ขอบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ช่วยอวยพรให้ทุกสิ่งดีงามที่ท่านปรารถนาจงสำเร็จได้อย่างเป็นอัศจรรย์ด้วยเทอญ
พระพุทธรูปปางทรงรับผลมะม่วง เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในพระอิริยาบถประทับขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา(ตัก) พระหัตถ์ขวาหงายพระหัตถ์วางไว้บนพระชานุ(เข่า) ให้เห็นผลมะม่วงที่ทรงถืออยู่
พระพุทธรูปปางทรงรับผลมะม่วงนี้ เล่าถึงพุทธประวัติเมื่อครั้งที่ มีเศรษฐีผู้หนึ่งในเมืองราชคฤห์ ผู้หนึ่งซึ่งมิได้เลื่อมใสในลัทธิ หรือศาสนาใดๆ นำบาตรไม้จันทร์แดงไปแขวนไว้สูง 60 ศอก พร้อมประกาศว่า หากพระอรหันต์มีจริง ขอให้แสดงอิทธิฤทธิ์เหาะมาเอาบาตรนี้ไปภายใน 7 วัน หากพ้น 7 วันนี้แล้วไม่มีผู้ใดกระทำได้ จะถือว่ามิได้มีพระอรหันต์ในโลก
พระปิณโฑลภารทวาชะเมื่อได้พูดคุยกับพระโมคคัลลานะเถระ จึงได้สำแดงฤทธิ์เหาะไปนำบาตรมา ผู้คนทั้งหลายอยากชมปาฏิหาริย์ จึงติดตามมาจนถึงพระเวฬุวันมหาวิหาร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเหตุการณ์ จึงตรัสตำหนิพร้อมสั่งห้ามพระสาวกแสดงปาฏิหาริย์
ครั้นพวกเดียรถีย์ทราบข่าว ก็พากันดีใจ ประกาศว่าพวกตนจะแสดงปาฏิหาริย์แข่งกับพุทธองค์ เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงสดับข่าวนั้นก็รีบเสด็จไปเฝ้าพระพุทธองค์และเล่าถึงเรื่องที่พวกเดียรถีย์อวดอ้าง พระผู้มีพระภาคจึงตรัสบอกว่า พระองค์จะทรงแสดงปาฏิหาริย์ที่เมืองสาวัตถี ในวันเพ็ญเดือน 8 นับจากเวลานั้นไปอีก 4 เดือน
พระพุทธองค์ประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์พอสมควรแก่อัธยาศัยแล้วก็เสด็จไปยังเมืองสาวัตถี เหล่าเดียรถีย์จึงพากันโจษว่าพระสมณโคดมทรงหนีไป แต่พวกตนจะติดตามไปทำปาฏิหาริย์ด้วย
ครั้นใกล้เวลาที่พระผู้มีพระภาคทรงประกาศไว้ พวกเดียรถีย์ได้จัดสร้างมณฑปใหญ่อย่างวิจิตร ประกาศให้มหาชนทราบว่าตนจะทำปาฏิหาริย์ที่นี้ พระเจ้าปัสเสนทิโกศลไปเฝ้าพระบรมศาสดา จึงรับทำมณฑปถวายเพื่อให้ทรงทำปาฏิหาริย์ พระพุทธองค์ไม่ทรงรับและตรัสว่าจะทรงทำปาฏิหาริย์ใต้ร่มมะม่วง เมื่อพวกเดียรถีย์ทราบข่าวจึงจ้างให้คนทำลายต้นมะม่วงทั้งหมดเสีย เพื่อมิให้พระสัมพุทธเจ้าทรงทำปาฏิหาริย์ได้
เมื่อถึงวันเพ็ญแห่งอาสาฬหมาส คือ วันขึ้น 15 ค่ำ กลางเดือน 8 พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก เสด็จบิณฑบาตในเมืองสาวัตถีตามปกติ นายคัณฑะได้น้อมนำผลมะม่วงสุกมาถวายพระพุทธองค์
พระผู้มีพระภาครับสั่งให้พระอานนท์นำมะม่วงผลนั้นทำน้ำปานะถวาย จากนั้นพระพุทธองค์จึงให้นายคัณฑะขุดหลุมเพื่อปลูกมะม่วงเมล็ดนั้น แล้วทรงล้างพระหัตถ์บนเมล็ดมะม่วงนั้น พลันบังเกิดความอัศจรรย์ขึ้น เมล็ดมะม่วงงอกต้นขึ้นค่อยๆ เติบโตออกกิ่งใหญ่ถึง 5 กิ่ง แต่ละกิ่งยื่นยาวออกไป 50 ศอก และตกดอกออกผล มีทั้งผลมะม่วงดิบและผลมะม่วงสุก อร่ามไปทั้งต้น ทั้งล่วงหล่นเกลื่อนพื้น สร้างความปีติให้แก่นายคัณฑะเป็นอันมาก พระราชาเมื่อได้ทรงทราบข่าวจึงมีพระดำรัสห้ามให้ใครตัดต้นมะม่วงนี้ และต้นมะม่วงนี้ ได้ชื่อว่า คัณฑามพพฤกษ์ ดังที่กล่าวไว้ในยมกปาฏิหาริย์
