ผมแปลหนังสือ “เปลี่ยนเลนเป็นเศรษฐี” หรือ The Millionaire Fastlane ครั้งแรก เมื่อ 6 ปีก่อน ชอบในความ real ความดิบ พูดเรื่องเงินแบบของจริง ตรงใจ ไม่เพ้อเจ้อ
.
ถ้า 20 ปีก่อน Rich Dad Poor Dad หรือ “พ่อรวยสอนลูก” (ผมเป็นผู้แปลเช่นเดียวกัน) คือ หนังสือการเงิน ณ ช่วงเวลานั้น ยุคนี้ พ.ศ. นี้ ผมก็อยาก
แนะนำให้ทุกคนได้อ่าน “เปลี่ยนเลนเป็นเศรษฐี” ครับ
.
#โค้ชหนุ่ม #TheMoneyCoachTH
同時也有42部Youtube影片,追蹤數超過4萬的網紅สาระ ศาสตร์,也在其Youtube影片中提到,#สาระ #แนวคิด #ความรู้ #สาระศาสตร์ #หนังสือ จุดประสงค์ของช่องนี้ผมตั้งใจทำเพื่อให้คนที่รักการอ่านแต่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ และช่วยให้นักอ่านได้มีข้อมู...
「พ่อรวยสอนลูก」的推薦目錄:
- 關於พ่อรวยสอนลูก 在 Money Coach Facebook 的最讚貼文
- 關於พ่อรวยสอนลูก 在 Money Coach Facebook 的最讚貼文
- 關於พ่อรวยสอนลูก 在 Money Coach Facebook 的最佳貼文
- 關於พ่อรวยสอนลูก 在 สาระ ศาสตร์ Youtube 的最佳解答
- 關於พ่อรวยสอนลูก 在 สาระ ศาสตร์ Youtube 的最讚貼文
- 關於พ่อรวยสอนลูก 在 สาระ ศาสตร์ Youtube 的精選貼文
- 關於พ่อรวยสอนลูก 在 พ่อรวยสอนลูก : Rich Dad Poor Dad... - Kinokuniya ประเทศไทย 的評價
พ่อรวยสอนลูก 在 Money Coach Facebook 的最讚貼文
ความเข้าใจผิด เกี่ยวกับ PASSIVE INCOME
.
วันนี้มีเวลานั่งดูรายการในช่อง YouTube จับพลัดจับผลูเปิดไปเจอช่องรายการสอนรวยของกูรูธุรกิจและการลงทุน ตอนแรกว่าจะข้ามไป แต่เห็นเขาพูดถึง PASSIVE INCOME แถมยกหนังสือ Rich Dad Poor Dad (พ่อรวยสอนลูก) ที่ผมเป็นคนเรียบเรียงขึ้นมาอ้าง ก็เลยนั่งฟังดูสักหน่อย
.
เผลอแพร๊บเดียว นั่งดูไปตั้งหลายคนหลายตอน แต่บทสรุปที่ได้รับจากการดู ก็คือ ทุกคนพูดเรื่อง PASSIVE INCOME ดีเกินจริง ดีเกินไป เหมือนมีแล้วไม่ต้องทำอะไร ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่เลย
.
วันนี้ผมเลยอยากหยิบยก 5 ความเข้าใจผิดๆ ที่พูดถึงกันบ่อยๆ เกี่ยวกับ Passive Income มาเล่าให้ฟังกันครับ
.
1) PASSIVE INCOME เป็นเรื่องง่ายๆ
.
ที่จริงประเด็นนี้ก็ใช่ว่าจะผิดไปทั้งหมดหรอกนะครับ เพราะ PI ที่ทำได้ง่าย มันก็มีจริงๆ อย่างเช่น “เงินฝาก” แค่เอาเงินไปฝากธนาคาร เราก็ได้ “ดอกเบี้ย” เป็น Passive Income แล้ว เพียงแต่อาจต้องมีเงินฝากเป็นกอบเป็นกำจริงๆ ดอกเบี้ยถึงจะพอเลี้ยงตัวเราได้
.
แต่ถ้าเป็น Passive Income จากธุรกิจและการลงทุน ในรูป “ค่าเช่า” “เงินปันผล” หรือ “ค่าลิขสิทธิ์” เช่น เป็นเจ้าของกิจการ ลงทุนอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า การลงทุนในหุ้น หรือกองทุนรวม รวมไปถึงลิขสิทธิ์ในงานที่เราสร้างขึ้น อันนี้ต้องใช้ทักษะและความรู้เพิ่มขึ้นมาเยอะเลย ถึงจะมีรายได้จากทรัพย์สินได้
.
ทั้งนี้ไอ้ประเภท จ่ายเงินครั้งเดียว กินกำไรกันไปตลอด ผมคิดว่าไม่น่าจะใช่ และน่าจะเป็นการหลอกลวงเสียมากกว่า ยิ่งถ้าโฆษณาการันตีผลตอบแทนสูง ๆ อันนี้ยิ่งต้องระวังครับ
.
