หลักกฎหมายว่าด้วยหนี้
สำหรับเรื่องหนี้เป็นหัวใจของกฎหมายแพ่งในระบบกฎหมายซิวิลลอว์ (Civil Law) มีความยิ่งใหญ่ในอดีตโดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งสวิสเซอร์แลนด์ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายว่าด้วยหนี้ไว้เป็นอีกเรื่องหนึ่งแยกต่างหากไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หนี้ คือ ความเกี่ยวพันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ เจ้าหนี้กับลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้กระทำการงดเว้นการกระทำ หรือส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ตนเพื่อชำระหนี้ หนี้นั้นเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “สิทธิเรียกร้อง” หรือนักกฎหมายเรียกหนี้ว่าเป็นบุคคลสิทธิ
1.บ่อเกิดแห่งหนี้
บ่อเกิดแห่งหนี้หรือเรียกว่ามูลแห่งหนี้ที่มีผลเกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่เกิดได้ 2 ประการดังนี้ คือ จากนิติกรรมสัญญา (เป็นหนี้ที่เกิดจากการสมัครใจ) กับนิติเหตุ (เป็นหนี้ที่เกิดจากกฎหมาย)
บ่อเกิดแห่งหนี้ (มูลแห่งหนี้)
นิติกรรมสัญญา กฎหมาย(นิติเหตุ)
เอกเทศสัญญา บรรพอื่น สัญญาไม่มีชื่อ
จัดการงานนอกคำสั่ง ลาภมิควรได้ ละเมิด บรรพอื่น กฎหมายอื่น
1.1 หนี้ที่เกิดขึ้นโดยนิติกรรมสัญญา
หนี้ที่เกิดขึ้นโดยนิติกรรมสัญญา เป็นการสมัครใจในการที่ก่อหนี้ขึ้นแบ่งออกเป็น 2
ประการ
1.1.1 หนี้ที่เกิดจากเอกเทศสัญญา
หนี้ที่เกิดจากเอกเทศสัญญา หมายความว่าคนสองฝ่ายมาทำกันกฎหมายตั้งชื่อไว้แล้วกำหนดสิทธิหน้าที่เป็นสัญญาที่มีชื่อตามกฎหมายที่ตั้งไว้ มีอยู่ 22 สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ยืม ฝากทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ เก็บของในคลังสินค้า ตัวแทน นายหน้า ประนีประนอมยอมความ การพนันขันต่อ บัญชีเดินสะพัด ประกันภัย ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท
1.1.2 หนี้ที่เกิดขึ้นได้โดยการทำนิติกรรมตามบรรพอื่น
หนี้ที่เกิดขึ้นได้โดยการทำนิติกรรมตามบรรพอื่น เช่น สมาคมในบรรพ1หรือตามบรรพ 5 ครอบครัว คือสัญญาก่อนสมรส, สัญญาระหว่างสมรสที่สามีภริยาทำกัน,สัญญาหมั้น เป็นต้น
1.1.3 สัญญาไม่มีชื่อเป็นสัญญาที่ไม่อยู่ในเอกเทศสัญญาตามบรรพ 3
สัญญาไม่มีชื่อเป็นสัญญาที่ไม่อยู่ในเอกเทศสัญญาตามบรรพ 3 บางคนเรียกสัญญานอกบรรพ 3 เช่น สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา สัญญากองทุนสมรส เป็นต้น
1.2 หนี้ที่เกิดโดยนิติเหตุหรือหนี้เกิดจากกฎหมาย
หนี้ที่เกิดโดยนิติเหตุหรือหนี้เกิดจากกฎหมาย หนี้ในลักษณะนี้เกิดขึ้นโดยไม่สมัครใจในการเกิดหนี้ขึ้น แบ่งออกได้ 5 ประการ คือ
1.2.1 หนี้ที่เกิดจากการจัดการงานนอกสั่ง
หนี้ที่เกิดจากการจัดการงานนอกสั่ง คือการที่บุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้จัดการได้สอดเข้าทำกิจการของบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ โดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้กระทำหรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนเขาได้ ผู้จัดการมีสิทธิเรียกให้ตัวการชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ตนเสียไปเพราะจัดการงานนอกสั่ง
1.2.2 หนี้ที่เกิดจากลาภมิควรได้
หนี้ที่เกิดจากลาภมิควรได้ คือ การที่บุคคลใดได้ทรัพย์จากบุคคลอื่นไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้ที่รับทรัพย์ย่อมเป็นลูกหนี้ที่ต้องคืนแก่เจ้าหนี้
1.2.3 หนี้ที่เกิดจากการละเมิด
หนี้ที่เกิดจากการละเมิด คือ การกระทำใด ที่กระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายไม่ว่ากระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อให้เขาได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ หรือสิทธิอย่างใดหนึ่งอย่างใด การกระทำเช่นว่านั้นเข้าการกระทำละเมิด หรือเป็นการกระทำล่วงสิทธิผิดหน้าที่ ทำให้เขาเสียหาย ละเมิดนั้นอยู่บนหลักที่ว่าบุคคลอื่นต้องได้รับความเสียหายผู้กระทำละเมิดต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
หลักที่ใหญ่ที่สุดของการละเมิด คือ หลักที่ว่าละเมิดนั้น เป็นความรับผิดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำความผิด กฎหมายทำให้เสียหายโดยตรง (Liability with fault) กับความรับผิดแม้ไม่ได้กระทำ (Liability without fault) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ยอมรับทฤษฎีในเรื่องความรับผิดเพื่อการละเมิดเกิดขึ้น 3 ทฤษฎี
1.ทฤษฎีที่ 1 ความรับผิดของผู้กระทำละเมิด (Tortfeasur’s Liability) ซึ่งเป็นความรับผิดโดยตรงจากผู้กระทำละเมิดโดยตรง ซึ่งเป็นความผิดอาจเกิดจากใช้สิทธิของตนปกติตั้งแต่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนการไขข่าวแพร่หลายทำให้บุคคลเสียหาย เป็นต้น
2.ทฤษฎีที่ 2 ความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำละเมิด(Vicarious Liability) ความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำความผิดก็ถูกเกณฑ์ให้รับผิดหากดูแล้วเหมือนไม่เป็นธรรมแต่ถ้าไม่เกณฑ์ก็ยิ่งไม่ยุติธรรม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำความผิด คือ ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างรับผิด ตัวแทนทำละเมิด ตัวการรับผิด ลูกศิษย์ทำละเมิดอาจารย์ต้องรับผิด คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องรับผิด บุตรผู้เยาว์ทำละเมิด บิดามารดาต้องรับผิด เป็นต้น
3.ทฤษฎีที่ 3 ความรับผิดเพราะคนที่มีความเกี่ยวพันกับผู้กระทำละเมิด (Strict Liability) คือ ความรับผิดที่เกิดขึ้นการที่ทรัพย์ซึ่งอยู่ความดูแลของตนไปก่อความเสียหายแก่คนอื่น เจ้าของทรัพย์หรือผู้ดูแลทรัพย์ต้องรับผิดไม่ว่าจะเป็นเจ้าของสัตว์ หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงสัตว์ไว้แทนเจ้าของ ผู้ครอบครองโรงเรือน หรือเจ้าของ บุคคลผู้อยู่ในโรงเรียน ผู้ครอบครองยานพาหนะ เป็นต้น
1.2.4 หนี้ที่เกิดจากบรรพอื่น
หนี้ที่เกิดจากบรรพอื่น หนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามบรรพอื่น เช่น สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูกัน ทรัพย์สินมรดกใดถ้าไม่มีผู้ใดรับมรดกให้ตกเป็นของรัฐ รัฐจึงเป็นเจ้าหนี้ เป็นต้น
1.2.5 หนี้ที่เกิดจากกฎหมายอื่น
หนี้ที่เกิดจากกฎหมายอื่น เช่น หนี้ที่เกิดจากประมวลกฎหมายรัษฎากร คือ บุคคลผู้ต้องมีหน้าที่เสียภาษีให้แก่รัฐเพื่อนำภาษีมาพัฒนาบ้านเมือง เป็นต้น
2.ผลแห่งหนี้
เมื่อหนี้เกิดขึ้นแล้ว ผลแห่งหนี้ก็จะเกิดขึ้น คือ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้กับสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ซึ่งเราเรียกว่า เป็นวัตถุแห่งหนี้ ซึ่งแยกออกเป็น 3 กรณี คือ การให้ลูกหนี้กระทำการการ งดเว้นกระทำการ และการโอนทรัพย์สิน หากลูกหนี้ได้ชำระหนี้ตามวัตถุแห่งหนี้ถูกต้องแล้ว หนี้ก็เป็นอันระงับไป แต่ปัญหาว่าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ เจ้าหนี้มีมาตรการอย่างไรในการบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามที่ผูกพันที่มีอยู่นั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้อำนาจเจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้ศาลสั่งบังคับชำระหนี้ หากลูกหนี้ละเลยเสีย ไม่ชำระหนี้ของตน และเมื่อการไม่ชำระหนี้ของลูกหนี้นั้น ทำให้เจ้าหนี้เสียหาย เจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายได้นอกจากกฎหมายจะให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะร้องของให้ศาลบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว กฎหมายยังได้คุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้อีก โดยให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ หรือเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้
ในกรณีเรื่องเจ้าหนี้และลูกหนี้นั้น ฝ่ายลูกหนี้อาจเป็นลูกหนี้หลายคนหรือ ฝ่ายเจ้าหนี้อาจจะเป็นเจ้าหนี้หลายคนก็ได้ ซึ่งในกรณีเป็นลูกหนี้หลายคนร่วมกันผูกพันในอันที่จะต้องกระทำการชำระหนี้นั้นเราเรียกว่าลูกหนี้ร่วม ผลแห่งการเป็นลูกหนี้ร่วมก็คือ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิง การกระทำแทนการชำระหนี้หรือการหักกลบลบหนี้ร่วมคนใด ย่อมเป็นประโยชน์ แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นๆ การปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นๆ ย่อมเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมอื่นๆ เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ได้ปลดหนี้ การผิดนัดของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่ง ย่อมเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมอื่นๆ
3.การชำระหนี้หรือการระงับแห่งหนี้
