การหลอมรวมปรัชญากฎหมายธรรมชาติเข้ากับปฏิฐานนิยมทางกฎหมายตามแนวคิดของ กุสตาฟ ร้าดบรุค: นิติปรัชญาสายที่ 3
ที่มา สรุปมาจากบทความของ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ “กุสตาฟ ร้าดบรุคกับนิติปรัชญาสายที่สาม” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2 มิถุนายน 2545 หน้า 453-468
กุสตาฟ ร้าดบรุค (ค.ศ.1879 – 1949) นักปรัชญากฎหมายชาวเป็นชาวเยอรมนี ได้แนวความคิดนิติปรัชญาสายที่ 3 ขึ้นมาโดยการหลอมรวมแนวความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติและสำนักกฎหมายปฏิฐานนิยมเข้าด้วยกัน ดังนี้
1. ความคิดเบื้องต้นของกุสตาฟ ร้าดบรุค
กุสตาฟ ร้าดบรุค เริ่มต้นความคิดของเขาจากรากฐานของทฤษฎีความรู้ที่ อิมมานูเอล คานท์ วางไว้ คือ การแยกโลกของ “ความเป็น” ซึ่งเป็นเรื่องของปรากฏการณ์ทางความเป็นจริงกับโลกของ “ความควรจะต้องเป็น” ซึ่งเป็นโลกของคุณค่าต่างๆ ออกจากกันอย่างเด็ดขาดก็ตาม แต่ในการอธิบายความหมายของกฎหมาย ร้าดบรุค ไม่ได้จำกัดกรอบอยู่เฉพาะแต่การอธิบายกฎหมายในแง่ของ “ความเป็น” เท่านั้น แต่ยังอภิปรายไปถึงคุณค่าหรือมโนคติแห่งกฎหมายด้วย แนวทางการอธิบายกฎหมายของ ร้าดบรุค จึงแตกต่างจาก ฮันส์ เคลเซ่น ในสาระสำคัญ ทั้งๆ ที่ยอดนักนิติศาสตร์ของโลกทั้ง 2 คนนี้จัดว่าเป็นพวกคานท์ ใหม่เหมือนกัน เคลเซ่น ตัดการอภิปรายคุณค่าต่างๆ ออกไปจากวิชานิติศาสตร์อย่างสิ้นเชิงและมุ่งอธิบายกฎหมายเฉพาะในแง่รูปแบบ และลำดับชั้นของกฎหมายเท่านั้น เนื่องจาก เคลเซ่น เห็นว่าเรื่องของคุณค่าต่างๆ เป็นเรื่องที่ไม่อาจให้เหตุผลอย่างเป็นศาสตร์ได้ วิชานิติศาสตร์จึงต้องเป็นวิชาการที่พรรณนาและอธิบายกฎหมายที่เป็นอยู่จริงเท่านั้น ไม่ใช่กฎหมายที่ควรจะต้องเป็น ในขณะที่ ร้าด บรุค พยายามที่จะเชื่อมโยงคุณค่าต่างๆ กับการอภิปรายในทางนิติศาสตร์ “กฎหมาย” ในทรรศนะของ ร้าดบรุค จึงไม่ใช่ “ข้อความคิดที่ว่างเปล่าจากคุณค่า” ทำนองเดียวกับวัตถุต่างๆ ในโลกของปรากฏการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ศาสตร์เฉพาะสาขาต่างๆ มุ่งศึกษาค้นคว้าและอธิบาย แต่ในขณะเดียวกัน “กฎหมาย” ก็ไม่ใช่ “ ข้อความคิดในทางคุณค่า” หรือเป็นสิ่งเดียวกับข้อความคิดในทางคุณค่า (ความยุติธรรม) ซึ่งเป็นสิ่งที่วิชาปรัชญามุ่งศึกษาค้นคว้า สำหรับ ร้าดบรุค แล้ว “กฎหมายเป็นข้อความคิดทางวัฒนธรรม” กล่าวคือ เป็นข้อความคิดของโลกแห่งปรากฏการณ์หรือโลกแห่งความเป็นที่อ้างอิงเกาะเกี่ยวกันคุณค่า กล่าวอีกนัยหนึ่ง “กฎหมายคือความเป็นจริงที่เชื่อมโยงคุณค่า” เป็นข้อความคิดที่มีความหมายในการรับใช้ความถูกต้อง ความยุติธรรม ข้อความคิดว่าด้วยกฎหมายจึงเป็นข้อความคิดที่มุ่งตรงไปหามโนคติแห่งกฎหมาย (ความยุติธรรม) ไม่ใช่สิ่งที่อยู่โดดเดี่ยวขาดความเชื่อมโยงกับคุณค่าใดๆ
ในแง่ของศาสตร์ต่าง ๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมาย ร้าดบรุค แยกพิจารณาออกเป็น 3 ส่วน คือ วิชาสังคมวิทยากฎหมาย วิชานิติปรัชญาและวิชานิติศาสตร์โดยแท้ ทั้งนี้ตามรากฐานความคิดที่กล่าวมาข้างต้นสามารถอธิบายได้ดังนี้
