✒พินัยกรรม เป็นหัวข้อที่ ทนายวิรัช ได้รับมอบหมายให้บรรยายมากที่สุด สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ คือ พินัยกรรมนั้น สามี หรือ ภริยา มีสิทธิเขียนยกสินสมรสให้กับชู้ของตนเองได้ แต่ไม่อาจยกในส่วนที่เกินสิทธิของตนเช่นมีสินสมรส 100 บาท เขียนได้แค่ 50 บาท #ผู้จัดการมรดก tanaiwirat.com
「พินัยกรรม คือ」的推薦目錄:
- 關於พินัยกรรม คือ 在 tanaiwirat.com ทนายวิรัช Facebook 的最佳貼文
- 關於พินัยกรรม คือ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最讚貼文
- 關於พินัยกรรม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於พินัยกรรม คือ 在 รู้หรือไม่!! "พินัยกรรม" ไม่ใช่เศรษฐีไม่ต้องแก่ก็ทำได้ อะไรที่สำคัญบ้าง 的評價
- 關於พินัยกรรม คือ 在 พินัยกรรม ทำไมต้องทำพินัยกรรมแล้วพินัยกรรมมีกี่ประเภทและควร... 的評價
พินัยกรรม คือ 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最讚貼文
เขาว่ากันว่า “คนที่โชคดีที่สุด” ไม่ต้องดิ้นรนหาหรือสร้างใหม่ด้วยตัวเอง คือคนที่ครอบครัวปูทางสร้างธุรกิจไว้ให้สืบทอดต่อในอนาคต หรือที่เรียกว่า “ธุรกิจกงสี” แต่รู้หรือไม่ว่าเรื่องจริง ไม่ได้ราบรื่นสวยงามอย่างที่หลายคนคิด เพราะการสร้างขึ้นว่ายากแล้ว แต่การรักษาให้คงอยู่ต่อไปนั้นยากกว่ามาก ทำให้ทายาทหลายๆ คน มักรู้สึกกดดัน และกลัวว่าจะทำได้ไม่ดีเหมือนดั่งที่รุ่นปู่ รุ่นพ่อสร้างไว้
.
ประกอบกับมีคำที่เราเคยได้ยินกันบ่อยว่า ธุรกิจกงสี คือธุรกิจที่ถูกสร้างและเริ่มประสบความสำเร็จในรุ่นแรก มั่นคงในรุ่นที่สอง และมักล้มเหลวในรุ่นที่สาม ซึ่งสอดคล้องกับสถิติ ของเครดิตสวิส ที่ว่า ผลประกอบการธุรกิจครอบครัวในรุ่นแรกและรุ่นที่สอง จะสามารถสร้างมูลค่ากิจการให้เติบโตประมาณปีละ 9% แต่เมื่อธุรกิจตกไปอยู่ในมือของทายาทรุ่นที่สาม ตัวเลขจะลดลงมาอยู่ที่ปีละ 6.5% จึงนับว่าเป็นโจทย์ยากสำหรับทายาทรุ่นที่สาม ที่ต้องรับไม้ต่อดูแลธุรกิจให้อยู่รอด เติบโต ไม่ล้มเหลว และสามารถส่งไม้ต่อให้กับทายาทในรุ่นต่อๆ ไปได้
.
❗️ หากถามว่า ธุรกิจกงสีส่วนใหญ่ ทำไมถึงก้าวต่อไปได้ไม่เกินรุ่นที่สาม ?
.
1. ขาดการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างสมาชิกในครอบครัว
2. ขาดการวางแผนการสืบทอดกิจการ และการเลือกสมาชิกในครอบครัวขึ้นมาเป็นทายาทผู้สืบทอดคนต่อไป ทำให้เกิดการแก่งแย่งช่วงชิงผลประโยชน์
3. ขาดการวางแผนกลยุทธ์ทั้งในด้านการบริหารธุรกิจและบริหารการเงิน
4. ขาดเอกสารทางกฎหมายที่สำคัญและอาจมีผลกระทบต่อธุรกิจในช่วงรอยต่อของการสืบทอดกิจการ เช่น พินัยกรรม ธรรมนูญครอบครัว สัญญาระหว่างผู้ถือหุ้น เป็นต้น
5. ไม่มีมืออาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ที่จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและการเติบโตให้ธุรกิจในทุกๆ ยุคสมัย
6. รุ่นที่สามเป็นรุ่นที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้าน ทั้งจากกระแส Digital Disruption และระบบเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีผลกระทบต่อธุรกิจที่ยังคงมีโครงสร้างการบริหารแบบเดิมๆ ที่ยังไม่เอื้อต่อการธุรกิจให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
.
