10 อันดับรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก มาจากประเทศอะไรบ้าง?
.
กว่าเกือบ 60 ปีที่โลกได้ถือกำเนิดสุดยอดม้าเหล็ก “รถไฟความเร็วสูง” ระบบคมนาคมที่ช่วยย่นระยะเวลาในการเดินทางของผู้คนให้สั้นลง ประหยัดทั้งเวลาและต้นทุนการเดินทาง โดยประเทศแรกที่เริ่มพัฒนาคือ ญี่ปุ่น จนในปัจจุบันประเทศทั่วโลกต่างเร่งพัฒนาและผลิตรถไฟความเร็วสูงในบ้านของตนเอง แต่ประเทศไหนกัน! ที่สามารถพัฒนารถไฟความเร็วสูง ให้วิ่งได้เร็วที่สุด วันนี้จะพาไปดู 10 อันดับรถไฟความเร็วสูงที่เร็วที่สุดในโลก จะมีอะไรบ้าง? และมาจากประเทศใดบ้าง? ไปดูกัน!
.
1.Shanghai Maglev จากประเทศจีน
ความเร็วสูงสุด (ที่วิ่งให้บริการจริง) : 431 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (267 ไมล์ต่อชั่วโมง)
เป็นรถไฟแม่เหล็กลอยความเร็วสูงขบวนแรกที่วิ่งให้บริการเชิงพาณิชย์ด้วยความเร็วสูงสุด และเร็วที่สุดในโลกด้วย ซึ่งเคยทดสอบได้ความเร็วสูงสุดถึง 501 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (311 ไมล์ต่อชั่วโมง) ให้บริการอยู่ในตัวเมืองรอบนอกเซี่ยงไฮ้ เชื่อมต่อระหว่างสนามบินนานาชาติชางไห่ ผู่ตง มายังสถานีหล่งหยาง โดยใช้ระยะเวลาเพียง 8 นาที ลักษณะเด่น คือ เป็นรถไฟความเร็วสูงพลังแม่เหล็ก ไม่มีล้อ ไม่มีเบรก ไม่มีระบบส่งกำลัง และถูกยกให้ลอย โดยใช้กลไกสนามแม่เหล็กยกให้สูงขึ้นจากรางประมาณ 1-10 มิลลิเมตรแล้วแต่จังหวะการวิ่ง
.
2. Fuxing Hao CR400AF/BF จากประเทศจีน
ความเร็วสูงสุด (ที่วิ่งให้บริการจริง) : 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (249 ไมล์ต่อชั่วโมง)
เป็นรถไฟความเร็วสูงทางไกลที่เร็วที่สุดในโลก โดยให้บริการเชื่อมต่อระหว่างเมืองใหญ่ภายในประเทศจีน สามารถจุคนได้ถึง 500 กว่าคน แบ่งห้องโดยสารออกเป็น 3 ชั้น ได้แก่ Business Class, First Class และ Second Class ซึ่งรถไฟรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ประเทศไทยให้ความสนใจและวางแผนว่าอาจจะนำมาใช้ในเส้นทาง กรุงเทพฯ-โคราช
.
3. Harmony CRH 380A จากประเทศจีน
ความเร็วสูงสุด (ที่วิ่งให้บริการจริง) : 380 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (236 ไมล์ต่อชั่วโมง)
นับเป็นรถไฟล้อเลื่อนที่วิ่งได้เร็วเป็นอันดับสองของโลก ทำความเร็วสูงสุดได้ประมาณ 486.1 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในการวิ่งทดสอบแบบไม่มีผู้โดยสาร สามารถจุคนได้ประมาณ 494 คน ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทเอกชนของจีน ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทเอกชนเยอรมนีและญี่ปุ่น ตัวรถผลิตจากวัสดุอลูมิเนียมน้ำหนักเบา ออกแบบส่วนหัวให้ลดแรงกดอากาศพลศาสตร์ขณะวิ่ง จุดเด่นคือ ไร้การสั่นสะเทือนระหว่างขับเคลื่อน มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น โคมไฟอ่านหนังสือ ปลั๊กไฟ โทรทัศน์ จอ LED พร้อมมีบาร์และเลานจ์ให้บริการด้วย
.