1) วิชาสังคมวิทยากฎหมาย เป็นวิชาการที่ศึกษาและพรรณากฎหมายในฐานะที่กฎหมายเป็นปรากฏการณ์ของความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคม (โลกแห่งความเป็นจริง)
2) วิชานิติปรัชญา เป็นวิชาการที่มุ่งศึกษากฎหมายในแง่ของคุณค่า (โลกแห่งความควรจะต้องเป็น) กล่าวคือมุ่งศึกษาแสวงหากฎหมายที่ควรจะเป็น
3) วิชานิติศาสตร์โดยแท้ (วิชานิติศาสตร์ในความหมายอย่างแคบ) เป็นคำสอนทั้งหลายทั้งปวงเกี่ยวกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่จริงในบ้านเมือง ซึ่งมีความเชื่อมโยงหรืออ้างอิงถึงคุณค่าหรือมโนคติแห่งกฎหมาย วิชานิติศาสตร์โดยแท้จึงเป็นวิชาที่อยู่กึ่งกลางระหว่างวิชาการที่ศึกษากฎหมายในฐานะที่เป็นปรากฏการณ์จริงในโลกของความเป็นจริงกับวิชาการที่มุ่งแสวงหากฎหมายที่ควรจะเป็นในแง่ของวัตถุที่ศึกษาวิชานิติศาสตร์โดยแท้มุ่งศึกษา “กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่จริงในบ้านเมือง” ซึ่งหมายถึงกฎเกณฑ์ที่ได้รับการตราขึ้นตามกระบวนการบัญญัติกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ในความเป็นจริงและมีผลใช้บังคับในสังคม ในแง่ของ “วิธีการศึกษา” วิชานิติศาสตร์โดยแท้มีวิธีการใช้และการตีความกฎหมายที่มีเป้าหมายในการค้นหาความหมายของบทกฎหมายที่มุ่งไปยังคุณค่าหรือมโนคติแห่งกฎหมายอาจเรียกว่า “การค้นหาเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย”
2.กุสตาฟ ร้าดบรุค: นิติปรัชญาสายที่ 3
เมื่อพิจารณาข้อความคิดว่าด้วย “กฎหมาย” ของ ร้าดบรุค แล้ว ศาสตราจารย์ ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้วิเคราะห์ว่าไม่อาจที่จะจัดให้ ร้าดบรุค สังกัดอยู่ในสำนักกฎหมายบ้านเมืองหรือสำนักกฎหมายธรรมชาติได้ ตามทรรศนะของสำนักกฎหมายบ้านเมือง กฎหมายคือกฎเกณฑ์หรือบรรทัดฐานที่ได้รับการกำหนดโดยถูกต้องตามรูปแบบและวิธีการ ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงว่ากฎหมายที่ได้รับการกำหนดขึ้นนั้นจะมีเนื้อหาอย่างไร สำหรับ ร้าดบรุค แล้วบรรทัดฐานใดบรรทัดฐานหนึ่งจะได้ชื่อว่าเป็นกฎหมายก็ต่อเมื่อบรรทัดฐานดังกล่าวนั้นเป็นบรรทัดฐานที่มุ่งไปยังมโนคติแห่งกฎหมาย นั่นคือ “ความยุติธรรม” ไม่ใช่บรรทัดฐานที่มีเนื้อหาอย่างไรก็ได้ แม้กระนั้นเราก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าทรรศนะดังกล่าวของ ร้าดบรุค เป็นทรรศนะของนักคิดในสำนักกฎหมายธรรมชาติ เพราะ “กฎหมาย” ในทรรศนะของ ร้าดบรุค ไม่ใช่สิ่งเดียวกับความยุติธรรมซึ่งถือเป็นคุณค่าอันสัมบูรณ์ บรรทัดฐานที่มุ่งตรงไปยังมโนคติแห่งความถูกต้องเป็นธรรม แม้ว่าจะไม่สอดคล้องกับมโนคติดังกล่าวอย่างเต็มที่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายธรรมชาติคลาสสิค) ที่เห็นว่าบรรทัดฐานใดบรรทัดฐานหนึ่งจะมีค่าบังคับเป็นกฎหมายได้ก็ต่อเมื่อบรรทัดฐานนั้นสอดคล้องกับความยุติธรรมอย่างสมบูรณ์
