ความมั่นคงของพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
พรรคการเมืองเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทน ที่มีความสำคัญอย่างมาก พรรคการเมือง ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Political Party” หรือโดยทั่วไปมักใช้คำว่า “Party” คำเดียวต่อท้ายชื่อพรรค เช่น The Conservative party ในประเทศอังกฤษหรือ
The Democratic party ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ความหมายของพรรคการเมือง
การให้ความหมายพรรคการเมืองที่ให้คำนิยามของคำว่า “พรรคการเมือง” ต่างก็ให้ความหมายพรรคการเมืองที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน คือ ในต่างประเทศ เช่น ประเทศเยอรมนี กฎหมายพรรคการเมืองได้ให้คำจำกัดความสำหรับคำว่า “พรรคการเมือง” ไว้ในมาตรา 2 อนุมาตรา 1 ว่า “พรรคการเมือง คือ การรวมกลุ่มของพลเมืองอย่างถาวรหรือเป็นระยะเวลานานๆ เพื่อเข้าไปมีอิทธิพลต่อการสร้างเจตจำนงทางการเมืองไม่ว่าจะดำเนินการในระดับสหพันธ์หรือระดับมลรัฐและประสงค์ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหพันธ์หรือสภาแห่งมลรัฐ หากว่าเมื่อพิจารณาถึงภาพรวมตามสภาพความเป็นจริงทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแง่ของจำนวนสมาชิกและในแง่ของการปรากฏตัวต่อสาธารณชนแล้ว ชี้ชัดว่าการรวมกลุ่มนี้มีความตั้งใจที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายที่ได้วางไว้” G.A. Jacobsen and M.H. Lipman ให้ความหมายว่า “พรรคการเมือง คือ คนกลุ่มหนึ่งซึ่งรวมกันได้โดยยึดหลักการเหมือนกันเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติหรือจัดรวมกันเป็นสมาคมหรือองค์กรผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยมีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมบุคคลและนโยบายของรัฐ” เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยมีนักวิชาการได้ให้ความหมายพรรคการเมืองไว้ เช่นศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ให้ความหมายว่า “พรรคการเมือง หมายถึง คณะบุคคลซึ่งร่วมก่อตั้งเป็นพรรคขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมความคิดเห็นในทางการเมือง กำหนดเป็นนโยบายของพรรคการเมืองเพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งผู้แทน โดยวิถีทางประชาธิปไตย” ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ให้ความหมายว่า “พรรคการเมืองต้องเป็นบุคคลที่มีการจัดที่มีการจัดตั้งเป็นองค์กรโดยมีอุดมการณ์และวัตถุประสงค์ร่วมกัน คือ การยึดกุมอำนาจรัฐหรือการบริหารประเทศโดยกลุ่มการเมืองใดที่ไม่มีลักษณะดังกล่าวครบถ้วน กลุ่มการเมืองนั้นย่อมมิใช่พรรคการเมือง” เป็นต้น
แต่เมื่อพิจารณาความหมายตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 4 ได้ให้ความหมายของพรรคการเมืองไว้ว่า “พรรคการเมือง หมายความว่าคณะบุคคลที่รวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองโดยได้รับการจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมืองตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้”
จากคำนิยามความหมายของพรรคการเมืองของต่างประเทศและของประเทศไทยข้างต้นผู้เขียนขอสรุปประเด็นความหมายของการเป็นพรรคการเมืองได้ ดังนี้
1. พรรคการเมืองต้องมีการรวมตัวเป็นกลุ่ม ชมรม หรือสมาคม (Association) ซึ่งจะมีสมาชิกหรือจำนวนบุคคลมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศจะบัญญัติไว้
2. พรรคการเมืองเป็นกลุ่มบุคคล ชมรม หรือสมาคม ต้องมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสาธารณะทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในหลักการใหญ่ๆที่เหมือนกัน
3. พรรคการเมืองเป็นกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันนี้ ต้องมีกำหนดการ (program) และนโยบาย (policy) ที่ชัดแจ้งและแน่นอนลงไป แสดงต่อผู้เลือกตั้งให้ทราบเพื่อจะได้มีชัยชนะในการเลือกตั้ง
