บทความนี้ดีครับ คุณหมอเขียนได้ถูกต้องดี เกี่ยวกับเรื่องให้ระวังการแพร่ระบาดของไวรัสโรค covid-19 ที่มากับละอองฝอย (aerosol) ของน้ำลายของผู้ติดเชื้อ ซึ่งลอยฟุ้งแล้วสะสมตัวในห้องที่ปิดทึบ อากาศไม่ถ่ายเท
ซึ่งผมพยายามจะบอกมาตลอด ว่า "การระบายอากาศ ventilation" เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องระวังกัน และไม่ค่อยมีการรณรงค์เรื่องนี้เท่าไหร่
ดังนั้น หลักการง่ายๆ ในการใช้ชีวิตยุคนี้ นอกจากใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างกับคนอื่น ยังควร "เปิดประตูหน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเท ออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งแทนอยู่ในห้องแอร์" ด้วยครับ
-------
(บางส่วนจากบทความ)
นพ.ชนาธิป ไชยเหล็ก อดีตแพทย์โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลชุมชน อดีตเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค และขณะนี้กำลังศึกษาต่อด้านระบาดวิทยาภาคสนาม (FETP) ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ประมวลว่าพื้นที่ไหนบ้างที่เสี่ยงอันตราย
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงของพื้นที่นั้นๆ มีอยู่ 4 อย่าง ได้แก่ ระยะเวลา, ระยะทาง, ลักษณะของกิจกรรม และสภาพแวดล้อม
- ระยะเวลาในการปฏิสัมพันธ์กัน โดยหากนานเกิน 15 นาทีจะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
- ระยะทาง ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นเมื่อสองฝ่ายอยู่ใกล้กันมากกว่า 2 เมตร
- ลักษณะของกิจกรรม ทำกิจกรรมกับใคร และเป็นกิจกรรมที่ทำให้เกิดสารคัดหลังจำนวนมากหรือเปล่า เช่น ร้องเพลง, ออกกำลังกาย หรือตะโกน (เชียร์กีฬา รวมถึงมวย)
- สภาพแวดล้อม เป็นสถานที่แออัดหรือมีอากาศถ่ายเท
๐ #พื้นที่ส่วนกลางของตึก อาทิ Co-working space , ห้องโถง
- ในตอนนี้น่าจะยังไม่มีความเสี่ยงมากนัก เพราะผู้พักอาศัยเพียงเดินผ่าน ไม่ได้มีกิจกรรมหรือปฏิสัมพันธ์ร่วมกันเท่าไหร่
- แต่ถ้ามีการเปิดให้นั่งใช้ และเริ่มมีกิจกรรมในพื้นที่มาก อาจขยับความเสี่ยงไปสูงได้
- หากทำให้พื้นที่มีอากาศถ่ายเทตลอดเวลา หรือติดตั้งเครื่องกรองอากาศแบบเดียวกับกรอง PM 2.5 จะช่วยให้อากาศไหลเวียน และลดความเสี่ยงได้
๐ #ลิฟต์
- ลิฟต์เป็นพื้นที่ที่ดูเหมือนเสี่ยงสูง แต่อันที่จริงไม่ได้มากมายขนาดนั้น โดยข้อมูลจาก CDC สหรัฐฯ ล่าสุดยังยืนว่า โอกาสที่จะติดเชื้อผ่านการสัมผัส อาทิ ปุ่มกดชั้น นั้นยังค่อนข้างต่ำ
- แต่ภายในลิฟต์อากาศอาจไม่ถ่ายเทมากเท่าไร ดังนั้น ควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และหลีกเลี่ยงลิฟต์ที่มีผู้ใช้บริการภายในมาก
๐ #รับอาหารรับของ
- ความเสี่ยงยังอยู่ในระดับต่ำ เพราะเช่นที่กล่าวไปข้างต้นว่าโอกาสในการที่ไวรัสจะอยู่บนพื้นผิวสัมผัสยังมีน้อย
- ที่มีโอกาสเสี่ยงที่สุดคือ การออกไปรับของจากผู้ที่มาส่ง ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการแพร่เชื้อจาก คน-คน ได้
- ถ้าหากเป็นกังวล ควรหลีกเลี่ยงโอกาสที่จะใกล้ชิด โดยการไม่ออกไปรับของกับมือ ให้ใช้ระบบโอนเงินออนไลน์ รวมถึงฉีดพ่นสเปรย์แอลกอฮอล์และล้างมือทันทีหลังที่จับของเสร็จ
- อันที่จริง CDC ยังไม่มีรายงานว่าพบการติดเชื้อผ่านการใช้เงิน
๐ #ติดเชื้อผ่านอาหาร
- ความเป็นไปได้มีต่ำ เว็บไซต์ CDC ของสหรัฐฯ ยืนยัน ยังไม่มีรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อผ่านทางอาหารโดยตรง
- สำหรับอาหารที่ปรุงสุกอยู่แล้ว ไม่มีความน่ากังวลอะไรนัก เพราะเชื้อจะถูกความร้อนทำลายทั้งหมด
- สำหรับอาหารรูปแบบอื่น ที่ไม่ผ่านการปรุงสุก อาทิ ซาชิมิ, บะหมี่เย็น หรือลาบก้อย ก็เป็นไปได้น้อยเช่นเดียวกัน
- เพราะในทางทฤษฎี เชื้อจะถูกระบบย่อยอาหารของร่างกายทั้ง น้ำลายหรือน้ำย่อยละลายทิ้งจนหมดเสียก่อน