2) มี Passive Income แล้วเป็นเสือนอนกิน ไม่ต้องทำอะไร
.
ประเด็นนี้คิดว่าน่าจะเป็น Gimmick เอาไว้หลอกคนขี้เกียจอยากรวย อยู่เฉยๆ แล้วอยากได้เงิน ซึ่งก็ไม่่มีจริงหรอกครับ ผมเองมี Passive Income จากทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ดอกเบี้ย ค่าเช่า เงินปันผล และค่าลิขสิทธิ์ บอกได้เลยว่า ไม่ต้องทำอะไรแล้วจะได้รายได้ เป็นเรื่องไม่จริง
.
การมีทรัพย์สินที่สร้างรายได้ อาจช่วยผ่อนแรงให้คุณไม่ต้องทำงานทุกวัน และเลือกจัดสรรเวลาทำงานได้ แต่ไม่ทำงานเลย อันนี้คงไม่ใช่ ยกตัวอย่างเช่น
.
ถ้าคุณมีธุรกิจ: คุณอาจไม่ได้เข้าออฟฟิศทุกวัน เพราะมีลูกน้องคอยช่วยคุณทำงาน แต่คุณไม่ทำงานเลย ไม่บริหารจัดการ ไม่พบปะลูกค้า ไม่มีปัญหาอะไรให้คุณแก้เลย ก็คงจะไม่ใช่
.
ถ้าคุณมีบ้านเช่า: คุณก็ไม่ต้องทำงานทุกวัน สิ้นเดือนคอยเก็บค่าเช่าก็จริง แต่ระหว่างเดือนมีปัญหามาได้ตลอดนะ ไอ้โน่นเสีย ไอ้นี่พัง ผู้เช่ามีเรื่องทะเลาะกับบ้านข้างๆ วันดีคืนดีผู้เช่าย้ายออก ค่าเช่าหายแว๊บเลยนะ
.
ถ้าคุณมีลิขสิทธิ์: คุณก็ต้องคอยบริหารลิขสิทธิ์และผลประโยชน์ของตัวเอง มีเรื่องสู้กับคนละเมิดลิขสิทธิ์อยู่บ่อยๆ
.
ถ้าคุณมีหุ้น: คงไม่มีหุ้นที่ซื้อไว้ครั้งเดียวแล้วกินปันผลจนตายได้หรอกครับ เวลาเปลี่ยน ธุรกิจมีทั้งเติบโตล้มตาย พอร์ตหุ้นก็ต้องปรับ มีข้อมูลให้ต้องติดตามอยู่ตลอด
.
โดยสรุปการมี Passive Income ไม่ใช่ว่ามีแล้วจะมีไปตลอด มันก็มีเพิ่มมีลดตามความสามารถในการสร้างรายได้ของทรัพย์สินที่เราถือครอง ดังนั้นมันจะขาดการทำงานของเจ้าของทรัพย์สินไปไม่ได้หรอกครับ
.
เพียงแต่ว่าถ้าคุณมีทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสด มันจะเหมือนคุณมี “เครื่องผ่อนแรง” ให้คุณได้พักจากการทำงานแลกเงิน (Active Income) อยู่บ้าง ช่วยให้คุณจัดสรรเวลาในชีวิต มีอิสระทางเวลาที่มากขึ้นเท่านั้น
.
จะสังเกตผมใช้คำว่า “เครื่องผ่อนแรง” เพราะมันทำงานให้เราได้ มันก็หยุดเสียหยุดซ่อมได้ อะไรที่มีคำว่า “เครื่อง” นำหน้า มีลักษณะแบบนี้เหมือนกันหมดครับ
.
3) Passive Inome จะทำเงินให้เราไปตลอด
.
ประเด็นนี้ก็ไม่จริงนะครับ ไม่มีอะไรเป็นอมตะนิรันดร์กาลขนาดนั้นหรอก จำไว้ว่า ทรัพย์สินใดๆ ในโลกล้วน Dynamic มีขึ้น มีลง มีเติบโต มีตกต่ำ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยกันทั้งหมดทั้งปวง (สาธุ)
.
ธุรกิจที่เคยทำเงิน วันหนึ่งก็กลายเป็นธุรกิจที่ล่มสลายได้ (ลองนึกธุรกิจที่เราเห็นในตอนเป็นเด็ก แต่วันนี้ไม่อยู่แล้วดู)
บ้านเช่าที่เคยมีคนอยู่อาศัยไม่เคยขาด วันหนึ่งก็อาจร้าง ไม่มีผู้เช่าได้เหมือนกัน (ช่วงโควิดนี่ชัดเลย)
.
ลิขสิทธิ์เพลง หนังสือ ที่เคยได้รับความนิยม วันหนึ่งคนก็ลืม ไม่ซื้อ ไม่โหลด (วันนึงโค้ชหนุ่มหันหลังให้ยุทธจักร ก็คงไม่มีคนซื้อหนังสือโค้ชหนุ่มแล้ว 555)
.