4. พรรคการเมืองเป็นกลุ่มบุคคลจะต้องมีวัตถุประสงค์ที่จะไปควบคุมและกำหนดนโยบายรัฐบาลจัดการบริหารประเทศและออกกฎหมายตามแนวนโยบายของพรรคทั้งหมดหรือบางส่วนเท่าที่สามารถจะทำได้มากที่สุด
5. พรรคการเมืองเป็นกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งพรรคเมืองจะต้องมุ่งที่จะส่งสมาชิกเข้ารับสมัครเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและมีการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง
หลักการพื้นฐานพรรคการเมือง เมื่อพิจารณาตามหลักธรรมชาติในการรวมของมนุษย์เป็นสังคมจะมีลักษณะของการรวมตัวแบบชุมชนและการรวมตัวแบบสมาคม ซึ่งพรรคการเมืองจะเป็นการรวมตัวแบบสมาคมที่มีหลักการพื้นฐานอยู่ 2 ประการ ดังนี้
1. พรรคการเมืองจะมีความแตกต่างกันในความคิดเห็นอุดมการณ์ทางความคิด คือ มองเป้าหมายที่จะกระทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ทุกคนย่อมมีความคิดเห็นเป็นเอกเทศ แต่โดยธรรมชาติแล้วก็มีความต้องการที่จะอยู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงควรปรับความคิดเห็นให้เข้ากับบุคคลอื่นได้บนหลักพื้นฐานทางความคิดบางอย่างให้อยู่ในกรอบแนวคิดเดียวกันเป็นนโยบายของพรรคการเมือง
2. การรวมตัวกันอยู่เป็นหมู่เหล่า บุคคลที่มีความคิดเห็นเช่นเดียวกัน ควรร่วมกันนำเอาความคิดเหล่านั้นก้าวไปข้างหน้าด้วยวิธีการที่มีระเบียบและส่งเสริมสนับสนุนหลักการหรือนโยบายซึ่งมีความเห็นชอบร่วมกัน
ความสำคัญและหน้าที่ของพรรคการเมืองเพื่อความมั่นคงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
พรรคการเมืองนับเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยทางผู้แทนเป็นอย่างมากเป็นสถาบันทางการเมืองในการพัฒนาการเมืองการปกครองต่อสังคมต่อประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นพรรคการเมืองมีความสำคัญและบทบาทหน้าที่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้
ความสำคัญของพรรคการเมือง พรรคการเมืองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในขั้นตอนของกระบวนการทางการเมือง พรรคการเมืองมีส่วนที่จะสนับสนุนและเสริมสร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองจึงเป็นที่รวบรวมบุคคลที่มีความเห็นแตกต่างกันออกไป ให้เข้าร่วมอุดมการณ์ในหลักการใหญ่ ๆ ซึ่งบุคคลเหล่านั้นอาจจะยอมรับร่วมกันได้ พรรคการเมืองจะได้เป็นแกนนำในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนเหล่านั้นให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้มีความคิดเห็นร่วมกัน ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้ความสำคัญของพรรคการเมืองอาจแยกอธิบายเป็นข้อ ๆ ได้ ดังนี้
1. พรรคการเมืองที่ได้รับเสียงข้างมากมีโอกาสสำคัญในการที่จะเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลบริหารราชการแผ่นดิน ซึ่งก็จะสามารถนำวัตถุประสงค์ แนวนโยบายและความคิดเห็นของพรรคไปใช้ให้เป็นจริงได้ และนำนโยบายของพรรคการเมืองนั้นเป็นนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินต่อไป
2. พรรคการเมืองเป็นศูนย์กลางที่จะรับทราบความคิดเห็น ตลอดจนความต้องการของประชาชน ประชาชนต้องการให้รัฐบาลทำอะไร ไม่ให้ทำอะไรหรืออยากให้ตรากฎหมาหรือยกเลิกกฎหมายใดบ้าง
3. พรรคการเมืองจะเป็นศูนย์กลางที่จะแยกแนวความคิดของประชาชนแต่ละฝ่ายออกจากกันให้เห็นชัดเจน จนอาจแบ่งเป็นฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ฝ่ายเป็นกลางในสภานิติบัญญัติ
4. พรรคการเมืองจะเป็นผู้ประสานงานระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารให้ดำเนินการปกครองประเทศไทยโดยราบรื่น
หน้าที่ของพรรคการเมือง พรรคการเมืองเป็นองค์กรสำคัญในกระบวนการทางการเมืองที่จะรวบรวม “เจตนารมณ์ทั่วไป” (General Will) ของประชาชนไปใช้ในการดำเนินการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปในทางที่ถูกต้อง พรรคการเมืองจึงต้องมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