Cr.pic FB
「วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8」的推薦目錄:
- 關於วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 在 เข็มทิศชีวิต ฐิตินาถ ณ พัทลุง Facebook 的最讚貼文
- 關於วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 在 Danai Chanchaochai Facebook 的最讚貼文
- 關於วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 在 TAS19 คำนวณผลประโยชน์พนักงาน โดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ABS Facebook 的精選貼文
- 關於วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 在 วันอาสาฬหบูชา | วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุก ๆ ปี เป็น #วัน ... 的評價
- 關於วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 在 วันอาสาฬหบูชา :: วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 - YouTube 的評價
- 關於วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 在 "วันอาสาฬหบูชา" วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ทรง ... 的評價
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 在 Danai Chanchaochai Facebook 的最讚貼文
สามเณร 1 พระธรรมทูต 1
ผู้ต่อลมหายใจพระพุทธศาสนา
ที่เกือบสูญสิ้นในเกาะลังกาเมื่อเกือบ 300 ปีก่อน ให้กลับมายิ่งใหญ่จวบจนปัจจุบัน
คนไทยควรรู้จักและเคารพศรัทธาในพระอุบาลีเถระ
พระธรรมทูตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย
พระอุบาลีเถระ เป็นพระธรรมทูตในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา
ทีเดินทางไปยังประเทศศรีลังกาตามคำร้องของฝ่ายศรีลังกาในการเป็นพระอุปัชฌาย์
อุปสมบทแก่สามเณรชาวสิงหล เพื่อสืบทอดพุทธศาสนาในศรีลังกาขณะนั้น
อีกทั้งท่านยังเป็นผู้ริเริ่มให้มีการจัดเทศกาลแห่พระเขี้ยวแก้ว (เอสาละ เปราเหรา) ในเมืองแคนดี้
ซึ่งเป็นประเพณีที่มีชื่อเสียงและถือเป็นสัญลักษณ์ของศรีลังกาที่โด่งดังไปทั่วโลก
พระอุบาลีมหาเถระ เมื่อแรกได้พำนักอยู่ที่วัดธรรมาราม ซึ่งเป็นวัดเล็กๆ มีอาณาเขตทิศเหนือ
อยู่ติดกับวัดท่าการ้อง ทิศใต้อยู่ติดกับวัดกษัตราธิราช ทิศตะวันออกอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา
ทิศตะวันตกอยู่ติดกับถนนบางบาล ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ในปีพุทธศักราช 2293 พระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะ กษัตริย์ศรีลังกามีความศรัทธาแรงกล้า
ที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้กลับคืนสู่ศรีลังกาอีกครั้ง เพราะภัยจากชาวต่างชาติและศาสนาอื่น
ที่เข้ามาย่ำยีพุทธศาสนาทำลายวัดวาอาราม ซ้ำยังถูกกษัตริย์ที่เป็นมิจฉาทิฐินับถือต่างศาสนา
ใช้อำนาจจับสึกพระภิกษุและเผาพระไตรปิฎกไปเสียสิ้น ทำให้ไม่มีพระภิกษุเหลือ
แม้สักเพียงรูปเดียว คงเหลืออยู่ก็แต่สามเณรไม่กี่รูป