4. Shinkansen H5 and E5 จากประเทศญี่ปุ่น
ความเร็วสูงสุด (ที่วิ่งให้บริการจริง) : 360 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (224 ไมล์ต่อชั่วโมง)
หนึ่งในรถไฟความเร็วสูงที่คนไทยรู้จัก ให้บริการมาเป็นเวลานานกว่า 50 ปี เป็นรถไฟหัวกระสุนรุ่นล่าสุดที่เร็วที่สุด มีระบบลดเสียงรบกวนดีเยี่ยม เบาะนั่งทั้งหมดจะหันหน้าไปข้างหน้า มีทั้งแบบจองและไม่จอง รวมถึงมี JR Pass บัตรโดยสารสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางในญี่ปุ่นแบบไม่จำกัดครั้ง ซึ่งทำให้การเดินทางประหยัดมาก มีศูนย์กลางอยู่กรุงโตเกียว และทอดยาวไปยังทางเหนือของซัปโปโร ไปจนถึงทางตอนใต้ของนางาซากิ มีเส้นทางให้บริการกว่า 9 เส้นทาง ไม่เพียงเท่านั้นจะมีแผนที่จะเริ่มดำเนินการอีก 4 เส้นทางภายในปี 2566 นี้
.
5. AGV Italo จากประเทศอิตาลี
ความเร็วสูงสุด (ที่วิ่งให้บริการจริง) : 360 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (223.6 ไมล์ต่อชั่วโมง)
มีอีกชื่อว่า “Ferrari of the track” รถไฟสีแดงพลัมในสังกัดของ Ferrari ถือเป็นรถไฟความเร็วสูงที่เร็วที่สุดในยุโรป จุคนได้ประมาณ 245-460 คน ให้บริการบนเส้นทางระหว่างกรุงโรมกับเมืองเนเปิลส์ ระยะทาง 225 กิโลเมตร ภายในเวลาเพียง 1 ชั่วโมง โครงสร้างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถนำไปรีไซเคิลได้ 98% มีที่นั่ง 3 ชั้น มีโทรทัศน์ระบบถ่ายทอดสดและอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Wi-Fi) ให้บริการด้วย
.
6. Talgo 350 จากประเทศสเปน
ความเร็วสูงสุด (ที่วิ่งให้บริการจริง) : 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (217 ไมล์ต่อชั่วโมง)
มีชื่อเล่นอีกอย่างว่า “Pato” ภาษาสเปนแปลว่า เป็ด เนื่องจากด้านหน้ามีลักษณะโดดเด่นคล้ายปากเป็ด เปิดตัวครั้งแรกที่สเปน แต่พัฒนาโดยบริษัทเอกชนเยอรมัน เดิมมีชื่อว่า “AVE Class 102” จุคนได้ประมาณ 318-365 คน แบ่งห้องโดยสารออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ ห้องโดยสารชั้น 1 ห้องโดยสารร้านอาหาร และห้องโดยสารชั้นประหยัด แต่ละห้อง แต่ละที่นั่งมีโคมไฟอ่านหนังสือ และที่ชาร์จแล็ปท็อปและโทรศัพท์มือถือ
.
7. Haramain Western Railway จากประเทศซาอุดีอาระเบีย
ความเร็วสูงสุด (ที่วิ่งให้บริการจริง) : 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (217 ไมล์ต่อชั่วโมง)
ให้บริการในเส้นทางศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของศาสนาอิสลามในประเทศซาอุดีอาระเบีย ระหว่างกรุงเมกกะห์ และเมืองเมดินะห์ ช่วยลดเวลาการเดินทางเหลือไม่เกิน 2 ชั่วโมง ประกอบด้วยรถไฟทั้งหมด 35 ขบวน แต่ละขบวนรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 400 คน และคาดว่าแต่ละขบวนจะสามารถขนส่งผู้โดยสารได้ประมาณ 60 ล้านคนต่อปี
.
