สาย PA ต้อง ห้ามพลาดดดดด ‼
#พิมพ์ครั้งที่8 แว้ววววว
ไม่มีไม่ได้แล้วววว
.
.
ทักมารับ Bonus ได้ที่นี่
📌 https://www.facebook.com/TRADERatHOME/posts/2399213300299745
.
.
-----------------------------------------------------------
ผมจะแบ่งปัน ความรู้ที่มี ให้ทุกคนอยู่รอด
เพื่อประหยัด ค่าครูในตลาดให้กับเพื่อน ๆ
-----------------------------------------------------------
#แล้วกลับบ้านเกิด 🏡 #ไปดูแลพ่อแม่
#คนที่เรารัก 👪 #ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
#สุขสำเร็จ #สุขที่สร้างสุข
เป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ
.
.
นึก #traderathome 🏡
https://bit.ly/YoutubeTraderathome 📹
www.itraderathome.com
พิมพ์ครั้งที่8 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง เทคโนโลยีทางการแพทย์ ? / โดย ลงทุนแมน
ปี 2020 เรามีวัคซีนป้องกันโรคระบาดที่ใช้เวลาคิดค้นรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์
ด้วยเทคโนโลยี mRNA ที่ไม่เคยใช้กับวัคซีนที่วางจำหน่ายตัวไหนมาก่อน
และด้วยเทคโนโลยีเดียวกันนี้เอง กำลังได้รับการพัฒนาให้สามารถนำไปรักษาโรคเรื้อรังอื่นๆ โดยเฉพาะโรคมะเร็ง และโรคหัวใจ
เวลานี้ ความหวังแห่งอนาคตถูกจับจ้องไปยังสิ่งที่เรียกว่า “ไบโอเทคโนโลยี”..
ไบโอเทคโนโลยี หรือ เทคโนโลยีชีวภาพ
คือ เทคโนโลยีที่นำเอาสิ่งมีชีวิต, ชิ้นส่วนของสิ่งมีชีวิต, ผลผลิตของสิ่งมีชีวิต มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร อาหาร เครื่องสำอาง
โดยเฉพาะในทางการแพทย์ ไบโอเทคโนโลยีคือพื้นฐานของการผลิตวัคซีนป้องกันโรค
การใช้ฮอร์โมนในการรักษาโรคเรื้อรัง ไปจนถึงการใช้ยีนในการรักษาโรคทางพันธุกรรม
และสำหรับประเทศที่เป็นผู้นำในด้านนี้ ไม่มีประเทศไหนที่จะโดดเด่นไปกว่า
“สหรัฐอเมริกา” อีกแล้ว
จากประเทศที่เพิ่งก่อตั้งในช่วงปลายศตวรรษที่ 18
สหรัฐอเมริกา ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำโลกแห่งเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้อย่างไร?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สหรัฐอเมริกา จึงเป็นประเทศแห่ง เทคโนโลยีทางการแพทย์ ?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
คนทั้งโลกรู้ว่าศูนย์กลางของบริษัทเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่ซิลิคอนแวลลีย์
ศูนย์กลางธุรกรรมการเงิน ตั้งอยู่ที่นครนิวยอร์ก
ส่วนศูนย์กลางอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และสื่อบันเทิง ตั้งอยู่ที่ลอสแอนเจลิส
แล้วศูนย์กลางของอุตสาหกรรมไบโอเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่ไหน ?