1. สร้างความเป็นปึกแผ่นในมติมหาชน ด้วยการรวบรวมความคิด ความเห็นของกลุ่มชนที่มีความคิดเห็นในทำนองเดียวกัน มาจัดเป็นนโยบายหลักของพรรค เพื่อที่จะนำนโยบายนั้นนำเสนอต่อรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน
2. จัดแถลงนโยบายของพรรคให้ประชาชนทราบ เพื่อประชาชนจะได้นำเอาไปพิจารณาศึกษาประกอบการตัดสินในการที่จะให้ความสนับสนุนพรรค ด้วยการสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคก็ดีหรือลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้สมัครของพรรคเข้าเป็นผู้แทนก็ดีเมื่อมีการเลือกตั้ง
3. คัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค เพื่อลงสมัครเข้าแข่งขัน
ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง พร้อมทั้งสร้างผู้นำทางการเมืองไว้เสมอด้วยการจัดตั้ง “รัฐบาลเงา” (Shadow Cabinet)
4. พรรคการเมืองจะต้องทำหน้าที่คอยเป็นผู้ประสานงาน ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ เช่น “กลุ่มอิทธิพล” (Pressure group) “กลุ่มผลประโยชน์” (Interest group) กับ “รัฐบาล” (Government) พร้อมทั้งต้องคอยสำรวจตรวจสอบมติมหาชนอยู่เสมอ เพราะกลุ่มเหล่านั้นจะมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนพรรคการเมืองที่มีแนวนโยบายสอดคล้องกับกลุ่มของตนให้ได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง เพื่อจะให้เป็นรัฐบาลและช่วยรักษาผลประโยชน์ให้พวกตน
5. พรรคการเมืองจะต้องคอยควบคุมให้สมาชิกพรรค อยู่ในระเบียบวินัยของพรรคอย่างเคร่งครัด อาทิในเรื่องการเข้าประชุมสภา การอภิปรายในเรื่องสำคัญๆ การลงมติ ฯลฯ จะต้องกระทำตามที่ได้ตกลงกันไว้ หรือตามที่พรรคกำหนด พรรคการเมืองในปัจจุบันจึงต้องมีการจัดตั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลของพรรคการเมือง คอยควบคุมดูแลในสภาเวลาที่มีการประชุมสภา
6. พรรคการเมืองจะต้องส่งเสริมให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเมืองของประเทศ โดยให้การอบรมศึกษาความรู้ทางการเมืองแก่ประชาชน แจกจ่ายเอกสาร กล่าวปราศรัยและใช้สื่อมวลชนต่าง ๆ ส่งข่าวให้ประชาชนได้ทราบความเป็นไปของบ้านเมืองในทางที่ถูกที่ควร
7. พรรคการเมืองจะต้องเปิดเผยแหล่งที่มารายได้ของพรรคการเมืองต่อสาธารณชนว่ามีรายได้จากแหล่งใด ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้ทราบว่าพรรคการเมืองนั้นได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดในสังคม
การจัดองค์กรของพรรคการเมืองเพื่อความมั่นคงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
การจัดองค์กรของพรรคการเมือง เป็นเรื่องที่สำคัญเพราะจะแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของพรรคการเมืองว่ามีความมั่นคงแค่ไหน สมควรจะมอบหมายให้รับภารกิจเป็นตัวแทนของประชาชนไปทำหน้าที่บริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ เพื่อความมั่นคงของพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พรรคการเมืองต้องดำเนินการดังต่อไปนี้
การจัดรูปองค์การของพรรคการเมือง การจัดรูปองค์การของพรรคการเมือง จะต้องมีการแบ่งงานออกเป็นสาขาต่าง ๆ และกำหนดการบังคับบัญชาจากส่วนกลางมายังส่วนภูมิภาคจนถึงระดับท้องถิ่น เพื่อช่วยในการรณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างกว้างขวางและทั่วถึง เช่น การจัดให้มีสาขาพรรคการเมืองแต่ละภูมิภาคหรือแต่ละเขตเลือกตั้งรวมไปถึงศูนย์ประสานงานพรรคในแต่ละตำบล เป็นต้น
กลไกของพรรคการเมือง กลไกของพรรคการเมือง การทำงานทุกส่วนภายในพรรคจะต้องมีการประสานกัน จึงจะทำให้กิจกรรมของพรรคดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น มีหน่วยงานในงานสาขาที่จำเป็นและมีหัวหน้ารับผิดชอบ อันได้แก่ สำนักงานเลขาธิการฝ่ายการรณรงค์หาเสียง ฝ่ายนโยบายและการเมือง ฝ่ายการคลังและองค์การสนับสนุนต่าง ๆ เป็นต้น