✅ แล้วรุ่นที่สาม รวมถึงรุ่นหลังๆ จะต้องปรับตัวเพื่อเตรียมรับไม้ต่ออย่างไรให้ธุรกิจอยู่รอดและไม่ล้มในรุ่นตัวเอง
.
1.ไม่ทิ้งสิ่งเก่าที่ปู่สร้าง แต่นำมาพัฒนาต่อยอดสู่ “สิ่งใหม่” ที่ตอบโจทย์มากกว่าเดิม
แม้ธุรกิจที่มีอยู่นั้นจะดีอยู่แล้ว แต่เพราะการเปลี่ยนแปลงที่มีอยู่ตลอดเวลา การจะขายแต่สิ่งเก่าๆ เดิมๆ อาจไม่ตอบโจทย์สำหรับตลาดและผู้บริโภคทุกคนเสมอไป ดังนั้น จึงต้องมีการปรับตัวเพื่อก้าวสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่าเดิม เช่น นำเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ในธุรกิจเพิ่มขึ้น, ปรับเปลี่ยนแพ็กเกจจิงของสินค้าให้ทันสมัย, พัฒนาสินค้าเดิมให้มีความหลากหลาย รวมถึงดึงคนรุ่นใหม่ไฟแรง ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมงานด้วย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ก็ไม่ควรทิ้งสิ่งเดิมที่ดีอยู่แล้ว ทั้งสินค้า บริการ หรือกระทั่งพนักงานคนเก่าแก่ของบริษัทเพื่อรักษาสมดุลการทำงานและความสัมพันธ์ของคนในบริษัท
.
2.สร้างธรรมนูญครอบครัวที่ดี แลกเปลี่ยนสื่อสารข้อมูลระหว่างคนในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ
ขึ้นชื่อว่า ”ธุรกิจกงสี หรือ ธุรกิจครอบครัว” สิ่งสำคัญ ไม่ควรลืมคือ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้บริหาร ประธานบริษัท แต่ก็ไม่ควรนำตำแหน่งหน้าที่ อำนาจ มาใช้ในครอบครัวจนเกินไป แต่ควรสร้างธรรมนูญครอบครัวที่ดี วางรากฐานให้กับระบบธุรกิจและความสัมพันธ์ในครอบครัว ตำแหน่งหน้าที่ ข้อตกลง รวมถึงควรสื่อสารกับคนในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีความคิดเห็นที่เป็นในทิศทางเดียวกัน และไม่เกิดความขัดแย้งในภายหลัง
.
3.เรียนรู้จากความสำเร็จและความล้มเหลวของคนเก่งมากประสบการณ์ มากความสามารถ เช่น คุณปู่ ผู้สร้างธุรกิจจนเติบโต
จะลองผิดลองถูกด้วยตัวเองอย่างเดียวไปทำไม เพราะสิ่งที่ดีที่สุด ที่จะทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเองและเข้าใจในเนื้องานมากขึ้น คือ การเรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์ตรงในด้านนั้นๆ รู้และเข้าใจมันเป็นอย่างดี พาตัวเองให้ไปอยู่ในที่ ๆ มีคนเก่ง ร่วมพูดคุย แชร์ไอเดียกับกูรู โดยต้องไม่มองแค่ความสำเร็จของเขาเท่านั้น แต่ต้องมองในมุมที่เขาเคยประสบปัญหา เคยล้มเหลว ว่าสาเหตุคืออะไร แล้วทำอย่างไรถึงสามารถแก้ปัญหาและก้าวเดินต่อมาได้
.
