** บ้าไปแล้ว ใครไปบ้าง !! 'ซาอุฯ' สนจับมือ 'อิตาลี' ลุ้นเจ้าภาพร่วมข้ามทวีปบอลโลก 2030 **
- ไอเดียการจัดยูโร 2020 กระจายทั่วทั้งทวีปยุโรปนั้นไม่ใช่สิ่งที่คนชื่นชอบสักเท่าไหร่นัก แม้แต่ก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด-19
- แฟนบอลเองก็ไม่ปลื้มเช่นกันที่ฟุตบอลโลก 2022 ต้องจัดใน กาตาร์ โดยเฉพาะต้องขยับทัวร์นาเมนต์ไปแข่งในช่วงหน้าหนาว
- กระนั้นรายงานของ the Athletic บอกว่า ซาอุดิ อาระเบีย เกิดไอเดียอยากที่จะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2030 และมองหาประเทศในยุโรปที่จะมารับหน้าที่เจ้าภาพร่วมกับพวกเขา
- พวกเขาเลยมอง อิตาลี เป็นหนึ่งในประเทศที่อาจจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กัน โดยที่ตอนนี้ฟีฟ่าเองก็อยากจะให้เจ้าภาพมีมากกว่าประเทศเดียว
- Boston Consultancy Group บริษัทจากแดนลุงแซมกำลังช่วย ซาอุดิ อาระเบีย ในการวางแผนเพื่อที่จะกลายเป็นเจ้าภาพให้ได้
- พวกเขาพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการจับมือกับประเทศแบบ อียิปต์ และ โมร็อกโก ด้วยเหมือนกัน ซึ่งจะเป็นคอนเน็คชั่นระหว่างตะวันออกกลางกับแอฟริกาเหนือ
- อย่างไรก็ตามมีการตั้งคำถามว่าสองชาติจากแอฟริกานั้นมีความสามารถพอสำหรับการจัดบอลโลกหรือไม่ โดยวัดจากโครงสร้างพื้นของประเทศและปัญหาทางด้านธุรกิจ
- นั่นอาจทำให้พวกเขาเลือกไปจับมือกับยุโรปแทน แล้วปัญหาเรื่องที่ทั้งสองประเทศระยะทางห่างกันเกินกว่า 2,200 ไมล์นั้นอาจไม่หนักหนาเหมือนอย่างที่คนคิด
- การเดินทางระหว่างเมืองลอนดอนกับบาคูนั้นก็มีระยะทางใกล้เคียงกัน และทั้งสองเมืองก็ผ่านการเป็นเจ้าภาพร่วมมาในศึกยูโรหนล่าสุด
- นอกจากนี้ฟุตบอลโลก 2026 ที่จะจัดขึ้นใน แคนาดา, สหรัฐอเมริกา และ เม็กซิโก นั้นการเดินทางจากเมืองเหนือสุดลงมาที่เมืองใต้สุดก็มีระยะทางเกินกว่า 3,000 ไมล์
- อิตาลี สนใจที่จะเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกในอีก 9 ปีข้างหน้าหรือไม่ก็จัดศึกยูโรในอีก 7 ปีข้างหน้า โดยที่ กาบริเอเล่ กราวิน่า ประธานสหพันธ์ฟุตบอลอิตาลียืนยันด้วยตัวเอง
- การจับมือเป็นเจ้าภาพร่วมระหว่างประเทศในยุโรปกับ ซาอุฯ นั้นอาจส่งผลต่อการลุ้นเป็นเจ้าภาพของ อังกฤษ รวมถึงยังสร้างปัญหาใก้กับยูฟ่าด้วย
- เอฟเอพิจารณาที่จะจับมือกับ สกอตแลนด์, เวลส์, ไอร์แลนด์เหนือ และ ไอร์แลนด์ แต่พวกเขาเพิ่งพบปัญหาเรื่องแฟนบอลในศึกยูโรนัดชิงชนะเลิศวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
- นอกจากนี้ สเปน กับ โปรตุเกส อาจลองจับมือลุ้นเป็นเจ้าภาพร่วม และ อเล็กซานเดอร์ เซเฟริน ประธานของยูฟ่าอยากให้ทุกประเทศโหวตเป็นเสียงเดียวกันเมื่อต้องเลือกเจ้าภาพ ซึ่งใจเขาเอนเอียงไปหาสองประเทศนี้มากกว่า
#เกมละกู #บอลโลก #ฟีฟ่า #FIFA #worldcup
「อังกฤษ กับ สหรัฐอเมริกา」的推薦目錄:
- 關於อังกฤษ กับ สหรัฐอเมริกา 在 Facebook 的精選貼文
- 關於อังกฤษ กับ สหรัฐอเมริกา 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於อังกฤษ กับ สหรัฐอเมริกา 在 LIVE เชียร์สด : อังกฤษ พบ สหรัฐอเมริกา | รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่ม บี นัดที่ ... 的評價
- 關於อังกฤษ กับ สหรัฐอเมริกา 在 ความแตกต่างของภาษาอังกฤษในอเมริกาและอังกฤษ : สาระน่ารู้จาก ... 的評價
- 關於อังกฤษ กับ สหรัฐอเมริกา 在 THE STANDARD - UPDATE: อังกฤษ เสมอกับ สหรัฐอเมริกา... 的評價
อังกฤษ กับ สหรัฐอเมริกา 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ความรู้ทั่วไปของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดและเป็นกฎหมายพื้นฐานในการปกครองของรัฐ นับว่าเป็นกฎหมายที่สำคัญมากในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งเป็นกฎหมายวางหลักในการปกครองโดยกฎหมายหรือหลักกฎหมายเป็นใหญ่ที่เรียกว่าหลักนิติรัฐ ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งจะได้อธิบายดังต่อไปนี้ คือ
1.ประวัติความเป็นมาและความหมายของรัฐธรรมนูญ
เมื่อเราศึกษาความรู้ทั่วไปของรัฐธรรมนูญให้เข้าใจนั้นในลำดับแรกเราต้องศึกษาประวัติความเป็นมาและความหมายของรัฐธรรมนูญให้เข้าใจเสียก่อนว่ารัฐธรรมนูญมีความหมายอย่างไรและมีความเป็นมาอย่างไร
1.1 ประวัติความเป็นมาของรัฐธรรมนูญ
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการพัฒนาทั้งร่างกายและสมอง ทำให้มนุษย์เข้ามาอยู่รวมกันเป็นสังคมรู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อความปลอดภัยและรักษาไว้ ซึ่งสิทธิเสรีภาพของตัวเอง โดยมอบหรือสละสิทธิเสรีภาพบางส่วนให้กับสังคม โดยมีผู้นำที่ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัยแก่คนในสังคมนั้น และขณะเดียวกัน ผู้ปกครองหรือหัวหน้าที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนด กฎเกณฑ์ต่างๆ ของสังคมให้สมาชิกในสังคมปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีอำนาจปกครองที่เป็นที่เป็นระบบ มีระเบียบแบบแผนมากขึ้นและในระยะต่อมากลายเป็นรัฐ
ซึ่งความหมายของรัฐที่นักวิชาการ ไม่วาทางด้านนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ให้คำจำกัดความไว้ใกล้เคียงกันเรื่องของ รัฐ คือ รัฐเป็นสังคมมนุษย์ ซึ่งมีระเบียบ หรือมีการจัดองค์องค์กรเป็นระเบียบแบบแผน และโดยเหตุที่การจัดตั้ง หรือการประกอบขึ้นเป็นรัฐ มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อทำกิจกรรมทางการเมือง การปกครองคนในรัฐหรือในสังคมนั้น จึงเป็นสังคมการเมือง (Political Society) เมื่อรัฐมีวัตถุประสงค์ทางการเมือง การปกครอง รัฐจึงต้องมีผู้ปกครองหรือ รัฐบาลที่มีอำนาจทางการเมือง