8. Deutsche Bahn ICE จากประเทศเยอรมนี
ความเร็วสูงสุด (ที่วิ่งให้บริการจริง) : 330 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (205 ไมล์ต่อชั่วโมง)
ให้บริการในเส้นทางที่เชื่อมต่อจากเบอร์ลิน ไปยังมิวนิก ฮัมบูร์ก สตุ๊ตการ์ต และเมืองสำคัญอื่น ๆ ของเยอรมนี รวมถึงสามารถนั่งไปออสเตรีย บรัสเซลส์ อัมสเตอร์ดัม และสถานที่อื่นๆ นอกเยอรมนีได้อีกด้วย สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 450 ที่นั่ง ทำงานบนแนวคิดรถพลังงาน เป็นนวัตกรรมใหม่มีเพลาขับเคลื่อนมากถึง 24 เพลา ทำให้รถใช้พลังงานน้อยลงถึง 30%
.
9. Korail KTX จากประเทศเกาหลีใต้
ความเร็วสูงสุด (ที่วิ่งให้บริการจริง) : 330 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (205 ไมล์ต่อชั่วโมง)
อีกหนึ่งรถไฟความเร็วสูงที่หลายคนน่ารู้จักกันดี ให้บริการสถานีหลักที่กรุงโซล เชื่อมต่อไปยังเมืองอื่นๆ ภายในประเทศเกาหลีใต้ และสิ้นสุดเส้นทางทิศใต้ที่เมืองปูซาน รถไฟเป็นการอัปเดตจาก KTX-I รุ่นก่อนหน้า ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้รับการออกแบบและสร้างในเกาหลีใต้ และนับว่าเป็นรูปแบบการเดินทางที่ได้รับความนิยมจากคนเกาหลีอย่างมาก
.
10. Eurostar E320 จากประเทศอังกฤษ
ความเร็วสูงสุด (ที่วิ่งให้บริการจริง) : 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (200 ไมล์ต่อชั่วโมง)
หรืออีกชื่อคือ “British Rail Class 374” ตกแต่งภายในโดย Pininfarina สไตลิสต์ยานยนต์ชื่อดังชาวอิตาลี สามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 900 ที่นั่ง เพิ่มขึ้น 20 ที่นั่งจาก Eurostar e300 รุ่นก่อน สามารถเดินทางระยะทาง 305 ไมล์ ได้ภายใน 2 ชั่วโมง 16 นาที ด้วยความเร็วสูงสุด 200 ไมล์ต่อชั่วโมง ความพิเศษคือ การลอดอุโมงค์ Euro Tunnel อุโมงค์ใต้ทะเลที่เชื่อมต่อระหว่างเกาะอังกฤษและยุโรปตะวันตก ได้แก่ ฝรั่งเศส เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์
.
จากทั้ง 10 อันดับข้างต้น จะเห็นว่า จีน สามารถครองอันดับรถไฟความเร็วสูงที่วิ่งเร็วที่สุดในโลกได้ถึง 3 อันดับแรก แม้ไม่ได้เป็นประเทศแรกที่ให้กำเนิดรถไฟความเร็วสูง แต่ก็นับว่าจีนสามารถก้าวกระโดดจากการเป็น ผู้เรียนรู้ มาสู่ ผู้สร้าง และที่สำคัญกำลังจะกลายเป็นผู้นำของโลกด้านเทคโนโลยีการขนส่ง “รถไฟความเร็วสูง” อย่างเต็มตัว ไม่เพียงเท่านั้น ทั้งจีนและประเทศอื่นๆ ต่างกำลังเร่งพัฒนาให้รถไฟความเร็วสูงในประเทศของตนเองสามารถวิ่งได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 400 เป็น 500 และ 600 ไม่แน่ในอนาคตเราอาจได้เห็นรถไฟความเร็วสูงที่เร็วเทียบเท่าเครื่องบินก็ได้
.
