1) มีรัฐสภามีฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการในระดับสหพันธรัฐ ฝ่ายนิติบัญญัติในระดับสหพันธรัฐทำหน้าที่ใช้อำนาจอธิปไตยในทางกฎหมายกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในด้านที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในด้านเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ การรักษาความมั่นคงของรัฐในด้านที่เกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศและในด้านที่เกี่ยวกับการรักษาประเทศ ฝ่ายบริหารของสหพันธรัฐในระดับสหพันธรัฐก็จะทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติของสหพันธรัฐตราออกไปแล้ว ศาลของสหพันธรัฐก็ทำนองเดียวกันทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดให้เป็นไปตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติของสหพันธรัฐออกมาใช้บังคับ
2) ในขณะเดียวกันในมลรัฐแต่ละมลรัฐก็จะมีสภามีฝ่ายบริหารและมีศาลของตนเอง รัฐสภาของแต่ละมลรัฐก็มีหน้าที่ตรากฎหมายออกมาใช้บังคับในเรื่องที่รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐมอบหมายให้อยู่ในความรับผิดชอบของมลรัฐ ฝ่ายบริหารของมลรัฐจะทำหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่ตราขึ้นโดยรัฐสภาของมลรัฐ สำหรับศาลของมลรัฐแต่ละมลรัฐจะทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทให้เป็นไปตามกฎหมายที่รัฐสภาของมลรัฐตรานำออกมาใช้ เพราะฉะนั้นคนหรือปัจเจกบุคคลจึงตกอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐสภาของฝ่ายบริหารและของศาล 2 ระดับ คือ ทั้งระดับสหพันธรัฐและระดับมลรัฐที่ตัวเองอยู่อาศัย
1.2 การแบ่งสหพันธรัฐกับมลรัฐสมาชิกมีเทคนิคในการแบ่งอำนาจ
การแบ่งสหพันธรัฐกับมลรัฐสมาชิกมีเทคนิคในการแบ่งอำนาจ 2 วิธีคือ
วิธีที 1 ซึ่งเป็นหลักที่ใช้กันทั่วไปสหพันธรัฐจะมีอำนาจเฉพาะตามที่รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐกำหนด ส่วนมลรัฐสมาชิกมีอำนาจทั่วไปจะมีอำนาจทั่วไป กล่าวคือ การใดที่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้เป็นอำนาจของสหพันธรัฐแล้ว ต้องถือว่าเป็นอำนาจมลรัฐสมาชิกทั้งสิ้น และเมื่อมีกรณีเป็นที่สงสัยก็ต้องตีความไปตามนี้ ประเทศที่ใช้วิธีนี้เป็นหลักในรัฐธรรมนูญได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวิสเซอร์แลนด์ เป็นต้น
วิธีที่ 2 ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นของวิธีแรกสหพันธรัฐจะมีอำนาจทั่วไป ส่วนมลรัฐสมาชิกจะมีอำนาจเฉพาะตามที่รัฐธรรมนูญของสหพันธรัฐกำหนด ประเทศที่ใช้วิธีเป็นหลักในรัฐธรรมนูญนี้ได้แก่ แอฟริกาใต้ แคนาดา เป็นต้น
1.3 รูปแบบการปกครองรัฐรวมในลักษณะสหพันธรัฐที่มีอยู่
รูปแบบการปกครองรัฐรวมในลักษณะสหพันธรัฐที่มีอยู่ในโลกปัจจุบัน คือ
1.ทวีปอเมริกาเหนือ เช่น สหรัฐอเมริกา (United States of America) แคนาดา (Canada) สหรัฐเม็กซิโก (United Mexican State)
2.ทวีปอเมริกาใต้ เช่น สหพันธรัฐบราซิล (Federative Republic of Brazil) อาร์เจนตินา (Argentina Republic) เวเนซุเอลา (Republic of Venezuela)