ดังนั้น การเป็นรัฐได้ จะต้องประกอบด้วยเงื่อนไขหรือมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1. การมีดินแดนที่กำหนดได้อย่างแน่ชัด
2. การมีประชากรที่อยู่ร่วมกันอย่างถาวร
3. การมีอำนาจอธิปไตย คือ อำนาจซึ่งแสดงความเป็นใหญ่ ความเป็นอิสระไม่
ตกอยู่ภายใต้การบังคับของใครโดยปราศจากความยินยอม
4. การมีรัฐบาล กำหนดดำเนินการในทางการเมืองและการปกครองเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ต้องการ
เมื่อมีองค์ประกอบ 4 ประการข้างต้นแล้ว รัฐย่อมเกิดขึ้นตามความหมายในทางกฎหมายรัฐธรรมนูญและสามารถจัดกิจการภายในรัฐได้
รัฐต่างๆได้พัฒนาระบบการปกครองจากระบอบเทวาธิปไตยพัฒนามาเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของทุกรัฐมีความคล้ายคลึงกันอยู่อย่างหนึ่ง คือ ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ และไม่สามารถควบคุมตรวจสอบ การใช้อำนาจของผู้ปกครองให้อยู่ในความพอเหมาะพอดีได้ จากหลักการดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาการใช้อำนาจกดขี่เอารัดเอาเปรียบประชาชน จึงทำให้เกิดวิธีแก้ปัญหาขึ้น
โดยนักคิดนักปรัชญาการเมืองที่สำคัญ เช่น จอห์น ล็อค (John locke). มองเตสกิเออ (Montesquieu) ที่พยายามสร้างแนวคิดการแบ่งแยกอำนาจ ในการใช้อำนาจการปกครองเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น การแบ่งแยกอำนาจในการปกครองตามแนวความคิดของนักคิดดังกล่าวโดยเฉพาะแนวความคิดของ มองเตสกิเออ (Montesquieu) คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ซึ่งอำนาจทั้งสามจะไม่อยู่ที่คนๆ เดียวเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน อีกทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้อำนาจใดอำนาจหนึ่งใช้อำนาจจนเกินควรให้เกิดความเสียหายเดือดร้อนแก่ประชาชน
แนวคิดของจอห์น ล็อค (John locke) และ มองเตสกิเออ (Montesquieu) ได้มีอิทธิพลมากในยุโรปและมีอิทธิพลต่ออเมริกาเมื่ออเมริกาปลดแอกจากอังกฤษ ได้นำแนวความคิดแบ่งแยกอำนาจ(Separation of Powers) เป็นแนวทางการเขียนหลักเกณฑ์ในการปกครองประเทศ เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ” คือรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีหลักการสำคัญ ได้แก่
1.ทุกคนมีความเท่าเทียมและเสมอภาคกัน
2.ผู้ปกครองประเทศมาจากความเห็นชอบของประชาชนส่วนใหญ่
3.ผู้ปกครองจะต้องใช้อำนาจในการปกครองเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ
และผลประโยชน์ของประชาชน
4. การใช้อำนาจของผู้ปกครองต้องสามารถควบคุมตรวจสอบให้อยู่ในความ
พอเหมาะพอดีได้
การประการใช้รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกานั้นทำให้หลักการในการปกครองประเทศหลายประการ กลายเป็นต้นแบบให้แก่รัฐธรรมนูญนานาประเทศในเวลาต่อมา อาทิเช่น
1) การแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย ในการปกครองประเทศ 3 อำนาจ คือ
อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ดังที่ปรากฏเป็นรัฐธรรมนูญของหลายประเทศ ทั้งนี้เพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
2) การมีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่กำหนดความสูงสุดของ
กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายอื่น และเป็นแนวทางในการปกครองประเทศที่ร่างขึ้นโดยตัวแทนของประชาชน ตามความต้องการของประชาชน ให้ผู้ปกครองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในการใช้อำนาจการปกครอง และผู้ปกครองต้องใช้อำนาจในการปกครองต้องชอบด้วยกฎหมาย ภายในขอบเขตของกฎหมายที่ให้อำนาจนั้น ดังนั้นกระบวนการตรารัฐธรรมนูญต้องมีความพิเศษกว่ากฎหมายอื่น เพื่อต้องการไม่ให้ผู้ปกครองออกกฎหมายอื่นมายกเลิกได้ง่ายเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
3) เกิดหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อำนาจการปกครอง
เป็นของประชาชน ดำเนินการโดยประชาชนเพื่อประชาชน เกิดวิธีการได้ซึ่งอำนาจกระบวนการใช้อำนาจใหม่ที่สำคัญคือได้กระบวนการและวิธีในการควบคุมการใช้อำนาจให้อยู่ในความเหมาะสมได้ซึ่งหมายความว่าการใช้อำนาจของผู้ปกครองสามารถตรวจสอบ และการควบคุมให้อยู่ในความพอเหมาะพอดีได้ด้วยกระบวนการต่างๆ ตามระบอบประชาธิปไตย
4)การรับรองคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นต้น
1.2 ความหมายของรัฐธรรมนูญ
ก่อนที่เราจะทราบความหมายของรัฐธรรมนูญเราจำเป็นศึกษาว่ารัฐธรรมนูญในโลกนี้มีรัฐธรรมนูญที่ใช้ในการปกครองประเทศที่ตามสภาพความเป็นจริง ในโลกปัจจุบันประเทศต่างๆ จะปกครองในระบอบประชาธิปไตยส่วนหนึ่ง และระบอบคอมมิวนิสต์ส่วนหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีประเทศที่ใช้ระบอบการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่บ้าง เช่น ประเทศสวาซิแลนด์ ซาอุอาระเบีย บรูไน เป็นต้น
ระบอบการปกครองที่สำคัญในโลก คือ ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบประชาธิปไตยกับระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ในส่วนนี้ผู้เขียนมุ่งที่สนใจและให้ความสำคัญในการศึกษา คือระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