สำหรับรถไฟความเร็วสูงของไทย ที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนานั้น จากแผนงานของภาครัฐ คาดว่าเส้นทางแรก กรุงเทพฯ-หนองคาย จะแล้วเสร็จ พร้อมเปิดให้บริการอย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2568
หรืออีก 4 ปีข้างหน้านี้ เราทุกคนจะได้ยลโฉมและได้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูงของไทยครั้งแรกหลังจากที่รอคอยกันมานาน ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในระบบขนส่งและคมนาคมที่จะช่วยอำนวยความสะดวก ลดเวลาการเดินทางให้คนไทยได้มากเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเดินทางไปไหน ก็ไปได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น เพราะทุกที่ก็อยู่แค่หน้าปากซอยเท่านั้น!
.
ที่มา : https://www.beautifullife.info/automotive-design/top-10-fastest-trains-in-the-world/
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS #อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#รถไฟความเร็วสูง #HighSpeedRail #HSR
#ระบบขนส่ง #การขนส่ง #การคมนาคม
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過21萬的網紅Triptravelgang,也在其Youtube影片中提到,ปั่นสุดใจ! พิธีเปิดแข่งขันจักรยานทางไกล ตอน นักปั่นแห่งลุ่มน้ำโขง (Ride to Khong's Legendary) Stage ที่ 1 เส้นทาง หนองคาย - บึงกาฬ (เปิดตำนานลุ่มแม่น...
「หนองคาย เส้นทาง」的推薦目錄:
- 關於หนองคาย เส้นทาง 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最讚貼文
- 關於หนองคาย เส้นทาง 在 Sneak out หนีเที่ยว Facebook 的最佳貼文
- 關於หนองคาย เส้นทาง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於หนองคาย เส้นทาง 在 Triptravelgang Youtube 的最讚貼文
- 關於หนองคาย เส้นทาง 在 feelthai Youtube 的最佳解答
- 關於หนองคาย เส้นทาง 在 เส้นทาง "จ.หนองคาย-จ.อุดรธานี" บน ทล.247-ทล.2-ทล.216 ... 的評價
- 關於หนองคาย เส้นทาง 在 เส้นทางธรรม "หนองคาย" | อัพเดทที่เที่ยว “หนองคาย” ให้หายคิดถึง ... 的評價
หนองคาย เส้นทาง 在 Sneak out หนีเที่ยว Facebook 的最佳貼文
ชาวหนีเที่ยวจ๋า ใครชอบเดินทางมาทางนี้เร๊ววว 🤭
‘นครชัยแอร์’ ให้บริการ NCA Frist Class 12 เส้นทาง 🚐
มีเส้นทางไหนบ้าง เช็คได้เลย !! 👇
.
#เส้นทางจากกรุงเทพฯ 🚌
กรุงเทพฯ - เชียงใหม่
กรุงเทพฯ - ลำปาง
กรุงเทพฯ - ขอนแก่น
กรุงเทพฯ - อุดรธานี
กรุงเทพฯ - หนองคาย
กรุงเทพฯ - บุรีรัมย์
กรุงเทพฯ - อุบลราชธานี
กรุงเทพฯ - ศรีสะเกษ
.
#เส้นทางระหว่างจังหวัด 🚌
อุบลราชธานี - ระยอง
สุรินทร์ - ระยอง
เชียงใหม่ - ระยอง
ระยอง - เชียงราย
.
👉 ตรวจสอบเส้นทางและเที่ยวเวลาได้ที่ : https://www.nakhonchaiair.com/
.