3.ทวีปยุโรป เช่น สหพันธรัฐรัสเซีย (The Russian Federation) สหพันธรัฐสาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany) สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria) สมาพันธรัฐสวิสส์ (Swiss Confederation)
4.ทวีปเอเชีย เช่น อินเดีย (Republic of India) มาเลย์เซีย (Malaysia) สหรัฐอาหรับเอมิเรสท์ (United Arab Emirates)
5.ทวีปออสเตรเลีย คือ เครือจักรภพออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia)
6.ทวีปอัฟริกา เช่น สาธารณรัฐอัฟริกาใต้ (Republic of South Africa) สหพันธรัฐไนจีเรีย (Federal Republic of Nigeria) เป็นต้น
ข้อสังเกต ชื่อประเทศที่บอกถึงรูปแบบการปกครองแบบสหพันธรัฐโดยการพิจารณาจากชื่อเป็นทางการของประเทศจะพบว่ามีบางประเทศที่ใช้รูปแบบสหพันธรัฐ แต่ไม่ได้ระบุชื่อ เป็นทางการว่า “สหพันธรัฐ” (Federal State) เช่น สาธารณรัฐออสเตรีย แคนาดา อาเจนตินา เวเนซุเอลา อินเดีย และมาเลย์เซีย เป็นต้น
2.การจัดองค์กรของรัฐในรัฐเดี่ยว
รัฐเดี่ยว คือ เป็นรัฐที่มีศูนย์กลางในทางการเมืองและการปกครองรัฐ ซึ่งมีรัฐสภาอยู่เพียงรัฐสภาเดียวเป็นศูนย์กลางนิติบัญญัติ มีฝ่ายบริหารอยู่เพียงศูนย์เดียวเป็นศูนย์กลางของการบริหารและมีระบบศาลระบบเดียวเป็นศูนย์กลางตุลาการ ราษฎรทุกคนอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายเดียวกัน อยู่ภายใต้อำนาจบริหารของรัฐบาลเดียวกันได้ อยู่ภายใต้อำนาจตุลาการของศาลระบบเดียวกัน รัฐเดี่ยวมีอยู่มากในโลกนี้และมีอยู่ทุกทวีป เช่น ไทย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เป็นต้นรัฐเดี่ยวไม่จำเป็นต้องตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินเดียวกันและติดต่อกันไปก็ได้อาจมีลักษณะเป็นรัฐหมู่เกาะ เช่น ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เป็นต้น หรืออาจเป็นดินแดนหลายดินแดนอยู่แยกห่างจากกัน เช่น ปากีสถาน ตุรกี เป็นต้น
การจัดองค์กรของรัฐในการปกครองของรัฐเดี่ยวประกอบด้วย หลักทั่วไปในการจัดองค์กรของรัฐที่เป็นรัฐเดี่ยว ที่ใช้หลักการปกครองแบบรวมอำนาจกับหลักการปกครองกระจายอำนาจ ดังนี้
2.1 หลักทั่วไปในการจัดองค์กรของรัฐที่เป็นรัฐเดี่ยว
การจัดองค์กรของรัฐ (Organ of state) ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of powers) แยกอออก ได้ 3 องค์กรใหญ่ คือ องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารและองค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ ดังนี้
2.1.1 องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ
องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภา เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ หรือ เรียกว่า “การกระทำทางนิติบัญญัติ” ซึ่งประเทศไทยได้จัดองค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติหรือโครงสร้างระบบรัฐสภา ออกเป็นสภาคู่ คือ สภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา ปกติศึกษาในวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ
2.1.2 องค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ
องค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการหรือการอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งเรียกว่า “การกระทำทางตุลาการ” สำหรับกรณีของประเทศไทยได้จัดองค์กรตุลาการประกอบด้วย 4 ศาล ด้วยกัน คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครองและศาลทหาร ปกติศึกษาในวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ
2.1.3 องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร
องค์กรของรัฐฝ่ายบริหารในการบังคับใช้กฎหมายในการบริหารประเทศและในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการด้านต่างๆของประชาชน องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ฝ่ายการเมือง กับฝ่ายปกครอง
2.2 การจัดองค์กรฝ่ายปกครองในรัฐเดี่ยว
การจัดองค์กรฝ่ายปกครองในรัฐเดี่ยว การจัดองค์กรฝ่ายปกครองประกอบด้วย การจัดองค์กรฝ่ายปกครองที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของฝ่ายบริหาร คือ ใช้หลักการรวมอำนาจกับการจัดองค์กรฝ่ายปกครองโดยใช้หลักการกระจายอำนาจ กับการจัดองค์กรฝ่ายปกครองที่ไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและการกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร
ภายใต้แนวคิดของรัฐเดี่ยวที่มีรูปแบบการปกครองที่มีศูนย์กลางมีอำนาจสูงสุดและมีอำนาจการปกครองโดยสมบูรณ์ รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดให้หน่วยย่อยกว่ารัฐบาล เช่น จังหวัดเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมของรัฐบาล แต่รัฐบาลส่วนกลางอาจมอบอำนาจให้แก่หน่วยงานของรัฐบาล อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น แต่การมอบอำนาจนี้ต้องกระทำโดยพระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภา ไม่ใช่รัฐธรรมนูญและอาจดึงเอาอำนาจกลับคืนมาได้ การมอบอำนาจจากส่วนกลางนี้ ในทางวิชาการเรียกว่า “การกระจายอำนาจ” (Decentralization) ซึ่งพอจะเขียนเป็นแผนผังได้ดังนี้
2.2.1 หลักการปกครองแบบรวมอำนาจ
หลักการปกครองแบบรวมอำนาจของรัฐเดี่ยวนั้นอาจแยกหลักการปกครอง ได้ 2 ลักษณะ คือ การปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจกับการปกครองแบบกระจายรวมศูนย์ ดังนี้
2.2.1.1 หลักการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ
หลักการปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ (Centralization) ในปัจจุบันได้มีการวางหลักการไว้อยู่ 2 คือ การวางหลักการปกครองแบบรวมศูนย์ที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของฝ่ายบริหารเป็นหลักการที่วางระเบียบราชการบริหารโดยมอบอำนาจในการปกครองให้แก่ราชการบริหารส่วนกลาง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานอื่นของรัฐที่มีฐานะเป็นกรมหรือเทียบเท่ากรม และมีเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนกลางซึ่งขึ้นต่อกันตามลำดับขั้นการบังคับบัญชาเป็นผู้ดำเนินการปกครอง ตลอดทั้งอาณาเขตของประเทศกับการวางหลักการปกครองของหน่วยงานทางปกครองที่ไม่ได้ขึ้นอยู่การบังคับบัญชาของฝ่ายบริหาร ตลอดทั้งอาณาเขตของประเทศ ซึ่งมีลักษณะสำคัญ คือ
