Lenovo จากบริษัทไม่มีใครรู้จัก สู่แบรนด์คอมพิวเตอร์ ขายดีสุดในโลก /โดย ลงทุนแมน
ผู้ที่ครองส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ PC ได้มากที่สุดในโลกก็คือ “Lenovo” แบรนด์จากประเทศจีน ที่สามารถแซง HP และ Dell จากสหรัฐอเมริกา จนขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ของโลกได้เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2013 และยังคงรักษาตำแหน่งอันดับ 1 ได้จนถึงปัจจุบัน
Lenovo ยังถือเป็นบริษัทจีนที่ก้าวขึ้นมาเป็นบริษัทระดับโลกได้เป็นบริษัทแรก ๆ ก่อนบริษัทระดับโลกในยุคปัจจุบันอย่างเช่น Alibaba, Tencent, Huawei และ Xiaomi
แล้ว Lenovo ทำได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
จากข้อมูลของ Gartner ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยด้านเทคโนโลยีชั้นนำของโลก จำนวน PC ที่ส่งมอบทั้งปี 2020 แบรนด์ที่ครองส่วนแบ่งตลาดโลกได้มากที่สุดก็คือ
อันดับ 1 Lenovo จากจีน 24.9%
อันดับ 2 HP จากสหรัฐอเมริกา 21.2%
อันดับ 3 Dell จากสหรัฐอเมริกา 16.4%
อันดับ 4 Apple จากสหรัฐอเมริกา 8.2%
อันดับ 5 Asus จากไต้หวัน 6.0%
คำว่า PC ในความหมายของ Gartner จะแปลว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ และแล็ปท็อป
แล้วก่อนจะกลายมาเป็นบริษัทที่ขาย PC ได้มากที่สุดในโลก Lenovo มีจุดเริ่มต้นอย่างไร ?
ย้อนกลับไปในปี 1984 หรือเมื่อ 37 ปีก่อน ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน
“Liu Chuanzhi” เป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ที่ทำงานวิจัยอยู่ที่สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (CAS)
ตอนนั้น คุณ Liu รู้สึกว่าสิ่งที่คิดค้น มักจะจบลงแค่ในห้องทดลองและไม่ได้ถูกต่อยอดนำไปใช้ประโยชน์กับคนหมู่มาก
คุณ Liu ในวัย 40 ปี จึงขอเงินทุนจาก CAS มาได้ 2 แสนหยวน หรือราว 1 ล้านบาท เพื่อเปิดบริษัทเกี่ยวกับสินค้าเทคโนโลยีเอง
หลังจากได้ทุนมาแล้ว เขาก็ได้รวบรวมทีมงานที่เป็นนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวจีนอีก 10 คนและได้ก่อตั้งบริษัท ในตอนแรกชื่อว่า “Legend”
ในเวลานั้น ถือเป็นจังหวะที่ดี เพราะประเทศจีนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน จากยุคเหมาเจ๋อตง ที่ระบบเศรษฐกิจถูกวางแผนโดยรัฐและไม่ค้าขายกับต่างประเทศ มาเป็นยุคเติ้งเสี่ยวผิง ที่เริ่มปฏิรูปเศรษฐกิจ
โดยให้ภาคเอกชนมีบทบาทมากขึ้นและเริ่มค้าขายกับต่างประเทศ
แต่ Legend มีอุปสรรคสำคัญก็คือ ด้วยความที่ทีมงานมีพื้นฐานมาจากการเป็นนักวิจัย การเลือกประเภทสินค้าจึงไม่ค่อยตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งก็ได้ทำให้บริษัทต้องลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง
โดย Legend เริ่มจากการนำเข้าโทรทัศน์สีมาขายแต่ล้มเหลว
จึงเปลี่ยนมาพัฒนานาฬิกาข้อมือดิจิทัล แต่ก็ล้มเหลว
พอเปลี่ยนมาให้บริการตรวจสอบคุณภาพคอมพิวเตอร์ก่อนถึงมือลูกค้า ก็ยังคงล้มเหลว
จนกระทั่ง Legend หันมาลงทุนพัฒนาแผ่นวงจรพิมพ์ หรือ PCB เพื่อให้คอมพิวเตอร์ของ IBM ที่นำเข้ามา ใช้งานเป็นภาษาจีนได้ ซึ่งก็ถือว่าได้ผลตอบรับดี
หลังจากนั้น Legend จึงได้เริ่มนำเข้าคอมพิวเตอร์จากต่างประเทศ แล้วขายระบบภาษาจีนพ่วงด้วย
ทำให้คอมพิวเตอร์ที่บริษัทนำเข้ามา ขายดีมาก ซึ่งนี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนแรกที่สำคัญ เพราะ Legend ได้เริ่มเรียนรู้ความต้องการของตลาด จากการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ
ในเวลาต่อมา Legend จึงต่อยอดกิจการด้วยการไปตั้งบริษัทย่อยที่ฮ่องกง เพื่อผลิตและส่งออก PCB จนกระทั่งในปี 1990 บริษัทก็ได้เริ่มผลิตคอมพิวเตอร์แบรนด์ของตัวเองและสามารถนำบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงได้ในปี 1994
ผลิตภัณฑ์แรก ๆ ของ Legend ที่ประสบความสำเร็จคือเมนเฟรมคอมพิวเตอร์
ก่อนที่บริษัทจะเริ่มผลิตคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและแล็ปท็อปตามมา
จนในที่สุด Legend ก็มีรายได้หลักมาจากการขายคอมพิวเตอร์ที่เป็นแบรนด์ของตัวเองและได้กลายเป็นแบรนด์คอมพิวเตอร์ที่มียอดขายมากที่สุดในประเทศจีน ด้วยส่วนแบ่งตลาดกว่า 43% ในปี 1998
ซึ่งนอกจากการวิจัยพัฒนาคอมพิวเตอร์แล้ว กลยุทธ์ที่ทำให้ Legend ครองตลาดจีนได้ก็คือการขยายช่องทางการจำหน่ายสินค้า เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ได้มากที่สุด รวมถึงการสร้างเครือข่ายและความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวแทนจัดจำหน่าย
หลังจากประสบความสำเร็จในประเทศแล้ว Legend จึงตั้งเป้าหมายใหญ่ขึ้น
ด้วยการก้าวสู่ตลาดโลก ภายใต้การนำของ CEO คนใหม่ที่ชื่อว่า “Yang Yuanqing”
คุณ Yang เริ่มงานที่ Legend ตั้งแต่ตอนที่บริษัทเปิดรับสมัครพนักงานครั้งแรกเมื่อปี 1988 โดยเริ่มจากตำแหน่งพนักงานขาย ซึ่งก็สร้างผลงานได้โดดเด่น จนไปเข้าตาประธานบริษัทอย่างคุณ Liu
คุณ Yang จึงได้เลื่อนขั้นมาเป็นหัวหน้ากลุ่มธุรกิจ PC ในวัยเพียง 29 ปี
ก่อนที่จะรับตำแหน่ง CEO ในปี 2001 ขณะที่อายุ 37 ปี
เพื่อเตรียมก้าวสู่ตลาดโลก Legend จึงรีแบรนด์ในปี 2003 ด้วยการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น “Lenovo” ซึ่งมาจากคำว่า “Le” จากชื่อบริษัทเดิม Legend รวมกับคำว่า “Novo” ที่แปลว่า ใหม่ ในภาษาละติน
ต่อมาในปี 2004 บริษัท IBM ได้ประกาศขายธุรกิจคอมพิวเตอร์
ซึ่ง IBM เป็นบริษัทผู้นำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์จากสหรัฐอเมริกา โดยนับเป็นบริษัทแรก ๆ ในโลกที่เริ่มขาย คอมพิวเตอร์จนมีแล็ปท็อป “ThinkPad” ที่โด่งดัง และครองส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์เป็นอันดับ 3 ของโลกในขณะนั้น เป็นรองจาก Dell และ HP
แต่สาเหตุสำคัญที่ IBM ตัดสินใจขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ เพราะมองว่าเทคโนโลยีเครื่องคอมพิวเตอร์ ถูกคู่แข่งเลียนแบบได้ง่าย แถมยังแข่งกันตัดราคาขาย ทำให้อัตราการทำกำไรต่ำ บริษัทจึงอยากโฟกัสธุรกิจที่สร้างกำไรได้ดี อย่างพวกซอฟต์แวร์และกลุ่มให้บริการ มากกว่า
ที่น่าสนใจก็คือ ทั้งที่ Dell ก็เสนอซื้อเช่นกัน แต่ IBM กลับเลือกขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ให้กับ Lenovo ซึ่งในตอนนั้นยังเป็นบริษัทจากประเทศจีนที่แทบไม่มีคนรู้จัก
โดย IBM ให้เหตุผลว่าตอนนั้นรัฐบาลจีนกำลังผลักดันบริษัทจากจีนให้ได้เติบโตในระดับโลก
IBM จึงตอบสนองความต้องการของรัฐบาลจีน เพื่อเปิดโอกาสให้ IBM เข้าไปบุกตลาดจีนได้ง่ายขึ้น
Lenovo ที่อยากขายสินค้าไปทั่วโลก จึงตกลงซื้อธุรกิจคอมพิวเตอร์ของ IBM ในปี 2005 ด้วยมูลค่า 1.75 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 5.7 หมื่นล้านบาท ซึ่งนับว่าเป็นบริษัทแรก ๆ ของจีน ที่มีดีลการเข้าซื้อกิจการต่างประเทศ
