กรี๊ดดดดดด🙌🏻🤩 ในที่สุดก็ได้วีแล้ววววววว
ดีใจน้ำตาจิไหล😂
(คือ วีไม่หมดช่วงอื่น ดันมาหมดช่วง COVID)
หลังจาก ต้องวิ่งรอบเตรียมเอกสารจาก
เกียวโต-โตเกียว
.
ได้วี3ปี แบบคราวที่แล้ว ค่อยคุ้มค่าเหนื่อยหน่อย
(ตอนแรกนึกว่าครั้งนี้ จะถูกลดจาก3ปี เป็น1ปีซะแล้ว)
ปกติ ต่อวีซ่าไม่ได้ยุ่งอยากแบบนี้นะคะ แต่ที่ยุ่งยากเพราะ
🔹️ ขอวีซ่ารอบที่แล้ว ย้ายที่อยู่จากโตเกียวมาเกียวโต
เอกสารสมัยก่อน เช่น เอกสารยืนยันการสมรส เขาบอกให้ไปขอที่เขตที่เคยเอกสารให้เท่านั้น นั่นก็คือที่ "โตเกียว" (รอบที่แล้ว ไม่ต้องใช้เอกสารนี้)
เลยต้องทำเรื่องไปขอที่โตเกียว
และมายื่นเอกสารเพิ่มที่นิวกังที่เกียวโตอีกรอบ
เพราะเอกสารยืนยันการสมรสที่ออกอันเดิมมัน3ปีที่แล้ว นานไป ต้องไปออกให้เขารับรอบใหม่อีกรอบ
🔹️ตลอด3ปีที่ผ่านมา ย้ายมาอยู่ไทยซ่ะส่วนใหญ่ เพราะคลอดลูกด้วย ช่วงเวลาที่อยู่ไทยมันเยอะ
🔹️ เนื่องจากย้ายมาไทย แต่ไม่ได้ทำเรื่องแจ้งออก เลยโดนภาษีเงินได้ ภาษีที่อยู่อาศัย บำนาญ ทั้งๆที่ไม่ได้อยู่ญี่ปุ่น เลยต้องทำเรื่องว่าทำไมเราถึงไม่ได้จ่ายภาษี (ถ้าทำเรื่องแจ้งออก ไม่ต้องจ่ายก็ได้)
🔹️ไม่มีประกันสุขภาพ เพราะย้ายมาทำงานที่ไทยแทน เลยต้องเขียนจดหมายอธิบายเหตุผลที่ไม่มีประกัน พร้อมกับจม.รับรองจากบริษัทที่ไทย (ซึ่งเป็นครั้งแรกที่โดนเรียกเอกสารนี้)
🔹️ อเล็กซ์เปลี่ยนงานใหม่มาที่โตเกียว เลยต้องเอาหลักฐานว่าอเล็กซ์ได้งานใหม่ เช่นพวก 内定 ไปยื่น ซึ่งกว่าบริษัทจะออกเอกสารให้ ช้าเหลือเกิน
🔹️ ที่อยู่ในทะเบียนบ้าน กับที่อยู่จริงไม่ตรง เวลาโปสการ์ดส่งไป เลยช้า
ฯลฯ
.
หลายๆอย่างเกิดขึ้นในช่วงเดียวกัน
.
🔴 สรุป timeline
ยื่นเรื่องวันที่ 26 ก.พ.
แต่เอกสารไม่ครบ วันที่ 6 มี.ค. มาเพิ่ม
16 มี.ค. ได้วีละค่าาา
.