ความระงับแห่งหนี้นั้นหมายความว่าหนี้นั้นได้สิ้นสุดลงหรือได้ระงับลง ซึ่งการที่หนี้จะระงับลงได้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 กรณี คือ การชำระหนี้ การปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ แปลงหนี้ใหม่ หนี้เกลื่อนกลืน
3.1 การชำระหนี้
การชำระหนี้ เมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ถูกต้องตามวัตถุแห่งหนี้แก่เจ้าหนี้แล้ว หนี้ย่อมระงับหรืออาจเป็นกรณีบุคคลภายนอกจะชำระหนี้แทนลูกหนี้แต่การชำระหนี้ของบุคคลภายนอกนั้นจะทำไม่ได้ หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำหรือขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้
3.2 การปกลดหนี้
ปลดหนี้ คือ การทำหนี้สิ้นสุดลง เพราะเจ้าหนี้ได้ยินยอมยกหนี้ให้แก่ลูกหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยไม่ต้องเรียกร้องค่าตอบแทนอย่างใด ตัวหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐาน การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือ หรือต้องเวนคืน เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย
3.3 การหักลบกลบหนี้
การหักกลบลบหนี้ คือเมื่อบุคคล 2 ฝ่ายมีความผูกพัน ซึ่งกันและกันโดยความผูกพันนั้น คือ หนี้ซึ่งบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้กัน และหนี้นั้นมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และถึงกำหนดชำระฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหักกลบลบหนี้เพื่อให้หนี้ระงับเพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ฝ่ายหนึ่งจะไม่เปิดช่องให้หักกลบลบหนี้กันได้
3.4 การแปลงหนี้ใหม่
แปลงหนี้ใหม่ ได้แก่ การระงับหนี้เก่า แต่มีหนี้ใหม่ขึ้นมาแทน
3.5 หนี้เกลื่อนกลืนกัน
หนี้เกลื่อนกลืนกัน ได้แก่ กรณีซึ่งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้มารวมกันอยู่ในตัวบุคคลเดียวกัน
「บ่อเกิดแห่งหนี้ 5 ประการ」的推薦目錄:
บ่อเกิดแห่งหนี้ 5 ประการ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกิจ
รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง
คณะนิติศาสตร์ มหาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้เขียนแยกหลักการใช้กฎหมายในประมวลกฎหมาแพ่งและพาณิชย์ ออกเป็น 2 เรื่อง เพื่อให้ได้เข้าใจถึงหลักกฎหมายเอกชน คือ หลักการใช้กฎหมายแพ่งและหลักการใช้กฎหมายพาณิชย์ แต่ในส่วนนี้เขียนจะขออธิบายหลักกฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกิจ
1.หลักกฎหมายเกี่ยวบุคคล ทรัพย์สิน หนี้ ในการทำธุรกิจ
หลักกฎหมายว่าด้วยบุคคล
หลักกฎหมายแพ่งในเรื่องบุคคลและครอบครัวผู้เขียนเห็นว่าน่าจะอยู่ในเรื่องเดียวกันเกี่ยวข้องกันมากจึงได้กำหนดไว้ในหัวข้อเดียวกัน เพื่อสะดวกในการอธิบายและทำความเข้าใจถึงหลักกฎหมายของไทยและในต่างประเทศที่เราได้รับอิทธิพลแนวคิดหลักกฎหมายตั้งแต่การปฏิรูป การปกครองสมัยรัชกาลที่ 5
1. หลักกฎหมายว่าด้วยบุคคล
บุคคล หมายถึงสิ่งที่สามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมายซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือบุคคลธรรมดา กับ นิติบุคคล
1. บุคคลธรรมดา คือ มนุษย์ทั้งปวงไม่จำกัดเพศ อายุ ฐานะ สติปัญญาและ
สภาพร่างกาย ซึ่งถือว่าล้วนแล้วแต่สามารถมีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายด้วยทั้งสิ้น สิ่งที่เรา
ต้องศึกษาเกี่ยวกับบุคคลธรรมดา มีดังนี้
1)สภาพบุคคล สำหรับคนธรรมดามีสภาพบุคคลเริ่มตั้งแต่เมื่อคลอดแล้ว
อยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดเมื่อตาย ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
2)ความสามารถของบุคคล หมายความถึง ความสามารถที่บุคคลจะใช้สิทธิตามกฎหมายที่มีกฎหมายรับรองไว้ว่าผู้นั้นจะใช้สิทธิได้ตามลำพังตนเองหรือถูกจำกัดในการใช้สิทธิเพราะเป็นผู้หย่อนความสามารถ ผู้หย่อนความสามารถ ได้แก่ ผู้ที่ไม่อาจใช้สิทธิได้ตามปกติ เช่นบุคคลทั่วไปมี 3 ประเภท ได้แก่ ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ
(1)ผู้เยาว์ ได้แก่ ผู้มีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ถือว่ายังไม่บรรลุ
นิติภาวะแต่ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรสโดยการจดทะเบียน เมื่อชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปี โดยได้รับการยินยอมจากบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง ก็จะหลุดพ้นการเป็นผู้หย่อนความสามารถ
การทำนิติกรรมของผู้เยาว์ ผู้เยาว์ทำนิติกรรมโดยลำพังไม่ได้เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทที่ผู้เยาว์ทำได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเสียก่อน เช่น การทำพินัยกรรมเมื่ออายุครบ 15 ปี (ถ้าทำอายุต่ำกว่า 15 ปีเป็นโมฆะ) การทำนิติกรรมอันสมควรแก่ฐานานุรูปและจำเป็นในการเลี้ยงชีพเป็นต้น
ข้อสังเกต ในทางกฎหมายผู้ที่ให้รับรองหรือการยินยอมการทำนิติกรรมของผู้เยาว์จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
ผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้เยาว์ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรม ซึ่งได้แก่ บิดา มารดา ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ผู้ใช้อำนาจปกครอง เป็นผู้มีอำนาจ หน้าที่ในการทำนิติกรรมต่างๆ แทนผู้เยาว์หรือให้ความยินยอมในการทำนิติกรรม แต่นิติกรรมที่สำคัญบางประเภทต้องให้ศาลอนุญาต ด้วยเช่น การขาย ขายฝาก จำนองอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ผู้ปกครอง คือ ผู้อื่นที่มิใช่บิดา มารดาของผู้เยาว์ แต่เป็นผู้ดูแลหรือผู้ปกครองผู้เยาว์จะมีผู้ปกครองก็ต่อเมื่อไม่มีบิดา มารดา หรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ เช่นเดียวกับบิดา มารดา
นิติกรรมที่ผู้เยาว์ทำเองไปโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโมฆียะ บิดา มารดาผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมมีอำนาจบอกล้างได้ ทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะไม่มีผลในกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามการบอกล้างนิติกรรมนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่ได้ทรัพย์มาโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริต
(2)คนไร้ความสามารถ คือคนวิกลจริตหรือคนบ้าที่มีผู้ร้องขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ ทำให้มีผลในกฎหมายคือไม่สามารถทำนิติกรรมใดได้เลย ถ้าทำลงไปเป็นโมฆียะ บุคคลไร้ความสามารถต้องมีผู้อนุบาลเป็นผู้ดูแลหรือทำนิติกรรมแทน เป็นผู้ปกครองดูแลอุปการะเลี้ยงดูบุคคลไร้ความสามารถ ได้แก่ บิดา มารดา สามีภรรยา ผู้สืบสันดาน เป็นต้น ซึ่งการที่จะเป็นคนไร้ความสามารถได้นั้นจะต้องมีคำสั่งของศาลเสมอ
(3)คนเสมือนไร้ความสามารถ คือผู้ที่มีความบกพร่องอย่าง
หนึ่งอย่างใด ใน 5 ประการ คือ กายพิการ จิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ติดสุรายาเมา
ประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือ มีเหตุอื่นใดในทำนองเดียวกันนั้นและเหตุบกพร่องดังกล่าวทำให้ไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น บิดา มารดา สามีภรรยา ผู้สืบสันดาน ลูกหลาน เหลน ลื่อ ร้องขอต่อศาลให้สั่งเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งจะต้องอยู่ในความพิทักษ์ของผู้พิทักษ์
ข้อสังเกต ผู้พิทักษ์มิใช่เป็นผู้ทำนิติกรรมแทนคนเสมือนไร้ความสามารถ จึงแตกต่างจากผู้อนุบาลคนไร้ความสามารถ ซึ่งมีอำนาจทำนิติกรรมได้ทุกกรณี ผู้พิทักษ์มีหน้าที่เพียงให้ความยินยอม แต่คนเสมือนไร้ความสามารถในการทำนิติกรรมที่สำคัญบางประเภทที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น นำทรัพย์สินไปลงทุน กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงิน เช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดเวลาเกินกว่า 3 ปี หรือ เช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 6 เดือน รับประกันโดยประการใดๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้ ให้โดยเสน่หา ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปเพื่อการกุศล การสังคมหรือตามหน้าที่จรรยา เสนอคดีต่อศาลประนีประนอมยอมความ เป็นต้น
การทำนิติกรรมของคนเสมือนไร้ความสามารถทำได้ตามลำพังนิติกรรมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เว้นแต่นิติกรรมบางประเภทที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ ถ้าไม่ได้รับความยินยอมนิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะทำให้บอกล้างได้ ส่วนในเรื่องการทำพินัยกรรม สามารถทำได้สมบูรณ์ เพราะไม่มีกฎหมายห้ามไว้
3)ภูมิลำเนาของบุคคล ภูมิลำเนา ได้แก่ การที่บุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นสำคัญ การมีภูมิลำเนามีประโยชน์ต่อบุคคล เช่นการมีสิทธิหรือการใช้สิทธิตามกฎหมาย ได้แก่ การเลือกตั้ง สมัครรับเลือกตั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น การส่งหมายเรียก การฟ้องคดี เป็นต้น สำหรับบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้หย่อนความสารถมีภูมิลำเนา คือ
