สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม ตั้งเป้าให้ประเทศไทยติด 10 อันดับของประเทศผู้ส่งออกอาหารโลกและเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารอนาคตของอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้จีดีพีของอุตสาหกรรมอาหารเพิ่มขึ้นถึง 4% ต่อปี
.
ภาพรวมการส่งออกอาหารของไทยในช่วงเดือน ม.ค. – ก.ย. หรือ 9 เดือนแรกของปี 2563 มีมูลค่ารวม 753,000 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 2.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา และสำหรับไตรมาสสุดท้ายในช่วง 3 เดือนที่เหลือ มีการคาดการณ์ไว้ว่าการส่งออกอาหารของไทยมีแนวโน้มที่จะขยายตัวขึ้น 0.8% ส่งผลให้มูลค่ารวมการส่งออกอาจแตะ 1.025 ล้านล้านบาท เนื่องมาจากการต้องการสินค้าประเภทอาหารของตลาดโลกที่เพิ่มมากขึ้น
.
ในปีที่ผ่านมา 2562 อุตสาหกรรมอาหารเป็นตัวหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย จากมูลค่าการส่งออกอาหารกว่า 1.016 ล้านล้านบาท อยู่ในอันดับที่ 11 ของประเทศผู้ส่งออกอาหารโลกมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 2.5% คิดดุลการค้าอยู่ที่ 631,415ล้านบาท และเป็นอันดับที่ 2 ในเอเชีย เป็นรองแค่จีนแผ่นดินใหญ่เพียงเท่านั้น โดยที่ 10 อันแรกประกอบไปด้วย 1.สหรัฐอเมริกา 2.เนเธอร์แลนด์ 3.บราซิล 4.เยอรมันนี 5.จีน 6.ฝรั่งเศส 7.สเปน 8.อิตาลี 9.แคนาดา 10.เบลเยียม
.
โดยที่ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยก็คือประเทศในแถบเอเชีย นั่นก็คือ จีน CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา และ เวียดนาม) ญี่ปุ่น กลุ่มอาเซียน 5 ประเทศ สหรัฐอเมริกา แอฟริกา กลุ่มอียู 27 ประเทศ กลุ่มประเทศโอเชียเนีย กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และ สหราชอาณาจักร
.
สำหรับ Top 3 สินค้าอาหารส่งออกของไทยที่ติดอันดับโลกนั้นได้แก่
- กลุ่มอันดับที่ 1
ทูน่า มูลค่า 67,659 ล้านบาท ครองส่วนแบ่ง 28.8%
มันสำปะหลัง มูลค่า 62,375 ครองส่วนแบ่ง 44.3%
- กลุ่มอันดับที่ 2
ข้าว มูลค่า 130,551 ล้านบาท ครอง ส่วนแบ่ง 17.2%
ไก่ มูลค่า 110,484 ล้านบาท ครองส่วน แบ่ง 11%
น้ำตาลทราย มูลค่า 92,265 ล้านบาท ครอง ส่วนแบ่ง 16.9%
- กลุ่มอันดับที่ 3
สับปะรด มูลค่า 15,660 ล้านบาท ครองส่วนแบ่ง 14.1%
.
อย่างไรก็ตามสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ หลายประเทศยังคงต้องกักตัวอยู่บ้านเพื่อลดการขยายการติดเชื้อ ทำให้ตลาดโลกยังคงมีความต้องการในสินค้าอุปโภคบริโภคอยู่อย่างมาก สำหรับประเทศไทยในฐานการผลิตอาหารของโลกและอยู่ในสภาวะที่สามารถควบคุมการติดเชื้อของโรคโควิด-19 ได้ดี สามารถใช้ช่วงเวลานี้ในการสร้างโอกาส ขยายตลาดอาหารของไทยให้เป็นที่รู้จักและสามารถเข้าถึงคนได้มากขึ้น ก็จะสามารถส่งให้ไทยก้าวขึ้นติด 10 อันดับของประเทศผู้ส่งออกอาหารโลก และเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของอาเซียนในอนาคตได้ไม่ยากอย่างแน่นอน
.
ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/news/638856
https://www.posttoday.com/economy/news/638651?utm_source=posttoday.com&utm_medium=article_relate_inread&utm_campaign=new%20article
https://www.posttoday.com/economy/news/633983
.