4.แยกเงินองค์กรออกจากเงินครอบครัว แบ่งสันปันส่วนความเป็นเจ้าของอย่างชัดเจนตามความเหมาะสม
หลายครั้งที่เราเห็นว่า ธุรกิจครอบครัว มักมีเรื่องของการแก่งแย่งชิงผลประโยชน์กัน นั่นเป็นเพราะ ยังไม่มีความชัดเจนในส่วนของความเป็นเจ้าของในด้านต่างๆ ของธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องการเงิน ดังนั้น ควรแยกกระเป๋าเงินของธุรกิจออกจากกระเป๋าเงินของครอบครัว แยกบัญชีของบริษัท ที่ประกอบด้วยรายได้ ค่าใช้จ่าย หักลบกลบหนี้เหลือเท่าไหร่ ก็แบ่งสันปันส่วนให้แต่ละคนเป็นการส่วนตัว หรืออาจเป็นการให้ในรูปแบบของเงินเดือน ซึ่งก็มีทั้งในรูปแบบของคนที่ทำงานกับคนที่ถือหุ้น ครอบครัวจึงต้องมีการปรึกษาหารือเพื่อหาตรงกลางร่วมกันก่อน
.
5.วางแผนผังองค์กรให้ชัดเจน
ไม่ว่าธุรกิจครอบครัวจะขนาดใหญ่หรือเล็ก ควรวางแผนผังองค์กรให้ชัดเจน สมเหตุสมผล ว่าใครดำรงตำแหน่งอะไร ใครเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา มีหน้าที่ทำอะไร กำหนดกฎเกณฑ์ ข้อควรปฏิบัติ จะช่วยกำจัดความขัดแย้งไม่ให้เกิดขึ้นในองค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้เป็นอย่างดี ซึ่งถ้ามีการปรับเปลี่ยนทายาท ผู้สืบทอด ไม่ว่ารุ่นไหน จากรุ่นสองสู่รุ่นสาม หรือรุ่นสามส่งต่อไปรุ่นสี่ ก็ควรพูดคุยร่วมกันทุกครั้ง
.
อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทย นับว่าเป็นประเทศที่มีการดำเนินธุรกิจครอบครัว ติดอันดับ 8 ของโลกและอันดับ 7 ของเอเชียแปซิฟิค ด้วยมูลค่ารวมถึง 5.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.56 แสนล้านบาท รวมถึงตลาดผู้บริโภคที่มีศักยภาพด้วยจำนวนประชากรกว่า 65 ล้านคน ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งของอาเซียน มีโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ก็นับว่าธุรกิจกงสีในรุ่นที่สามยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก
.
แต่ก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย เพราะสิ่งที่ยากที่สุดสำหรับการทำธุรกิจในรูปแบบกงสี คือ ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจ โดยเฉพาะนายใหญ่รุ่นหนึ่งผู้สร้างธุรกิจและสมาชิกในครอบครัว เพราะหากคนในครอบครัวเกิดความขัดแย้ง มีความเข้าใจไม่ตรงกัน ไม่สามัคคี ก็อาจส่งกระทบต่อความสั่นคลอนของทั้งธุรกิจและความสัมพันธ์ในครอบครัวได้ จะทำเห็นว่าการเป็นทายาทธุรกิจแม้จะมาพร้อมกับความภาคภูมิใจ แต่ก็มาพร้อมกับภาระหน้าที่ และแรงกดดันที่แทบรับไม่ไหว
.
ดังนั้น หากรู้ตัวว่า ครอบครัวหรือตระกูลของคุณ มีธุรกิจแบบกงสี และอีกไม่นานคุณจะต้องรับไม้ต่อดูแลกิจการเป็นรุ่นที่สาม ควรเตรียมความพร้อม รีบวางแผนจัดการ ทำความรู้จักธุรกิจตัวเองให้ดี รวมถึงเรียนรู้งานจากรุ่นแรกและรุ่นที่สองให้มากๆ รับรองว่าธุรกิจของคุณจะประสบความสำเร็จ มั่นคง และเติบโต อย่าว่าแต่รุ่นที่สามเลย อาจจะดำเนินไปได้ไกลถึงรุ่นที่ 4, 5, 6,...
