การทำ QE คืออะไร ? ทำไมประเทศไทย ไม่ใช้มาตรการนี้ /โดย ลงทุนแมน
“775 ล้านล้านบาท” คือ มูลค่าการอัดฉีดเงินเข้าระบบการเงิน ผ่านมาตรการ QE ทั้งหมดของธนาคารกลางขนาดใหญ่ของโลก 4 แห่ง คือสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป ณ สิ้นปี 2020
ถามว่าตัวเลขนี้มากขนาดไหน ? ถ้าลองเทียบกับ GDP รวมทุกประเทศในโลกปี 2020 ที่ประมาณ 2,824 ล้านล้านบาท มูลค่าอัดฉีดดังกล่าว จะคิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของ GDP โลก
มาตรการ QE นี้ มันมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง
และทำไมประเทศไทย ถึงยังไม่ใช้มาตรการนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะตกต่ำ แต่ละประเทศจะดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อทำให้ภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวกลับขึ้นมา
ในทางเศรษฐศาสตร์นั้น จะแบ่งนโยบายต่าง ๆ ออกเป็น 2 กลุ่มคือ นโยบายการคลัง และนโยบายการเงิน
ซึ่งในส่วนของนโยบายการคลังจะถูกดำเนินการโดยรัฐบาล
โดยรัฐบาลจะใช้จ่ายมากกว่ารายได้ ในกรณีนี้จะเรียกว่า “งบประมาณขาดดุล” ซึ่งเกิดจากก่อหนี้สาธารณะผ่านการกู้ยืมเพื่อมาใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล
นอกจากนี้ นโยบายการคลังยังรวมไปถึงการลดอัตราภาษีต่าง ๆ เพื่อให้คนมีเงินเหลือมากขึ้น จนนำเงินออกมาใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจด้วยเช่นกัน
ผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ทำให้ปัจจุบัน หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยต่างก็ต้องใช้นโยบายการคลัง อัดฉีดเงินช่วยเหลือให้ประชาชนผ่านนโยบายต่าง ๆ เพื่อพยุงและเร่งให้เศรษฐกิจฟื้นตัวกลับมา
นอกจากรัฐบาลที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแล้ว ในอีกขาหนึ่ง ธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ก็จะดำเนินนโยบายการเงิน ผ่านการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำหรือซบเซา ธนาคารกลางจะทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จูงใจให้คนนำเงินออกมาใช้จ่าย แทนที่จะฝากไว้ในธนาคาร
ซึ่งกรณีนี้ถูกเรียกว่า “นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย” ที่หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้นำมาใช้ในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ในระยะหลัง เราจะเห็นว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพียงอย่างเดียว กลับไม่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเหมือนอย่างเคย
หลักฐานก็คือ เราเห็นธนาคารกลางหลายประเทศทำการปรับอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำมากแล้ว จนบางประเทศอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0% แต่ก็ไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวเท่าไร
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ก็ทำให้ธนาคารกลางหลายแห่ง จึงมีการนำมาตรการที่มีชื่อว่า Quantitative Easing (QE) ซึ่งเป็นนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย อีกรูปแบบหนึ่งออกมาใช้เพื่อรับมือกับปัญหาการชะลอตัวลงของกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะ
หรือพูดง่าย ๆ ว่ามาตรการ QE เป็นเครื่องมือพิเศษที่มาช่วยสนับสนุนและช่วยกดดันอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้ต่ำลงในช่วงที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำนั่นเอง
อธิบายวิธีการดำเนินมาตรการ QE แบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ธนาคารกลางจะพิมพ์เงินเพิ่ม และนำเงินดังกล่าวไปซื้อตราสารทางการเงินระยะกลาง-ยาว เช่น พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน
คำถามที่สำคัญต่อมาก็คือ แล้วข้อดี ข้อเสียของการทำ QE คืออะไร ?
