อ้ายจงวิเคราะห์ Big Data จีน : ผลพวงจากกระแส "WHO รับรองวัคซีนโควิด Sinopharm" คนจีนเกิดคำถาม "ทำไม Sinovac ยังไม่มีการรับรอง?" และ "จีนฉีดวัคซีนทั่วประเทศทะลุ 300 ล้านโดส" ก้าวสู่เทรนด์ฮิต ด้วยอานิสงส์กระแสข่าววัคซีนจีน
.
เราทราบดีว่า วัคซีนโควิด เป็นประเด็นที่ทุกคนต่างให้ความสนใจอย่างมากในยุคนี้ โดยเฉพาะวัคซีนโควิดจากประเทศจีน ทั้ง Sinopharm และ Sinovac โดยเฉพาะวันสองวันนี้ เมื่อ WHO องค์การอนามัยโลกให้การรับรอง Sinopharm ขึ้นบัญชีวัคซีนโควิดสำหรับใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน
อ้ายจงเลยขอวิเคราะห์ข้อมูลในโลกออนไลน์จีนเกี่ยวกับประเด็นนี้มาฝาก พอหอมปากหอมคอ
.
1. ประเด็น "WHO รับรอง Sinopharm" เป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในโลกออนไลน์จีน โดยมีการพูดถึงและค้นหามากที่สุด ช่วง 23.00 น. (ตามเวลาจีน) วันที่ 7 พฤษภาคม 2564 จากนั้นคนจีนก็คงไปเข้านอน เพราะดรอปลงไป เพิ่มขึ้นมาพีคอีกครั้ง 10.00 น. ของวันนี้ (8 พฤษภาคม 2564)
.
2. "ต่างประเทศ" เป็นแหล่งที่มาของการเข้าชมข่าว-ข้อมูลเกี่ยวกับประเด็น "WHO รับรอง Sinopharm" มากที่สุด ไม่ใช่แค่ในประเทศจีน
.
3. "ผู้สูงอายุ" (老年人) เป็นหนึ่งในคำที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้มากที่สุด เนื่องจากประเด็น WHO ระบุว่า ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีข้อมูลทดลองทางคลินิกน้อยเกินไป จึงไม่สามารถฟันธงเรื่องประสิทธิภาพในกลุ่มนี้ได้
คนจีนจำนวนไม่น้อยจึงตื่นตัวกับข้อมูลนี้
.
4. "สถานการณ์เป็นอย่างไรบ้าง?" "ไม่ผ่าน" "WHO" เป็น 3 คำ ที่คนจีนพูดกันมากสุด เมื่อกล่าวถึง "Sinovac" อีกหนึ่งวัคซีนของจีนที่กำลังรอผลจาก WHO
กล่าวคือคนจีนจำนวนไม่น้อย เกิดคำถามว่า "แล้ว Sinovac ล่ะ? สรุปสถานการณ์เป็นเช่นไรบ้าง" "หรือว่าไม่ผ่านการรับรองจาก WHO?"
.
5. จากข้อ 4 คำว่า 下周 (สัปดาห์หน้า) จึงเป็นอีกหนึ่งคำที่มาเกี่ยวข้องกับ Sinovac ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา เพราะตอนนี้สื่อจีนเริ่มนำเสนอข่าวแล้วว่า "สำหรับ Sinovac รอผลการรับรองจาก WHO สัปดาห์หน้านะ"
.