ร้าดบรุค สร้าง “นิติปรัชญาสายที่ 3” คือ แนวความคิดเกี่ยวกับกฎหมายที่อยู่กึ่งกลางระหว่างความคิดแบบสำนักกฎหมายบ้านเมืองและความคิดแบบสำนักกฎหมายธรรมชาติจากการประสานคุณค่า อยู่ 2 ประการระหว่างความยติธรรมกับหลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย ดังนี้
2.1 ความยุติธรรม
ความยุติธรรม (Justice) ซึ่งแสดงออกอย่างสมบูรณ์ในรูปของหลักความเสมอภาค อย่างไรก็ตาม โดยเหตุที่เราไม่อาจหา “มาตร” ในการชี้ว่าอย่างไรเสมอภาคหรือไม่เสมอภาคได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับความยุติธรรม เราจำเป็นต้องใช้หลักเกณฑ์ของความยุติธรรมบนพื้นฐานของประโยชน์สาธารณะและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้เกิดดุลยภาพกันในสังคมให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ (Purposiveness) ที่จะต้องพิจารณา “คุณค่าส่วนบุคคล” “คุณค่าส่วนรวม” (ประโยชน์สาธารณะ) และ “คุณค่าของงาน” มาเป็นเครื่องช่วยในการกำหนดเนื้อหาของความยุติธรรมนั้น ซึ่งการกำหนดการชั่งน้ำหนักของคุณค่าต่าง ๆ เหล่านี้ไม่ได้อาศัยความรู้ทางวิชาการแต่อาศัยการยอมรับในทางการเมืองและจริยธรรม แต่อย่างไรก็ตามความยุติธรรมที่เป็นความเชื่อและความศรัทธามีลักษณะสัมพันธ์เปลี่ยนแปลงไปตาม “ประวัติศาสตร์” และ “สังคม” ซึ่งความไม่แน่นอนของคุณค่าที่ได้กล่าว ข้างต้นจะได้รับการขจัดไปโดยหลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย
2.2 หลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย
หลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย (Legal Certainty) อันเป็นหลักการที่มีคุณค่าเสมอกันกับหลักการความยุติธรรม เป็นการตัดสินใจที่ผูกพันคนในสังคมและชี้ว่าสิทธิหน้าที่ต่างๆ ดำรงอยู่อย่างไร หากพิจารณาแนวคิดในทางนิติปรัชญาแล้วจะพบว่าสำนักกฎหมายบ้านเมืองถือเอาหลักความมั่นคงเด็ดขาดแห่งกฎหมายอันเกิดจากการกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ในทางกฎหมายเป็นหลักการเดียวที่มีคุณค่าสูงสุด ในกฎหมายนั้นจะไม่ยุติธรรม “กฎหมายนั้นก็มีค่าบังคับ” (Legal Validity) ที่บุคคลต้องปฏิบัติตาม ในขณะที่ “สำนักกฎหมายธรรมชาติ” (Natural Law School) “เชื่อถือศรัทธาต่อหลักความยุติธรรมไม่เปลี่ยนแปลง” หากกฎหมายใดขัดกับหลักความยุติธรรมแล้วบุคคลหามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวไม่
3.ข้อวิจารณ์แนวคิดกุสตาฟ ร้าดบรุค
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ แม้ว่า ร้าดบรุค จะคำนึงถึงคุณค่าของหลักความมั่นคงแห่งกฎหมายและหลักความยุติธรรม แต่หากเกิดความขัดแย้งกันขึ้นระหว่างหลักการทั้ง 2 ประการ คือ ความขัดแย้งระหว่างความยุติธรรมกับความมั่นคงแห่งกฎหมาย กฎหมายที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม ร้าดบรุค จะเลือกเดินทางใด ในช่วงก่อนที่รัฐบาลนาซีจะขึ้นเถลิงอำนาจในเยอรมัน อันเป็นช่วงที่ ร้าดบรุค ยังอยู่ในวัยหนุ่มนั้น ร้าดบรุค ให้ความสำคัญกับ “หลักความมั่นคงแห่งกฎหมาย” อย่างมาก แม้กระนั้นก็เห็นได้จากงานเขียนในช่วงนั้น (ค.