1. มีการรวมกำลังในการบังคับต่างๆ เช่น กำลังทหารและกำลังตำรวจให้ขึ้นต่อส่วนกลางทั้งสิ้น เพื่อจะใช้กำลังเหล่านี้บังคับได้อย่างเด็ดขาดและทันท่วงที ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้กำลังบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น
2. มีการรวมอำนาจวินิจฉัยสั่งการไว้ที่ส่วนกลาง คือ ให้ส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ มีอำนาจสั่งการได้ทั่วอาณาเขตของประเทศ
3. มีลำดับชั้นการบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ คือ การติดต่อสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการปกครองต่างๆของฝ่ายปกครองตามลำดับชั้นการบังคับบัญชา ซึ่งจำแนก ได้ 4 อย่าง ดังนี้
1) อำนาจที่จะออกคำสั่งให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ
2) อำนาจควบคุมกิจกรที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติ
3) อำนาจที่จะลงโทษทางวินัยแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
4) อำนาจที่จะให้บำเหน็จความดีความชอบแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
2.2.1.2 หลักการปกครองแบบกระจายรวมศูนย์อำนาจ
หลักการปกครองแบบกระจายรวมศูนย์อำนาจ (Deconcentration) เป็นหลักการที่ราชการส่วนกลางมอบอำนาจวินิจฉัยสั่งการบางส่วนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้แทนของราชการส่วนกลาง ซึ่งส่งไปประจำปฏิบัติราชการตามเขตการปกครองต่างๆของประเทศ หลักการปกครองแบบกระจายรวมศูนย์อำนาจ จะปรากฏอยู่ในรูปแบบการปกครองแบบภูมิภาค คือ ในระดับ จังหวัด อำเภอ ซึ่งเจ้าหน้าที่ในระดับภูมิภาคนั้นต้องขึ้นอยู่กับส่วนกลางทั้งสิ้น เป็นไปตาม “หลักการบังคับบัญชา”
2.2.2 หลักการปกครองแบบกระจายอำนาจ
หลักการปกครองแบบกระจายอำนาจ (Decentralization) เป็นวิธีที่รัฐฝ่ายบริหารมอบอำนาจปกครองบางส่วนให้องค์การอื่นนอกจากราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค จัดทำบริการสาธารณะบางอย่างโดยอิสระตามสมควร ไม่ต้องขึ้นอยู่ในความบังคับบัญชาของราชการสวนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค เพียงแต่ขึ้นอยู่ใน “การกำกับดูแล” เท่านั้น หลักการปกครองแบบกระจายอำนาจอาจแยกอธิบาย ได้ดังนี้
2.2.2.1 ลักษณะสำคัญของหลักการกระจายอำนาจ
การที่จะรู้ว่ามีการกระจายอำนาจทางปกครองหรือไม่ จะต้องพิจารณาลักษณะสำคัญของการกระจายอำนาจทางปกครอง ซึ่งมีอยู่ 3 ประการ ดังนี้
1. มีการแยกหน่วยงานออกไปเป็นนิติบุคคลมหาชน อิสระจากราชการบริหารส่วนกลาง มีงบประมาณและเจ้าหน้าที่ของตนเอง มีความเป็นอิสระในการจัดทำบริการสาธารณะ โดยได้รับการกำกับดูแลจากส่วนกลาง
2. มีการเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระจายอำนาจทางอาณาเขต (ซึ่งจะอธิบายในหัวข้อต่อไป) ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น ส่วนการกระจายอำนาจทางกิจการ การเลือกตั้งไม่ถือว่าเป็นหลักสำคัญเหมือนกับการกระจายอำนาจทางอาณาเขต