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#Economics #Business #เศรษฐกิจ #ส่งออก
「สถาบันอาหาร」的推薦目錄:
สถาบันอาหาร 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的精選貼文
6 ธุรกิจเสาหลักทำเงิน ของ “สิงห์ คอเปอร์เรชั่น”
.
“สิงห์ คอร์เปอเรชั่น” คือบริษัทในเครือที่สำคัญของ “บริษัทบุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด” ก่อตั้งขึ้นเพื่อการบริหารและดำเนินงานบริษัทในเครือบุญรอดรวมแล้วกว่า 150 บริษัท ซึ่งหลังจากที่มีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ในรอบ 4-5 ปี ของธุรกิจภายในองค์กร ส่งผลให้ธุรกิจมีการเติบโต และสามารถขยายรายธุรกิจออกไปได้กว้างขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยนำไปสู่การแบ่งธุรกิจที่เป็นเสาหลักสร้างรายได้ และการเติบโตของบริษัท ออกเป็น 6 เสาหลักดังนี้
.
เสาหลักที่ 1 ธุรกิจเครื่องดื่ม
ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อที่สุดเมื่อพูดถึง “สิงห์” ไม่ว่าจะเป็น น้ำดื่ม, เบียร์ และโซดา โดยปัจจุบันสิงห์ได้ดำเนินการบริหารโรงเบียร์ 3 แห่ง และโรงงานผลิตโซดาและน้ำดื่มรวมแล้วกว่า 9 แห่ง ในจุดสำคัญต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาค และมีเครือข่ายเอเย่นต์จำนวนกว่า 300 ราย ที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทั่วประเทศ และมีตัวแทนจำหน่ายในกว่า 40 ประเทศทั่วโลก โดยมีแบรนด์ที่อยู่ภายใต้การดูแลของสิงห์ เช่น น้ำดื่มตราสิงห์ , น้ำแร่ธรรมชาติ เพอร์ร่า, ฟิจิ วอเตอร์, สิงห์, ลีโอ, ยู, อาซาฮี, คาร์ลสเบิร์ก และโคโรน่า อีกทั้งปัจจุบัน สิงห์ กำลังพัฒนาสินค้าใหม่ในกลุ่มของเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เปิดตัว “สิงห์ เลมอนโซดา” โดยชูจุดเด่นเป็นเลมอนแท้ผสมโซดา สดชื่น ปราศจากน้ำตาลและแคลอรี่ 0% เพื่อตอบโจทย์เทรนด์รักสุขภาพและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
.
เสาหลักที่ 2 ธุรกิจบรรจุภัณฑ์แก้ว
โดยเป็นการดำเนินธุรกิจผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วของบีจีซี (BGC) หรือ บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส ภายใต้ บริษัท บางกอกกล๊าส จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบันบีจีซีมีโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วทั้งหมด 5 แห่ง สามารถผลิตได้ 3,495 ตันต่อวัน นับว่ามีกำลังการผลิตเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย และพร้อมกับการวางรากฐานด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ จนสามารถได้รับการยอมรับในระดับสากล
.
เสาหลักที่ 3 ธุรกิจระดับภูมิภาค (รีจินัล)
เป็นการบริหารงานภายใต้ บริษัท สิงห์ เอเชีย โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อการเจรจาการซื้อกิจการในภูมิภาคอาเซียน และ เพื่อขยายธุรกิจแอลกอฮอล์ และไม่มีแอลกอฮอล์ ให้ครอบคลุมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึง
.
เสาหลักที่ 4 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน) โดยมีการทำธุรกิจด้านการลงทุนและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อยู่ 3 ส่วนหลักๆ คือ ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจที่พักอาศัย และธุรกิจอาคารสำนักงานให้เช่าและศูนย์การค้าปลีก โดยมีจุดหมายที่จะสร้างแบรนด์ในระดับพรีเมียม ผ่านการใช้กลยุทธ์ขยายธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ
.
เสาหลักที่ 5 ธุรกิจซัพพลายเชน
ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท บุญรอด ซัพพลายเชน จำกัด โดยได้ร่วมทุนกับบริษัท ลินฟ้อกซ์ โฮลดิ้งส์ 2018 (ประเทศไทย) เปิดบริษัทบีอาร์เอฟ โลจิสติคส์ จำกัด ภายใต้ชื่อ “BevChain Logistics” เกิดจากทัศนคติและความต้องการสร้างเครือข่ายทางการขนส่ง ที่ทันต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างซัพพลายเชนธุรกิจอาหารและศูนย์กลางการผลิตที่ครบวงจร รวมถึงเพื่อการบริหารจัดการและการกระจายสินค้าให้ทั่วถึงทั้งในประเทศและออกสู่ภูมิภาคอาเซียน
.
