บังกลาเทศ ทำอย่างไร ให้รวยแซงหน้าอินเดียและปากีสถาน /โดย ลงทุนแมน
ในอดีต ถ้าเราเอา 3 ประเทศที่เป็นเพื่อนบ้านกันในเอเชียใต้
คือบังกลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน
มาเทียบรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีของประชากรกัน
จะเห็นว่า บังกลาเทศ เป็นประเทศที่อยู่ในอันดับสุดท้าย
แต่รู้ไหมว่าวันนี้ บังกลาเทศ คือประเทศที่รวยแซงหน้าอินเดียและปากีสถานไปแล้ว
บังกลาเทศทำอย่างไร ให้รวยแซงประเทศเพื่อนบ้านอย่างอินเดียและปากีสถาน
และในอนาคตพวกเขาตั้งเป้าจะพัฒนาประเทศเป็นอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เรามาดูรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีของประชากรใน 3 ประเทศนี้
ในอดีตเทียบกับปัจจุบัน อ้างอิงจาก World Bank
ปี 1980
- ปากีสถาน 9,400 บาท
- อินเดีย 8,300 บาท
- บังกลาเทศ 7,100 บาท
ปี 2020
- บังกลาเทศ 69,000 บาท
- อินเดีย 60,000 บาท
- ปากีสถาน 48,000 บาท
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของชาวบังกลาเทศเติบโต 9.7 เท่า
ขณะที่อินเดียเติบโต 7.2 เท่า และปากีสถานเติบโต 5.1 เท่า
เรียกได้ว่า วันนี้บังกลาเทศคือประเทศร่ำรวยแซงหน้าอินเดียและปากีสถานไปเรียบร้อยแล้ว
เมื่อวัดจากรายได้ต่อหัวของประชากร
จริง ๆ แล้วบังกลาเทศถือเป็นประเทศที่เกิดหลังจากอินเดียและปากีสถาน
เนื่องจากในปี 1971 หรือเมื่อ 50 ปีที่แล้ว บังกลาเทศ มีชื่อเดิมคือ ปากีสถานตะวันออก ได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราช เนื่องจากความขัดแย้งทางการเมืองกับปากีสถานตะวันตก
ในช่วงแรกที่ปากีสถานตะวันออกต้องการแยกตัวออกจากปากีสถานตะวันตกนั้น
ทางปากีสถานตะวันตกไม่ยินยอม และใช้กำลังทหารเข้าไปจัดการปัญหา
แต่กลับมีตัวละครอีกตัวคือ อินเดีย
ที่ได้ส่งกองทัพเข้าไปช่วยปากีสถานตะวันออกรบกับปากีสถานตะวันตก
จนสุดท้ายปากีสถานตะวันออกได้รับชัยชนะ
และประกาศเอกราชมาเป็นประเทศบังกลาเทศ นับแต่นั้นเป็นต้นมา
ส่วนปากีสถานตะวันตกก็เป็น ประเทศปากีสถาน จนถึงวันนี้
อย่างไรก็ตาม แม้บังกลาเทศจะสามารถแยกออกมาตั้งเป็นประเทศได้สำเร็จ แต่ด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่แร้นแค้นอย่างหนัก ความไม่มั่นคงทางการเมือง มีการทุจริตในวงกว้าง ระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่ไม่พร้อม
จึงทำให้ผู้คนนับล้านคน ไม่ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พวกเขาจึงต้องอพยพเข้าไปอยู่อินเดีย และบางส่วนอพยพด้วยช่องทางที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งทำให้คนจำนวนไม่น้อยถูกทหารปากีสถานสังหาร
ความยากจนแร้นแค้นของประชาชน ทำให้ครั้งหนึ่งบังกลาเทศเคยเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก โดยเฉพาะช่วงแรกหลังจากประกาศเอกราชนั้น ประชากรกว่า 90% ของบังกลาเทศนั้นอาศัยอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน
จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญที่มีผลต่อเศรษฐกิจของบังกลาเทศเกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เมื่อรัฐบาลได้นำเอาแผนปฏิรูปเศรษฐกิจฉบับใหม่มาใช้
โดยมีเรื่องสำคัญในแผนฉบับนั้นคือ
นโยบายการเปิดเสรีทางการค้าและบริการ หรือ “Trade Liberalization”
ซึ่งนโยบายนี้ มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อมาช่วยให้กลไกตลาดสามารถทำงานได้อย่างเสรีมากขึ้น
ผลของการเปิดเสรีทางการค้าและบริการ ทำให้การค้าและการลงทุนของประเทศนั้นเพิ่มมากขึ้น จนส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศนั้นเติบโตอย่างรวดเร็ว