📛 ตอนนี้สิ่งที่ต้องทำเพิ่มเติมคือ
- จองตั๋วเครื่องบินขากลับ (หลังจากโดนเทไป2รอบ) ช่วงนี้จองกระชั้นตั๋วขาเดียวแพงมาก เลยว่าจะกลับอาทิตย์หน้า หลังจากสะสางเรื่องที่ค้าง
- ไปโตเกียว ไปแจ้งและทำเอกสารย้ายที่อยู่ว่าย้ายมาโตเกียวที่เขต
- ทำเรื่องบำนาญให้เรียบร้อย
- ขอสำเนาทะเบียนสมรสใบใหม่
- แจ้งย้ายเอริคเข้าบ้าน
- เพิ่งได้บัตรประกันสังคมจากบริษัทอเล็กซ์ เลยว่าจะไปตรวจสุขภาพสักหน่อย ก่อนกลับไทย
- ไปเปลี่ยนที่อยู่ที่เรามีบัญชีธนาคารต่างๆอยู่
- ซื้อเฟอร์นิเจอร์เข้าบ้านใหม่ เช่น พวกเครื่องซักผ้า ตู้ เครื่องครัว แชมพู ฯลฯ
.
เฮ้ออออ ในที่สุดก็จะได้กลับสักที❤
คิดถึงเอริคจัง แต่คงเจอกันไม่ได้อย่างน้อย 2อาทิตย์
เตรียมกักตัวที่คอนโดคนเดียว
.
ขอบคุณทุกคนที่ให้กำลังใจเสมอมานะคะ
หวังว่าตัวเองจะไม่ติดโรคกลับมา
ถ้าติด ก็ขอให้ตรวจเจอที่ญี่ปุ่น อย่างน้อยจะได้ไม่เข้ามาประเทศไทย🙏🏻
บำนาญ คือ 在 I Love Japan TH Facebook 的精選貼文
ตอนนี้กำลังต่อคิวรอยื่นเอกสารสำหรับต่อวีซ่าที่ต.ม.เมืองเกียวโตอยู่ค่า🇯🇵
คนน้อยกว่าที่ต.ม.ที่โตเกียวเยอะ
.
ตั้งแต่เมื่วานวิ่งวุ่น ไปออกเอกสารเกี่ยวกับภาษี ที่ทำการอำเภอ ไปถ่ายรูปติดบัตร ไปธนาคาร ทำเรื่องย้ายที่อยู่ ฯลฯ
ขอให้เอกสารเรียบร้อยด้วยเถอะะะะะ
.
ปล. ก่อนออกจากบ้าน ก็ไม่ลืมที่จะใส่หน้ากาก ล้างมือ พกเจลฆ่าเชื้อเหมือนเช่นเคยค่ะ😷
ปล.2 ต้องขอโทษทุกๆคนล่วงหน้าด้วยนะคะ
มีคนส่งอีเมลมาให้มายแสดงความรับผิดชอบที่ไปญี่ปุ่น และจะเอาเชื้อมาแพร่คนไทยตอนกลับมา
.
อย่างที่ได้แจ้งไปโพสก่อนว่า จริงๆตัวเองก็ไม่ได้อยากไปญี่ปุ่นช่วงนี้เลยจริงๆ 😭แต่จำเป็นเพราะวีซ่าจะขาดแล้ว และมันจะมีผลต่อการทำงาน
และการทำวีซ่าให้ลูกชาย เพราะถ้าวีขาดต้องเริ่มใหม่หมด และจะขอยากกว่าเดิม และส่งผลถึงเรื่องการขาดจ่ายภาษี บำนาญ ประกันสังคมที่ญี่ปุ่นที่มีอยู่ด้วย ฯลฯ
.
เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนสังคมและส่วนรวม
สิ่งที่มายทำได้ตอนนี้ คือ
1.ป้องกันตัวเองให้ดีที่สุด โดยการใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงที่แออัด
2. หลังกลับมาจะกักตัวเองไว้อย่างน้อย2สัปดาห์
งานมาย คือ ทำที่บ้าน เพราะงั้นไม่มีความจำเป็นต้องออกจากบ้านไปเจอคน หรือเดินทางค่ะ
ส่วนเอริค ก็ฝากพ่อแม่เลี้ยงค่ะ
3. ถ้ามีอาการไอ จะรีบไปตรวจทันที (จริงๆ อยากไปตรวจถึงแม้จะไม่มีอาการด้วยซ้ำ เพราะก็เป็นห่วงว่าถ้ามีเชื้อ จะไปติดเอริค ติดพ่อแม่หรือคนรอบข้างเอา
ถ้าไม่เป็นการรบกวนบุคคลากรทางการแพทย์มากเกินไป จะไปตรวจเพื่อความสบายใจของทุกคนค่ะ)
สุดท้ายนี้ ก็ต้องขอโทษอีกรอบด้วยค่ะ
ที่เรื่องส่วนตัวของมายอาจทำให้บางคนไม่สบายใจ😞
บำนาญ คือ 在 คุยการเงินกับที Facebook 的最佳貼文
<<< รอบหน้าหนักหนากว่าต้มยำกุ้ง >>>
วันนี้เรามาฉายภาพสภาพเศรษฐกิจไทยในอีก 5 ปีข้างหน้ากันต่อ คราวนี้ลุงแมวน้ำจะวาดภาพโดยจะลงรายละเอียดให้ลึกขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้บุคคล 3 กลุ่ม คือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจนถึงผู้ประกอบการคนเดียว (หรือที่เรียกว่า self employed) มนุษย์เงินเดือน และเกษตรกร เห็นภาพชัดขึ้นจะได้เตรียมความพร้อม
อย่าอ่านเฉพาะบทความตอนนี้เพียงตอนเดียว ควรอ่านบทความก่อนๆหน้านี้ด้วย เพื่อให้เข้าใจบริบทและที่มาที่ไป
ลุงแมวน้ำก็ต้องย้ำอีกเช่นเคยว่านี่เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น แต่ก็เป็นการคาดการณ์บนข้อมูล รวมทั้งจากประสบการณ์ที่เห็นมาจากประเทศต่างๆที่เป็นสังคมผู้สูงอายุ เช่น ญี่ปุ่น จีน และจากของไทยเองตอนเกิดต้มยำกุ้ง
เศรษฐกิจชะลอตัวครั้งหน้าจะหนักกว่าต้มยำกุ้ง
============================
ลุงแมวน้ำไม่อยากเรียกวิกฤตเศรษฐกิจ (ซึ่งที่จริงก็ใช่นั่นแหละ) เพราะเกรงว่าจะสร้างความแตกตื่น จะเรียกถดถอยก็อาจจะสร้างความแตกตื่นเช่นกัน ดังนั้น เอาเป็นว่าเราเรียกกันว่าเศรษฐกิจชะลอตัวก็แล้วกัน ใช้คำเบาหน่อย แต่พวกเราอ่านเนื้อหาที่ลุงแมวน้ำฉายภาพแล้วไปตีความกันก็แล้วกันว่าเป็นความรุนแรงระดับใด
เรามาพิจารณาวิกฤตเศรษฐกิจตอนต้มยำกุ้งกันก่อน
1. เกิดจากฟองสบู่ภาคการเงินและอสังหาริมทรัพย์แตก มีสถาบันการเงินล้มจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็วและลามไปถึงภาคธุรกิจอื่นๆจนล้มตาม
2. ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงจากราวๆ 25 บาท/ดอลลาร์ กลายเป็น 50 บาท/ดอลลาร์
