ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ? /โดย ลงทุนแมน
ประเทศเกาะเล็ก ๆ แห่งนี้มีประชากรเพียงราว ๆ 5.7 ล้านคน
แต่สามารถส่งออกบริการด้านการเงินมากเป็นอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
คิดเป็นมูลค่าถึง 1,210,000 ล้านบาท ในปี 2019
จากการจัดอันดับเมืองศูนย์กลางการเงินโลกของ Long Finance ประจำปี 2021
สิงคโปร์คือศูนย์กลางการเงินอันดับ 5
เป็นรองเพียงนิวยอร์ก กรุงลอนดอน และเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นมหานครหลักของประเทศมหาอำนาจ
กับฮ่องกง ที่เป็นเมืองเชื่อมต่อธุรกิจระหว่างโลกกับจีนแผ่นดินใหญ่
สำหรับประเทศเกาะเล็ก ๆ ที่เพิ่งก่อตั้งในปี 1965 และแทบไม่มีทรัพยากรธรรมชาติอะไรเลย
แม้แต่น้ำจืดก็ยังขาดแคลนจนต้องนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน
แต่สามารถเติบโตจนแซงหน้ามหานครในหลายประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่า
และก้าวขึ้นมาอยู่ระดับแถวหน้าของโลกได้ภายในเวลาไม่ถึง 50 ปี..
ความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจของสิงคโปร์ มีเส้นทางเป็นอย่างไร ?
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สิงคโปร์ จึงเป็นประเทศแห่ง บริการทางการเงิน ?
ถึงแม้ประเทศจะมีขนาดเล็ก ไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูก และแทบไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
แต่เกาะสิงคโปร์ยังมีความโชคดีอยู่ประการหนึ่ง คือ
“ทำเลที่ตั้งที่อยู่ปลายสุดของคาบสมุทรมลายู”
ทำเลนี้เป็นจุดสำคัญของเส้นทางเดินเรือ ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียตะวันออก กับอินเดียและยุโรป
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 อังกฤษรวบรวมดินแดนแถบนี้และเรียกว่า “อาณานิคมช่องแคบ”
สิงคโปร์จึงถูกวางให้เป็นเมืองท่าสำคัญของบริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทที่เดินเรือทำการค้าขายระหว่างยุโรป กับอินเดียและโลกตะวันออก
ต่อมาเมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 เกิดอุตสาหกรรมอาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมสูงในยุโรป แร่ธาตุที่จะนำมาทำกระป๋องก็คือ ดีบุก ซึ่งพบมากแถบคาบสมุทรมลายู เมืองท่าสิงคโปร์จึงถูกพัฒนาให้เป็นตลาดค้าดีบุกที่สำคัญของโลก
นอกจากดีบุกแล้ว การนำยางพาราเข้ามาปลูกในแถบมลายูในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
ก็ทำให้สิงคโปร์กลายเป็นศูนย์กลางของตลาดประมูลยางพาราอีกหนึ่งตำแหน่ง
การเป็นทั้งเมืองท่า เป็นศูนย์กลางการค้าดีบุกและยางพารา ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในสิงคโปร์คึกคัก ดึงดูดชาวต่างชาติให้เข้ามาเปิดกิจการธนาคาร
ธนาคารต่างชาติแห่งแรกที่เข้ามาเปิดทำการในสิงคโปร์ คือ The Union Bank of Calcutta
เปิดในปี 1840 มีการจัดตั้งสกุลเงินประจำอาณานิคมช่องแคบ คือ Straits Dollar ในปี 1845
ส่วนธนาคารแห่งแรกที่ก่อตั้งในสิงคโปร์ ก่อตั้งโดยชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาจากกวางตุ้ง
ชื่อว่า Kwong Yik Bank ในปี 1903 และหลังจากนั้นก็ตามมาด้วยธนาคารอีกหลายแห่ง
แต่ก็มีธนาคารมากมายที่ล้มหายตายจาก หรือถูกควบรวมกับธนาคารอื่น ๆ
ส่วนธนาคารที่ยังดำเนินการมาจนถึงปัจจุบันก็คือ
OCBC หรือ Oversea-Chinese Banking Corporation Limited ซึ่งเกิดจากการควบรวมธนาคารของชาวจีนฮกเกี้ยน 3 แห่ง ในปี 1932
และอีกธนาคารหนึ่งก็คือ UOB หรือ United Overseas Bank ซึ่งก่อตั้งโดยชาวมาเลย์เชื้อสายจีนในปี 1935
แต่ท่ามกลางการวางรากฐานด้านการเงินการธนาคารของสิงคโปร์
การเติบโตทางเศรษฐกิจของเมืองท่าแห่งนี้ต้องหยุดชะงักลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถูกยึดครองโดยกองทัพญี่ปุ่น
เมื่อหลังจบสงคราม อาณานิคมช่องแคบได้รับเอกราชจากอังกฤษ และสิงคโปร์ก็ได้ขอรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาเลเซีย ในปี 1963
แต่ด้วยปัญหาความขัดแย้งด้านเชื้อชาติ และอุดมการณ์ทางการเมือง
ท้ายที่สุดสิงคโปร์จึงแยกตัวออกจากมาเลเซีย และก่อตั้งประเทศในปี 1965
พร้อมกับตั้งสกุลเงินดอลลาร์สิงคโปร์ของตัวเองในอีก 2 ปีถัดมา
สิงคโปร์ถือกำเนิดประเทศด้วยการไม่มีทรัพยากรอะไรเลย
และเต็มไปด้วยแรงงานชาวจีนที่หลั่งไหลมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ในช่วงหลังสงครามโลก
ลี กวน ยู (Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีคนแรกของสิงคโปร์ จึงให้ความสำคัญกับเรื่องสวัสดิภาพความเป็นอยู่ รวมไปถึงการสร้างทักษะให้กับแรงงาน ต่อยอดจากการเป็นเมืองท่าค้าขาย