1.2.1 ความหมายของรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย
พจนานุกรมกฎหมายอเมริกัน ได้ให้ความหมาย คำว่า “รัฐธรรมนูญ”(Constitution) ว่าหมายถึง กฎหมายที่กำหนดกฎเกณฑ์และเป็นพื้นฐานของรัฐ ซึ่งอาจเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ โดยกำหนดลักษณะและแนวทางเกี่ยวกับรัฐบาล วางหลักพื้นฐานสำหรับให้รัฐบาลดำเนินตาม จัดรูปแบบของรัฐบาลและกำหนดกฎเกณฑ์กระจายและจำกัดบทบาทหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน และวางหลักในการใช้อำนาจอธิปไตยว่ามีขอบเขตมากน้อยแค่ไหน เพียงไร
สำหรับในประเทศไทยได้อธิบายความหมายของรัฐธรรมนูญไว้ เช่น
1. หลวงประดิษฐ์มนูธรรมอธิบายว่า “กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดินเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงระเบียบแห่งอำนาจสูงสุดในแผ่นดินทั้งหลาย และวิธีการดำเนินการทั่วไปแห่งอำนาจเหล่านี้หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่ากฎหมายธรรมนูญการปกครองวางหลักทั่วไปแห่งอำนาจสูงสุดในประเทศ”
2. ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย อธิบายว่า รัฐธรรมนูญ “หมายถึง
กฎหมายที่กำหนดระเบียบแห่งการใช้อำนาจสูงสุดในรัฐและความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจเหล่านี้ต่อกันและกัน”
3. ศาสตราจารย์ ดร.สมภพ โหตระกิตย์ อธิบายว่า “ในปัจจุบันคำว่า “Constitution” หรือ “รัฐธรรมนูญ” มีความหมายสองนัยคือ ความหมายอย่างกว้างและอย่างแคบ
“ตามความหมายอย่างกว้าง รัฐธรรมนูญได้แก่ ระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Customs) และธรรมเนียมปฏิบัติ (Conventions) ซึ่งกล่าวถึง (1) บรรดาองคาพยพ (Organ) หรือสถาบันการเมืองของรัฐ...ฯลฯ... (2) หน้าที่ขององคาพยพ หรือสถาบันการเมืองของรัฐ...ฯลฯ... (3) ความสัมพันธ์ระว่างองคาพยพหรือสถาบันทางการเมืองของเอกชน...ฯลฯ... (4) ความสัมพันธ์ระหว่างองคาพยพหรือสถาบันการเมืองของเอกชน...ฯลฯ...ความหมายอย่างกว้างนี้ใช้ อยู่ในประเทศอังกฤษและหมายถึงรัฐธรรมนูญของประเทศอังกฤษ”
“ส่วนความหมายอย่างแคบ หมายถึง กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับ ซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้ เช่นการดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐ การทำหน้าที่นิติบัญญัติ หน้าที่บริหาร หน้าที่ตุลาการ ฯลฯ และกฎหมายนี้ได้จัดทำตามวิธีการที่กำหนดเป็นพิเศษ แตกต่างจากกฎหมายธรรมดาและได้รับการยกย่องให้เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ความหมายนี้ได้แก่รัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ เช่นสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น ไทย ฯลฯ”
จากความหมายเหล่านี้เราอาจสรุปได้ว่า รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย หมายถึง กฎหมายสูงสุดที่ใช้เป็นแนวทางในการปกครองประเทศ วางระเบียบหรือกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับรัฐ กล่าวคือ ว่าด้วยดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตยและรัฐบาล ตลอดจนความสัมพันธ์ขององค์กรต่างๆ ที่กำหนดเพื่อทำหน้าที่แบ่งแยกกันออกไป
ในทางวิชาการ ถือว่ามีคำอีกคำหนึ่งซึ่งมักใช้สับสนกับคำว่า “รัฐธรรมนูญ” เสมอ คือคำว่า “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” (Constitutional Law หรือ the Law of the Constitution) ซึ่งหมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองต่างๆ ในรัฐ ซึ่งรวมทั้งรัฐธรรมนูญ กฎมณเฑียรบาล จารีตประเพณีทางการเมืองและกฎหมายอื่นๆด้วย เช่น กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงรายละเอียดเกี่ยวกับสถาบันทางการเมืองโดยที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติหลักการไว้แล้ว ด้วยเหตุนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญอาจไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญของอังกฤษ หรือแม้แต่จารีตประเพณีในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทยในการแต่งตั้งนายกฯพระราชทานเข้ามาทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งไปหลังเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองขึ้น กรณีแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีภายหลังเหตุการณ์14 ตุลา 16 และการแต่งตั้งนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 เป็นต้น
โดยนัยแห่งความหมายนี้ กฎหมายรัฐธรรมนูญจึงเป็นคำที่กว้างกว่ารัฐธรรมนูญ เพราะคลุมถึงรัฐธรรมนูญด้วย คลุมถึงหลักเกณฑ์การปกครองประเทศทีไม่เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย คลุมถึงกฎหมายทั้งหลายที่วางระเบียบเกี่ยวกับสถาบันการเมืองใดสถาบันการเมืองหนึ่งด้วย คลุมถึงกฎหมายที่ขยายรายละเอียดที่รัฐธรรมนูญได้วางหลักการไว้นั่นก็คือ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
ตัวอย่างเช่น กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มี 8 เรื่องด้วยกัน อาทิเช่น กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง.กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นต้น