🙏 ขอบคุณที่มาและรูปภาพจาก : https://www.facebook.com/nakhonchaiair.official/
.
#SneakOut #หนีเที่ยว #SneakOutThailand #หนีเที่ยวไทย
#SneakNews #นครชัยแอร์ #FirstClass #NCVFirstClass
หนองคาย เส้นทาง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
สรุประบบรางในอนาคต ที่จะเปลี่ยนประเทศไทย / โดย ลงทุนแมน
ถ้าถามว่า ประเทศไทย มีข้อได้เปรียบในเรื่องใดมากที่สุด
“ทำเล” จะเป็นหนึ่งในคำตอบนั้น
ด้วยการที่ตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทรอินโดจีน ล้อมรอบด้วยกลุ่มประเทศ CLMV
ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งมีประชากรรวมกันกว่า 170 ล้านคน
เมื่อรวมกับประชากรไทยอีก 69 ล้านคน จะทำให้มีประชากรบนผืนแผ่นดินบริเวณนี้มากถึง 239 ล้านคน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในดินแดนที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมากบนโลกนี้
การพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
โดยเฉพาะการพัฒนาระบบขนส่งทางราง
แล้วระบบราง จะเปลี่ยนอนาคตประเทศไทยอย่างไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
รู้หรือไม่ว่า การขนส่งสินค้าทางราง มีต้นทุนถูกกว่าการขนส่งสินค้าทางถนนถึง 2 เท่า
จากข้อมูลของกระทรวงคมนาคม ในปี 2560
ต้นทุนการขนส่งทางถนน อยู่ที่ 2.12 บาท/ตัน/กิโลเมตร
ต้นทุนการขนส่งทางราง อยู่ที่ 0.95 บาท/ตัน/กิโลเมตร
แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การขนส่งสินค้าทางรางกลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
สาเหตุหลักคือ รางรถไฟไม่ครอบคลุมทุกจังหวัด
และรางรถไฟที่มีกว่าร้อยละ 90 ล้วนเป็น “ทางเดี่ยว”
คำว่าทางเดี่ยวหมายความว่า หากมีรถไฟ 2 ขบวน วิ่งมาคนละทิศทางกัน
ทั้ง 2 ขบวน จะสวนทางกันไม่ได้ ต้องจอดรอให้อีกขบวนไปก่อน
และนั่นเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ให้การขนส่งสินค้าทางรางใช้ระยะเวลานานกว่าการขนส่งทางถนน และทำให้ได้รับความนิยมน้อยกว่า
การขนส่งผู้โดยสารทางรางก็ใช้เวลานานเช่นกัน และทำให้ผู้โดยสารเลือกเดินทางด้วยเส้นทางอื่น
ทั้งทางถนน และอากาศ
แต่หลังจากนี้ การขนส่งระบบรางมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
ด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ซึ่งประกอบไปด้วย
รถไฟทางคู่
หากมีเส้นทางรถไฟ 2 ทางคู่ขนานกัน ก็จะทำให้รถไฟสามารถสวนทางกันได้
และการขนส่งทั้งคนและสินค้าจะลดระยะเวลาลงไปมาก
ขณะนี้มีโครงการรถไฟทางคู่เฟสแรก ซึ่งจะแล้วเสร็จทั้งหมดภายในปี 2565
โดยมีการสร้างสถานีกลางบางซื่อ ให้เป็นศูนย์กลางขนส่งทางรางของประเทศไทย
สายเหนือ จากบางซื่อ ถึงสถานีปากน้ำโพ นครสวรรค์
สายอีสาน จากบางซื่อ ถึงสถานีขอนแก่น