มีการจัดตั้ง Housing and Development Board เพื่อดูแลในเรื่องที่พักอาศัย
และสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเขต Jurong ทางตะวันตกของเกาะ
เพื่อสร้างงานในภาคอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ทั้ง 2 โครงการ ต้องใช้เงินลงทุนสูง รัฐบาลสิงคโปร์จึงลงทุนเองบางส่วนในโครงการเหล่านี้ และได้ตั้ง The Development Bank of Singapore Limited หรือ ธนาคาร DBS ในปี 1968 เพื่อรองรับเงินทุน กระตุ้นให้เงินทุนหมุนเวียน และโครงการพัฒนาดำเนินไปอย่างราบรื่น
เมื่อผู้คนมีที่อยู่อาศัย มีงานทำ และค่อย ๆ หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว รัฐบาลก็ต้องวางแผนต่อเนื่องเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ประการแรก: พัฒนาการศึกษา
เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรอย่างสิงคโปร์ ก็คือ “ทรัพยากรมนุษย์”
รัฐบาลสิงคโปร์จึงให้ความสำคัญต่อนโยบายการศึกษาอย่างสูงสุด โดยมีการปฏิรูปคุณภาพของระบบ และมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง
เริ่มจากการมีบุคลากรครูคุณภาพสูง โดยครูทุกคนต้องจบการศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้อง หลังจบการศึกษาต้องเข้ารับการฝึกอบรมวิชาชีพครูจากสถาบันการศึกษาแห่งชาติสิงคโปร์ (National Institute of Education หรือ NIE) เป็นเวลา 1 ปี เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครูแล้วต้องได้รับการประเมิน และพัฒนาในทุก ๆ ปี
และด้วยความหลากหลายทางเชื้อชาติและภาษาของผู้คนในสิงคโปร์ ที่มีทั้งชาวจีน ชาวมาเลย์ ชาวทมิฬ ซึ่งแต่ละเชื้อชาติต่างก็มีการใช้ภาษาเป็นของตัวเองแตกต่างกันไป
สิ่งที่จะหลอมรวมให้คนทุกเชื้อชาติสามารถอยู่ร่วมกันก็คือ
“ชาวสิงคโปร์ทุกคนจะต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้”
นำมาสู่ระบบการเรียนการสอนสองภาษา ที่มีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
ส่วนภาษาที่สองก็เป็นภาษาของแต่ละเชื้อชาติ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้สร้างทางเลือกในการศึกษาระดับมัธยมให้กับประชาชน โดยแบ่งเป็น
หลักสูตรมัธยมศึกษาเชิงวิชาการ สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
และหลักสูตรมัธยมศึกษาโพลีเทคนิค สำหรับนักเรียนที่มุ่งเรียนต่อในสายอาชีวะ
ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์ก็ผลักดันมาตรฐานในการเรียนสายอาชีวะให้มีคุณภาพสูง
เพราะมองว่านักเรียนแต่ละคนมีความถนัดทางวิชาการไม่เท่ากัน และสายอาชีวะสามารถผลิตบุคลากรเพื่อป้อนตลาดแรงงานในทันที
โดยหนึ่งในสายวิชาชีพ ที่รัฐบาลผลักดันตั้งแต่การก่อตั้งวิทยาลัยอาชีวะแห่งแรก ๆ ก็คือ “นักบัญชี”
สำหรับการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการจัดตั้ง National University of Singapore (NUS) ที่เกิดจากการควบรวมมหาวิทยาลัย 2 แห่งในปี 1980 และเริ่มพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ โดยจัดตั้ง NUS Entrepreneurship Centre ในปี 1988
ซึ่งในปีการศึกษา 2022 มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ก็เป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 1 ของทวีปเอเชีย
จากการจัดอันดับโดย QS
ต่อมาในปี 1981 มีการจัดตั้ง Nanyang Technological University (NTU)
ซึ่งก็กลายเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของทวีปเอเชีย
โดยมี Nanyang Business School เป็นสถาบันด้านบริหารธุรกิจอันดับ 1 ของสิงคโปร์
เมื่อสร้างแรงงานที่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะในภาคบริหารธุรกิจและการเงิน รวมไปถึงด้านกฎหมาย และแรงงานส่วนใหญ่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี
ปัจจัยเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้สิงคโปร์มีความเป็นเมืองนานาชาติ และมีข้อได้เปรียบดึงดูดบริษัทต่างชาติ โดยเฉพาะสถาบันการเงิน บริษัทด้านบัญชี และกฎหมาย ให้เลือกมาตั้งสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคในสิงคโปร์
รัฐบาลได้จัดตั้ง ธนาคารกลางแห่งสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore หรือ MAS) ในปี 1971 เพื่อควบคุมสถาบันการเงิน และบริหารจัดการนโยบายทางการเงิน
ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นประเทศขนาดเล็กและเป็นเมืองท่าค้าขาย และพึ่งพาการค้าจากต่างประเทศสูงมาก สิงคโปร์จึงอาศัยกลไก “อัตราแลกเปลี่ยน” เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายการเงิน ภายใต้การบริหารจัดการของ MAS
ประการที่ 2: ปฏิรูประบบราชการ
