วิเคราะห์ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนได้เสียของคณะกรรมหารสรรหาอธิการที่ได้รับการแต่งตั้งของสภามหาวิทยาลัย
นับว่าเป็นเรื่องที่ดีในการที่มีความเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนได้เสียของกรรมการสรรหาที่เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยเป็นการท้วงติงเพื่อประโยชน์มหาวิทยาลัย เพราะมหาวิทยาลัยไม่ได้เป็นของคนคนเดียวแต่เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่บุคลากรอยู่ใต้มหาวิทยาลัยย่อมห่วงในสถาบันที่เขาปฏิบัติหน้าที่อยู่
ผมในฐานะกรรมการสรรหาคนหนึ่งที่มาจากเลือกจากคณาจารย์มหาวิทยาลัย ฝ่ายวิชาการ ขออนุญาติชี้แจงข้อกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนได้เสียของคณะกรรมหารสรรหาอธิการที่ได้รับการแต่งตั้งของสภามหาวิทยาลัย
ในประเด็นนี้มีแนวคิดและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องอยู่ คือ พระราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547 พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2562
แนวคิดว่าด้วยหลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ดี
หลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ดี เป็นหลักในการนำมาปกครองประเทศให้เกิดความสงบสุขโดยยึดหลักพื้นฐาน 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้อง เป็นธรรม การดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย การกำหนดกฎ กติกา และมีการปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัดโดยคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรมของประชาชน
2. หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัย
3. หลักความโปร่งใส หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกองค์กรให้มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
4. หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และแสดงความคิดเห็น ตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยวิธีการแสดงความคิดเห็น การตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ การทำประชาพิจารณ์ การร่วมลงประชามติ หรืออื่นๆที่เปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
5. หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและการกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากการกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช่ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยการรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และมีการรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547
ได้กล่าวถึงคณะกรรมการสรรหาอธิการบดีเพื่อให้สภามหาวิทยาลัยเลือกเพื่อให้มีการโปรดเกล้าแต่งตั้งอธิการบดี มาตรา 18 มาตรา 28 มาตรา 29 ดังนี้
มาตรา 18 สภามหาวิทยาลัยมีอํานาจและหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัยและโดยเฉพาะให้มีอํานาจและหน้าที่ ดังนี้
(1) กําหนดนโยบายและอนุมัติแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับการศึกษา การวิจัย การ ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม การผลิตและส่งเสริมวิทยฐานะครู การทะนุบํารุงศิลปะและ วัฒนธรรม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
(2) ออกกฎ ระเบียบ ประกาศและข้อบังคับของมหาวิทยาลัย และอาจมอบให้ส่วนราชการใด ในมหาวิทยาลัยเป็นผู้ออกกฎ ระเบียบ ประกาศและข้อบังคับสําหรับส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้นเป็นเรื่องๆ ก็ได้
(3) กํากับมาตรฐานการศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษา การเปิดสอนของมหาวิทยาลัย และติดตามประเมินผลการดําเนินงานของมหาวิทยาลัย
(4) อนุมัติให้ปริญญา ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง ประกาศนียบัตรบัณฑิต อนุปริญญา และประกาศนียบัตร
(5) พิจารณาการจัดตั้ง การรวมและการยุบเลิกสํานักงานวิทยาเขต บัณฑิตวิทยาลัย คณะ วิทยาลัย สถาบัน สํานัก ศูนย์ส่วนราชการหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ รวมทั้งการแบ่งส่วนราชการหรือหน่วยงานของส่วนราชการดังกล่าว