นโยบายพรรคการเมือง นโยบายพรรคการเมือง ควรจะมีการวางกรอบนโยบายของพรรคไว้อย่างกว้าง ๆ เพื่อให้สามารถมีความคล่องตัวในการแก้ไขหลักการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ และนโยบายของพรรคสมควรจักต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมพรรคแล้วประกาศให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบ
การเงินของพรรคการเมือง การเงินของพรรค เงินเป็นปัจจัยยิ่งในการบริหารงานของพรรค ให้บรรลุเป้าหมายที่พรรคกำหนดไว้ เพราะพรรคจะต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากในการหาเสียงการพิมพ์เอกสาร อุปกรณ์และเครื่องใช้ในสำนักงาน สำหรับเงินของพรรคอาจมีที่มาได้หลายทาง เช่น ได้รับการอุดหนุนจากรัฐ ได้รับจากสมาชิกและการจัดหารายได้ทางอื่น เป็นต้น
ข้อสรุปความมั่นคงของพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
เพื่อความมั่นคงของพรรคการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นี้ผู้เขียนเห็นว่า พรรคการเมืองต้องมีลักษณะดังนี้
1. พรรคการเมืองที่ไม่มีเจ้าของ งบประมาณของพรรคมาจากระดมทุนผ่านการบริจาค การกู้ยืมเงินโดยปราศจากดอกเบี้ยจากนที่สนับสนุนแนวคิดพรรคการเมือง เงินสมทบของสมาชิกพรรคการเมือง เงินอุดหนุนจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง
2. พรรคการเมืองมีประชาธิปไตยทุระดับ เน้นการกระจายอำนาจ สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่มีบทบาททางการเมืองเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ พรรคการเมืองต้องมีการให้ความรู้ความเข้าใจในการเมืองแก่เยาวชนทุกระดับชั้นควรจัดให้มีโครงการ เช่น โครงการต้นกล้าประชาธิปไตย เป็นต้น แต่โครงเหล่านั้นไม่ใช่เป็นการครอบงำทางความคิดแก่คนรุ่นใหม่
3.พรรคการเมืองที่มุ่งหมายทำงานระยะยาว เพราะพรรคการเมืองเป็นที่รวมตัวของกลุ่มคนที่มีความคิดอุดมการณ์เดียวกันในทิศทางเดียวกันซึ่งมีความหลากหลายความคิด หลากหลายกลุ่ม ทุกเพศ ทุกรสนิยมทางเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพ และต้องการเขาสู่อำนาจรัฐเพื่อผลักดันความคิดและนโยบายให้เกิดผล
4. พรรคการเมืองที่สนใจความรู้วิชาการการค้นคว้าการวิจัย นโยบายที่ดีย่อมเกิดจากความรู้ การศึกษาค้นคว้างานวิจัย
5.พรรคการเมืองที่สื่อสารกับประชาชนอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือ พรรคการเมืองจะต้องทำสื่อต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึง เช่น ทำเวปไซด์ จัดทำวารสารต่าง ๆ เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
จิรโชค (บรรพต) วีระสย, สุรพล ราชภัณฑารักษ์และสุรพันธ์ ทับสุวรรณ (2551) “รัฐศาสตร์ทั่วไป” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พิมพ์ครั้งที่ 2.
ดำริ บูรณะนานนท์ (2539) “กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายพรรคการเมือง” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติธรรม,
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ (2542)“การเลือกตั้งและพรรคการเมือง : บทเรียนจากเยอรมัน” กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา, 2542
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (2555) รายงานวิจัย เรื่อง “บทบาทและอำนาจหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาในการรักษาวินัยพรรคการเมืองและการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนปวงชน” กรุงเทพฯ:สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ, 2555
สมคิด เลิศไพฑูรย์ (2542) “กฎหมายเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญปัจจุบัน” กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
หยุด แสงอุทัย (2512) “คำอธิบายพระราชบัญญัติพรรคการเมือง” พระนคร : โอเดียนสโตร์.