6. ประเด็น "จีนฉีดวัคซีนทั่วประเทศ ทะลุ 300 ล้านโดส" กลายเป็นประเด็นอันดับหนึ่งบน Baidu เครื่องมือค้นหาข้อมูลบนโลกออนไลน์จีน ช่วงเวลาเดียวกับกระแส WHO รับรอง Sinopharm เพราะคนจีนกำลังอินเกี่ยวกับข่าววัคซีนของชาติตนเอง
โดยจีนฉีดไปแล้ว 308,226,000 ล้านโดส
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #กระแสสังคมจีน #วิเคราะห์ข้อมูลจีน
「วิเคราะห์ข้อมูลจีน」的推薦目錄:
- 關於วิเคราะห์ข้อมูลจีน 在 อ้ายจง Facebook 的最佳貼文
- 關於วิเคราะห์ข้อมูลจีน 在 อ้ายจง Facebook 的精選貼文
- 關於วิเคราะห์ข้อมูลจีน 在 อ้ายจง Facebook 的最佳解答
- 關於วิเคราะห์ข้อมูลจีน 在 วิเคราะห์เศรษฐกิจ 'จีน' หลังเปิดประเทศเต็มรูปแบบ UpSwing ... 的評價
- 關於วิเคราะห์ข้อมูลจีน 在 กรุงเทพธุรกิจ - ในบทความนี้ "อ้ายจง" มาวิเคราะห์ข้อมูลจากทางจีนที่ ... 的評價
วิเคราะห์ข้อมูลจีน 在 อ้ายจง Facebook 的精選貼文
อ้ายจงวิเคราะห์ Big Data จีน : พฤติกรรมการค้นหาเกี่ยวกับ "วัคซีนโควิด" บนโลกออนไลน์จีน
.
โดยอ้ายจงวิเคราะห์ข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆที่ถูกจัดเก็บข้อมูลและแสดงผลการค้นหาบน Baidu แพลตฟอร์มเครื่องมือการค้นหาข้อมูลบนโลกออนไลน์รายใหญ่ของจีนครับ
.
อ้ายจงสรุปเรื่องราว #สืบจากข้อมูล ดังนี้
1. เมื่อดูคำค้นหาที่คนจีนใช้ค้นหาจริงๆบนโลกออนไลน์ ที่เกี่ยวข้องกับ "วัคซีนโควิด" พบว่า
- "วัคซีน HPV" ยังมีการค้นหามากที่สุด คือ มากกว่า 6 แสนครั้งต่อเดือน โดยเฉพาะวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ เนื่องจากโรคมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากไวรัส HPV ยังคงเป็นโรคสำคัญที่คนจีนกลัว และผู้หญิงจีนเป็นกันเยอะ
- วัคซีน Sinovac (科兴疫苗) เข้ามาอยู่ในอันดับที่ 4 ของการค้นหาเกี่ยวกับวัคซีน ในครั้งนี้ โดยมีจำนวนการค้นหา 106,378 ครั้งต่อเดือน
- วัคซีน Sinopharm ที่ผลิตร่วมกับ Beijing Institute of Biological Products (北京生物疫苗) มีการค้นหาราว 41,558 ครั้งต่อเดือน
- วัคซีน Sinopharm ที่ผลิตร่วมกับ Wuhan Institute of Biological Products (武汉生物疫苗) มีการค้นหาค่อนข้างน้อย อยู่ที่ 2,671 ครั้งต่อเดือน
- คำค้นหา วัคซีน Sinopharm (แบบรวมๆ ไม่ได้ระบุว่าผลิตที่สถาบันในปักกิ่ง หรืออู่ฮั่น) มีการค้นหาราว 23,123 ครั้งต่อเดือน
- ที่น่าสนใจคือ ตอนนี้ คำว่า mrna疫苗 (วัคซีนแบบ mRNA) มีการค้นหาจำนวนมาก อยู่ที่ราว 48,179 ครั้งต่อเดือน
.
2. คำค้นหา "วัคซีนโควิด" ถูกค้นหาเป็นครั้งแรกบนโลกออนไลน์จีน ช่วงเดือนมีนาคม 2563 เป็นช่วงที่โควิดระบาดหนักในจีนและจีนเริ่มพูดถึงการพัฒนาวัคซีนเพื่อมาต่อสู้กับวิกฤติการระบาดโควิด
ถ้านับระยะเวลาที่มีการค้นหาครั้งแรกจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลาราว 1 ปี 2 เดือน คำว่า "วัคซีนโควิด" ถูกค้นหาโดยเฉลี่ย วันละ 12,084 ครั้ง
.