นั่นจึงทำให้ Lenovo ได้โรงงานผลิตคอมพิวเตอร์ของ IBM ที่มีเทคโนโลยีล้ำสมัย ได้ช่องทางการจัดจำหน่ายและฐานลูกค้าทั่วโลก รวมถึงได้ทีมงานจาก IBM ซึ่งทำให้บริษัทมีพนักงานเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว
ที่สำคัญก็คือ ไลน์ผลิตภัณฑ์กลุ่ม “Think” ที่ขายดีที่สุดของ IBM อย่าง ThinkPad ที่เป็นแล็ปท็อป และ ThinkCentre ที่เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ก็จะเปลี่ยนโลโกจาก IBM มาเป็น Lenovo
และนี่คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้ Lenovo ซึ่งแต่เดิมแทบไม่มียอดขายในต่างประเทศเลย สามารถเติบโตแบบก้าวกระโดดจากบริษัทคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก ขึ้นมามีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 3 ของโลก แทนที่ IBM ทันที
นอกจากนี้ การรวมพนักงานนานาชาติของทั้ง 2 บริษัท ทำให้ Lenovo ปรับโครงสร้างกรรมการบริษัทและทีมบริหารให้มีสัดส่วนชาวจีนและอเมริกันเท่า ๆ กัน
อีกมุมที่ Lenovo ให้ความสำคัญไม่แพ้การมีสินค้าขายไปทั่วโลก ก็คือการปรับวัฒนธรรมองค์กร ธรรมาภิบาล รวมถึงมาตรฐานบัญชี ให้มีความเป็นสากล
ยกตัวอย่างเช่น แม้ในตอนนั้นตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงจะกำหนดให้ส่งงบประมาณเพียงปีละ 2 ครั้ง แต่ CFO หญิงผู้วางรากฐานที่สำคัญให้ Lenovo อย่างคุณ Mary Ma เลือกให้บริษัทเปิดเผยงบประมาณปีละ 4 ครั้งเป็นรายไตรมาส ตามมาตรฐานสากล
จากการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ Lenovo จึงเปลี่ยนจากบริษัทท้องถิ่น มาเป็นบริษัทข้ามชาติ
ซึ่งถือได้ว่าเป็นบริษัทข้ามชาติแห่งแรกที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศจีน
แต่หลังจากนั้นไม่นาน Lenovo ก็ต้องเจอความท้าทายครั้งใหญ่ เพราะผลจากวิกฤติการเงินโลกในปี 2008 ทำให้ผลประกอบการปี 2009 ของบริษัทพลิกเป็นขาดทุนมากถึง 7.4 พันล้านบาท
ในปี 2009 คุณ Yang ที่ได้เลื่อนตำแหน่งไปเป็นประธานกรรมการบริษัทในปี 2004 ได้ขอกลับมารับตำแหน่งเป็น CEO อีกครั้งเพื่อนำบริษัทให้กลับมามีกำไร รวมถึงเร่งเพิ่มยอดขายและขยายส่วนแบ่งตลาด ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนสูง แต่คุณ Yang ขอเวลา 4 ปี แล้วค่อยวัดผล
คุณ Yang เริ่มจากการฟื้นฟูตลาดเดิมที่ทำกำไรได้ดีอยู่แล้ว นั่นก็คือ ฐานลูกค้าเดิมจาก IBM อย่าง PC สำหรับลูกค้าองค์กร และฐานลูกค้าเดิมของ Lenovo อย่างตลาดในประเทศจีน
ขณะเดียวกันก็บุกตลาดใหม่ ๆ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตแรงและมีจำนวนประชากรมาก อย่างเช่น อินเดีย เพื่อขยายฐานลูกค้าไม่ให้พึ่งพาชาวจีน มากเกินไป
ซึ่งกลยุทธ์เชิงรุกนี้ช่วยเพิ่มรายได้ได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังต้องแลกกับการทุ่มงบประมาณก้อนใหญ่ เพื่อทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก และทำการตลาดเพื่อกระตุ้นยอดขาย
Lenovo จึงได้เพิ่มไลน์ผลิตภัณฑ์เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่หลากหลายขึ้นนอกเหนือจาก ThinkPad ที่เป็นแล็ปท็อปพรีเมียมราคาสูง อย่างเช่น IdeaPad ที่เป็นแล็ปท็อปราคาเข้าถึงง่าย รวมถึง Yoga ที่ฟังก์ชันการใช้งานเป็นได้ทั้งแล็ปท็อปและแท็บเล็ต
นอกจากนี้ Lenovo ได้เร่งขยายส่วนแบ่งตลาดจากการควบรวมกิจการมากมาย ยกตัวอย่างเช่น
ปี 2011 Lenovo ซื้อบริษัทอิเล็กทรอนิกส์เยอรมันที่ชื่อ Medion ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของ Lenovo ในเยอรมนีเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวทันที และ Lenovo ยังตั้งบริษัทร่วมทุนกับบริษัท NEC ของญี่ปุ่น ทำให้กลายเป็นบริษัท PC ที่ใหญ่สุดในญี่ปุ่น