รายงานวิจัย 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๖๒ นั้น งานวิจัยจะต้องเผยแพร่ในวารสารวิชาการเท่านั้นหรือไม่
เมื่อวานมีการกล่าวถึงประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๖๒ ได้ยกเลิกประกาศประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๕๖ และ ในประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๓ ได้กำหนดเงื่อนไขการเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ ดังนี้
๑. ฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ได้แก่ ERIC, Math SciNet, Pubmed, Scopus, Web of Science (เฉพาะในฐานข้อมูล SCIE, SSCI, และ AHCI เท่านั้น), JSTOR และ Project Muse
๒.ฐานข้อมูลระดับชาติได้แก่ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai Journal Citation Index TCI) เฉพาะวารสารที่มีชื่ออยู่ในกลุ่มที่ ๑ และกลุ่มที่ ๒
(http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/list%๒๐journal.php)
เกิดประเด็นคำถามถึง ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๖๒ นั้น งานวิจัยจะต้องเผยแพร่ในวารสารวิชาการเท่านั้นหรือไม่
เมื่อได้ศึกษาเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ.เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. ๒๕๖๐ ได้อธิบายคำจำกัดความของผลงานทางวิชาการ ลักษณะการเผยแพร่และผลงานทางวิชาการ ในที่นี้จะกล่าวถึง ตำรา หนังสือ และวิจัย ดังนี้
๑.ตำรา
๑.๑ ความหมาย ของตำรา หมายถึง งานวิชาการที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนทั้งวิชาหรือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา ซึ่งเกิดจากการนำข้อค้นพบจากทฤษฎี จากงานวิจัยของผู้ขอหรือความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ รวบรวมและเรียบเรียง โดยมีมโนทัศน์ (มโนทัศน์ (Concept) หมายถึง ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับประเภทของสิ่งต่างๆ ตามความเข้าใจของแต่ละคน เช่น เข้าใจว่าสิ่งของลักษณะเช่นใดเรียกว่า “ของแข็ง” สิ่งของลักษณะเช่นใดเรียกว่า “สิ่งมีชีวิต” สิ่งมีชีวิตลักษณะเช่นใดเรียกว่า “แมว” คนลักษณะเช่นใดเรียกว่า “วีรชน” การกระทำลักษณะเช่นใดเรียกว่า “หว่านข้าว” ตลอดจนความคิดลักษณะเช่นใดเรียกว่า “วัตถุนิยม”) ที่ผู้เขียนกำหนดให้เป็นแกนกลาง ซึ่งสัมพันธ์กับมโนทัศน์ย่อยอื่นอย่างเป็นระบบ มีเอกภาพสัมพันธภาพและสารัตภาพตามหลักการเขียนที่ดี ใช้ภาษาที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการและให้ความรู้ใหม่อันเป็นความรู้สำคัญที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยแปลงต่อวงวิชาการนั้นๆ ดังนั้นตำรา จึงต้องเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆได้
ในประเด็นหัวข้อนี้ ได้นำมาจากการเขียนบทความวิชาการ นำมาจากงานวิจัย ถือว่าเป็นตำราที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ โดยตำรานั้นต้องเขียนครอบคลุมตามคำอธิบายรายวิชา ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เนื้อหาสาระของตำราต้องมีความทันสมัย เมื่อพิจารณาถึงวันที่ผู้ขอยื่นเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ ทั้งนี้ผู้ขอจะต้องระบุวิชาที่เกี่ยวข้องในหลักสูตรที่ใช้ตำราเล่มที่เสนอขอตำแหน่งทางวิชาการด้วย ผลงานทางวิชาการที่เป็น “ตำรา” นี้อาจได้รับการพัฒนาขึ้นจากเอกสารคำสอน จนถึงระดับที่มีความสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งผู้อ่านอาจเป็นบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้เรียนในวิชานั้น แต่สามารถอ่านและทำความเข้าใจในสาระของตำรานั้นด้วยตนเองได้ โดยไม่ต้องเข้าศึกษาในวิชานั้น
๑.๒ รูปแบบตำรา
เป็นรูปเล่มที่ประกอบด้วย คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การอธิบายหรือการวิเคราะห์ การสรุป การอ้างอิงและบรรณานุกรม ทั้งนี้อาจมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ทันสมัยและครบถ้วนสมบูรณ์ การอธิบายสาระสำคัญมีความชัดเจน โดยอาจใช้ข้อมูล แผนภาพ ตัวอย่างหรือกรณีศึกษาประกอบจนผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจในสาระสำคัญนั้นได้โดยเบ็ดเสร็จ
๑.๓ การเผยแพร่ตำรา
๑.๓๑ วิธีการเผยแพร่ มีวิธีการเผยแพร่ ดังนี้
๑.การเผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์ โดยโรงพิมพ์ (PRINTING HOUSE) หรือสำนักพิมพ์ (PUBLISHING HOUSE) หรือ โดยการถ่ายสำเนาเย็บเป็นรูปเล่มหรือทำในรูปแบบอื่นๆ