ศ.1914) ว่า ร้าดบรุค ไม่ได้ยอมรับค่าบังคับของกฎหมายที่เห็นประจักษ์ชัดว่าไม่ถูกต้อง ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จากประสบการณ์อันขมขื่นที่เกิดขึ้นในยุคที่รัฐบาลนาซีครองอำนาจ หลังจากฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้มีอำนาจปกครองเยอรมันได้ทำหนังสือลงวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 ปลด กุสต๊าฟ ร้าบรุค จากตำแหน่งศาตราจารย์ มหาวิทยาลัยไฮเดนเบริ์ก ภายใต้กฎหมายที่ตราโดยรัฐบาลฮิตเลอร์ (รัฐบัญญัติว่าด้วยการรื้อฟื้นจารีตธรรมเนียมแห่งอาชีพข้ารัฐการ) โดยไม่ปรากฏเหตุผลของการปลดออกว่าเหตุใดถึงปลดออก หลังจากเขาถูกปลดได้มีการยึดค้น เอกสาร จดหมาย หนังสือและทรัพย์สินอื่นๆไป และยังถูกเพิกถอนหนังสือการเดินทางไปด้วยทำให้ ร้าดบรุค หันมาให้น้ำหนักกับ “หลักความยุติธรรม” มากขึ้น แม้กระนั้นก็ต้องเข้าใจว่า ร้าดบรุค ไม่ได้ทิ้งความคิด “นิติปรัชญาสายที่ 3” ของตนและหันไปยอมรับนับถือข้อความคิดว่าด้วยกฎหมาย “สำนักกฎหมายธรรมชาติ” (Natural Law School) แทน ร้าดบรุค ไม่เคยยอมนำหลักการว่าด้วยความมั่นคงแห่งกฎหมายอันเป็น “มโนคติทางกฎหมาย” ที่สำคัญไป “เซ่นสังเวย” กฎหมายธรรมชาติที่ยังคงเต็มไปด้วยความคลุมเครือในแง่เนื้อหาแต่อย่างใด
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่า “บรรทัดฐานใดจะมีค่าบังคับเป็นกฎหมายหรือไม่” นั้น ร้าดบรุค อธิบายถึง คุณค่าของหลักความมั่นคงแห่งกฎหมายและหลักความยุติธรรม จะเป็นตัวกำหนดบรรทัดฐานใดจะมีค่าบังคับเป็นกฎหมายที่เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม จะพบว่ามาจากความขัดแย้งกันขึ้น คือ ความขัดแย้งระหว่างความยุติธรรมกับความมั่นคงแห่งกฎหมาย น่าจะต้องแก้ไขคลี่คลายโดยการให้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในบ้านเมือง อันเป็นกฎหมายที่ได้รับการตราขึ้นตามกฎเกณฑ์และโดยมีอำนาจนั้นอยู่ในฐานะเหนือกว่า ถึงแม้ว่ากฎหมายดังกล่าวนั้นจะมีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ก็ตาม เว้นเสียแต่ว่าความขัดแย้งระหว่างกฎหมายที่ตราขึ้นกับความยุติธรรมอยู่ในระดับที่ไม่อาจทนทานได้อีกต่อไป หากเป็นดังนั้นกฎหมายที่ตราขึ้น ซึ่งเป็นกฎหมายที่ไม่ถูกต้องไม่เป็นธรรม จะต้องจำนนต่อความยุติธรรม การขีดเส้นแบ่งอย่างชัดเจนระหว่างกฎเกณฑ์ที่ตราขึ้นและเป็นกฎเกณฑ์ที่ “อยุติธรรม” ซึ่งไร้ผลบังคับกับกฎหมายที่แม้จะมีเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องก็ยังถือว่าเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับได้ เป็นสิ่งที่ไม่อาจกระทำได้แม้กระนั้นก็ตามเราอาจหาเส้นแบ่งในลักษณะอื่นได้อย่างชัดเจน ที่ใดก็ตามที่ไม่มีความพยายามในการมุ่งแสวงหาความยุติธรรมแม้แต่น้อย ที่ใดก็ตามที่ไม่แยแสใยดีหลักความเสมอภาพอันเป็นแกนของความยุติธรรมในการตรากฎหมาย กฎหมายที่ได้รับการตราขึ้น ณ ที่แห่งนั้นย่อมไม่เป็นเพียงแค่กฎหมายที่มีเนื้อหาไม่ถูกต้องเท่านั้น แต่กฎเกณฑ์ดังกล่าวนั้นไม่มีค่าเป็นกฎหมายเลยแม้แต่น้อย เพราะเราไม่สามารถที่จะให้นิยามความหมายของกฎหมายไม่ว่าจะเป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นหรือไม่ในลักษณะอื่นได้ นอกจากจะให้นิยามว่า “เป็นระเบียบและกฎเกณฑ์ที่โดยเนื้อแท้แล้วได้รับการกำหนดขึ้นเพื่อรับใช้ความอยุติธรรม”
