=========
ภาษี E-service ตัวร้าย? กับนายเกมเมอร์ 💸💸💸
=========
.
“ภาษี” คือหนึ่งใน “ค่าใช้จ่าย” ของประชาชนที่มีหน้าที่จ่าย เพื่อแลกมาซึ่งสวัสดิการทางสังคมต่าง ๆ ในอีกด้านหนึ่งภาษีคือ “รายได้” ของภาครัฐที่เรียกเก็บจากประชาชนในประเทศ เพื่อนำมาใช้อย่างคุ้มค่า สร้างสวัสดิการอันดีงามให้ประชาชนใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ทั้งเรื่องสาธารณสุข การคมนาคม สวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิต เป็นต้น
.
(แต่ต้องขอวงเล็บไว้นะครับว่า ความพึงพอใจในสวัสดิการที่ภาครัฐส่งมอบให้ประชาชนในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่ามลรัฐไหนจะสามารถใช้ภาษีแล้วทำให้ประชาชนรู้สึกว่ามันคุ้มค่ากับที่ต้องเสียไป)
.
ทางภาครัฐจะเรียกเก็บภาษีผ่านเครื่องมือต่าง ๆ เช่น ‘ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา’ เรียกเก็บจากคนธรรมดาผู้มีรายได้ตามเกณฑ์และอาศัยอยู่ในประเทศไทย ‘ภาษีนิติบุคคล’ ที่เรียกเก็บจากธุรกิจเอกชนที่จดทะเบียนจัดตั้งและมีกำไรอยู่ในประเทศไทย หรือ ‘ภาษีมูลค่าเพิ่ม’ ที่เรียกเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้าและบริการในประเทศไทย เป็นต้น
.
ล่าสุดนี้ ทางรัฐบาลไทยได้ประกาศใช้เครื่องมือเรียกเก็บภาษีตัวใหม่ที่มีชื่อว่า ‘ภาษี e-service’ ที่พอเหมาะพอดีกับวิถีชีวิตในโลกปัจจุบัน เพราะด้วยรูปแบบของการให้บริการและการทำธุรกรรมในยุคนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อก่อนมาก การซื้อขายสินค้าบริการทั้งหลายแปรสภาพไปอยู่บนช่องทางอิเล็กทรอนิกส์และอินเตอร์เน็ตมากขึ้น เครื่องมือนี้จึงเกิดขึ้น
.
เรื่องนี้ส่งผลกระทบกับผู้บริโภค ผู้ใช้บริการบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และเหล่าเกมเมอร์ที่ซื้อเกมผ่านแพลตฟอร์มเกมต่าง ๆ อย่างแน่นอน เพราะโดยภาพรวมแล้วภาระของผู้ประกอบการก็อาจจะถูกผลักมาให้ผู้บริโภคช่วยกันแบ่งรับแบ่งสู้ ราคาของสินค้าและบริการก็มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นนั่นเองครับ
.
แต่จะส่งผลกระทบในรูปแบบอย่างไรบ้าง ค่อย ๆ ไปทำความรู้จักกับ e-service ตัวนี้กันครับ
.
📌 ภาษี e-service คือ อะไร?
.
ปกติแล้วธุรกิจที่ขายสินค้าและบริการในประเทศไทยจะถูกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ในอัตรา 7% จากผู้บริโภค ซึ่งผู้ประกอบการจะมีหน้าที่เก็บและนำส่งให้สรรพากร แต่ e-service จะเป็น VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศซึ่งไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย ต้องมีหน้าที่เสียภาษีนี้ให้กับประเทศไทย เมื่อมีรายได้ค่าบริการผ่านแพลทฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ ในอัตรา 7% ของยอดสินค้าหรือบริการ
.
หลังจากวันที่ 1 กันยายน 2564 ผู้ที่ขายสินค้าและบริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ให้กับลูกค้าในประเทศไทยจะมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้นจากเดิมตามกฏหมาย
.