เรามาเริ่มที่ข้อดีกันก่อน
- สภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น
กรณีของธนาคารนั้น เมื่อมีสภาพคล่องมากขึ้น ก็สามารถนำไปปล่อยสินเชื่อได้สูงขึ้น ส่วนภาคธุรกิจที่มีเงินไหลเข้ามาซื้อหุ้นกู้ บริษัทก็จะมีเงินนำไปใช้จ่าย ลงทุน และขยายงาน ได้ด้วยเช่นกัน
- ต้นทุนทางการเงินที่ลดลง
การเข้าซื้อตราสารทางการเงินเหล่านั้นยังส่งผลกดดันให้อัตราผลตอบแทนของตราสารทางการเงินเหล่านั้นลดลงมา ทำให้ต้นทุนในการระดมทุนผ่านการออกตราสารเหล่านี้ของรัฐบาลและเอกชนลดลง
จนมีแนวโน้มที่ทำให้สถาบันการเงิน และธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้กู้ในการนำเงินไปลงทุนหรือจับจ่ายใช้สอย จนทำให้ภาวะเศรษฐกิจกลับมาเติบโต
- เพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ผู้บริโภค
การใช้มาตรการ QE ยังส่งผลให้ราคาสินทรัพย์หลายอย่างปรับตัวสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหุ้น ทองคำ ตราสารหนี้ อสังหาริมทรัพย์ หรือแม้แต่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์
ทำให้นักลงทุนที่ถือสินทรัพย์ดังกล่าวรู้สึกมั่งคั่งขึ้น (Wealth Effect) ทำให้รู้สึกอยากนำเอาส่วนหนึ่งของทรัพย์สินออกมาใช้จ่าย จนส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว
อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการใช้มาตรการ QE ในปริมาณมากและนานเกินไป ก็อาจส่งผลเสียด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น
- มูลค่าของเงินลดลง
ถึงแม้ว่าการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบการเงิน ผ่านการซื้อตราสารทางการเงินต่าง ๆ จะไม่ได้อัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจจริง และมันอาจจะไม่ได้ส่งผลต่อเงินเฟ้อโดยตรง แต่การอัดฉีดนี้ถ้าทำมากเกินไป ก็อาจทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจจริงเพิ่มขึ้นในทางอ้อม และทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ จนทำให้มูลค่าที่แท้จริงของเงินลดลง และอำนาจซื้อของผู้บริโภคลดลงตามไปด้วย
- ภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์
การอัดฉีด QE จะทำให้ภาวะอัตราดอกเบี้ยถูกกดให้ต่ำ และทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงนั้นลดลง ซึ่งเรื่องนี้ยิ่งทำให้นักลงทุนต้องการนำเงินออกไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น
จนอาจนำไปสู่ภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสินทรัพย์ทางเลือกอื่น ๆ
- กระทบต่อการออมในภาพรวมของประเทศ
อัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ส่งผลให้ประชาชนขาดแรงจูงใจในการออมเงิน ซึ่งอาจทำให้คนจำนวนไม่น้อยมีเงินไม่พอใช้ตอนเกษียณ
หรือแม้แต่ผู้ที่เกษียณอายุไปแล้ว และต้องการรายได้ที่สม่ำเสมอจากการลงทุนในการฝากเงินหรือตราสารหนี้ ก็จะได้รับผลตอบแทนที่ลดลงเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยภาพรวมในระบบที่ลดลง
สำหรับประเทศไทยเรา ทางธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท. ยังไม่ได้มีการหยิบเอามาตรการ QE ออกมาใช้ในวิกฤติครั้งนี้
แต่รู้ไหมว่า ที่ผ่านมาก็มีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนได้เสนอให้ ธปท. นำมาตรการ QE ออกมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ
เพราะมองว่า นโยบายการเงินของไทยมีข้อจำกัดมากขึ้น เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.5% แล้ว
อย่างไรก็ตาม ธปท. มองว่า การนำมาตรการ QE มาใช้ในประเทศไทย อาจจะยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมในตอนนี้
เพราะว่า ปัจจุบัน สภาพคล่องในระบบ ที่สะท้อนออกมาในรูปของปริมาณเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ของไทยนั้นอยู่สูงกว่า 14.4 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ (ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2564)
นอกจากนี้ ภาคเอกชนของไทยยังมีการระดมทุนผ่านตลาดตราสารหนี้ในสัดส่วนที่น้อย เมื่อเทียบกับประเทศใหญ่ ๆ ที่มีการนำมาตรการ QE มาใช้ ขณะที่ต้นทุนการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ขณะนี้อยู่ในระดับต่ำอยู่แล้ว
ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา ที่ตลาดตราสารหนี้มีขนาดใหญ่สุดในโลก ที่พออัดฉีดเงินเข้าไปในตลาดตราสารหนี้แล้ว จะเห็นผลกระทบกับเศรษฐกิจภาพรวมได้อย่างชัดเจน
ดังนั้น การใช้มาตรการ QE ในประเทศไทย จึงอาจไม่ได้ส่งผลบวกในวงกว้างเหมือนกับประเทศที่มีตลาดตราสารหนี้ขนาดใหญ่มากนัก
และนี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในรอบนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงเลือกที่จะนำมาตรการการเงินอื่น ๆ เช่น การพักชำระหนี้ การให้สินเชื่อพิเศษ การปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ แต่ยังไม่หยิบเอามาตรการอย่าง QE มาใช้ นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD
-https://www.bot.or.th/Thai/BOTStoryTelling/Pages/MonetaryPolicy_StoryTelling_AcademicAndFI.aspx
-https://www.investopedia.com/terms/q/quantitative-easing.asp
- https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_27Oct2020.aspx
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/thailand-economic-qe-covid-040864?fbclid=IwAR3R788vgTs8-J9kaX730qOWpxnGIrHLDOWRdqpHDQfJphSbElF9xh9W2cY
-https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=31&language=TH
-https://www.atlanticcouncil.org/blogs/econographics/global-qe-tracker/
-https://www.icmagroup.org/Regulatory-Policy-and-Market-Practice/Secondary-Markets/bond-market-size/
「ธนาคารแห่งประเทศไทย คืออะไร」的推薦目錄:
- 關於ธนาคารแห่งประเทศไทย คืออะไร 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於ธนาคารแห่งประเทศไทย คืออะไร 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於ธนาคารแห่งประเทศไทย คืออะไร 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於ธนาคารแห่งประเทศไทย คืออะไร 在 แบงก์ชาติมีหน้าที่... - ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand 的評價
- 關於ธนาคารแห่งประเทศไทย คืออะไร 在 สมบัติชาติ : ธนาคารแห่งประเทศไทย - YouTube 的評價
ธนาคารแห่งประเทศไทย คืออะไร 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ลงทุนแมน x แคปปิตอล ลิ้งค์
ใบรับฝากเงิน หนึ่งช่องทางออมเงินระยะยาว ของคนยุคนี้
การฝากเงิน นอกจากการเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์แล้ว
ยังมีเงินฝากอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า ใบรับฝากเงิน (Deposit Receipt)
ใบรับฝากเงิน เกิดจากการฝากเงินในสถาบันการเงินที่เรียกว่า บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ คืออะไร ?
และ ใบรับฝากเงิน น่าสนใจสำหรับการออมเงินระยะยาว อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง..
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศส
และเริ่มปรากฏชื่อครั้งแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2467
แต่เดิม บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นธุรกิจปล่อยเงินกู้ที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์
ทั้งในแง่ของ การกู้ยืมเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์
และ การนำอสังหาริมทรัพย์มาจดจำนองเป็นหลักประกัน ในการกู้ยืมเงิน
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ก็ได้ถูกจัดให้เป็น “ธุรกิจสถาบันการเงิน”
ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่ “ปล่อยสินเชื่อ”
ในรูปแบบรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ และการรับซื้ออสังหาริมทรัพย์ด้วยวิธีขายฝากแล้ว
ยังทำหน้าที่ “รับฝากเงิน” จากประชาชน อีกด้วย
ปัจจุบันนี้ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ในประเทศไทย มีจำนวนเพียง 3 บริษัท
โดยหนึ่งบริษัทเจ้าใหญ่ในกลุ่มธุรกิจนี้คือ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด
ซึ่งเปิดบริการมาตั้งแต่ปี 2515
แล้ว การฝากเงินกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ น่าสนใจอย่างไร ?
การฝากเงินประเภทนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการฝากเงินระยะยาว
สามารถเลือกฝากเงินระยะยาวได้ตั้งแต่ 1 - 5 ปี
ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ มักจะรับฝากประจำสูงสุดไม่เกิน 3 ปี
โดยผู้ฝากเงินจะได้รับ “ใบรับฝากเงิน (Deposit Receipt)” เป็นหลักฐานแทนสมุดบัญชี
ภายในใบรับฝากเงิน จะแสดงข้อมูลสำคัญอย่างชัดเจน
เช่น จำนวนเงินฝาก, ชื่อผู้ฝาก, วันครบกำหนด, อัตราดอกเบี้ย
ที่น่าสนใจคือ การฝากเงินกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์
มักจะได้รับ “อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก” สูงกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
จากข้อมูลอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ณ มีนาคม 2564 พบว่า
อัตราดอกเบี้ยฝากประจำ 12 เดือน
- ธนาคารพาณิชย์ ร้อยละ 0.45 - 1.50 ต่อปี
- บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ ร้อยละ 1.75 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยฝากประจำ 24 เดือน
- ธนาคารพาณิชย์ ร้อยละ 0.50 - 1.30 ต่อปี
- บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ ร้อยละ 2.00 ต่อปี
จะเห็นได้ว่า บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์
ให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าธนาคารพาณิชย์ร้อยละ 0.25 - 1.50 ต่อปี
และหากเป็นการฝากเงินระยะยาวสูงสุด 5 ปีในบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์
จะได้รับอัตราดอกเบี้ยสูงสุดร้อยละ 3.25 ต่อปี เลยทีเดียว
นอกจากนี้ ผู้ฝากยังสามารถเลือกรับดอกเบี้ยเงินฝากได้
ทั้งแบบทยอยรับทุกสิ้นเดือน หรือจะรับเป็นเงินก้อน เมื่อครบกำหนด ก็ได้เช่นกัน
แล้ว เงินฝากของเรา จะได้รับความปลอดภัยแค่ไหน ?
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์
อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ “ธนาคารแห่งประเทศไทย”
จึงมีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย ไม่ต่างไปจากธนาคารพาณิชย์
เช่นเดียวกับ เงินฝากของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์
ที่จะได้รับการคุ้มครองจาก “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก”
เช่นเดียวกับเงินฝากของธนาคารพาณิชย์
นอกจากนี้ การปล่อยสินเชื่อของบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์
ยังมีหลักประกันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ที่มีมูลค่าสูงกว่าวงเงินกู้
จึงลดความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจได้
โดย 4 ปีที่ผ่านมา บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ มีผลการดำเนินงาน ดังนี้
ปี 2560 รายได้ 135.5 ล้านบาท กำไรสุทธิ 36.3 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 160.9 ล้านบาท กำไรสุทธิ 37.7 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 150.8 ล้านบาท กำไรสุทธิ 31.5 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 159.0 ล้านบาท กำไรสุทธิ 39.6 ล้านบาท
ถือได้ว่า บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ ยังคงรักษาระดับกำไรได้ดีทีเดียว
มาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า..
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นหนึ่งสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่รับฝากเงิน
ไม่ต่างไปจากธนาคารพาณิชย์
และใบรับฝากเงิน ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางออมเงินระยะยาวที่น่าสนใจไม่น้อย
นอกจากจะได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสูงกว่าธนาคารพาณิชย์แล้ว
ยังสามารถฝากเงินได้อย่างอุ่นใจ.. ได้รับความปลอดภัยจากการคุ้มครองเงินฝาก
และยังอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย อีกด้วย
สำหรับใครที่กำลังมองหาช่องทางเงินออมระยะยาวที่น่าสนใจในยุคนี้..
สามารถสอบถาม บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ เพิ่มเติ่มได้ที่ www.capitallink.co.th/clc หรือโทร. (662) 678 0666
References
- https://www.capitallink.co.th/clc/whatis.php?lan=th
- https://www.capitallink-clc.com/
- กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- https://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/WebsiteFI/Pages/InstList.aspx?pit1=6
- https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx
ธนาคารแห่งประเทศไทย คืออะไร 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
EXIM X ลงทุนแมน
ทำธุรกิจค้าขายระหว่างประเทศ แต่ค่าเงินผันผวน ทำอย่างไร?