อัตราการเติบโตของ GDP บังกลาเทศ เพิ่มขึ้นจาก 3.5% ในช่วงปี 1980-1989 มาอยู่ที่ 4.7% ในช่วงปี 1990-1999
นโยบายดังกล่าว ยังนับเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญ
ที่นำไปสู่การปฏิรูปหลายภาคส่วนของบังกลาเทศ
เช่น นโยบายการค้า, ภาคอุตสาหกรรม, ภาคการเงิน รวมไปถึงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเวลาต่อมา
ในปี 2000 มูลค่า GDP ของบังกลาเทศ เท่ากับ 1.7 ล้านล้านบาท
ในปี 2019 มูลค่า GDP ของบังกลาเทศ เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ 10 ล้านล้านบาท
ทำให้บังกลาเทศถูกมองว่า เป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตเร็วมากที่สุดในโลก
และการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบติดจรวด ทำให้จากประเทศที่เคยยากจนที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สามารถก้าวขึ้นมาอยู่ในฐานะประเทศรายได้ปานกลางแล้วในวันนี้
และมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีแซงหน้าอินเดียและปากีสถาน 2 ประเทศเพื่อนบ้านที่รวยกว่าในอดีตไปแล้ว
จุดเด่นอีกเรื่องในโครงสร้างเศรษฐกิจของบังกลาเทศ คือ การมีแรงงานจำนวนมาก โดยปัจจุบันบังกลาเทศ มีจำนวนแรงงานกว่า 67 ล้านคน หรือประมาณ 41% ของจำนวนประชากร
จึงทำให้มีความได้เปรียบทางด้านค่าแรงที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชีย และเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกของบริษัทข้ามชาติหลายแห่ง
หนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์จากจุดนี้คือ อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย
อุตสาหกรรมเหล่านี้มีสัดส่วนสูงกว่า 90% ของมูลค่าการส่งออกของประเทศ ที่เท่ากับ 1.4 ล้านล้านบาทในปี 2019
ข้อได้เปรียบด้านแรงงาน จึงดึงดูดให้บริษัทเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายระดับโลก เข้ามาลงทุนและทำธุรกิจในบังกลาเทศหลายบริษัท เช่น
- H&M แบรนด์เสื้อผ้าระดับโลกจากสวีเดน
- Primark แบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายชื่อดังจากไอร์แลนด์
- ZARA แบรนด์แฟชั่นชั้นนำระดับโลกจากสเปน
- GAP แบรนด์เครื่องแต่งกายจากสหรัฐอเมริกา
ที่น่าสนใจคือ ในช่วงปี 2011-2019
การส่งออกของบังกลาเทศเติบโตเฉลี่ยปีละ 8.6% ทุกปี
เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่โตเฉลี่ย 0.4%
และตอนนี้บังกลาเทศ ยังกลายมาเป็นผู้ผลิตและส่งออกเครื่องแต่งกายอันดับ 2 ของโลก เป็นรองแค่จีนประเทศเดียว
การมีตลาดแรงงานที่ใหญ่ และจำนวนประชากรของบังกลาเทศที่มีมากถึง 165 ล้านคน สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก เมื่อรวมกับการที่รายได้ชนชั้นกลางที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเชื่อว่า ตลาดผู้บริโภคของที่นี่จะมีศักยภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ
อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายก็ออกมาบอกว่า
ความท้าทายของบังกลาเทศ ก็จะคล้ายกับประเทศกำลังพัฒนาที่เคยอาศัยข้อได้เปรียบด้านแรงงานถูก
เพราะในอนาคต ถ้าจุดเด่นเรื่องแรงงานราคาถูกค่อย ๆ หายไป
บังกลาเทศ ก็จำเป็นต้องเปลี่ยนไปเน้นการผลิตและส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น แทนอุตสาหกรรมที่เน้นแรงงานอย่างอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายเหมือนในวันนี้
ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลของบังกลาเทศได้เตรียมการรองรับเรื่องดังกล่าว
ด้วยการออกแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่มีชื่อว่า “Bangladesh Vision 2041” ที่จะเริ่มตั้งแต่ปี 2021 โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจคือ
- เพิ่มสัดส่วนมูลค่าการลงทุนต่อ GDP จาก 34% มาอยู่ที่ 47%
- เพิ่มมูลค่าเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศจาก 297,600 ล้านบาท มาอยู่ที่ 4.8 ล้านล้านบาท
- เพิ่มมูลค่าเงินลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานจาก 3.1 ล้านล้านบาท มาอยู่ที่ 36 ล้านล้านบาท
- เพิ่มมูลค่าการส่งออกจาก 1.5 ล้านล้านบาท มาอยู่ที่ 9.3 ล้านล้านบาท
โดยทั้งหมดนี้ มีเป้าหมายก็เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตในประเทศ
และเพื่อทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวของชาวบังกลาเทศ เพิ่มไปอยู่ที่ 496,000 บาท
จนกลายเป็นประเทศ ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มรายได้สูง ภายในปี 2041 นั่นเอง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.business-standard.com/article/economy-policy/bangladesh-rises-to-be-south-asia-s-standout-star-as-india-pak-fall-behind-121060100237_1.html
-https://www.piie.com/commentary/speeches-papers/evaluating-success-trade-liberalization-bangladesh
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=IN-PK-BD
-https://data.worldbank.org/country/bangladesh
-https://www.worldstopexports.com/bangladeshs-top-10-exports/
-https://data.worldbank.org/indicator/SL.TLF.TOTL.IN?locations=BD
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://en.wikipedia.org/wiki/Bangladesh_Vision_2041
-https://blogs.worldbank.org/opendata/new-world-bank-country-classifications-income-level-2020-2021
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過42萬的網紅ชาญชัย กินให้อ้วนรวย,也在其Youtube影片中提到,พังพอน (อังกฤษ: Small asian mongoose, Small indian mongoose; ชื่อวิทยาศาสตร์: Herpestes javanicus) เป็นสัตว์กินเนื้อชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Herpestidae มีขนา...
「บังกลาเทศ อินเดีย」的推薦目錄:
- 關於บังกลาเทศ อินเดีย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於บังกลาเทศ อินเดีย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於บังกลาเทศ อินเดีย 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最讚貼文
- 關於บังกลาเทศ อินเดีย 在 ชาญชัย กินให้อ้วนรวย Youtube 的最佳解答
- 關於บังกลาเทศ อินเดีย 在 "บังกลาเทศ-อินเดีย" น้ำท่วมหนักฤดูมรสุม | จับตาสถานการณ์ - YouTube 的評價
- 關於บังกลาเทศ อินเดีย 在 น้ำท่วมบังกลาเทศ-อินเดีย เดือดร้อนหนัก - จีนเตือนภัยน้ำท่วมระดับสูงสุด 的評價
- 關於บังกลาเทศ อินเดีย 在 ทีเด็ด 4 เซียน 4 เซียน ฟัน ธง ทีเด็ด ลม โต๊ะ ทีเด็ด บอล ชุด ... 的評價
บังกลาเทศ อินเดีย 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
ยอดส่งออก หมากไทย กำลังสูงสุด เป็นประวัติการณ์ / โดย ลงทุนแมน
คนไทยไม่ได้กินหมาก แต่ตัวเลข 216% คืออัตราการเติบโตของการส่งออก “หมาก” ของประเทศไทย
ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2564 เมื่อเทียบกับยอดการส่งออกในช่วงเดียวกันของปี 2563
ยอดส่งออกหมากเพียง 4 เดือนในปี 2564 คิดเป็นมูลค่าถึง 1,835 ล้านบาท
ซึ่งเป็นมูลค่าที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในช่วงระยะเวลา 4 เดือน
โดยจุดหมายปลายทางของการส่งออกหมากกว่า 91% อยู่ที่ “ประเทศเมียนมา”
เกิดอะไรขึ้นกับความต้องการหมากไทย ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักกับไม้ผลชนิดนี้กันสักนิด..