3. ช่วงสามเดือนที่ผ่านมา (กุมภาพันธ์ ถึง 3 พฤษภาคม 2564) นับเป็นช่วงที่คนค้นหา "วัคซีนโควิด" มากที่สุด
โดยปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายน 2564 เป็นจุดสูงสุดของการค้นหา
1 เมษายน 2564 คนค้นหามากสุดนับตั้งแต่มีการค้นหาคำนี้ โดยจำนวนการค้นหาพุ่งไปถึง 78,120 ครั้งในวันนั้น
.
4.ช่วงปลายเดือนมีนาคม 2564 ที่เป็น 1 ในช่วงที่คนจีนค้นหาเกี่ยวกับวัคซีนโควิดจำนวนมาก
พฤติกรรมการค้นหาของคนจีน โเยดูจากคำค้นหา/ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ "วัคซีนโควิด" ทำให้ทราบว่า สาเหตุที่คนจีนค้นหาเกี่ยวกับวัคซีนโคสิดจำนวนมากในช่วงนั้น
เพราะ "เป็นช่วงที่ทางการจีนเร่งและระดมฉีดวัคซีน บางเมืองถึงขั้นออกคำสั่งให้ฉีดวัคซีนแบบแกมบังคับ"
คนจีนจึงเร่งมือค้นหาข้อมูลวัคซีนโควิดเป็นยกใหญ่ เช่น
"วัคซีนเข็มละเท่าไหร่"
"วัคซีนจีน คนกลุ่มไหนฉีดไม่ได้บ้าง?"
"ควรฉีดวัคซีนโควิดดีไหม?"
"ผลข้างเคียงจากวัคซีนมีอะไรบ้าง?"
.
5. พอมาถึงต้นเดือนเมษายน ที่มีจุดทำลายสถิติ "ค้นหาสูงสุด" ในวันที่ 1 เมษายน 2564 พบพฤติกรรมการค้นกาข้อมูลของคนจีนเป็นไปตามนี้
สถานการณ์การเร่งฉีดวัคซีนยังคงต่อเนื่องจากปลายเดือนมีนาคม และประชาชนจำนวนไม่น้อยยังคงกังวลต่อการฉีดวัคซีนโควิด
แต่ "เริ่มมีข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนออกมามากขึ้น เช่น ข้อควรระวังและการปฏิบัติตัวในการฉีด"
ทำให้ประเด็น "ฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีนโควิดดี" เริ่มพูดถึงลดลง
.
6. สถานการณ์การพูดถึง "วัคซีนโควิด" ในโลกออนไลน์จีนรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
"ข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีน"
เช่น ประเด็น "คนกลุ่มไหนฉีดได้ไม่ได้" "ฉีดหรือไม่ฉีดดี" "วัคซีนโควิดมีอายุเท่าไหร่" ลดลง
แต่ ประเด็น
"ข้อควรระวังและการปฏิบัติตัวในการฉีดวัคซีน"
"ผลข้างเคียง"
และ "การสอบถามเกี่ยวกับชนิดวัคซีน" ถูกสนใจมากขึ้น
เพราะ จีนเริ่มมีวัคซีนหลายตัวและเริ่มมีการฉีดผสม
.
7. คำค้นหา "mrna疫苗" ก้าวมาเป็นดาวรุ่งคำค้นหาเกี่ยวกับวัคซีนโควิดในจีน โดยเริ่มมีการค้นหาครั้งแรก 14 เมษายน 2564 เป็นผลมาจาก "การแถลงของผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) จีน พูดถึงการใช้วัคซีนผสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้วัคซีนโควิด โดยเฉพาะการนำวัคซีนโควิดแบบ mRNA มาใช้"
คนจีนจึงพากันพูดถึงและค้นหา จนตอนนี้อยู่ที่เดือนละ 48,179 ครั้ง
.