ถึงแม้สหรัฐอเมริกาจะมีบริษัทยา และบริษัทไบโอเทคตั้งอยู่ในเมืองน้อยใหญ่กระจายทั่วประเทศ แต่สำหรับศูนย์กลางที่น่าสนใจที่สุด เวลานี้คงไม่มีที่ไหนจะโดดเด่นไปกว่า
“รัฐแมสซาชูเซตส์” ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ อีกแล้ว
หลายคนอาจจะไม่คุ้นเคยกับชื่อรัฐนี้ แต่หากบอกว่ารัฐแห่งนี้เป็นที่ตั้งของเมืองบอสตัน
และเคมบริดจ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานศึกษาชั้นนำของโลก อย่าง MIT และ Harvard University
ก็คงพอจะเข้าใจได้ไม่ยาก
แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงรัฐแมสซาชูเซตส์ ลงทุนแมนขอพาทุกท่านย้อนไปยังจุดเริ่มต้น
ของอุตสาหกรรมยาในสหรัฐอเมริกากันสักนิด
ในปลายศตวรรษที่ 19 สหรัฐอเมริกาเริ่มปฏิวัติอุตสาหกรรมช้ากว่าหลายประเทศในยุโรป แต่สามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในโลกอุตสาหกรรมได้ ด้วยคุณสมบัติสำคัญ คือ การผลิตในปริมาณมาก หรือ Mass Production
ความเชี่ยวชาญในด้านการผลิต ค่อยๆ ถูกต่อยอดมาสู่อุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์
แต่สำหรับอุตสาหกรรมยา สหรัฐอเมริกายังตามหลังประเทศในยุโรปพอสมควร
โดยเฉพาะอังกฤษ และเยอรมนี
จุดเปลี่ยนสำคัญก็คือ ปี ค.ศ. 1941 ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาของสงครามโลกครั้งที่สอง
ในขณะที่ประเทศในยุโรปต่างบอบช้ำจากสงคราม สหรัฐอเมริกาที่อุตสาหกรรมก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ กลับแทบไม่ได้รับความเสียหาย ทั้งยังได้ประโยชน์จากการขายสินค้าให้กับประเทศในยุโรป ที่มัวแต่วุ่นวายอยู่กับสงคราม
และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ นักวิทยาศาสตร์เก่งๆ โดยเฉพาะชาวยิวจากทั่วยุโรป
ที่อพยพหนีการสังหารล้างเผ่าพันธุ์ของนาซี ได้อพยพเข้าไปอาศัยในสหรัฐอเมริกา
และช่วยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการแพทย์ เคมี และยาของสหรัฐฯให้แข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ
สหรัฐอเมริกายังมีมูลนิธิที่ให้การสนับสนุนการวิจัยด้านการแพทย์
ซึ่งหนึ่งในมูลนิธิที่ใหญ่ที่สุดก็คือ Rockefeller Foundation
ซึ่งก่อตั้งโดยมหาเศรษฐีน้ำมัน John D. Rockefeller
มูลนิธินี้ได้ให้การช่วยเหลืองานวิจัยด้านการแพทย์มากมาย หนึ่งในงานวิจัยที่สำคัญคือ
การพัฒนายา Penicillin ให้สามารถผลิตได้ในระดับอุตสาหกรรม
Penicillin เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียตัวแรกของโลกที่ค้นพบโดยคุณหมอชาวอังกฤษ
แต่ถูกนำมาผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่สหรัฐอเมริกา
จากยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ถูกต่อยอดมาเป็นการพัฒนายารักษาโรคต่างๆ
และทำให้อุตสาหกรรมยาของสหรัฐอเมริกาเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของงานวิจัยด้านไบโอเทคโนโลยีทางการแพทย์
คือ การค้นพบโครงสร้างของ DNA โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ
DNA คือ สารพันธุกรรม ที่มีหน้าที่เก็บยีน หรือข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต
การศึกษาด้าน DNA สามารถต่อยอดไปสู่การวินิจฉัยโรค การรักษาโรค
การผลิตวัคซีนเพื่อป้องกันโรคต่างๆ
งานวิจัยด้าน DNA ได้รับความสนใจไปทั่วโลก และก็เป็นสหรัฐอเมริกาอีกเช่นกัน
ที่เป็นประเทศแรกๆ ที่ให้การสนับสนุนการวิจัยด้าน DNA และอนุญาตให้มีการทดลองด้าน DNA อย่างจริงจัง ในช่วงทศวรรษ 1970s