(6) อนุมัติการรับสถาบันการศึกษาชั้นสูงหรือสถาบันอื่นเข้าสมทบในมหาวิทยาลัยหรือ ยกเลิกการสมทบ
(7) พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่คณะกรรมการ การอุดมศึกษากําหนด
(8) พิจารณาเสนอเรื่องเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งและถอดถอนนายกสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ อธิการบดี ศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พิเศษ
(9) แต่งตั้งและถอดถอนรองอธิการบดี คณบดี ผู้อํานวยการสถาบัน ผู้อํานวยการสํานัก และ ผู้อํานวยการศูนย์ หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า คณะ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ รองศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์พิเศษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิเศษ
(10) แต่งตั้งและถอดถอนประธานกรรมการและกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย
(11) อนุมัติงบประมาณรายจ่ายจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย
(12) ออกระเบียบและข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารการเงิน การจัดหารายได้และ ผลประโยชน์จากทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ โดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายหรือมติ คณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
(13) พิจารณาดําเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วย ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา และตามที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนใน สถาบันอุดมศึกษามอบหมาย
(14) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อพิจารณาและ เสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดอันอยู่ในอํานาจ และหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย
(15) พิจารณาและให้ความเห็นชอบในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัยตามที่ อธิการบดีหรือสภาวิชาการเสนอ และอาจมอบหมายให้อธิการบดีหรือสภาวิชาการปฏิบัติการอย่าง หนึ่งอย่างใดอันอยู่ในอํานาจและหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยได้
(16) ส่งเสริม สนับสนุนและแสวงหาวิธีการเพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัย ตลอดจนการปฏิบัติภารกิจร่วมกันกับสถาบันอื่น
(17) ปฏิบัติหน้าที่อื่นเกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัยที่มิได้ระบุให้เป็นหน้าที่ของผู้ใด โดยเฉพาะ
มาตรา 28 อธิการบดีนั้น จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง โดยคําแนะนําของสภา มหาวิทยาลัยจากผู้มีคุณสมบัติตาม มาตรา 29 หลักเกณฑ์วิธีการได้มา และคุณสมบัติของผู้ดํารงตําแหน่งอธิการบดี ให้เป็นไปตาม ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย โดยกระบวนการสรรหาซึ่งต้องคํานึงถึงหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้มีความรู้ ความชํานาญ และคุณสมบัติเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และภาระหน้าที่ ของมหาวิทยาลัย และเป็นที่ยอมรับนับถือของบุคลากรของมหาวิทยาลัยและบุคคลในท้องถิ่นที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการของมหาวิทยาลัย
(2) กระบวนการสรรหาจะต้องเน้นเรื่องการมีส่วนร่วมของบุคลากรของมหาวิทยาลัยและบุคคลใน ท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการของมหาวิทยาลัย
มาตรา 29 อธิการบดีต้องสําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง และได้ทําการสอนหรือมีประสบการณ์ด้าน การบริหารมา แล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัย รับรอง หรือเคยดํารงตําแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยหรือสภาสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภา มหาวิทยาลัยรับรอง หรือดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งศาสตราจารย์ รวมทั้งมีคุณสมบัติอื่น และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กําหนดใน ข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