หนึ่งในสามเณรเหล่านั้น มีสามเณรรูปหนึ่ง ชื่อ สามเณรสรณังกร
สามเณรสรณังกรได้ทูลขอให้พระเจ้ากิตติราชสิงหะ กษัตริย์ลังกาในขณะนั้น
ให้ส่งทูตมาขอนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองกรุงศรีอยุธยาไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนา
ณ ลังกาทวีป จึงได้ส่งราชทูตมายังกรุงศรีอยุธยา ลังกากุมารบันทึกไว้ว่า
“พ.ศ. 2293 คณะราชทูตออกเดินทางจากท่าเรือตรินโคมาลี
โดยเรือของฮอลันดานามว่าเวลตรา การเดินทางครั้งนั้นผ่านเมืองอะแจ สุมาตรา
และแวะพักที่มละกาเป็นเวลาห้าเดือน เพื่อหลีกเลี่ยงฤดูมรสุม
จากนั้นคณะราชทูตได้เดินทางเข้ามายังปากน้ำเจ้าพระยา ผ่านเมืองบางกอกและนนทบุรี”
ปีพุทธศักราช 2294 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาโปรดให้คัดเลือกพระสงฆ์
ที่แตกฉานในพระไตรปิฎกและเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ประกอบด้วยพระสงฆ์ 18 รูป
นำโดยพระอุบาลีมหาเถระและพระอริยมุนีมหาเถระ พร้อมทั้งสามเณรอีกเจ็ดรูป
ออกเดินทางด้วยเรือกำปั่นหลวงที่เพิ่งต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นพาหนะส่งคณะสงฆ์ไทยไปลังกา
แต่การเดินทางในครั้งนั้นมิได้ราบรื่น เรือกำปั่นของพระสมณทูตถูกคลื่นใหญ่ซัดจนมาเกยตื้น
ที่เมืองนครศรีธรรมราช คณะสงฆ์ชุดนั้นจึงไปไม่ถึงลังกา
คณะสงฆ์ชุดเดิมออกเดินทางอีกครั้งโดยเรือกำปั่นฮอลันดาจากกรุงศรีอยุธยา
เมื่อวันขึ้น 10 ค่ำ เดือนอ้าย พ.ศ. 2295 ถึงเมืองตรินโคมาลี อันเป็นเมืองท่า
อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลังกา เมื่อวันแรม 14 ค่ำ เดือน 6
โดยใช้เวลาเดินทางถึง 5 เดือน 4 วัน พระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะรับสั่งให้ขุนนางผู้ใหญ่ต้อนรับ
และเชิญพระสงฆ์และคณะราชทูตไทยเข้ามายังเมืองแคนดี้
โปรดให้พระสงฆ์ไทยไปพักที่วัดบุปผาราม ปัจจุบันคือ มัลละวัตตะมหาวิหาร
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระอุบาลีให้อุปสมบทแก่สามเณรไทยหนึ่งรูปก่อนในคามวาสี
เวลาค่ำ พระเจ้ากีรติศิริราชสิงหะเสด็จไปยังวัดบุปผารามพร้อมด้วยข้าราชบริพาร
ทรงอาราธนาพระสงฆ์ไทย มีพระอุบาลีเป็นประธาน ให้อุปสมบทแก่สามเณรสิงหลผู้ใหญ่หกรูป
มีสามเณรสรณังกรเป็นประธาน
ในวันอุปสมบท สามเณรสรณังกรมีอายุ 54 ปี คณะได้ให้บรรพชาอุปสมบทแก่ชาวศรีลังกา
เป็นพระภิกษุ 700 รูป เป็นสามเณร 3,000 รูป ในระยะ 3 ปีที่ออกไปอยู่ในศรีลังกา
คือ พ.ศ.2295-2298 สามเณรสรณังกรซึ่งได้รับการอุปสมบท
ได้รับการสถาปนาจากกษัตริย์ลังกาให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช
จึงได้เกิดคณะสงฆ์นิกายสยามวงศ์ หรือ อุบาลีวงศ์ขึ้นในลังกา
งานของพระธรรมทูตจากประเทศไทย นอกจากการให้การอุปสมบทพระสงฆ์ชาวสิงหลแล้ว
ยังทำกิจวัตรของสงฆ์คือการสวดมนต์ ดังที่ฐากูร พานิช บันทึกไว้ว่า
“ทุกค่ำ พระอุบาลี พระอริยมุนี และพระสงฆ์อันดับ จะพร้อมกันสวดมนต์
สามเณรลังกาจะมานั่งฟังสวดพร้อมกันทุกวัน นอกจากนั้นพระอุบาลียังได้ผูกพัทธสีมาอีกหลายวัด"