3. มีคนตกงานจำนวนมากเนื่องจากผู้ประกอบการล้ม
4. ระยะเวลาที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจในไทย ราว 4 ปี
5. เศรษฐกิจต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วยังดีอยู่
6. เศรษฐกิจฐานรากหรือภาคการเกษตรไม่ได้รับผลเชิงลบ กลับได้รับผลดีเพราะเงินบาทอ่อนค่า ส่งออกสินค้าเกษตรดีขึ้น
ดังนั้นกล่าวโดยรวมแล้ววิกฤตต้มยำกุ้งนั้นเกิดในเศรษฐกิจระดับกลางขึ้นบน และกินเวลาไม่กี่ปี ธุรกิจห้างร้านในเมืองล้มไปตามๆกันเพราะปัญหาขาดสภาพคล่อง มีหนี้ต่างประเทศ เงินบาทลดค่า ฯลฯ ผู้ที่ว่างงานจำนวนหนึ่งกลับบ้านต่างจังหวัดไปสู่ภาคเกษตรและอาศัยภาคเกษตรเลี้ยงชีพได้ ภาคเกษตรยุคนั้นเป็นเบาะรองรับผู้ตกงาน
ภาพเศรษฐกิจข้างหน้า
1. ภาคการเงินของไทยเข้มแข็ง
2. เงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า
3. อัตราการว่างงานไม่สูง แต่จำนวนผู้ไม่ทำงานมีมากอันเนื่องมาจากสูงวัย (แรงงานเกษียณอายุออกจากระบบไปมากนั่นเอง)
4. ระยะเวลาที่เกิดยาวนานตามโครงสร้างประชากร อย่างน้อย 30 ปี
5. เศรษฐกิจต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว เผชิญกับภาวะสังคมผู้สูงอายุด้วยเช่นกัน
6. เศรษฐกิจฐานรากหรือภาคเกษตรของไทยได้รับผลกระทบมาก ทั้งจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ผลผลิตไม่แน่นอนจากสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติ
ดังนั้นกล่าวได้ว่าเศรษฐกิจข้างหน้าแตกต่างจากยุคต้มยำกุ้งพอสมควร หลายๆเรื่องเรานำบทเรียนจากยุคต้มยำกุ้งมาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาอาจไม่ได้ผล
การบริโภคขยายตัวต่ำมาหลายปีแล้ว
========================
เรามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมกัน ภาพโครงสร้างประชากร ประชากรวัยทำงาน วัยสูงอายุ กำลังแรงงาน ฯลฯ เหล่านี้ลุงแมวน้ำจะไม่เท้าความเพื่อความรวดเร็ว
เราไปดูสองภาพแรก นั่นคือ ดัชนีการบริโภคสินค้าไม่คงทน (ของกินเล่น อาหารเครื่องดื่ม สบู่ ยาสีฟัน ฯลฯ) สินค้ากึ่งคงทน (เสื้อผ้า ฯลฯ) และสินค้าคงทน (รถยนต์)
ตามภาพ ดัชนีสินค้าไม่คงทนนี้ไม่รวมบุหรี่และสุรา พบว่าในรอบ 5 ปี ดัชนีการบริโภคสินค้าไม่คงทนขยายตัวจาก 100 จุดไปที่ราวๆ 110 จุด (คะเนด้วยสายตา) ก็ถือว่าขยายตัวปีละ 2%
ภาพต่อมา ทั้งสินค้ากึ่งคงทนและสินค้าคงทน หากเฉลี่ยในระยะยาว 5 ปี ดัชนีวิ่งจาก 100 จุดไปเกือบๆ 110 จุด (ยังไม่ถึง 110 แค่เกือบๆ) แสดงว่าขยายตัวไม่ถึงปีละ 2% ด้วยซ้ำ