โดยหนึ่งในผู้ให้การสนับสนุนที่สำคัญของการทดลองด้าน DNA
คือสภาของเมืองเคมบริดจ์ ในรัฐแมสซาชูเซตส์
ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น เขตเมืองบอสตัน-เคมบริดส์ ในรัฐแมสซาชูเซตส์ เป็นเขตที่ตั้งของสถาบันอุดมศึกษากว่า 122 แห่ง โดยมีมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้ง Harvard University, MIT หรือ Massachusetts Institute of Technology, Boston University, Tufts University และมหาวิทยาลัยระดับโลกอีกมากมาย
การสนับสนุนของสภาเมืองเคมบริดจ์ จึงเป็นเหมือนประตูที่เปิดโอกาสสู่โลกของการวิจัยด้านไบโอเทคโนโลยีทางการแพทย์อย่างจริงจัง
ทำให้เกิดการจัดตั้งบริษัทไบโอเทคที่ต่อยอดจากงานวิจัยในห้องทดลอง มาสู่ภาคธุรกิจจริง
Biogen ก่อตั้งในปี 1978
เป็นบริษัทที่เน้นการวิจัยด้านพันธุวิศวกรรม ต่อยอดมาสู่ยาชีวภาพที่ใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาท ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยนักวิทยาศาสตร์หลายชาติ หนึ่งในนั้นคือศาสตราจารย์จาก MIT
Genzyme ก่อตั้งในปี 1985
บริษัทที่เน้นการวิจัยด้านเอนไซม์ ก่อตั้งโดยศาสตราจารย์ด้านเคมีจาก Harvard University และต่อยอดจากงานวิจัยสู่การดัดแปลงเอนไซม์ที่ใช้ในการรักษาโรคผิดปกติทางพันธุกรรม
จากจุดเริ่มต้นในห้องทดลอง พัฒนามาสู่การก่อตั้งเป็นธุรกิจ
เขตเมืองบอสตัน-เคมบริดจ์ ที่หนาแน่นไปด้วยนักวิจัยอยู่แล้ว ก็ยิ่งดึงดูดทั้งนักวิทยาศาสตร์ และนักลงทุน ให้เข้ามามีส่วนร่วมให้การพัฒนางานวิจัยมากขึ้นไปอีก
แต่เนื่องจากการวิจัยและพัฒนาด้านไบโอเทคโนโลยี เป็นงานวิจัยที่ต้องใช้เงินทุนสูงมาก และมีความเสี่ยงมากที่จะขาดทุน ทำให้มีภาคเอกชนน้อยมากที่จะกล้าเสี่ยง
การสนับสนุนจากภาครัฐจึงเป็นกุญแจที่สำคัญ
โดยสหรัฐอเมริกา มีสถาบันสุขภาพแห่งชาติ หรือ National Institute of Health (NIH)
ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลกลาง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการวิจัยทางการแพทย์
ความโดดเด่นของรัฐแมสซาชูเซตส์ ในด้านบุคลากร สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชน
จึงทำให้เป็นรัฐที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก NIH มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1994 โดยในปี 2018 รัฐแห่งนี้ ก็ได้รับงบประมาณสนับสนุนกว่า 60,000 ล้านบาท
ในขณะที่รัฐบาลของรัฐแมสซาชูเซตส์เอง ก็ได้สนับสนุนให้มีการลงทุนในธุรกิจไบโอเทคโนโลยีอย่างจริงจัง โดยให้งบประมาณสนับสนุนมากถึง 30,000 ล้านบาท ในช่วงตลอดระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่ปี 2008
และเป็นผู้นำในการจัดตั้งองค์กรเพื่อช่วยเหลือด้านการวิจัยเทคโนโลยีการแพทย์
หรือ Massachusetts Life Sciences Center (MLSC) ที่ทำหน้าที่ให้เงินทุนสนับสนุน ให้เงินทุนกู้ยืม
อบรมบุคลากร ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และช่วยวางแผนพัฒนาธุรกิจ ให้กับเหล่าบริษัทไบโอเทคที่เพิ่งก่อตั้งใหม่
การที่มีภาครัฐเข้ามาเป็นส่วนร่วมในภาคธุรกิจ เป็นแรงผลักดันสำคัญมากที่ทำให้งานวิจัยด้านไบโอเทคโนโลยีของสถาบันการศึกษา สามารถนำมาต่อยอดเป็นธุรกิจได้ในเวลาอันรวดเร็ว
นำมาสู่การจัดตั้งบริษัทด้านไบโอเทคถึง 430 แห่งในช่วงทศวรรษ 2000s - 2010s
ซึ่งก็ล้วนมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเขตเมืองบอสตัน และปริมณฑล
และหนึ่งในบริษัทที่น่าสนใจ ก็คือ..