โดยสรุป เราอาจกล่าวได้ว่าประเทศใดมีรัฐธรรมนูญ ประเทศนั้นย่อมมีกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นหนึ่งในกฎหมายหลายประการของกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่ประเทศใดมีกฎหมายรัฐธรรมนูญประเทศนั้นอาจไม่มีรัฐธรรมนูญ เช่น อังกฤษมีกฎเกณฑ์การปกครองประเทศในรูปแบบต่างๆ กัน แต่ไม่มีตัวบทกฎหมายที่เป็นรัฐธรรมนูญ อย่างเช่นรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา หรือฝรั่งเศส เป็นต้น
1.2.2 ความคล้ายคลึงและความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญกับกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ
1.ความคล้ายคลึงระหว่างรัฐธรรมนูญ (ซึ่งเป็นชื่อเฉพาะของกฎหมาย) กับ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ (ซึ่งเป็นชื่อรวมใช้เรียกกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับสถาบันการเมือง) อยู่ที่ว่ากฎหมายทั้งสองประเภทเป็นกฎหมายมหาชนและวางระเบียบเกี่ยวกับการเมืองการปกครองคล้ายกันเพียงแต่รัฐธรรมนูญจะกำหนดรายละเอียดมากกว่า
2.ความแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญเป็น
กฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับเดียวและกำหนดความสูงสุดของกฎหมายไว้ แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญมีทั้งส่วนที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรและเป็นลายลักษณ์อักษรรวมอยู่ด้วย
อนึ่งควรสังเกต ชื่อวิชาที่ใช้เรียนและเรียกกันอยู่ทั่วไปคือกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ใช่รัฐธรรมนูญ ถ้าเรียนรัฐธรรมนูญแล้ว หากมีการปฏิวัติล้มเลิกรัฐธรรมนูญ ก็จะไม่มีอะไรให้ศึกษากัน แต่ถ้าเรียกกฎหมายรัฐธรรมนูญแล้วแม้จะยกเลิกรัฐธรรมนูญเสียก็มีกฎหมายอื่นว่าด้วยสถาบันการเมืองที่เหลืออยู่ให้ศึกษากัน
2. ประเภทของรัฐธรรมนูญที่มีความสำคัญในทางวิชาการ
ในทางวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ เราอาจแยกประเภท หรือ ชนิดของรัฐธรรมนูญออกได้หลายประเภทหรือหลายวิธี เช่น
การแบ่งแยกตามรูปของรัฐตามหลักเกณฑ์นี้รัฐธรรมนูญจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ
1.รัฐธรรมนูญของรัฐเดี่ยว เช่น ไทย . ฝรั่งเศส เป็นต้น
2. รัฐธรรมนูญของรัฐรวม เช่น สหรัฐอเมริกา . เยอรมัน เป็นต้น
การแบ่งแยกตามวิธีการบัญญัติตามเกณฑ์นี้รัฐธรรมนูญแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ไทย ฝรั่งเศส อเมริกา เป็นต้น
2.รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น อังกฤษ เป็นต้น
การแบ่งแยกตามวิธีการแก้ไขตามเกณฑ์นี้รัฐธรรมนูญจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.รัฐธรรมนูญที่แก้ไขง่าย เช่น อังกฤษ
2.รัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส ไทย เป็นต้น
การแบ่งแยกตามกำหนดเวลาในการใช้ ตามวิธีนี้รัฐธรรมนูญจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1.รัฐธรรมนูญชั่วคราว เช่น พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม
ชั่วคราว พุทธศักราช 2475 เป็นต้น
2.รัฐธรรมนูญถาวร เช่นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 เป็นต้น
ข้อสังเกต การแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญ ดังกล่าวเป็นการแบ่งแยกตามทฤษฎีเท่านั้น
ซึ่งแม้แต่ในทางทฤษฎีเอง ก็ยังมีความเห็นแย้งกัน ขึ้นอยู่กับว่าผู้แบ่งจะถืออะไรเป็นเกณฑ์
การแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว จะขออธิบายประเภทของรัฐธรรมนูญที่มีความสำคัญอย่างมากในทางวิชาการ คือ การแบ่งประเภทของรัฐธรรมนูญตามวิธีการบัญญัติที่มีรูปแบบดังนี้ คือ รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written Constitutional Law)กับ รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เรียกว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญประเพณี (Customary Constitutional Law)
ปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้บัญญัติรัฐธรรมนูญขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วทั้งสิ้น ยกเว้นประเทศอังกฤษที่ยังคงใช้กฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี
2.1 รัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร คือเอกสารฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับที่รวมรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้และได้จัดทำด้วยวิธีการแตกต่างจากการจัดทำกฎหมายธรรมดา สำหรับประเทศที่บัญญัติไว้ในเอกสารฉบับเดียว เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ค.ศ.1989 รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส ค.ศ.1958 เป็นต้น
การที่กล่าวว่าเป็นเอกสารที่มีวิธีการจัดทำเป็นพิเศษแตกต่างจากการจัดทำกฎหมายธรรมดา เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีลักษณ์พิเศษกว่ากฎหมายอื่นๆ ตรงที่มีศักดิ์และฐานะสูงกว่ากฎหมายอื่นๆทั้งหมด เพราะรัฐธรรมนูญจะกำหนด องค์กร กระบวนการและรูปแบบของกฎหมายอื่นๆ ในระบบกฎหมายทั้งหมด ซึ่งส่งผล 2 ประการในระบบกฎหมาย คือ กฎหมายอื่นจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมิได้ กับการจัดทำและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญกระทำได้ยากโดยองค์กรหรือวิธีการพิเศษยิ่งกว่าการแก้ไขกฎหมายอื่นๆ เราเรียกสภาพนี้ว่าความเป็นกฎหมายสูงสุดที่มั่นคงของรัฐธรรมนูญ
2.2 รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
รัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือที่เรียกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณี ในปัจจุบันมีใช้อยู่น้อยมาก ที่มีอยู่ในปัจจุบันก็มีประเทศอังกฤษ รัฐธรรมนูญจารีตประเพณี นี้จะไม่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร แต่จะยึดถือแนวทางที่เคยปฏิบัติมาเป็นเวลายาวนานในเรื่องอำนาจต่างๆ ในการบริหารประเทศ ถึงแม้จะไม่ได้บัญญัติรัฐธรรมนูญไว้เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม แต่ก็จะมีบทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนประกอบของรัฐธรรมนูญ ทำให้กฎหมายรัฐธรรมนูญจารีตประเพณีสมบูรณ์ขึ้น
ตัวอย่างของกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ ที่ปรากฏในรูปของกฎหมายลายลักษณ์อักษร เช่น
1. ฉบับที่ 1 Pettition of Right ค.ศ.1628 เป็นเอกสารซึ่งพระมหากษัตริย์ยอมมอบสิทธิและเสรีภาพบางประการให้แก่ราษฎร
2. ฉบับที่ 2 Bill of Right ค.ศ.1638 เป็นเอกสารที่พระมหากษัตริย์ประทานสิทธิและเสรีภาพของราษฎรให้แก่ราษฎรเพิ่มเติมจากที่ปรากฎในเอกสารฉบับที่ 1 ซึ่งเอกสารฉบับนี้ได้วางหลักสำคัญไว้ว่า “ไม่มีภาษีโดยไม่มีผู้แทน” หมายความว่าพระมหากษัตริย์จะเรียกเก็บภาษีอากรจากราษฎรได้แต่โดยความยินยอมของรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนเท่านั้น
3. ฉบับที่ 3 Parliament ค.ศ.1911 เป็นเอกสารที่ตราโดยรัฐสภา ซึ่งบัญญัติว่ารัฐสภาประกอบด้วย 2 สภา คือสภาผู้แทนราษฎรหรือสภาสามัญ (House of Commons) และ สภาสูงหรือสภาขุนนาง (House of Lords) และกำหนดอำนาจหน้าที่ของแต่ละสภาตลอดจนกระบวนการที่แต่ละสภาจะต้องปฏิบัติ
4. ฉบับที่ 4 Regency Bill ค.ศ.1937 เป็นเอกสารที่ตราเป็นกฎหมายว่าด้วยการรักษาราชการแทนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเรียกว่า ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในกรณีพระมหากษัตริย์ยังทรงพระเยาว์ และยังไม่บรรลุนิติภาวะปกครองบ้านเมืองได้
ตัวอย่างของกฎหมายรัฐธรรมนูญอังกฤษ ในรูปแบบกฎหมายประเพณี เช่น
1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ต้องตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ และพระมหากษัตริย์ต้องทรงพระปรมาภิไธยประกาศใช้กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายประเพณีที่ผ่านความเห็นชอบของสภาสูงและสภาสามัญ และพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้ จะนำไปลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาทันที โดยไม่มีพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ไม่ได้
2. การแยกรัฐสภาออกเป็น 2 สภาคือ สภาผู้แทนราษฎรหรือสภาสามัญและสภาสูง หรือสภาขุนนาง กล่าวคือ ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับใดบัญญัติว่ารัฐสภาอังกฤษประกอบไปด้วย 2 สภา แต่เป็นกฎหมายประเพณี
3. หลักความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรี ความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรีทั้งคณะและรายบุคคล ต่อสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น คณะรัฐมนตรีทั้งคณะหรือรายบุคคลไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบทางการเมืองต่อสภาสูง(สภาขุนนาง) ซึ่งหมายความว่า เฉพาะแต่สภาผู้แทนราษฎร(สภาสามัญ) เท่านั้นที่จะเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีทั้งคณะหรือรายบุคคล ซึ่งข้อกำหนดนี้ไม่มีในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญประเพณี เป็นต้น
สรุป ได้ว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศอังกฤษ ประกอบด้วยทั้งส่วนที่เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและส่วนที่เป็นกฎหมายประเพณี นอกจากนั้นแล้วยังมีสิ่งที่เราเรียกว่าจารีตประเพณีทางรัฐธรรมนูญ สำหรับเหตุผลที่เรายังคงเรียกรัฐธรรมนูญอังกฤษว่าเป็นกฎหมาย รัฐธรรมนูญประเพณีก็เพราะว่าบรรดากฎเกณฑ์ทางรัฐธรรมนูญ คือ กฎเกณฑ์ที่จัดระบบรูปแบบของรัฐก็ดี ที่จัดระเบียบแห่งการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐในมุมใดมุมหนึ่งก็ดี จะกระจัดกระจายไม่อยู่รวมเป็นเอกสารฉบับเดียวกัน โดยกระจัดกระจายไปในกฎหมายที่บัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรหลายๆฉบับ ในส่วนที่เป็นกฎหมายประเพณีก็กระจัดกระจายไม่ได้มีการรวบรวมมาให้เป็นหมวดหมู่เป็นระบบระเบียบในเอกสาร ไม่เหมือนกับประเทศอื่นอย่างเช่น รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส หรือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540
เป็นต้น
3. ลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษกว่ากฎหมายอื่นๆ เป็นเบ้าหลอมรวมของระบบกฎหมาย โดยเป็นแก่นในการจัดระบบการสร้างกติกาและการบังคับใช้กติกาทั้งปวง จนมีการกล่าวกันว่า หากรัฐใดไม่มีซึ่งรัฐธรรมนูญแล้ว รัฐนั้นก็ย่อมปราศจากระบบกฎหมายไปด้วย รัฐธรรมนูญจึงได้รับการยอมรับให้ทำหน้าที่พื้นฐานในการเป็นกติกาหลักทางการเมืองการปกครองใน 2 ประการคือ (1) ความเป็นกฎหมายสูงสุด (2) การเป็นกฎหมายพื้นฐานในการปกครอง
3.1 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด
เป็นหลักการพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็นแม่บทของกฎเกณฑ์ทั้งปวง โดยการวางแนวปฏิบัติให้กระบวนวิธีในการตรากฎหมายและเนื้อหาสาระในบทบัญญัติของกฎหมายนั้นมีกรอบในการกำกับควบคุมที่มีความแน่นอน สามารถช่วยในการป้องกันและแก้ไขไม่ให้กฎหมายอื่นๆในระบบกฎหมายจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมิได้ไม่ว่าองค์กรใดก็ตาม ในปัจจุบันในโลกนี้ องค์กรคุ้มครองความสูงสุดของรัฐธรรมนูญมีอยู่ 3 รูปแบบ ดังนี้