.
ที่มา : https://forbesthailand.com/commentaries/insights/%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B0.html
https://techsauce.co/tech-and-biz/how-to-manage-family-business
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS #อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan #ธุรกิจกงสี #กงสี #ธุรกิจครอบครัว #familybusiness #ทายาทรุ่นที่สาม #ทายาท #กิจการครอบครัว #Business
พินัยกรรม คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
“เครื่องมือการก่อตั้งนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชน : นิติกรรมทางแพ่ง”
(หมายเหตุข้อมูลส่วนหนึ่ง ในตำรา หลักคิดทั่วไปในทางกฎหมายมหาชน)
การที่จะเข้าใจหลักคิดทั่วไปในทางกฎหมายมหาชนเกี่ยวกับนิติวิธีกฎหมายมหาชน เกี่ยวกับการก่อตั้งนิติสัมพันธ์กฎหมายมหาชน จำเป็นต้องทำความเข้าใจในหลักคิดการเข้าใจการก่อตั้งนิติสัมพันธ์ตามหลักกฎหมายเอกชน ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร
วันนี้ขออธิบายเครื่องมือการก่อตั้งนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชน คือ นิติกรรมทางแพ่ง
การแสดงเจตนาของบุคคลในการก่อนิติสัมพันธ์ตามกฎหมายเอกชนของประเทศไทยได้วางหลักไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149 คือ “นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อ การผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ” มีข้อพิจารณาดังนี้
1. การกระทำแสดงเจตนาในการก่อนิติสัมพันธ์ หมายความถึง การกระทำอันแสดงเจตนาที่จะผูกนิติสัมพันธ์ การใช้นิติกรรมเป็นเครื่องมือสร้างผลในกฎหมาย จึงกำหนดว่าจะต้องได้กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นโดยกิริยาวาจาหรือคำพูดขีดเขียนไว้ ซึ่งหากเพียงแต่นิ่งคิดไว้ในใจ ไม่อาจเป็นนิติกรรมได้ เช่น หากต้องการทำพินัยกรรมก็ต้องขีดเขียนจัดทำขึ้นเป็นเครื่องหมายแสดงถึงเจตนา หรือหากกรณีต้องการทำสัญญาก็ต้องแสดงเจตนาทำคำเสนอคำสนองขึ้นระหว่างกัน เป็นต้น
ดังนั้น คำว่า “กระทำ” มีความหมายได้กว้าง ซึ่งการแสดงเจตนาทำนิติกรรม หมายความรวมถึงการกระทำอย่างอื่นใดที่ทำลงพอจะเป็นเครื่องหมายแสดงเจตนาได้ ก็นับว่าเป็นการแสดงเจตนา ทำนิติกรรมได้เช่นกัน โดยปกติการทำนิติกรรมย่อมกระทำลงด้วยกิริยาวาจาหรือด้วยลายลักษณ์อักษร เป็นการแสดงออกถึงเจตนาอย่างใดอย่างหนึ่ง การนิ่งหรืองดเว้นไม่กระทำ ไม่ถือเป็นการแสดงเจตนา ทำนิติกรรม แต่การนิ่งในพฤติการณ์พิเศษบางอย่างที่ควรจะบอกกล่าวออกมา อาจถือว่าเป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมได้ เช่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 570 “เมื่อสิ้นกำหนดเวลาเช่าซึ่งได้ตกลงกันไว้นั้นถ้าผู้เช่ายังคงครองทรัพย์สินอยู่ และผู้ให้เช่ารู้ความนั้นแล้ว ไม่ทักท้วง ให้ถือว่าคู่สัญญาเป็นอันได้ทำสัญญาใหม่ต่อไปไม่มีกำหนดเวลา”
2. การกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่บุคคลได้กระทำลงต้องเป็นการที่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อความนี้แสดงถึงขอบเขตจำกัดในความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา โดยปกติเมื่อแสดงเจตนาออกมา ต้องการผลในกฎหมายอย่างไร ก็เกิดผลในกฎหมายขึ้นได้อย่างนั้น แต่ถ้าผลที่ต้องการนั้น ต้องด้วยข้อจำกัด ข้อห้ามของกฎหมาย แม้จะมีเจตนาตั้งใจก็เกิดผลฝ่าฝืนต่อข้อจำกัดข้อห้ามของกฎหมายนั้นไม่ได้ คือ เข้าหลักที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างย่อมบันดาลให้เป็นไปได้ตามความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนาเว้นไว้แต่ที่กฎหมายห้าม ซึ่งข้อนี้เป็นหลักขัดขวางเจตนา
การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย มีหลายประการแต่สรุปหลักสำคัญทั่วๆ ไปว่า ถ้าการกระทำใด ขัดต่อประโยชน์ส่วนได้เสียของประชาชนโดยตรงหรือโดยอ้อม การกระทำนั้นย่อมนับได้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ข้อป้องกันประโยชน์ส่วนได้เสียของประชาชนนั้น อาจเกิดจากนโยบายหลายอย่างต่างกันซึ่งอาจเป็นเรื่องที่กฎหมายวางขอบเขตไว้เพื่อประสงค์จะรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรืออาจเป็นเรื่องกำหนดให้ต้องทำนิติกรรมตามแบบ เป็นหลักฐานปรากฏแน่นอน เพื่อป้องกันประโยชน์ส่วนได้เสียของประชาชนคนภายนอกที่มิได้รู้เห็นเกี่ยวข้องในการทำนิติกรรมนั้นด้วย หรืออาจเป็นความประสงค์ที่จะป้องกันผู้หย่อนความสามารถในวัยวุฒิ สติปัญญา ความคิดรอบคอบ มิให้ต้องเสียเปรียบตกเป็นเหยื่อของคนอื่น ดังนั้นการกระทำใดๆ ที่ทำไปโดยฝ่าฝืนขัดต่อประโยชน์ส่วนได้เสียของประชาชนดังกล่าวมานี้ แม้จะได้ทำลงโดยมีเจตนามุ่งผลในกฎหมายสักเพียงใด ก็ไม่อาจเกิดผลขึ้นได้ หรือแม้จะเกิดผลขึ้นได้ก็อาจถูกยกเลิกเพิกถอนสิ้นผลไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
3. การก่อนิติสัมพันธ์ต้องกระทำด้วยใจสมัคร โดยในเบื้องต้นต้องประกอบด้วยสิ่งสำคัญ คือ เจตนาความสมัครใจ ถ้าไม่มีเจตนา การที่ได้ทำไปจะเรียกว่า “เป็นกรรมของผู้กระทำ” ไม่ได้ การทำนิติกรรมเป็นการใช้เครื่องมือที่กฎหมายเอกชนได้มอบให้แก่บุคคลเพื่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ทางกฎหมาย สำหรับการสร้างนิติสัมพันธ์ต้องเป็นไปตามเจตนา เมื่อไม่มีเจตนาความต้องการสร้างนิติสัมพันธ์ในทางกฎหมาย ก็ไม่ควรที่จะให้กฎหมายรับรองคุ้มครองให้ เช่น กรณีคนเพ้อคลั่งเพราะพิษไข้หรือเด็กไม่รู้เดียงสาทำการใดไปจะเรียกว่า “มีเจตนาความสมัครใจทำการ” นั้นหาได้ไม่ เช่นเดียวกับเรื่องสำคัญผิดในข้อสาระสำคัญของนิติกรรม คือ เจตนากับเรื่องที่เป็นอยู่ไม่ตรงกัน จึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่า แต่ถึงแม้จะมีเจตนาความสมัครใจก็ตาม ถ้าความสมัครใจนั้นเกิดขึ้นโดยถูกกลฉ้อฉล หรือบังคับข่มขู่ ซึ่งโดยปกติหากไม่ตกอยู่ในบังคับเช่นนั้น บุคคลจะไม่สมัครใจทำนิติกรรม นิติกรรมที่ทำไปเช่นนั้นแม้จะสมบูรณ์ ก็ยังอาจบอกล้างเสียได้ ตกเป็นอันไร้ผลเช่นเดียวกัน ข้อนี้เกี่ยวกับหลักควบคุมเจตนา เพื่อที่จะได้เจตนาแท้จริงไม่มีข้อบกพร่องให้ผิดไปจากเจตนาแท้จริงมาบังคับ