หลักการที่ ร้าดบรุค ให้ไว้ดังกล่าวนั้น ต่อมาเป็นที่รู้จักกันในนาม “สูตรของร้าดบรุค” (Radbruchsche, Formel, Radbruch Formula) เกณฑ์ดังกล่าวที่ ร้าดบรุค ได้ให้ไว้นั้น ในเบื้องแรกได้รับความสนใจอย่างมากในทางวิชาการ ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันได้ใช้เป็น กฎเกณฑ์ในการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของรัฐบัญญัติ และในช่วงที่ประเทศเยอรมันรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันใน ค.ศ.1990 สูตรของร้าดบรุค ก็ได้รับการพูดถึงอย่างมากและเป็นแนวทางที่ศาลนำไปใช้ในการตัดสินคดีในบริบทที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมของรัฐที่เกิดขึ้นในเยอรมันตะวันออกช่วงก่อนรวมประเทศด้วย
สรุป ปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยมหรือปรัชญากฎหมายบ้านเมือง ถือเป็นปรัชญากฎหมายที่ทรงอิทธิพลต่อการปกครองประเทศทุกระบอบการปกครองไม่ว่าจะเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ การปกครองระบอบเผด็จการและการปกครองระบอบประชาธิปไตย ถือเอาการปกครองโดยกฎหมาย ถือกฎหมายเป็นใหญ่ในการปกครองประเทศ ซึ่งก็คือ กฎหมายบ้านเองที่ออกมีอำนาจผู้ปกครองที่เรียกว่า “รัฏฐาธิปัตย์” ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ “รัฏฐาธิปัตย์ที่ได้อำนาจมาจากความยินยอมของประชาชน” กับ “รัฏฐาธิปัตย์ที่ได้อำนาจมากการปฏิวัติหรือรัฐประหารยึดอำนาจปกครอง” ต่างก็ใช้ปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยมในการตรากฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามในสังคมประเทศที่ใช้การปกครองระอบประชาธิปไตยต่างให้ความสนใจหรือมุ่งเน้นนำปรัชญาปฏิฐานนิยมทางกฎหมายมาหลอมรวมกับปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ดังที่ กุสตาฟ ร๊าดบรุค เสนอนิติปรัชญากฎหมายสายที่สาม ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างกฎหมายปฏิฐานนิยมกับกฎหมายธรรมชาติ เกี่ยวกับความยุติธรรมสอดคล้องกับวัตถุแห่งประสงค์และความมั่นคงแห่งนิติฐานะทางกฎหมาย นำมาอธิบายสร้างแนวคิดระหว่างปรัชญากฎหมายกับการปกครองของรัฐและความสงบสุขของประชาชนและการยอมรับคุณค่าแห่งชีวิตของคนในสังคมตามกฎหมายธรรมชาติ ดังนั้นผู้เขียนเห็นว่าแนวคิดของร๊าดบรุค มีบทบาทและความสำคัญต่อการตรากฎหมายในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過355萬的網紅Pu Pongsit Official,也在其Youtube影片中提到,"ปรารถนา" อีกหนึ่งเพลงดีๆ จากปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ นักร้องเพื่อชีวิตชื่อดังขวัญใจประชาชนชาวไทย itunes ►https://itun.es/th/1imN8?i=1016906742 deezer ►...