Moderna ที่ก่อตั้งในปี 2013
บริษัทที่ก่อตั้งโดยศาสตราจารย์จาก Harvard University เน้นการวิจัยด้าน RNA ซึ่งเป็นเหมือนแบบแปลนของ DNA ที่สามารถถูกนำมาใช้ในการสร้างโปรตีน
งานวิจัยเรื่อง RNA ได้ถูกต่อยอดมาเป็นการใช้ mRNA หรือ messenger RNA ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างโปรตีนที่มีโครงสร้างเหมือนกับโปรตีนของโคโรนาไวรัส ที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันตรวจพบ และสามารถผลิต Antibody มาป้องกันโรคได้
นำมาสู่การเป็นผู้ผลิตวัคซีนต้านโควิด 19 จาก mRNA เป็นรายแรกๆ ของโลก
ซึ่งไม่เคยมีวัคซีนตัวไหนในท้องตลาดที่ใช้เทคโนโลยีนี้มาก่อน
นอกจากบริษัทใหม่ๆ ที่ถือกำเนิดขึ้นแล้ว
เขตเมืองบอสตัน-เคมบริดจ์ ยังดึงดูดบริษัทยายักษ์ใหญ่ทั่วโลก ทั้งบริษัทสัญชาติอเมริกันอย่าง Pfizer, Bristol Myers Squibb และบริษัทสัญชาติสวิสอย่าง Novartis
ให้มาตั้งสำนักงานวิจัย และพัฒนาด้านไบโอเทคโนโลยีในเขตนี้
จากจุดเริ่มต้นในทศวรรษ 1970s
ในวันนี้ รัฐแมสซาชูเซตส์คึกคักไปด้วยงานวิจัยด้านไบโอเทคโนโลยีทางการแพทย์
ต่อยอดจากงานวิจัยสู่บริษัทที่ผลิตทั้งวัคซีน ยารักษาโรค
ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เปิดความเป็นไปได้ในการวินิจฉัย การเยียวยารักษาโรคอีกมากมาย
และเป็นส่วนสำคัญที่ผลักดันให้สหรัฐอเมริกา กลายเป็นเบอร์หนึ่งในวงการเทคโนโลยีทางการแพทย์ของโลก
หากไบโอเทคโนโลยีคือความหวังของการแพทย์แห่งโลกอนาคต
หนึ่งในที่ผู้กุมชะตาสำหรับโลกอนาคต ก็คงจะหนีไม่พ้น “สหรัฐอเมริกา”..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
สั่งซื้อได้ที่ (รับส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References:
-http://www.bio-nica.info/biblioteca/Paugh1997BiotechnologyIndustry.pdf
-https://fivethirtyeight.com/sponsored/massachusetts-biotech/
-https://www.epmscientific.com/blog/2018/05/move-over-california-boston-is-now-the-worlds-no-dot-1-biotech-hub
-https://www.masslifesciences.com/why-ma/
-https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/different-vaccines/mrna.html
พิมพ์ครั้งที่8 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ทำไม สวิตเซอร์แลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง ยารักษาโรค? /โดย ลงทุนแมน
ในบรรดาปัจจัย 4 ของมนุษย์ ทั้งอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค
“ยารักษาโรค” อาจเป็นสินค้าที่เราเลือกเองได้ “น้อย” ที่สุด
ไม่มีใครอยากเจ็บไข้ได้ป่วย แต่เมื่อป่วยแล้ว ยิ่งเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องใช้ยาราคาสูงมาก
หลายคนก็ยอมจ่าย หวังให้กลับมาหายเป็นปกติ
จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่อุตสาหกรรมยารักษาโรคจะสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ประเทศผู้ผลิต
หนึ่งในนั้นก็คือสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศเล็กๆ ที่มีประชากรเพียง 8 ล้านคน
แต่กลับส่งออกยารักษาโรคมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากเยอรมนี
อะไรที่ทำให้ประเทศเล็กๆ แห่งนี้ ก้าวขึ้นมามีบทบาทในอุตสาหกรรมที่เป็นความหวังของมนุษย์?
ยินดีต้อนรับเข้าสู่ซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ตอน ทำไม สวิตเซอร์แลนด์ จึงเป็นประเทศแห่ง ยารักษาโรค?
