รวยกว่า สุขกว่า จริงหรือ
GDP ถอยไป SPI มาแล้ว
อ่านบทความเต็ม
https://bit.ly/35HcrJh
ฟังคลิป #Human_Talk #ThinkingRadio
https://youtu.be/7TyTzstKXQo
กว่า 80 ปีที่โลกทั้งใบ ถูกชี้ชะตาด้วยตัวเลขมหัศจรรย์ GDP ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ มูลค่าตลาดของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตในประเทศในแต่ละปี โดยไม่คำนึงว่าผลผลิตนั้นจะผลิตขึ้นมาด้วยทรัพยากรของชาติใด GDP ถูกคิดค้นโดย Simon Kuznets นักเศรษฐศาสตร์ชาวรัสเซีย เพื่อเป็นตัวชี้วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ไม่สามารถชี้วัดคุณภาพชีวิตที่แท้จริงได้
โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยในปี 2020 ที่ผ่านมาถดถอยอย่างแรง -6.1% ต่ำที่สุดในรอบ 22 ปี ในขณะที่ปี 2021 นี้ สภาพัฒน์ประเมินว่าจีดีพีจะโตสูงสุดแค่ 3.5% แต่ผ่านไปไม่กี่เดือน หลายองค์กรก็มีการปรับลดลงมาเรียบร้อยจากผลกระทบของโควิดละลอกสาม ทำให้มีกระแสความไม่พอใจพอสมควร แต่สิ่งสำคัญที่คนไม่เข้าใจก็คือ จีดีพีต้องนำมาเทียบกับมาตรฐานค่าครองชีพของคนในประเทศนั้นจึงจะทำให้เห็นภาพของอำนาจการซื้ออย่างแท้จริง อย่างเช่นประเทศไทย แม้จีดีพีจะติดลบหรือเติบโตน้อยมาก แต่เมื่อเทียบกับมาตรฐานค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ก็ถือว่าเป็นประเทศที่น่าอยู่มากที่สุดประเทศหนึ่งอันดับต้นๆ ของโลกทีเดียว
เพื่อแก้ไขปัญหาการเติบโตทางเศรษฐกิจแต่ละเลยมิติอื่นของสังคม เช่น การสูญเสียและทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ภาวะโลกร้อน ฝุ่นพิษ คุณภาพชีวิตของประชาชน องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศดัชนีชี้วัดความก้าวหน้าทางสังคมแบบใหม่ออกมา ตั้งแต่ปี 2015 หรือ พ.ศ. 2558 โดยได้ขอมติจากประเทศสมาชิกทั่วโลกร่วมมือกัน มีระยะเวลาเหลืออีกแค่ 10 ปี จนถึงปี 2030
ดัชนีความก้าวหน้าทางสังคม (Social Progress Index – SPI) เป็นมาตรวัดที่สะท้อนความก้าวหน้าทางสังคมที่แยกเด็ดขาดจากความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ผลคะแนนมาจากตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและด้านสังคม ซึ่งครอบคลุมความก้าวหน้าทางสังคมครบทั้ง 3 มิติ ได้แก่ 1) ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Needs) 2) พื้นฐานของการอยู่ดีมีสุข (Foundations of Wellbeing) และ 3) โอกาส (Opportunity) ดำเนินการโดย Social Progress Imperative ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา โดยได้รับการสนับสนุนจากดีลอยท์ มูลนิธิ Skoll และได้รับความร่วมมือจาก ไมเคิล อี. พอร์เตอร์ แห่งโรงเรียนธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ด
ดัชนีดังกล่าวนี้เป็นการสำรวจทุกประเทศทั่วโลกใน 3 มิติ
1. ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (Basic Human Needs) เช่น อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
2. โครงสร้างพื้นฐานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี (Foundations of Well-Beings) เช่น การเข้าถึงการศึกษา ข้อมูลข่าวสาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม
3. โอกาสทางสังคม(Opportunities) สิทธิทางการเมืองและการแสดงออก สิทธิในการนับถือศาสนาและเลือกทางเดินชีวิต การยอมรับความแตกต่างทางเพศ เชื้อชาติ ศาสนา ระบบความคุ้มครองทางสังคม และความก้าวหน้าทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาขึ้นไป
UN SDG Goal 2030 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ ได้แก่
1: ขจัดความยากจน
2: ขจัดความหิวโหย
3: การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
4: การศึกษาที่เท่าเทียม
5: ความเท่าเทียมทางเพศ
6: การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
7: พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
8: การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
9: อุตสาหกรรม นวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน
10: ลดความเหลื่อมล้ำ
11: เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน
12: แผนการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
13: การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
14: การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล
15: การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก
16: สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก
17: ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ การจัดอันดับ SPI (Social Progress Index) ในปี 2563 ที่ผ่านมา ประเทศไทยจัดอยู่ในลำดับที่ 79 ของโลกจากที่สำรวจทั้งหมด 163 ประเทศ ได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 70.72 ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจาก 67.47 ในปีที่ผ่านมา เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนบ้านในอาเซียน เราตามหลังสิงคโปร์ (ลำดับที่ 29) และมาเลเซีย (ลำดับที่ 48) แต่นำหน้าอินโดนีเซีย (ลำดับที่ 84) เวียดนาม (ลำดับที่ 88) ฟิลิปปินส์ (ลำดับที่ 98) กัมพูชา (ลำดับที่ 118) เมียนมาร์ (ลำดับที่ 120) และ ลาว (ลำดับที่ 133) ส่วนประเทศที่มีความก้าวหน้าทางสังคมในระดับสูงสุดของโลก 5 ประเทศแรกเรียงตามลำดับ ได้แก่ นอร์เวย์ เดนมาร์ก ฟินแลนด์ นิวซีแลนด์ และสวีเดน
เมื่อวิคราะห์องค์ประกอบด้านต่างๆ ที่ประเทศไทยทำคะแนนได้ดี 5 ลำดับแรกตามลำดับ ได้แก่ ด้านที่อยู่อาศัย (Shelter) โภชนาการและการแพทย์ขั้นพื้นฐาน (Nutrition and Basic Medical Care) น้ำและสุขาภิบาล (Water and Sanitation) การเข้าถึงความรู้ขั้นพื้นฐาน (Access to Basic Knowledge) และคุณภาพสิ่งแวดล้อม (Environmental Quality) อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบที่ได้คะแนนน้อยและอาจจะต้องพิจารณาปรับปรุงต่อไป ได้แก่ ความครอบคลุมและการมีส่วนร่วม (Inclusiveness) สิทธิส่วนบุคคล (Personal Rights) ความปลอดภัยของบุคคล (Personal Safety) ทางเลือกและเสรีภาพส่วนบุคคล (Personal Freedom and Choice) และ การเข้าถึงการศึกษาขั้นสูง (Access to Advanced Education)
สิ่งที่น่าภาคภูมิใจ คือ ประเทศไทยเรามีความได้เปรียบในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก เพราะเราได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระราชทานตั้งแต่พ.ศ.2542 โดยนำหลักการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน บนพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรม มาประยุกต์ใช้ ซึ่งไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย แต่เป็นประโยชน์ต่อสังคมโลกด้วย
รางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (อังกฤษ: UNDP Human Development Lifetime Achievement Award) เป็นรางวัลเกียรติยศด้านการพัฒนาของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ โดยจะมอบแก่ National Human Development Report ที่มีผลงานดีเด่นทุก 2 ปี ซึ่งแบ่งไว้เป็น 6 ประเภท โดยรางวัลเกียรติยศที่ได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นความคิดริเริ่มของสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งเป็นกรณีพิเศษที่มอบแก่บุคคลอันเป็นรางวัลประเภท Life-long achievement ที่ริเริ่มขึ้นใหม่ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นพระองค์แรกที่ได้รับรางวัลดังกล่าว[1][2]
ตัวรางวัลเป็นรูปพานทรงกลมทำด้วยเงินบริสุทธิ์ ด้านในของพานขัดมันผิวเรียบ ส่วนด้านนอกผิวมีลักษณะเป็นคลื่นคล้ายสายน้ำ ตั้งอยู่บนฐานที่ทำจากไม้สัก มีแผ่นป้ายคำจารึกที่ฐานไม้มีข้อความว่า 'To His Majesty King Bhumibol Adulyadej in Recognition of Lifetime Achievement in Human Development May 2006' เพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวโรกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี โดยผู้คัดเลือกรูปแบบของรางวัลตั้งใจให้รางวัลเป็นรูปพานทรงกลม เพื่อสื่อความหมายถึงภาชนะที่สามารถใช้รองรับน้ำได้ เช่นเดียวกับผิวนอกของพาน ทำให้มองคล้ายสายน้ำ เนื่องจากเล็งเห็นว่าพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ส่วนมากเกี่ยวข้องกับน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นประเด็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งในการพัฒนา จึงสมควรแก่การยกย่องเฉลิมพระเกียรติในพระปรีชาสามารถในด้านนี้เป็นกรณีพิเศษ
ดังนั้น แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือที่มาและกระบวนการที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้ง 17 ข้อ SEP = SDG (Sufficiency Economy Philosophy = Sustainable Development Goal)
หวังว่า ทุกท่านคงเห็นด้วยว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP อย่างเดียวนั้นไม่พอ ต้องมองความสมดุลในภาพรวมอย่างที่ในหลวงรัชกาล ที่ 9 ได้ทรงมองครอบคลุมทุกมิติเสมอมา ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ชุมชนและวัฒนธรรม
รวยกว่า จึงไม่ได้หมายความว่า สุขกว่าเสมอไป
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過41萬的網紅feelthai,也在其Youtube影片中提到,เทศกาลงานประเพณีใหญ่ งานข้าวประดับดิน ที่จัดที่วัดกลาง วังเวียง ประเทดลาวครับ คนล้นวัดเลยครับ น่าสนใจมาก...