หมาก เป็นไม้ยืนต้นที่จัดอยู่ในวงศ์ของปาล์ม มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อนของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในแถบเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมปลูกมากที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เมียนมา ไปจนถึงบังกลาเทศ อินเดีย และศรีลังกา
ผลหมากมีสารจำพวกแอลคาลอยด์ ชื่อว่า สาร Arecoline ซึ่งมีคุณสมบัติเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และเพิ่มแรงดันเลือด ผู้ที่เคี้ยวหมากจึงรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า
คนไทยในอดีตนิยมเคี้ยวหมากกันมาก เพื่อเพิ่มความกระชุ่มกระชวยในการทำงาน
ในแต่ละคำของหมาก จะประกอบไปด้วย หมากสด หรือหมากแห้งชิ้นบาง ๆ ปูนแดง แล้วห่อด้วยใบพลู
ด้วยความคุ้นเคยมาเนิ่นนาน เราจึงพบว่าหมากได้แทรกซึมอยู่ในประเพณีและวัฒนธรรมไทยมากมาย ทั้งการแห่ขันหมาก การบูชาเทพเจ้าต่าง ๆ
หรือแม้แต่ถ้อยคำสำนวนก็ยังพบคำว่าหมากปะปนอยู่จนถึงปัจจุบัน ทั้ง “ผลหมากรากไม้” ที่หมายถึงพืชพันธุ์ผลไม้และต้นไม้ต่าง ๆ หรือคำที่นิยามช่วงเวลาที่เศรษฐกิจย่ำแย่ว่า “ข้าวยากหมากแพง”..
การเคี้ยวหมากในสังคมไทย ถูกลดความสำคัญลงไปในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี
ในปี พ.ศ. 2485
รัฐบาลมีนโยบายรัฐนิยม ที่จะปรับปรุงประเทศให้มีอารยะตามแบบชาติตะวันตก จึงออกกฎระเบียบหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชน หนึ่งในนั้นคือ การห้ามเคี้ยวหมาก และบ้วนหมากในที่สาธารณะ
โดยให้เหตุผลว่า การเคี้ยวหมากทำให้ปากและฟันดำคล้ำ ดูเลอะเทอะไม่น่ามองสำหรับชาวต่างชาติ และการบ้วนน้ำหมากก็สร้างความสกปรกเลอะเทอะแก่ถนนหนทาง
ถึงแม้รัฐบาลในยุคต่อ ๆ มาจะอนุญาตให้ประชาชนกลับไปเคี้ยวหมากได้
แต่ความนิยมในการเคี้ยวหมากของคนไทยก็ลดลงไปมากแล้ว
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังคงมีการปลูกต้นหมากอยู่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศไทย
หมากจะเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีแสงแดดจัด มีปริมาณฝนพอเหมาะ จึงนิยมปลูกมากในแถบภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช และระนอง ซึ่งเป็น 3 จังหวัดที่มีการปลูกต้นหมากมากที่สุด
นอกจากนี้ยังพบการปลูกบ้างในเขตภาคกลาง เช่น นครปฐม ซึ่งเกษตรกรจะนิยมปลูกต้นหมาก ควบคู่ไปกับไม้ผลชนิดอื่น ๆ ไม่นิยมปลูกหมากเพียงอย่างเดียว
เพราะความต้องการบริโภคหมากของคนไทยลดน้อยลงมาก
อย่างไรก็ตาม ผลผลิตหมากในไทยยังคงมีกลุ่มลูกค้าอยู่ 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ใช้หมากในงานพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น แห่ขันหมาก บายศรีสู่ขวัญ หรือบูชาเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
กลุ่มที่ 2 เป็นอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมฟอกหนัง เนื่องจากผลหมาก มีส่วนผสมของสารแทนนิน ซึ่งมีคุณสมบัติในการกัดกร่อน นอกจากนี้ผลหมากเมื่อสุกแล้วจะให้สีแดง สามารถนำไปใช้สำหรับอุตสาหกรรมสีย้อมได้
กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มแรงงานต่างชาติ โดยเฉพาะแรงงานชาวเมียนมา