สายใต้ จากบางซื่อ ถึงสถานีชุมพร
ส่วนโครงการรถไฟทางคู่เฟสที่ 2 จะแล้วเสร็จภายในปี 2570
สายเหนือ ต่อไปจนถึงสถานีเชียงใหม่
และมีสายใหม่ แยกจากสถานีเด่นชัย จ.แพร่ ถึงสถานีเชียงของ จ.เชียงราย
ซึ่งรองรับการขนส่งทั้งคนและสินค้า เชื่อมต่อกับจีน พม่า และลาว
สายอีสาน ถึงสถานีหนองคาย เชื่อมต่อกับทางรถไฟจากลาว
สายใต้ ถึงสถานีปาดังเบซาร์ จ.สงขลา ซึ่งรองรับการขนส่งเชื่อมกับมาเลเซีย
หากทั้ง 2 เฟสแล้วเสร็จ จะส่งผลให้การขนส่งทั้งคนและสินค้ามีการพัฒนามากขึ้น
ภายในประเทศ โรงงานสามารถส่งสินค้าผ่านทางรถไฟให้ลูกค้าในภูมิภาคต่างๆ ด้วยต้นทุนการขนส่งที่ถูกกว่า
และระหว่างประเทศ สินค้าจากจีน สามารถขนส่งมาให้ลูกค้าในไทยผ่านทางรถไฟ ซึ่งจะทำให้ใช้ระยะเวลาน้อยกว่าการขนส่งทางรถ หรือทางเรือ
เช่นเดียวกับที่สินค้าในไทย สามารถขนส่งออกไปขายที่ลาว พม่า หรือมาเลเซียได้
นอกจากรถไฟทางคู่ ยังมีอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ นั่นคือ “รถไฟความเร็วสูง”
ขณะนี้ ประเทศไทยกำลังมีการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทาง
ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2566
เส้นทางที่ 1 บางซื่อ - นครราชสีมา (โคราช)
ซึ่งหากแล้วเสร็จ จะช่วยเรื่องการเดินทางของคนในภาคอีสานมายังกรุงเทพฯ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นทั้งการค้า และการท่องเที่ยว ระหว่าง 2 ภูมิภาคได้
โดยแผนระยะยาวของเส้นทางนี้ จะเชื่อมไปถึง จ.หนองคาย เพื่อรองรับเส้นทางรถไฟจากจีนที่เชื่อมผ่านมายังประเทศลาว
เส้นทางที่ 2 รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเยือนกรุงเทพฯ มีปริมาณมากจนทำให้สนามบินหลักทั้ง 2 แห่ง
คือ ดอนเมืองและสุวรรณภูมิ มีจำนวนผู้ใช้บริการเกินขีดจำกัดมานานแล้ว
สนามบินอู่ตะเภาจึงช่วยรองรับปริมาณการใช้งานนี้ และแบ่งเบาผู้โดยสารบางส่วนที่ต้องการเดินทางไปยังเมืองท่องเที่ยวชายทะเล เช่น พัทยา ระยอง
ประเทศไทยมีชื่อเสียงในเรื่องการท่องเที่ยวมานาน
ททท. คาดว่าในปี 2562 จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยวไทยถึง 40 ล้านคน
และคาดว่าจะเพิ่มถึง 79 ล้านคนในอีก 11 ปีข้างหน้า
นอกจากการท่องเที่ยว
เส้นทางนี้ยังเป็นที่ตั้งของแหล่งนิคมอุตสาหกรรม
รวมถึงโครงการ EEC ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการใหม่
การมีรถไฟความเร็วสูง จะทำให้การเดินทางและขนส่งระหว่างจังหวัดในเขต EEC กับกรุงเทพฯ และภูมิภาคอื่นๆ สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ลดระยะเวลาและต้นทุนในการเดินทางเมื่อเทียบกับการเดินทางรูปแบบอื่น
มาถึงจุดนี้ หลายคนอาจเกิดคำถามว่า รายได้จากค่าโดยสาร ค่าขนส่ง จะคุ้มกับที่ลงทุนไปหรือไม่?