ศาสนา ลาว 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
กลุ่มกฎหมายศาสนา
กลุ่มที่นับว่ามีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อบรรดาประชาชนของประเทศต่างๆจำนวนมาก เพราะกฎหมายดังกล่าวมีพื้นฐานทางศาสนาและการดำรงชีวิต ซึ่งแทรกซึมเข้าไปภายในจิตใจของประชาชนแตกต่างกับกฎหมายของชาวตะวันตก กลุ่มศาสนาในที่นี้จะกล่าวถึงประวัติศาสตร์กฎหมายอิสลามกับประวัติศาสตร์กฎหมายฮินดู ดังนี้
1.ประวัติศาสตร์กฎหมายอิสลาม
กฎหมายอิสลามเป็นกฎหมายที่มีอิทธิพลแพร่ขยายไปเกือบทั่วโลกแม้กระทั่งในประเทศไทย อันที่จริงกฎหมายอิสลามไม่มีลักษณะเป็นกฎหมายเหมือนกับกฎหมายของชาติตะวันตก เพราะกฎหมายอิสลามเป็นระบบกฎหมายที่กำหนดถึงหน้าที่ของประชาชนที่มีต่อพระเจ้าต่อบ้านเมือง ในส่วนที่เกี่ยวกับตนเอง ก็ได้วางบทบัญญัติทางความประพฤติในจริยธรรม กฎหมาย ศาสนา รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับการสมรส การหย่า การรับมรดก รวมทั้งทางด้านกฎหมายอาญา
กฎหมายอิสลามเริ่มต้นจากการที่ศาสดา มะหะหมัด (Muhammed) ได้จัดระเบียบศาสนาใหม่ โดยรวมเผ่าต่างๆในอาหรับที่มีความเชื่อในศาสนาแตกต่างกัน ให้มีความเชื่อในศาสนาเดียวกัน โดยศาสดา มะหะหมัด วางกลักการใหม่ให้ถือว่าชาวอาหรับมีพระเจ้าองค์เดียว คือ พระอัลเลาะห์ (Allah) ทำให้ชาวอาหรับสามารถรวมกันได้ในทางจิตใจและเกิดความรู้สึกเป็นชาติเดียวกัน รวมทั้งทำการเผยแพร่ศาสนาไปในดินแดนส่วนอื่นๆจนกลายเป็นจักรวรรดิที่มีอาณาเขตกว้างขวาง
การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายอิสลามจะศึกษาถึงที่มาของกฎหมายอิสลาม อิทธิพลของกฎหมายอิสลามในประเทศอื่นและการจัดทำประมวลกฎหมายอิสลาม ดังนี้
1.1 ที่มาของกฎหมายอิสลาม
กฎหมายอิสลามมีที่มาอยู่ 5 ประการ คือ ประการแรกที่มาของคัมภีร์โกหร่านหรืออัลกุรอาน ประการที่ 2 ซุนนะห์ (Sunna) ประการที่3 อิจมาอฺ (Idjma) ประการที่ 4 อัลรุ้รฟุหรือประเพณีและประการที่ 5 กอย้าส (Qiyas) ดังนี้
1.1.1คัมภีร์โกหร่านหรืออัลกุรอาน
คัมภีร์โกหร่านหรืออัลกุรอาน ถือได้ว่าเป็นที่มากฎหมายอิสลามประการแรกและสำคัญที่สุดของกฎหมายอิสลาม คัมภีร์ดังกล่าวยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นประมวลกฎหมายอิสลาม (Islam Code) เพราะบัญญัติต่างๆและลักษณะทางกฎหมายในคัมภีร์นั้นยังไม่มีความสมบูรณ์เพียงพอ อย่างไรก็ตามผู้พิพากษาก็ได้นำเอาคัมภีร์ไปใช้ในการพิจารณาพิพากษาคดี นอกจากนั้นยังตีความคัมภีร์นี้โดยบรรดานักปราชญ์ผู้เชี่ยวชาญในคัมภีร์ ซึ่งการตีความดังกล่าวนี้มีประโยชน์ต่อผู้พิพากษาในการนำมาอ้างอิงด้วย
1.1.2 ซุนนะห์
ที่มาหลักกฎหมายอิสลามประการที่ 2 คือ ซุนนะห์เป็นภาษาอาหรับตามศัพท์แปลว่า “หนทาง” มีความหมาตามหลักวิชา “เป็นวจนะหรือการปฏิบัติ ตลอดจนการยอมรับโดยพฤตินัยของท่านศาสดา” ซุนนะห์ มีคำเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หะดิษ” สิ่งเหล่านี้ได้ถูกบันทึกไว้ในตำราหลายเล่มด้วยกัน แต่ที่รู้จักกันแพร่หลายในวงวิชาการนั้นมีอยู่ 6 เล่ม คือ 1.อัลคุคอรี 2.มุสลิม 3. อิบนุมาญะห์ 4. อะบูดาวุด 5. ติรมิซีย์ 6.นะซ่าอี