(1)ผู้เยาว์ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรม
(2)คนไร้ความสามารถ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้อนุบาล
(3)คนเสมือนไร้ความสามารถมีภูมิลำเนาของตนเองต่าง
หากจากผู้พิทักษ์ สามีและภรรยา ได้แก่ การที่สามีและภรรยาอยู่กันด้วยกันฉันสามีภรรยาเว้นแต่ สามีหรือภรรยา ได้แสดงเจตนาให้ปรากฏว่าภูมิลำเนาแยกต่างหากจากกัน
(4)ข้าราชการ ได้แก่ถิ่นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่
(5)ผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตาม
คำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ได้แก่เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว
4)การส้นสภาพบุคคล ตามกฎหมายแพ่ง บุคคลสิ้นสภาพบุคคลมีได้ 2 ลักษณะ คือ การตายโดยธรรมชาติกับการตายโดยกฎหมายคือสาบสูญ
(1)ตายโดยธรรมชาติ คือการที่บุคคลตายโดยไม่หายใจ หัวใจหยุดเต้น สมองหยุดทำงาน
(2)ตายโดยกฎหมายสั่งให้สาบสูญ คือการที่บุคคลหายไปจาก
ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีใครทราบว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร โดยไม่มีใครทราบว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่เป็นเวลานานครบ 5 ปีในกรณีธรรมดา และ 2ปี ในกรณีพิเศษ เช่นเกิดสงคราม เรืออับปาง ตึกถล่ม เป็นต้น
ผลของการสาบสูญ ทำให้สิ้นสภาพบุคคล ถือว่าผู้นั้นถึงแก่ความตาย แต่การสาบสูญไม่ทำให้การสมรสขาดจากกัน แต่เป็นเหตุให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้ คู่สมรสที่มีชีวิตอยู่มีสิทธิเกี่ยวกับทรัพย์สิน รวมทั้งการปกครองบุตร และสิทธิส่วนตัวของเขาในการทำนิติกรรม หรือการที่จะสมรสใหม่
2. นิติบุคคล คือ สิ่งที่กฎหมายจัดตั้งให้เป็นบุคคลมีสิทธิและหน้าที่
ได้ตามกฎหมายเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
1) การเกิดขึ้นของนิติบุคคล นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แก่ สมาคม มูลนิธิ ห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนแล้ว คือห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เป็นต้น ส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งตามกฎหมายอื่นที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รับรอง ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม สภาตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยนั้น พรรคการเมือง โรงเรียนที่สังกัดกรมสามัญศึกษา ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน เป็นต้น
2)สิทธิและหน้าที่ของนิติบุคคล นิติบุคคลมีสิทธิหน้าที่ภายในวัตถุประสงค์เท่านั้น เช่น กระทรวง ทบวง กรม มหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด เป็นต้น มีสิทธิและหน้าที่แตกต่างกันไปตามตราสารที่จัดตั้งกำหนดไว้จะทำกิจการนอกเหนือจากที่วัตถุที่กำหนดไว้ไม่ได้
3)ผู้แทนของนิติบุคคล เนื่องจากนิติบุคคลไม่มีชีวิตจิตใจ ดังนั้นการดำเนินกิจการ การใช้สิทธิหน้าที่ต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคนตามที่กฎหมาย ข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งกำหนดไว้
4) ภูมิลำเนาของนิติบุคคล ได้แก่ ถิ่นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือที่จัดตั้งที่ทำการ หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนา เฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง
3. การทำนิติกรรมของบุคคล นิติกรรม หมายความว่า การใดๆอันทำลงไป
โดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ เช่น การทำสัญญาซื้อขาย การเช่าทรัพย์กู้ยืมเงิน จ้างแรงงาน หุ้นส่วนบริษัท การหมั้น การจดทะเบียนสมรส การรับรองบุตร การทำพินัยกรรม การยกให้ทรัพย์สิน เป็นต้น
1)หลักในการทำนิติกรรม การทำนิติกรรมให้มีผลสมบูรณ์มีหลักเกณฑ์
คือ
(1)ต้องมีเจตนาทำนิติกรรมให้ปรากฏออกมาภายนอก
(2)บุคคลผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมจะต้องมีความสามารถใน
การทำนิติกรรม คือมีความรู้ความเข้าใจ มีสิติปัญญาในการแสดงเจตนาที่ไม่มีกฎหมายจำกัดไว้ เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ ถูกจำกัดความสามารถในการทำนิติกรรม ถือว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถ
(3)วัตถุประสงค์ของนิติกรรมต้องชอบด้วยกฎหมายไม่พ้นวิสัย
ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น การทำสัญญาซื้อขายอาวุธสงคราม เป็นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือทำสัญญาซื้อขายพื้นที่ดวงจันทร์เป็นสัญญาที่เป็นการพ้นวิสัย เป็นต้น
ข้อสังเกต การเกิดมามีสภาพบุคคล การมีอายุครบบรรลุนิติภาวะ (20 ปีบริบูรณ์) การตายทำให้เกิดผลในทางกฎหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง มีสิทธิหน้าที่กฎหมายรับรอง กรณีเหล่านี้ ถือว่าเป็นนิติเหตุ
นิติเหตุ คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับเจตนาของบุคคลหรือเป็นการที่ก่อขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจที่จะให้เกิดผลในกฎหมาย แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีผลให้กฎหมายต้องรับรู้ เช่น ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้
2)ผลของการทำนิติกรรม การทำนิติกรรมที่ไม่สมบูรณ์นั้นจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ นิติกรรมที่เป็น “โมฆะ” กับ นิติกรรมที่เป็น “โมฆียะ”
(1)นิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้นจะเป็นนิติกรรมที่สูญเปล่า
เปรียบเสมือนไม่ได้ทำตั้งแต่ต้น
(2)นิติกรรมที่เป็นโมฆียะนั้นเป็นนิติกรรมที่ทำลงโดยผู้หย่อน
ความสามารถ เช่นผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ เป็นต้น ผลของการทำนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ นั้นสมบูรณ์จนกว่าผู้มีอำนาจจะบอกล้าง เมื่อบอกล้างแล้วนิติกรรมนั้นเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก แต่ถ้าไม่บอกล้าง คือการยอมรับ หรือยินยอมที่เรียกว่า “การให้สัตยาบัน” ถือว่านิติกรรมนั้นสมบูรณ์
หลักกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน
ก่อนที่เราจะพูดถึงในเรื่องทรัพย์สินการได้มาซึ่งในทรัพย์ในบรรพ 4 นั้นเราจำเป็นต้องทราบถึงความหมายทรัพย์สิน ทรัพย์ ลักษณะของทรัพย์ เสียก่อน
1. ความหมายทรัพย์สิน ในทางกฎหมายได้ให้ความหมายของทรัพย์สิน คือ
1)ทรัพย์ คือ วัตถุมีรูปร่าง เช่น รถยนต์ ปากกา เสื้อผ้า ธนบัตร สิ่งไม่เป็นรูปร่างไม่เป็นทรัพย์แต่อาจเป็นทรัพย์สิน
2)ทรัพย์สิน มีความหมายกว้างกว่า ทรัพย์ คือเป็นทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุมีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างก็ได้ แต่ต้องอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ เช่น พลังงาน กระแสไฟฟ้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร เป็นต้น
2. ประเภทของทรัพย์ สามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ คือ
1)อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่นที่ดินทรัพย์อันติดกับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน และสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ได้แก่ ทรัพย์สิทธิต่างๆ คือ ภาระจำยอม สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิอาศัย สิทธิเก็บกิน และภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
2)สังหาริมทรัพย์ หมายถึง ทรัพย์อื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์และรวม ถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย สังหาริมทรัพย์จึงเป็นทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งอาจจะเป็นทรัพย์ที่อาจเคลื่อนที่ด้วยตัวของมันเองตามธรรมชาติ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย หมู สุนัข เป็ด ไก่ เป็นต้น กับทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้จากการที่บุคคลที่ทำให้เคลื่อนที่ เช่น เสื้อผ้า รถไฟ รถยนต์ รถจักรยาน วิทยุ ปากกา ข้าวสาร น้ำตาล เป็นต้น
3)ทรัพย์แบ่งไม่ได้ หมายถึงทรัพย์ที่จะแยกออกจากันไม่ได้นอกจากเปลี่ยนแปลงภาวะของทรัพย์ ซึ่งถ้าแบ่งออกแล้วสิ่งเหล่านี้คงจะไม่คงสภาพเป็นตัวทรัพย์อยู่อย่างเดิม เช่น บ้าน ตึก อาคาร เป็นต้น
4)ทรัพย์ที่แบ่งได้ หมายถึงทรัพย์ที่อาจแยกออกจากันเป็นส่วนได้ ส่วนที่แยกออกมายังคงมีรูปร่างมีสภาพสมบูรณ์เป็นทรัพย์เดิมอยู่ เช่น ข้าวสาร น้ำตาล น้ำเปล่า น้ำมันพืช ผงซักฟอก เงิน เป็นต้น
5)ทรัพย์นอกพาณิชย์ หมายถึง ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้และทรัพย์ที่ไม่อาจโอนให้แก่กันได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่น สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เป็นต้น