3. หลักการกระจายอำนาจปกครองจะมีความเป็นอิสระ คือ มีความเป็นอิสระ (Autonomy) ที่จะดำเนินกรตามอำนาจหน้าที่ได้เอง โดยไม่ต้องรับคำสั่งหรืออยู่ใต้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นของราชการบริหารส่วนกลาง มีอำนาจวินิจฉัยสั่งการและดำเนินการได้ด้วยงบประมาณและด้วยเจ้าหน้าที่ของตนเอง
2. 2.2.2 รูปแบบหลักการปกครองแบบกระจายอำนาจ
รูปแบบหลักการปกครองแบบกระจายอำนาจ มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ หลักการกระจายอำนาจทางอาณาเขตกับหลักการกระจายอำนาจทางเทคนิค การบริการและกิจการ ดังนี้
1.หลักการกระจายอำนาจทางอาณาเขต เป็นหลักการที่รัฐมอบอำนาการปกครองจากส่วนกลางไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจอิสระในการจัดการปกครองท้องถิ่นของตนเอง กล่าวคือ มีการกำหนดขอบเขตอำนาจไว้เฉพาะถิ่นนั้น และตามหลักทั่วไปจะทำกิจการออกไปนอกเขตไม่ได้ นอกจากจะมีกฎหมายยกเว้นไว้ วิธีการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นวิธีที่มอบบริการสาธารณะหลายๆอย่างเกี่ยวกับการปกครองให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำด้วยเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ
2.หลักการกระจายอำนาจทางเทคนิคและบริการ เป็นหลักการที่ให้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐดำเนินจัดทำกิจการบริการสาธารณะที่มิใช่ส่วนราชการ แต่ให้รัฐส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค หรือ ส่วนท้องถิ่นนั้นเป็นผู้กำกับดูแล หลักการกระจายอำนาจทางกิจการหรือบริการนั้นจะพบได้ในรูปแบบการดำเนินการของรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ รวมไปถึงการมอบหมายให้เอกชนให้ใช้อำนาจทางปกครองหรือมอบหมายให้เอกชนดำเนินกิจการทางปกครอง เป็นต้น ซึ่งหลักการกระจายอำนาจทางเทคนิคและบริการ อาจจัดทำกิจการได้ทั่วทั้งประเทศหรือจัดทำเฉพาะในเขตหนึ่งเขตใดก็ได้ ตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์กรนั้น
ข้อสังเกต การกระจายอำนาจของรัฐเดี่ยว (Decentralization of Unitary State) กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น (เช่น ไทย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส) นั้นหมายความว่า เป็นการกระจายอำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะหรือการกระจายอำนาจบริหารเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ รับผิดชอบจัดทำแยกต่างหากจากองค์การปกครองส่วนกลางและเป็นอิสระจากการปกครองส่วนกลาง แต่ไม่ได้มีการกระจายอำนาจนิติบัญญัติหรืออำนาจตุลาการ ดังนั้นเมื่อเราพูดถึงการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในรัฐเดี่ยวอย่างเช่นประเทศไทย สิ่งที่เป็นไปได้มีแต่เพียงการกระจายอำนาจบริหารหรืออำนาจในการจัดทำบริการสาธารณะเท่านั้น ไม่มีการกระจายอำนาจนิติบัญญัติหรือกระจายอำนาจตุลาการสู่ท้องถิ่น เพราะหากมีการกระจายอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจตุลาการสู่ท้องถิ่นพร้อมกับการกระจายอำนาจการบริการสาธารณะซึ่งเป็นอำนาจบริหารจะทำให้รัฐเดี่ยวรัฐนั้นกลายสภาพจากรัฐเดี่ยวเป็นสหพันธรัฐทันที