สำหรับโครงการพัฒนาระบบราง การจะคิดกำไรจากค่าตั๋วโดยสาร และค่าขนส่งเพียงอย่างเดียว โดยคาดหวังให้คุ้มทุนนั้นเป็นไปได้ยาก
แต่เราก็ต้องอย่าลืมว่า เมื่อมีเส้นทางขนส่งที่ดี ย่อมดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ก่อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ เกิดการจ้างงาน เกิดโรงงานอุตสาหกรรม เกิดเมืองใหม่ เกิดภาคบริการท่องเที่ยว และนำมาสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในท้ายที่สุด ซึ่งผลดีทางเศรษฐกิจเหล่านี้จะสะท้อนออกมาทางอ้อม ไม่ได้ถูกรวมอยู่ในรายได้ค่าโดยสาร
คงต้องดูกันต่อไปว่า หากโครงการรถไฟทั้งหมดแล้วเสร็จ จะช่วยพลิกโฉมการขนส่งสินค้า การเดินทาง และการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้มากน้อยเพียงใด
“ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง”
ทุกคนล้วนคุ้นเคยกันดีว่าหมายถึงอะไร
ไม่แน่ว่า เราอาจจะไม่ได้ใช้ประโยคนี้อีกต่อไปแล้ว ก็เป็นได้..
┏━━━━━━━━━━━━┓
Blockdit โซเชียลมีเดีย รูปแบบใหม่
Blockdit.com/download
┗━━━━━━━━━━━━┛
References
-http://www.tradelogistics.go.th/บทความ/บทสัมภาษณ์/“ระบบราง”-โครงสร้างพื้นฐานสำคัญสู่การ-“ลดต้นทุนโลจิสติกส์”-ของประเทศไทย
-https://www.eeco.or.th/…/โครงการรถไฟความเร็วสูง-เชื่อม-3-สน…
-https://www.weforum.org/…/china-will-be-the-world-s-top-to…/
-http://www.realist.co.th/blog/updateรถไฟ-2562/
หนองคาย เส้นทาง 在 Triptravelgang Youtube 的最讚貼文
ปั่นสุดใจ! พิธีเปิดแข่งขันจักรยานทางไกล ตอน นักปั่นแห่งลุ่มน้ำโขง (Ride to Khong's Legendary)
Stage ที่ 1 เส้นทาง หนองคาย - บึงกาฬ (เปิดตำนานลุ่มแม่น้ำโขง)
คลิกเดียว...กินเที่ยวทุกวัน: http://triptravelgang.com
Fanpage: https://www.facebook.com/Triptravelgang
หนองคาย เส้นทาง 在 feelthai Youtube 的最佳解答
ไปเจอแผนตัดทางรถไฟความเร็วสูงเส้นทางจากกรุงเทพไปโคราช และจากโคราชไปหนองคาย ศึกษาดูไว้ครับ ยังไงโครงข่ายการคมนาคม ขั้นพื้นฐานนี้นี้ยังไงก็จำเป็น ต้องมีการตัดเส้นทางเข้าซักวัน
หนองคาย เส้นทาง 在 เส้นทางธรรม "หนองคาย" | อัพเดทที่เที่ยว “หนองคาย” ให้หายคิดถึง ... 的推薦與評價
อัพเดทที่เที่ยว “หนองคาย” ให้หายคิดถึง กับเส้นทางเที่ยวที่ห้ามพลาด! . ปล. ใครเคยไปเที่ยวหนองคาย เอารูปมาอวดกันได้นะครับ . # หนองคาย # เส้นทาง ธรรม... ... <看更多>
หนองคาย เส้นทาง 在 เส้นทาง "จ.หนองคาย-จ.อุดรธานี" บน ทล.247-ทล.2-ทล.216 ... 的推薦與評價
การเดินทางครั้งนี้ เป็นการเดินทางช่วงเดือนธันวาคม 2564 ขับรถชม เส้นทาง และบรรยากาศบริเวณพื้นที่ "ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน" ... ... <看更多>