3. ส่วนประกอบของทรัพย์ ส่วนประกอบของทรัพย์ ได้แก่
1)ส่วนควบ หมายถึง ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นถือได้ว่าเป็นอยู่ของทรัพย์นั้นและไม่อาจแยกจากกันได้นอกจะทำลาย ทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนรูปทรงหรือสภาพไป เช่น ประตู หน้าต่าง ย่อมเป็นส่วนควบของบ้าน ล้อรถยนต์ย่อมเป็นส่วนควบของรถยนต์ เป็นต้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนควบ ใครเป็นเจ้าของทรัพย์ใดย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบเหล่านั้น รวมทั้งไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่ด้วย
ข้อยกเว้นไม่เป็นส่วนควบของทรัพย์มีดังนี้
(1)ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวผลได้คราวหนึ่ง หรือหลายคราวต่อปี
(2)ทรัพย์อันติดกับที่ดินหรือโรงเรือนชั่วคราว เช่น อาคารที่ปลูกไว้ที่ท้องสนามหลวงใน ระหว่างงานพิธีต่างๆ เป็นต้น
2)อุปกรณ์ หมายถึงสังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธาน เป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณ เพื่อประโยชน์แก่การจัดการดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน และเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธาน โดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ประกอบทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น เช่น แม่แรงประจำรถ กลอนประตูหน้าต่างเป็นอุปกรณ์ของบ้าน เป็นต้น
3)ดอกผล หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้งอกเงยจากทรัพย์โดยสม่ำเสมอ แยกออก 2 ประเภทคือ
(1)ดอกผลธรรมดา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยมีการใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น เช่น ผลไม้ นมสัตว์ ลูกสัตว์ เป็นต้น
(2)ดอกผลนิตินัย คือ ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มา เป็นครั้งคราว แก่เจ้าของทรัพย์ จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้นและสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวัน หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น ดอกเบี้ย เป็นต้น
4.การได้มาซึ่งทรัพย์สิน ในเรื่องของทรัพย์หรือทรัพย์สินนั้น มีหลักกฎหมายที่สำคัญที่ควรทราบในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4คือ การได้มาและการสิ้นไปซึ่งทรัพย์สิทธิอัน หมายถึง สิทธิเหนือทรัพยสิทธิโดยไม่คำนึงถึงตัวบุคคลว่าเข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร เพราะเมื่อบุคคลหนึ่งมีทรัพยสิทธิ คือ สิทธิเหนือทรัพย์แล้ว บุคคลอื่นต้องยอมรับนับถือในสิทธินั้นคือมีหน้าที่ในสิทธิของผู้เป็นเจ้าของ การได้มาซึ่งทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
1)กรรมสิทธิ์ คือ สิทธิของบุคคลที่มีอยู่ในทรัพย์สิน เป็นสิทธิที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เมื่อบุคคลมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินแล้วจะมีสิทธิ ดังต่อไปนี้
(1)สิทธิครอบครองและยึดถือ
(2)สิทธิใช้สอย
(3)สิทธิจำหน่ายจ่ายโอน
(4)สิทธิได้ดอกผล
(5)สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินคืนจากผู้อื่น
(6)สิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
2)การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ แยกได้เป็นกรณี คือ
(1)การได้มาซึ่งนิติกรรม เช่น การซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เป็นต้น
(2)การได้มาซึ่งทางอื่นนอกจากนิติกรรม เช่น ได้มาในเรื่องของส่วนควบ การได้มาโดยเข้าถือเอา สังหาริมทรัพย์อันไม่มีเจ้าของ การได้มาทางมรดก หรือการได้มาโดยคำพิพากษาของศาล เป็นต้น
3)กรรมสิทธิ์รวมหรือเจ้าของรวม คือการที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมีกรรมสิทธิ์รวมกันในทรัพย์สินสิ่งใด ผู้เป็นของรวมคนหนึ่งมีสิทธิ เรียกให้แบ่งทรัพย์ได้เพื่อแต่ละคนจะได้มีกรรมสิทธิ์เป็นสัดส่วนตามส่วนแบ่งของตน
4)สิทธิครอบครอง คือการที่บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนายึดถือเพื่อตน บุคคลนั้นได้สิทธิครอบครองแต่บุคคลจะให้ผู้อื่นยึดถือทรัพย์สินแทนตนก็ได้ การมีสิทธิครอบครองเป็นทางทำให้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้
5)การครอบครองปรปักษ์ คือ การที่บุคคลได้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นโดยสงบโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเมื่อครบกำหนด 10 ปี สำหรับอสังหาริมทรัพย์และ 5 ปีสำหรับสังหาริมทรัพย์แล้วผู้ครอบครองย่อมได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น เจ้าของทรัพย์สินสิ้นสิทธิในทรัพย์สินนั้น เพราะถือว่านอนหลับทับสิทธิ เป็นการทำให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดย “อายุความ”
6)ทางจำเป็น คือ ทางที่เกิดขึ้นเนื่องจากความจำเป็นที่ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้เจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิผ่านที่ดินที่ล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ โดยทางที่ผ่านนั้นจะต้องทำทางที่จำเป็นเท่านั้น โดยอาจต้องเสียค่าทดแทนจากการใช้ทางผ่านได้
7)ทรัพยสิทธิ คือสิทธิที่บุคคลมีอยู่ในทรัพย์สินที่เรียกสิทธิเหนือทรัพย์สิน ได้แก่
(1)ภาระจำยอม คือ ที่อสังหาริมทรัพย์สิ่งหนึ่งเรียกว่า “ภารยทรัพย์” ทำให้เจ้าของทรัพย์ต้องยอมรับกรรมหรือรับภาระหรืองดเว้น การให้สิทธิบางอย่าง เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นเรียกว่า สามยทรัพย์
(2)สิทธิอาศัย คือ สิทธิที่บุคคลได้อยู่ในโรงเรือนของผู้อื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่าหรือค่าใช้จ่าย การให้สิทธิอาศัยจะกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของผู้อาศัยก็ได้ ซึ่งถ้ามีกำหนดเวลาต้องไม่เกิน 30 ปี แต่ต่ออายุได้ สิทธิอาศัยเป็นสิทธิเฉพาะตัวโอนไปยังผู้อื่นไม่ได้
(3)สิทธิเหนือพื้นดิน คือการที่เจ้าของที่ดินให้ผู้อื่นมีสิทธิ เป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกบนดินหรือใต้ดินนั้น การใช้สิทธิต้องจดทะเบียนมีกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของเจ้าของที่ดินหรือตลอดชีวิตของผู้ทรงสิทธิก็ได้
(4)สิทธิเก็บกิน คือการที่ผู้ทรงสิทธิมีสิทธิครอบครอง ถือเอาประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
(5)ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ คือการที่อสังหาริมทรัพย์ต้องตกอยู่ในภาวะที่ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับชำระหนี้เป็นคราวๆ หรือได้ใช้แล้วถือเอาประโยชน์จากทรัพย์สินตามที่ระบุไว้
หลักกฎหมายว่าด้วยหนี้
สำหรับเรื่องหนี้เป็นหัวใจของกฎหมายแพ่งในระบบกฎหมายซีวิวลอว์มีความยิ่งใหญ่ในอดีตโดยเฉพาะประมวลกฎหมายแพ่งสวิสเซอร์แลนด์ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายว่าด้วยหนี้ไว้เป็นอีกเรื่องหนึ่งแยกต่างหากไปจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หนี้ คือ ความเกี่ยวพันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ เจ้าหนี้กับลูกหนี้ โดยเจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้กระทำการงดเว้นการกระทำ หรือส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ตนเพื่อชำระหนี้ หนี้นั้นเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า “สิทธิเรียกร้อง” หรือนักกฎหมายเรียกหนี้ว่าเป็นบุคคลสิทธิ
1.บ่อเกิดแห่งหนี้
บ่อเกิดแห่งหนี้หรือเรียกว่ามูลแห่งหนี้ที่มีผลเกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่เกิดได้ 2 ประการดังนี้ คือ จากนิติกรรมสัญญา(เป็นหนี้ที่เกิดจากการสมัครใจ)กับนิติเหตุ (เป็นหนี้ที่เกิดจากกฎหมาย)
บ่อเกิดแห่งหนี้(มูลแห่งหนี้)
นิติกรรมสัญญา กฎหมาย(นิติเหตุ)
เอกเทศสัญญา บรรพอื่น สัญญาไม่มีชื่อ
จัดการงานนอกคำสั่ง ลาภมิควรได้ ละเมิด บรรพอื่น กฎหมายอื่น
1. หนี้ที่เกิดขึ้นโดยนิติกรรมสัญญา เป็นการสมัครใจในการที่ก่อหนี้ขึ้นแบ่งออกเป็น 2 ประการ
1)หนี้ที่เกิดจากเอกเทศสัญญา หมายความว่าคนสองฝ่ายมาทำกันกฎหมายตั้งชื่อไว้แล้วกำหนดสิทธิหน้าที่เป็นสัญญาที่มีชื่อตามกฎหมายที่ตั้งไว้ มีอยู่ 22 สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน ยืม ฝากทรัพย์ ค้ำประกัน จำนอง จำนำ เก็บของในคลังสินค้า ตัวแทน นายหน้า ประนีประนอมยอมความ การพนันขันต่อ บัญชีเดินสะพัด ประกันภัย ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท
2)หนี้ที่เกิดขึ้นได้โดยการทำนิติกรรมตามบรรพอื่น เช่น สมาคมในบรรพ 1 หรือตามบรรพ 5 ครอบครัว คือสัญญาก่อนสมรส, สัญญาระหว่างสมรสที่สามีภริยาทำกัน,สัญญาหมั้น เป็นต้น
3)สัญญาไม่มีชื่อเป็นสัญญาที่ไม่อยู่ในเอกเทศสัญญาตามบรรพ 3 บางคนเรียกสัญญานอก บรรพ 3 เช่น สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา สัญญากองทุนสมรส เป็นต้น