มาตรา 5
“การพิจารณาทางปกครอง” หมายความว่า การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง
“คำสั่งทางปกครอง” หมายความว่า
(1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่าง บุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ
(2) การอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง
“เจ้าหน้าที่” หมายความว่า บุคคล คณะบุคคล หรือนิติบุคคล ซึ่งใช้อำนาจหรือได้รับมอบ ให้ใช้อำนาจทางปกครองของรัฐในการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็น การจัดตั้งขึ้นในระบบราชการ รัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐหรือไม่ก็ตาม
คู่กรณี” หมายความว่า ผู้ยื่นคําขอหรือผู้คัดค้านคําขอผู้อยู้ในบังคับหรือในบังคับของคําส่ังทางปกครอง และผู้ซึ่งได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองเนื่องจาก
สิทธิของผู้นั้นจะถูกกระทบกระเทือนจากผลของคําส่ังทางปกครอง
มาตรา 13 เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
(1) เป็นคู่กรณีเอง
(2) เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี
(3) เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายใน 3 ชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียง 2 ชั้น
(4) เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี
(5) เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี
(6) กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 15 เมื่อมีกรณีตามมาตรา 13 หรือคู่กรณีคัดค้านว่ากรรมการในคณะกรรมการ ที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองคณะใดมีลักษณะดังกล่าว ให้ประธานกรรมการเรียกประชุม คณะกรรมการเพื่อพิจารณาเหตุคัดค้านนั้น ในการประชุมดังกล่าวกรรมการผู้ถูกคัดค้านเมื่อได้ชี้แจง ข้อเท็จจริงและตอบข้อซักถามแล้วต้องออกจากที่ประชุม ถ้าคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองคณะใดมีผู้ถูกคัดค้านในระหว่าง ที่กรรมการผู้ถูกคัดค้านต้องออกจากที่ประชุม ให้ถือว่าคณะกรรมการคณะนั้นประกอบด้วยกรรมการ ทุกคนที่ไม่ถูกคัดค้าน ถ้าที่ประชุมมีมติให้กรรมการผู้ถูกคัดค้านปฏิบัติหน้าที่ต่อไปด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของกรรมการที่ไม่ถูกคัดค้าน ก็ให้กรรมการผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ มติดังกล่าว ให้กระทำโดยวิธีลงคะแนนลับและให้เป็นที่สุด การยื่นคำคัดค้านและการพิจารณาคำคัดค้านให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในกฎกระทรวง
มาตรา 16 ในกรณีมีเหตุอื่นใดนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 เกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้ การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง เจ้าหน้าที่หรือกรรมการผู้นั้นจะทำการพิจารณาทางปกครอง ในเรื่องนั้นไม่ได้ ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้ดำเนินการ ดังนี้
(1) ถ้าผู้นั้นเห็นเองว่าตนมีกรณีดังกล่าว ให้ผู้นั้นหยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อนและแจ้งให้ ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งหรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี
(2) ถ้ามีคู่กรณีคัดค้านว่าผู้นั้นมีเหตุดังกล่าว หากผู้นั้นเห็นว่าตนไม่มีเหตุตามที่คัดค้านนั้น ผู้นั้นจะทำการพิจารณาเรื่องต่อไปก็ได้แต่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่ง หรือประธานกรรมการทราบ แล้วแต่กรณี
(3) ให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นหรือคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครอง ซึ่งผู้นั้นเป็นกรรมการอยู่มีคำสั่งหรือมีมติโดยไม่ชักช้า แล้วแต่กรณีว่าผู้นั้นมีอำนาจในการพิจารณา ทางปกครองในเรื่องนั้นหรือไม่ ให้นำบทบัญญัติมาตรา 14 วรรคสอง และมาตรา 15 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา 17 การกระทำใด ๆ ของเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจ พิจารณาทางปกครองที่ได้กระทำไปก่อนหยุดการพิจารณาตามมาตรา 14 และมาตรา 16 ย่อมไม่เสียไป เว้นแต่เจ้าหน้าที่ผู้เข้าปฏิบัติหน้าที่แทนผู้ถูกคัดค้านหรือคณะกรรมการที่มีอำนาจ พิจารณาทางปกครอง แล้วแต่กรณีจะเห็นสมควรดำเนินการส่วนหนึ่งส่วนใดเสียใหม่ก็ได้