4. การก่อนิติสัมพันธ์เป็นการกระทำที่มุ่งสร้างนิติสัมพันธ์ในทางกฎหมายต้องเป็น การกระที่ทำไปนั้นต้องมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์จะต้องไม่เป็นการกระทำที่บุคคลทำไปอาจไม่มุ่งต่อการผูกนิติสัมพันธ์ เช่น เรื่อง “เจตนาซ่อนเร้น” (Deliberately Hidden) คือ การที่บุคคลแสดงเจตนาออกมาโดยในใจจริงมิได้ตั้งใจจะผูกพันตามนั้น หรือเรื่องเจตนาลวงและนิติกรรมอำพราง “เจตนาลวง” (Intent to Deceive) คือ การที่บุคคล 2 ฝ่ายมาทำเป็นแสดงเจตนาต่อกัน โดยรู้กันดีว่าไม่ต้องการให้มี ความผูกพันกันเลย หรือ “นิติกรรมอำพราง” (Legal Camouflage) คือ ความผูกพันตามจริงมีอยู่อย่างหนึ่ง กลับแสดงเจตนาเป็นอีกอย่างหนึ่งปกปิดไว้ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่มุ่งผลในกฎหมาย และไม่มีความสมัครใจจะผูกพันตามนั้นเหมือนกัน จะเห็นได้ว่า การใดที่มุ่งผลในกฎหมายนั้นเป็นการมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ที่ผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมจะต้องมีความตั้งใจที่จะให้มีผลผูกพันในกฎหมายอย่างแท้จริง ดังนั้นกรณีการพูดล้อเล่น หรือการแสดงเจตนาใด ๆ ที่เป็นการปฏิบัติต่อกันทางสังคมหรืออัธยาศัยไมตรีต่อกัน ที่มิได้มุ่งให้มีผลในทางกฎหมาย การแสดงเจตนาดังกล่าวนี้ ย่อมไม่ก่อให้เกิดนิติกรรมแต่อย่างใด
5. การกระทำที่มุ่งผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล คำว่า “บุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ซึ่งมีฐานะเท่าเทียมกันตามหลักความเสมอภาคอันเป็นสาระสำคัญของกฎหมายเอกชน โดยอาจทำเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียว คือ การที่บุคคลหนึ่งฝ่ายเดียวผูกมัดตนเองเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น เช่น พินัยกรรม การให้คำมั่นจะให้รางวัล คำมั่นจะขาย ปลดหนี้ การเลิกสัญญา หรือการทำนิติกรรมหลายฝ่าย คือ มีฝ่ายหนึ่งทำคำเสนอและอีกฝ่ายทำคำสนอง เมื่อคำเสนอคำสนองถูกต้องตรงกัน จึงเกิดนิติกรรม 2 ฝ่ายขึ้นไป หรือเรียกอีกอย่างว่า “สัญญา” (Contract) เช่น สัญญา แต่ละลักษณะตามบรรพ 3 เอกเทศสัญญา แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่สาระสำคัญตามมาตรา 149 นี้เพื่อจำกัดความหมายให้นิติกรรมเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มิใช่หมายถึงความผูกพันระหว่างบุคคลกับสัตว์หรือวัตถุอื่น ที่ไม่อาจมีสิทธิหน้าที่อย่างใดได้ตามกฎหมาย เช่น กรณีการครอบครองปรปักษ์ แม้เป็นการกระทำที่สร้างนิติสัมพันธ์ในทางกฎหมาย และผลในกฎหมายก็เกิดขึ้น คือ เกิดสิทธิแก่บุคคลที่เข้าครอบครองนั้น แต่การกระทำเช่นนั้นหาเป็นนิติกรรมไม่ เพราะเป็นการมุ่งไปในทางที่จะยึดถือใช้อำนาจในทรัพย์ เมื่อไม่ได้ตั้งใจโดยตรงที่จะผูกนิติสัมพันธ์ให้เกิดสิทธิหน้าที่ขึ้นในระหว่างบุคคล การที่ทำไปจึงไม่ใช่นิติกรรม เป็นต้น
