"วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากร"
รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง
วัตถุประสงค์หลักเพื่อหารายได้มาใช้จ่าย เป็นวัตถุประสงค์ในทุกกาลสมัยของทุกประเทศ ตั้งอยู่บนหลัก “ความเป็นธรรม” ในการหารายได้ของรัฐ ซึ่งเป็นแนวความคิดของสมัย Classic จนกระทั่งปัจจุบัน
วัตถุประสงค์ของรัฐ คือ วัตถุประสงค์ในการสร้างความอยู่ดีกินดีมีสุขให้ประชาชน โดยการใช้ภาษีอากรเป็นเครื่องมือแทรกแซง ก็เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดีซึ่งเป็นหลักที่มีอยู่ทุกสมัย ไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้รัฐยังเข้าไปประกอบกิจกรรมทางปกครอง ได้แก่การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และการกระจายรายได้ให้ทั่วถึง แต่หลักวิธีการในทางภาษีอากร ที่เปลี่ยนแปลงไป คือ รูปแบบ และ วิธีการจัดเก็บภาษีจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ( Dynamic )
วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากรแบ่งเป็น 4 ด้าน นอกเหนือจากวัตถุประสงค์หลัก คือ
1. วัตถุประสงค์ด้าน ศีลธรรม
2. วัตถุประสงค์ด้าน ประชากร
3. วัตถุประสงค์ด้าน เศรษฐกิจ
4. วัตถุประสงค์ด้าน สังคม
ดังนี้
1. วัตถุประสงค์เพื่อศีลธรรม
เป็นเรื่องที่รัฐเข้าไปแทรกแซง เพื่อกำกัดการอุปโภค ( ทำให้น้อยลงทำให้ลดลง) บริโภคสินค้าของเอกชน ที่ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบทางด้านสุขภาพ หรือความประพฤติบางอย่าง เช่น เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์,บุหรี่,สถานที่เล่นการพนัน คาบาเร่ย์ รัฐไม่ต้องการให้ประชาชนได้รับสิ่งอันตรายเข้าสู่ร่างกายมาเกินไป จึงเก็บภาษีสินค้าและบริการพวกนี้ในอัตราที่สูง เพื่อให้สินค้าเหล่านั้นมีราคาแพง ผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลาง จึงไม่อาจบริโภคอย่างสม่ำเสมอ
2. วัตถุประสงค์เพื่อประชาชน
ในสมัย Classic จะลดหย่อน ผ่อนคลาย ภาษีในครอบครัวที่มีบุตร แต่ในปัจจุบันภาษีจะเข้าไปแทรกแซงในด้านประชากร โดยจะกำหนดจำนวนบุตรที่จะนำมาหักลดหย่อนภาษีซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย ก่อนปี 2522 เราไม่เคยจำกัดจำนวนบุตรที่จะนำมาหักลดหย่อนภาษี เพราะในสมัยนี้ประชากรยังน้อยอยู่ ในปัจจุบันจะกำหนดให้แต่ละครอบครัวมีบุตรในจำนวนที่ไม่มากนัก โดยกำหนดให้สามารถหักลดภาษีได้ไม่เกิน 3 คนเท่านั้น ที่รัฐเข้ามาแทรกแซงด้านนี้ก็เพื่อจะควบคุมจำนวนประชากรของประเทศ แต่ในบางประเทศต้องการประชากรจำนวนมากเพื่อจะใช้เป็นแรงงาน ก็จะกำหนดให้การมีบุตรจะได้ประโยชน์ทางภาษีมากขึ้น เป็นการเก็บภาษีอากรในอัตราก้าวหน้า เช่น มีบุตร 1 คนหักได้ 10,000 บาท ถ้ามีบุตรมากขึ้นก็จะหักภาษีได้มากขึ้นเป็นเครื่องจูงใจให้เพิ่มจำนวนบุตร รวมถึง จะมีบทลงโทษ โดยการเก็บภาษีจากคนโสดด้วย เช่น การเก็บภาษีเสริม