มาตรา 19 ถ้าปรากฏภายหลังว่าเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจ พิจารณาทางปกครองใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือการแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่งเช่นว่านี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใด ที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี ว่าด้วย การสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2562 อาศัยอำนาจตาม มาตรา 28 มาตรา 29 พระราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547
ข้อ 7 ใหสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา ประกอบด้วย
(1) กรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน เป็นประธาน
(2) กรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน เป็นรองประธาน
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิในเขตพื้นที่บริการการศึกษาของมหาวิทยาลัย 1 คน ซึ่งสภามหาวิทยาลัย เลือก เป็นกรรมการ
(4) นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี เป็นกรรมการ
(5) ผู้แทนบุคลากร สายวิชาการ 1 คน เป็นกรรมการ
(6) ผู้แทนบุคลากร สายสนับสนุน 1 คน เป็นกรรมการ
(7) ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ เป็นกรรมการ
(8) ผู้อํานวยการสํานักงานสภามหาวิทยาลัย เป็นเลขานุการ ใหเจ้าหน้าที่สํานักงานสภามหาวิทยาลัย 1 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ การเลือกกรรมการตามขอ 7 (3) ให้เป็นไปตามมติของสภามหาวิทยาลัย การเลือกกรรมการตามข้อ 7 (5) และ (6) ให้ออกเป็นประกาศของมหาวิทยาลัย ในกรณีที่กรรมการสรรหาคนใดคนหนึ่งสมัคร หรือตอบรับการทาบทามเป็นผู้สมควรดํารงตําแหน่ง อธิการบดี ให้กรรมการผู้นั้นพ้นจากตําแหน่งกรรมการสรรหา และให้คณะกรรมการสรรหาที่เหลืออยู่เป็นองค์ประชุมเพื่อดําเนินการสรรหาต่อไป
ข้อ 8 ให้คณะกรรมการสรรหามีหน้าที่สรรหาผู้สมควรดํารงตําแหน่งอธิการบดี ซึ่งมีคุณสมบัติตามมาตรา 28 (1) และมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 และต้องมีคุณลักษณะพึงประสงค์ ดังต่อไปนี้
(1) มีภาวะผู้นําที่กล้าเปลี่ยนแปลง สามารถระดมทรัพยากรและบุคคลเพื่อรวมกันพัฒนา มหาวิทยาลัยให้บรรลุเป้าหมาย ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า
(2) มีวิสัยทัศน์กวางไกล มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทันสมัยทันเหตุการณ์ในการบริหาร มหาวิทยาลัย
(3) เป็นผู้ที่สามารถแสวงหารายได้และทรัพยากรอื่นเข้าสู่มหาวิทยาลัย
(4) เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับทางวิชาการ
(5) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ส่งเสริมความสามัคคี มีศักยภาพในการจัดหาความร่วมมือในทางวิชาการ และการวิจัย สามารถติดต่อประสานงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ
คุณลักษณะต้องห้ามของผู้สมควรดํารงตําแหน่งอธิการบดี ดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง กรรมการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง
(2) เป็นผู้มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับกิจการของมหาวิทยาลัยไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
(3) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทํากับมหาวิทยาลัย เว้นแต่เป็นสัญญาที่เกี่ยวข้องกับ การดําเนินกิจการทางวิชาการ
(4) เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในหางหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เขาเป็นคู่สัญญากับมหาวิทยาลัย เว้นแต่ เป็นผู้ถือหุ้นเพื่อประโยชน์แห่งการลงทุนตามปกติ
ข้อ 9 ให้คณะกรรมการสรรหามีอํานาจและหน้าที่ในการออกประกาศ และประชาสัมพันธ์การกําหนด วิธีการและขั้นตอนในการสรรหาบุคคลดํารงตําแหน่งอธิการบดี ดังนี้
(1) การรับสมัคร การเสนอชื่อ และการเสาะหาผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสม
ก. วิธีการสมัคร ให้ผู้สนใจสมัครเข้ารับการสรรหาในตําแหน่งอธิการบดี ตามแบบที่คณะกรรมการสรรหากําหนด
ข. วิธีการเสนอชื่อ ให้คณะกรรมการสรรหากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเสนอชื่อผู้ที่มีความ เหมาะสม
ค. วิธีการเสาะหาผู้ที่มีความเหมาะสม ให้คณะกรรมการสรรหาเสาะหาผู้ที่มีความเหมาะสมเข้าสู่กระบวนการสรรหาอธิการบดี
(2) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัคร ผู้ได้รับการเสนอชื่อ และหรือผู้ได้รับการเสาะหาว่ามี คุณสมบัติตามมาตรา 28 (1) และมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547
(3) ทาบทามผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะดํารงตําแหน่งอธิการบดีตาม
(2) โดยให้ผู้ที่ได้รับการทาบทามมีหนังสือตอบรับหรือปฏิเสธการทาบทาม กรณีที่ตอบรับการทาบทามให้ผู้ที่ตอบรับเสนอเอกสาร แนวทางการ พัฒนาและการแก้ป้ญหาของมหาวิทยาลัยใน 4 ปีข้างหน้า โดยจัดทํารายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้ตอบรับ การทาบทามในแบบประมวลประวัติและผลงานตามที่คณะกรรมการสรรหากําหนด
(4) พิจารณาขอมูลประวัติ ผลงาน แนวทางพัฒนาและแก้ปัญหามหาวิทยาลัย โดยให้มีการแสดง วิสัยทัศน และยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยของผู้ที่ตอบรับการทาบทามตาม 9 (3) ต่อที่ประชุมบุคลากร ของมหาวิทยาลัยและบุคลากรในท้องถิ่น และกลั่นกรองให้เหลือจํานวนไม่น้อยกว่า 2 ชื่อแต่ไม่เกิน 3 ชื่อ เพื่อพิจารณาเป็นผู้สมควรดํารงตําแหน่งอธิการบดีเรียงตามลําดับตัวอักษรเสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณา
ข้อ 10 การประชุมสภามหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาเลือกผู้ดํารงตําแหนงอธิการบดีจากรายชื่อที่คณะ กรรมการสรรหาเสนอตามข้อ 9 (4) ต้องมีกรรมการสภามหาวิทยาลัยเข้าร่วมประชุมจํานวนไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทาที่มีอยู่ และการลงมติเลือกผู้ดํารงตําแหน่งอธิการบดีให้ลงคะแนนโดยวิธีลับ กรรมการสภามหาวิทยาลัยหนึ่งคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้หนึ่งเสียง หากมีคะแนนเสียงเท่ากันใหประธานที่ ประชุมสภามหาวิทยาลัย ลงคะแนนเสียงเพิ่มได้อีกหนึ่งเสียง มติเลือกเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ แต่งตั้ง ให้ดํารงตําแหน่งอธิการบดีตองมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทาที่มีอยู่
กรณีที่การลงคะแนนเสียงในครั้งแรกหากไม่มีผู้ใดได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเท่าที่มีอยู่ ให้ลงคะแนนเสียงครั้งที่ 2 ด้วยวิธีลับ หากการลงคะแนนเสียงในครั้งที่ 2 ยังไม่มีผู้ที่ได้ คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทาที่มีอยู่อีก ให้ลงคะแนนเสียงครั้งที่ 3 โดยวิธีลับ โดยการลงคะแนนเสียงในครั้งที่ 3 นี้ให้ตัดผู้ที่ได้คะแนนเสียงน้อยที่สุดจากการลงคะแนนเสียงครั้งที่ 2 ออกจากการเป็นผู้ที่ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งอธิการบดี หากตัดไปแล้วทําให้เหลือผู้ที่จะได้รับการ พิจารณารับเลือกเพียงคนเดียวให้ที่ประชุมลงคะแนนเสียง “รับ” หรือ “ไม่รับ” และคะแนนเสียงที่จะเสนอชื่อเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้นั้นให้ดํารงตําแหน่งอธิการบดีต้องมีคะแนนเสียง..“รับ”..เกินกึ่งหนึ่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทาที่มีอยู่ ถ้าคะแนนเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเท่าที่มีอยู่ให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาผู้สมควรดํารงตําแหนงอธิการบดีใหม่
กรณีที่การลงคะแนนเสียงในครั้งที่ 3 มีผู้ที่จะได้รับการพิจารณารับเลือกหลายคน แต่ผลการลงคะแนนเสียงยังไม่มีผู้ใดได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเทาที่มีอยู่ ให้ดําเนินการลงคะแนนเสียงครั้งที่ 4 โดยวิธีการเดียวกับการลงคะแนนเสียงในครั้งที่ 3 หากยังไม่มีผู้ใด ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของกรรมการสภามหาวิทยาลัยเท่าที่มีอยู่อีกให้ดําเนินการลงคะแนนเสียง โดยให้ตัดผู้ที่ได้คะแนนเสียงน้อยที่สุดจากการลงคะแนนเสียงในครั้งที่ผานมาออกจากการเป็นผู้ได้รับการ พิจารณาแตงตั้งให้ดํารงตําแหน่งอธิการบดี