หุ้นที่เคยปันผล วันหนึ่งกิจการไม่ดี ไม่ทำกำไร ก็คงไม่มีปันผล
.
ไม่มีอะไรทำครั้งเดียวแล้วสบายไปตลอดชาติหรอกครับ ทุกอย่างมันมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเสมอ ดังนั้นอย่าเผลอติดกับดักหลอกลวงแบบนี้ การรู้เท่าทันในทรัพย์สินที่เราลงทุน ความรู้ทางการเงินต่างหาก ความพร้อมในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง คือ สิ่งที่จะช่วยให้เรามั่งคั่งและมั่นคงได้จริง
.
4) PASSIVE INCOME ดีกว่า ACTIVE INCOME
.
ได้ยินการพูดถึง Passive Income ที่ไหน ก็มักจะมีการหยิกกัดรายได้จากการทำงาน หรือ Active Income เสียทุกครั้งไป พาลกันไปว่าการเป็นพนักงานประจำนั้นไม่ดี เงินเดือนมีเพดาน ไม่ทำหรือหยุดทำก็ไม่มีรายได้
.
โดยส่วนตัวผมมองว่า รายได้จากการทำงานไม่ใช่สิ่งเลวร้าย และหลายคนก็ใช้มันเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างรายได้จากทรัพย์สิน ด้วยการเก็บออม แล้วก็นำเงินไปลงทุนต่อยอด และจากเหตุผลในข้อ 3 ที่ว่า ไม่มีรายได้ช่องทางใดที่เป็นอมตะนิรันดร์กาล Passive Income ที่เรามี อยู่ดีๆ ก็อาจวูบหายไปเลยก็เป็นได้
.
ทางที่ดีผมว่าเราควรมีแหล่งรายได้จากหลายช่องทาง หรือ Multi-Income Stream คือ มีทั้งรายได้จากทรัพย์สินคอยช่วยผ่อนแรง ไม่ให้เราต้องเหนื่อยไปตลอด และมีรายได้จากการทำงาน คอยเติม คอยสะสมต่อยอดความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แบบนี้น่าจะดีกว่า
.
นอกจากนี้ สิ่งที่ผมอยากจะบอกจากใจของคนที่มี Passive Income พอเลี้ยงตัวแล้วก็คือ ผมเองยังรักและชอบรายได้จากการทำงาน หรือ Active Income อยู่นะ เพราะแม้มันจะต้องทำงานถึงได้เงิน ต้องเหนื่อยอยู่บ้าง แต่ผมรู้สึกว่าการทำงานมันทำให้เรารู้สึกมีคุณค่า และได้รับความรู้สึกดีๆ ที่ได้ทำงาน ยิ่งถ้าได้ทำงานที่รัก ที่เราชอบ และเลือกทำมันด้วยตัวเองแล้วละก็ ยิ่งแจ่มกันไปใหญ่ ส่วน Passive Income ผมชอบที่มันช่วยผ่อนแรง ช่วยลดความกังวลทางการเงิน ทำให้เรามีเวลามากขึ้น และมีทางเลือกที่มากขึ้น
.
สรุปเลยดีกว่าไอ้โค้ช ชอบอะไรมากกว่าระหว่าง Active กับ Passive Income
คำตอบคือ “ทำอะไรที่สนุกแล้วได้ตังค์ กูเอาหมดครับ” 555
.
5) ต้องมี Passive Income ถึงจะมีอิสรภาพการเงิน
.
ถ้ายึดเอาตามนิยามหนังสือพ่อรวยสอนลูก ที่ว่าคนเราจะมีอิสรภาพการเงินได้ ก็ต่อเมื่อมีรายได้จากทรัพย์สินมากกว่ารายจ่ายรวม อิสรภาพทางการเงินแบบนี้ก็คงต้องขึ้นอยู่กับ Passive Income แต่ถ้าเรามองว่า อิสรภาพทางการเงินนั้น แก่นของมันคือ อิสระทางเวลา และการเบาบางความกังวลทางการเงิน ก็อาจไม่จำเป็นที่จะต้องมี Passive Income เยอะแยะมากมาย
.
ตัวผมเองตอนเริ่มต้นไม่ได้ตั้งโจทย์ว่าต้องมีรายได้จากทรัพย์สินดูแลตัวเองไปได้ตลอดชีวิต เพราะคิดว่าชีวิตคนเรามันเปลีี่ยนตลอด โจทย์มันถูกปรับตลอดตามเวลาและสถานการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ตอนนั้นเลยคิดโจทย์ง่ายๆ ว่า จะเก็บสะสมเงินให้พอใช้ได้ 5 ปี ให้ได้เร็วที่สุด
.