ดูภาพถัดมาอีก ภาพรายได้เกษตรกร ภาพนี้เห็นชัดเลย รายได้เกษตรกรในรอบ 5 ปี หดตัวลงเล็กน้อยด้วย
นี่คือกำลังซื้อในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา จะว่าไปแล้วถือว่าขยายตัวต่ำ ทั้งในกลุ่มสินค้าชีวิตประจำวันและสินค้าระดับบน แปลความว่าเศรษฐกิจทั้งระดับบน กลาง ไม่ได้ขยายตัวมากมายอะไรนัก เศรษฐกิจฐานราก (ภาคเกษตร) แย่ลงนิดหน่อย
ฉายภาพผู้ประกอบการ SME ใน 5 ปีข้างหน้า
============================
เรามามองกันที่กลุ่มผู้ประกอบการกันก่อน ผู้ประกอบการกลุ่มนี้คือผู้ที่เป็นเจ้าของกิจการรวมทั้งผู้ที่ทำงานอิสระหรือผู้ประกอบการคนเดียว คือไม่ได้เป็นลูกจ้างเขาน่ะ
ถ้าเราดูตามสถิติอุตสาหกรรม ปี 2559 (ตามภาพ) เราจะพบว่าสถานประกอบการที่มีคนงานขนาด 1-5 คนนั้นมี 90% ของสถานประกอบการทั้งหมด และขนาด 6-10 คนมีอีกราวๆ 5%
จากสถิตินี้เราคงพออนุมานได้ว่ากลุ่มนี้คือผู้ประกอบการในเมืองไทยส่วนใหญ่เป็นรายเล็กไปจนถึงรายจิ๋ว ซึ่งกลุ่มนี้มักมีสายป่านสั้นถึงสั้นมาก มีหนี้สิน ต้นทุนก็สูง ยกตัวอย่างเช่น ขายขนม ขายอาหาร ต้นทุนวัตถุดิบจะสูงกว่ารายใหญ่เพราะซื้อทีละน้อยๆ
และผู้ประกอบการกลุ่มนี้มักอ่อนไหวต่อสภาพเศรษฐกิจด้วยเนื่องจากสายป่านสั้นกับมีหนี้นั่นเอง นอกจากนี้ผู้ประกอบการรายเล็กยังมีปัญหาด้านการจ้างแรงงาน เพราะหาแรงงานได้ยากมาก
ภาพที่ลุงแมวน้ำมองในระยะต่อจากนี้ก็คือ ผู้ประกอบการรายใหญ่จะแย่งตลาดไปจากรายย่อย เพราะมีต้นทุนการดำเนินงานที่ถูกกว่า ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น รายขายเครื่องดื่ม ขายขนม ขายอาหารตามสั่ง จะถูกร้านสะดวกซื้อแย่งตลาดไป เพราะปัจจุบันร้านสะดวกซื้อขายทุกอย่าง รสชาติก็ดี การควบคุมคุณภาพก็ดีกว่า
ไม่ใช่แค่ร้านสะดวกซื้อ กลุ่มไฮเปอร์มาร์ตก็ลงมาแย่งตลาด เช่น การเปิดร้านขายของเล็กๆตามปั๊มน้ำมัน หมู่บ้านจัดสรร ฯลฯ
แม้แต่กลุ่มผู้รับเหมา กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ก็ลงไปแย่งงานจากผู้ประกอบการท้องถิ่น
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการรายย่อยยังจะเจอกับต้นทุนค่าแรงที่สูงขึ้น เพราะกำลังจะมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำอีกเร็วๆนี้ รวมทั้ง พรบ คุ่มครองแรงงานฉบับใหม่ จะเพิ่มต้นทุนแก่ผู้ประกอบการ (เช่น การจ่ายค่าชดเชยที่มากขึ้นกว่ากฎหมายเดิม ฯลฯ)
ดังนั้นในระยะ 5 ปีต่อจากนี้ คาดว่าเราจะเห็นผู้ประกอบการรายเล็กและรายย่อยขาดทุนและเลิกกิจการกันมากขึ้น ปัญหาก็คือ
