今天在清邁本地新聞與幾個與文化議題相關的臉書上,都貼出訊息哀悼一位在昨日(8/16)離世的資深攝影師 บุญเสริม สาตราภัย。
根據記載,享年 89 歲的他,在生前是位專業攝影,年輕時曾獲得新聞攝影獎項。因為就住在正對 Nawarat 橋的大馬路上,生前經常騎著腳踏車在城裡拍照。在他作品裡,不僅有早年清邁城的街道樣貌、瓦洛洛市場幾場重大火災現場、Nawarat 橋還有鐵架的原樣,甚至連被稱為東南亞最神秘的部族米拉比里族人(泰國人稱 ผีตองเหลือง)的樣貌都透過他的鏡頭被記錄下來。所幸這些一幀幀記錄歷史片段的照片,都好好的被保留著。
要不是看到這些專頁的介紹,其實對這位攝影師一無所知,僅在這些悼念的貼文中發現,之前找過的網路資料裡許多舊照片上有著一樣的簽名。
雖說舊照片不見得能拼湊出過去百分百的完整樣貌,還好當時沒有什麼虛幻的美圖秀秀,後人尚能看到貼近真實的過去。
面對真實其實也不是這麼簡單,就像低頭看見自己腰內肉與垂垂嘴邊肉如同和無形阿飄對上眼般無法直視,但畢竟事實就是事實,有時淚奔逃避也終將面對。
好吧,明天再工作一天又是週末,加油囉!
*更多 ลุงบุญเสริม สาตราภัย 的作品:
https://www.facebook.com/chiangmaitoworldheritage/posts/2013745435528974
ลุงบุญเสริม สาตราภัย ขณะทำงานเป็นนักข่าวหนังสือพิมพ์คนเมือง
ในปี พ.ศ. 2505 ท่านได้รับรางวัลชนะเลิศ
ประกวดงานหนังสือพิมพ์ของมูลนิธิวิชาหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
หรือ พูลิตเซอร์เมืองไทย จากภาพถ่ายชุดสารคดี “ผีตองเหลือง”
ผีตองเหลือง
เป็นชื่อของชนเผ่าหนึ่งที่มีลักษณะเป็นคนป่า
มักร่อนเร่อยู่ตามป่าลึก คำว่า ผีตองเหลือง
เป็น ชื่อที่คนกลุ่มอื่นเรียกชนเผ่านี้โดยเรียกตามวัสดุที่ใช้มุงหลังคา
คือ ใบตอง เมื่อใบไม้ใบตองที่มุงหลังคาหรือทำเป็นซุ้ม
เปลี่ยนเป็นสีเหลืองแล้วคนเหล่านี้ก็จะย้ายไปอยู่ที่อื่นต่อไป
DT.H Barnatzik ชาวออสเตรียสำรวจพบ ผีตองเหลือง
เมื่อ พ . ศ . ๒๔๗๙ ในดงทึบเขตจังหวัดน่าน
คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “ ยำบรี ” สันนิษฐานว่าเป็นพวกเดียวกับ
ผีตองเหลือง ที่ คณะสำรจวจของสยามสมาคมซึ่งมี
นายไกรศรี นิมมานเหมินท์ เป็นหัวหน้าค้นพบ
เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ . ศ . ๒๕๐๕
ครั้งนั้นนายไกรศรี นิมมานเหมินท์ ว่าชนกลุ่มนี้
เรียกตัวเองว่า “ มระบรี ” ทำเพิงอาศัยอยู่ที่ริมห้วยน้ำท่า
ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดน่าน
ก่อนนี้ Mr.Oliver Gordon Young รายงานว่า
ชาวแม้ว และ ชาวมูเซอ ที่ ดอยเวียงผา อ . พร้าว จ . เชียงใหม่
ได้พบ ผีตองเหลือง ในเขตของตนและว่าพวกนี้
พูดภาษาว้ากับเรียกตนเองว่า “ โพล ”
การที่เรียกตัวเองว่า “ มระบรี มราบรี ”
เพราะคำนี้แปลว่าคนป่า “ มรา ” แปลว่า คน “ บรี ” แปลว่า ป่า
กล่าวกันว่าผีตองเหลือง เป็นชนเผ่าหนึ่งที่มีถิ่นฐานเดิม
อยู่ในเขตจังหวัดไซยะบุรี ประเทศลาว
ปัจจุบันอาศัยอยู่ตามภาคเหนือของประเทศไทย
อาทิ อำเภอเมือง อำเภอร้องกวาง อำเภอสอง จังหวัดแพร่
และอำเภอสา จังหวัดน่าน ถิ่นที่อยู่ของ ผีตองเหลือง
มัก จะเป็นเขตชุ่มชื้น ตามความลาดของไหล่เขา
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลราวๆ ๓ , ๐๐๐ ฟุตขึ้นไป
และตั้งที่พักใกล้แหล่งน้ำเพื่อประโยชน์ในการอุปโภคบริโภค
ตลอดจนสามารถหา กุ้ง ปู ปลา และสัตว์น้ำต่างๆ
มาประกอบเป็นอาหารได้
สำหรับรูปร่างลักษณะของผีตองเหลือง คือ รูปร่างเล็กแต่แข็งแรง