1. องค์กรทางการเมือง ได้แก่ คณะกรรมการรัฐธรรมนูญหรือคณะตุลาการ
รัฐธรรมนูญ
2. ศาลยุติธรรม
3. ศาลพิเศษหรือศาลรัฐธรรมนูญ
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 นั้นกำหนดให้องค์กรพิเศษควบคุมกฎหมายไม่ให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ คือ ศาลรัฐธรรมนูญ
3.2 รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายพื้นฐานในการปกครองรัฐ
เป็นหลักการพื้นฐานในการแสวงหาสิ่งที่เป็นความชอบธรรมในการปกครอง โดยการกำหนดที่มาและขอบเขตอำนาจขององค์กรที่ทำหน้าที่หลักทางการเมืองการปกครอง ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ และการกำหนดระเบียบของความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างองค์กรดังกล่าวให้เป็นไปตามคลองธรรม สามารถรักษาความชอบธรรมอยู่ได้บนรากฐานของความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและความชอบด้วยกฎหมาย
4. เนื้อหาสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญ
เนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญที่ควรกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดได้แก่
1. การกำหนดรูปแบบของรัฐ
2. การจัดระเบียบแห่งการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ
4.1 การกำหนดรูปแบบของรัฐ
รัฐธรรมนูญจะกำหนดรูปแบบของรัฐไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งรูปแบบของรัฐในปัจจุบันนี้
จะมี 2 รูปแบบ คือ
1) รัฐเดี่ยว (Unitory States)
2) รัฐรวมหรือสหพันธรัฐ (Federation states)
4.1.1 รัฐเดี่ยว (Unitory States)
รัฐเดี่ยว หมายถึง รัฐที่มีศูนย์กลางในทางการเมืองและการปกครองเป็นอันหนึ่งอันเดียว
กันเป็นรัฐซึ่งมีเอกภาพไม่ได้แยกออกจากกัน กล่าวคือ เป็นรัฐที่มีผู้ใช้อำนาจอธิปไตยทั้งภายในและภายนอกประเทศเป็นศูนย์รวมอันหนึ่งอันเดียวกัน บุคคลทุกคนในประเทศ จะอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของอำนาจแห่งเดียวกัน ทุกคนจะอยู่ในระบอบการปกครองเดียวกันและอยู่ใต้บทบัญญัติของกฎหมายอย่างเดียวกัน รัฐเดี่ยวมีอยู่มากในโลกนี้และมีในทุกทวีป เช่น ไทย ญี่ปุ่น ตุรกี สเปน ฝรั่งเศส สวีเดน นอร์เวย์ ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งมักจะกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเพราะว่าเป็นเรื่องที่สำคัญจะต้องบัญญัติไว้
ตัวอย่างเช่นประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 กำหนดให้ประเทศไทย เป็นรัฐเดี่ยวและมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของรัฐ
ข้อสังเกต รูปแบบของรัฐเดี่ยวนี้อาจจะเป็นไปในลักษณะการปกครองที่สำคัญ 2 ระบบ คือ การปกครองแบบรวมอำนาจ (Centrallization) การปกครองแบบกระจายอำนาจ (Decentralisation)
1.การปกครองแบบรวมอำนาจจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การปกครองระบบรวมศูนย์อำนาจ (Concentration) กับการกระจายการรวมศูนย์อำนาจปกครอง (Deconcentration)
2.การปกครองแบบกระจายอำนาจการปกครอง (Decentralization) ซึ่งมี 2ลักษณะ คือ
1)การกระจายอำนาจการปกครองทางอาณาเขต
2)การกระจายอำนาจทางกิจการหรือทางบริการ
4.1.2 รัฐรวมหรือสหพันธรัฐ (Federation states)
รัฐรวมในที่นี้ หมายถึง รัฐรวมที่รวมรัฐต่างๆ เข้าด้วยกันตามความหมายของกฎหมาย
ภายในนั้นคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญในลักษณะที่มีการสร้างรัฐขึ้นให้อยู่เหนือและซ้อนอยู่กับรัฐต่างๆ ที่มารวมกันที่เรียกสหพันธรัฐหรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งสหพันธรัฐเป็นรูปแบบที่รัฐเอกราชหลายๆ รัฐยอมรับที่จะอยู่รวมกันภายใต้กฎเกณฑ์อันเดียวกัน โดยยอมสละอำนาจบางส่วนของตน ประเทศที่เป็นลักษณะของรัฐรวม เช่น สหรัฐอเมริกา,สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เป็นต้น
4.2 การกำหนดเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐ
สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญที่ต้องกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญในเรื่องที่สองนี้ คือ เรื่องของการจัดระเบียบแห่งการใช้อำนาจอธิปไตย เราอาจสรุปแยกได้ 5 เรื่องคือ
1. การสถาปนาหรือจัดตั้งองค์กรหรือสถาบันต่างๆในการใช้อำนาจอธิปไตย
2. การกำหนดวิธีหรือกระบวนการในการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเข้าไปเป็น
สมาชิกในองค์กรหรือสถาบันที่จัดตั้งขึ้น
3.การกำหนดขอบเขตหน้าที่และกระบวนการใช้อำนาจหน้าที่ขององค์กรหรือสถาบันต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้น
4.การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือสถาบันต่างๆที่จัดตั้งขึ้น
5.การรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่เรียกว่า หลักนิติรัฐ
4.2.1 การสถาปนาหรือจัดตั้งองค์กรหรือสถาบันต่างๆในการใช้อำนาจ
อธิปไตย
การสถาปนาหรือจัดตังองค์กรหรือสถาบันตางๆเพื่อให้องค์กรหรือสถาบันเหล่านั้นใช้