ซุนนะห์เป็นที่มาของกฎหมายอิสลามอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากคัมภีรฺโกหร่านหรืออัลกุรอาน เพราะนอกจากเป็นบทอธิบายความหมายของบทบัญญัติในคัมภีร์โกหร่านหรืออัลกุรอานแล้วยังได้บัญญัติเพิ่มเติมในปัญหาต่างๆที่มิได้อยู่ในคัมภีร์โกหร่านหรืออัลกุรอานด้วย
1.1.3 อิจมาอฺ
อิจมาอฺ เป็นที่มาของกฎหมายอิสลามประการที่ 3 ได้แก่หลักกฎหมายที่บรรดานักปราชญ์ทางศาสนาได้มีความเห็นร่วมกันเป็นเอกฉันท์ให้นำมาใช้แก้ปัญหาในกรณีที่ไม่อาจนำเอาบทบัญญัติในคัมภีร์โกหร่านหรืออัลกุรอานและซุนนะห์ มาใช้บังคับได้และหลักกฎหมายเหล่านั้นได้รวมกันเรียกว่า “อิจมาอฺ”
1.1.4 อลัอุ้รฟุ
อัลอุ้รฟุเป็นที่ของหลักกฎหมายอิสลามประการที่ 4 ได้แก่จารีตประเพณี แต่จารีตประเพณีที่เป็นกฎหมายอิสลามจะยอมรับได้จะต้องไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งคัมภีร์โกหร่านหรืออัลกุรอาน ซุนนะห์ หรือ อิจมาอฺ
1.1.5 กิย้าส
กิย้าส (Qiyas) เป็นที่ของหลักกฎหมายอิสลามประการที่ 5ได้แก่วิธีการนำกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาเทียบเคียงใช้บังคับในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติไว้โดยตรงและถูกจัดเข้าเป็นที่มาของกฎหมายอิสลามด้วย
ข้อสังเกต ในปัจจุบันนี้กล่าวได้ว่า คัมภีร์โกหร่านหรืออัลกุรอาน และซุนนะห์ เป็นเพียงที่มาในประวัติศาสตร์ของกฎหมายอิสลามและผู้พิพากษาจะนำมาใช้เฉพาะการค้นหาวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกฎหมายในเรื่องนั้นๆเท่านั้น ส่วนบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่นำมาใช้อย่างแท้จริงในทางปฏิบัติได้แก่ อิจมาอฺ (Idjma) ซึ่งมีลักษณะที่ทันสมัยและสามารถนำมาใช้กับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันได้มากกว่า
1.2 อิทธิพลของกฎหมายอิสลาม
กฎหมายอิสลามนับว่าเป็นกฎหมายที่มีอิทธิพลต่อโลกสมัยใหม่มาก ดังจะเห็นได้จากจำนวนผู้นับถือศาสนาอิสลามในโลกมากกว่า 1,300 ล้านคน กว่า 200 ประเทศ รองจากศาสนาคริสต์ ต่างก็ยึดหลักปฏิบัติต่อกันตามหลักกฎหมายอิสลามทั้งสิ้น นอกจากนี้บรรดาประเทศต่างๆหลายประเทศยังได้ประกาศตนโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือโดยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ยอมรับหลักศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติซึ่งเท่ากับประกาศยอมรับปฏิบัติตามกฎหมายอิสลามด้วย เช่น ประเทศโมร็อกโค ตูนิเซีย ซีเรียอิหร่าน ปากีสถาน เป็นต้น โดยประเทศเหล่านี้ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ ส่วนประมวลกฎหมายแพ่งอียิปต์ ปีค.ศ. 1949 ประมวลกฎหมายแพ่งซีเรีย ค.ศ. 1949 และประมวลกฎหมายแพ่งของอิรัก ปี ค.ศ. 1951 ต่างบัญญัติให้ผู้พิพากษานำเอาหลักกฎหมายอิสลามมาใช้ในกรณีที่กฎหมายมีช่องโหว่ ส่วนรัฐธรรมนูญของประเทศอิหร่านและกฎหมายของอินโดนีเซีย ก็ได้บัญญัติถึงวิธีการที่จะช่วยให้องค์การต่างๆได้ปฏิบัติสอดคล้องกับกลักกฎหมายอิสลาม
1.2 การจัดทำประมวลกฎหมายอิสลาม
