อุเบกขา การมีสติ ดำรงตนในฆราวาสธรรม มีความรู้ ประสบการณ์ เพื่อขับเคลื่อน ดำเนินชีวิต
เราไม่ได้เกิดมาชาตินี้ ชาติเดียว และไม่ใช่ชาติสุดท้าย ในทางธรรม เราไม่ต้องสุดโต่ง เราค่อยๆ อบรมขัดเกลา กาย วาจา จิต ด้วยธรรมของฆราวาส ไม่ใช่ ธรรมของพระสงฆ์ ศีลสำหรับ ฆราวาสมี 5 ข้อ ศีลของพระสงฆ์มี 227 ข้อ สามเณร มี 10 ข้อ ฯลฯ
วิถี ที่ดำเนิน มีทั้งประเพณี วัฒนธรรม ที่ดีงาม ของประเทศ ของชาติ เป็นแนวทางมาแต่ บรรพบุรุษ บรรพสตรี แยกไปตามท้องถิ่น ภูมิภาคต่างๆ
ผมเป็นฆราวาส ถือศีล ๕ ขาดบ้างครบบ้าง เหมือน ประชาชนส่วนใหญ่ แต่ ก็พยายาม อบรมขัดเกลา ตน ในหนทาง บุญกิริยาวัตถุ 10 ต่อเนื่อง มีผลประจักษ์เชิงสัมฤทธิ์ ชัดเจน มีคณะศิษย์ สาธุชน มีส่วนร่วม มายาวนาน เกิน 15 ปี แนวทางเช่นนี้ อริยบุคคลในอดีต เช่นท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี ท่านวิสาขาอุบาสิกา พึงปฏิบัติ เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน เช่นพระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าปเสนทิโกศล พึงปฏิบัติ มาแต่สมัยพุทธกาล ทันพระพุทธองค์ ไม่มี ใคร เอาแบบ สุดโต่ง แบบ ต้องตัดโลก ละความเป็นฆราวาส และออกบวช ทันที ทั้งมวลนี้ คือ วิถี แห่งฆราวาส ผู้มีธรรม มีความพอดี ได้สะสมบุญกิริยา อบรมขัดเกลาตน สุดท้าย ย่อมไป เวียนไป ในภพภูมิที่ดี และ หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในที่สุด
ในวัย 50 ปี ผมไม่ ออกตำหนิ บริภาษ พระภิกษุสงฆ์(ผู้มีศีล 227) เพราะ ผมเป็นฆราวาส มีศีลน้อยกว่าท่าน แต่ ก็รับรู้ได้ และเห็นถึง ความไม่งามในศีลในธรรม และความไม่งามในอาจาระ(กิริยา อาการของพระสงฆ์) สุดท้ายเเล้ว จะบังเกิดความเสื่อมขึ้นในตน ของท่านเอง (กรรมอันใดผู้ใดกระทำ กรรมนั้นๆย่อมตกต้องกับผู้กระทำ ) ผู้ปกครอง(ที่มีศีลเสมอกัน) ไม่ควบคุมจัดการ ต่อไปก็ไม่มีอำนาจในการปกครอง ที่อันสูงกลายเป็นของเล่นหัวได้ กลายเป็นของตำ่ สารพัด ไม่มี ความ สงบ ร่มเย็น ปิติสุข ในทางธรรม เกิดขึ้น จะกลายเป็น วุ่นวายจริงหนอ เราเป็นฆราวาส เรายังแสวงหาความสงบ
ปิติสุข สุขในทางธรรม เป็นความสงบ ร่มเย็น สบายกาย สบายใจ โดยไม่ต้องมีการปรุงแต่ง เล้าประโลม ด้วยสิ่งใดๆ คือ สิ่งที่ ตัวผมได้เคยฝึกปฏิบัติ กรรมฐานกับหลวงพ่อบุญมา จ.ชัยภูมิ เมื่อครั้งบวชและตั้งใจไปปฏิบัติ จนได้มาเป็น แนวทางในการปฏิบัติ ตามกาล หลังจากลาสิกขา จนถึงปัจจุบัน
สรรพสิ่งไม่เที่ยง ทุกๆสิ่งทุกๆอย่าง มีเกิดขึ้น และต้องดับไป ใกล้ถึงเวลา ปริวรรต เปลี่ยนแปลง ไปตามสัจธรรม ขอให้ธรรมจงรักษา ผู้มีธรรม บุญจงรักษาผู้สร้างบุญ
วันที่ 28 กันยายนนี้ จุดเริ่มต้น การปริวรรต ของดาวพฤหัสบดี ตามหลักสถิติโหร ทุกๆสิ่งทุกๆอย่างจะดีขึ้น ครับ
ลักษณ์ ราชสีห์
พระเจ้าปเสนทิโกศล 在 Facebook 的最讚貼文
"พระเจ้าปเสนทิโกศล" เป็นผู้ใด? คืนนี้จะเล่าให้ฟังในรายการ .. TOP NEWS ช่อง 77
พระเจ้าปเสนทิโกศล 在 เข็มทิศชีวิต ฐิตินาถ ณ พัทลุง Facebook 的最佳貼文
ขอบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระเจ้าปเสนทิโกศล ช่วยบันดาลให้ทุกท่านเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน และเป็นที่รักของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายด้วยเทอญ
แม้หลักฐานทางประวัติศาสตร์จะเชื่อกันว่าพระพุทธรูปถูกสร้างขึ้นครั้งแรกที่แคว้นคันธารราฐ ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว 500 ปี อย่างไรก็ดี มีตำนานเล่าถึงพุทธประวัติอันเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธรูปปางหนึ่งในสมัยพุทธกาลว่า
ในครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา และจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งเมืองสาวัตถี ทรงรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอันมาก จึงโปรดฯ ให้ช่างนำไม้แก่นจันทน์ที่ดีและหอมที่สุดมาแกะสลักเป็นพระพุทธรูปอันงดงาม มีพุทธลักษณะคล้ายพระพุทธองค์ อัญเชิญไปประดิษฐานในพระราชมณเฑียร
เมื่อองค์พระศาสดาเสด็จกลับจากดาวดึงส์ และเสด็จมายังเมืองสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลอาราธนาให้พระองค์เสด็จทอดพระเนตรพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว และเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปถึง พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์นั้นได้ขยับองค์ เพื่อถวายความเคารพพระศาสดา พระพุทธองค์ยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นห้าม พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์จึงประทับยังพระแท่นดังเดิม
ตำนานนี้แม้ไม่ปรากฎหลักฐานเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปจากไม้แก่นจันทน์ในสมัยพุทธกาล หากเป็นที่มาของพระพุทธปางห้ามพระแก่นจันทน์ เป็นพระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาปล่อยลงข้างพระวรกาย ฝ่าพระหัตถ์ซ้ายยกขึ้นเสมอพระอุระ (อก) และยื่นออกไปข้างหน้าเป็นกิริยาทรงห้าม ซึ่งแตกต่างจากปางห้ามญาติ และปางห้ามสมุทร
พระพุทธรูปปางห้ามพระแก่นจันทน์องค์สำคัญ เช่น พระพุทธโลกนาถ ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารทิศตะวันออก มุขหลัง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ซึ่งเดิมประดิษฐาน ณ วิหารพระโลกนาถ วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา และถูกอัญเชิญมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
Cr.pic FB