อำนาจอธิปไตยของรัฐและในนามของรัฐ การกระทำต่างๆ เช่น การกระทำทางนิติบัญญัติ การกระทำทางบริหาร การกระทำทางตุลาการ การสถาปนาหรือการจัดตั้งองค์กร ในการใช้อำนาจนี้เป็นหลักการที่สำคัญ ในระบอบประชาธิปไตยเป็นหลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) โดยมีเป้าหมายไว้ซึ่งผลประโยชน์และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ฉะนั้น จะเห็นได้ว่าในแต่ละประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยการจัดตั้งหรือสถาปนาจัดตั้งองค์กรต่างกัน เช่น องค์กรของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 หรือที่เรียกว่า องค์กรตามรัฐธรรมนูญ นั้นอาจจำแนกได้ 5 ประการใหญ่ๆ คือ
1. องค์กรของรัฐฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่หลักในการออกกฎหมายระดับพระราชบัญญัติและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจากรัฐธรรมนูญ คือ รัฐสภา ซึ่งประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
2. องค์กรของรัฐฝ่ายบริหาร คือ คณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล ซึ่งมีอำนาจหน้าที่หลักในการบังคับใช้กฎหมาย ในการบริหารประเทศและในการจัดทำบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการด้านต่างๆ ของประชาชน
3. องค์กรของรัฐฝ่ายตุลาการ คือ ศาล ซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายศาลมีทั้งหมด 4 ศาล คือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลยุติธรรม และศาลทหาร เป็นองค์กรของรัฐซึ่งในอำนาจอธิปไตยทางตุลาการในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ระบบศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
ศาลทหาร
ศาลปกครอง
ศาลยุติธรรมยุติธรรม
ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลปกครองสูงสุด
ศาลฎีกา
ศาลอุทธรณ์
ศาลปกครองชั้นต้น
ศาลชั้นต้น
องค์กรทั้งสามเป็นองค์กรที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้ใช้อำนาจอธิปไตย ในด้านนิติบัญญัติ ด้านบริหาร และด้านตุลาการ
4. องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ นอกเหนือจากองค์กรของรัฐ ซึ่งใช้อำนาจอธิปไตย 3 ด้านตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งองค์กรของรัฐขึ้นมาอีก ประเภทหนึ่งที่เป็นอิสระจากการกำกับดูแลของรัฐบาล อยู่ในส่วนของการใช้อำนาจอธิปไตยของฝ่ายบริหาร ซึ่งอาจแบ่งได้ 3 กลุ่มดังนี้
1)องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ซึ่งมีอยู่ 3 องค์กรคือ
(1)คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.)
(2)ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
(3)คระกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)
2)องค์กรควบคุมตรวจสอบการเลือกตั้ง คือ คณะกรรมการ
การเลือกตั้ง (กกต.)
3)องค์กรอื่นซึ่งมีอยู่ 2 องค์กรคือ
(1)คณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ
(2)องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุ กระจายเสียง
วิทยุโทร ทัศน์และวิทยุโทรคมนาคม
5. หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจในฝ่ายบริหาร ได้แก่ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลปกครองสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญต่างๆมีสำนักงานบริหารงานบุคคลงานบุคคลการงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ขึ้นตรงต่อประธานของศาลหรือ ประธานขององค์กรนั้นๆ
4.2.2 การกำหนดวิธีหรือกระบวนการในการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเข้าไปดำรงตำแหน่งในองค์กรหรือสถาบันที่จัดตั้งขึ้น
การกำหนดวิธีการหรือกระบวนการในการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกขององค์กรหรือสถาบันที่จัดตั้งขึ้น เช่น ประเทศไทยได้มีการกำหนดว่าคุณสมบัติของบุคคลที่เข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นให้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนการกำหนดว่าการสรรหาบุคคลเข้าไปดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิกวุฒิสภาว่ามาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง เมื่อรวมสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภาแล้วจะเรียกว่ารัฐสภาหรือ เรียกว่าองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ การสรรหาบุคคลเข้าไปทำหน้าที่ในองค์กรฝ่ายบริหารเรียกว่าคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล การสรรหาและแต่งตั้งบุคคลเข้าไปทำหน้าที่องค์กรตุลาการ(ศาล) ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ ศาลทหาร ศาลยุติธรรมและศาลปกครอง เป็นต้น
4.2.3 การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และกระบวนการใช้อำนาจหน้าที่ขององค์กรหรือสถาบันต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้น
การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และกระบวนการใช้อำนาจหน้าที่ขององค์กรหรือสถาบันต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นเป็นไปตามหลักการแบ่งแยกอำนาจให้องค์กรที่จัดขึ้นใช้อำนาจอธิปไตย เช่น ประเทศไทยได้มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติใช้อธิปไตยของรัฐกระทำการออกกฎหมายเป็นไปตามความต้องการของประชาชน การกำหนดให้องค์กรฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรี มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามนโยบายและกฎหมาย การกำหนดอำนาจหน้าที่ขององค์กรตุลาการมีอำนาจหน้าที่ในการใช้กฎหมายให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน เป็นต้น