เมื่อวางแผนระบบการศึกษาเพื่อสร้างแรงงานที่มีคุณภาพแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติก็คือ “ความโปร่งใส”
ในช่วงหลังการแยกตัวเป็นเอกราช
สิงคโปร์เคยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการคอร์รัปชันสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
รัฐบาลภายใต้การนำของนายก ลี กวน ยู ได้ย้ายสำนักสืบสวนการทุจริตคอร์รัปชัน (Corrupt Practices Investigation Bureau หรือ CPIB)
ซึ่งเป็นองค์กรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1952 มาอยู่ภายใต้สำนักนายกรัฐมนตรี
และทำการปฏิรูปกฎหมายป้องกันและปราบปรามการคอร์รัปชัน ให้ยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพ
ทั้งการตัดสินลงโทษผู้ต้องหาโดยไม่ต้องมีหลักฐานชัดเจน แค่มีพฤติกรรมโน้มเอียงไปในทางไม่ซื่อสัตย์ก็สามารถตัดสินได้ หากผู้ต้องหาถูกตัดสินว่าผิดจริง ก็จะได้รับโทษอย่างรุนแรง
นอกจากโทษทางกฎหมายแล้ว ยังต้องชดใช้ค่าเสียหายเท่ากับจำนวนเงินที่ทำการทุจริตด้วย
หลังจากตัวบทกฎหมาย และกระบวนการลงโทษเริ่มเข้าที่เข้าทาง
ขั้นต่อมา คือการเพิ่มผลตอบแทนให้ข้าราชการ โดยเริ่มในปี 1989
เพื่อจูงใจให้คนเก่งเข้ารับราชการ และลดการรับสินบนของเจ้าหน้าที่รัฐ
รัฐบาลสิงคโปร์ใช้เวลาต่อสู้กับการคอร์รัปชันมาเป็นเวลากว่า 50 ปี
จนสิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีดัชนีความโปร่งใส (Corruption Perceptions Index)
สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก ในปี 2020
เมื่อประเทศมีความโปร่งใส ก็ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ในขณะที่รัฐบาลก็มีเงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ทั้งการคมนาคมขนส่ง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ยังได้ก่อตั้ง คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (Economic Development Board หรือ EDB) เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่ชัดเจน
จากเมืองท่าปลอดภาษี ในช่วงทศวรรษ 1970s สิงคโปร์ต่อยอดมาสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และปิโตรเคมี ในทศวรรษ 1980s
และในช่วงทศวรรษ 1990s ประเทศแห่งนี้ก็เปลี่ยนไปเป็นศูนย์กลางบริการทางการเงินของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประการที่ 3: พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดตั้ง The Smart Nation and Digital Government Group หรือ SNDGG รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงบริการต่าง ๆ ของภาครัฐสู่ระบบดิจิทัล เพื่อเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้ในการวางแผนพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์มี Big Data โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงิน
รัฐบาลจึงสามารถตรวจสอบเส้นทางทางการเงินได้ ป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองทำให้สิงคโปร์ได้รับความน่าเชื่อถือ สามารถเป็นศูนย์กลางทางการเงิน
รัฐบาลยังต่อยอดและให้การสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ FinTech โดยมีเป้าหมายเพื่อผลักดันให้สิงคโปร์เป็น The FinTech Nation
ทั้งการเปิดให้บริษัท FinTech จากทั่วโลก ขอใบอนุญาต Digital Banking ได้เต็มรูปแบบ
ไม่ปิดกั้นเฉพาะองค์กรในสิงคโปร์ และให้การสนับสนุนนวัตกรรมทางการเงินหลายรูปแบบ
ทั้งระบบชำระเงิน, บล็อกเชน ไปจนถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
ในขณะที่ธนาคารกลางสิงคโปร์ ก็เป็นผู้ริเริ่มจัดงาน Singapore FinTech Festival ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2016 และจัดขึ้นติดต่อกันมาเป็นประจำทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นมหกรรม FinTech ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ปัจจุบัน ธนาคารสิงคโปร์ที่ใหญ่ที่สุด 3 แห่ง คือ DBS, OCBC และ UOB
ล้วนเป็น 3 ธนาคารที่ใหญ่อันดับต้น ๆ ในภูมิภาคอาเซียน มีผลิตภัณฑ์การเงินที่หลากหลาย ทั้งประกันภัย ผลิตภัณฑ์การลงทุนต่าง ๆ ไปจนถึงสกุลเงินดิจิทัล
ภาคบริการการเงินคิดเป็นสัดส่วนราว 7.4% ของการส่งออกสินค้าและบริการของสิงคโปร์ ซึ่งบริการขั้นสูงเหล่านี้ มีส่วนสำคัญที่ผลักดัน GDP ต่อหัวของชาวสิงคโปร์ให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ในปี 1965 ที่ก่อตั้งประเทศ ชาวสิงคโปร์เคยมี GDP ต่อหัวน้อยกว่า เจ้าอาณานิคมอย่างสหราชอาณาจักร ประเทศแห่งนวัตกรรมอย่างเยอรมนี หรือประเทศมหาอำนาจในเอเชียอย่างญี่ปุ่น
แต่ในปี 2020 GDP ต่อหัวชาวสิงคโปร์แซงหน้าประเทศเหล่านี้ทั้งหมด และมากเป็นเกือบ 1.5 เท่า ของอดีตเจ้าอาณานิคม..