ปี 2012 Lenovo ซื้อบริษัทคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่สุดในบราซิลที่ชื่อ CCE ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการเจาะตลาดอเมริกาใต้
ปี 2018 Lenovo ซื้อกิจการคอมพิวเตอร์ของ Fujitsu ประเทศญี่ปุ่น
ผลลัพธ์จากแผนงานที่นำทีมโดยคุณ Yang หลังจากวิกฤติการเงินโลก ก็ถือว่าเกินความคาดหมาย
เพราะ Lenovo สามารถเพิ่มสัดส่วนรายได้จากประเทศอื่น ๆ และลดสัดส่วนจากจีนลงได้ จาก 46% ในปี 2010 เหลือเพียง 23% ในปัจจุบัน โดยรายได้ของ Lenovo กว่า 80% ยังมาจากธุรกิจคอมพิวเตอร์
ในด้านของส่วนแบ่งตลาดคอมพิวเตอร์ Lenovo สามารถชนะ Dell จนขึ้นมาเป็นที่ 2 ของโลกได้เป็นครั้งแรกในปี 2011 ก่อนที่จะแซง HP ขึ้นมาเป็นที่ 1 ของโลกในอีก 2 ปีถัดมา และยังครองอันดับ 1 มาจนถึงปัจจุบัน
ความสำเร็จของการปลุกปั้นธุรกิจคอมพิวเตอร์ของ Lenovo ก็ได้ทำให้ คุณ Yang ถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งใน CEO ที่เก่งที่สุดในโลก รวมถึงผู้ก่อตั้งอย่างคุณ Liu ที่ได้รับฉายาว่าเป็น “ไฮเทคฮีโรแห่งประเทศจีน”
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
คุณ Liu Chuanzhi ผู้ก่อตั้ง Lenovo มีลูก 2 คน
หนึ่งในนั้นคือลูกสาวที่ชื่อว่า Liu Qing หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า “Jean Liu”
หลังจากที่ Jean Liu จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และทำงานที่ Goldman Sachs มา 12 ปี
เธอก็ย้ายมารับตำแหน่งเป็น COO ให้กับบริษัทสตาร์ตอัปของจีนที่ชื่อ Didi Dache
เธอมีบทบาทสำคัญในการควบรวมกิจการระหว่าง Didi Dache กับบริษัทคู่แข่งอย่าง Kuaidi Dache ในปี 2015 ที่เปลี่ยนมาใช้ชื่อใหม่เป็น “Didi Chuxing” แอปพลิเคชันเรียกแท็กซี่และส่งอาหารอันดับ 1 ของจีน
ปัจจุบัน เธอดำรงตำแหน่งประธานบริษัท ซึ่งเป็นผู้นำคนสำคัญของ Didi Chuxing ร่วมกับผู้ก่อตั้งอย่างคุณ Cheng Wei ที่ดำรงตำแหน่งเป็น CEO และประธานกรรมการ จนถูกจัดอันดับจากนิตยสาร Time ให้เป็น 1 ใน 100 คน ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกเมื่อปี 2017
ซึ่งก็เรียกได้ว่าลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.economist.com/business/2013/01/12/from-guard-shack-to-global-giant
-https://www.economist.com/business/2001/09/13/legend-in-the-making
-https://www.ft.com/content/2bb25562-4ae0-11d9-a0ca-00000e2511c8
-https://www.cnbc.com/2016/12/01/china-based-lenovos-ride-to-top-spot-of-pc-business.html
-https://www.marketwatch.com/story/why-ibm-selling-server-unit-to-lenovo-is-bad-news-for-hp-1390500250
-https://www.wsj.com/articles/the-worlds-largest-pc-maker-is-no-longer-a-bargain-11550742853
-https://www.theverge.com/2012/1/3/2677691/ex-ibm-ceo-revisits-selling-pc-business-samuel-palmisano
-https://en.wikipedia.org/wiki/Lenovo
-https://en.m.wikipedia.org/wiki/Market_share_of_personal_computer_vendors
-https://investor.lenovo.com/en/financial/results.php
同時也有21部Youtube影片,追蹤數超過120萬的網紅Guy Haru Family,也在其Youtube影片中提到,ในที่สุดทั้ง5คนก็เดินทางมาถึง แหล่งโอโซนที่ดีที่สุด อันดับ7ของโลก นั้นคือ ไร่ทองสมบูรณ์คลับ นี่แค่ภาระกิจแรกในการฝึกเป็นคาวบอยเท่านั้น ทั้งล้มลุก คลุก...