4.2.4 การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือสถาบันต่างๆที่จัดตั้งขึ้น
การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะใด เช่น ประเทศไทยได้มีการกำหนดว่ารัฐสภากับคณะรัฐมนตรีมีความสัมพันธ์ในลักษณะของการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ทั้งนี้โดยให้สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งรัฐสภามีสิทธิเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ ซึ่งการลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลก็ดีหรือทั้งคณะก็ดี ในทางกฎหมายก็คือการให้ถอดถอนรัฐมนตรีคนนั้นหรือทั้งคณะออกจากตำแหน่งหรือปลดออก และในด้านกลับกันก็ให้คณะรัฐมนตรีมีสิทธิถวายคำแนะนำและยินยอมให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขของรัฐยุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งการยุบสภาผู้แทนราษฎร ก็คือการถอนสมาชิกผู้แทนราษฎรทุกคนออกจากตำแหน่งถอนครบวาระนั่นเอง
เพราะฉะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภา(ฝ่ายนิติบัญญัติ)กับฝ่ายบริหาร หรือคณะรัฐมนตรี จึงมีความสัมพันธ์ที่ถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันหรือคานอำนาจกัน (Check and Balance) ในแง่ที่ว่าต่างฝ่ายต่างก็มีอำนาจถอดถอนอีกฝ่ายหนึ่งออกจากตำแหน่งได้ รัฐสภาถอดถอนฝ่ายบริหารออกจากตำแหน่งได้ ฝ่ายบริหารก็ถอดถอนรัฐสภาออกจากตำแหน่งได้ เป็นลักษณะของความสัมพันธ์อันหนึ่งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติก็อาจจะกำหนดให้ศาลมีอิสระในการทำหน้าที่ที่รัฐธรรมนูญมอบหมายให้แก่ตนอย่างเป็นอิสระไม่ต้องฟังคำสั่ง หรือคำบังคับบัญชาของรัฐสภาและทั้งคณะรัฐมนตรี ศาลมีหน้าที่ผูกพันแต่เฉพาะกฎหมายเท่านั้นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น แต่ไม่ต้องเคารพและผูกพันปฏิบัติตามคำสั่งคำบังคับบัญชาของรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรี เป็นต้น
ข้อสังเกต ความเป็นอิสระของศาลไม่ผูกพันกับองค์กรใดและไม่ต้องรับผิดชอบกับองค์กรใด แต่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเท่านั้น ทุกระบบไม่ว่าจะเป็นระบบประธานาธิบดี ระบบรัฐสภาและระบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา ก็จะมีลักษณะเหมือนกันกับความเป็นอิสระของศาลในการพิพากษาอรรถคดี
4.2.5 การรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ที่เรียกว่า หลักนิติรัฐ
การรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร
หรือสถาบันของรัฐกับราษฎร ซึ่งองค์กรของรัฐหรือสถาบันต่างๆของรัฐจะกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพหรือประโยชน์อันชอบธรรมของราษฎรคนใดคนหนึ่งได้ก็ต่อเมื่อมีกฎหมายให้อำนาจไว้อย่างชัดแจ้งและเพียงเท่าที่กฎหมายให้อำนาจเท่านั้น เพราะฉะนั้นถ้ายังไม่มีกฎหมายให้อำนาจองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ของรัฐกระทำการใดๆองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ของรัฐเหล่านั้นก็จะต้องงดเว้นการกระทำนั้น มิฉะนั้นการกระทำจะไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่มีผลผูกพันราษฎร ซึ่งถือเป็นหลักการทั่วไปว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ของรัฐกับราษฎร และต้องมีการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นหลักการที่เราเรียกว่า นิติรัฐ
จากที่กล่าวพบว่าเนื้อหาสาระในรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้มีอำนาจให้จัดทำ ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลคนเดียวหรือโดยคณะบุคคล หรือสภานิติบัญญัติและสภาร่างรัฐธรรมนูญ ถ้าประชาชนเป็นผู้มีอำนาจจัดทำที่เป็นสภานิติบัญญัติและสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากตัวแทนประชาชนรัฐธรรมนูญก็จะให้ประโยชน์แก่ประชาชนมากกว่ารัฐธรรมนูญที่จัดทำโดยบุคคลเดียว หรือคณะบุคคลที่เรียกว่า คณะปฏิวัติ คณะรัฐประหาร ฉะนั้นในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจึงมีเนื้อหาแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่มาของอำนาจที่ให้จัดทำรัฐธรรมนูญนั้น
หนังสือและเอกสารอ่านประกอบเพิ่มเติม
วิษณุ เครืองาม “กฎหมายรัฐธรรมนูญ” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติบรรณาการ ,2530
ไพโรจน์ ชัยนาม “สถาบันการเมืองและกฎหมายรัฐธรรมนูญ ภาค1 ความนำทั่วไป”
กรุงเทพฯ:สารการศึกษา,2524
อังกฤษ กับ สหรัฐอเมริกา 在 ความแตกต่างของภาษาอังกฤษในอเมริกาและอังกฤษ : สาระน่ารู้จาก ... 的推薦與評價
คำศัพท์ภาษา อังกฤษ ใน อเมริกา และ อังกฤษ มีจุดที่แตกต่างอย่างชัดเจนคือการออกเสียง เช่น คำว่า "Vase" (แจกัน) ใน อเมริกา ออกเสียงว่า "เวส", ... ... <看更多>
อังกฤษ กับ สหรัฐอเมริกา 在 THE STANDARD - UPDATE: อังกฤษ เสมอกับ สหรัฐอเมริกา... 的推薦與評價
UPDATE: อังกฤษ เสมอกับ สหรัฐอเมริกา ไร้สกอร์ 0-0 นำจ่าฝูงกลุ่ม B ต่อไปในศึกฟุตบอลโลก 2022 . เกมนัดที่ 2 ของกลุ่ม B ในศึกฟุตบอลโลก 2022 ที่สนามอัล เบย์ต... ... <看更多>
อังกฤษ กับ สหรัฐอเมริกา 在 LIVE เชียร์สด : อังกฤษ พบ สหรัฐอเมริกา | รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่ม บี นัดที่ ... 的推薦與評價
... (งดใช้คำรุนแรงในการคอมเม้นต์) # อังกฤษ พบ สหรัฐอเมริกา #เชียร์บอลสด ... สมัครเป็นพาร์ทเนอร์ กับ Online Station เพื่อช่วยพัฒนาให้ช่อง Youtube ... ... <看更多>