ซึ่งกลุ่มนี้มีแนวโน้มเติบโตมากที่สุด เนื่องจากมีแรงงานชาวเมียนมาที่ทำงานในประเทศกว่า 1.5 ล้านคน
ในขณะที่การส่งออกหมากแห้งไปยังเมียนมา ก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปี
สำหรับชาวเมียนมาแล้ว การกินหมากอยู่คู่กับสังคมมาเนิ่นนานไม่ต่างกับชาวไทย
ต่างกันที่ปัจจุบันก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่มาก ร้านขายหมากสามารถพบเห็นได้ตามหัวมุมถนนในเมืองน้อยใหญ่ทั่วประเทศ
การเตรียมหมากแบบเมียนมา เรียกว่า กุนหย่า (Kun-yar)
ในกุนหย่า 1 คำ นอกจากผลหมาก ปูนแดง และใบพลู
บางร้านจะมีการโรยด้วยใบยาสูบ เพิ่มรสชาติด้วยเครื่องเทศอย่างกระวานและกานพลู แล้วจึงม้วนเป็นคำ ๆ
โดยแต่ละร้านก็จะมีสูตรลับในการปรุงแตกต่างกันออกไป
ซึ่งการเคี้ยวหมากก็ช่วยเพิ่มความกระชุ่มกระชวยให้กับชาวเมียนมา จนมีชาวเมียนมามากกว่า 10 ล้านคน ที่เคี้ยวหมากอยู่เป็นประจำ
แต่การเคี้ยวหมากก็นำผลเสียมาสู่สุขภาพ เพราะสามารถกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งในช่องปากได้
จากข้อมูลของ People’s Health Foundation ของเมียนมา ในแต่ละปีมีชาวเมียนมาเสียชีวิตจากมะเร็งในช่องปากจากการเคี้ยวหมากและใบยาสูบ มากกว่า 54,000 คน
รัฐบาลเมียนมาจึงออกนโยบายสนับสนุนให้ประชาชนเลิกเคี้ยวหมากอย่างจริงจัง ตั้งแต่ปี 2561 และบรรจุให้อยู่ในแผนนโยบายสาธารณสุขแห่งชาติ
รวมถึงการออกกฎหมายควบคุมการเคี้ยวหมากในที่สาธารณะ ผู้บ้วนน้ำหมากในที่สาธารณะในนครย่างกุ้งจะต้องถูกปรับเป็นเงินราว 30,000-50,000 จัต คิดเป็นเงินไทยราว 560-950 บาท
แต่อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้เคี้ยวหมากก็ไม่มีวี่แววว่าจะลดลง จากรายงานขององค์การอนามัยโลก
ผู้ชายชาวเมียนมาที่อายุมากกว่า 15 ปี เคี้ยวหมากถึง 51%
ส่วนผู้หญิงชาวเมียนมาก็เคี้ยวหมากอยู่ในอัตรา 16%
สำหรับพื้นที่ที่เป็นแหล่งปลูกต้นหมากที่สำคัญของเมียนมา คือ เขตตะนาวศรี ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของเมียนมา ติดกับภาคตะวันตกและภาคใต้ตอนบนของไทย
เขตนี้เป็นที่ตั้งของเมืองทวาย มะริด ตะนาวศรี ไล่ลงมาจนถึงเกาะสอง ซึ่งหมากจากเขตตะนาวศรีได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในหมากที่ดีที่สุดของเมียนมา
ถ้าในสถานการณ์ปกติ ผลหมากจากเขตตะนาวศรีจะถูกขนส่งไปทั่วเมียนมาเพื่อรองรับกับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น
บางครั้งก็ต้องมีการนำเข้าหมากจากไทยเพิ่มเติม ซึ่งหมากที่นำเข้าจากไทยส่วนใหญ่ก็จะเป็นหมากแห้ง ที่มาจากจังหวัดที่อยู่ติดกับเขตตะนาวศรี เช่น ชุมพรและระนอง
แต่นับตั้งแต่เมียนมามีการระบาดของโควิด 19 ตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคม ในปี 2563 ลากยาวมาจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และถูกซ้ำเติมด้วยเหตุการณ์รัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564
ความวุ่นวายจากทั้งโรคระบาดและการเมือง ส่งผลให้แรงงานประสบปัญหาทั้งการเก็บเกี่ยวหมากและการขนส่ง ในขณะที่ความต้องการยังคงเดิม
ท้ายที่สุดก็จำเป็นต้องนำเข้าหมากจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ซึ่งถ้าหากสถานการณ์ยังคงยืดเยื้อต่อไป ก็มีแนวโน้มว่า ปี 2564 จะเป็นปีที่ประเทศไทย มียอดการส่งออกหมากสูงสุดเป็นประวัติการณ์..