「อันดับ3ของโลก」的推薦目錄:
อันดับ3ของโลก 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
กรณีศึกษา realme แบรนด์สมาร์ตโฟน ที่เติบโตเร็วสุดในโลก
realme X ลงทุนแมน
“โทรศัพท์มือถือ” กับ “กระเป๋าเงิน” ถ้าเลือกได้เพียงอย่างเดียว เราจะพกอะไร ?
ถ้าสำหรับคนรุ่นใหม่ คำตอบส่วนใหญ่คงจะโน้มเอียงไปทางโทรศัพท์มือถือ
เนื่องจากทุกวันนี้ โทรศัพท์มือถือ ไม่ได้เป็นเพียงแค่อุปกรณ์ที่เอาไว้ใช้โทรเข้า-โทรออก
แต่กลับเป็นเหมือนศูนย์กลางที่เชื่อมต่อผู้ใช้งานเข้ากับสิ่งต่าง ๆ อย่างอัจฉริยะ สมกับชื่อสมาร์ตโฟน ที่ใช้เรียกกันในปัจจุบัน
ดังนั้นการที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในตลาดสมาร์ตโฟน
คงไม่สามารถจะพัฒนาอยู่แค่ “สมาร์ตโฟน” เพียงอย่างเดียว
แต่ต้องสร้าง “อีโคซิสเต็ม” ที่เชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ตโฟนขึ้นมาด้วย
ซึ่งหนึ่งในผู้ที่ใช้กลยุทธ์นี้ได้อย่างน่าสนใจก็คือ realme
แบรนด์สมาร์ตโฟนน้องใหม่ ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2018
แต่กลับกลายเป็น แบรนด์สมาร์ตโฟน ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก จนสามารถส่งมอบสมาร์ตโฟนจำนวน 100 ล้านเครื่อง ให้กับผู้ใช้งานทั่วโลกได้ภายในในระยะเวลาเพียง 3 ปีเท่านั้น
นอกจากนี้ ตามรายงานการจัดส่งสมาร์ตโฟนทั่วโลกของ Canalys ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ยังพบว่า realme ติด 1 ใน 5 แบรนด์สมาร์ทโฟนชั้นนำในตลาดประเทศไทยอีกด้วย ถึงแม้ว่าจะกำลังเผชิญกับการระบาดของ COVID 19 ตลอด 2 ปี ก็ตาม ถือเป็นอีกหนึ่งการเติบโตของ realme ประเทศ
เรื่องราวของ realme เป็นอย่างไร ? ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
realme (เรียลมี) เป็นแบรนด์สมาร์ตโฟน ที่จับกลุ่ม “คนรุ่นใหม่”
ก่อตั้งโดย Sky Li ภายใต้แนวคิด Dare to Leap หรือ กล้าที่จะก้าวกระโดด
ซึ่ง realme ก็เรียกได้ว่ามีความกล้าอย่างแท้จริง
เนื่องจากสามารถบุกตลาดสมาร์ตโฟน ที่ก็เรียกได้ว่ามีเจ้าตลาดเดิมครองอยู่ก่อนแล้ว
และก็ใช้เวลาไม่นาน แบ่งเค้กก้อนนี้ออกมาได้บางส่วน
รวมทั้งยังสามารถก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์สมาร์ตโฟน อันดับ 7 ของโลก
ปี 2019 สร้างยอดขายไปได้กว่า 25 ล้านเครื่อง
ปี 2020 สร้างยอดขายไปได้กว่า 42 ล้านเครื่อง
และเมื่อรวมกับตัวเลขของครึ่งปีแรก ของปี 2021
ตอนนี้ realme ก็มียอดการส่งมอบสมาร์ตโฟน ทะลุ 100 ล้านเครื่องเป็นที่เรียบร้อย
ซึ่งถือว่าเป็นแบรนด์ที่ก้าวมาถึงจุดนี้ โดยใช้เวลาน้อยที่สุดในโลกด้วย
แล้วอะไรคือเคล็ดลับความสำเร็จของ realme ?