ทั้งนี้ ให้การดําเนินการพิจารณาเลือกผู้ดํารงตําแหน่งอธิการบดี จะต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายในการประชุมคราวนั้นจนกว่าจะได้ผู้ที่ได้คะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่ง หรือให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาผู้สมควรดํารงตําแหน่งอธิการบดีใหม่แล้วแต่กรณี
จากการพิจารณากฎหมายและข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยนี้สามารถวิเคราะห์ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนได้เสียของคณะกรรมหารสรรหาอธิการที่ได้รับการแต่งตั้งของสภามหาวิทยาลัย ว่าเป็นมีส่วนได้เสียหรือไม่
ประเด็นแรก
กรรมการสรรหาอธิการบดีที่มาจากตัวแทนสภามหาวิทยาลัย ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานีว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2562 ข้อ 7 ใหสภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหานั้นชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อพิจารณาตัวบทกฎหมาย คือ ตามพระราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 28 ว่าแต่งตั้งกรรมการสรรหาชอบด้วยกฎหมาย ตามอำนาจมาตรา 18 (14) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อพิจารณาและ เสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดอันอยู่ในอํานาจ และหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย ดังนั้นการแต่งตั้งกรรมการสภา 3 ท่านมาเป็นกรรมการสรรหาเพื่อพิจารณาสรรหาอธิการบดีให้สภาพิจารณาทางปกครองในการออกคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ชอบด้วยกฎหมาย
ประเด็นที่ 2
กรรมการสรรหา 3 ท่านที่มาจากกรรมการสภานั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่ เป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาลหรือไม่ ในกรณีที่ทำหน้าเป็นกรรมสรรหาและทำหน้าที่ในการพิจารณาคัดเลือกอธิการบดีเพื่อให้ดำเนินการโปรดเกล้าแต่งตั้ง
เมื่อพิจารณาตามหลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการที่ดี เป็นหลักในการนำมาปกครองประเทศให้เกิดความสงบสุขโดยยึดหลักพื้นฐาน 6 ประการ คือ
1. หลักนิติธรรม หมายถึง การตรากฎหมายที่ถูกต้อง เป็นธรรม การดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักกฎหมาย การกำหนดกฎ กติกา และมีการปฏิบัติตามกฎ กติกาที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัดโดยคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ ความยุติธรรมของประชาชน
2. หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัย
3. หลักความโปร่งใส หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกองค์กรให้มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้
4. หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และแสดงความคิดเห็น ตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยวิธีการแสดงความคิดเห็น การตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ การทำประชาพิจารณ์ การร่วมลงประชามติ หรืออื่นๆที่เปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
5. หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและการกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากการกระทำของตนเอง
6. หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช่ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยการรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และมีการรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