ทั้งหมดนี้ก็คือผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการค้นหาเกี่ยวกับ "วัคซีนโควิด" ของคนจีนบนโลกออนไลน์จีน หากใครมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถแสดงความคิดเห็นหรือส่งข้อความมาถามอ้ายจงได้เลยครับ
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #วิเคราะห์ข้อมูลจีน #วัคซีนโควิด #โควิด #covid19
วิเคราะห์ข้อมูลจีน 在 อ้ายจง Facebook 的最佳解答
อ้ายจงวิเคราะห์การท่องเที่ยวไทย ในสายตาคนจีน จากข้อมูลBig data โลกออนไลน์จีน
ช่วงนี้มีกระแสเกี่ยวกับไทยในโลกออนไลน์จีน ทำให้นึกถึงเรื่องท่องเที่ยวไทยของนักท่องเที่ยวขาวจีน เรามาดูกันดีกว่าว่าแนวโน้มการเดินทางมาเที่ยวไทยของคนจีน เป็นไงบ้าง โดยอ้ายจงได้วิเคราะห์จากBig dataข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเที่ยวไทย ในโลกออนไลน์จีน
1. คนจีนมีการค้นหาและพูดถึงคำว่า泰国旅游 เที่ยวไทย ในโลกออนไลน์จีน เฉลี่ยวันละ 6,000 ครั้งต่อวัน หรือประมาณ เดือนละ 180,000ครั้ง
2. ข้อมูลBig data ย้อนหลังในรอบครึ่งปีที่ผ่านมา ชี้ว่า กลุ่มคนที่พูดถึง 泰国旅游 เที่ยวไทย 10อันดับแรก มาจาก
อันดับ1 ปักกิ่ง ตามมาด้วย เซี่ยงไฮ้, เฉิงตู, เซินเจิ้น, กว่างโจว, หังโจว, ฉงชิ่ง, ซูโจว, อู่ฮั่น และซีอาน ตามลำดับ
TOP10 ที่กล่าวมา ล้วนเป็นเมืองที่มีเส้นทางบินตรงมาไทย
3. กลุ่มอายุที่พูดถึงเที่ยวไทย มากที่สุด ได้แก่ 30-39ปี รองลงมาคือ 40-49ปี อันดับสาม 50ปีขึ้นไป ขณะที่ น้อยกว่าหรือเท่ากับ29ปี กลุ่มวัยรุ่นคนรุ่นใหม่ รั้งท้าย
4. กลุ่มสาวๆ มีการพูดถึง เที่ยวไทย มากกว่า ผู้ชาย โดยสัดส่วนอยู่ที่ 52% ต่อ 48%
5. เมื่อพูดถึงคำว่า เที่ยวไทย สิ่งที่ตามมา ที่มีการพูดถึงมาก คือ จระเข้, ลิปสติก, ข้าวเหนียว, มะม่วง, ทุเรียน, อาหารอร่อย, เที่ยวไทย5วัน, กรุงเทพ,บุฟเฟ่ต์หม้อไฟ-หมูกะทะ, มด (
คนจีนบอกว่า ไทยมดเยอะครับ ถึงขนาดมีคำค้นหาในbaiduว่า ไทยมดเยอะ ไล่ออกไปยังไง หรือแก้ปัญหาอย่างไร)
6. จังหวัดของไทย ที่คนจีนพูดถึงมากที่สุด ได้แก่ ภูเก็ต (4500ครั้งต่อวัน),พัทยา (2,500), กรุงเทพมหานคร(2,000), เชียงใหม่(1,800)
7. Demographic ของคนจีนที่พูดถึงและค้นหา 4จังหวัดtop4ของไทยในโลกออนไลน์จีน
กรุงเทพ :ผู้ชาย มากกว่าผู้หญิง 53:47
ภูเก็ต :ผู้ชายมากกว่า ผู้หญิง 52:48
พัทยา :ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 54:46
เชียงใหม่ :ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 51:49
โดยสำหรับช่วงอายุ กรุงเทพ ภูเก็ต พัทยา ช่วงอายุ 30-39มากที่สุด ตามด้วย 40-49, 20-29, 50ปีขึ้นไป และน้อยกว่าหรือเท่ากับ19ปี ตามลำดับ
ขณะที่ เชียงใหม่ แตกต่างเล็กน้อย คือ กลุ่มอายุ50ปีขึ้นไป มีมากกว่า 20-29ปี
อ้ายจงก็หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวไทยในสายตาคนจีนนะครับ
-----
ผู้เขียน: อ้ายจง (ภากร กัทชลี ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท Mango Group Media บริษัท Digital agency การตลาดออนไลน์จีน ที่สร้างแบรนด์ไทยในจีนมาจำนวนมาก www.mgm.co.th)
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #วิเคราะห์ข้อมูลจีน #ตลาดจีน
Brother Jong Analyze Thai travel in Chinese people's eyes from big data online world, China.