เสาหลักที่ 6 ธุรกิจอาหาร
ถือเป็นเสาหลักใหม่ของสิงห์ โดยเกิดจากการปรับโครงสร้าง และรวบรวมบริษัทที่เกี่ยวข้องกับ “อาหาร” ที่เคยกระจัดกระจายมาอยู่ภายใต้บริษัทใหม่ เพื่อให้ธุรกิจมีความแข็งแรงและเดินไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้การดูแลและดำเนินงานของบริษัท ฟู้ด แฟ็คเตอร์ส จำกัด ซึ่งแบ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
- Food Retails หรือธุรกิจร้านอาหาร ประกอบด้วย ร้าน F arm Design, Kitaohji, Est.33 และ Santa Fe
- Product & Production เป็นส่วนที่รับผิดชอบพัฒนาและผลิตสินค้าออกสู่ตลาด ทั้งในรูปแบบของ B2B และ B2C เช่น ข้าวพันดี, Minor Food, Sodexo, ALDI และ King Power
.
ทั้งนี้ ยังมีการก่อตั้ง “Food Innovation Center” หรือ ศูนย์นวัตกรรมในการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ออกสู่ตลาด เช่น สินค้าพร้อมรับประทาน และอาหารพร้อมปรุง รวมถึงยังมีการวางแผนอนาคต สร้าง “Food Valley” นิคมอุตสาหกรรมอาหารที่ครบวงจรแห่งแรกทั้งในไทยและภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง สิงห์ คอร์เปอเรชั่น สถาบันอาหาร SME BANK และ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
.
อย่างไรก็ตาม จากกรณีของสิงห์ คอร์เปอเรชั่นข้างต้น ทำให้เห็นแล้วว่า ในยุคปัจจุบันการทำธุรกิจไม่ได้จำเป็นต้องยึดติดหรือพัฒนาแค่ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จเพียงธุรกิจเดียว แต่เราสามารถนำความสำเร็จนั้นมาเป็นต้นแบบ มองเห็นโอกาสหรือลู่ทางแล้วนำมาต่อยอดธุรกิจเดิม ให้เกิดธุรกิจใหม่ในเส้นทางอื่นๆ ที่สามารถสร้างรายได้ การเติบโตและความมั่นคงให้กับธุรกิจ เช่นเดียวกับที่สิงห์ คอร์เปอเรชั่น เริ่มต้นและประสบความสำเร็จจากธุรกิจเครื่องดื่ม เช่น เบียร์ โซดา และน้ำสิงห์ ซึ่งหลังจากนั้นก็ได้มีการต่อยอดและพัฒนาธุรกิจเดิม จนเกิดธุรกิจใหม่มากมายที่สามารถทำเงินให้บริษัทได้ โดยครอบคลุมธุรกิจแทบจะทุกด้านทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น เครื่องดื่ม บรรจุภัณฑ์ ธุรกิจระดับภูมิภาค การขนส่ง ซัพพลายเชน อสังหาริมทรัพย์ และอาหาร
ที่มา : http://www.boonrawd.co.th/index.php/th/about/profile
https://www.singhacorporation.com/th/about-us
http://foodfactors.co.th/vision-food-factors-th/
http://www.bgc.co.th/?r=about/history
https://marketeeronline.co/archives/72463
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#สิงห์คอร์เปอเรชั่น #Singhacorporation
สถาบันอาหาร 在 Pakwan BNK48 Facebook 的最讚貼文
แปะ 2 😳
BNK48: Digital Live On Tour สถาบันอาหาร Part2
สถาบันอาหาร 在 สถาบันอาหาร-Nfi SmartClub - Home | Facebook 的推薦與評價
อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร 2008 Arun Ammrin 36 Arun Ammrin Rd., Bangyeekhan , Bangplad, Bangkok, Thailand 10700. ... <看更多>
สถาบันอาหาร 在 สถาบันอาหาร , National Food Institute, Thailand - YouTube 的推薦與評價
สถาบันอาหาร มีหน้าที่ 1.สำรวจรวบรวมและติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวรวมถึงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารอุตสาหกรรมอาหา ... ... <看更多>