๒.การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ในรูปของซีดีรอมฯลฯ
๑.๓.๒ เงื่อนไข
๑.การเผยแพร่ดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่าการใช้ในการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในหลักสูตรเท่านั้น จำนวนพิมพ์เป็นดัชนีหนึ่งที่อาจแสดงการเผยแพร่อย่างกว้างขวางได้ แต่อาจใช้ดัชนีอื่นวัดความกว้างขวางในการเผยแพร่ได้เช่นกัน
๒. การเผยแพร่ต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองการเผยแพร่จากคณะกรรมการของสถาบันอุดมศึกษา คณะ และ/หรือสถาบันทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานั้น และต้องใช้ในการเรียนการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า หนึ่ง ภาคการศึกษา
๒. หนังสือ
๒.๑ ความหมายของหนังสือ
หนังสือ คือ ผลงานทางวิชาการที่เรียบเรียงขึ้นโดยมีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคง และให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิด และสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้นๆ และ/หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่อง มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงในเชิงเนื้อหาและครอบคลุม โดยไม่จำเป็นต้องสอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตรหรือของวิชาใดวิชาหนึ่งในหลักสูตร และไม่จำเป็นต้องนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้เนื้อหาสาระของหนังสือต้องมีความทันสมัย เมื่อพิจารณาถึงวันที่จัดพิมพ์
๒.๒ รูปแบบหนังสือ
เป็นรูปเล่มที่ประกอบด้วย คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง การวิเคราะห์ การสรุป การอ้างอิงและบรรณานุกรม ทั้งนี้อาจมีอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ทันสมัยและครบถ้วนสมบูรณ์ การอธิบายสาระสำคัญที่มีความชัดเจน โดยอาจใช้ข้อมูล แผนภาพ ตัวอย่างหรือกรณีศึกษาประกอบจนผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจในสาระสำคัญนั้นได้โดยเบ็ดเสร็จ
๒.๓ การเผยแพร่หนังสือ
๒.๓.๑ วิธีการเผยแพร่
มีวิธีการเผยแพร่ ดังนี้
๑.การเผยแพร่ด้วยวิธีการพิมพ์ โดยโรงพิมพ์ (PRINTING HOUSE) หรือสำนักพิมพ์ (PUBLISHING HOUSE)
๒. การเผยแพร่โดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ในรูปของซีดีรอม ฯลฯ
๒.๓.๒ เงื่อนไข
๑.การเผยแพร่ดังกล่าวนั้น จะต้องเป็นไปอย่างกว้างขวางมากกว่าการใช้ในการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในหลักสูตรเท่านั้น จำนวนพิมพ์เป็นดัชนีหนึ่งที่อาจแสดงการเผยแพร่อย่างกว้างขวางได้ แต่อาจใช้ดัชนีอื่นวัดความกว้างขวางในการเผยแพร่ได้เช่นกัน
๒. การเผยแพร่ต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองการเผยแพร่จากคณะกรรมการของสถาบันอุดมศึกษา คณะ และ/หรือสถาบันทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชานั้น และต้องเผยแพร่สู่สาธารณชนมาแล้วไม่น้อยกว่าสี่เดือน
เมื่อได้มีการพิจารณาประเมินคุณภาพของ “หนังสือ” ไปแล้ว การนำ “หนังสือ” นั้นไปแก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมเนื้อหาใน “หนังสือ” เพื่อนำมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการและให้มีการประเมินคุณภาพ “หนังสือ” นั้นอีกครั้งหนึ่งอาจกระทำได้ แต่จะต้องทำการเผยแพร่ “หนังสือ” นั้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง
๓.งานวิจัย
๓.๑ ความหมายของงานวิจัย คือ ผลงานทางวิชาการที่เป็นงานศึกษาหรืองานค้นคว้าอย่างมีระบบด้วยวิธีวิทยาการวิจัยที่เป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้นๆ และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล คำตอบหรือข้อสรุปรวมที่จะนำไปสู่ความก้าวหน้าทางวิชาการ หรือเอื้อต่อการนำวิชาการนั้นไปประยุกต์
๓.๒ รูปแบบวิจัยที่เผยแพร่
อาจจัดได้เป็น ๒ รูปแบบ ดังนี้
๓.๒.๑ รายงานการวิจัย
รายงานวิจัย ที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์และชัดเจนตลอดทั้งกระบวนการวิจัย (Research Process) อาทิ การกำหนดประเด็นปัญหา วัตถุประสงค์ การทำวรรณกรรมปริทัศน์ สมมติฐาน การเก็บรวบรวมข้อมูล การพิสูจน์สมมติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล การประมวลสรุปผลและให้ข้อเสนอแนะ การอ้างอิง และอื่นๆ
๓.๒.๑ บทความวิจัย
บทความวิจัย ที่ประมวลสรุปกระบวนการวิจัยในผลงานวิจัยนั้น ให้มีความกระชับและสั้น สำหรับการนำเสนอในการประชุมทางวิชาการ หรือในวารสารทางวิชาการ