เรื่องทั้งหมดนี้เกิดจากการวางแผนระยะยาว
ทั้งการเตรียมทรัพยากรมนุษย์ให้พร้อมสำหรับงานบริการ
การพัฒนาประเทศให้โปร่งใสและมีความน่าเชื่อถือในระดับสากล
รวมไปถึงการช่วยเหลือของภาครัฐในทุก ๆ ด้าน
จากเมืองท่าศูนย์กลางการค้า สิงคโปร์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค และกำลังจะกลายเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีทางการเงินแห่งศตวรรษที่ 21
เรื่องราวของประเทศเกาะมหัศจรรย์แห่งนี้ บอกให้เรารู้ว่า
เมื่อเริ่มเป็นศูนย์กลางอะไรสักอย่าง และสั่งสมประสบการณ์จนมากพอแล้ว
ก็จะง่ายในการดึงดูดสิ่งใหม่ ๆ และกลายเป็นศูนย์กลางด้านอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในวันนี้ สิงคโปร์กำลังเตรียมพร้อมทุกอย่าง
สำหรับการเป็นศูนย์กลางอีกหลายด้าน ที่กำลังจะเกิดขึ้นในโลกอนาคต..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-http://prp.trf.or.th/download/2538/
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=undefined&product=404&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://remembersingapore.org/2011/10/07/money-never-sleeps-a-brief-history-of-banking-in-sg/
-https://lkyspp.nus.edu.sg/docs/default-source/case-studies/entry-1516-singapores_transformation_into_a_global_financial_hub.pdf
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=SG-GB-JP-DE
-https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/dbs-cryptocurrency-trading-130964?fbclid=IwAR2VVHEH9_n29fpyXSQ6EgSGDm63Lhm3aQF0aj7I8LIQ_B2wgjIXSazIVxU
ประการแรก 在 Facebook 的最讚貼文
เดือด! เลขาธิการพรรคเพื่อไทย อภิปรายเรื่องวัคซีน รอดูรองนายกฯ อนุทิน ชี้แจงครับ
#อภิปรายไม่ไว้วางใจ
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อไทย กล่าวอภิปรายว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.สาธารณสุข บริหารงานล้มเหลว 4 ด้าน
1.ความล้มเหลวในการควบคุมโรคระบาด ประมาท คิดว่าตัวเองแน่ ตั้งแต่การระบาดเสื่อต้นปี 63 นายกฯ ไม่มีการประเมินผล ส่วนนายอนุทิน ไม่กวดขัน ไม่รอบคอบไม่ระมัดระวัง ทำให้ระบบสาธารณสุขล้มเหลว
2.การจัดหาวัคซีนผิดพลาดล้มเหลว ที่พลเอกประยุทธ์ และนายอนุทิน คาดการณ์สถานการณ์ผิดพลาด ไม่มีความกระตือรือร้นในการจัดหาวัคซีน เมื่อจัดหาก็จัดหาน้อยเกินไป และมีเจตนาไม่เข้าโครงการโคแวกซ์ตั้งแต่ต้น เนื่องจากไม่มีเงินทอน ทำให้ประเทศเสียหาย โดยพลเอกประยุทธ์รู้เห็นเป็นใจกับนายอนุทิน นอกจากนี้ พลเอกประยุทธ์ยังเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของภาคเอกชนในการขอนำเข้าวัคซีนทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า การบริหารราชการของพลเอกประยุทธ์ และนายอนุทิน สะท้อนให้เห็นถึงระบบราชการที่ล้าหลัง ทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะขาดแคลนวัคซีน
3.ความล้มเหลวในการกระจายวัคซีน ที่มั่วทั้งระบบ ขาดความเป็นเอกภาพ ต่างคนต่างทำ บางจังหวัดไม่ได้เป็นพื้นที่สีแดงเข้มแต่กลับได้รับวัคซีนจำนวนมาก
4.การบริหารงานในสถานการณ์วิกฤต แต่บริหารเหมือนสถานการณ์ปกติ แม้แต่ตัวนายกฯ ยัง WFH ทำงานที่บ้านแบบไม่ทุกข์ร้อน และการสั่งข้อราชการไม่มีความเด็ดขาด
“ทั้งหมดคือความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดิน ที่ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนทุกภาคส่วน ถามว่าพวกเขาทำผิดอะไร ทั้งที่เกิดจากการบริหารที่ผิดพลาดของพลเอกประยุทธ์ และนอกจากพลเอกประยุทธ์ไม่ช่วยแล้วยังกีดกันไม่อำนวยความสะดวก จนในที่สุดคนไทยมองไม่เห็นอนาคตว่าเขาจะอยู่อย่างไร พลเอกประยุทธ์ ปล่อยให้ประเทศไทยเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร”
“สิ่งที่น่าเสียใจมากที่สุดที่คนไทยยอมรับไม่ได้เลย คือ การค้าความตายหากินบนความตายของประชาชน ด้วยการจัดซื้อวัคซีนคุณภาพต่ำแต่มีราคาแพง เอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชน โดยซื้อวัคซีนเพียงรายเดียว ผูกขาดตัดตอน มีความขัดกันแห่งผลประโยชน์ ทำให้วัคซีนซิโนแวคเป็นวัคซีนเส้นใหญ่”
นายประเสริฐ ยังอภิปรายเปิดหลักฐานโดยระบุว่าได้จากข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข ที่ทนต่อการกระทำของพลเอกประยุทธ์ และนายอนุทินไม่ไหว จึงส่งข้อมูลการจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค ที่ทำให้เห็นถึงแผนการนำเข้า ราคาซื้อต่อโดส และราคาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ มีความแตกต่างกัน โดย