- สำหรับร้านอาหารหรือผู้ประกอบอาหารเอง ทางที่ดีก็ควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และหมั่นดูแลสุขอนามัยของอุปกรณ์และสถานที่ประกอบอาหารอย่างรอบคอบ
๐ #ฟิตเนสและสระว่ายน้ำ
- ฟิตเนส อากาศไม่ค่อยถ่ายเท และการหายใจเข้า-ออกที่รุนแรงขึ้นระหว่างออกกำลังกาย จะยิ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการระบาดของเชื้อได้
- ดังนั้น ควรมีการเปิดหน้าต่างให้อากาศถ่ายเท และติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ PM 2.5 เอาไว้ เพื่อทำให้ภายในมีอากาศหมุนเวียนมากขึ้น
- สระน้ำ มีความเสี่ยงต่ำ เพราะเป็นพื้นที่ที่อากาศปลอดโปร่ง แต่เป็นไปได้ว่าจะมีการติดกันหากเกิดการสัมผัสบนบก
- แต่เมื่ออยู่ในสระน้ำแล้ว โอกาสที่จะแพร่เชื้อในน้ำมีน้อย เพราะคลอรีนที่อยู่ในน้ำจะทำลายเชื้อ ก่อนที่จะแพร่กระจายได้
๐ #ห้องน้ำและระบบน้ำเสีย
- CDC ยังไม่มีการรายงานว่ามีการแพร่เชื้อผ่านทางน้ำเสีย หรือระบบน้ำเสีย บวก ดังนั้น ข้อมูล (เช่น ข่าวจากที่ฮ่องกง) ยังมีน้อยเกินไป ที่จะสรุปว่ามีการแพร่กระจายผ่านระบบน้ำเสีย
๐ #ผู้ติดเชื้ออยู่ข้างห้องข้างบ้าน
- กรณีที่ข้างห้องหรือข้างบ้าน มีผู้ติดเชื้อ ถ้าหากไม่มีการใช้ระบบอากาศร่วมกัน และไม่มีปฏิสัมพันธ์กัน (กล่าวคือ ต่างคนต่างอยู่) ความเสี่ยงก็ยังคงต่ำอยู่
- ถ้าหากมีการปฏิสัมพันธ์กันในระยะใกล้กันกว่า 2 เมตร เกิน 5 นาที หรือถ้ามีปฏิสัมพันธ์กันในพื้นที่ปิด ที่อากาศไม่ถ่ายเท ตั้งแต่ 15 นาทีขึ้น ก็จะมีโอกาสเสี่ยงสูงขึ้น
- ถ้าทั้งสองฝ่ายใส่หน้ากากอนามัย จะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้อีกมาก
๐ #ไม่ออกไปไหนเลย
- ถ้าไม่ได้ออกไปไหนเลย เป็นไปได้ยากมากที่จะมีการติดเชื้อ เพราะการติดเชื้อต้องมีสาเหตุที่มา เช่น คนในบ้านได้รับเชื้อไม่รู้ตัว หรือได้รับเชื้อแต่ไม่แสดงอาการเป็นต้น
#ทิ้งท้าย จากข้อมูลของ CDC ยังยืนยันให้มีใช้วิธีเดิมในการป้องกันเชื้อ กล่าวคือ ใส่หน้ากากอนามัย, รักษาระยะห่าง, หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด
และถ้าหากทราบว่าไวรัสสามารถอยู่ในอากาศได้นานกว่าเดิม การหมั่นเปิดหน้าต่าง และซื้อเครื่องกรองอากาศจะสามารถช่วยให้ไวรัสกระจายตัว และลดความเข้มข้นของไวรัสลงไปได้
จาก
「ผู้ติดเชื้ออยู่ข้างห้องข้างบ้าน」的推薦目錄:
- 關於ผู้ติดเชื้ออยู่ข้างห้องข้างบ้าน 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最佳貼文
- 關於ผู้ติดเชื้ออยู่ข้างห้องข้างบ้าน 在 เมื่อเพื่อนบ้าน คนห้องข้างๆ ติดโควิด-19 ต้องทำอย่างไร - YouTube 的評價
- 關於ผู้ติดเชื้ออยู่ข้างห้องข้างบ้าน 在 เราจะติดเชื้อจากข้างบ้านได้หรือไม่? | 29 เม.ย.63 | one31 - YouTube 的評價
- 關於ผู้ติดเชื้ออยู่ข้างห้องข้างบ้าน 在 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Faculty of Medicine ... 的評價
ผู้ติดเชื้ออยู่ข้างห้องข้างบ้าน 在 เราจะติดเชื้อจากข้างบ้านได้หรือไม่? | 29 เม.ย.63 | one31 - YouTube 的推薦與評價
รายการ # อยู่ อย่างไรปลอดภัยโควิด-19 จะมาให้ข้อมูลและไขทุกข้อสงสัยในการป้องกัน โควิด-19 แบบรู้ลึกรู้จริง โดย นพ. ... <看更多>
ผู้ติดเชื้ออยู่ข้างห้องข้างบ้าน 在 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี Faculty of Medicine ... 的推薦與評價
เพื่อนข้างบ้าน/ข้างห้องเป็นโควิดเชื้อจะสามารถแพร่ข้ามรั้วมาได้หรือไม่ ต้องปฏิบัติอย่างไร #รามาฯรวมใจสู้ภัยโควิด ติดตามคำถามที่พบบ่อย... ... <看更多>
ผู้ติดเชื้ออยู่ข้างห้องข้างบ้าน 在 เมื่อเพื่อนบ้าน คนห้องข้างๆ ติดโควิด-19 ต้องทำอย่างไร - YouTube 的推薦與評價
เมื่อเพื่อนบ้าน หรือ คน ห้อง ข้างๆ ติด โควิด-19 และต้องกักตัว หรือ อยู่ ระหว่างการรอเตียงเราจะป้องกันตัวเองอย่างไร หรือเราสามารถช่วยอะไรได้บ้าง ... ... <看更多>