อย่างที่ได้กล่าวไป realme จับกลุ่มลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่
ดังนั้นสมาร์ตโฟนของ realme จึงเน้นพัฒนาให้มีคุณภาพสูงและล้ำสมัยอยู่ตลอด และยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ AIoT (Artificial Intelligence of Things) ที่สามารถนำมาใช้งานร่วมกันกับสมาร์ตโฟนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมาพร้อมกับดีไซน์ โดดเด่นทันสมัย และในราคาที่คุ้มค่า
ซึ่งเมื่อประกอบทุกอย่างเข้าด้วยกันแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม realme ถึงกลายเป็น แบรนด์ที่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ภายในระยะเวลาไม่นาน
นอกจากนั้นแล้ว ช่องทางการจัดจำหน่ายของ realme ยังเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของแบรนด์ได้เป็นอย่างดี
โดย realme จะมุ่งเน้นไปที่การจัดจำหน่ายแบบออนไลน์ มากกว่าการสร้างร้านค้าขนาดใหญ่
เพื่อลดอุปสรรคในการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคให้เหลือน้อยที่สุด
และนี่ก็น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ realme สามารถขยายตลาดไปได้อย่างรวดเร็ว เจาะได้มากถึง 61 ตลาดทั่วโลก โดยติด 5 อันดับแรกในตลาดมากถึง 13 แห่ง
อันดับ 1 ในตลาดฟิลิปปินส์และบังคลาเทศ
อันดับ 4 ในตลาดอินเดียและรัสเซีย
และอันดับ 5 ในตลาดภูมิภาคยุโรป
อย่างไรก็ตาม การที่จะออกแบบสินค้าและสร้างสรรค์บริการให้ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ได้
แน่นอนว่าทีมงานผู้อยู่เบื้องหลัง ย่อมต้องเป็นคนรุ่นใหม่ เหมือน ๆ กัน
ซึ่งพนักงานของ realme ก็เป็นคนรุ่นใหม่ ที่มีความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์และตลาดเป็นอย่างดี
ที่สำคัญพวกเขายังมีความเชื่อมั่นอันแรงกล้า จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร ที่สร้างความเป็นผู้นำให้กับพนักงาน ช่วยให้กล้าตัดสินใจ และเกิดการพัฒนาศักยภาพของตัวเองอยู่เสมอ
แล้วก้าวต่อไปของ realme คืออะไร ?
แน่นอนว่า realme ไม่ได้จะหยุดอยู่ที่ความสำเร็จเพียงเท่านี้
โดยบริษัทได้ตั้งเป้าการส่งมอบสมาร์ตโฟน ให้ได้ถึง 300 ล้านเครื่อง ภายในอีก 3 ปีข้างหน้า
ซึ่งการที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ realme ก็ได้วางกลยุทธ์เอาไว้ 2 ประการ
เริ่มจากการขยายตลาดไปยังกลุ่มลูกค้าระดับกลาง-สูง ด้วยผลิตภัณฑ์เรือธง หรือ GT Series ซึ่งได้รับการขนานนามว่า เป็นสมาร์ตโฟน realme ที่ดีที่สุด
อย่าง realme GT 5G ก็ถือเป็นสมาร์ตโฟนเครื่องแรก ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android 12 Beta 1 และซิปเซตล้ำสมัย Snapdragon 888 5G
เสริมด้วยหน้าจอที่ลื่นไหล ซึ่งมีอัตราการรีเฟรช 120Hz
เทคโนโลยีการชาร์จที่รวดเร็ว แบตเตอรี่เต็มภายในเวลา 35 นาที
รวมถึงการออกแบบ ที่ได้รับความร่วมมือจากดีไซเนอร์ระดับโลก Naoto Fukasawa
แม้ว่าจะมีการใช้เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างจัดเต็ม แต่ realme ก็ยังคงรักษาราคาให้อยู่ในระดับที่เข้าถึงได้