การจัดซื้อครั้งที่ 1 มีแผนการนำเข้า 2 ล้านโดส นำเข้าได้จริง 1.9 ล้านโดส ราคาตามที่ครม.อนุมัติ 17.0 เหรียญสหรัฐต่อโดส ราคาซื้อจริง 17.0 เหรียญสหรัฐต่อโดส
จัดซื้อครั้งที่ 2 ราคาตามที่ครม.อนุมัติ 17.0 เหรียญสหรัฐฯต่อโดส แต่ราคาซื้อจริง 15.0 เหรียญสหรัฐฯต่อโดส
จัดซื้อครั้งที่ 3 ราคาตามที่ครม.อนุมัติ 17.0 เหรียญสหรัฐฯต่อโดส แต่ราคาซื้อจริง 14.0 เหรียญสหรัฐฯต่อโดส
จัดซื้อครั้งที่ 4 ราคาตามที่ครม.อนุมัติ 17.0 เหรียญสหรัฐฯต่อโดส แต่ราคาซื้อจริง 9.5 เหรียญสหรัฐฯต่อโดส
จัดซื้อครั้งที่ 5 ราคาตามที่ครม.อนุมัติ 17.0 เหรียญสหรัฐฯต่อโดส แต่ราคาซื้อจริง 9.0 เหรียญสหรัฐฯต่อโดส
“ราคาตามที่ครม.อนุมัติในการจัดซื้อทั้ง 5 ครั้ง คือ 331,500,000 เหรียญสหรัฐ คิดเป็นเงินบาท 10,846,680,000 บาท ส่วนราคาที่จัดซื้อจริง คือ 267,364,000 เหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นเงินบาท 8,748,150,080 บาท เกิดส่วนต่างในการจัดซื้อทั้งสิ้น 2,098,529,920 บาท”
นายประเสริฐ ยังเปิดเอกสารการจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค จากบันทึกการประชุมของคณะอนุกรรมาธิการเพื่อการแก้ไขปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค ในคณะกมธ.คุ้มครองผู้บริโภค เมื่อวันที่ 15 ส.ค.64 ที่ระบุว่า มีการจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค 5 ครั้ง พบว่าราคาที่ครม.อนุมัติทั้ง 5 ครั้ง คือ 17.0 เหรียญสหรัฐฯต่อโดส แต่ราคาซื้อจริงครั้งที่ 2 – 5 ราคาลดลงตามลำดับ ซึ่งตรงกับข้อมูลที่เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุขที่ให้มา ตนอยากถามถึงเงินส่วนต่างว่า หายไปไหน
นายประเสริฐ ยังอภิปรายถึงการทำสัญญากับบริษัท แอสตร้าเซเนกาว่า เป็นการทำสัญญาผูกขาด ตัดตอน ขัดกันแห่งผลประโยชน์ ทำให้รัฐเสียเปรียบ แรกเริ่มการผลิตวัคซีนแอสตร้าเซเนกา เป็นความร่วมมือระหว่าง SCG กับมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด แต่ที่แปลก คือ รัฐมีโรงงานผลิตวัคซีนที่ทันสมัย ทำไมจึงไม่มอบให้โรงงานแห่งนี้ที่รัฐเป็นเจ้าของผลิต
นายประเสริฐ อภิปรายตั้งข้อสังเกตถึงความผิดพลาดในการบริหารจัดการวัคซีนแอสตร้าเซเนกา
ประการแรก รัฐบาลแทงม้าตัวเดียว ไม่ยอมบริหารความเสี่ยง ซึ่งเมื่อวันที่ 3 มิ.ย. นางนวลพรรณ ล่ำซำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรของบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ได้ให้สัมภาษณ์ว่าควรจะมีการสั่งซื้อวัคซีนในหลายทางเลือกให้กับประชาชน
ประการที่สอง สัญญาซื้อขายเสียเปรียบบริษัทแอสตร้าเซเนกา สหราชอาณาจักร เพราะต้องสั่งซื้อล่วงหน้า และต้องจ่าย 60 % ของมูลค่าการสั่งซื้อ หรือราว 2 พันล้านบาทก่อนด้วย และในสัญญายังระบุอีกว่าหากผลิตไม่ได้ก็ต้องสูญเงินจำนวนนี้
นายประเสริฐ กล่าวต่อว่า การผลิตวัคซีนแอสตร้าฯ ทุก 3 ล้านโดสนั้น 1 ล้านโดสแบ่งให้ประเทศไทย อีก 2 ล้านโดสนำไปฉีดให้ต่างประเทศ ทำสัญญาอย่างนี้ได้อย่างไร ทำสัญญาอย่างนี้คนไทยถึงไม่ได้ฉีดวัคซีนสักที คนไทยได้ฉีดวัคซีนที่สามารถผลิตเองในประเทศน้อยกว่าคนต่างประเทศ ทำสัญญาอย่างนี้ได้อย่างไร ท่านต้องให้ประชาชนในประเทศได้รับการฉีดวัคซีนที่เพียงพอก่อน ค่อยเอาไปจัดสรรให้คนต่างประเทศ
ประการที่สาม ความสับสนในการทำสัญญาระหว่างบริษัทแอสตร้าฯ กับไทย ตามเอกสารวันที่ 25 มิ.ย.64 ที่บริษัทฯ เขียนถึงนายอนุทิน ระบุว่า การกำหนดการผลิตวัคซีนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย จะทำให้กระทรวงสาธารณสุขได้รับวัคซีนประมาณ 5-6 ล้านโดสต่อเดือน ซึ่งขึ้นอยู่กับผลิตผลของสารที่ใช้ในการผลิตวัคซีน และท้ายจดหมายยังระบุว่า กระทรวงสาธารณสุขไทยได้ประมาณการว่า ระบบสาธารณสุขของประเทศไทย มีความต้องการวัคซีนประมาณ 3 ล้านโดสต่อเดือน และบริษัทแอสตร้าฯ แนะนำให้ไทยเข้าร่วมโครงการโคแว๊กซ์ เพราะโครงการนี้มีวัคซีนแอสตร้าฯอยู่ด้วย และนายอนุทิน ทำเอกสารตอบกลับวันที่ 30 มิ.ย.64 ถึงบริษัทแอสตร้าฯว่า ไทยคาดว่าจะได้รับวัคซีนมากกว่า 1 ใน 3 ของการจัดส่งจากแอสตร้าฯ หรืออย่างน้อย 10 ล้านโดสต่อเดือนสำหรับการใช้ในประเทศ ดูจากเอกสารการโต้ตอบแล้ว เกิดความสับสนว่า กระทรวงสาธารณสุขสั่งวัคซีนไม่พอเพียง หรือบริษัทแอสตร้าฯส่งของไม่ครบตามสัญญา สงสัยว่ปัญหาวัคซีนขาดแคลนเกิดจากฝ่ายไหนกันแน่ ทุกวันนี้ ประชาชนจึงไม่เชื่อใจรัฐบาล นี่คือการทำสัญญาที่ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของพลเอกประยุทธ์ และนายอนุทิน