📌 ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาษี e-service มีใครบ้าง?
.
โดยหลัก ๆ แล้วก็จะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เราคุ้นเคยกันดี เช่น Facebook Instagram Youtube ซึ่งให้บริการเกี่ยวกับโฆษณาทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ธุรกิจให้บริการสตรีมมิ่งเพื่อความบันเทิง เช่น Netflix Spotify ธุรกิจที่ให้บริการออนไลน์ เช่น Agoda Booking.com Airbnb Grab และแพลตฟอร์มที่เป็นมาร์เก็ตเพลส หรือขายสินค้าออนไลน์ ทั้ง App Store, Play Store, Shopee, Amazon.com
.
สำหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเหล่าเกมเมอร์ ก็จะเป็นธุรกิจจำพวก Online Store ทั้ง Steam, PS Store, Nintendo Store และ XBOX Store รวมถึงตัวเกมที่มีการซื้อขายสินค้าด้วยเงินจริง การเติมเงินผ่านระบบที่อยู่ในต่างประเทศก็ต้องเสียภาษีนี้เช่นกัน เพราะในยุคนี้เกมต่าง ๆ จะถูกพัฒนาขึ้นมาภายใต้รูปแบบ in-game purchasing เสียเป็นส่วนใหญ่
.
📌 e-services เก็บทำไม มีในประเทศไทยที่เดียวหรือเปล่า?
.
อันที่จริงภาษี e-service เป็นภาษีที่ถูกเก็บตามคำแนะนำของ OECD โดยในหลายประเทศทั่วโลกกว่า 60 ประเทศ เช่น ออสเตรเลีย ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ก็ได้ออกหรือแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มาก่อนหน้าประเทศไทยกันบ้างแล้ว
.
ว่ากันว่า e-service จะช่วยสร้างความเป็นธรรมให้แก่ธุรกิจภายในประเทศมากขึ้น ลองนึกดูเล่น ๆ ก็ได้ครับ ถ้าร้านเกมค้าปลีกในไทยต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้สรรพากรตามปกติ แต่ Steam ที่ขายเกมเหมือนกันไม่ต้องเสียภาษีอัตรา 7% เลย ชัดเจนว่าภาระค่าใช้จ่ายของร้านค้าปลีกจะเยอะกว่า ทำให้แพลตฟอร์มจากต่างประเทศรายนี้ได้เปรียบ เพราะมีช่องทางที่สามารถลดราคาเพื่อแข่งขันกับร้านเกมในไทยได้
.
📌 แล้วใครมันจะไปอยากเสียเงินมากกว่าเพื่อซื้อเกมที่เหมือนกันล่ะครับ ถูกไหม?
.
เมื่อมีการเก็บภาษีอย่างเท่าเทียมแล้ว แน่นอนว่ารายได้ของรัฐบาลไทยก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล มีการคาดการณ์ว่าจะสามารถเรียกเก็บภาษี e-service ได้มากกว่า 5 พันล้านบาทเลยล่ะครับ
.
📌 ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคล่ะ มีอะไรบ้าง?
.
ถ้าพูดถึงผลกระทบที่เกิดกับผู้บริโภคที่เป็นบุคคลธรรมดาอย่างเรา ๆ โดยทั่วไป e-service ก็จะคล้ายกับ VAT ที่เราต้องเสียให้กับร้านค้าและบริการต่าง ๆ ในประเทศอยู่แล้ว
.
ซึ่งการเกิดขึ้นมาของภาษีตัวนี้จะทำให้ภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น เพราะพวกเขามีหน้าที่ต้องนำส่งภาษีตัวนี้ให้กับทางสรรพากรตามข้อตกลง ทำให้จากเดิมที่ผู้ให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ไม่เคยต้องเสียภาษี e-service มาก่อน ต้องหาทางออกให้กับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น
.