ถึงแม้จะเป็นโอกาสสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกหมาก แต่อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ก็ดูเหมือนจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น
หากผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจค้าหมาก ทั้งเกษตรกร พ่อค้า ไปจนถึงภาครัฐ ต้องการพัฒนา “หมาก” ให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจ จะต้องมีการเร่งศึกษา พัฒนา และวางแผนการตลาดอย่างจริงจัง
นอกจากนั้น การวางแผนขยายตลาดส่งออกก็เป็นเรื่องสำคัญ
เพราะนอกจากเมียนมาที่ครองสัดส่วนตลาดส่งออกกว่า 91% แล้ว ยังมีตลาดอื่น ๆ ที่ผู้คนนิยมเคี้ยวหมากเช่นเดียวกัน เช่น บังกลาเทศ ที่ครองสัดส่วน 6%
และอินเดีย ที่ครองสัดส่วน 1%
โดยความเสี่ยงของตลาดส่งออกก็คือ นโยบายด้านสาธารณสุขของแต่ละประเทศ ซึ่งอาจเข้มงวดในเรื่องการเคี้ยวหมากของประชาชนมากยิ่งขึ้น เหมือนอย่างเช่นที่รัฐบาลไทยเคยห้ามเคี้ยวหมากในยุค จอมพล ป.
หรือที่รัฐบาลเมียนมาเริ่มสนับสนุนให้คนเลิกเคี้ยวหมาก
นอกจากนี้ยังมีอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่จะต่อยอดมูลค่าของหมากในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมฟอกหนัง ย้อมสี หรืออุตสาหกรรมยาสมุนไพร ทั้งของคนและสัตว์
หากมีการวิจัยและต่อยอด รวมถึงการควบคุมคุณภาพของผลผลิต
ประเมินความเสี่ยง และวางแผนการตลาดอย่างเป็นระบบ
ก็ไม่แน่ว่า “หมาก” ที่คนไทยเลิกเคี้ยวไปเป็นเวลาเกือบ 80 ปีแล้ว
อาจกลับมาเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ก็เป็นได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomRecode&ImExType=1&Lang=Th
-http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomTopNRecode&Option=3&Lang=Th&ImExType=1
-https://www.silpa-mag.com/culture/article_5228
-https://www.efe.com/efe/english/destacada/betel-chewing-remains-wildly-popular-in-myanmar-despite-health-concerns/50000261-4039496
-https://ebook.tsu.ac.th/store/book/research/full2018/1104/
-http://www.muangboranjournal.com/post/betel-nut-Tanintharyi
-https://dt.mahidol.ac.th/th/โรคมะเร็งในช่องปาก/
บังกลาเทศ อินเดีย 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最讚貼文
อัปเดทสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ทั่วโลก ณ วันที่ 8 เมษายน 2564 วันนี้ประเทศไทย ไม่มีผู้เสียชีวิต แต่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 14 ราย ผู้ติดเชื้อในประเทศ 391 ราย ผู้ติดเชื้อรวม 405 ราย ดังนี้
.
ผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ
อินเดีย 1 ราย
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 6 ราย
บังกลาเทศ 2 ราย
มาเลเซีย 1 ราย
สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย
ฝรั่งเศส 1 ราย
สหราชอาณาจักร 1 ราย
ตุรกี 1 ราย
ผู้ติดเชื้อภายในประเทศไทย
กทม. 95 ราย
เชียงใหม่ 6 ราย
ลำปาง 1 ราย
เชียงราย 1 ราย
พิษณุโลก 4 ราย
พระนครศรีอยุธยา 2 ราย
สระบุรี 1 ราย
นนทบุรี 18 ราย
ปทุมธานี 8 ราย
นครปฐม 6 ราย
สุพรรณบุรี 2 ราย
สมุทรสาคร 9 ราย
ฉะเชิงเทรา 1 ราย
ชลบุรี 14 ราย
สมุทรปราการ 23 ราย
สระแก้ว 14 ราย
ระยอง 1 ราย
ประจวบคีรีขันธ์ 14 ราย