“ผมขอกล่าวหา พลเอกประยุทธ์ และนายอนุทิน จงใจปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติ ผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในทางราชการ ไม่สามารถดำเนินการตามเป้าหมายและแผนงานการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เสียสละ ไม่เปิดเผย ขาดความรอบคอบ และขาดความระมัดระวัง นอกจากนี้ นายกฯ และนายอนุทิน ยังร่วมกันจัดหาและจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค ส่อไปในทางทุจริต ไม่โปร่งใส เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้อง แสวงหาประโยชน์จากการจัดซีนวัคซีน บนความตายของประชาชน ทั้งยังกีดกันวัคซีนอื่นที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เพื่อมิให้คนไทยได้มีโอกาสฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูง พล.อ.ประยุทธ์ และนายอนุทิน มีพฤติกรรมค้าความตาย หาผลประโยชน์บนความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชน โดยให้นโยบายวัคซีนเป็นสินค้าสาธารณะ” นายประเสริฐ กล่าว
ประการแรก 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
วิกฤติ เลบานอน ประเทศที่ GDP ต่อหัว ลดลง 36% ในปีเดียว /โดย ลงทุนแมน
“วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับเลบานอน นับเป็นหนึ่งในวิกฤติเศรษฐกิจ ที่รุนแรงที่สุดในรอบกว่า 170 ปี”
ธนาคารโลกได้ให้คำจำกัดความกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจของเลบานอนในปี 2020
ปี 2019 ชาวเลบานอนมี GDP ต่อหัว อยู่ที่ 7,584 ดอลลาร์สหรัฐ
ใกล้เคียงกับ GDP ต่อหัวของชาวไทย ที่ 7,817 ดอลลาร์สหรัฐ
ในปี 2020 ขณะที่เศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลกล้วนเผชิญการหดตัวจากวิกฤติโควิด 19
GDP ต่อหัวของไทย ลดลงเหลือ 7,189 ดอลลาร์สหรัฐ
แต่ GDP ต่อหัวของชาวเลบานอน ลดลงเหลือเพียง 4,891 ดอลลาร์สหรัฐ
คิดเป็นอัตราการลดลงถึง 36% ภายในปีเดียว
เกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจของประเทศเลบานอน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
หลายคนคงยังจดจำภาพเหตุการณ์ระเบิดครั้งใหญ่ 2 ระลอกที่ท่าเรือกรุงเบรุต ในวันที่ 4 สิงหาคม 2020 ได้
ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้สร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับกรุงเบรุต ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเลบานอน
และเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศแห่งนี้ได้รับผลกระทบอย่างหนัก
แต่นอกจากเหตุการณ์ครั้งนั้นแล้ว เลบานอนก็ยังมีอีกหลายปัญหาที่ยืดเยื้อและเป็นชนวนสำคัญของความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ
ครั้งหนึ่ง กรุงเบรุต เมืองหลวงของเลบานอน เคยได้รับฉายาว่าเป็น “ปารีสแห่งตะวันออกกลาง”
ด้วยความที่เลบานอนเคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และกรุงเบรุตถูกตั้งให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายมาตั้งแต่ยุคอาณานิคม ความรุ่งเรืองทำให้เมืองแห่งนี้เต็มไปด้วยอาคารสวยงามสไตล์ฝรั่งเศสมากมาย
ด้วยทำเลของประเทศที่ตั้งอยู่ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน นักธุรกิจชาวเลบานอนจึงเป็นผู้เชื่อมโยงการค้าระหว่างประเทศในแอฟริกา และกลุ่มประเทศอาหรับ โดยเฉพาะการค้าอัญมณี
เลบานอนไม่มีภาษีนำเข้าสำหรับสินแร่โลหะ และอัญมณี ทำให้สามารถนำเข้าแร่มีค่าจากประเทศในแอฟริกาได้ในราคาถูก
บวกกับช่างฝีมือชาวเลบานอนที่เก่ง และมีค่าแรงถูกกว่าช่างฝีมือในภูมิภาคยุโรปเกือบครึ่งหนึ่ง ทำให้กรุงเบรุตขึ้นแท่นเป็นหนึ่งในศูนย์กลางค้าอัญมณีที่สำคัญ ยังรวมถึงการเป็นศูนย์กลางการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งของตะวันออกกลางอีกด้วย
อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ของเลบานอน คิดเป็นมูลค่ากว่า 37,000 ล้านบาท
ในปี 2019 และคิดเป็นสัดส่วน 6% ของการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมดของเลบานอน
บริษัท Tabbah บริษัทเครื่องประดับสัญชาติเลบานอน ก่อตั้งขึ้นในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน ในปี 1862 เป็นผู้นำในการออกแบบเครื่องประดับ ที่มีลูกค้าอยู่ทั่วทุกมุมโลก