ลองนึกภาพว่า ถ้า 5 ปีต่อจากนี้ ไม่มีเงินรายได้เลยแม้แต่บาทเดียว เป็นเวลา 1,825 วัน แต่คุณมีเงินพอใช้จ่ายได้ทุกวัน ไม่เดือดร้อน มันทำให้คุณรู้สึก 1) มีอิสระทางเวลาขึ้นนิดนึงหรือเปล่า และ 2) มันเบาบางความกังวลทางการเงินของคุณไปได้บ้างมั้ย
.
ถ้าใช่! ในมุมมองผมนี่ก็เป็น “อิสรภาพทางการเงินเล็กๆ” แล้วเหมือนกันนะครับ ตัวผมเองตอนเก็บเงินพอใช้ 5 ปี มีหยุดพักเที่ยวอยู่ช่วงใหญ่ๆ เลย ประมาณว่าอยากซึมซับอิสระทางเวลาสักหน่อย ตอนแรกกะว่าจะพักผ่อนเต็มๆ 1 ปี สุดท้ายผ่านไปได้ 3 เดือน ก็เหมือนได้พักเต็มที่ คราวนี้กลับมาจัดหนักกว่าเดิม ขยับสู่ความสำเร็จทางการเงินที่เติบโตมากขึ้นได้อีก
.
นี่คือ 5 ประเด็นที่ผมอยากจะเคลียร์และอธิบายให้ฟังเกี่ยวกับ Passive Income หวังว่าคงเป็นประโยชน์สำหรับคนกำลังสร้างเนื้อสร้างตัว และสร้างชีวิตกันทุกคนนะครับ
.
สุดท้ายแล้วการมีรายได้จากทรัพย์สิน ก็ดีกว่าไม่มีแหละครับ แต่การมีความคิดความเข้าใจที่ผิด จะทำให้เราเสียเวลาและไปสู่ความสำเร็จทางการเงินได้ช้า ยังไงก็ลองนำข้อคิดในวันนี้ไปปรับใช้กันดูนะครับ
.
เป็นกำลังใจให้ทุกคนที่อยากมีอิสรภาพการเงินครับ
.
#โค้ชหนุ่ม #TheMoneyCoachTH
พ่อรวยสอนลูก 在 Money Coach Facebook 的最佳貼文
“พ่อรวยสอนลูก” 2021
ช่วงนี้อยู่บ้าน มีเวลานั่งเปิดอ่านหนังสือเก่าๆ ที่เคยแปล เคยเขียน เล่มหนึ่งที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานหนังสือของผม ก็คือ Rich Dad Poor Dad หรือ “พ่อรวยสอนลูก” โดย โรเบิร์ต คิโยซากิ
ผ่านเวลา 20 ปี หนังสือเล่มนี้ยังติดอันดับขายดี แถมเนื้อหาก็ยังร่วมสมัย ใช้ได้ไม่ตกยุค ได้เปิดอ่านอีกรอบ เลยอยากสรุปประเด็นที่มองเห็น เมื่อเทียบกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ในมุมมองของตัวเอง เผื่อเป็นประโยชน์กับน้องๆ รุ่นใหม่ที่กำลังเริ่มต้นศึกษาเรื่องเงิน จะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกสักนิดจากการอ่านหนังสือเล่มนี้
6 บทเรียนของพ่อรวย กับยุค 2021 ในมุมมองผู้แปลและเรียบเรียง
1. คนรวยไม่ทำงานเพื่อเงิน
เอาเข้าจริงข้อนี้หลายคนแปลความผิด คิดว่าคนรวยทำงานไม่มุ่งหวังเงินหรือผลตอบแทน จริงๆ แล้วไม่ใช่นะครับ (เวลาทำงานเราก็ควรได้ผลตอบแทนสมน้ำสมเนื้อกับเนื้องานนั่นแหละ) แต่คำว่า คนรวยไม่ทำงานเพื่อเงิน ในที่นี้หมายถึง “คนรวยไม่ติดพันธนาการทางการเงิน” ต่างหาก
ซึ่งพันธนาการที่สำคัญที่สุด ก็คือ การเป็นหนี้จน หนี้ที่ทำเราต้องเหนื่อย ต้องดิ้นรน เพราะเป็นหนี้ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้ และเมื่อไหร่ที่เราติดกับดักหนี้พวกนี้ เราจะคิดถึงแต่ “เงิน” ทำอะไรก็ต้องเอาเงินเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เงินไม่ทำ ได้น้อยไม่ทำ (ขยันเพราะหนี้เยอะ กับขยันเพราะอยากสร้างชีวิตให้มั่นคงเร็วๆ ไม่เหมือนกัน)