แม้บรรดาแระเทศอิสลามต่างๆจะได้ยอมรับนับถือกฎหมายอิสลามก็จริง แต่การนำกฎหมายมาใช้ รวมทั้งการออก “กฎ” หรือ “ระเบียบ” “ข้อบังคับ” ตางๆ โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมแตกต่างกันออกไป จริงอยู่แม่ว่าระยะแรกยังไม่สู้จะมีกฎ มีระเบียบ หรือข้องบังคับต่างๆมากนัก เพราะยังไม่มีปัญหาเกิดขึ้น และบรรดาพนักงานเจ้าหน้าที่ต่างยังไม่กล้าที่จะเพิ่มเติมหรือแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ในที่สุดเมื่อความจำเป็นเกิดขึ้นเนื่องจากภายในระยะเวลาที่ผ่านมา โลกมีความเจริญขึ้น และปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นไม่สามารถจะนำกฎหมายเก่ามาบังคับใช้ได้โดยตรง จึงมีความพยายามที่จะหาวิธีการแก้ไขโดยการปรับปรุงกฎหมายเก่า กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและจารีตประเพณีเข้าด้วยกัน โดยการจัดทำเป็นประมวลกฎหมายตามแบบอย่างประเทศตะวันตก
แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากการจัดทำประมวลกฎหมายนี้ได้ทำขึ้นเป็นภาษาอาหรับ ซึ่งเป็นภาษาเก่าและภาษาที่ใช้อยู่บางประเทศก็เปลี่ยนแปลงไปบ้างในปัจจุบัน ทำให้เกิดความผิดพลาดหรือสับสนขึ้นได้เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าจะมีการยินยอมให้จัดทำประมวลกฎหมายหรือรวบรวมกฎหมายขึ้นแต่ก็ยังนิยมที่จะรักษาบทบัญญัติที่สำคัญของกฎหมายเก่าไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติในเรื่องสถานะของบุคคล ได้แก่กฎหมายลักษณะบุคคล ครอบครัว และมรดก
จากเหตุผลดังกล่าวแล้ว ทำให้การจัดทำประมวลกฎหมายแพ่งในส่วนที่เกี่ยวกับสถานะบุคคลเป็นเพียงผลงานของเอกชนเท่านั้น ยังไม่เป็นที่รับรองของรัฐ เช่นประมวลกฎหมายที่จัดทำขึ้นในอียิปต์ โดย Mohammed Kadry Pacha หรือในแอลจีเรียโดย Morand เป็นต้น แม้กระทั่งประมวลกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของประเทศตุรกี ซึ่งได้จัดทำขึ้นในปี ค.ศ. 1870-1877 เอง ก็ต้องงดเว้นที่จะไม่จัดทำบทบัญญัติในเรื่องบุคคล ครอบครัว และมรดก เพราะไม่ต้องการให้กระทบกระเทือนต่อบทบัญญัติเดิมแห่งกฎหมายอิสลาม และความเชื่อมั่นของประชาชน ในประเทศซาอุดิอาระเบีย กษัตริย์อิบซาอุด ได้ประกาศเจตนาที่จะให้มีการจัดทำประมวลกฎหมายอิสลามตามแนวคำสอนของ Ibn Taimiya ขึ้นในปี ค.ศ. 1927 แต่มีผู้คัดค้านมาก โครงการนี้จึงต้องล้มเลิกไป
อย่างไรก็ตาม ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แนวความคิดทางด้านอนุรักษ์นิยมได้เสื่อมลง และเริ่มมีการจัดทำประมวลกฎหมายอิสลามขึ้น โดยการจัดทำในยุคนี้ได้รวมกฎหมายลักษณะครอบครัวและมรดกเข้าด้วย ดังจะเห็นได้จากประมวลกฎหมายแพ่งของอิหร่านที่ประกาศใช้เป็นกฎหมายระหว่าง ค.ศ. 1927-1935
หลังจากนั้นเป็นต้นมา บรรดาประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศได้ถือเป็นแบบอย่างโดยจัดทำประมวลกฎหมายในเรื่องสถานะของบุคคลขึ้น ดังเช่นประมวลกฎหมายของตูนิเซีย โมร็อกโก และอิรัก รวมทั้งบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญของสหสาธารรณรัฐอิสลามโมริตาเนีย มาตรา 44 ก็ได้กำหนดให้มีการจัดทำประมวลกฎหมายว่าด้วยสถานะของบุคคลไว้เช่นเดียวกัน
ในประเทศอียิปต์ แม้ว่าจะไม่ได้จัดทำขึ้นเป็นประมวลกฎหมาย แต่ก็ได้มีการบัญญัติกฎหมายในเรื่องมรดกขึ้น ในประเทศแอลจีเรีย ได้มีการปฏิรูปกฎหมายเรื่องการปกครอง และสาบสูญขึ้น ในประเทศปากีสถาน ได้มีการปฏิรูปกฎหมายลักษณะครอบครัว และมรดกอย่างกว้างขวางในปี ค.ศ. 1961 ในประเทศอิหร่าน ตั้งแต่ ค.ศ. 1967 เป็นต้นมา การหย่าก็ดี หรือการมีภริยาหลายคนก็ดี ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