2. หนี้ที่เกิดโดยนิติเหตุหรือหนี้เกิดจากกฎหมาย หนี้ในลักษณะนี้เกิดขึ้นโดยไม่สมัครใจในการเกิดหนี้ขึ้น แบ่งออกได้ 5 ประการ คือ
1)หนี้ที่เกิดจากการจัดการงานนอกสั่ง คือการที่บุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้จัดการได้สอดเข้าทำกิจการของบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ โดยเขามิได้ว่าขานวานใช้ให้กระทำหรือโดยมิได้มีสิทธิที่จะทำการงานนั้นแทนเขาได้ ผู้จัดการมีสิทธิเรียกให้ตัวการชดใช้ค่าใช้จ่ายที่ตนเสียไปเพราะจัดการงานนอกสั่ง
2)หนี้ที่เกิดจากลาภมิควรได้ คือการที่บุคคลใดได้ทรัพย์จากบุคคลอื่นไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ผู้ที่รับทรัพย์ย่อมเป็นลูกหนี้ที่ต้องคืนแก่เจ้าหนี้
3)หนี้ที่เกิดจากการละเมิด คือการกระทำใด ที่กระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายไม่ว่ากระทำโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อให้เขาได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ หรือสิทธิอย่างใดหนึ่งอย่างใด การกระทำเช่นว่านั้นเข้าการกระทำละเมิด หรือเป็นการกระทำล่วงสิทธิผิดหน้าที่ ทำให้เขาเสียหาย ละเมิดนั้นอยู่บนหลักที่ว่าบุคคลอื่นต้องได้รับความเสียหายผู้กระทำละเมิดต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
หลักที่ใหญ่ที่สุดของการละเมิด คือ หลักที่ว่าละเมิดนั้น เป็นความรับผิดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำความผิด กฎหมายทำให้เสียหายโดยตรง (Liability with fault) กับความรับผิดแม้ไม่ได้กระทำ (Liability without fault) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้ยอมรับทฤษฎีในเรื่องความรับผิดเพื่อการละเมิดเกิดขึ้น 3 ทฤษฎี
(1)ทฤษฎีที่ 1 ความรับผิดของผู้กระทำละเมิด (Tortfeasur’s Liability) ซึ่งเป็นความรับผิดโดยตรงจากผู้กระทำละเมิดโดยตรง ซึ่งเป็นความผิดอาจเกิดจากใช้สิทธิของตนปกติตั้งแต่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนการไขข่าวแพร่หลายทำให้บุคคลเสียหาย เป็นต้น
(2)ทฤษฎีที่ 2 ความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำละเมิด(Vicarious Liability) ความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำความผิดก็ถูกเกณฑ์ให้รับผิดหากดูแล้วเหมือนไม่เป็นธรรมแต่ถ้าไม่เกณฑ์ก็ยิ่งไม่ยุติธรรม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติความรับผิดแม้จะไม่ได้กระทำความผิด คือ ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างรับผิด ตัวแทนทำละเมิด ตัวการรับผิด ลูกศิษย์ทำละเมิดอาจารย์ต้องรับผิด คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ ผู้อนุบาลต้องรับผิด บุตรผู้เยาว์ทำละเมิด บิดามารดาต้องรับผิด เป็นต้น
(3)ทฤษฎีที่ 3 ความรับผิดเพราะคนที่มีความเกี่ยวพันกับผู้กระทำละเมิด (Strict Liability) คือ ความรับผิดที่เกิดขึ้นการที่ทรัพย์ซึ่งอยู่ความดูแลของตนไปก่อความเสียหายแก่คนอื่น เจ้าของทรัพย์หรือผู้ดูแลทรัพย์ต้องรับผิดไม่ว่าจะเป็นเจ้าของสัตว์ หรือบุคคลผู้รับเลี้ยงสัตว์ไว้แทนเจ้าของ ผู้ครอบครองโรงเรือน หรือเจ้าของ บุคคลผู้อยู่ในโรงเรียน ผู้ครอบครองยานพาหนะ เป็นต้น
4)หนี้ที่เกิดจากบรรพอื่น หนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตามบรรพอื่น เช่น สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูกัน ทรัพย์สินมรดกใดถ้าไม่มีผู้ใดรับมรดกให้ตกเป็นของรัฐ รัฐจึงเป็นเจ้าหนี้ เป็นต้น
5)หนี้ที่เกิดจากกฎหมายอื่น เช่น หนี้ที่เกิดจากประมวลกฎหมายรัษฎากร คือบุคคลผู้ต้องมีหน้าที่เสียภาษีให้แก่รัฐเพื่อนำภาษีมาพัฒนาบ้านเมือง เป็นต้น
2. ผลแห่งหนี้
เมื่อหนี้เกิดขึ้นแล้ว ผลแห่งหนี้ก็จะเกิดขึ้น คือ สิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้กับสิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ซึ่งเราเรียกว่า เป็นวัตถุแห่งหนี้ ซึ่งแยกออกเป็น 3 กรณี คือ การให้ลูกหนี้กระทำการ การงดเว้นกระทำการ และการโอนทรัพย์สิน หากลูกหนี้ได้ชำระหนี้ตามวัตถุแห่งหนี้ถูกต้องแล้ว หนี้ก็เป็นอันระงับไป แต่ปัญหาว่าหากลูกหนี้ไม่ยอมชำระหนี้ เจ้าหนี้มีมาตรการอย่างไรในการบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามที่ผูกพันที่มีอยู่นั้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้อำนาจเจ้าหนี้จะร้องขอต่อศาลให้ศาลสั่งบังคับชำระหนี้ หากลูกหนี้ละเลยเสีย ไม่ชำระหนี้ของตน และเมื่อการไม่ชำระหนี้ของลูกหนี้นั้น ทำให้เจ้าหนี้เสียหาย เจ้าหนี้มีสิทธิจะเรียกค่าเสียหายได้นอกจากกฎหมายจะให้เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะร้องของให้ศาลบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว กฎหมายยังได้คุ้มครองสิทธิเจ้าหนี้อีก โดยให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ หรือเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบได้
ในกรณีเรื่องเจ้าหนี้และลูกหนี้นั้น ฝ่ายลูกหนี้อาจเป็นลูกหนี้หลายคนหรือ ฝ่ายเจ้าหนี้อาจจะเป็นเจ้าหนี้หลายคนก็ได้ ซึ่งในกรณีเป็นลูกหนี้หลายคนร่วมกันผูกพันในอันที่จะต้องกระทำการชำระหนี้นั้นเราเรียกว่าลูกหนี้ร่วม ผลแห่งการเป็นลูกหนี้ร่วมก็คือ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้โดยสิ้นเชิง การกระทำแทนการชำระหนี้หรือการหักกลบลบหนี้ร่วมคนใด ย่อมเป็นประโยชน์ แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นๆ การปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ร่วมคนอื่นๆ ย่อมเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมอื่นๆ เพียงเท่าส่วนของลูกหนี้ที่ได้ปลดหนี้ การผิดนัดของเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้ร่วมคนใดคนหนึ่ง ย่อมเป็นประโยชน์แก่ลูกหนี้ร่วมอื่นๆ
3. การชำระหนี้หรือการระงับแห่งหนี้
ความระงับแห่งหนี้นั้นหมายความว่าหนี้นั้นได้สิ้นสุดลงหรือได้ระงับลง ซึ่งการที่หนี้จะระงับลงได้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 5 กรณี คือ การชำระหนี้ การปลดหนี้ หักกลบลบหนี้ แปลงหนี้ใหม่ หนี้เกลื่อนกลืน
1. การชำระหนี้ เมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้ถูกต้องตามวัตถุแห่งหนี้แก่เจ้าหนี้แล้วหนี้ย่อมระงับหรืออาจเป็นกรณีบุคคลภายนอกจะชำระหนี้แทนลูกหนี้แต่การชำระหนี้ของบุคคลภายนอกนั้นจะทำไม่ได้ หากสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำหรือขัดกับเจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้
2. ปลดหนี้ คือการทำหนี้สิ้นสุดลง เพราะเจ้าหนี้ได้ยินยอมยกหนี้ให้แก่ลูกหนี้ให้แก่ลูกหนี้โดยไม่ต้องเรียกร้องค่าตอบแทนอย่างใด ตัวหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐาน การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็นหนังสือ หรือ ต้องเวนคืน เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย
3. หักกลบลบหนี้ การหักกลบลบหนี้ คือเมื่อบุคคล 2 ฝ่ายมีความผูกพัน ซึ่งกันและกันโดยความผูกพันนั้น คือหนี้ซึ่งบุคคลทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็เป็นเจ้าหนี้และลูกหนี้กัน และหนี้นั้นมีวัตถุเป็นอย่างเดียวกัน และถึงกำหนดชำระฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะหักกลบลบหนี้เพื่อให้หนี้ระงับเพียงเท่าจำนวนที่ตรงกันในมูลหนี้ทั้ง 2 ฝ่ายก็ได้ เว้นแต่สภาพแห่งหนี้ฝ่ายหนึ่งจะไม่เปิดช่องให้หักกลบลบหนี้กันได้
4. แปลงหนี้ใหม่ ได้แก่ การระงับหนี้เก่า แต่มีหนี้ใหม่ขึ้นมาแทน
5. หนี้เกลื่อนกลืนกัน ได้แก่ กรณีซึ่งสิทธิและหน้าที่ของเจ้าหนี้และลูกหนี้ได้มารวมกันอยู่ในตัวบุคคลเดียวกัน
2. หลักกฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกิจ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายพาณิชย์ไว้ในบรรพ 3 เอกเทศสัญญา ว่าด้วยหลักกฎหมายในการจัดตั้งองค์กรทางธุรกิจ หลักกำหมายในการทำธุรกิจ หลักกฎหมายในการระงับข้อพิพาททางธุรกิจและหลักกฎหมายที่เกี่ยวกับหนี้ที่ไม่สามารถบังคับได้
2.1 กฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรธุรกิจ
กฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรธุรกิจ ที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ได้แก่ห้างหุ้นส่วนและบริษัท
ห้างหุ้นส่วนหรือ บริษัท อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นคือสัญญา ซึ่งบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงกันเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไร อันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้นดังนั้นประเภทของห้างหุ้นส่วนและบริษัท มีดังนี้ คือ
2.1.1 ประเภทของห้างหุ้นส่วน
ห้างหุ้นส่วนนั้นจะประกอบได้ด้วยห้างหุ้นส่วนสามัญกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ดังมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งเป็นหุ้นส่วนหมดทุกคน