คนเราเมื่อมี “หนี้” เป็นพันธนาการ วิสัยทัศน์การเงินจะสั้นลง เหลือแค่ไม่เกิน 30 วัน เพราะครบเดือนก็จะถูกติดตามทวงถามกันอีกแล้ว ก็เลยฝันไปไกลหรือคิดไปไกลกว่านั้นไม่ได้ สถานการณ์หนี้ครัวเรือนบ้านเราที่แตะระดับ 90% คือ อันตรายที่บอกเราว่า คนจำนวนไม่น้อยกำลังตกอยู่ในสภาวะแบบนี้
ถ้าคุณไม่มีหนี้ หรือมีภาระหนี้ในระดับที่ควบคุมได้ (กระแสเงินสดต่อเดือนยังเป็นบวก) คุณจะไม่ติดกับดักความคิดเรื่องเงิน และมีโอกาสต่อยอดไปได้ไกลและได้เร็วกว่า ดังนั้นหมั่นควบคุมระดับหนี้ให้ดี อย่าให้เงินผ่อนชำระหนี้ต่อเดือน (DSR) สูงเงินไปนะครับ
2. แยกให้ออกว่าอะไร คือ “ทรัพย์สิน” อะไร คือ “หนี้สิน”
คนที่อ่านหนังสือพ่อรวยสอนลูก จะท่องได้เหมือนกันหมด “ทรัพย์สิน” คือ สิ่งที่ทำให้เงินไหลเข้ากระเป๋า “หนี้สิน” คือ สิ่งที่ทำให้เงินไหลออกจากกระเป๋า ซึ่งหลักคิดนี้ก็ยังใช้ได้จนถึงปัจจุบันนะ ไม่ล้าสมัย
คำถามสำคัญ คือ ท่องได้แล้วเราเคยสังเกตการจัดเงินของตัวเองหรือเปล่าว่า แต่ละวันเงินที่เราหามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงนั้น จ่ายไปกับอะไรบ้าง มีไหลไปสะสมเป็นทรัพย์สินบ้างหรือเปล่า หรือส่วนใหญ่จ่ายไปกับค่าใช้จ่าย (ใช้แล้วหมดไป) และหนี้สิน (ใช้แล้วเป็นภาระระยะยาว)
(ทรัพย์สินได้แก่อะไรบ้าง เงินฝาก สลากออมทรัพย์ พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นสหกรณ์ หุ้น ทองคำ กองทุนรวม อสังหาฯ ธุรกิจที่เราไม่ต้องลงมือทำ ลิขสิทธิ์ เหรียญดิจิทัล ฯลฯ)
จะดูว่าคนเราแยกออกไหม ว่าอะไรเป็นทรัพย์สิน-หนี้สิน อาจดูได้จาก อัตราส่วนเงินออมเงินลงทุน ของเขาก็ได้ ว่ามีมากน้อยแค่ไหน ถ้าเดือนหนึ่งหาเงินได้ 100 บาท จ่ายให้ตัวเอง (Pay Yourself) โดยการนำไปออมและลงทุน เกิน 10 บาท อันนี้ถือว่าเข้าใจจริง เพราะนำไปปฏิบัติสม่ำเสมอ (ถ้าถึงระดับ 20% ได้จะเฟี้ยวมาก)
แต่ถ้าออมและลงทุนได้ไม่ถึง 10% ของรายได้ที่หาได้ อันนี้เรียก ทฤษฎีแน่น ปฏิบัตินุ่มนิ่ม ผลลัพธ์ไม่ต้องบอกก็รู้กัน
นอกจากนี้ทุกปี เราอาจลองคำนวณหา ความมั่งคั่งสุทธิ (Net Worth) โดยนำทรัพย์สินรวมทั้งหมดที่มี ลบออกด้วยหนี้สินทั้งหมดในชื่อเราดู ว่าผลลัพธ์สุดท้ายเป็นบวกมั้ย และบวกเพิ่มขึ้นทุกปีหรือเปล่า ถ้าความมั่งคั่งสุทธิเป็นบวก และบวกเพิ่มขึ้นทุกปี อันนี้ถือว่ามีแววครับ
3. สร้างธุรกิจของตัวเอง
ในบทเรียนที่ 3 นี้ เอาเข้าจริงไม่ได้หมายความว่า ให้ทุกคนสร้างธุรกิจของตัวเองหรอกนะครับ ผมคุยกับโรเบิร์ตตอนแปลหนังสือ แกบอกว่าสังเกตดูสิ “ทรัพย์สิน” ทุกอย่างก็อยู่ในรูปธุรกิจทั้งหมดนั่นแหละ ธุรกิจทั่วไปแน่นอนว่าเป็นธุรกิจอันนี้ชัด อสังหาฯให้เช่า ก็คือ ธุรกิจจัดหาที่พักให้แก่ผู้คน ลิขสิทธิ์หนังสือ ก็ถูกนำมาจัดพิมพ์และจัดจำหน่ายในธุรกิจส่ิงพิมพ์ หรืออย่างในปัจจุบัน วิดีโอที่ Youtuber อัพโหลดกัน (เป็นทรัพย์สิน) ก็อยู่ในธุรกิจโฆษณา
ดังนั้นถ้าคุยสะสมอะไรที่มีมูลค่าเพิ่ม หรือให้กระแสเงินสดได้ ก็มองเป็น “ธุรกิจ” ได้ (ฝากเงินธนาคาร ก็เหมือนเราทำธุรกิจสินเชื่อเหมือนกันนะ!)
