SME ควรอ่านเอาไว้! ธุรกิจมีปัญหาหนี้สินรัดตัว ยื่นฟื้นฟูกิจการช่วยได้ รีบวางแผนให้เร็ว รัดกุม ก็จะสามารถผ่านวิกฤตไปได้ …ในสถานการณ์ที่โควิด-19 กลับมาระบาดระลอกใหม่นี้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการหลายท่าน โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยอย่าง SME ที่มีจำนวนมากอีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทย ซึ่งการสั่งปิดสถานที่ประกอบการหลายแห่งส่งผลให้ธุรกิจนั้นเกิดปัญหา ขาดสภาพคล่อง เกิดภาระหนี้สิ้นเพิ่มมากขึ้น หากปล่อยไว้อาจทำให้ไม่สามารถดูแลกิจการต่อได้และเสี่ยงถูกฟ้องล้มละลายได้ในที่สุด แต่อย่าพึ่งกังวลไป เพราะ “การฟื้นฟูกิจการ” สามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้
.
การฟื้นฟูกิจการ คือ ทางเลือกหนึ่งของลูกหนี้ที่จะยื่นขอฟื้นฟูกิจการเพื่อช่วยให้ธุรกิจที่ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องที่ไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้ ให้สามารถดำเนินการธุรกิจต่อไปได้ ยกตัวอย่างเช่น การบินไทย วุฒิศักดิ์คลินิก ที่ยื่นศาลล้มละลายกลาง ขอฟื้นฟูกิจการ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย สำหรับในต่างประเทศก็มีกรณีเช่นนี้เหมือนกันนั่นก็คือ บริษัท MUJI เป็นต้น โดยที่การยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ สามารถยื่นได้ทั้งในกรณีที่ลูกหนี้ถูกฟ้องให้ล้มละลายแล้ว หรือก่อนที่จะมีการฟ้องให้ล้มละลายก็ได้
.
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า การฟื้นฟูกิจการ ไม่ใช่การล้มละลาย เพราะ “การล้มละลาย” คือ การที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้จะไม่มีสิทธิกระทำการใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการของตนเองได้เลย แต่จะเป็นการนำเอาทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งให้กับเจ้าหนี้ตามกระบวนการทางกฎหมาย สำหรับ “การฟื้นฟูกิจการ” คือ เมื่อศาลรับและอนุมัติคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ลูกหนี้จะได้รับสภาวะพักการชำระหนี้ และสามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ แต่ต้องทำแผนฟื้นฟูกิจการและต้องดำเนินตามแผนระยะเวลาตามแผน 5 ปี และขอขยายได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี โดยจะได้รับความคุ้มครองกิจการและทรัพย์สิน เช่น เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องคดีแพ่งหรือบังคับคดี เจ้าหนี้ไม่สามารถฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายได้ และห้ามตัดน้ำตัดไฟ เป็นต้น
.
• สำหรับผู้ที่มีสิทธิ์ยื่นขอฟื้นฟูกิจการ ประกอบไปด้วย เจ้าหนี้, ลูกหนี้, ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.), สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.), กรมการประกันภัย และ หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการของลูกหนี้
• หลักการเบื้องต้นในการขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ กฎหมายการฟื้นฟูกิจการของเจ้าหนี้/ลูกหนี้ ปี 2541 มีเงื่อนไขดังนี้
1. ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้
2. มีหนี้สินไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
3. มีเหตุอันควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ
4. ศาลยังไม่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด
5. ยังไม่มีการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคล หรือ นิติบุคคลเลิกกันด้วยเหตุอื่น หรือศาลมีคำสั่งให้เพิกถอนทะเบียนนิติบุคคล (ยังไม่ปิดกิจการ)
6. ยื่นคำขอโดยสุจริต
.
ถึงอย่างนั้นด้วยเพดานหนี้ทีต้องมีสูงถึง 10 ล้าน ทำให้โอกาสในการเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการของ SME นั้นมีน้อยมาก ทำให้มีการเพิ่มบทบัญญัติเพื่อเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจํากัด และบริษัทจํากัด ก็สามารถขอฟื้นฟูกิจการได้เช่นกัน โดยจำนวนหนี้ที่ลูกหนี้มีสามารถเป็นเป็นกรณีได้ดังนี้
- กิจการ SME (ขนาดกลางและขนาดย่อม) บุคคลธรรมดา : จำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจํากัด : จำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท
- บริษัทจํากัด : จำนวนหนี้ไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท
.
สำหรับ SME ในการขอฟื้นฟูกิจการจะมีขั้นตอนที่รวบรัดกว่าปกติ เพราะจากที่ปกติศาลต้องมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการก่อน แต่สำหรับ SME สามารถแนบแผนฟื้นฟูกิจการพร้อมกับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้เลย แล้วหากศาลเห็นชอบกับแผนที่เสนอ ก็จะมีคำสั่ง "ให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน" จากนั้นก็สามารถดำเนินการบริหารธุรกิจตามแผนต่อไปได้เลย
.
ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการ SME ท่านใดที่กำลังประสบปัญหาทางธุรกิจอยู่นั้น กระบวนการขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ SME ก็เป็นอีกตัวช่วยในการแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อได้ นอกจากจะอำนวยความสะดวกต่อลูกหนี้ในการปรับตัวและแก้ไขการดำเนินธุรกิจแล้ว ก็จะส่งผลดีต่อเจ้าหนี้ที่จะได้รับการชำระหนี้อย่าครบถ้วนมากกว่ารับการแบ่งทรัพย์สินจากการล้มลายของธุรกิจ นอกจากนี้รัฐบาลอาจจะต้องมีการเพิ่มและปรับมาตรการในการรองรับการยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการจากผู้ประกอบการให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เศรษฐกิจและบ้านเมืองที่กำลังเผชิญอยู่มากขึ้น ขอเป็นกำลังใจให้ผู้ประกอบการทุกท่านผ่านพ้นวิกฤตและสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นตลอดทั้งปี
.
ที่มา : https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/business-maker/sme-rehabilitation.html
https://www.dharmniti.co.th/business-debtor/
https://www.terrabkk.com/articles/198532/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#SME #เอสเอ็มอี #ผู้ประกอบการรายย่อย #ล้มละลาย #ฟื้นฟูกิจการ #วางแผนการเงิน #วางแผนธุรกิจ #ผ่อนชำระหนี้ #พักชำระหนี้ #หนี้ #การเงิน #ธุรกิจ #ปลดหนี้ #เจ้าหนี้ #ลูกหนี้ #ธนาคารแห่งประเทศไทย #สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ #กรมการประกันภัย
ฟื้นฟูกิจการ 在 ทนายเจมส์ LK - ลูกหนี้ขอฟื้นฟูกิจการ หากเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ไม่ทัน ... 的推薦與評價
การฟื้นฟูกิจการ คือ กรณีที่บุคคลหรือนิติบุคคลมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินเช่นเดียวกับบุคคลล้มละลาย กิจการยังดำเนินต่อไปได้ มีกำไร แต่ต้องเอากำไรที่ได้มาไปชำระหนี้ ... ... <看更多>
ฟื้นฟูกิจการ 在 ยื่นคำขอรับชำระหนี้ออนไลน์ คดีฟื้นฟูกิจการ "สินมั่นคงประกันภัย" 的推薦與評價
กรมบังคับคดี ย้ำ!เจ้าหนี้ของสินมั่นคง ต้องยื่นขอชำระหนี้ออนไลน์ เพื่อแสดงตัว พร้อมหลักฐานการเป็นเจ้าหนี้ต่อเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ ... ... <看更多>