เมื่อพิจารณาถึงการจัดองค์กรของรัฐของประเทศไทย ประเทศใช้หลักการการจัดองค์กรของรัฐในลักษณะรัฐเดี่ยว มีการจัดองค์กรของรัฐที่ใช้อำนาจตามกฎหมายปกครอง ที่เรียกว่า “ฝ่ายปกครอง” มีการวางหลักการปกครอง 2 ลักษณะ คือ
1.การวางหลักการปกครองแบบรวมอำนาจ ดังนี้
1) การจัดองค์กรฝ่ายปกครองที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและการกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร
2) การจัดองค์กรฝ่ายปกครองที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาและการกำกับดูแลของฝ่าบริหาร
2.การวางหลักการปกครองแบบกระจายอำนาจ เป็นการจัดองค์กรฝ่ายปกครองที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร มีอยู่ 2 ลักษณะ ด้งนี้
1) หลักกระจายอำนาจทางอาณาเขต คือ การกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) หลักกระจายอำนาจทางกิจการ/ทางเทคนิค/ทางวัตถุประสงค์
ทวีปเอเชีย 在 Channel RL Youtube 的最佳貼文
กด subscribe ติดตามทาง youtube ช่วยแชร์ด้วยบอกต่อเล่าต่อ เขียนคอมเม้นใต้คลิปด้วยนะครับ
หมูป่า ( ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sus scrofa ) เป็น สัตว์ จัดอยู่ใน ไฟลัม สัตว์มีแกนสันหลัง ชั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับ สัตว์กีบคู่ เป็น ต้นสายพันธุ์ ของ หมูบ้าน ในปัจจุบัน
1 ลักษณะ 2 การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา 3 เขี้ยวหมูป่า 4 ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในสหรัฐอเมริกา 5 รูปภาพ 6 อ้างอิง 7 แหล่งข้อมูลอื่น
ลักษณะ
มีรูปร่างหน้าตาคล้ายหมูบ้าน แต่มีขนตามลำตัวยาวกว่า ลำตัวมี สีเทา ดำ บางตัวอาจมี สีน้ำตาล เข้ม ขนบริเวณหัวชี้ยาวออกไปทางด้านหลัง ตัวเมียมีเต้านม 5 คู่ ลูกที่เกิดใหม่มีสีน้ำตาลเข้มค่อนไปทางดำและมีแถบสีดำพาดผ่านตามยาวลำตัว ดูคล้ายลายของ แตงไทย
มีขนาดความยาวลำตัวและหัว 135-150 เซนติเมตร ความยาวหาง 20-30 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 75-200 กิโลกรัม โดยตัวผู้จะมีน้ำหนักหนักกว่าตัวเมีย สามารถวิ่งได้เร็ว 30 ไมล์/ชั่วโมง ตัวเมียสามารถมีลูกได้ครอกละ 10-11 ตัว ปีละ 2 ครอก
การกระจายพันธุ์และนิเวศวิทยา
หมูป่าจัดเป็นสัตว์ที่การกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางมาก ทั้งใน ทวีปอเมริกาเหนือ , ทวีปยุโรป , ทวีปเอเชีย และ แอฟริกา และในภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็สามารถพบเห็นได้ทั่วไป จึงทำให้มีทั้งหมด 10 ชนิดย่อย ด้วยกัน
มีนิเวศวิทยาและพฤติกรรมสามารถอาศัยอยู่ได้ในหลากหลายสภาพแวดล้อม แต่มักเลือกที่จะอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพราะชอบนอนแช่ปลักโคลนในวันที่มีอากาศร้อน สามารถกินอาหารได้หลากหลายทั้ง พืช และสัตว์ขนาดเล็ก เช่น สัตว์เลื้อยคลาน หรือแม้แต่ซากสัตว์ด้วย หมูป่าที่อาศัยในป่าที่อยู่ใกล้แหล่งเกษตรกรรมของมนุษย์ อาจจะขโมยกินหัวหรือรากพืชที่ปลูก รวมทั้งถึง นา ข้าว ด้วย การหาอาหารจะใช้จมูกดุนดินเพื่อขุดหาอาหารใต้ดิน ขณะออกหาอาหารจะส่งเสียงร้องดังอยู่ตลอดเวลา มักหากินในช่วงเวลาเช้าตรู่และยามบ่าย