แต่ถ้าเราสร้างธุรกิจขึ้นมาได้เองจริงๆ อันนี้ก็ถือว่า “โคตรเฟี้ยว”
อย่างไรก็ดี โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยแนะนำใครให้ลาออกจากงานมาลุยงานประจำเลยนะครับ เพราะมันมีความเสี่ยงมาก ที่จะแนะนำคือ ให้เร่ิมสร้างงานที่ 2 อาชีพที่ 3 ธุรกิจที่ 4 เริ่มทำจากเล็กๆ ลองผิดลองถูกในระดับความเสี่ยงที่พอรับได้ก่อน แล้วค่อยๆ พัฒนาระบบของกิจการไป สร้างรายได้หลายทางแบบ Multi-Income Stream จนธุรกิจของเราเริ่มเป็น “ทรัพย์สิน” และเมื่อรายได้ทางที่ 2, 3 และ 4 ของเราเริ่มใกล้เคียงกับงานประจำ ค่อยพิจารณากันอีกที
ทั้งนี้การสร้างธุรกิจของตัวเอง (งานฟรีแลนซ์ต่างๆ นี่ก็ใช่นะ) กับโจทย์โลกการเงินในยุคปัจจุบัน อาจไม่ได้มองแค่เรื่องอยากรวยเร็ว แต่ผมมองเรื่อง “ความมั่นคง” ทางรายได้ ที่ในยุคนี้มีความเสี่ยงจากแต่ก่อนมาก การมีงาน 2,3,4 หรือมีธุรกิจตัวเองไว้ควบคู่ไปด้วย เป็นตัวช่วยทำให้เราสามารถ “ควบคุม” อนาคตทางการเงินของตัวเองได้ (เหมือนที่โรเบิร์ตชอบพูด Control Your Financial Future) โดยไม่ต้องขึ้นกับคนอื่น เป็นสิ่งที่ “ต้องทำ” (a must) ไม่ใช่ “ควรทำ” อีกต่อไปแล้วครับ
4. เข้าใจเรื่องภาษี
“ภาษี” คือ รายจ่ายที่ใหญ่ที่สุดตัวหนึ่งของชีวิต ยิ่งคุณมีรายได้เยอะ มีทรัพย์สินเยอะ คุณจะเข้าใจความหมายของประโยคนี้ได้ดี
***แต่ช้าก่อน ผมไม่ได้บอกหรือพูดว่า คนรายได้น้อยไม่ได้เสียภาษีนะ (อย่าคิดไปเองสิ) เพราะคนเราเสียภาษีกันทุกคน อย่างน้อยก็ภาษีจากการบริโภค อย่างภาษีมูลค่าเพิ่ม
ไม่ว่าอย่างไร คนเราไม่ควรหลีกเลี่ยงหรือหนีภาษี เพราะนั่นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย สิ่งที่เราควรทำ คือ การศึกษาข้อกำหนดและกฎหมายภาษี ที่เกี่ยวข้องกับ “ตัวเรา” เพื่อเราสามารถวางแผนภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย (ย้ำ! ถูกต้องตามกฎหมาย)
หลายคนอ่านหนังสือพ่อรวยสอนลูก แล้วตีความไปว่า ควรเปิดบริษัท เพราะประหยัดภาษีกว่า อันนี้บอกเลยว่าไม่แน่นะครับ ที่ดีคือ เราควรคำนวณภาษีให้เป็น แล้ววางแผนดีกว่าไปยึดอะไรเป็นหลักตายตัวแบบนั้น
ข้อนี้ไม่มีอะไรจะแนะนำมากไปกว่า จงเรียนรู้และเข้าใจภาษีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเรา (ฐานบริโภค ฐานรายได้ และฐานทรัพย์สิน) คิดคำนวณภาษีและวางแผนภาษีตัวเองให้เป็น ไม่ว่าจะคุณจะทำงานประจำ ทำงานฟรีแลนซ์ หรือเป็นเจ้าของกิจการ เพื่อให้สามารถประหยัดภาษีและลดรายจ่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะมันคือ “สิทธิ” ที่คุณพึงได้ครับ
5 คนรวยสร้างเงินได้เอง
ต้นฉบับภาษาอังกฤษใช้คำว่า “The Rich Invent Money” ผมก็ไม่กล้าแปล Invent ว่า “ประดิษฐ์” (ออกแนวพิมพ์แบงค์) กลัวมีปัญหา 555 จะให้ใช้คำว่า “คิดค้น” ก็ออกแนววิทยาศาสตร์ไป หัวใจสำคัญของบทเรียนนี้ ก็คือ คนรวยสร้างเงินจาก “ไอเดีย” ได้นั่นเอง
โดยโรเบิร์ตเน้นในหนังสือว่า คนที่จะสร้างเนื้อสร้างตัวให้มั่งคั่ง ต้องรู้จักวิธีแปลง “ไอเดีย” ให้เป็น “ธุรกิจ” ที่ทำเงินให้ตัวเอง โดยใช้เงินตัวเองไม่มาก หรือไม่ใช้เงินตัวเองเลย (ในหนังสือใช้คำว่า “พลังทวี” หรือ Leverage)