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
สวิตเซอร์แลนด์เป็นดินแดนที่ตั้งอยู่ใจกลางทวีปยุโรป ถูกรายล้อมไปด้วยเทือกเขาแอลป์
ไม่มีทางออกสู่ทะเล ทางเดียวที่จะเชื่อมกับโลกภายนอกได้ คือแม่น้ำไรน์
แม่น้ำไรน์เป็นแม่น้ำนานาชาติของยุโรปตะวันตก มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาแอลป์
ไหลผ่านสวิตเซอร์แลนด์ ก่อนจะไหลขึ้นทางเหนือเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างฝรั่งเศสกับเยอรมนี ไหลผ่านเมืองใหญ่น้อยทางตะวันตกของเยอรมนี
ก่อนจะออกสู่ทะเลเหนือที่เนเธอร์แลนด์
แม่น้ำแห่งนี้เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป เป็นเส้นทางการค้าตั้งแต่ยุคกลาง
พอถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม แม่น้ำไรน์ช่วงที่ผ่านเยอรมนี ก็เป็นแหล่งขนส่งแร่เหล็กและถ่านหิน
เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมเหล็ก และโรงงานอุตสาหกรรมเคมี
องค์ความรู้ด้านเคมีมีต้นกำเนิดมาจากอังกฤษ ก่อนจะถูกต่อยอดโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน จนเมื่อเยอรมนีกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเคมีในช่วงศตวรรษที่ 19 ซึ่งเริ่มมาจากการคิดค้นสีย้อมผ้า
แล้วการปฏิวัติอุตสาหกรรมก็ไหลทวนกระแสน้ำมาถึงสวิตเซอร์แลนด์
โดยมีเมืองสำคัญที่สุดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำไรน์ ก็คือ “บาเซิล”
บาเซิลเป็นเมืองการค้ามาตั้งแต่ยุคโรมัน และเป็นส่วนหนึ่งของสวิตเซอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 16
หลังจากนั้นเมืองนี้ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางธนาคารและการค้าสิ่งทอ
ทำเลของบาเซิลตั้งอยู่ในจุดที่พรมแดนของ 3 ประเทศมาบรรจบกัน คือสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส และเยอรมนี บาเซิลจึงได้รับอิทธิพลจากทั้ง 2 ประเทศ โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านเคมี และอุตสาหกรรมการผลิตสีย้อม
แต่ข้อดีที่สุด ที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของอุตสาหกรรมเคมีของสวิตเซอร์แลนด์ก็คือ
“การไม่มีกฎหมายสิทธิบัตร”
เมื่อมีการผลิตงานวิจัยและองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์
ประเทศในยุโรป โดยเฉพาะ เยอรมนีและฝรั่งเศส ต่างออกกฎหมายสิทธิบัตรเพื่อคุ้มครองผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ของตัวเอง โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านการสังเคราะห์สีย้อมผ้า
นักวิทยาศาสตร์หลายคน ถึงแม้จะมีองค์ความรู้ แต่ติดในเรื่องสิทธิบัตร ทำให้ไม่สามารถวิจัยและพัฒนาต่อได้ สวิตเซอร์แลนด์จึงกลายเป็นสวรรค์ของนักวิจัย
โดยจุดหมายปลายทางก็อยู่ที่เมืองบาเซิล..
ด้วยทำเลที่ตั้งมีแม่น้ำใหญ่ไหลผ่าน เหมาะแก่การขนส่งและเป็นวัตถุดิบของโรงงาน
อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางการเงิน ธนาคารในบาเซิลมีเงินทุนมหาศาล
เมืองแห่งนี้จึงดึงดูดนักลงทุนมากมายให้มาตั้งโรงงานผลิตสีสังเคราะห์
ปี ค.ศ. 1859 นักวิจัยชาวฝรั่งเศส Alexandre Clavel, Louis Durand และ Etienne Marnas ได้อพยพมาเพื่อตั้งโรงงานผลิตสีสังเคราะห์ในบาเซิล ไม่นานก็สามารถสังเคราะห์สาร Fuchsine ที่ให้สีบานเย็นได้
โดยนักวิจัยทั้ง 3 นี้ได้ตั้งโรงงานชื่อว่า โรงงานเคมีแห่งบาเซิล หรือ Chemische Industrie in Basel ซึ่งถูกย่อว่า “CIBA”
ต่อมานักเคมีของ CIBA คือ Alfred Kern ได้ออกมาตั้งโรงงานของตัวเองร่วมกับนักธุรกิจ Eduard Sandoz ในปี ค.ศ. 1886 เกิดเป็นบริษัท “Sandoz” ในปี ค.ศ. 1886 ซึ่งได้สังเคราะห์สาร Auramine O ที่ให้สีเหลืองทอง
ไม่นาน สวิตเซอร์แลนด์ก็กลายเป็นหนึ่งในผู้นำด้านอุตสาหกรรมเคมี ส่งออกสีสังเคราะห์แข่งกับเยอรมนีและฝรั่งเศส จนทำให้นักธุรกิจของทั้ง 2 ประเทศ พากันเรียกสวิตเซอร์แลนด์ว่า
“ดินแดนแห่งนักปลอมแปลง”
ใครจะไปเชื่อว่า ครั้งหนึ่ง สินค้าที่ถูกส่งออกจากสวิตเซอร์แลนด์ จะถูกมองว่าเป็นของก๊อบปี้..