วางไว้ 在 JUST ดู IT. Facebook 的最佳貼文
ตัวอย่างแรก THE GIFTED GRADUATION
ตัวอย่าง: https://zcu.io/JqaU
ซีรีส์มนุษย์กลายพันธุ์เวอร์ชั่นไทย กับการกลับมาล้มล้างระบบการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมที่ ผอ.สุพจน์ จัดตั้งห้องเรียน Gifted ที่เปลือกนอกคือห้องเรียนเด็กเก่งมากความสามารถแต่แก่นแท้ข้างในคือ ห้งอเรียนของเด็กที่มีพลังพิเศษเหนือมนุษย์ที่ ผอ.เห็นพวกเขาเป็นแค่หนูทดลอง จนนำไปสู่โศกนาฏกรรม เมื่อ แปง และเด็กห้องกิฟต์รับรู้ถึงเบื้องหลังนี้พวกเขาจึงลุกขึ้นมาต่อต้านระบบและแผนการที่ ผอ.วางไว้
พบกับการต่อสู้ครั้งสุดท้ายของเหล่าเด็กพลังกิฟต์ที่มาพร้อมเด็กกิฟต์รุ่นใหม่ ที่ต้องการรจะกำหนดอนาคตของตัวเอง กับระบบการศึกษาอันไม่เท่าเทียมของ ผอ.สุพจน์ และฝ่ายวิชาการคนใหม่จากกระทรวงที่นำโดย ครูดาริน
THE GIFTED GRADUATION
ทุกวันอาทิตย์ เวลา 20:30 น เริ่มตอนแรกวันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน
ทางช่อง GMM25 และ LINE TV
#จดอ #JUSTดูIT #TheGiftedGraduation #GMMTV
วางไว้ 在 Hero Athletes Facebook 的最佳解答
ถ้าต้องการเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ ต้องเก่งในการ
‘วางแผน’
แต่ถ้าอยากประสบความสำเร็จ
‘แน่ๆ’
ต้องหยิบไอ้แผนที่
‘วางไว้’
...มาปฏิบัติด้วย
#heroathletes
วางไว้ 在 Pu Pongsit Official Youtube 的最佳解答
"ปรารถนา" อีกหนึ่งเพลงดีๆ จากปู พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ นักร้องเพื่อชีวิตชื่อดังขวัญใจประชาชนชาวไทย
itunes ►https://itun.es/th/1imN8?i=1016906742
deezer ►http://www.deezer.com/track/102268462
kkbox ►http://kkbox.fm/Mc4XLZ
joox►http://music.sanook.com/music/song/mqFD4qcvOiA_J8UAXTSENA==/lyric/
เนื้อเพลง
หากแม้น เลือกเกิด เองได้
คนทุกคน เลือกเกิด อย่างไร
ก็ตามใจ เขาปรารถนา
แต่ตัวฉัน นั้นขอตั้ง สัจจะวาจา
ถึงชาตินี้ ชาติหน้า ปรารถนา เกิดมาใกล้คุณ
หากร้อน ผิวกาย ใจระทม ตัว ฉันยอม
เลือกเกิด เป็นลม เฝ้า ลูบชม เนื้ออ่อน ละมุน
หากหนาวนัก ขอเอารัก วางไว้ เป็นทุน
ขอเกิดมาเป็นผ้าอุ่น เกิดเป็นหมอนหนุน สำหรับนาง
อยากเกิด มาเป็น สีแดง แต้มแต่ง สองริม ฝีปากคุณ
อยากเกิดเป็นแป้ง หอมกรุ่น ลูบไล้เนื้ออุ่น สองปราง
อยากเกิด เป็นสร้อย ห้อยคอไว้ อยากเป็น ดอกไม้ ที่ทัดหู
อยากอยู่ ร่วมหอ ไม่ห่าง
จะขอ เป็นแหวน สวมก้อย เป็นกำไร สวมใส่มือน้อย
เกิดเป็นรอย รับบาท ของนาง
อยากแนบเนื้อ ขอเป็นเสื้อ สวมใส่สรรพางค์
ขอเกิดเป็นหมอนข้าง เพื่อนางนวลน้อง ได้กอดนอน
อยากเกิด มาเป็น สีแดง แต้มแต่ง สองริม ฝีปากคุณ
อยากเกิดเป็นแป้ง หอมกรุ่น ลูบไล้เนื้ออุ่น สองปราง
อยากเกิด เป็นสร้อย ห้อยคอไว้ อยากเป็น ดอกไม้ ที่ทัดหู
อยากอยู่ ร่วมหอ ไม่ห่าง
จะขอ เป็นแหวน สวมก้อย เป็นกำไร สวมใส่มือน้อย
เกิดเป็นรอย รับบาท ของนาง
อยากแนบเนื้อ ขอเป็นเสื้อ สวมใส่สรรพางค์
ขอเกิดเป็นหมอนข้าง เพื่อนางนวลน้อง ได้กอดนอน
http://www.facebook.com/pupongsitofficial
http://www.facebook.com/warnermusicthailand