ซึ่งการใช้ Leverage ที่ว่านี้ ก็มีอยู่หลากหลายวิธี ตั้งแต่วิธีดั่งเดิมอย่างการใช้สินเชื่อสถาบันการเงิน การเข้าหุ้นส่วน การหยิบยืมคนใกล้ตัว (พ่อแม่ลงทุนให้) การใช้สิทธิส่งเสริมจากภาครัฐ (Grant) กลุ่มทุนร่วมลงทุน (Venture Capital) การระดุมทุนผ่านประชาชนอย่าง Crowd Funding และปัจจุบันที่ไปถึงการใช้พลังทวีจากเหรียญดิจิทัลแล้ว
เข้าสู่ปี 2021 การ Leverage อาจไม่ใช่การใช้พลังทวีจากเงินทุนอย่างเดียวก็ได้ เพราะบางครั้งธุรกิจก็สามารถขยายกิจการด้วยกำไรของตัวเอง ดังนั้น เครื่องมืออีกตัวที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโต ก็คือ พลังทวีจากการตลาด (Marketing Leverage) อย่างโซเชียลมีเดีย และเครื่องมือออนไลน์อื่นๆ อีกมาย
ทั้งหมดทั้งมวลเริ่มจากจุดเริ่มต้นในข้อที่ 3 ก็คือ เริ่มสร้างงาน อาชีพ หรือธุรกิจ เพื่อเป็นแหล่งรายได้ที่ 2, 3 และ 4 แล้วค่อยๆต่อยอดไป คิด-ลงมือทำ-เรียนรู้ เพื่อพัฒนาเครื่องผลิตเงิน (ธุรกิจ) ของเรา ให้เติบโตและสามารถเลี้ยงดูค่าใช้จ่ายเราได้ โดยพักจากการทำงานได้บ้าง (มีอิสรภาพการเงิน)
6. คนรวยทำงานเพื่อเรียนรู้
ข้อนี้คนก็ตีความและเข้าใจผิดไปเยอะนะครับ ทำงานเพื่อ “เรียนรู้” ในที่นี้ ไม่ได้หมายความ เรียนเยอะเรียนแยะ เรียนกันจัง แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำให้ “ทรัพย์สิน” เติบโต จริงอยู่ว่าการพัฒนาตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ต้องมี “ทิศทาง” ที่ถูกต้องด้วย
ถ้าคุณเป็นนักลงทุน สิ่งที่คุณจะต้องเรียนรู้ ก็คือ หลักและวิธีการลงทุน ความเข้าใจในทรัพย์สินที่เลือกลงทุน ธรรมชาติของตลาด
แต่ถ้าคุณทำธุรกิจ ทักษะที่จำเป็นต่อความสำเร็จ (สังเกตใช้คำว่า “ทักษะ” เพราะมากกว่าแค่ “รู้” แต่ต้อง “ทำได้”) ก็คือ 1) การขายและการตลาด 2) การบริหารกระแสเงินสด 3) การจัดการระบบ (Operation) และ 4) การบริหารบุคลากร
ทุกครั้งที่จะศึกษาอะไร ตอบคำถามตัวเองเพื่อเช็คทิศทางก็ดีครับ ว่าสิ่งที่เราเรียนจะ “ช่วยให้ธุรกิจและการลงทุนของเราดีขึ้นได้อย่างไร?” จะได้โฟกัสกับการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ก่อน และไม่ทำให้การเรียนรู้สะเปะสะปะเกินไป
นอกจากสิ่งที่เรียนรู้แล้ว วิธีการเรียนรู้ (How to Learn) ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก โรเบิร์ตจะเน้นเรื่องของการ “ลงมือทำ” เรียนรู้จากประสบการณ์จริง การแก้ปัญหาจริงเป็นสำคัญ และนำไปสู่ทัศนคติต่อการเรียนรู้ที่ยอดเยี่ยม ที่ผมเองก็ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ “เมื่อเจอปัญหา จงรู้ไว้เลยว่า นั่นคือโอกาสที่จะช่วยให้เราเก่งขึ้น”
ปัญหา --> แก้ปัญหา --> ทักษะในด้านนั้นที่สูงขึ้น
ปัญหาการเงิน ---> ลงมือแก้ปัญหา ---> ความฉลาดทางการเงินที่สูงขึ้น ---> จัดการเรื่องเงินได้ดีขึ้น
และหมุนเป็นวงจรเรียนรู้ไปไม่มีวันจบสิ้น เหมือนที่วันนี้ผ่านมา 20 ปีเศษแล้ว ผมก็ยังต้องเรียนรู้เรื่องทรัพย์สินใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่บนโลกเราเสมอ (เด็กรุ่นใหม่เก่งกันจังวุ้ย)