ต้องร่วมกันรับผิดเพื่อชำระหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่จำกัด
1)สิ่งที่นำมาลงทุนหุ้นส่วน ทุกคนต้องมีสิ่งหนึ่งใดมาลงหุ้นอาจเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงานก็ได้
2)การจัดการห้างหุ้นส่วน ถ้ามิได้ตกลงไว้ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนย่อมจัดการห้างหุ้นส่วนได้ทุกคน
3)การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนก็ได้หรือไม่จดทะเบียนก็ได้ ถ้าจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนนั้นก็มีสภาพเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือห้างหุ้นส่วนซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน 2 ประเภท คือ ประเภทที่หนึ่ง ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วน ประเภทที่สอง ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียว หรือหลายคน ซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน
1)การจัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด เฉพาะหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบเท่านั้นมีสิทธิจัดการห้างหุ้นส่วน หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะจัดการห้างหุ้นส่วนไม่ได้
2)การจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องจดทะเบียนเสมอ การจดทะเบียนก็ยังจดสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดแต่ละแห่ง
ข้อสังเกต สิ่งที่นำมาลงหุ้นโดยเฉพาะหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดนั้นจะต้องลงเป็นเงิน หรือทรัพย์สินอย่างอื่นๆ จะนำแรงมาลงไม่ได้
2.1.2 บริษัทจำกัด
บริษัทจำกัด คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยแบ่งทุนเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกันโดยผู้ถือหุ้นต่างรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ
1. การจัดตั้งบริษัท จะต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันทำหนังสือ บริคณห์สนธิและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายจนกว่าจะมีการจดทะเบียนบริษัทจำกัดและเป็นนิติบุคคล ซึ่งในทางปฏิบัติจะมีแบบฟอร์มหนังสือบริคณห์สนธิของทางราชการให้กรอกข้อความ สิ่งสำคัญคือวัตถุประสงค์ที่จะทำการค้าขาย กิจการธุรกิจการค้า ข้อบังคับ เป็นต้น
ข้อสังเกต บริษัทมหาชน คือบริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป ทั้งนี้ได้มีกฎหมายบัญญัติแยกไว้ต่างหาก คือ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน พ.ศ.2535
2. การบริหารกิจการบริษัท บริษัทจำกัดให้มีกรรมการหนึ่งคนหรือหลายคนจัดการตามข้อบังคับของบริษัท และอยู่ภายใต้การควบคุมของที่ประชุมใหญ่แห่งผู้ถือหุ้นทั้งปวงโดยปกติมีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นปีละครั้งเรียกว่าประชุมสามัญ แต่กรรมการจะเรียกประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น เมื่อใดก็ได้ เรียกว่าประชุมวิสามัญ ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นผู้ตั้งและถอดถอน กรรมการไม่จำเป็นต้องถือหุ้นในบริษัท และเมื่อบริษัทได้ดำเนินกิจการมีกำไรก็จะจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้น
2.2 กฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินทางธุรกิจ
กฎหมายที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้มีบทบัญญัติไว้ในเอกเทศสัญญาในการทำสัญญาต่างๆ เช่นสัญญาต่างตอบแทน สัญญาไม่ต่างตอบแทน หรือสัญญามุ่งโอนกรรมสิทธิ์เป็นต้น ซึ่งสามารถสรุปกลุ่มกฎหมายที่เกี่ยวกับการทำธุรกิจ ได้ดังนี้คือ
2.2.1 กฎหมายที่เกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้
1. ซื้อขาย คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย ตามที่ได้กล่าวมานี้สรุปได้ว่าสัญญาซื้อขายก็คือสัญญาที่ตกลงเอาทรัพย์สินออกแลกกับเงินตรา(ราคา) นั่นเอง และเมื่อเป็นสัญญา ก็ต้อง อาศัยหลักกฎหมายว่าด้วยนิติกรรมสัญญา
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้งสังหาริมทรัพย์พิเศษเช่น เรือมีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป แพ หรือสัตว์ยานพาหนะได้แก่ ช้างม้า โค กระบือ ล่อ ลา ก็ต้องทำเป็นหนังสือแลจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้นจะตกเป็นโมฆะ ส่วนการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ 500 บาท ทำเป็นหนังสือจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ ได้
สัญญาซื้อขายประเภทหนึ่งที่นิยมทำกันมาก คือ สัญญาขายฝาก ซึ่งหมายถึง การซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อโดยผู้ขายมีสิทธิไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ การขายฝากนั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ก็ได้ แต่ต้องมีการกำหนดเวลาในการขายฝาก ถ้าไม่มาไถ่คืนภายในเวลาที่กำหนดก็หมดสิทธิในการไถ่คืน
การกำหนดเวลาไถ่คือ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ต้องไถ่คืนภายใน 10 ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ต้องไถ่คืนภายใน 3 ปี
2. แลกเปลี่ยน คือสัญญาซึ่งคู่กรณีต่างโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้กันและกันซึ่งการซื้อขายและการแลกเปลี่ยนทำให้กรรมสิทธิ์หรือความเป็นเจ้าของทรัพย์เปลี่ยนมือจากบุคคลหนึ่งมายังบุคคลหนึ่ง แต่ต่างกันด้วยการชำระเงินในการซื้อขาย ส่วนการแลกเปลี่ยนเป็นการชำระกันด้วยสิ่งของ การแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์จะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
3. ให้ คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้โอนทรัพย์สินของตนโดยเสน่หาให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับและผู้รับยอมรับเอาทรัพย์นั้น ซึ่งการให้ต้องเป็นการให้โดยเสน่หาโดย ไม่มีค่าตอบแทน ถ้ามีค่าตอบแทนราคาทรัพย์สินจะเป็นการซื้อขาย
การให้ทรัพย์สิน ซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ส่วนในเรื่องของคำมั่นว่าจะให้ จะสมบูรณ์บังคับได้จะต้องทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งการให้อาจให้โดยการทำพินัยกรรมตาม บรรพ 6 มรดกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ได้
การถอนคืนการให้ นั้นจะถอนคืนการให้ไม่ได้ เว้นแต่การถอนการให้เพราะเหตุเนรคุณ คือ
1)ผู้รับประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญา
2)ผู้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง
3)ผู้รับปกปิดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีการให้ที่ไว้ถอนการให้เพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ดังนี้
(1)ให้เป็นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้
(2)ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน เช่นให้ที่ดินที่ติดจำนองผู้อื่นผู้รับ
ต้องชำระหนี้ไถ่ถอนมา เป็นต้น
3)ให้โดยศีลธรรมจรรยา เช่นบิดามารดาให้เงินแก่บุตรในการ
เลี้ยงดูตามปกติ เป็นต้น
4)ให้ในการสมรส เช่นบิดามารดายกที่ดินหรือให้ทรัพย์สินแก่
บุตรหลาน ญาติในวันสมรส เป็นต้น
2.2.2 กฎหมายที่เกี่ยวกับเช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ รับขน
1. เช่าทรัพย์ คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่าตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น
การเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดมิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้และถ้าเช่าเกิน 3 ปีหรือตลอดอายุของผู้เช่าหรือผู้ให้เช่าแต่ต้องไม่เกิน 30 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถ้าทำเป็นหลักฐานเป็นหนังสือแต่ไม่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จะใช้บังคับได้เพียง 3 ปี
ข้อสังเกต ยังมีสัญญาเช่าทรัพย์ที่อยู่นอกบรรพ 3 คือสัญญาเช่าทรัพย์ที่เป็นสัญญาต่างตอบแทน คือสัญญาเช่าต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ศาลฎีกาได้วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานว่าบังคับกันได้ในระหว่างผู้ให้เช่า กับผู้เช่าแม้กำหนดเวลาเช่าเกิน 3 ปีและไม่ได้จดทะเบียนก็ตามในกรณีที่ผู้ให้เช่าตกลงกับผู้เช่าให้ผู้เช่าจ่ายช่วยค่าก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้ผู้เช่าได้มีสิทธินั้นในขณะก่อสร้างหรือในขณะที่การก่อสร้างไม่เสร็จเป็นต้น
2. เช่าชื้อ คือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์ออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่าโดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ซึ่งสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือมิฉะนั้นเป็นโมฆะ