Recently, there is a trend about Thai online world. China reminds me of Thai travel of Chinese tourists. Let's see how the trend of Chinese people's travel to travel to Thailand. I have analyzed from big data. All information related to Thailand. In the online world, China
1. Chinese people find and talk about the word tài guó lóng travel to Thailand in the online world. China average 6,000 times a day or about 180,000 times a month
2. Big data in the past half year indicates that the group of people who talk about tài guó lóng travel to Thailand. The Top 10 are from
Number 1 Beijing followed by Shanghai, Chengdu, Shenzhen, Guangzhou, Heng Zhou, Chong, Suzhou, wuhan and XI ' an respectively.
Top10 all said is a city with direct flight to Thailand.
The 3. Age group that talks about Thailand is 30-39 years. The secondary is 40-49 years. The third 50 years or less than or equal to 29 years. The new generation of teenagers hold back.
4. Girls are talking about traveling to Thailand more than men. The proportion is at 52 % per 48 %
5. When it comes to travel to Thailand, what follows is a lot to talk about is crocodile, lipstick, sticky rice, Mango, durian, delicious food, travel to Thailand for 5 days, Bangkok, pot buffet. - grilled pork, Ant (
Chinese people say that there are plenty of Thai MOT. Even if there are many words in baidu how there are many mot thai mot. or how to solve
6. Provinces of Thailand that Chinese people talk about most are Phuket (4500 times per day) , Pattaya (2,500), Bangkok (2,000), Chiang Mai (1,800)
7. Demographic of Chinese people who talk about and search for 4 provinces top4 of Thailand in the online world, China.
Bangkok: more men than women lol
Phuket: more men than women lol
Pattaya cuddle: more men than women lol
Chiang Mai: more women than men lol
For the age of Bangkok, Phuket, Pattaya, the most age of 30-39, followed by 40-49, 20-29, 50 years up and less or equal to 19 years, respectively.
While Chiang Mai is a little different, the age group of 50 and above 20-29 years old.
I hope that these information will be useful to those who are interested in Thai travel in Chinese people.
-----
Author: Brother Jong (phakorn cuddle, founder and manager of mango group media, digital agency, Chinese online marketing that has built many Thai brands in China. www.mgm.co.th)
#อ้ายจง #เล่าเรื่องเมืองจีน #ชีวิตในจีน #วิเคราะห์ข้อมูลจีน #ตลาดจีนTranslated
วิเคราะห์ข้อมูลจีน 在 กรุงเทพธุรกิจ - ในบทความนี้ "อ้ายจง" มาวิเคราะห์ข้อมูลจากทางจีนที่ ... 的推薦與評價
ในบทความนี้ "อ้ายจง" มาวิเคราะห์ข้อมูลจากทางจีนที่ชี้แจงสู่ประชาคมโลกถึงเหตุผลว่า ทำไมจีนถึงยืนกรานอย่างหนักแน่นในประเด็น ... ... <看更多>
วิเคราะห์ข้อมูลจีน 在 วิเคราะห์เศรษฐกิจ 'จีน' หลังเปิดประเทศเต็มรูปแบบ UpSwing ... 的推薦與評價
ติดตามการ วิเคราะห์ เศรษฐกิจ " จีน " หลังเปิดประเทศเต็มรูปแบบ และ เปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางแบบกรุ๊ปทัวร์ได้ ก.พ. ... <看更多>