หวังว่าบทสรุปจากการนั่งอ่านหนังสือ Rich Dad Poor Dad หรือพ่อรวยสอนลูกอีกรอบ และเล่ามุมมองกับโลกที่หมุนไปเร็วเหลือเกินในฐานะผู้แปล จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านบ้าง ไม่มากก็น้อย
#TheMoneyCoachTH
พ่อรวยสอนลูก 在 สาระ ศาสตร์ Youtube 的最佳解答
#สาระ #แนวคิด #ความรู้ #สาระศาสตร์ #หนังสือ
จุดประสงค์ของช่องนี้ผมตั้งใจทำเพื่อให้คนที่รักการอ่านแต่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ และช่วยให้นักอ่านได้มีข้อมูลในการตัดสินใจก่อนซื้อหนังสือซักเล่ม หนังสือทุกเล่มที่เลือกอ่านลงช่องนี้คือหนังสือที่ผมได้ซื้อและอ่านเองจนจบแล้วทุกเล่ม ผมเชื่อว่าหนังสือดีๆ เพียงหนึ่งเล่มสามารถเปลี่ยนชีวิตคนคนหนึ่งได้ และหวังว่าหนังสือเสียงทุกเล่มในช่องนี้จะช่วยทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น
สำหรับคนที่อยากอ่านอะไรสั้น ผมได้เขียนเอาไว้ที่นี่ https://twitter.com/M0l30T
สำหรับคนที่เล่นเฟซบุ๊คมากกว่า ผมมีเพจที่นี่ http://bit.ly/2DnkUVM
ขอบคุณทุกคนจากใจจริงที่ยังติดตามและสนับสนุนกันอยู่นะครับ
พ่อรวยสอนลูก 在 สาระ ศาสตร์ Youtube 的最讚貼文
#สาระ #แนวคิด #ความรู้ #สาระศาสตร์ #หนังสือ
จุดประสงค์ของช่องนี้ผมตั้งใจทำเพื่อให้คนที่รักการอ่านแต่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ และช่วยให้นักอ่านได้มีข้อมูลในการตัดสินใจก่อนซื้อหนังสือซักเล่ม หนังสือทุกเล่มที่เลือกอ่านลงช่องนี้คือหนังสือที่ผมได้ซื้อและอ่านเองจนจบแล้วทุกเล่ม ผมเชื่อว่าหนังสือดีๆ เพียงหนึ่งเล่มสามารถเปลี่ยนชีวิตคนคนหนึ่งได้ และหวังว่าหนังสือเสียงทุกเล่มในช่องนี้จะช่วยทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น
สำหรับคนที่อยากอ่านอะไรสั้น ผมได้เขียนเอาไว้ที่นี่ https://twitter.com/M0l30T
สำหรับคนที่เล่นเฟซบุ๊คมากกว่า ผมมีเพจที่นี่ http://bit.ly/2DnkUVM
ขอบคุณทุกคนจากใจจริงที่ยังติดตามและสนับสนุนกันอยู่นะครับ
พ่อรวยสอนลูก 在 สาระ ศาสตร์ Youtube 的精選貼文
#สาระ #แนวคิด #ความรู้ #สาระศาสตร์ #หนังสือ
จุดประสงค์ของช่องนี้ผมตั้งใจทำเพื่อให้คนที่รักการอ่านแต่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ และช่วยให้นักอ่านได้มีข้อมูลในการตัดสินใจก่อนซื้อหนังสือซักเล่ม หนังสือทุกเล่มที่เลือกอ่านลงช่องนี้คือหนังสือที่ผมได้ซื้อและอ่านเองจนจบแล้วทุกเล่ม ผมเชื่อว่าหนังสือดีๆ เพียงหนึ่งเล่มสามารถเปลี่ยนชีวิตคนคนหนึ่งได้ และหวังว่าหนังสือเสียงทุกเล่มในช่องนี้จะช่วยทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น
สำหรับคนที่อยากอ่านอะไรสั้น ผมได้เขียนเอาไว้ที่นี่ https://twitter.com/M0l30T
สำหรับคนที่เล่นเฟซบุ๊คมากกว่า ผมมีเพจที่นี่ http://bit.ly/2DnkUVM
ขอบคุณทุกคนจากใจจริงที่ยังติดตามและสนับสนุนกันอยู่นะครับ
พ่อรวยสอนลูก 在 พ่อรวยสอนลูก : Rich Dad Poor Dad... - Kinokuniya ประเทศไทย 的推薦與評價
พ่อรวยสอนลูก : Rich Dad Poor Dad (Taiwan version) 富爸爸,窮爸爸 ISBN 9789863615460 https://thailand.kinokuniya.com/bw/9789863615460 "พ่อรวยสอนลูก"... ... <看更多>