พระอุบาลีมรณภาพด้วยโรคหูอักเสบ ภายในกุฏิวัดบุปผาราม (มัลละวัตตะมหาวิหาร)
เมื่อปี พ.ศ. 2299 พระเจ้าแผ่นดินศรีลังกาให้จัดพิธีถวายเพลิงศพอย่างยิ่งใหญ่สมเกียรติ
โดยจัดขึ้นที่สุสานหลวงนามว่าอาดาหะนะมะลุวะ ปัจจุบันคือ วัดอัสคิริยามหาวิหาร เมืองแคนดี้
ซึ่งปัจจุบันได้ก่ออิฐล้อมสถานที่เผาศพท่านไว้ หลังเสร็จสิ้นพิธีถวายเพลิงศพแล้ว
ทรงรับสั่งให้สร้างเจดีย์บนยอดเขาใกล้วัดอัสคิริยามหาวิหาร บรรจุอัฐิเพื่อสักการบูชาซึ่งมีปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน
กุฏิท่านพระอุบาลีและห้องพักของท่านได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี
แม้จะเป็นเพียงห้องเล็กๆ มีเพียงเตียงเก่าๆ และโต๊ะเก้าอี้อีกหนึ่งชุดเท่านั้น
บริขารและสิ่งของที่ท่านเคยใช้สอยที่ยังเหลืออยู่ ชาวศรีลังกาก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ควรเคารพเช่นกัน
และได้เก็บรักษาไว้จนทุกวันนี้
ชมสารคดี 266 ปี พระพุทธศาสนาในลังกา (08.19 นาที)
https://bit.ly/2OJUTEG
สารคดี 266 พระพุทธศาสนาในลังกา ฉบับเต็ม
https://bit.ly/2PDTSgQ
ครั้งแรกในรอบ 700 ปี แห่งความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาสองแผ่นดิน ระหว่างประเทศไทยและศรีลังกา
การประดิษฐานพระพุทธศาสนาเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ในสยามประเทศ
และครั้งแรกในรอบ 266 ปี แห่งการประดิษฐานพระพุทธศาสนา นิกายสยามวงศ์ในศรีลังกา
โดยพระอุบาลีมหาเถระ พระธรรมทูตจากกรุงศรีอยุธยา แต่งตั้งโดยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
ครั้งหนึ่งในชีวิต ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมกราบสักการะพระบรมเกศาธาตุ จากประเทศศรีลังกา
ที่อัญเชิญมาประดิษฐานครั้งแรก ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่ 15 ธันวาคม 2562 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2563
จัดโดยมูลนิธิสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
วัดบวรนิเวศวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ กระทรวงวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร และมูลนิธิธรรมดี
ร่วมเป็นเจ้าภาพอัญเชิญพระบรมเกศาธาตุ และถวายเครื่องสักการะบูชา ตามธรรมเนียมศรีลังกา
ติดต่อฝ่ายเลขานุการโครงการฯ
☎ 02-6102366
📱 063-5265359
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 在 TAS19 คำนวณผลประโยชน์พนักงาน โดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ABS Facebook 的精選貼文
🙏 วันอาสาฬหบูชา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกๆ ปี เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา โดยพระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จนพระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ในปี 2562 วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันอังคาร ที่ 16 กรกฎาคม
.
ในวันอาสาฬหบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) มีเหตุการณ์ สำคัญเกิดขึ้น 4 ประการ
.
1⃣ เป็นวันแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
.
2⃣ เป็นวันแรกที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรและฤาษีโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมแล้วทูลขอบวช
.
3⃣เป็นวันแรกที่พระสงฆ์สาวกเกิดขึ้นในโลก คือ ฤาษีโกณฑัญญะ ได้บวชเป็นภิกษุด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา
.
4⃣เป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบบริบูรณ์
.
🙏 วันเข้าพรรษา แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกๆ ปี เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
.
"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน
.
วันเข้าพรรษา จะมีการประกอบพิธีทางพุทธศาสนา และกิจกรรมที่กระทำก็มีการเตรียมเสนาสนะให้อยู่ในสภาพที่ดี สำหรับ จะได้จำพรรษาอยู่ตลอด 3 เดือน และมีพิธีแห่เทียน ไปยังพระอารามเพื่อนำเทียนเข้าไปตั้งในพระอุโบสถหรือพระวิหาร จุดเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย
.
👉 สำหรับการปฏิบัติอื่นๆ เช่น การถวาย ผ้าอาบน้ำฝน การอธิษฐานตนว่าจะประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบของศีลห้า ศีลแปด ฟังเทศน์ฟังธรรม ตามกำลังศรัทธา และขีดความสามารถของตนนับว่าวันเข้าพรรษาเป็นโอกาสอันดีที่พุทธศาสนิกชนจะได้ประพฤติปฏิบัติตนในวิถีของชาวพุทธ
.
🙏 ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ณ วัดใกล้บ้านพร้อมทั้งขอเชิญชวนเข้าร่วมพิธีหล่อเทียนและถวายต้นเทียนพรรษาในช่วงวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา
.
#TAS19 #รับคำนวณผลประโยชน์พนักงาน #คำนวณผลประโยชน์พนักงาน #อาจารย์ทอมมี่ #นักคณิตศาสตร์ประกันภัย #เกษียณ #เลิกจ้าง #เงินชดเชยสำรอง
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 在 วันอาสาฬหบูชา :: วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 - YouTube 的推薦與評價
วันอาสาฬหบูชา วันอาสาฬหบูชา หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญ เดือน อาสาฬหะ คือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ (ประมาณ เดือน กรกฎาคม หรือ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ... ... <看更多>
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 在 "วันอาสาฬหบูชา" วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ทรง ... 的推薦與評價
"วันอาสาฬหบูชา" วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้า ทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศ พระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก ... ... <看更多>
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 在 วันอาสาฬหบูชา | วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุก ๆ ปี เป็น #วัน ... 的推薦與評價
วันอาสาฬหบูชา · วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุก ๆ ปี เป็น #วันอาสาฬหบูชา ซึ่งในปีนี้ ตรงกับวันพุธ ที่ 13 กรกฎาคม 2565 วันอาสาฬหบูชา ... ... <看更多>