อย่างไรก็ตาม อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ประมวลกฎหมายในประเทศอิสลามทุกประเทศในระยะหลัง โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ได้รับแบบอย่างไปจากกฎหมายประเทศตะวันตกมาก ยกเว้นเฉพาะกฎหมายเกี่ยวกับบุคคล ครอบครัวและมรดก ซึ่งยังคงรักษาบทบัญญัติของกฎหมายเดิมไว้เป็นส่วนใหญ่
นอกจากกฎหมายแพ่งแล้ว กฎหมายอื่น ๆ เช่นกฎหมายอาญา กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายปกครอง และกฎหมายแรงงานของประเทศอิสลามต่างก็ยอมรับหรือเลียนแบบอย่างของกฎหมายชาติตะวันตกทั้งสิ้น แต่ถึงแม้จะมีการเลียนแบบกฎหมายชาติตะวันตกมาเหมือนกันก็จริง แต่กฎหมายอิสลามในประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบันนี้ก็มีความแตกต่างกันอยู่มาก ทั้งนี้เพราะการยอมรับกฎหมายชาติตะวันตกคนละระบบมาใช้ประการหนึ่ง และจารีตประเพณีของประเทศอิสลามแต่ละประเทศแตกต่างกันอีกประการหนึ่ง
ความแตกต่างดังกล่าวนี้อาจทำให้แบ่งกลุ่มประเทศที่ยึดถือกฎหมายอิสลามเป็นหลักมาแต่ต้น ออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
กลุ่มแรก ได้แก่กลุ่มประเทศที่ประชาชนในประเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามแต่ในภายหลังระบอบการปกครองประเทศได้เปลี่ยนเป็นรูปสังคมนิยม ได้แก่ประเทศแอลเบเนีย สาธารณรัฐสังคมนิยมในเอเชียกลาง (รวมอย่ในสหภาพโซเวียตรุสเซีย) กลุ่มนี้ได้จัดตั้งสังคมตามแบบใหม่ขึ้น และยึดถือหลักการของมาร์กซ์และเลนิน ซึ่งมีความแตกต่างกับหลักกฎหมายอิสลามมาก ดังนั้นกฎหมายอิสลามจึงถูกยกเลิกไปโดยได้มีการนำกฎหมายกลุ่มสังคมนิยมใช้แทนที่ ส่วนกฎหมายอิสลามจะมีการนำมาใช้บ้าง ก็เป็นไปในลักษณะที่ไม่เป็นทางการ และในลักษณะซ่อนเร้น ระหว่างประชาชนที่ยังยึดมั่นอยู่กับหลักกฎหมายและปรัชญาดั้งเดิมเท่านั้น.
กลุ่มที่สอง ได้แก่กลุ่มประเทศที่แม้ว่าจะได้รับอิทธิพลกฎหมายสมัยใหม่จากประเทศตะวันตกบ้าง แต่ก็ยังคงรักษาหลักกฎหมายเดิมไว้ได้ ประเทศเหล่านี้ได้แก่ประเทศในแหลมอาระเบีย ได้แก่ซาอุดิอาระเบีย South Arabia อัฟกานิสถาน โซมาเลีย เป็นต้น
กลุ่มที่สาม ได้แก่กลุ่มประเทศที่แม้ว่ายังคงรักษาหลักกฎหมายอิสลามไว้ได้ แต่ก็เป็นเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับสถานะส่วนบุคคลเท่านั้น ส่วนกฎหมายในด้านอื่นๆได้ยอมรับเอาหลักกฎหมายสมัยใหม่ของชาติตะวันตกมาใช้ในความสัมพันธ์ระหว่างกัน ตามแนวทางของสังคมยุคใหม่
แต่กฎหมายในกลุ่มที่สามนี้ยังอาจแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มที่ยอมรับแบบอย่างของกฎหมาย Common law ของอังกฤษ ได้แก่ปากีสถาน มาเลเซีย ไนจีเรีย ซูดาน หรือกลุ่มที่ยอมรับแบบอย่างกฎหมายของฝรั่งเศส ได้แก่ประเทศแอฟริกาที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาประจำชาติ กลุ่มประเทศอาหรับ (ยกเว้นซูดาน และอิหร่าน) รวมทั้งอินโดนีเซียซึ่งเคยป็นเมืองขึ้นของเนเธอร์แลนด์มาก่อน
2.กฎหมายฮินดู