6. การสร้างนิติสัมพันธ์เป็นการกระทำที่เป็นการเคลื่อนไหวในสิทธิการก่อสิทธิเหนือบุคคล คือ “บุคคลสิทธิ” หรือเรียกว่า “สิทธิเรียกร้องหนี้” หมายถึง การที่บุคคลฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกร้องต่อบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยทั่วไปการก่อสิทธิเหนือบุคคลหรือบุคคลสิทธินี้ ย่อมอยู่ในอำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนาที่จะทำนิติกรรมเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการได้ โดยจะกำหนดให้มีลักษณะอย่างใดก็สามารถกำหนดภายในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้เพราะเป็นการผูกพันกันระหว่างบุคคลโดยจำกัดแน่นอนเป็นเวลาชั่วคราว และโดยมากเป็นไปโดยสมัครใจที่จะให้เกิดความผูกพันกันโดยลักษณะสิทธิและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ ถ้าเป็นการก่อตั้งกำหนดลักษณะของ “ทรัพยสิทธิ” ซึ่งเป็นสิทธิเหนือทรัพย์สินที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งทรัพย์สิทธินั้นเป็นสิทธิที่มีอำนาจมากกว่าบุคคลสิทธิเพราะผูกพันโดยไม่มีกำหนดเวลาและไม่ต้องอาศัยเจตนาความสมัครใจของผู้ที่จะถูกบังคับ อำนาจที่จะก่อตั้งกำหนดลักษณะของ “ทรัพยสิทธิ” จึงตกอยู่แก่กฎหมาย การก่อความเคลื่อนไหวในสิทธิย่อมเป็นไปตามเจตนาของบุคคล โดยจะเป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือบุคคลไม่จำกัดลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญาหรือนอกบรรพ 3 ดังกล่าวก็ได้ หรือจะเป็นการก่อให้เกิดทรัพยสิทธิหรือสิทธิอื่นในทางแพ่งตามที่กฎหมายรับรอง เช่น ทำสัญญาซื้อขาย สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาให้ ให้ได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ หรือก่อให้เกิดภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิในกฎหมายครอบครัว และมรดก เป็นต้น
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงลักษณะความเคลื่อนไหวในสิทธิ อาจจำแนกได้ 5 ประการ คือ ก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ ระงับสิทธิ กระทำได้โดยอาศัยอำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนาที่แสดงออกโดยนิติกรรม และต้องมุ่งหมายโดยตรงต่อการสร้างนิติสัมพันธ์ เห็นได้ว่านิติกรรมเป็นเครื่องมือก่อความเคลื่อนไหวในสิทธิได้หลายประการ นิติกรรมมีความหมายกว้างกว่า “สัญญา” (Contract) ซึ่งเป็นมูลก่อให้เกิดสิทธิเท่านั้น นิติกรรมเป็นเครื่องมือในการสร้างนิติสัมพันธ์ในทางกฎหมายได้มากกว่านั้น โดยจะใช้เป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิด้วยก็ได้ย่อมกล่าวได้ว่า “นิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ในกฎหมายได้ตามเจตนา”
พินัยกรรม คือ 在 พินัยกรรม ทำไมต้องทำพินัยกรรมแล้วพินัยกรรมมีกี่ประเภทและควร... 的推薦與評價
พินัยกรรมคือ อะไร พินัยกรรม คือ คำสั่งครั้งสุดท้าย ซึ่งแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือ กิจการต่าง ๆของผู้ ... ... <看更多>
พินัยกรรม คือ 在 รู้หรือไม่!! "พินัยกรรม" ไม่ใช่เศรษฐีไม่ต้องแก่ก็ทำได้ อะไรที่สำคัญบ้าง 的推薦與評價
... “ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน” เมื่อเราไม่รู้ว่าวันสุดท้ายในชีวิตจะอีกนานแค่ไหน การวางแผนการเงินอย่าง “การทำ พินัยกรรม ” ... ... <看更多>