(แคปชั่นยาว) สองสามสัปดาห์ก่อนทะเลาะกับเพื่อนคนจีนแผ่นดินใหญ่ 🤬ตรงที่นางหาว่าฉันลำเอียงเข้าข้างไต้หวัน ทำให้คิดลบต่อการเมืองระบอบจีน นางบอกว่า ”รัฐบาล”กับ “สิทธิมนุษยชน”เป็นคนละเรื่องกันอย่างสิ้นเชิง ต่างคนต่างมี function อย่างไม่เกี่ยวข้องกันเลย 😑 นี่งงมาก นางมาจากมิติไหนวะ แล้วที่ต้องใช้วีพีเอ็นออกมาฉอดนี่ไม่ใช่เพราะโดนรัฐบาลยึดสิทธิมนุษยชนของหล่อนไปเหรอยะ 🙁แต่ก็ เลิกคุยกับนางไปแล้วค่ะ เพราะว่า 💬พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงค์ทอง 💦👄 อนึ่ง ฉันกำลังคิดว่าคนเราหากไม่มีอิสระภาพในการทำอะไรก็ตาม มันเสียโอกาสในชีวิตอย่างมากมาย อย่างตอนนี้ที่คนเดินทางไม่ได้ ในฐานะศิลปินก็ frustrated หน่อย ๆ เพราะมันเป็นการขังเราไว้กับคนที่ไม่ได้มี common interests เหมือนกับเรา คือต่อให้เราใส่ input อย่างไร ถ้าคู่สนทนามองไม่เห็นคุณค่า คือ wasted ค่ะ 😶 เหมือนที่ทะเลาะกับเพื่อนจีนอะ พูดไปนางก็เชื่อแบบเดิม แต่หากเราสมาคมกับคนที่คิดเหมือนกัน คนที่เปิดใจ มันจะพาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า 👏🏼 เช่นการชอบถ่ายรูปผู้ชายแก้ผ้า ถ้าไม่มีไวรัสโควิดก็คงได้ร่วมงานกับศิลปินนายแบบฝรั่งเริ่ด ๆ ที่ appreciate เส้นทางนี้ ไปมาหาสู่กันได้อย่างเสรี และผลิตเป็นผลงานออกมา 🌿นี่ก็ทำให้นึกถึงคนที่ไม่มีอิสระภาพ ไม่ว่าจะด้านการเงิน ด้านภาษา หรือความคิด คนที่ถูกตีกรอบ น่าเห็นใจนะ เพราะ creativity มันเกิดขึ้นได้ยากมาก ทำให้ย่ำอยู่ที่เดิม การได้ทำอะไรใหม่ ๆ มันมีคุณค่ามากกว่าที่คิด โดยเฉพาะในยามที่โลกต้องการความหวังและแรงบันดาลใจแบบตอนนี้ 💙
「สิทธิมนุษยชน คือ」的推薦目錄:
- 關於สิทธิมนุษยชน คือ 在 Haruehun Airry Facebook 的最讚貼文
- 關於สิทธิมนุษยชน คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
- 關於สิทธิมนุษยชน คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於สิทธิมนุษยชน คือ 在 วิชาสังคมศึกษา | สิทธิมนุษยชนคืออะไร - YouTube 的評價
- 關於สิทธิมนุษยชน คือ 在 สิทธิมนุษยชนคืออะไร | สังคม สนุกคิด - YouTube 的評價
- 關於สิทธิมนุษยชน คือ 在 สิทธิมนุษยชนคืออะไร ร่วมทำความรู้จัก “สิทธิมนุษยชน” กันได้ใน 2 นาที! 的評價
- 關於สิทธิมนุษยชน คือ 在 คำแถลงด้ำนสิทธิมนุษยชน บริษัท ปตท. จำกัด (มหำชน) 的評價
สิทธิมนุษยชน คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最讚貼文
ลักษณะของกฎหมายข้อที่ 1
กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมนั้นต้องเป็นข้อกำหนดแบบแผนความประพฤติของมนุษย์
ข้อพิจารณาถึงลักษณะความสมบูรณ์ของกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมนั้นต้องเป็นข้อกำหนดแบบแผนความประพฤติของมนุษย์ กล่าวคือ ในความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน กฎหมายเป็นข้อความที่กำหนดบังคับให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรือห้ามบุคคลกระทำการบางอย่างกับกฎหมายกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำบางอย่าง ดังนี้
1. กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมกำหนดให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรือห้ามมิให้กระทำการบางอย่าง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้บุคคลกระทำการบางอย่างก็ดีหรือห้ามมิให้กระทำการบางอย่างก็ดี เรียกว่า “กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้บุคคลปฏิบัติ” ซึ่งมีหน้าที่ 2 ประการ คือ
1) กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมบังคับให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ “หน้าที่กระทำการ” (Duty of Act)
2) กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมห้ามมิให้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ “หน้าที่งดเว้นกระทำการ” (Duty to Refrain from Acting)
ดังนั้นการที่กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมกำหนดให้บุคคลกระทำบางอย่างหรือห้ามกระทำบางอย่างถือเป็น “ความผูกพัน” (Relationship) ทำให้บุคคลตกอยู่ในสถานะที่ต้องกระทำการหรืองดเว้นกระทำการหรือยอมให้เขากระทำกิจการเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย การที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลกระทำการหรืองดเว้นกระทำการซึ่งเป็นหน้าที่ เช่น การกำหนดให้บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์รักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีหน้าที่ป้องกันประเทศรักษาผลประโยชน์ของชาติและปฏิบัติตามกฎหมาย มีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง มีหน้าที่รับราชการทหาร มีหน้าที่เสียภาษี เป็นต้น
2. กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐที่ควบคุมคนในสังคมกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำการบางอย่าง ซึ่งกฎหมายกำหนดอนุญาตให้บุคคลกระทำการบางอย่างหรืออนุญาตให้บุคคลงดเว้นกระทำการบางอย่าง เรียกว่า “กฎหมายให้สิทธิเสรีภาพแก่บุคคล” แยกพิจารณา ดังนี้
1) สิทธิ (Rights) หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองคุ้มครองประโยชน์ให้ทั้งในเรื่องของสิทธิมนุษยชนและสิทธิพล ดังนี้
(1) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) หรือ สิทธิของทุกคน สิทธิประเภทนี้ คือ สิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครองแก่ทุกคนโดยมิได้แบ่งแยกว่าบุคคลนั้นเป็นชาติใด เชื้อชาติใดหรือศาสนาใด หากแต่บุคคลนั้นเข้ามาอยู่ในขอบเขตอำนาจรัฐที่ใช้รัฐธรรมนูญของประเทศนั้นแล้ว บุคคลดังกล่าวย่อมได้รับความคุ้มครองภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นด้วย สิทธิมนุษยชนเป็นคุณลักษณะประจำตัวของมนุษย์ทุกคนเพราะเป็นสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติที่เป็นของมนุษย์ในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์และด้วยเหตุผลอย่างเดียวว่า “เพราะเขาเกิดมาเป็นมนุษย์” มนุษย์ทุกคนล้วนมีสิทธิเสรีภาพเหล่านี้อยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนที่จะมี “รัฐ” (State) เกิดขึ้น โดยมีลักษณะติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด ไม่อาจถูกพรากหรือถ่ายโอนจากมนุษย์ซึ่งเป็นผู้ทรงสิทธิได้และเป็นสิทธิที่มีลักษณะสากล คือ เป็น สิทธิของมนุษย์ทุกคนเหมือนกันอย่างเสมอภาค สิทธิประเภทนี้ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย เป็นต้น
(2) สิทธิพลเมือง (Civil Rights) เป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญมุ่งที่จะให้ความคุ้มครอง เฉพาะบุคคลที่เป็นพลเมืองของรัฐเท่านั้น เป็นสิทธิที่เกิดมาภายหลังที่ได้มีกาจัดตั้งรัฐ สังคม การเมืองและรัฐบาลแล้ว เช่น สิทธิในทางการเมือง สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพ สิทธิเสรีภาพในการศึกษา เป็นต้น