สรุป การจะเก็บภาษีอากรนั้นสามารถจะควบคุมการเพิ่มหรือลดจำนวนประชากรในประเทศได้
3. วัตถุประสงค์ด้านเศรษฐกิจ
ก็เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1)เพื่อปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ มีหลักทางทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เรียกว่าทฤษฎี 3 ระดับ
ระดับที่ 1 จะเกี่ยวข้องกับด้านการเกษตรและการประมง
ระดับที่ 2 จะเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม และ
ระดับที่ 3 จะเกี่ยวกับการบริการและการพานิชย์ จะใช้ภาษีอากรเป็นเครื่องมือในการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้ประเทศมีการลงทุนมากขึ้น ทั้งในทางด้านอุตสาหกรรมและการบริการ นอกจากจะเป็นประเทศเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว ซึ่งก็ได้มีการประกาศใช้ พรบ.ส่งเสริมการลงทุน เช่น ผู้ที่นำเข้าเครื่องจักรฯ ที่มาใช้ในการประกอบการอุตสาหกรรม จะได้รับการลดหย่อนภาษี , หรือการหักลดหย่อนภาษีนิติบุคคล ,การหักค่าเสื่อมของเครื่องจักรได้ เพื่อวัตถุประสงค์ ในการส่งเสริมการลงทุน
2) เป็นการส่งเสริมหรือกำกับการบริโภคของประชาชน การบริโภคนั้นเป็นปัจจัย
สำคัญด้านเศรษฐกิจ เพราะมีการใช้จ่ายหมุนเวียนเงินตรา ในสมัย Classic จะไม่ให้ความสำคัญในการบริโภคเท่าที่ควร แต่ในปัจจุบันการบริโภคจะเข้ามาบทบาทมากขึ้น กล่าวคือ การบริโภคจะต้องมีลักษณะที่พอเหมาะ ไม่มากเกินไปและไม่น้อยเกินไป ก็เพื่อจะส่งผลให้การผลิตและราคาสินค้าเป็นไปในลักษณะที่สมดุลกัน ไม่ใช่ความต้องการน้อย แต่มีการผลิตมาก เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็จะทำให้สินค้ามีราคาตกต่ำ ในทางตรงกันข้าม ถ้าความต้องการมากแต่ผลิตน้อย ก็จะส่งผลให้สินค้าในตลาดมีราคาสูงขึ้น คือ ไม่สมดุล ระหว่าง Demand กับ Supply
ตัวอย่าง ในประมาณปี 2517 ราคาน้ำมันดิบ สูงขึ้นเท่าตัวในปีเดียว สมมติ ไทยสั่งน้ำมันดิบเข้าในประเทศ 50,000 บาเรล ราคาบาเรลละ 4 เหรียญ ต้องเสียเงิน 200,000 เหรียญต่อวัน ในกรณีที่น้ำมัน มีราคาสูงขึ้น บาเรลละ 7 เหรียญ เราก็ต้องใช้เงิน 350,000 เหรียญต่อวัน ก็จะทำให้ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่ความต้องการลดลง อาจจะเหลือความต้องการ 44,000 บาเรลต่อวัน ซึ่งจะต้องใช้เงิน จำนวน 300,000 เหรียญต่อวัน จึงมีการรณรงค์ให้มีการประหยัดน้ำมันกันทุกวิถีทาง ขนาดนั้นเราเก็บภาษีน้ำมันสำเร็จรูป แบบ Specific คือเก็บภาษีต่อหน่วย สมมติใช้น้ำมัน 1 ล้านลิตร ก็จะมีเงิน 1 ล้านบาท ซึ่งทำให้ลดการใช้น้ำมันเหลือวันละ 880,000 ล. ก็จะได้เงิน 880,000 บ. จึงทำให้สถานะทางการคลังลดลง รัฐบาลจึงใช้นโยบายด้านภาษี โดยการขึ้นภาษีน้ำมัน โดยเก็บเพิ่มขึ้นเป็น 1.3 บ/ล. จากเดิม 1 บ/ล. คือ ราคาทุน 4 บ.ขาย 5 บ.ต่อมาเพิ่มเป็น 7 บ.ขาย 8 บ. แต่ รัฐได้เพิ่มราคาน้ำมันเป็น 8.30 บ. ประชาชนได้รับความเดือดร้อน มีผลทำให้ลดการใช้น้ำมันเหลือเพียง 8 แสนลิตรต่อวัน แสดงให้เห็นว่า ราคาสินค้า(น้ำมัน) เพิ่มขึ้น รายจ่ายสาธารณะมากขึ้น แต่การเก็บภาษีจะได้น้อยลง เพราะประชาชนจะบริโภคน้อยลง ส่งผลทำให้เงินคงคลังเพิ่มขึ้น ( เพราะไม่ต้องนำเงินคงคลังไปใช้จ่ายในการซื้อสินค้า(น้ำมัน) นั้นมาใช้ )