ลักษณะสำคัญของเช่าซื้อ คือ เมื่อมีการเช่าซื้อแล้วในระหว่างชำระค่าเช่าผู้เช่าผิดนัดชำระค่าเช่า 2 ครั้งติดกันแล้ว ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้และสามารถเรียกเอาทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อคืน โดยไม่ต้องจ่ายเงินค่างวดที่ส่งมาคืนให้แก่ผู้เช่าซื้อ แต่ถ้าในระหว่างผ่อนชำระค่าเช่าซื้อนั้นผู้เช่าซื้อขายทรัพย์สินหรือจงใจทำให้ทรัพย์สินที่เช่าซื้อมาโอนไปหรือเบียดบังเอาเสีย เช่นการเอาไปจำนำ ผู้เช่ามีความผิดฐานอาญา ยักยอกทรัพย์เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้ออยู่
3. จ้างแรงงาน คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้
ข้อสังเกต การจ้างแรงงานในปัจจุบันที่ส่วนใหญ่บังคับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และพระราชบัญญัติจัดหางานสำหรับผู้ที่จะไปทำงานในต่างประเทศ เมื่อมีปัญหาข้อพิพาทในคดีเกี่ยวกับแรงงานขึ้นจะต้องฟ้องร้องต่อศาลแรงงานซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษของศาลยุติธรรม
4. จ้างทำของ คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้างตกลงจะทำงานสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ว่าจ้างและตกลงผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น
5. รับขน แยกเป็นสัญญารับขนของ กับรับขนคนโดยสาร เป็นการกระทำเพื่อบำเหน็จทางการค้า คือ ค่าขนส่ง หรือค่าระวาง หรือค่าโดยสาร ซึ่งมีกฎหมายพิเศษอีกเช่น ขนส่งทางบก มีพระราชบัญญัติขนส่งทางบก พระราชบัญญัติรถยนต์ พระราชบัญญัติจราจรทางบก กำหนดรายละเอียด การขนส่งทางอากาศ เช่น พระราชบัญญัติเดินอากาศ ขนส่งทางทะเล เป็นต้น
ความรับผิดของผู้ขนส่ง ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของสูญหายหรือบุบสลาย หรือขนส่งชักช้า รวมทั้งผู้ขนส่งจะต้องรับผิดกรณีคนโดยสารในความเสียหายอันเกิดแก่ตัวเขา หรือความเสื่อมเสียอย่างใดๆ อันเป็นผลโดยตรงแก่การที่ต้องชักช้าในขนส่ง เว้นแต่การเสียหายหรือชักช้านั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดแต่ความผิดของคนโดยสาร
ข้อสังเกต มีข้อยกเว้นที่ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดแก่คนโดยสารอีกเรื่องหนึ่งคือคนโดยสารได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดเช่นว่านั้น
2.2.3 กฎหมายเกี่ยวกับยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า
1. ยืม ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดการยืมไว้ 2 เรื่องคือ ยืมใช้คงรูป กับยืมใช้สิ้นเปลือง
1)ยืมใช้คงรูป คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้ยืมให้บุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่าและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว
2)ยืมใช้สิ้นเปลือง คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืมและผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินประเภทชนิดและปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น
ข้อสังเกต การยืมเงิน (ซึ่งเป็นการยืมใช้สิ้นเปลือง) ตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไปต้องทำเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ซึ่งการยืมเงินคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีไม่ได้ถ้าเกินจะตกเป็นโมฆะ แต่ส่วนของต้นเงินนั้นยังคงใช้ได้ เพราะสามารถแยกส่วนต้นเงิน ซึ่งสมบูรณ์อยู่ออกจากส่วนดอกเบี้ยได้
อย่างไรก็ตามในข้อนี้ มีกรณียกเว้นหากเป็นการคิดดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน คือพระราชบัญญัติดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน พ.ศ.2520 อันเป็นกฎหมายพิเศษ กำหนดให้สามารถคิดดอกเบี้ยได้สูงกว่าร้อยละ 15 ต่อปีได้
2. ฝากทรัพย์ คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ฝากส่ง
มอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สิน นั้นไว้ในการรักษาดูแลจากผู้รับฝากแล้วจะคืนให้กับผู้ฝาก
ข้อสังเกต การฝากทรัพย์
1)การฝากทรัพย์ที่เป็นเงินจะมีเฉพาะการฝากเงิน ผู้ฝากไม่ต้องคืนเป็นเงินตราเดียวกันกับที่ฝากแต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวนและผู้รับฝากเอาเงินนั้นใช้ก็ได้แต่ต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น แม้เงินที่รับฝากจะสูญหายไป เพราะเหตุสุดวิสัยผู้รับฝากก็ต้องคืนเงินจำนวนนั้น
2)วิธีเฉพาะสำหรับเจ้าสำนักโรงแรม เจ้าสำนักโรงแรมหรือโฮเต็ลหรือสถานที่อันทำนองเช่นว่านั้นจะต้องรับผิดเพื่อความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใดๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินที่คนเดินทางหรือแขกอาศัย
3. เก็บของในคลังสินค้า เนื่องจากปัจจุบันธุรกิจการค้าขยายตัว สินค้าทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมมีปริมาณมาก และจำนวนมากขึ้น เจ้าของสินค้าอาจไม่มีสถานที่เก็บรักษาหรือที่เรียกว่าโกดัง เพียงพอ จึงเกิดมีอาชีพของนักธุรกิจที่สนใจสร้างโกดังเก็บสินค้าให้เช่าหรือรับฝากสินค้านั้นไว้ ที่เรียกว่า นายคลังสินค้า ทำการเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จทางการค้า เมื่อรับฝากสินค้าไว้ นายคลังสินค้าจะออกใบรับฝากสินค้าให้กับผู้ฝากไว้เป็นหลักฐาน เรียกว่า ใบรับของคลังสินค้าและประทวนสินค้า
2.2.4 กฎหมายที่เกี่ยวกับการประกันบุคคลและทรัพย์
1.ค้ำประกัน คือสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ค้ำประกันผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น ซึ่งการค้ำประกันจะสมบูรณ์นั้นจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันอาจจะเป็นคนเดียวหรือหลายคนก็ได้
ส่วนสิทธิและหน้าที่ของผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้เรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เมื่อผู้ค้ำประกันชำระหนี้ให้แก่
เจ้าหนี้แล้ว ผู้ค้ำประกันย่อมที่จะเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ให้แก่ผู้ค้ำประกัน
2.จำนอง คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้จำนอง เอาทรัพย์สิน ตราไว้แก่
บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจำนองเป็นประกันการชำระหนี้โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับจำนอง การทำสัญญาจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หากไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำนองยอมตกเป็นโมฆะ
ทรัพย์สินที่จำนอง ต้องเป็นอสังหาริมทรัพย์ แต่สังหาริมทรัพย์บางชนิดกู้จำนองได้หากว่าได้จดทะเบียนไว้แล้วตามกฎหมาย ได้แก่
(1)เรือกำปั่น หรือ เรือมีระวางตั้งแต่ 6 ตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ 5 ตันขึ้นไป
(2)แพ
(3)สัตว์พาหนะ
(4)สังหาริมทรัพย์อื่นๆ ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะการ เช่น ตามพระราชบัญญัติเครื่องจักร พ.ศ.2514 อนุญาตให้จำนองเครื่องจักรซึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ หากได้จดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรตามพระราชบัญญัติแล้ว
สิทธิของผู้รับจำนอง ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น ซึ่งในทางกฎหมายล้มละลายเรียกว่า เจ้าหนี้มีประกัน ซึ่งหมายความว่าเจ้าหนี้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ ในทางจำนอง จำนำ ในการฟ้องบังคับจำนอง หลุดแล้วทรัพย์สินนั้นไม่พอชำระหนี้เพราะราคาทรัพย์สินที่จำนองต่ำกว่าจำนวนหนี้หรือขายได้เงินน้อยไม่พอชำระหนี้ที่ค้างชำระกัน เงินยังขาดอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น
3. จำนำ คือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้จำนำส่งมอบทรัพย์สินสิ่งหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนเรียกว่าผู้รับจำนำ เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ ความรับผิดของผู้จำนำ เช่นเดียวกับสัญญาจำนอง เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระและลูกหนี้ไม่ชำระเจ้าหนี้มีสิทธิจะบังคับจำนำได้ตามกฎหมาย นำทรัพย์สินขายทอดตลาด
ข้อสังเกต ความแตกต่างระหว่างจำนำกับจำนอง
จำนำต่างกับจำนอง คือผู้จำนำต้องส่งมอบทรัพย์สินไว้แก่ผู้รับจำนำ แต่จำนองไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับจำนอง และเมื่อบังคับจำนำได้เงินน้อยกว่าที่ค้างชำระลูกหนี้ต้องรับใช้ส่วนที่ขาดให้แก่เจ้าหนี้ด้วย ส่วนบังคับจำนองเมื่อนำขายทอดตลาดแล้วยังได้เงินน้อยกว่าที่จำนองไว้ลูกหนี้ไมต้องรับส่วนที่ขาดให้แก่เจ้าหนี้
2.2.5 หลักกฎหมายว่าด้วย ตัวแทน นายหน้า
1. ตัวแทน คือสัญญาซึ่งให้บุคคลหนึ่งเรียกว่าตัวแทนมีอำนาจทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการ เมื่อตัวแทนไปทำการแทนตัวการกับบุคคลภายนอกตามที่ได้รับมอบหมายจากตัวการแล้ว ตัวการย่อมต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก
2. นายหน้า คือ บุคคลซึ่งทำสัญญากับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าตัวการ ตกลงทำหน้าที่เป็นคนกลางหรือเป็นสื่อชี้ช่องให้ตัวการได้เข้าทำสัญญากับบุคคลภายนอก