1. ตัวผู้ประกอบการเองเลิกกิจการแล้วจะไปทำอะไรต่อไป หนี้สินที่มีจะสะสางอย่างไร จะเลี้ยงตนเองและครอบครัวต่อไปอย่างไร
2. พนักงานของกิจการที่ถูกเลิกจ้างจะไปทำอะไรต่อไป
ฉายภาพมนุษย์เงินเดือนใน 5 ปีข้างหน้า
===========================
พนักงาน ลูกจ้าง หรือมนุษย์เงินเดือนภาคเอกชนนั้นมีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้างกันมากขึ้น ทั้งนี้เพราะ
1. กิจการขนาดใหญ่กำลังนำระบบอัตโนมัติต่างๆเข้ามาทดแทนแรงงาน ที่เห็นได้ชัดคืออุตสาหกรรมภาคการเงิน ธนาคารลดสาขา ลดจำนวนพนักงาน เพราะนำระบบไอทีเข้ามาทดแทนแรงงาน ขนาดมาร์เก็ตติงยังมาบ่นกับลุงเลยว่าเสียวถูกซองขาว เพราะโบรกนำระบบต่างๆเข้ามาทำงานแทนคน เช่น โรบอตเทรด ฯลฯ อุตสาหกรรมการผลิตรายใหญ่ก็กำลังนำโรบอตและระบบอัตโนมัติอื่นๆมาลดแรงงาน น่าจะมีการทยอยลดคนงานในธุรกิจขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง
2. ผู้ประกอบการขนาดเล็กเลิกกิจการ (เจ๊ง ตามหัวข้อข้างบน) และเลิกจ้างงาน
รวมๆแล้วทั้งกิจการขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก ต่างก็มีแนวโน้มลดพนักงานลง ด้วยเหตุผลและวิธีการต่างๆกัน แล้วมนุษย์เงินเดือนจะทำอย่างไร หากทำงานนานมาก ได้เงินชดเชยอย่างมากก็ราวๆ 1 ปี (สูงสุดคือ 400 วันก็ถือว่า 1 ปี จะได้คิดง่ายๆ) ถ้าเศรษฐกิจขาลงยาวนานกว่า 5 ปีจะทำอย่างไร ดังที่ลุงแมวน้ำเคยเล่าให้ฟังว่าพนักงานส่วนใหญ่มีเงินออมไม่ถึง 6 เดือนเท่านั้น
สมมติต่อไป ถ้ามนุษย์เงินเดือนเป็นคนเมือง คือตั้งรกรากอยู่ในเมือง (เช่น ใน กทม ในตัวเมืองของจังหวัดต่างๆ) ถ้าใช้เงินชดเชย+เงินออมไปหมดแล้ว หลังจากนั้นจะเอาอะไรกิน เอาอะไรใช้ เอาอะไรเลี้ยงลูก อยู่ในสังคมเมืองต้องมีเงิน ไม่มีเงินอยู่ไม่ได้หรอก แล้วจะทำอย่างไร
สมมุติอีกสักนิด ถ้าตกงานแล้วไปเรียนประกอบอาชีพเพื่อมาทำค้าขายเล็กๆน้อยๆ ท่ามกลางเค้กประชากรที่กำลังเล็กลง การแข่งขันก็สูงมาก โอกาสประสบความสำเร็จมีน้อย ถ้าพลาดก็กินทุนให้หมดลงไปอีก
ฉายภาพเกษตรกรใน 5 ปีข้างหน้า
======================
หลายปีมานี้ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำเป็นส่วนใหญ่ มีข้าวหอมมะลิเท่านั้นที่ราคาดี ส่วนข้าวเจ้าก็งั้นๆ มันสำปะหลังก็ดี ส่วนยางพารา ปาล์ม ตกต่ำ
สถานการณ์ข้าวระยะต่อไปไม่น่าดี เพราะเวียดนามพัฒนาข้าวไปไกล จีนก็จำกัดโควตา และจีนเองเร่งเพิ่มผลผลิต ไทยเราเสียตลาดข้าวในตะวันออกกลางไปส่วนหนึ่งมาจากตะวันออกกลางไปทำเกษตรพันธสัญญาปลูกข้าวที่แอฟริกา