บางครั้งอาจหากินได้ในเวลากลางคืนด้วย มักรวมกันเป็นฝูงใหญ่ ราว 20-100 ตัว โดยจะมีอายุของสมาชิกในฝูงคละเคล้ากันไป เมื่อถึงสภาวะคับขันจะหลบหนีไปตามพุ่มไม้เตี้ย ๆ ตามปกติแล้วหมูป่าเป็นสัตว์ที่ขี้หงุดหงิดและมีอารมณ์ร้าย ศัตรูของหมูป่าได้แก่ เสือโคร่ง และ เสือดาว เมื่อพบศัตรูตัวผู้จะออกมาทำหน้าที่ต่อสู้เพื่อปกป้องสมาชิกในฝูง ด้วยการพุ่งชนด้วยเขี้ยวที่ยาวโง้งออกมา ซึ่งในตัวเมียไม่มี
ปัจจุบัน เป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่มีการเพาะเลี้ยงเพื่อรับประทานเนื้อเป็นอาหาร หรืออาจจะเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงตามบ้านของบางคนก็ได้ โดยมีการทำฟาร์มหมูป่า
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/4hbFzlJA-fc/hqdefault.jpg)
ทวีปเอเชีย 在 Carabao Official Youtube 的最佳貼文
เนื้อเพลง
ถึงแม้ลูกโลกเรา กลมป้อมๆ
แต่ผู้คนผ่ายผอม เต็มตามโลก
เต็มบ้านเต็มเมือง ตามป่าเขา
ทั้งเด็กน้อยหนุ่มสาว เฒ่าชรา
ทั้งอาฟริกา ทวีปเอเชีย
เอ ธิโอเปีย ยันศรี สะเกษ
ทั้งนอกประเทศ
ทั้งเมดอิน ไทยแลนด์
พี่น้องแร้นแค้น
เป็นตาง ขโมย
ล้วนเป็นตาง ขโมย
เห็นหัวโตโต พุงป่องๆ
แต่ร่างกายกะหร่องกร่อง
บ่ มีแฮง
มีแต่ลมหายใจ เลี้ยงชีวิต
มันไม่ใช่ความผิด ติดความจน
ยัง เป็นผู้เป็นคน เหมือนๆเฮา
ฟันฟางขาวๆ เส้นผมดำๆ
แต่ดวงใจบอบช้ำ
กล้ำกลืน น้ำตา
เขาไม่ได้เลือก เกิดมา
เป็นตาง ขโมย
ล้วนเป็นตาง ขโมย
คนตางขโมยพุงโรโร
เป็นตาง ขโมย
คนหัว ขโมย พุง โตโต
เป็นหัว ขโมย
เสียงเพลงเปล่งมา เป็นท่อนๆ
จะกล่อมนอน กล่อมใจ
ไทย ทุกภาค
ทุกคน ทุกข์เข็ญ เห็นใจด้วย
ช่วยกัน ช่วยกัน เราช่วยกัน
แบ่งเบา แบ่งปัน ฉันท์พี่น้อง
อย่าเมียงมองผ่านไป
คนไทยไม่ทำ..ไม่ทำ ไม่ทำ
พี่น้องตาดำๆ คอยความหวัง..
จงนึก ถึง เขาบ้าง
เขาเป็นตาง ขโมย.
ขโมย ความเป็นคน เหนือชนชั้น
ก็อย่างคนดังมะริกัน
ว่า We are the world.
We are the children.
เขาช่วยกันดับทุกข์เข็ญ
ของคนร่วมเผ่าพันธุ์
แล้วบ้านเรา เมืองเรา
อย่าเอาแต่แคะ ขี้ฟัน
เพราะมันเป็นความรัก
ซึ่งกันและกัน
เพราะมันเป็นความฝัน
ถึงแผ่นดิน เดียวกัน
เน๊อะๆๆๆๆ
【 ช่องทางติดตามข่าวสาร วงคาราบาว 】
#Line ► @CarabaoOfficial หรือคลิก http://line.me/ti/p/%40carabaoofficial
#Facebook ► http://www.facebook.com/carabaoofficial/
Apple Music & iTunes :
Carabao Essentials Playlist ► https://music.apple.com/th/playlist/carabao-essentials/pl.f9b46f601f53442385224df14d9ca9ef
Carabao Artist Profile ► https://music.apple.com/th/artist/carabao/250982691
![post-title](https://i.ytimg.com/vi/UaepzxA9Eug/hqdefault.jpg)
ทวีปเอเชีย 在 ภูมิภาคของทวีปเอเชีย - Facebook 的推薦與評價
#ภูมิภาคของทวีปเอเชีย #ภูมิศาสตร์ ม.1 #ฝากบอกครูสังคม . อ้างอิงจาก. สำนักพิมพ์ อจท สื่อการสอนช่วง โควิด ... ... <看更多>
ทวีปเอเชีย 在 ทวีปเอเชีย - สังคมฯ ม.1 - YouTube 的推薦與評價
ทวีปเอเชีย แบ่งออกเป็น 5 ภูมิภาค ซึ่งมีลักษณะทางกายภาพ และลักษณะทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน. ... <看更多>