ในช่วงนี้ เจ้าของธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs อาจจะต้องเจอกับภาวะของค่าเงินที่ผันผวนอย่างมาก เริ่มตั้งแต่ช่วงปีก่อนที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเกิดมาจากปัจจัยสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา และตามมาด้วยช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ที่ค่าเงินบาทเริ่มอ่อนค่าลง จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะเรื่องโรคระบาดที่ทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศน้อยลง โดยอ่อนค่าลงประมาณ 1.7% เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว และในช่วงปลายปีก็อาจเกิดความผันผวน ที่เงินบาทมีโอกาสกลับมาแข็งค่าขึ้นได้อีก จากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในสหรัฐอเมริกา
ซึ่งเรื่องนี้ก็น่าจะเป็นอุปสรรคที่ท้าทายไม่น้อย โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องค้าขายกับต่างประเทศ เพราะความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทได้
ยกตัวอย่างเช่น
สมมติให้ปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ มีค่าเท่ากับ 30 บาท
หากเราทำธุรกิจส่งออก และมีคำสั่งซื้อสินค้าจากสหรัฐอเมริกาโดยมีนัดชำระเงินในอีก 6 เดือนข้างหน้ามูลค่ารวม 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
หมายความว่าถ้าเราอิงจากอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน เราจะได้เงินจำนวนทั้งหมด 3,000,000 บาท
แต่เมื่อถึงวันที่รับชำระเงินจริง ปรากฏว่าค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็น 29 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ทำให้เมื่อแลกมาเป็นเงินไทยแล้ว เราจะได้รับเงิน 2,900,000 บาท
หรือรายได้ลดลงจากเดิม 100,000 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน
แล้วเราสามารถแก้ปัญหานี้อย่างไรได้บ้าง?
หนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่หลายบริษัททั่วโลกนิยมใช้ก็คือ การใช้ FX Options เข้ามาช่วยป้องกันความเสี่ยง
แล้ว FX Options คืออะไร?
FX Options หรือ Foreign Exchange Options เป็นตราสารอนุพันธ์ชนิดหนึ่ง ที่เป็นการทำข้อตกลงเพื่อซื้อหรือขายสกุลเงินตราต่างประเทศ ในวันเวลาและราคาที่ตกลงกันไว้
โดยผู้ที่ซื้อสัญญา Options นั้นมีสิทธิ์ ที่จะใช้สิทธิ์หรือไม่ใช้ก็ได้เมื่อถึงเวลาที่กำหนด
การใช้ FX Options จึงถือเป็นการช่วยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ล่วงหน้า ทำให้เราสามารถป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคตได้
และถ้าใครอยากรู้เรื่องเครื่องมือทางการเงินประเภทนี้ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จึงมีโครงการอบรมสัมมนาออนไลน์ที่ชื่อว่า “โครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุน SME ที่ทำการค้าระหว่างประเทศ” เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ มีความรู้ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนด้วย FX Options มากยิ่งขึ้น แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) เป็นผู้ดำเนินการร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย สถาบันธนาคารไทย ธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติตามที่กำหนด และผ่านการอบรมครบตามเงื่อนไข ยังจะได้รับสิทธิประโยชน์เป็นโอกาสทดลองใช้ FX Options ฟรี ในวงเงินสูงสุด 100,000 บาท แบ่งเป็นการประกันค่าเงิน 80,000 บาทต่อราย และช่วยค่าธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศ (Trade Related Fee) 20,000 บาทต่อราย
ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และลงทะเบียนได้ฟรี ที่ www.eximfxoptions.com
#FXOptions #อบรมสัมมนาออนไลน์ฟรี!
#ธุรกิจนำเข้าส่งออก #SME #อัตราแลกเปลี่ยน
#โครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุนSMEที่ทำการค้าระหว่างประเทศ
#ส่งออก #EXIM #EXACbyEXIMbank #FXoptions
#ธุรกิจไม่เสี่ยงเลี่ยงค่าเงินผันผวนด้วยFXOPTIONS
ธนาคารแห่งประเทศไทย คืออะไร 在 สมบัติชาติ : ธนาคารแห่งประเทศไทย - YouTube 的推薦與評價
สมบัติชาติ : ธนาคารแห่งประเทศไทย. Bank of Thailand. Bank of Thailand. 49.6K subscribers. Subscribe. 144. I like this. I dislike this. ... <看更多>
ธนาคารแห่งประเทศไทย คืออะไร 在 แบงก์ชาติมีหน้าที่... - ธนาคารแห่งประเทศไทย - Bank of Thailand 的推薦與評價
แบงก์ชาติมีหน้าที่อะไร? ทำไมงบการเงินบางปีถึงขาดทุน ? งบการเงินของแบงก์ชาติเหมือนงบการเงินของเอกชนหรือไม่ มีอธิบาย สั้นๆง่ายๆในคลิปนี้ครับ... ... <看更多>