แรงกดดันของการเป็นนักก๊อบปี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ
จนรัฐบาลเยอรมันขู่ว่าจะยกเลิกสนธิสัญญาการค้าระหว่าง 2 ประเทศ
ทำให้ในที่สุด รัฐบาลสวิสจำเป็นต้องออกกฎหมายสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการ ในปี ค.ศ. 1907
แต่อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเคมีก็ได้ฝังรากอย่างแข็งแกร่งที่บาเซิลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่การถูกมองว่าเป็นนักก๊อบปี้
ทำให้เหล่านักธุรกิจและนักวิจัยชาวสวิส จำเป็นต้องหาทางต่อยอดจากการผลิตสีสังเคราะห์
ชาวสวิสขยันขันแข็ง มีหัวการค้า และเป็นระบบระเบียบอยู่เป็นทุนเดิม
การขาดแคลนทรัพยากรทำให้มุ่งเน้นการผลิตสินค้าขนาดเล็กมาเนิ่นนาน
สินค้าที่ขนส่งง่าย มีกรรมวิธีการผลิตที่ซับซ้อน มีนวัตกรรมเฉพาะตัว และมีราคาสูงพอที่จะคุ้มทุน
ซึ่งตัวอย่างที่ดีที่สุดก็คือ นาฬิกา
องค์ความรู้ด้านเคมี สามารถนำมาต่อยอดได้หลากหลาย
หนึ่งในผลผลิตที่น่าสนใจ ก็คือ “ยารักษาโรค”
ถึงแม้จะมาทีหลังในอุตสาหกรรมสีสังเคราะห์ แต่สำหรับยารักษาโรค อุตสาหกรรมนี้ยังมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้อีกมาก
ด้วยองค์ความรู้ด้านเคมีที่มีอยู่แล้ว
บวกกับระบบการศึกษาของสวิตเซอร์แลนด์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากระบบเยอรมัน
ที่เน้นการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ แล้วนำมาประยุกต์ให้เข้ากับภาคอุตสาหกรรม
จึงเกิดเป็นงานวิจัยร่วมกันระหว่างนักวิชาการ กับนักธุรกิจในแวดวงอุตสาหกรรม
นักธุรกิจชาวสวิสจึงตัดสินใจลงทุนในอุตสาหกรรมยา
ปี ค.ศ. 1896 นักธุรกิจ Fritz Hoffmann - La Roche ตัดสินใจก่อตั้งบริษัทเคมีภัณฑ์ F. Hoffmann-La Roche โดยตั้งแผนกเพื่อมุ่งเน้นการวิจัยยารักษาโรคโดยเฉพาะ
ด้วยองค์ความรู้และการวางแผนอย่างเป็นระบบ
ในที่สุด หัวหน้าฝ่ายวิจัย Carl Schaerges ก็ได้ค้นพบ ไอโอดีน ในการรักษาโรคไทรอยด์ได้เป็นผลสำเร็จ กลายเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนายารักษาโรคไทรอยด์ในเวลาต่อมา
เช่นเดียวกับบริษัทอื่นๆ ที่เคยผลิตสีย้อมผ้า ต่างก็หันมาเพิ่มแผนกใหม่ เพื่อวิจัยและพัฒนายารักษาโรคโดยเฉพาะ
ปี ค.ศ. 1900 บริษัท CIBA สามารถสังเคราะห์สาร Salen ซึ่งเป็นสารตั้งต้นทางยาตัวแรก
ซึ่งเป็นโครงสร้างที่จะถูกพัฒนาต่อมาเป็นยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
เช่นเดียวกับบริษัท Sandoz ได้ตั้งแผนกเภสัชกรรมในปี ค.ศ. 1917 เพื่อพัฒนายารักษาโรค
จนสามารถสังเคราะห์สาร Ergotamine ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของยารักษาโรคไมเกรน
ไม่นาน เมืองบาเซิลก็กลายมาเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านการแพทย์และเภสัชกรรมของโลก
โดยมีสถาบันการศึกษาอย่าง University of Basel และ Friedrich Miescher Institute in Basel เป็นผู้ผลักดันงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
จากสารตั้งต้นหนึ่งตัว ก็ถูกต่อยอดจนกลายเป็นยารักษาโรค
เมื่อมีโครงสร้างของยาหนึ่งตัว ก็มีการพัฒนายาตัวใหม่จากโครงสร้างเดิมต่อกันไปเรื่อยๆ
และจากอุตสาหกรรมยา ก็ถูกต่อยอดจนเกิดเป็นอุตสาหกรรมไบโอเทคโนโลยี