ซึ่งสำหรับประเทศไทย สมาร์ตโฟน GT Series นี้ก็เพิ่งเปิดตัวไปในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
ต่อมาก็คือ การเจาะไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้งานให้มากขึ้น ผ่านกลยุทธ์ “1+5+T”
โดย 5 หมายถึง หมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ AIoT ของ realme
ประกอบด้วย True Wireless Stereo, อุปกรณ์สวมใส่, โทรทัศน์, ลำโพงอัจฉริยะ และแล็ปท็อป
ส่วน T ย่อมาจาก TechLife ซึ่งเป็นการค้นหาพาร์ตเนอร์ ที่มีนวัตกรรมล้ำสมัยจากทั่วโลก เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพทางเทคโนโลยี โดยเน้นไปที่สินค้า 3 หมวดหลัก ๆ ได้แก่ Smart Entertainment, Smart Care และ Smart Connect
ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องสอดคล้องกัน ทั้งดีไซน์และมาตรฐานคุณภาพ
โดยที่เครือข่ายการเชื่อมต่อทุกอย่าง จะมารวมกันอยู่ในแอปพลิเคชัน realme Link บนสมาร์ตโฟนของ realme ซึ่งเป็นที่มาของ “1” ในกลยุทธ์นี้
หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ สมาร์ตโฟน realme จะเป็นศูนย์กลาง ที่รวมอีโคซิสเต็ม AIot ทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกันนั่นเอง
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ เราก็คงจะเห็นแล้วว่า
การเริ่มต้นจากแบรนด์เล็ก ๆ จนก้าวมาสู่ความสำเร็จในเวลาอันรวดเร็ว
นอกจากจะอาศัยกลยุทธ์ที่แข็งแกร่งแล้ว
realme ยังมี ‘ความกล้า’ อยู่ในสัญชาตญาณของตัวเองมาโดยตลอด
กล้าเสี่ยง กล้าตัดสินใจ กล้าเผชิญกับอุปสรรค และกล้าที่จะเป็นตัวของตัวเอง
และในเมื่อ ‘ความกล้า’ สามารถทำให้ realme ประสบความสำเร็จได้ คุณก็สามารถทำได้เช่นกัน
โดยที่ผ่านมา realme ประเทศไทย ได้จัดงาน realme Empower The Next Gen’ Fan Festival อย่างเต็มรูปแบบในไทยมาแล้ว โดยชวนคนรุ่นใหม่ NEXT GEN มาปลดปล่อยความกล้าและความสามารถบนเวทีทั้งด้าน E-Sport การเเข่งขันเต้น ออกแบบเเฟชั่นดีไซน์ รวมถึงกิจกรรมประกวดถ่ายรูปสุดสร้างสรรค์ ตามสโลแกนของแบรนด์อย่าง ‘Dear to Leap’ กล้าที่จะกระโดดและกระโดดไปให้ไกลกว่าจุดที่ยืน
ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง และมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนอย่างมาก
มาปีนี้ realme กลับมาอีกครั้ง เลยอยากชวนคนรุ่นใหม่ไฟแรง ที่กล้าจะแสดงออก ยืนหยัดในการเป็นตัวของตัวเอง มาร่วมกันในแคมเปญ How Dare You Be You
โดยถ่ายภาพ พร้อมบอกเล่าเรื่องราวความกล้าของตัวเองผ่านโซเชียลมีเดีย
ซึ่งหากเรื่องราวผู้กล้าคนไหนโดนใจ ก็จะถูกคัดเลือกนำไปโปรโมต ในปารีส ลอนดอน และบาร์เซโลนา
สำหรับผู้กล้าที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเพจ realmeTH
ไม่แน่ว่า อาจจะกลายเป็น 1 ใน 100 ล้านแฟนคลับของ realme ที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในความกล้าให้กับคนอีกหลายล้านคนก็เป็นได้..