๓.๓ การเผยแพร่งานวิจัย
เผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้
๓.๑.๑ เผยแพร่ในรูปของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ ทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้น อาจเผยแพร่เป็นรูปเล่มสิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอนชัดเจน
๓.๑.๒ เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความวิจัยในรูปแบบอื่นที่มีการบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพ
๓.๑.๓ นำเสนอเป็นบทความวิจัยต่อที่ประชุมทางวิชาการ ซึ่งภายหลังจากการประชุมทางวิชาการได้มีการบรรณาธิการและนำไปรวมเล่มเผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
๓.๑.๔ การเผยแพร่รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่มีรายละเอียดและความยาว ต้องแสดงหลักฐานว่าได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิและแสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่ไปยังวงวิชาการและวิชาชีพในสาขาวิชานั้น และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง
เมื่อได้เผยแพร่ตามลักษณะข้างต้นและได้มีการพิจารณาประเมินคุณภาพของ “งานวิจัย” นั้นแล้ว การนำ “งานวิจัย” นั้น มาแก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมส่วนใด ส่วนหนึ่ง เพื่อนำมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ และให้มีการประเมินคุณภาพ “งานวิจัย” นั้นอีกครั้งหนึ่งจะกระทำไม่ได้
แต่อย่างไรก็ตามถ้าดูประกาศ การยื่นตำแหน่งทางวิขาการ ในอนาคต ที่มีผลบังคับใช้ ๑ พ.ย. ๒๕๖๑ บทความทางวิชาการไม่สามารถนำไปขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ได้ แต่สามารถประกันคุณภาพได้ สามารถ นำไปรวบรวมเป็นหนังสือและสามารถนำไปใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการได้ ดังนั้นการเขียนหนังสือ ที่มาจากการเขียนบทความนำมารวบรวมวิเคราะห์สังเคราะห์ โดยนำมาเรียงร้อยเป็นเรื่อง เป็นบท เชื่อมโยงกัน เป็นหนังสือมักจะเป็นหนังสือที่มีคุณภาพ ซึ่งในปัจจุบันจะมีคนเขียนหนังสือในลักษณะนี้มีอยู่มากและเป็นที่นิยมในสายสังคมศาสตร์ แต่ยกเว้น เฉพาะสายสังคมศาสตร์ให้บทความวิชาการกับงานวิจัยสามารถขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ได้
สรุป
ดังนั้นสรุปได้ว่า ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๖๒ นั้น นี้มีผลบังคับใช้เฉพาะในเรื่องการเผยแพร่งานวิจัยในวารสารเท่านั้นที่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขตามประกาศนี้
ส่วนการเผยแพร่ นำเสนอเป็นบทความวิจัยต่อที่ประชุมทางวิชาการ ซึ่งภายหลังจากการประชุมทางวิชาการได้มีการบรรณาธิการและนำไปรวมเล่มเผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ หรือ การเผยแพร่รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่มีรายละเอียดและความยาว ต้องแสดงหลักฐานว่าได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิและแสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่ไปยังวงวิชาการและวิชาชีพในสาขาวิชานั้น และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ไม่ได้อยู่ภายใต้การบังคับของประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. ๒๕๖๒
รายงานวิจัย 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
“การเขียนวิจัยอย่างไรไม่เสียของและได้ประโยชน์ :ประสบการณ์ผู้เขียน”
การบูรณาการการเรียนการสอนสู่บทความวิชาการบูรณาการสู่งานวิจัยและการเผยแพร่งานวิจัย
จากที่ผู้เขียนได้รับผิดชอบสอนวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง ในหัวข้อที่มาของหมายลายลักษณ์อักษร ภายใตบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 5 มีเกิดประเด็นที่เขียนบทความวิชาการขึ้นมา เรื่อง “วิเคราะห์ปัญหาสถานะทางกฎหมายภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560” เสนอตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารศาลรัฐธรรมนูญ และได้ประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิให้ตีพิมพ์เผยแพร่ ในฉบับเดือนกันยายน - ธันวาคม 2561 (ประโยชน์ คือ ได้รับรางวัลผลงานการตีพิมพ์ของวารสารและตัวสถาบัน)
บทความดังกล่าวเสนอในเดือน พฤษภาคม 2561 ซึ่งการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ (peer) นั้นมีประเด็นที่เกิดทางความคิดของผู้เขียนจึงได้ปรึกษา กับ อาจารย์ในคณะ อาจารย์ อภิรดี กิตติสิทโธ เพื่อนำเสนอโครงการวิจัย เรื่อง “ปัญหาที่มาและลำดับชั้นทางกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศัดราช 2560” ขึ้นและได้การพิจารณาให้ได้รับทุนวิจัย (ปโยชน์หนึ่งคือได้รับทุนวิจัย)