ส่วนยางพารา ปาล์ม คงแย่ต่อไป เพราะอุปทานล้นตลาด
ภาพรวมของเกษตรกรทุกวันนี้คือทำแล้วกินทุน คนที่ทำอยู่คือผู้สูงอายุ รุ่นลูกก็ไม่เอาแล้ว ขายที่ดินได้ก็ขายออกไป เพราะไม่มีใครอยากทำเกษตร ดังนั้นภาคเกษตรในระยะข้างหน้าไม่ใช่เบาะรองรับผู้ตกงานจากในเมืองดังเช่นยุคต้มยำกุ้ง แต่ภาคการเกษตรเองก็กำลังแย่
ทำเกษตรพอเพียงแล้วอยู่รอดได้ไหม ในความเป็นจริงแล้วการทำเกษตรพอเพียงหากเอาเงินเป็นตัวตั้ง (คือทำเพราะต้องการมีรายได้) เป็นเรื่องยากมาก ขั้นแรกต้องลงทุนก้อนใหญ่ขุดบ่อ ปรับปรุงดิน ซื้อพันธุ์ ฯลฯ ทำแล้วต้องมีหัวการตลาดด้วย ไม่งั้นขายสินค้าไม่ได้ สุดท้ายก็มาติดที่การตลาด อุปสงค์ อุปทานอีก
ถ้าไม่เอาเงินเป็นตัวตั้งล่ะ ที่บอกว่าปลูกทุกอย่างที่กินได้ และกินทุกอย่างที่ปลูกนั้น คือต้องไปทำจริงๆแล้วจะเข้าใจ กินทุกวันก็ไม่ไหวหรอก และถ้าสมมติว่าทำได้ ก็หมายความว่าในบ้านไม่มีเงินสดเลย คือมีแต่ของกิน แล้วจะส่งลูกเรียนอย่างไร เจ็บป่วยหาหมอ ต้องมีค่าพาหนะ แค่นี้ก็ไปต่อยากแล้ว
ไม่มีเงินสดอยู่ยาก มีหนี้ด้วยยิ่งยากกว่า
========================
เศรษฐกิจชะลอตัวจากสังคมผู้สูงอายุนั้นซึมลึก กัดกร่อนถึงฐานราก และกินเวลายาวนาน เกินกว่าเงินออมจะรองรับไหว ดังนั้นลุงแมวน้ำจึงบอกว่าเงินสดสำคัญมาก ถ้าไม่มีเงินสดก็อยู่ไม่ได้ และถ้ามีหนี้ยิ่งยากขึ้นอีก ซึ่งตอนนี้คนวัยหนุ่มสาวมีหนี้กันทั้งนั้น ดังนั้นการเอาตัวรอดจากเศรษฐกิจขาลงข้างหน้านี้เป็นเรื่องยากมาก
ผู้ประกอบการรายกลางและรายใหญ่เองไม่ใช่ว่าจะสบาย เพราะการแข่งขันในระดับนานาชาติ ระหว่างรายใหญ่ด้วยกันเองก็สูงมาก ยกตัวอย่างคือ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในไทยตอนนี้เป็นทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนทั้งสิ้น Lazada, Shoppee, Jd ก็แย่งตลาดกันเอง
ผู้ประกอบการขนส่ง ลอจิสติกที่เป็นไทยแท้ตอนนี้ก็แย่ โดนทุนต่างชาติเข้ามาแข่งด้วยความหนือชั้นกว่า ตอนนี้มีบริการขนส่งที่ร่วมทุนกับต่างชาติ (ส่วนใหญ่จีน) 10 รายแล้ว และคงยังไม่หมดแค่นี้
แล้วยังมีอีก สมมติเช่น มนุษย์เงินเดือนที่อายุ 50 กว่า ถูกเลิกจ้าง พวกนี้มีแนวโน้มเกษียณไปเลย เพราะหางานใหม่ยากมาก ก็จะไปเคลมเงินบำเหน็จ/บำนาญ แล้วออกจากระบบประกันสังคมไป จากนั้นไปใช้สิทธิรักษาพยาบาลกับบัตรทอง ดังนั้น ระยะต่อไปเงินกองทุนประกันสังคมอาจพร่องลงเร็วเพราะถูกเคลม รวมทั้งค่าใช้จ่ายบัตรทองอาจพุ่ง ถ้ารับมือไม่ทันก็จะวุ่นวาย