เมื่อพิจารณาศึกษาเปรียบเทียบระหว่างสิทธิมนุษยชนกับสิทธิพลเมือง จะพบว่า สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องของ “สิทธิที่ติดตัวมาแต่กำเนิด” โดยคุ้มครองทั่วไปไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใดในโลก แต่สิทธิพลเมืองเป็นสิทธิที่ได้มาภายหลัง เมื่อทำสัญญาประชาคมจัดตั้งรัฐ สังคม การเมืองและรัฐบาลแล้วจะคุ้มครองกับพลเมืองของรัฐนั้น
2) ส่วนเสรีภาพ (Liberty) หมายถึง สิ่งที่ปราศจากการกักขังหน่วงเหนี่ยวทั้งทางร่างกายและทางความคิด
ดังนั้น เมื่อคุ้มครองสิทธิจะต้องรวมถึงเสรีภาพด้วย เพราะจะมีเสรีภาพได้ต้องได้รับสิทธิมาก่อน จึงเรียกว่า “สิทธิเสรีภาพ” การรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการกระทำการต่างๆตามที่กฎหมายกำหนดอนุญาต คือ สิทธิเสรีภาพในสภาพบุคคลและสิทธิในทรัพย์สิน
เมื่อพิจารณาศึกษาถึงกฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมถือเป็นระเบียบแบบแผนควบคุมความประพฤติของมนุษย์ กล่าวคือ กฎหมายเป็นข้อตกลงให้คนในสังคมปฏิบัติโดยอยู่ในรูปแบบของ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่งต่างๆนั้นมักจะมาจากวิธีปฏิบัติที่กระทำสืบเนื่องมาจากจารีตประเพณีนิยมที่เป็น “บรรทัดฐานทางปฏิบัติทั้งหลายของสังคม” (Practical Norms of Society) โดยคนส่วนใหญ่ให้การยอมรับและปฏิบัติตามมาเป็นเวลาช้านานโดยถือเป็น “ปรากฏการณ์ทางสังคม” (Social Phenomenal) ในลักษณะเช่นเดียวกันกับศาสนาและศีลธรรม จนกระทั่งเรียบเรียงขึ้นเป็นบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรเพื่อกำหนดสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของคนในสังคมให้กระทำหรืองดเว้นการกระทำ ตามสถานการณ์ของบ้านเมืองในแต่ละบริบทของแต่สังคมแต่ละประเทศ
สิทธิมนุษยชน คือ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
"แนวคิดลัทธิชุมกับลัทธิปัจเจกชนนิยม"
รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง
คำกล่าวของอริสโตเติล นักปราชญ์ชาวกรีก ท่านกล่าวไว้คำหนึ่งว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม (man is a social animal) มนุษย์เป็นสัตว์สังคม หมายความว่า มนุษย์มีความโน้มเอียงตามธรรมชาติที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็นหมู่คณะและไม่อาจที่จะแยกตัวออกไปมีชีวิตที่ดีนอกสังคมได้ มีแต่การอยู่รวมกับผู้อื่นเป็นหมู่คณะเป็นสังคมเท่านั้น มนุษย์จึงจะสามารถพัฒนาตนเองทั้งในทางกายภาพและในทางจิตใจให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ขึ้นมาได้ แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่ามนุษย์จะเป็นสัตว์สังคม ปัญหาว่ามนุษย์แต่ละคนซึ่งเป็นสมาชิกของสังคม มีสถานะอย่างไร เมื่อเทียบกับสังคมเป็นปัญหาที่มีคำตอบได้ 2 คำตอบ นั่นหมายความว่ามีลัทธิที่กล่าวถึงสถานะของปัจเจกบุคคลในสังคม หรือในรัฐที่แอบแฝงแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังด้วยกัน 2 ลัทธิ คือลัทธิชุมชน (Collectivism) กับ ลัทธิปัจเจกบุคคลนิยม (Individualism)
ลัทธิชุมชนนิยม(collectivism) หรืออาจเรียกว่า หรือลัทธิประชาคมนิยม (civil Societiesm) หรือชุมชนนิยม (Communitarianist) สอนว่าปัจเจกบุคคลแต่ละคนไม่ได้มีความเป็นอยู่ของตนเองอย่างเป็นอิสระหากแต่เป็นเพียงส่วนประกอบของมนุษย์แต่ละคนร่างกายของมนุษย์แต่ละคนประกอบไปด้วยเซลล์ต่างๆมากมายเป็นความจริงว่าเซลล์แต่ละเซลล์อาจมีสิ่งมีชีวิตของตนเองแยกต่างหากจากร่างกายมนุษย์ได้ แต่อย่างไรก็ตามการที่เซลล์แต่ละเซลล์แยกตัวออกไปมีชีวิตของตนเองต่างหากจากร่างกายมนุษย์ต้องถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดปกติธรรมดา ธรรมชาติที่แท้จริงของเซลล์แต่ละเซลล์ มันคือการประกอบกันขึ้นอย่างมีเอกภาพเป็นร่างกายของมนุษย์ ฉันใดก็ฉันนั้นธรรมชาติของมนุษย์แต่ละคนก็คือการประกอบกันเข้าอย่างมีเอกภาพเป็นชุมชนหรือสังคม ถ้ามีชีวิตของเซลล์แต่ละเซลล์ขึ้นตรงต่อความเรียกร้องต้องการของร่างกายมนุษย์ ชีวิตมนุษย์แต่ละคนก็ย่อมจะต้องขึ้นตรงต่อความเรียกร้องต้องการของชุมชนหรือสังคมฉันนั้น ตามคำสอนของลัทธิประชาคมนิยมจึงไม่มีปัจเจกบุคคลจะมีก็แต่สมาชิกของชุมชนหรือสังคมซึ่งมีหน้าที่กระทำการต่างๆเพื่อความอยู่รอดของชุมชนหรือสังคมเท่านั้น เพราะฉะนั้นมนุษย์แต่ละคนจึงไม่มีคุณค่าในตัวเองความจริงๆอยู่ที่ชุมชนหรือสังคมมนุษย์แต่ละคนจะต้องสละทุกสิ่งทุกอย่างให้กับข้อเรียกร้องต้องการของสังคมหรือชุมชนเหมือนกับที่มนุษย์แต่ละคนอาจจะตัดมือตัดขาเพื่อความอยู่รอดของชีวิตทั้งชีวิตลัทธิดังกล่าวเป็นที่มาของการเรียกร้องสิทธิมนุษยชน โลกที่ 3 ในเรื่องของ“สิทธิชุมชน”
ในปัจจุบัน ประเด็นเรื่อง สิทธิชุมชน ป่าชุมชน กำลังเป็นหัวข้อถกเถียงสำคัญในสังคมไทยที่โยงไปถึงปัญหาการรักษาดูแลทรัพยากรธรรมชาติ (ป่าไม้, ต้นน้ำลำธาร) น่าคิดว่า “สิทธิชุมชน”จะโยงกันถึง “สิทธิมนุษยชน” ได้มากน้อยเพียงใด แม้นักวิชาการตะวันตกบางท่านจะปฏิเสธว่าสิทธิชุมชนไม่ใช่สิทธิมนุษยชน(พอๆ กับที่สิทธิของรัฐไม่ใช่สิทธิของ มนุษยชนเช่นกัน) แต่จริงๆ แล้วหากเราเข้าใจถึงการพัฒนาการของสิทธิมนุษยชนระยะหลังๆ ที่ทำให้ความสำคัญกับสิทธิในแง่ของ “กลุ่มสังคมมากขึ้น” ไม่ว่าจะเป็นเด็ก, ผู้ลี้ภัย, นักโทษ, คนพิการ, คนกลุ่มน้อย, หรือกระทั่ง “สิทธิประชาชน” เราคงไม่หยุดอยู่กับรูปคำ/ภาษาภายนอกของ “สิทธิมนุษยชน” โดยเนื้อแท้ทางปฏิบัติสิทธิชุมชนก็เป็นสิทธิปัจเจกบุคคลในการดูและจัดการทรัพยากรของชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ ซึ่งน่าคิดว่าจะแปลความให้เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนบางประเภท อาทิ สิทธิในการพัฒนา (The Human Right to Development) ได้หรือไม่ อันกินความถึงสิทธิในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งสิทธิในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งสิทธิยังมีมิติการพิจารณาในแง่การกระจายอำนาจรัฐให้แก่ประชาชนมากขึ้น อันเป็นประเด็นหลักการประชาธิปไตย ที่ลึกๆ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์
ลัทธิปัจเจกชนนิยม (Individualism) มีคำสอนที่ตรงกันข้ามกับลัทธิชุมชนนิยมอย่างหน้ามือเป็นหลังมือก็ว่าได้ ลัทธินี้สอนชุมชนหรือแม้สังคมจะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสำหรับมนุษย์แต่ก็เป็นคุณค่าที่สำคัญรองลงมาจากคุณค่าของมนุษย์แต่ละคน จริงอยู่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมไม่สามารถแยกตนเองออกไปมีชีวิตที่ดีนอกสังคมได้อย่างไรก็ตามมนุษย์แต่ละคนก็มีเป้าหมาย คือ เป้าหมายสูงสุดทุกสิ่งทุกอย่างในสังคมจะต้องดำเนินไปโดยเคารพศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ของปัจเจกบุคคลแต่ละคน บทบาทของชุมชนหรือสังคมแท้ที่จริงแล้วก็คือ การกระทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อให้มนุษย์แต่ละคนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้และสามารถพัฒนาตนเองไปได้ตามธรรมชาติของตนดังกล่าวที่ว่า มนุษย์ไม่ได้มีอยู่เพื่อรัฐหรือสังคม สังคมต่างหากที่มีอยู่เพื่อมนุษย์ เหตุผลแห่งการดำรงอยู่ของรับหรือของสังคม ก็เพื่อให้มนุษย์แต่ละคนสามารถพัฒนาบุคลิกภาพของตนได้ทั้งในทางกายภาพและในทางจิตใจ มนุษย์แต่ละคนไม่อาจจะนำไปเปรียบเทียบกับเซลล์แต่ละเซลล์ที่ประกอบกันขึ้นเป็นร่างกายของมนุษย์ได้ ถ้าจะเปรียบเทียบกันจริงๆ แล้วจะต้องนำมนุษย์แต่ละคนไปเปรียบเทียบกับภาพเขียนซึ่งรวมกันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ภาพแห่งใดแห่งหนึ่งการจัดภาพเขียนในพิพิธภัณฑ์ ผู้จัดไม่ได้จัดให้ภาพทุกคนอยู่ในลักษณะที่สมดุลกันหรือได้สัดส่วนกันแต่ประการใดทั้งสิ้นตรงกันข้ามจะจัดให้ภาพแต่ละภาพโดดเด่นขึ้นมามีคุณค่าในตัวของมันเองตามสายตาของผู้ชม ตามคำสอนของลัทธิปัจเจกนิยมนี้เราจะเห็นได้ว่าบทบาทของผู้ปกครอง
จริงอยู่ที่การธำรงค์รักษาไว้ซึ่งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรมอาจจะปรากฏตัวให้เห็นในอย่างเป็นรูปธรรมได้ ในรูปของความสามารถของมนุษย์แต่ละคนจะกำหนดวิถีชีวิตของคนได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ความสามารถที่จะปรับวิถีชีวิตของตนได้ด้วยตนเองอย่างอิสระ มันจะเกิดขึ้นได้ภายในดินแดนของเสรีภาพของตนแต่ละคนสามารถที่จะเขียนหรือจะทำการใดๆ ก็ได้ตามความพอใจของตนเองปลอดจากการแทรกแซงของผู้อื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งปลอดจากการแทรกแซงของผู้ปกครอง แต่เสรีภาพในดินแดนของเสรีภาพแต่ละคนสามารถทำอะไรก็ได้ตามความพอใจจะคิดทำอะไรก็ได้ตามความพอใจ เพราะฉะนั้นวิวัฒนาการ ทางความคิดดินแดนแห่งเสรีภาพเป็นเงื่อนไขของการและความสามารถจะกำหนดวิถีชีวิตของตนได้ด้วยตนเอง(Self Determination)นั้นเป็นเงื่อนไขการแสดงออก ซึ่งเป็นคำสอนของลัทธิปัจเจกชนนิยม
เมื่อพิจารณาจากสองลัทธิดังกล่าวแล้วถึงแม้จะมีแนวคิดแตกต่างกัน แต่มีจุดร่วมกันคือการเน้นและให้ความสำคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน และได้มีการยอมรับและกำหนดไว้ในกฎบัตร สหประชาชาติมีการจัดประชุมสุดยอดระดับโลก(World Summit) ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า United Nations Conference on Environment and Development (UNCED) ที่นครริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1992 เอกสารสำคัญเป็นผลลัพธ์จาการประชุม(UNCED)คือ Agenda 21, Rio Principle ซึ่งกล่าวถึงหลักการที่สำคัญ 26 ประการในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาที่ยั่งยืน เอกสารแถลงการณ์ในเรื่องการจัดการป่าไม้ (Statement on Forest Principles) นอกจากนี้ยังมีความตกลงระหว่างประเทศที่สำคัญอีก 2 ฉบับ คือ กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change) และอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biogical Diversity)
สิทธิมนุษยชน คือ 在 สิทธิมนุษยชนคืออะไร | สังคม สนุกคิด - YouTube 的推薦與評價
สิทธิมนุษยชน ที่ทุกคนต่างก็มี มัน คือ อะไรนะ วันนี้พี่วิว @PointofView จะพาไปทำความรู้จักองก์การที่ทำงานเกี่ยวข้องกับ สิทธิมนุษยชน กัน ... ... <看更多>
สิทธิมนุษยชน คือ 在 สิทธิมนุษยชนคืออะไร ร่วมทำความรู้จัก “สิทธิมนุษยชน” กันได้ใน 2 นาที! 的推薦與評價
สิทธิมนุษยชนคือ อะไร ร่วมทำความรู้จัก “สิทธิมนุษยชน” กันได้ใน 2 นาที! ... ย้อนกลับไปช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี 1948 เมื่อทั่วโลกพร้อมใจกัน ... ... <看更多>
สิทธิมนุษยชน คือ 在 วิชาสังคมศึกษา | สิทธิมนุษยชนคืออะไร - YouTube 的推薦與評價
สิทธิมนุษยชน #สิทธิและเสรีภาพ #วิชาสังคมศึกษา สิทธิมนุษยชน คือ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เป็นของพวกเราทุกคน ไม่ว่าเราจะเป็นใคร ... ... <看更多>