มีทางเลือกให้ 2 ทางครับ ทางเลือกแรกคือเรียกเก็บค่าสินค้าและบริการเท่าเดิม ไม่ชาร์จภาษี e-service เพิ่มจากลูกค้า อันนี้ก็เป็นผลดีกับตัวลูกค้า เพราะผู้ประกอบการใจป๋ายอมแบกรับต้นทุนส่วนเพิ่มนี้เอาไว้เอง
.
หากเป็นทางเลือกที่สอง คือ ผู้ประกอบการไม่อยากรับภาระส่วนนี้ไว้ เพราะต้องการรักษาความสามารถในการทำกำไรให้ได้เท่าเดิม แน่นอนว่าเขาก็ต้องผลักภาระส่วนนี้ให้กับผู้บริโภคอย่างเรา สินค้าก็จะแพงขึ้นประมาณ 7% บวกลบจากราคาก่อนหน้านี้
.
ในฐานะนักลงทุนที่คลุกคลีกับวงการเกมอยู่บ้าง ผมเชื่อว่าผู้พัฒนาเกมจะเลือกผลักภาระนี้มาให้ลูกค้าครับ เพราะโดยส่วนใหญ่อำนาจต่อรองของผู้พัฒนาเกมมีสูงกว่าผู้เล่น โดยเฉพาะเกมที่มีกลุ่มคนเล่นมากมาย และมี Network Effect ที่แข็งแกร่งมหาศาล
.
นึกภาพตามครับว่าเรากำลังเล่นเกม MOBA ยอดนิยมเกมหนึ่งมาอย่างยาวนาน ซื้อของในเกมไว้มากมาย ไต่แรงค์ไปอยู่เทียร์บนได้อย่างสง่าผ่าเผย ถ้าอนาคตผู้พัฒนาเกมจะขึ้นราคาสินค้าอีก 7% หรือมากกว่า เราจะยอมเลิกเล่นเกมนั้นแล้วเปลี่ยนไปเล่นเกมอื่น หรือหยุดซื้อของในเกมนั้นเพื่อแอนตี้ภาษีตัวนี้ แล้วยอมให้คนอื่น ๆ ที่ยังจ่ายเงินซื้อของในเกมเหมือนเดิมแซงหน้าไปหรือเปล่าล่ะ?
.
และสำหรับเกมเมอร์ที่ชอบไปลองเล่นเกมตามหน้าร้านแล้วรอกดซื้อเกมตอน Steam ประกาศลดราคา ก็อาจจะไม่เห็นความแตกต่างในการทำโปรโมชั่นบนแพลตฟอร์มออนไลน์มากเหมือนที่ผ่านมา เพราะการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการไทยกับต่างประเทศจะมีความเท่าเทียมมากขึ้น
.
สรุปโดยง่าย หลังจากวันที่ 1 กันยายน 2564เป็นต้นไป เกมเมอร์ทุกคนอาจจะต้องซื้อเกมผ่านดิจิตอลแพลตฟอร์ม และ Online Store ต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากปกติ 7% บวกลบ นอกจากนี้ระบบการเติมเงินหรือซื้อสินค้าในเกมก็อาจจะโดนชาร์จภาษีตัวนี้เพิ่มเข้าไปด้วยเช่นกัน
.
ผมเข้าใจว่าเกมเมอร์ ผู้บริโภค ทุกคนย่อมหงุดหงิดเป็นธรรมดาเมื่อสินค้าและบริการมีโอกาสแพงขึ้น 7% แต่อัตราภาษีที่ถูกเรียกเก็บนี้ถือว่าไม่แพงมากนัก เมื่อเทียบกับประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปที่เก็บภาษี e-service ในอัตรา 17-27% แม้กระทั่งเพื่อนบ้านอย่างอินโดนิเซียก็เรียกเก็บภาษีนี้ในอัตรา 10% และภาษีนี้จะเป็นหนึ่งในรายได้ที่ไหลเข้ากระเป๋าเงินของรัฐเพิ่มขึ้นในอนาคต
.