ปัจจุบัน CIBA และ Sandoz ได้ควบรวมกันเป็นบริษัท “Novartis” และก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทยาชั้นนำ ควบคู่กับ F. Hoffmann-La Roche
โดยทั้ง 2 บริษัท ต่างก็มียอดขายอยู่ในระดับ Top 5 ของโลก
F. Hoffmann-La Roche เป็นผู้นำในการพัฒนายาที่ใช้รักษาโรคเรื้อรัง
เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคพาร์กินสัน และโรคมะเร็ง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์
อุปกรณ์ตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด ACCU-CHEK
ส่วน Novartis เป็นผู้นำในการพัฒนายารักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางระบบประสาท ไปจนถึงยาใช้ภายนอกอย่างยาทาแก้ปวด Voltaren ที่หลายคนอาจจะคุ้นเคยชื่อนี้..
ถึงแม้จะมีจุดเริ่มต้นของการลอกเลียนแบบ สวิตเซอร์แลนด์ก็ได้ต่อยอด และพัฒนาเทคโนโลยี “เฉพาะทาง” จนกลายเป็นประเทศที่เป็นผู้นำในวงการเภสัชกรรม มีสิทธิบัตรยา
และงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
มาถึงตรงนี้ การที่ชาวสวิสร่ำรวยเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
ไม่ใช่เพราะสร้างสินค้าที่ทำตามความต้องการของลูกค้าและตลาด
แต่ก้าวนำลูกค้าด้วยนวัตกรรม และคุณภาพของสินค้าที่เหนือใคร
จนสามารถส่งออกและสร้างรายได้มหาศาลให้แก่ประเทศ
ซึ่ง “ยารักษาโรค” คือตัวอย่างที่ดีที่สุดของเรื่องนี้
ทั้งหมดนี้ ก็น่าจะสรุปได้ว่า การไม่มีทางออกทะเลอาจไม่ใช่ปัญหาของชาวสวิส
เพราะพวกเขามีอีกทางออกหนึ่งอยู่แล้ว ที่เรียกว่า นวัตกรรม..
อ่านซีรีส์บทความ “Branding the Nation” ปั้นแบรนด์ แทนประเทศ
ในตอนก่อนหน้าทั้งหมดได้ที่แอป Blockdit blockdit.com/download
╔═══════════╗
ชอบบทความแบบนี้ ต้องอ่านหนังสือเล่มนี้
เศรษฐกิจโลก 1,000 ปี พิมพ์ครั้งที่ 6
อยากรู้ความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก ต้องเข้าใจอดีต
หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประวัติเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1100 ไล่ยาวไปจนถึง ค.ศ. 2019
สั่งซื้อได้ที่ (ซื้อตอนนี้มีส่วนลด 10% จากราคาปก 350 บาท)
Lazada : https://www.lazada.co.th/products/1000-i714570154-s1368712682.html
Shopee : https://shopee.co.th/product/116732911/6716121161
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.bs.ch/en/Portrait/cosmopolitan-basel/history.html
-https://www.aiche.org/sites/default/files/cep/20131231_2.pdf
-https://irp-cdn.multiscreensite.com/bcb8bbe3/files/uploaded/Basel%20Pharma%20Cluster.pdf
-https://www.pharmaceutical-technology.com/features/formula-success-inside-swiss-pharma/
-https://www.novartis.us/about-us/who-we-are/company-history
-https://www.roche.com/about/history.htm
พิมพ์ครั้งที่8 在 Matichon Book - สำนักพิมพ์มติชน - ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย ... 的推薦與評價
. กะเทาะเปลือกประเทศไทยรอบด้านจากอดีตจนถึงปัจจุบัน . การกลับมาของประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย พิมพ์ครั้งที่ 8 โดย คริส เบเคอร์ (นักประวัติศาสตร์) และผาสุก พงษ์ ... ... <看更多>