ขอนแก่น 3 ราย
หนองบัวลำภู 1 ราย
อุดรธานี 7 ราย
บุรีรัมย์ 2 ราย
ชัยภูมิ 2 ราย
ยโสธร 1 ราย
ภูเก็ต 3 ราย
นครศรีธรรมราช 1 ราย
ชุมพร 3 ราย
สงขลา 2 ราย
นราธิวาส 146
บังกลาเทศ อินเดีย 在 ชาญชัย กินให้อ้วนรวย Youtube 的最佳解答
พังพอน (อังกฤษ: Small asian mongoose, Small indian mongoose; ชื่อวิทยาศาสตร์: Herpestes javanicus) เป็นสัตว์กินเนื้อชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Herpestidae มีขนาดเล็ก ขนบนหัวมีสีน้ำตาลแดงจนถึงน้ำตาลเข้ม ขามีสีเดียวกับลำตัวหรือเข้มกว่าเล็กน้อย หางยาวประมาณ 2 ใน 3 ของลำตัว เมื่อตกใจจะพองขนทำให้ดูตัวใหญ่กว่าปกติ เพศเมียจะมีเต้านมทั้งหมด 3 คู่
มีความยาวลำตัวและหัว 35-41 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 25-29 เซนติเมตร
พังพอนมีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมากตั้งแต่อิหร่าน, ปากีสถาน, อินเดีย, พม่า, เนปาล, รัฐสิกขิม, บังกลาเทศ, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซียและเกาะชวา จึงทำให้มีชนิดย่อยมากถึง 12 ชนิด
มีพฤติกรรมชอบอาศัยตามป่าโปร่งหรือทุ่งหญ้ามากกว่าป่าดิบทึบ ดังนั้นจึงมักเห็นพังพอนอาศัยอยู่แม้แต่ในเขตเมือง มักอาศัยอยู่ตามลำพังในโพรงดินที่ขุดไว้ หรือโพรงไม้ ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่อาจอยู่เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อาหารได้แก่ สัตว์ทั่วไปขนาดเล็ก หรือบางครั้งอาจล่าเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าลำตัว เช่น ไก่ป่ากินได้ ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน พังพอนจัดเป็นสัตว์ที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก อีกทั้งมีนิสัยที่ไม่กลัวใคร จึงเป็นที่ทราบกันดีว่าชอบที่จะสู้กับงูพิษ โดยเฉพาะงูเห่าเมื่อเผลอจะโดดกัดคองูจนตาย มีฤดูผสมพันธุ์ที่ไม่แน่นอน มักจะผสมกันในโพงดิน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว ใช้เวลาตั้งท้องนาน 6 สัปดาห์ สมัยก่อนในบางบ้านจะเลี้ยงพังพอนไว้สำหรับจับหนูหรือสัตว์ที่ทำรังควานในบ้านชนิดอื่น ๆ แทนแมว ซึ่งได้ผลดีกว่าแมวเสียอีก พังพอนแม้เป็นสัตว์ดุ แต่หากเลี้ยงตั้งแต่เล็กก็จะเชื่องกับเจ้าของ ในสถานที้เลี้ยงพบว่ามีอายุยืนประมาณ 6 ปี
ปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[2]
บังกลาเทศ อินเดีย 在 น้ำท่วมบังกลาเทศ-อินเดีย เดือดร้อนหนัก - จีนเตือนภัยน้ำท่วมระดับสูงสุด 的推薦與評價
ยอดผู้เสียชีวิตน้ำท่วม อินเดีย, บังกลาเทศ ทะลุ 160 คน บังกลาเทศ เจอน้ำท่วมหนักสุดในรอบ 100 ปี ระดับน้ำสูงถึงต้นขา ศูนย์อนามัยของยูนิเซฟจมบาดาลร้อยละ 90 ... <看更多>
บังกลาเทศ อินเดีย 在 ทีเด็ด 4 เซียน 4 เซียน ฟัน ธง ทีเด็ด ลม โต๊ะ ทีเด็ด บอล ชุด ... 的推薦與評價
... บังกลาเทศ 1.75 ต่อ ต่อ ต่อ ต่อ เลบานอน อินเดีย เสมอ รอง รอง ต่อ ต่อ จอร์เจีย (ยู 21) อิสราเอล (ยู 21) 0.25 รอง รอง เทพทีเด็ด.com. แจกทีเด็ดบอล ทีเด็ดฟุตบอล ... ... <看更多>
บังกลาเทศ อินเดีย 在 "บังกลาเทศ-อินเดีย" น้ำท่วมหนักฤดูมรสุม | จับตาสถานการณ์ - YouTube 的推薦與評價
บังกลาเทศ และ อินเดีย เผชิญอุทกภัยครั้งใหญ่ เนื่องจากอิทธิพลของสภาวะอากาศในช่วงฤดูมรสุมส่งผลให้ฝนตกหนักหลายวันติดต่อกัน ล่าสุดมีผู้เสียชีวิตรวมกันร่วม 60 คน ... ... <看更多>