อันที่จริงผมเชื่อครับว่า ภาษี e-service ที่ชาร์จเพิ่ม 7% บนมูลค่าของสินค้าและบริการทางอิเล็กทรอนิกส์นี้จะไม่เป็นเรื่องใหญ่อะไร หรือเป็นตัวร้ายในสายตาของใครเลย หากผู้บริโภคอย่างเรารู้สึกว่าเงินเหล่านี้จะถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ สามารถสร้างสวัสดิการที่ดีให้ทุกคนภายในประเทศมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
.
เหมือนอย่างที่ผมกล่าวมาในตอนต้น ถ้าเงินภาษีเหล่านี้ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับประชาชนคนไทย (ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มใด) อย่างแท้จริง
.
รัฐอยากจะเก็บ 10-20% ประชาชนก็คงไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไรเลย...
.
บทความโดย ปั้น - จิตรกร แสงวิสุทธิ์ Investment Planner แอดมินเพจ "นายปั้นเงิน"
.
💡 ติดตามความรู้ด้านการเงิน การออมและการลงทุน ได้ที่เพจ นายปั้นเงิน เพจที่จะทำให้เรื่องการเงินเป็นเรื่องง่าย ( https://www.facebook.com/artisanmoney/ )
「ภาษีนิติบุคคล มีอะไรบ้าง」的推薦目錄:
- 關於ภาษีนิติบุคคล มีอะไรบ้าง 在 GamingDose Facebook 的精選貼文
- 關於ภาษีนิติบุคคล มีอะไรบ้าง 在 รู้ทุกเรื่อง ! ภาษีเงินได้นิติบุคคล คืออะไร คำนวณแบบไหน ? สรุปในคลิป ... 的評價
- 關於ภาษีนิติบุคคล มีอะไรบ้าง 在 เปิดบริษัทใหม่ ต้องจ่ายภาษีอะไรบ้าง ? สรุปให้ฟังในคลิปนี้ครับ 的評價
- 關於ภาษีนิติบุคคล มีอะไรบ้าง 在 ภาษีนิติบุคคล เรื่องที่คนเริ่มต้นทำธุรกิจต้องศึกษาอย่างเข้าใจ | Fillgoods 的評價
- 關於ภาษีนิติบุคคล มีอะไรบ้าง 在 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ต่างจาก ภาษีเงินไ้ด้บุคคลธรรมดายังไง - Facebook 的評價
ภาษีนิติบุคคล มีอะไรบ้าง 在 เปิดบริษัทใหม่ ต้องจ่ายภาษีอะไรบ้าง ? สรุปให้ฟังในคลิปนี้ครับ 的推薦與評價
พรี่หนอมสรุปทุกอย่างที่คนทำธุรกิจในรูปแบบบริษัทต้องรู้ครับ ก่อนจะไปตอบคำถามนี้ สิ่งหนึ่งที่อยากจะให้เริ่มต้นก่อน คือ เข้าใจรายได้และค่าใช้จ่าย ... ... <看更多>
ภาษีนิติบุคคล มีอะไรบ้าง 在 ภาษีนิติบุคคล เรื่องที่คนเริ่มต้นทำธุรกิจต้องศึกษาอย่างเข้าใจ | Fillgoods 的推薦與評價
ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 583 พุทธศักราช 2558 ได้มีการระบุในเรื่องของอัตราภาษีนิติบุคคลเอาไว้คือ ในกรณีของบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัดทั่วไป หากมีกำไรเกิน 3 ... ... <看更多>
ภาษีนิติบุคคล มีอะไรบ้าง 在 รู้ทุกเรื่อง ! ภาษีเงินได้นิติบุคคล คืออะไร คำนวณแบบไหน ? สรุปในคลิป ... 的推薦與評價
รู้ทุกเรื่อง ! ภาษีเงินได้ นิติบุคคล คือ อะไร คำนวณแบบไหน ? สรุปในคลิปเดียว | ศึก 12 ภาษี EP.4. ... <看更多>