นโยบายการคลังในการเพิ่มภาษี จึงเป็นตัวอย่างที่กำกัดการบริโภคและกำกัดการนำเข้าอย่างครบถ้วน
แต่ในทางกลับกัน ถ้าต้องการเพิ่มกำลังซื้อหรือส่งเสริมให้คนใช้จ่ายมากขึ้นก็ใช้นโยบายในทางกลับกัน
4) ส่งเสริมการออม แม้การบริโภคจะมีความสำคัญดังที่กล่าวมาแล้ว แต่การออมก็
มีความสำคัญเช่นกัน เพราะฉะนั้น การบริโภค การออม การลงทุน จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง การออม เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้มีการลงทุนได้ เพราะฉะนั้น ทุกประเทศจึงใช้นโยบายด้านภาษีแทรกแซงการออมของประชาชน เช่น เบี้ยประกันชีวิต สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญนำมาหักลดหย่อนภาษีได้
นอกจากนี้ รัฐ อาจให้สิทธิพิเศษรายได้บางประเภทที่จะเลือกเสียภาษีจริง หรือเสียภาษีเหมา เช่น รายได้เกิดจากดอกเบี้ยที่ฝากเงินกับสถาบันการเงินในประเทศ ก็อาจเลือกเสียภาษีได้ 2 ทาง คือ แบบเหมา ร้อยละ 15 หรือ จะเลือกเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าก็ได้
5) การส่งเสริมการลงทุน มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการบริโภค ,การออม เพราะ ทั้ง 3 อย่าง มีความเกี่ยวพันกัน การใช้ภาษีเป็นเครื่องมือส่งเสริมการลงทุนมีหลายวิธี แต่วิธีที่นิยมใช้ ในยุโรป คือ กำไรของนิติบุคคล ถ้านำไปลงทุนขยายกิจการ เงินจำนวนนั้นไม่ต้องเสียภาษี เป็นการให้ประโยชน์ทางภาษีอากรแก่ผู้มีรายได้ที่เกิดจากเงินปันผล
อีกวิธีหนึ่ง ก็คือ การให้ Credit ภาษี เป็นการให้ประโยชน์ทางภาษีอากรแก่ผู้มีรายได้ที่เกิดจากเงินปันผล มาตรการเหล่านี้ เป็นมาตรการที่ใช้ภาษีอากรเป็นเครื่องมือแทรกแซงด้วยภาษีอากรเปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ ซึ่งไม่ใช่พฤติกรรมธรรมดา พฤติกรรมธรรมดา เรียกว่า ความเป็นกลางทางภาษี คือ ภาษีอากรไม่เปลี่ยนพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่เปลี่ยนอาชีพ
6) คุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ เพราะถ้าไม่คุ้มครองฯ แล้ว ก็ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่ทำมาก่อนเราได้ เช่น ในตอนแรกประเทศไทย ยังไม่มีการผลิตปูนซีเมนต์ การก่อสร้างใช้ไม้เป็นส่วนใหญ่ จะใช้ปูนซีเมนต์ก็ต้องนำเข้า เมื่อมีประเทศไทยมีการผลิตปูนซีเมนต์ เราก็ต้องเก็บภาษีปูนซีเมนต์ที่นำเข้าให้สูงขึ้น เพื่อมิให้ปูนซีเมนต์ที่นำเข้ามาแข่งกับปูนฯ ที่ผลิตในประเทศ เพราะถ้าไม่คุ้มครอง ประเทศที่ผลิตมาก่อน ก็จะใช้วิธีทุ่มตลาด โดยลดราคาให้ต่ำสุด ทำลายอุตสาหกรรมซีเมนต์ของไทย ไม่ให้เกิดขึ้นนั่นเอง ปัจจุบัน วิธีการทุ่มตลาด เป็นวิธีการที่ผิด