กฎหมายศาสนาและประเพณีที่มีความสำคัญอย่างมากอีกระบบหนึ่ง ได้แก่กฎหมายฮินดู ซึ่งมีอิทธิพลต่อประชาชนจำนวนมากในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชาวฮินดูไม่น้อยกว่า 400 ล้านคนในประเทศอินเดีย อย่างไรก็ตาม กฎหมายฮินดูไม่ใช่กฎหมายของชาวอินเดียทั้งหมด เพราะในอินเดียเองมีประชาชนจำนวนไม่น้อยได้ยอมรับนับถือกฎหมายอื่น ได้แก่กฎหมายอิสลาม เป็นต้น ดังนั้น ถ้ากล่าวถึงกฎหมายฮินดูก็ต้องหมายความถึงลัทธิกฎหมายที่ชุมนุมชนต่าง ๆ ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศอินเดียหรือในประเทศอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย กัมพูชา ลาว) ได้ยอมรับนับถืออยู่ และนำมาใช้เป็นกฎหมาย หรือได้ยอมรับมาแล้วนำมาแก้ไขดัดแปลงให้เข้ากับความนิยมของชุมชนนั้น ๆ
น่าสังเกตว่าหลักการที่แท้จริงของลัทธิฮินดู ได้แก่การสั่งสอนให้รู้จักวิธีการครองชีวิตและความสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ในสังคมนั่นเอง และได้ถ่ายทอดคำสั่งสอนนี้โดยทางผู้รู้ทั้งหลาย โดยอ้างว่าเป็นเทวบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า ตั้งแต่ประมาณ 1500-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือประมาณ 2570-3470 ปี มาแล้ว จึงนับว่าเป็นกฎหมายที่เก่าแก่มาก
2.1 ที่มาของกฎหมายฮินดู
ที่มาของกฎหมายฮินดู สิ่งที่ถือกันว่าเป็นที่มาของกฎหมายฮินดูได้แก่
2.1.1 ศรุติ
ศรุติ (Srutis) ได้แก่หลักการในศาสนาฮินดู ซึ่งปรากฏอยู่ในคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่พระเวท เวทางค์ และอุปนิษัท และได้เกิดขึ้นตั้งแต่ประมาณ 2570-3470 ปีมาแล้ว ในพระคัมภีร์ต่าง ๆ เหล่านี้นอกจากจะมีกฎเกณฑ์ทางกฎหมายแล้ว ยังประกอบไปด้วยบทบัญญัติทางอภิปรัชญา พิธีการทางศาสนา วิชาโหราศาสตร์อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นหลักการสำคัญขั้นมูลฐานที่จำเป็นแก่มนุษย์ และหลักการดังกล่าวนี้ ได้กำหนดไว้เช่นเดียวกันในศาสนาพราหมณ์
2.1.2 ศาสตร์
ศาสตร์ (Sastras) หรือ สมฤติ (Smritis) ตามที่กล่าวมาแล้วว่า ศรุติ เป็นบทบัญญัติสำคัญขั้นมูลฐานของกฎหมายฮินดู แต่ศรุติเฉพาะบางส่วนเท่านั้นที่มีความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย และโดยทั่วไปมีความเก่าแก่มาก ในการศึกษาหรือการเรียนรู้ต่อไป จึงต้องอาศัยบทบัญญัติที่จัดทำขึ้นต่อมาในภายหลังที่เรียกว่า ศาสตร์ หรือ สมฤติ นี้ ศาสตร์ดังกล่าวนี้ได้บรรยายถึงวิธีการดำรงชีวิตและศิลปะการปกครองของกษัตริย์ ทั้งทางด้านการทหารและการเมือง รวมทั้งศาสตร์ที่เรียกว่ากามคุณ ด้วย
2.1.3ธรรมะ
ธรรมะ (Dharma) ได้แก่บทบัญญัติซึ่งกำหนดถึงหน้าที่ ซึ่งผู้นับถือศาสนาฮินดูทั้งหลายจะต้องปฏิบัติ และเป็นที่น่าสังเกตว่าในธรรมะนี้กำหนดได้เฉพาะ “หน้าที่” เท่านั้น แต่ไม่ได้กำหนดถึง “สิทธิ” ควบคู่ไปด้วย หน้าที่ที่กำหนดไว้นี้จะแตกต่างกันออกไปตามแต่ฐานะ และสภาพของบุคคล รวมทั้งความแตกต่างของอายุด้วย และแม้แต่กษัตริย์เองก็ต้องปฏิบัติตามธรรมะในส่วนที่เกี่ยวกับกษัตริย์ด้วย
2.1.4 ธรรมศาสตร์
ธรรมศาสตร์ (Dharmasastras) และนิพนธ์ (Nibandhas) ธรรมะดังที่กล่าวมาแล้ว จะพบอยู่ในตำรากฎหมายซึ่งเรียกว่า “ธรรมศาสตร์” และในบทวิจารณ์ของธรรมศาสตร์ซึ่งเรียกว่า “นิพนธ์” ในส่วนที่เกี่ยวกับธรรมศาสตร์เอง ปรากฏว่ามีอยู่มากมาย แต่ฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ฉบับของมนู ซึ่งชาวตะวันตกนิยมเรียกว่าManu Code และของไทยที่รียกว่าคัมภีร์ธรรมศาสตร์ของมโนสาราจารย์ นอกจากนี้ก็มีคัมภีร์ยัชนวัลย์ (Yajnavalkya) และคัมภีร์นรราช (Narada) เป็นต้น