สัญญานายหน้านั้นตามปกติต้องว่ามีบำเหน็จ แม้จะไม่มีข้อตกลงกันไว้ ก็ต้องให้ตามธรรมเนียมคือร้อยละ 5 สิทธิเรียกค่าบำเหน็จเกิดขึ้นเมื่อตัวการกับบุคคลภายนอกได้ตกลงกันทำสัญญากันเสร็จ แม้ต่อมาจะมีการบอกเลิกสัญญาภายหลัง ก็ต้องจ่ายค่าบำเหน็จให้
ความรับผิดของนายหน้า นายหน้าไม่ต้องรับผิดในการปฏิบัติตามสัญญาของคู่สัญญา
2.2.6 หลักกฎหมายว่าด้วย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด
1. ตั๋วเงิน ตั๋วเงินมีลักษณะสำคัญคือ ต้องทำเป็นหนังสือตราสาร มีเนื้อความตามที่กฎหมายกำหนดโดยมีวัตถุแห่งหนี้เป็นเงินตราและเป็นตราสารเปลี่ยนมือได้โดยการส่งมอบหรือ สลักหลังตราสารนั้นๆ การชำระหนี้ด้วยตั๋วเงินจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้มีการใช้เงินตราตามตั๋วเงินนั้นและแม้การเรียกให้ใช้เงินตามมูลหนี้จะขาดอายุความแล้ว หากหนี้เดิมยังไม่ขาดอายุความ ก็ยังคงเรียกให้ชำระหนี้ตามมูลหนี้เดิมได้
ตั๋วเงินตามกฎหมายมี 3 ชนิด คือตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเช็ค
1)ตั๋วแลกเงิน คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่ายสั่งบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้จ่ายให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลอีกคนหนึ่งให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน ตั๋วแลกเงินจะต้องมีข้อความบอกว่าเป็นตั๋วแลกเงิน ซึ่งอาจจะใช้ภาษาใดก็ได้ มีคำสั่งอันปราศจากเงื่อนไข ระบุชื่อผู้จ่ายเงิน แก่ผู้รับเงินหรือผู้ถือ เป็นจำนวนเงินอันแน่นอน ตามวันและสถานที่ที่ระบุ พร้อมทั้งลงวันเดือนปี สถานที่ออกตั๋วเงินและลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายด้วย หากขาดรายการหนึ่งรายการใด ย่อมไม่ใช่ตั๋วเงินตามกฎหมาย
2)ตั๋วสัญญาใช้เงิน คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ออกตั๋ว ให้คำมั่นสัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่ง ของบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน
รายการของตั๋วสัญญาใช้เงิน เช่น คำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน คำมั่นสัญญาปราศจากเงื่อนไขว่าจะใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน วันถึงกำหนดใช้เงิน สถานที่ใช้เงิน ชื่อหรือยี่ห้อของผู้รับเงิน วันและสถานที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินลายมือชื่อผู้ออกตั๋ว
3)เช็ค คือหนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคาร ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน
เช็คต้องมีรายการ เช่น คำบอกชื่อว่าเป็นเช็ค คำสั่งอันปราศจากเงื่อนไขให้ใช้เงินเป็นจำนวนแน่นอน ชื่อหรือยี่ห้อและสำนักของธนาคารชื่อยี่ห้อของผู้รับเงิน หรือคำจดแจ้งว่าให้ใช้เงินแก่ ผู้ถือ สถานที่ใช้เงิน วันและสถานที่ออกเช็คลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย
ข้อสังเกต ในปัจจุบันผู้จ่ายเช็คไม่มีเงิน มีความผิดทางอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534
2. บัญชีเดินสะพัด คือสัญญาซึ่งบุคคลสองคนตกลงกันว่าสืบแต่นั้นไป หรือในชั่วเวลากำหนดอันใดอันหนึ่งให้ตัดทอนบัญชีหนี้ทั้งหมด หรือแต่บางส่วนอันเกิดขึ้นแต่กิจการในระหว่างเขาทั้งสองหักกลบลบหนี้กันและคงชำระแต่ละส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือโดยดุลภาค
2.2.7 หลักกฎหมายว่าด้วยการประกันภัย
ประกันภัย เป็นกิจการที่ตั้งขึ้นโดยเอาบุคคลที่อยู่ในวาระอาจเสี่ยงภัยในลักษณะเดียวกันมารวบกันเข้า เพื่อช่วยเฉลี่ยค่าเสียหายกันเมื่อคนหนึ่งคนใดเกิดภัยพิบัติขึ้นดังนั้นการประกันภัยคือสัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอาประกันภัย ซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ เมื่อเกิดภัยในอนาคตแก่ผู้เอาประกันภัยซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยให้โดยอาจส่งเงินเป็นงวดหรือเป็นก้อนก็ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งประเภทของประกันภัยได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สัญญาประกันวินาศภัย กับสัญญาประกันชีวิต
1. สัญญาประกันวินาศภัย เป็นสัญญาที่มุ่งหมายชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่เกิดขึ้นอันสามารถคำนวณเป็นราคาได้ เช่นประกันภัยขนส่ง ประกันภัยทางทะเล หรือประกันภัยค้ำจุน ประกันอัคคีภัย เป็นต้น
2. สัญญาประกันชีวิต มุ่งที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้เอาประกันหรือผู้มีความสัมพันธ์กับผู้เอาประกันที่ต้องพึ่งพากัน ถ้าผู้เอาประกันถึงแก่กรรมลง
ในปัจจุบัน ธุรกิจประกันภัย ประกันวินาศภัย ประกันชีวิตมีกฎหมายพิเศษควบคุมอีกต่างหาก คือ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัยและพระราชบัญญัติประกันชีวิตพ.ศ.2534 กระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ดูแล
2.3 กฎหมายที่เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางธุรกิจ
กฎหมายที่เกี่ยวกับการระงับข้อพิพาททางธุรกิจ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้ในบรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 17 สัญญาประนีประนอมยอมความ หมายถึงสัญญาซึ่งผู้เป็นสัญญาทั้งสองฝ่ายระงับข้อพิพาทอันใดอันหนึ่งซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนฝันให้แก่กัน มีคดีขึ้นสู่ศาลเป็นจำนวนมาก คงจะเป็นเพราะประนีประนอมยอมความเป็นสัญญาที่ระงับข้อพิพาทที่มีอยู่จะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไป คู่กรณีจึงนิยมระงับข้อพิพาทด้วยการทำสัญญากันไว้ชั้นหนึ่ง แทนที่จะฟ้องต่อศาลเลย ยังผลให้หนี้เดิมระงับและก่อให้เกิดสิทธิหน้าที่ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ภายหลังคู่กรณีฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา อีกฝ่ายจึงต้องฟ้องร้องยอมความ แก่ภายหลังคู่กรณีฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามสัญญา อีกฝ่ายจึงต้องฟ้องร้องบังคับคดีต่อศาล และคงเป็นเพราะเมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาลกันแล้ว แต่ระหว่างดำเนินคดีคู่ความตกลงกันได้ จึงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและให้ศาลพิพากษายอมความ
1. ลักษณะของประนีประนอมยอมความ สามารถแยกได้ดังนี้
1)เป็นสัญญา ซึ่งประกอบด้วยคู่สัญญาด้วยคู่สัญญา 2 ฝ่ายขึ้นไปหรืออาจเรียกสัญญานั้นว่านิติกรรมหลายฝ่าย
2)เป็นสัญญาที่ระงับข้อพิพาทให้เสร็จสิ้นไป
สัญญาประนีประนอมยอมความจะต้องทำ ณ สถานที่ใด กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ นั้นจะทำที่ใดก็ได้สุดแล้วแต่คู่สัญญา แต่ที่เป็นอยู่ขณะนี้พอจะแบ่งตามลักษณะของสถานที่ที่ทำสัญญาได้ 2 ประเภทดังนี้
(1)ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในศาล
(2)ทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล
2.4 หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจที่ไม่สามารถบังคับกันได้
หลักกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจที่ไม่สามารถบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้บัญญัติไว้ในบรรพ 3 เอกเทศ คือ สัญญาลักษณะการพนันและขันต่อ เป็นสัญญาซึ่งผู้เป็นคู่สัญญาต่างเล่นเอาเงินหรือทรัพย์สินด้วยเสี่ยงโชคหรือฝีมือโดยการตกลงกันว่าในอนาคตหากมีเหตุการณ์อันไม่มีความแน่นอนเกิดขึ้นและเป็นไปอย่างที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งคาดหมายไว้ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งคาดหมายผิดเป็นฝ่ายข้างเสียพนันขันต่อจะต้องใช้หนี้เงินหรือทรัพย์แก่ฝ่ายนั้นซึ่งเป็นฝ่ายชนะพนัน ซึ่งการพนันหรือขันต่อนั้น เป็นหนี้ที่ไม่สามารถบังคับกันได้ ที่สามารถแยกผลทางกฎหมาย ได้ 3 ประการคือ
1. ไม่ก่อให้เกิดหนี้
2. สิ่งใดที่ให้กันทวงคืนไม่ได้
3. แม้ทำข้อตกลงเป็นมูลหนี้อื่นก็หาก่อให้เกิดหนี้ไม่
แต่อย่างไรก็ตาม การเล่นการพนันที่รัฐบาลอนุญาตให้เล่นการพนันเป็นการเฉพาะราย
เช่นสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือ ล๊อตเตอรี่ สลากออมสิน หวยรัฐบาล เป็นต้น เป็นหนี้ที่สามารถบังคับกันได้ ซึ่งเป็นข้อยกเว้น รายละเอียดได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการพนันด้วย
บ่อเกิดแห่งหนี้ 5 ประการ 在 มาตรา 194 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่อง วัตถุแห่งหนี้ 的推薦與評價
มาตรา 194 ด้วยอำนาจ แห่ง มูล หนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ชำระ หนี้ ได้ อนึ่ง การชำระ หนี้ ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้ หนี้ ... ... <看更多>
บ่อเกิดแห่งหนี้ 5 ประการ 在 หลักกฎหมายว่าด้วยหนี้... - sittikorn saksang 的推薦與評價
บ่อเกิดแห่งหนี้ หรือเรียกว่ามูลแห่งหนี้ที่มีผลเกิดขึ้นระหว่างบุค คลที่เกิดได้ 2 ประการดังนี้ คือ จากนิติกรรมสัญญา (เป็นหนี้ที่เกิดจากการสมัครใจ) ... ... <看更多>