7) เป็นมาตรการตอบโต้ในทางการค้าระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น E U. สั่งห้าม
นำกล้วยหอมจาก U S A เข้ายุโรป แต่จริง ๆ เป็นการเก็บภาษีในอัตราเลือกปฏิบัติมากกว่า คือ ถ้ากล้วยหอมมาจากประเทศอาณานิคมของยุโรป หรือ ประเทศที่ยุโรปไปลงทุน ก็จะเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำ ถ้านอกเหนือจากประเทศข้างต้นแล้ว E.U. ก็จะเก็บภาษีในอัตราที่สูง จึงทำให้ U.S.A. ตั้งกำแพงภาษี สินค้าที่ผลิตจาก E.U. บางอย่าง ห้ามนำเข้าประเทศของตน E.U. จึงยินยอมให้นำกล้วยหอมของ U.S.A.เข้าประเทศ
เร่งให้มีการนำปัจจัยการผลิตไปใช้ประโยชน์ เช่น ที่ดิน ถ้าไม่มีการใช้
ประโยชน์ ก็จะเก็บภาษีจากที่ดิน ( ภาษีที่เก็บจากทุน) สูงกว่า ที่ดินที่ทำประโยชน์
4. วัตถุประสงค์ด้านสังคม
มีการจัดเก็บภาษีก็เพื่อให้มีการ redistributor ( income )หรือ กระจายรายได้ การเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า จะเป็นมาตรการที่ลดการสะสมทุนได้ เพราะผู้มีรายได้สูงก็จะเสียภาษีมากขึ้น
คำถาม วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีของรัฐ นอกเหนือจากการที่รัฐต้องการหารายได้มาใช้จ่าย มีอะไรบ้าง
คำตอบ ตอบตามแนวที่กล่าวข้างต้น ที่กล่าวมาแล้ว
คำถาม การบริโภค การออม และการลงทุน มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
คำตอบ ถ้าถามว่า ในวันนี้ คน กทม. มีรายได้รวมกันเท่าใด การหาคำตอบ คือ รายได้ = รายจ่าย ในวันนี้ ถ้าวันนี้ คนใน กทม.จ่ายรวมกัน 100 ล้านบาท พรุ่งนี้จ่ายหมด รายได้เท่ากับ 100 ล้าน เรียกว่า เสถียรภาพของรายได้ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อ รายจ่าย = รายได้ คือ วันที่ 2 รายจ่าย = รายได้ ในวันที่ 1 แต่ในทางข้อเท็จจริงผู้คนไม่ได้จ่ายหมด ยั งมีเงินออมส่วนหนึ่ง เช่น วันนี้ มีรายได้ 100 ล้าน ในวันรุ่งขึ้นมีคนออม 20 ใช้บริโภค 80 รายได้เหลือ 80 ล้าน เพื่อให้มีดุลยภาพของรายได้ เงินออกต้องเท่ากับเงินลงทุน รายจ่ายมี 2 แบบ คือ รายจ่ายเงินออม และรายจ่ายเงินลงทุน ถ้าในวันที่ 2 ใช้บริโภค 80 ล้าน เงินออม 10 ล้าน ต้องมาเพิ่มเงินลงทุน 10 ล้าน ดังนั้น ดุลยภาพของรายได้จะเกิดขึ้น เงินลงทุน = เงินออม
ราคาสินค้า ปัจจุบัน 在 ราคาสินค้าปัจจุบัน 的推薦與評價
ราคาสินค้าปัจจุบัน by อาหารทะเลแปรรูป ปลาหมึกแห้ง ปลาเส้น ราคาถูกจากมหาชัย-ท่าฉลอม รายการสินค้าและราคาอัพเดท ตรวจสอบราคาปลีกส่งได้เลยนะครับ ... <看更多>
ราคาสินค้า ปัจจุบัน 在 ผู้ประกอบการครึ่งหนึ่ง ไม่ขึ้นราคาสินค้า | ย่อโลกเศรษฐกิจ 5 เม.ย66 的推薦與評價
ธปท.เผยผลสำรวจธุรกิจราวครึ่งหนึ่งจะไม่ปรับขึ้น ราคาสินค้า และบริการใน 3 เดือนข้างหน้า ขณะที่ "กำลังซื้อ-ต้นทุน- ราคาสินค้า ปรับขึ้น" ... ... <看更多>
相關內容