จากการเขียนงานวิจัยนี้ ได้เขียนบทความวิจัย กับการเขียนรายงานวิจัย
อนึ่ง การเขียนรายงานวิจัยกับการเขียนบทความวิจัย นั้นเป็นคนละเรื่องกัน
การเขียน รายงานวิจัย เขียนแล้วนำมาเขียนใหม่ไม่ได้ซ้ำซ้อน
แต่การเขียนบทความวิจัยซึ่งเป็นหนึ่งของงานวิจัยที่วิเคราะห์เชิงลึกแต่ละประเด็นออกมา โดยไม่ซ้ำซ้อนกับรายงานวิจัย
ดังนั้นเขียนบทความวิจัย ได้เขียน อยู่ 5 ด้วยกัน ดังนี้
1.ประเด็นแนวคิดเกี่ยวกับกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม ในมุมมองเชิงลบ เชิงบวก ซึ่งเป็นแนวคิดที่จะส่วนหนึ่งการรองรับ และวิเคราะห์ในหัวข้อเรื่องงานวิจัย จึงได้เขียนบทความวิจัย คือ “ข้อความคิดว่าด้วยกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมมุมมองเชิงลบ -เชิงบวก” เสนอตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์สังคมท้องถิ่น ผ่านการประเมินรอการตีพิมพ์ไปแล้ว (ประโยชน์ถ้าได้รับการตีพิมพ์ ก็จะได้รับรางวัลค่าผลงานตีพิมพ์ของวาสารและสถาบันที่สังกัด)
2.ประเด็นการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นประเด็นที่ยืนยันถึงความสูงสุดของรัฐธรรมนูญที่ต้องมีการควบคุมไม่ให้กฎหมายขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ จึงต้องมีการจัดลำดับชั้นทางกฎหมาย เพื่อที่จะนำไปศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการจัดลำดับชั้นทางกฎหมาย จึงได้เขียนบทความวิจัย เรื่อง ข้อสังเกตการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 เสนอต่อวารสารศาลรัฐธรรมนูญ (วารสารฐาน2) สำนักงานเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ อยู่ในช่วงพิจารณาบทความ (ประโยชน์ถ้าได้รับการตีพิมพ์ ก็จะได้รับรางวัลค่าผลงานตีพิมพ์ของวาสารและสถาบันที่สังกัด)
3.ประเด็นปัญหาที่มาและลำดับชั้นทางกฎหมายของพระราชกฤษฎีกา ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ว่าปัจจุบันมีอยู่หลายประเภท ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองพิพากษาไว้ ซึ่งมีปัญหาย้อนแย้งกับคำนิยาม ตามกฎหมาย ทำให้มีประเด็นที่ต้องศึกษา จึงได้เขียนบทความวิจัยขึ้นมา เรื่อง ปัญหาที่มาและลำดับชั้นทางกฎหมายของพระราชกฤษฎีกาภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เสนอต่อวารสารกฎหมายปกครอง (วารสารฐาน 1) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (ประโยชน์ถ้าได้รับการตีพิมพ์ ก็จะได้รับรางวัลค่าผลงานตีพิมพ์ของวาสารและสถาบันที่สังกัด)
4. ประเด็นปัญหาเรื่อง สถานะทางกฎหมายของพระราชบัญญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีวัตถุประสงค์ให้มีความเป็นพิเศษกว่าพระราชบัญญัติ ทั้งในเรื่อง ผู้มีสิทธิเสนอกฎหมาย กระบวนการตรา และกระบวนการควบคุมกฎหมายมิให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ แต่คำวินิจฉัยรัฐธรรมนูญ ที่ผูกพันทุกองค์กรว่า มีสถานะและลำดับชั้นทางกฎหมายเท่ากับพระราชบัญญัติ ดังนั้นการตราพระราชบัญญัติขัดแย้งกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญได้ จึงเกิดบทความวิจัย ขึ้นมาเรื่อง ปัญหาสถานะและลำดับชั้นทางกฎหมายของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อยู่ในช่วงการเสนอต่อวาสาร คือ วารสารกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มกาวิทยาลัย (ประโยชน์ถ้าได้รับการตีพิมพ์ ก็จะได้รับรางวัลค่าผลงานตีพิมพ์ของวาสารและสถาบันที่สังกัด)
5. ประเด็นปัญหาเรื่อง ความสมบูรณ์ของกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม ของประกาศ คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงเกิดบทความวิจัย เรื่อง ความสมบูรณ์ของกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคม ของประกาศ คำสั่ง คณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแก่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อยู่ช่วงเขียนบทความ
จากบทความวิจัยที่เขียนเหล่านี้ก็จะนำไปเขียนวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นรายงานวิจัยต่อไป เมื่อได้ดำเนินการจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เสร็จสิ้นแล้ว
รายงานวิจัย 在 15. การเขียนรายงานการวิจัย - YouTube 的推薦與評價
หัวข้อในการเขียน รายงาน การ วิจัย และการอ้างอิงแบบต่างๆ. ... <看更多>