สำหรับนิพนธ์นั้น มีประโยชน์เพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายของธรรมศาสตร์ได้ถูกต้องขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ข้อความในธรรมศาสตร์คลุมเครือไม่ชัดเจน หรือขัดแย้งกันระหว่างธรรมศาสตร์ฉบับต่าง ๆ และสันนิษฐานว่าได้ทำขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17
เนื่องจากทั้งธรรมศาสตร์และนิพนธ์มีอยู่เป็นจำนวนมาก ดังนั้นในท้องถิ่นหนึ่งๆ จึงรู้จักธรรมศาสตร์และนิพนธ์ แต่เพียงฉบับเท่านั้น ทำให้ธรรมศาสตร์และนิพนธ์ที่ใช้ได้ในท้องถิ่นหนึ่งไม่สามารถนำไปใช้ในท้องถิ่นอื่นได้ ดังนั้นจึงมีการแบ่งเขตท้องที่ที่กฎหมายฮินดูสามารถนำมาใช้บังคับได้ โดยยึดถือตามอำนาจบังคับของสำนักกฎหมาย (School of Hindu Law) ซึ่งได้แก่สำนักใหญ่และมีความสำคัญ 2 สำนักคือ สำนักทิมักชร และสำนักทัยภาค (Dayabhaka) สำนักทัยภาคมีอิทธิพลครอบคลุมอยู่ในเบงกอลกับอัสสัม ส่วนสำนักทิมักชรมีอิทธิพลครอบคลุมส่วนอื่น ๆ ของอินเดียรวมทั้งปากีสถานด้วย สำหรับกฎหมายต่าง ๆ ทางกฎหมายมหาชนที่เรียกว่า อรรถ (Artha) และคำพิพากษาของศาล ไม่ถือว่าเป็นที่มาของกฎหมายฮินดู
2.2 กฎหมายฮินดูกับกับอิทธิพลของกฎหมายอื่น
กฎหมายฮินดูได้มีอิทธิพลต่อกฎหมายอื่นๆโดยประเทศที่นับถือศาสนาฮินดูและประเทศที่นับถือศาสนาพุทธต่างก็ได้รับอิทธิพลต่อกฎหมายฮินดู ดังนี้
2.2.1ยุคการครอบครองของอิสลาม
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวอิสลามได้มีอิทธิพลเข้าครอบครองอินเดีย ดังนั้นศาลต่าง ๆ ในระยะนั้นจึงนำเอากฎหมายอิสลามมาใช้บังคับ ส่วนกฎหมายฮินดูคงนำมาใช้อย่างไม่เป็นทางการ หรือนำมาใช้ในเรื่องการศาสนาเท่านั้น
2.2.2 ยุคการครอบครองของอังกฤษ
ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 อินเดียตกอยู่ภายใต้การครอบครองของอังกฤษ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวมีผลต่อกฎหมายฮินดู เช่น กฎหมายฮินดูได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งหนึ่งและมีผลใช้บังคับต่อประชาชนเช่นเดียวกับกฎหมายอิสลาม แต่ถึงแม้อังกฤษจะยอมให้นำกฎหมายฮินดูมาใช้บังคับ แต่ก็ให้มีการแก้ไขกฎหมายฮินดูดั้งเดิมเสียใหม่และให้กฎหมาฮินดูที่แก้ไขใหม่นี้ใช้บังคับได้แก่ประชาชนในท้องถิ่นที่ถือว่ามีความสำคัญ
แต่เมื่อพิจารณาถึงกฎหมายฮินดูจะมีวิวัฒนาการอย่างยาวนา แต่กฎหมายฮินดูสมัยใหม่ก็ยังคงนำมาใช้บังคับได้แก่เฉพาะชาวฮินดูในอินเดียเท่านั้น ไม่ได้ใช้บังคับแก่ชาวอินเดียทั่วไป ไม่ได้แพร่หลายไปทั่วเหมือนดังเช่นในสมัยก่อนๆ
ศาสนา ลาว 在 feelthai Youtube 的最佳解答
เทศกาลงานประเพณีใหญ่ งานข้าวประดับดิน ที่จัดที่วัดกลาง วังเวียง ประเทดลาวครับ คนล้นวัดเลยครับ น่าสนใจมาก
ศาสนา ลาว 在 พุทธศาสนา ไทย ลาว กัมพูชา - พระอาจารย์ใหญ่มหาเวด มะเสไน รอง ... 的推薦與評價
พระอาจารย์ใหญ่มหาเวด มะเสไน รองประธานองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์แห่งประเทศลาว วัดสีสะเกด นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว Most Ven. Phramaha Vet Masenai The... ... <看更多>
ศาสนา ลาว 在 ข่าวต่างประเทศ รู้รอบโลก "ศาสนาพุทธ ถือเป็นศาสนาสำคัญใน สปป ... 的推薦與評價
ศาสนา พุทธ ถือเป็น ศาสนา สำคัญในสปป. ลาว โดยเมื่อถึงวันพระ ชาว ลาว ต่างพากันนุ่งซิ่นไปทำบุญตักบาตรที่วัดใกล้บ้าน ... ... <看更多>