การค้าขายอัญมณีที่คึกคัก ทำให้กรุงเบรุต ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการเงินที่สำคัญแห่งหนึ่งของตะวันออกกลางอีกด้วย ภาคการเงินมีสัดส่วนถึง 7% ของการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศ
นอกจากนี้ เลบานอนยังเป็นประเทศอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของตะวันออกกลาง
ถึงแม้จะมีพื้นที่เพียง 10,452 ตารางกิโลเมตร ใกล้เคียงกับจังหวัดขอนแก่น แต่ก็สามารถส่งออกพืชผลได้มากมาย
โดยเฉพาะพืชผลที่เติบโตในภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ทั้งองุ่น มะกอก ผลไม้ตระกูลส้ม และถั่ว รวมไปถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปอย่างไวน์ และน้ำมันมะกอก
นอกจากผลผลิตทางการเกษตร การค้าอัญมณี และภาคการเงินแล้ว ด้วยความที่ทำเลที่ตั้งของเลบานอน คือที่ตั้งของอาณาจักรต่าง ๆ ตั้งแต่ยุคโบราณ เลบานอนจึงมีโบราณสถานในยุคสมัยต่าง ๆ มากมาย ทั้งโรงละครสมัยโรมัน โบสถ์คริสต์ มัสยิดสมัยออตโตมัน
ทั้งที่เป็นประเทศเล็ก ๆ แต่เลบานอนมีมรดกโลกทางวัฒนธรรมมากถึง 5 แห่ง
การท่องเที่ยวจึงเป็นภาคส่วนเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด การท่องเที่ยวสร้างรายได้กว่า 330,000 ล้านบาท
คิดเป็นสัดส่วนถึง 61% ของการส่งออกสินค้าและบริการทั้งหมดของเลบานอน
จากข้อมูลที่กล่าวมา ดูเหมือนว่า เลบานอนจะเป็นประเทศที่มีภาคเศรษฐกิจที่หลากหลาย
ซึ่งจาก GDP ต่อหัวของชาวเลบานอน ในปี 2019 อยู่ที่ 7,584 ดอลลาร์สหรัฐ ก็ถือว่าดีระดับหนึ่งในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทั้ง ๆ ที่เลบานอนไม่ได้มีทรัพยากร โดยเฉพาะ “น้ำมัน” เหมือนประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มอาหรับ
แล้วอะไรที่ซ่อนอยู่ในเศรษฐกิจที่ดูเหมือนจะหลากหลายและมั่นคง ?
ประการแรก ความขัดแย้งของประชากรและรัฐบาลที่คอร์รัปชัน
ประชากร 6.8 ล้านคนของเลบานอน เป็นชาวมุสลิม 65% และชาวคริสต์ 35%
ความแตกต่างทางศาสนานี้ ทำให้รัฐสภาของเลบานอนประกอบไปด้วยสมาชิกที่เลือกตั้งมาจากกลุ่มศาสนา ซึ่งมักเกิดปัญหาขัดแย้งกันอยู่บ่อยครั้ง
ครั้งรุนแรงที่สุดก็ลุกลามจนกลายเป็นสงครามกลางเมืองในช่วงปี 1975-1990 ที่สร้างความเสียหายให้กับกรุงเบรุตอย่างหนัก
รัฐบาลของเลบานอนแต่ละสมัยจึงต้องพยายามสมานฉันท์จากผู้คนทั้ง 2 กลุ่ม แต่อย่างไรก็ตามรัฐบาลก็เกิดปัญหาการคอร์รัปชันอย่างหนัก ซึ่งเลบานอนถูกจัดเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชันมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จากดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน ปี 2020 เลบานอนอยู่ในอันดับที่ 149 จาก 179 ประเทศ
ประการที่ 2 การพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวมากเกินไป
เลบานอนเป็นประเทศเล็ก ๆ การท่องเที่ยวจึงเป็นภาคส่วนที่สำคัญมากต่อเศรษฐกิจ
ในปี 2019 การท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนถึง 61% ของการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศ
ซึ่งนับตั้งแต่ช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองในซีเรีย ประเทศเพื่อนบ้านทางตอนเหนือของเลบานอน ก็ส่งผลกระทบทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนเลบานอนลดลงเรื่อย ๆ เมื่อการท่องเที่ยวซบเซา การค้าขาย เศรษฐกิจภาพรวมก็ซบเซาตามไปด้วย
รัฐบาลจำเป็นต้องดำเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการเพิ่มรายจ่ายอย่างมหาศาล
เมื่อรวมกับการต้องรองรับผู้อพยพชาวซีเรียกว่า 1 ล้านคน ทำให้หนี้สาธารณะของเลบานอนพุ่งสูงถึง 155% ของ GDP ในปี 2019
รัฐบาลที่เต็มไปด้วยการคอร์รัปชัน ล้มเหลวในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
จึงต้องหารายได้เพิ่มด้วยการพยายามขึ้นภาษี ทั้งภาษีบุหรี่ ภาษีน้ำมัน และภาษีสำหรับการใช้โทรศัพท์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตจาก Social Media เช่น WhatsApp, Facebook และ Messenger
เรื่องนี้สร้างความไม่พอใจอย่างมากให้กับประชาชน จนนำมาสู่การประท้วงอย่างรุนแรงในปี 2019 ผลที่ได้ก็สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ จน GDP ของเลบานอนในปี 2019 ติดลบกว่า 5.6%
พอมาถึงปี 2020 เศรษฐกิจที่ย่ำแย่อยู่แล้วก็ถูกซ้ำเติมด้วยการระบาดของโควิด 19 ที่ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวหยุดชะงัก และซ้ำร้ายด้วยการระเบิดครั้งใหญ่ ที่ท่าเรือในกรุงเบรุต ซึ่งความเสียหายครั้งนี้ถูกประเมินว่าอาจสูงกว่า 500,000 ล้านบาท