หลักธรรมาภิบาล ในประเด็นเรื่องหลักนิติธรรมในเรื่องส่วนได้เสีย นั้นจะปรากฎอยู่ในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 13 กรรมการสรรหาผู้มีส่วนได้เสียกับผู้ได้รับการเสนอชื่ออธิการบดี 3 ท่าน คือ เป็นคู่กรณีเอง เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใด ๆ หรือเป็นพี่น้อง หรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในประเด็นนี้จะเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยจะเป็นคู่กรณีกับผู้ได้รับการเสนอชื่ออธิการบดี 3 ท่าน ซึ่งมี กรรมการสภามหาวิทยาลัย 3 ท่าน เป็นกรรมการสรรหาอยู่ด้วยนั้น เห็นว่าไม่น่าจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้จึงไม่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาลแต่อย่างใด เพราะ
1.กรรมการสรรหา 3 ท่านนั้นที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งมาจากกรรมการสภาเพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินการสรรหาให้สำเร็จลุ่ล่วง ภายใต้พระราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 18 (14) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดเพื่อพิจารณาและ เสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใด หรือมอบหมายให้ปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดอันอยู่ในอํานาจ และหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัย คือ แต่งตั้งเพื่อไปทำหน้าที่สรรหาผู้ที่ได้รับการเสนอชื่ออธิการบดีตามข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยฯ ข้อ 9 (4) พิจารณาขอมูลประวัติ ผลงาน แนวทางพัฒนาและแก้ปัญหามหาวิทยาลัย โดยใหมีการแสดง วิสัยทัศน และยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยของผู้ที่ตอบรับการทาบทามตาม 9 (3) ต่อที่ประชุมบุคลากร ของมหาวิทยาลัยและบุคลากรในท้องถิ่น และกลั่นกรองให้เหลือจํานวนไม่น้อยกว่า 2 ชื่อแต่ไม่เกิน 3 ชื่อ เพื่อพิจารณาเป็นผู้สมควรดํารงตําแหน่งอธิการบดีเรียงตามลําดับตัวอักษรเสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณา
2. กรรมการสรรหาที่มาจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยไม่ได้ดำเนินการในข้อ 9 ค. วิธีการเสาะหาผู้ที่มีความเหมาะสม ให้คณะกรรมการสรรหาเสาะหาผู้ที่มีความเหมาะสมเข้า สู่กระบวนการสรรหาอธิการบดี เพราะอาจการกระทำในข้อนี้จะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการพิจารณาทางปกครองได้
3. การสรรหาผู้ที่ได้รับการเสนอชื่ออธิการบดี จำนวน 3 ชื่อถือเป็นขั้นตอนหรือกระบวนการหนึ่งของการพิจารณาทางปกครอง เพื่อให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาทางปกครอง ออกคำสั่งทางปกครองคือ เลือกผู้ได้รับการสรรหาให้มีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เป็นอธิการบดี
4. เมื่อพิจารณาข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยว่าด้วยการสรรหาอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎต่างๆแล้ว จะให้กรรมการสภาผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการสภาที่เป็นประธานสภาคณาจารย์เป็นกรรมการสรรหาอธิการบดีเกือบทั้งหมด ตัวอย่างเช่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตว่าด้วยคุณสมบัติและวิธีการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2560
ข้อ 7 คณะกรรมการสรรหาอธิการบดีประกอบด้วย
1.กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิเลือกกันเอง 1 คน เป็นประธาน
2.กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิเลือกกันเอง 2 คน เป็นกรรมการ
3. ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ
4.ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ เป็นกรรมการ
5. กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากผู้ดำรงตำแหน่งบริหารเลือกกันเอง 1 คน เป็นกรรมการ
6.กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคราจารย์เลือกกันเอง 1 คน
7.ผู้อำนายการสำนักอธิการบดีเป็นเลขา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีว่าด้วยคุณสมบัติและวิธีการสรรหาอธิการบดี พ.ศ. 2554
ข้อ 9 ให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาอธิการบดี ประกอบด้วย
1.กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิโดยให้ให้สภามมหาวิทยาลัยเป้นผู้เลือกเป็นประธาน
2. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเลือกกันเองและมิใช่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งประธานตามข้อ 1 จำนวน 2 คน
3. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการ สถาบัน ผู้อำนาวนการสำนัก หัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้ากองที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ซึ่งเลือกกันเองจำนวน 2 คน เป็นกรรมการ
4. กรรมการสภามหาวิทยาลัยจากคณาจารย์ประจำซึ่งเลือกกันเอง จำนวน 2 คน
5. ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ เป็นกรรมการ
6. ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ
ให้กรรมการสรรหาเลือกกันเอง 1 คนเป็นเลขานุการกรรมการสรรหาและให้ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ เป็นต้น
จากตัวอย่างข้างต้นกรรมการสรรหานั้นมาจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยเกือบทั้งหมดและไม่มีประเด็นการฟ้องร้องเกี่ยวกับการมีส่วนได้เสียตามหลักธรรมาภิบาลแต่อย่างใดและที่สำคัญกรรมการสรรหาอธิการบดีของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีนั้นกรรมการสรรหามาจากทุกส่วนเป็นไปตามเจตนารมณ์มาตรา 28 แห่งราชบัญญัติราชภัฏ พ.ศ. 2547
แต่อย่างไรก็ตามภายใต้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 เมื่อพิจารณาถึง คู่กรณี” หมายความว่า
1.ผู้ยื่นคําขอหรือ
2.ผู้คัดค้านคําขอผู้อยู้ในบังคับหรือ
3.ในบังคับของคําส่ังทางปกครอง และ
4.ผู้ซึ่งได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองเนื่องจากสิทธิของผู้นั้นจะถูกกระทบกระเทือนจากผลของคําส่ังทางปกครอง
อาจจะดำเนินการมาตรา 15 มาตรา 16 คือ
มาตรา 15 คู่กรณี คือ ผู้ได้รับการสรรหาเสนอชื่อเป็นอธิการบดี 3 ท่าน เห็นว่ากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้พิจารณาทางปกครองเป็นกรรมการสรรหาเป็นผู้มีส่วนได้เสียอาจจะทำให้การพิจารณาไม่เป็นกลาง เพราะเป็นผู้อยู่ในกระบวนการสรรหาและอยู่ในกระบวนการพิจารณานั้นอาจมีปัญหาในส่วนได้เสียตามมาตรา 13 เสนอให้ประธานสภามหาวิทยาลัยหยุดดำเนินการพิจารณา และให้มติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ถ้ามติเสียงที่ประชุมกรรมการสภา 2 ใน 3 เห็นว่าไม่มีส่วนได้เสียเพราะกรรมการสรรหาเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการดำเนินการสรรหาอธิการอันอยู่ในอํานาจและหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยให้พิจารณาต่อไปได้
มาตรา 16 กรรมการสภามหาวิทยาลัยมีอำนาจในการพิจารณาทางปกครอง เห็นว่า กรรมการสรรหา 3 ท่านที่มาจากกรรมการสภามหาวิทยาลัยอาจเป็นผู้มีส่วนได้เสียได้ อาจจะทำให้การพิจารณาไม่เป็นกลาง เพราะเป็นผู้อยู่ในกระบวนการสรรหาและอยู่ในกระบวนการพิจารณานั้นอาจมีปัญหาในส่วนได้เสียตามมาตรา 13 เสนอให้ประธานสภามหาวิทยาลัยหยุดดำเนินการพิจารณา และให้มติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ถ้ามติเสียงที่ประชุมกรรมการสภา 2 ใน 3 เห็นว่าไม่มีส่วนได้เสียเพราะกรรมการสรรหาเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการดำเนินการสรรหาอธิการอันอยู่ในอํานาจและหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยให้พิจารณาต่อไปได้ แต่ถ้าเห็นว่ากรรมการสรรหาที่สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ก็ให้งดหรือออกจากที่ประชุมพิจารณาและพิจารณาต่อไปได้ และไม่ได้ทำให้กระบวนการสรรหานั้นเสียไปแต่อย่างใด ตามมาตรา 19
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต คณะ 在 Do you know ? มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ตมีฐานข้อมูลอะไรบ้าง... 的推薦與評價

คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต Faculty of Education,Phuket. ชาญวิทย์ คงมัยลิก•1.9K views · 4:09. Go to channel · วีดิทัศน์ แนะนำมหาวิทยาลัย ... ... <看更多>
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต คณะ 在 มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต (Phuket Rajabhat University) 的推薦與評價
ครูประถมศึกษาและครูปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต "เรียนฟรี จบแล้วบรรจุโรงเรียนใกล้บ้านทันที" รับสมัครนักเรียนชั้น ม.6 หรือเทียบเท่าใน ... ... <看更多>