บ้างว่าเหมือนคนทางภาคเหนือของประเทศไทยแต่ผิวคล้ำกว่า
เครื่องนุ่งห่มมีแต่ผ้าเตี่ยวผืนเดียวและผ้านุ้งนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อจำเป็น
ต้องเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อเอาของป่ามาแลกกับข้าวสาร
เกลือและของใช้ที่จำเป็น เช่น มีดหรือหอกเท่านั้น
เพราะโดยปกติ หากอยู่ในกลุ่มพวกพ้อง พวกเขาจะเปลือยกาย
นอกจากนี้ ผีตองเหลือง ไม่เคยกังวลเรื่องรายได้
เพราะพวกเขาไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเงินเลย
แม้แต่นับจำนวนก็จะได้อย่างมากแค่สามเท่านั้น
การดำรงชีวิตของผีตองเหลือง ขึ้นอยู่กับเนื้อสัตว์ที่ล่ามาได้
ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็กหรือใหญ่รวมทั้งหนู งู เม่น และผึ้งป่า
สำหรับผักก็เป็นจำพวกถั่ว ลูกไม้และรากไม้ที่ขุดหามาได้
พวกเขาไม่เคยทำไร่ไถนาและไม่เคยปลูกพืชผักใดๆ
อาวุธที่ ผีตองเหลือง ใช้คือหอกด้ามยาวซึ่งใช้แทงเท่านั้น
เพราะเขาพุ่งหอกไม่เป็น กล่าวกันว่าหอกขิงชนกลุ่มนี้ยาวไม่น้อยกว่า ๑๒ ฟุต นอกจากนี้ ผีตองเหลือง ยังมีความชำนาญในการล่าหมูป่า
แม้แต่ชาวมูเซอที่ได้ชื่อว่าเป็นพรานฝีมือฉกาจยังต้องยอมยกให้
ผีตองเหลือง เพราะ เวลาที่ออกล่าหมูป่า พวกเขานี้จะเอาขี้หมู
มาทาตัวก่อน เมื่อเข้าใกล้ฝูงหมูป่า พวกมันจะไม่รู้สึกตัวเลย
จนกระทั่งถูกแทงด้วยหอกในระยะประชิดตัวโดยฝีมือของ ผีตองเหลือง
ชาว ผีตองเหลือง มีความเชื่อคล้ายกับชาวเขาเผ่าอื่นๆ
ซึ่งเกี่ยวกับสิ่งลึกลับ เช่น ภูตผีปีศาจ และวิญญาณต่างๆ
โดยเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้มีอำนาจเหนือวิถีชีวิตของพวกเรา
จึงมีการเส้นบวงสรวงสิ่งต่างๆ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย อนึ่ง
ในคืนวันที่พระจันทร์เต็มดวง ผีตองเหลือง
จะทำพิธีถวายเครื่องเซ่นแก่ผีทั้งหลายที่พวกเขานับถือ
แล้วจะมีงานรื่นเริง พวกเขาจะเต้นรำไปรอบๆ หอกประจำตัว
ของแต่ละคนที่นำมาตั้งรวมกันไว้กลางวง
การเต้นรำของพวกเขาเป็นเพียงการเดินโยกตัวไปมารอบๆ วง
พร้อมกับพลิกมือไปมา ขณะที่โยกตัวก็จะมีการพึมพำเนื้อเพลงไปด้วย
สำหรับเนื้อเพลงก็คล้ายกับเพลงของพวกโยนกโบราณ
คนที่ไม่ร่วมเต้นรำก็จะล้อมวงปรบมือให้จังหวะเมื่อดึกมากเข้า
จึงแยกย้ายกันไปนอนหลับ
นอกจากนี้ ผีตองเหลือง ยัง ได้รับการปลูกฝัง
จากบรรพชนมาเป็นเวลาช้านาน ว่าหากอยู่เป็นหลักแหล่ง
โดยไม่โยกย้ายไปไหน ผีร้ายจะส่งเสือให้มาคร่าทำลายพวกเขา
จึงต้องย้ายที่อยู่เกือบทุก ๕ – ๑๐ วัน
ซึ่งการปฏิบัติตามความเชื่อนี้สอดคล้องกับ
หลักความสมดุลและหลักทางวิชาการ บางประการ
นั่นคือ อาหารที่มีอยู่รอบบริเวณที่พัก ลดน้อยลง
ก็จะย้ายไปหาที่อยู่แห่งใหม่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า
ลักษณะเพิงที่พักของชนเผ่า ผีตองเหลือง คล้าย กับเพิงหมาแหงน
แต่ภายในไม่มีการยกพื้น และปลูกแคร่คร่อมดิน