ทำให้ปี 2020 GDP ของเลบานอน ติดลบถึง 20.3%
ประการที่ 3 สกุลเงินปอนด์เลบานอน
นับตั้งแต่ปี 1997 รัฐบาลเลบานอนได้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่
ค่าเงินถูกตรึงไว้ที่ 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 1,500 ปอนด์เลบานอน
การที่ค่าเงินถูกตรึงให้คงที่เป็นระยะเวลานาน ทำให้เงินปอนด์เลบานอน มีค่าสูงกว่าความเป็นจริง
ส่งผลให้สินค้านำเข้ามีราคาถูกกว่าความเป็นจริง
เลบานอนเป็นประเทศที่เน้นการส่งออกภาคบริการ แต่นำเข้าสินค้าในปริมาณมาก เนื่องจากไม่มีทรัพยากร และภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่แข็งแกร่ง
การนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะน้ำมัน ยารักษาโรค รถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ทำให้เลบานอนขาดดุลการค้าต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2004
ธนาคารกลางพยายามควบคุมค่าเงินปอนด์เลบานอนให้คงที่ ทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศลดลงอย่างหนัก ประกอบกับเงินค่อย ๆ ไหลออกนอกประเทศ ถึงขนาดที่ทำให้ธนาคารกลางต้องจำกัดการแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศเพื่อสกัดเงินไหลออก
ในปี 2020 เมื่อเกิดวิกฤติที่ทำให้ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบ ค่าเงินปอนด์เลบานอนก็ยิ่งลดลงอย่างมาก โดยเงินปอนด์เลบานอนในตลาดมืด มีมูลค่าน้อยกว่ามูลค่า ณ อัตราแลกเปลี่ยนทางการถึง 33%
การขาดแคลนเงินตราต่างประเทศทำให้การนำเข้าสินค้าเกิดปัญหา ชาวเลบานอนขาดแคลน
ยารักษาโรค เครื่องมือแพทย์ น้ำมัน แม้แต่รัฐวิสาหกิจที่ควบคุมการผลิตไฟฟ้า ยังไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อเชื้อเพลิงมาผลิตไฟฟ้า ทำให้ประชาชนต้องประสบปัญหาไฟดับรายวัน
เมื่อเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบหนัก รวมกับค่าเงินปอนด์เลบานอนที่อ่อนค่าลงมาก
ทำให้ GDP ต่อหัวของเลบานอน ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ลดลงมาเกือบ 36%
ภายในระยะเวลาแค่ปีเดียว
ท่ามกลางความวุ่นวายจากการระเบิดครั้งใหญ่ รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง และการระบาดของโควิด 19 ที่มีต่อเนื่องมาถึงปี 2021
รู้หรือไม่ว่า ระหว่างนั้นเลบานอนไม่มีนายกรัฐมนตรี เนื่องจากรัฐบาลชุดเก่าลาออกเพื่อรับผิดชอบจากเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเบรุต ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อทำให้ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เสียที และเพิ่งมีนายกรัฐมนตรี ไปเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2021 นี้เอง
ความล้มเหลวและความสิ้นหวัง ผลักดันให้ชาวเลบานอนนับแสนคน
อพยพออกไปอยู่ต่างประเทศ ตลอดปี 2020
ทั้งประเทศร่ำรวยใกล้เคียงอย่างไซปรัส อิสราเอล และประเทศแถบอ่าวเปอร์เซีย
หรือประเทศห่างไกลที่มีชุมชนชาวเลบานอนอยู่ อย่างบราซิลและฝรั่งเศส
องค์การสหประชาชาติคาดว่า ในปี 2021 จะมีผู้อพยพออกจากเลบานอนเพิ่มขึ้นจากปี 2020 ถึง 32%
ใครจะไปคาดคิดว่าครั้งหนึ่ง ประเทศที่เคยมีเศรษฐกิจที่หลากหลาย มั่นคง และเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาค มีเมืองหลวงที่สวยงาม เป็น “ปารีสแห่งตะวันออกกลาง” จะเดินทางมาถึงจุดนี้ได้..
ธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่า GDP ปี 2021 ของเลบานอน จะติดลบอย่างน้อย 6%
ดูเหมือนว่าวิกฤติของเลบานอนครั้งนี้จะยังไม่สิ้นสุดลง..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.PCAP.CD?locations=TH-LB
-https://www.worldbank.org/en/news/press-release/2021/05/01/lebanon-sinking-into-one-of-the-most-severe-global-crises-episodes
-https://www.arabianbusiness.com/banking-finance/453652-reforms-urged-as-lebanons-economy-set-to-shrink-to-2002-levels
-https://atlas.cid.harvard.edu/explore?country=124&product=undefined&year=2019&productClass=HS&target=Product&partner=undefined&startYear=undefined
-https://www.focus-economics.com/country-indicator/lebanon/trade-balance
-https://www.macrotrends.net/countries/LBN/lebanon/net-migration
ประการแรก 在 #ประการแรก - Explore | Facebook 的推薦與評價
"พระผงหลวงพ่อโสธร" วัดโสธรวรวิหาร ปี2509 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของไทยแห่งเมืองแปดริ้ว… See more. ... <看更多>