เหมือนเพลิงหมาแหงนโดยทั่วไป ท้ายเพิงมักจะสูงกว่าหน้าเพิงพัก
ใช้พื้นดินเป็นพื้นเพิงและนำหญ้าฟางแห้งหรือใบตองมาปูบนพื้น
เวลานอนจะไม่หนุนหมอน แต่ตะแคงหูแนบพื้น
เพื่อให้สามารถได้ยินฝีเท้าคนหรือสัตว์ที่เข้ามาใกล้เพิงพักได้
พวกผู้หญิงและเด็กจะอยู่ในกระท่อมที่สร้างบนภูเขาสูง
เมื่อพวกผู้ชายไปล่าสัตว์หาของป่า หรืออาหารได้เพียงพอแล้ว
จึงจะกลับไปหาลูกเมียครั้งหนึ่ง
ด้านสุขนิสัยนั้น ผีตองเหลือง มัก จะขับถ่ายตามสุมทุมพุ่มไม้รอบเพิงพัก
เมื่อเกิดโรคระบาดจึงสามารถแพร่เชื้อได้อย่างรวดเร็ว
การย้ายแหล่งที่อยู่อาศัยไปยังแห่งใหม่จึงช่วยบรรเทาการระบาดของโรคได้
ในการย้ายที่อยู่จะเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ เมื่อพระอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า
และจะหยุดสร้างที่พักก่อนตะวันจะลับฟ้า
ด้วยเกรงว่าจะเกิดอันตรายจากการเดิน ทางและสัตว์ป่าต่าง ๆ
ในกรณีที่สมาชิกคนหนึ่งคนใดเสียชีวิต ญาติพี่น้องจะช่วยกันทำศพ
โดยนำศพไปวางบนแคร่ที่สร้างไว้บนต้นไม้ใหญ่เพื่อป้องกันสัตว์ร้าย
เช่น เสือมาขุดคุ้ยกินศพ เพราะเชื่อว่าถ้าเสือได้กินศพแล้ว
อาจติดใจและจำกลิ่นเนื้อคนได้ ต่อมาพบว่ามีการฝังศพแทน
การทิ้งศพดังกล่าว และภายหลังจากการฝังศพแล้ว
จะโยกย้ายที่อยู่อาศัยทันที ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหนของวันก็ตาม
การสร้างที่พักจึงเป็นแบบเพิงชั่วคราว
เนืองจากมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่บ่อย ๆ นั่นเอง
ธรรมเนียมอย่างหนึ่งของ ผีตองเหลือง คือ ชายหญิงทุกคน
ต้องเจาะหูทั้งสองข้างตั้งแต่เด็ก
รูหูที่เจาะมีขนาดประมาณ 0. ๕ - ๑ . ๐ เซนติเมตร
โดยใช้ไม้ไผ่เหลากลมปลายแหลมแทงลงไปบนเนื้ออ่อนบริเวณติ่งหู
สมัยก่อนมักจะนำดอกไม้มาเสียบไว้ในรูหูเพื่อเป็นการประดับร่างกาย
แต่ในปัจจุบันเมื่อติดต่อกับชนเผ่าอื่น ๆ เช่น ม้งหรือเย้า
ทำให้ธรรมเนียมนี้ลดความนิยมลงไป แต่ก็ยังมีปรากฏให้เห็นบ้างประปราย
ในจำนวนชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ผีตองเหลืองชอบติดต่อแลกเปลี่ยนของป่า
กับพวกแม้วและมูเซอเท่านั้น สำหรับชาวเขาเผ่าอื่นนั้น
พวกเขาจะไม่กล้าเข้าไปหา เคยมีเรื่องเล่าว่ามีชาวเขาเผ่าอื่น
ที่ไม่รู้จักผีตองเหลือง เมื่อเห็นพวกเขาเข้าไปในถิ่นของตนจึงยิงเอา
อนึ่ง ชาวเขาหลายเผ่าเชื่อว่าพวกผีตองเหลืองเป็น “ ผี ” จริง ๆ ไม่ใช่คน
และเชื่อว่าผีเหล่านี้จะนำความหายนะมาสู่ตน
ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ติดต่อกับผีตองเหลือง ทว่า
ผีตองเหลืองสามารถอาศัยอยู่ใกล้ ๆ กับหมู่บ้านของชาวเขากลุ่มนั้น
โดยที่พวกเขาไม่มีโอกาสรู้เลย
ปัจจุบันนี้ ประมาณกันว่าจำนวนของผีตองเหลืองในประเทศไทย
มีไม่เกิน ๑๕๐ คน จึงนับว่าพวกเขาเป็นชนกลุ่มน้อย
ที่มีจำนวนน้อยที่สุดในประเทศไทย
ภาพถ่ายลุงบุญเสริม จาก สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Search