Reference:
-https://www.counterpointresearch.com/global-smartphone-share/
อันดับ3ของโลก 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
รู้จัก Flipkart แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อันดับ 1 ของอินเดีย /โดย ลงทุนแมน
ประเทศอินเดีย มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 6 ของโลก และมีจำนวนประชากรกว่า 1.3 พันล้านคน ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศจีน
พอเป็นเช่นนี้ หนึ่งในธุรกิจที่น่าจะได้ประโยชน์จากขนาดเศรษฐกิจและฐานผู้บริโภคดังกล่าว ในโลกยุคที่กิจกรรมหลายอย่างอยู่บนโลกออนไลน์ ก็คงหนีไม่พ้น “อีคอมเมิร์ซ”
รู้ไหมว่าในปัจจุบัน ผู้ที่ครองตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย ไม่ใช่บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติ
แต่เป็นสตาร์ตอัปจากท้องถิ่น ชื่อว่า “Flipkart”
อะไรที่ทำให้ Flipkart ดำเนินธุรกิจได้อย่างแข็งแกร่ง
แล้วใครเป็นเจ้าของบริษัทนี้ ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Flipkart เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าออนไลน์จากประเทศอินเดีย
เปิดให้บริการเมื่อปี 2007 หรือ 14 ปีที่แล้ว
ผู้ก่อตั้งบริษัท คือ คุณ Sachin Bansal และคุณ Binny Bansal
ซึ่งต้องบอกว่า ทั้งคู่ไม่ได้เป็นพี่น้องกัน
แค่บังเอิญนามสกุลเหมือนกัน เรียนมหาวิทยาลัยเดียวกัน และเคยทำงานที่ Amazon.com ด้วยกัน..
ต่อมา พวกเขาเล็งเห็นโอกาสการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซในอินเดีย
จึงตัดสินใจลาออกมาร่วมกันก่อตั้ง Flipkart
เริ่มแรก Flipkart ขายหนังสือออนไลน์ คล้ายกับ Amazon.com
เนื่องจากขณะนั้น ผู้ขายสินค้าประเภทอื่น ๆ ยังไม่ค่อยสนใจช่องทางจำหน่ายทางออนไลน์สักเท่าไร เพราะมองว่าคนอินเดียส่วนใหญ่ ไม่คุ้นเคยกับการสั่งของออนไลน์
ต่อมา Flipkart ก็ได้พยายามพัฒนารูปแบบบริการ ที่จะจูงใจให้คนหันมาซื้อขายหนังสือออนไลน์มากขึ้น
เช่น มีบริการจัดส่งทั่วประเทศ และรับจ่ายเป็นเงินสดตอนส่งมอบ
ทำให้ Flipkart เริ่มมีชื่อเสียงติดตลาด จนบริษัทสามารถระดมทุนจากนักลงทุน Venture Capital ได้เป็นครั้งแรก ในปี 2009
พอมีเงินทุนในมือและเป็นที่รู้จัก Flipkart จึงวางแผนเพิ่มประเภทสินค้าบนแพลตฟอร์ม โดยเฉพาะสินค้ายอดนิยม อย่างเช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเสื้อผ้าแฟชั่น
ซึ่งวิธีที่บริษัทใช้ขยายธุรกิจ คือ การเข้าซื้อกิจการที่มีฐานลูกค้าออนไลน์อยู่แล้ว หรือมีบริการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มของ Flipkart ได้ทันที
ตัวอย่างกิจการที่ Flipkart เข้าซื้อ
- ปี 2010 ซื้อ WeRead ธุรกิจฐานข้อมูล และสังคมออนไลน์เกี่ยวกับหนังสือ
- ปี 2012 ซื้อ Letsbuy แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 5,500 ล้านบาท
- ปี 2014 ซื้อ Myntra แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าแฟชั่น มูลค่า 9,200 ล้านบาท
- ปี 2016 ซื้อ Jabong แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสินค้าแฟชั่น มูลค่า 2,300 ล้านบาท
- ปี 2016 ซื้อ PhonePe ธุรกิจระบบชำระเงินออนไลน์
รวมทั้ง ได้ร่วมเป็นพันธมิตรกับแบรนด์ชื่อดัง เพื่อสิทธิ์นำเข้าสินค้ามาจำหน่ายในอินเดียแต่เพียงผู้เดียว
เช่น จับมือกับ Motorola และ Xiaomi วางขายสมาร์ตโฟนบางรุ่น เฉพาะที่ Flipkart เท่านั้น
นอกจากนั้น Flipkart ยังมีการจัดแคมเปนในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี เรียกว่า “Big Billion Days” ซึ่งมีการเสนอดีลลดราคามากมาย เพื่อกระตุ้นยอดขายสินค้าออนไลน์
แล้วปัจจุบัน Flipkart ใหญ่แค่ไหนในอินเดีย ?
ตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย มีผู้เล่นที่แข่งขันกันดุเดือด 2 ราย คือ Flipkart และ Amazon.com บริษัทยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา ที่เข้ามาทำตลาด ตั้งแต่ปี 2013
เรามาลองดูส่วนแบ่งตลาดอีคอมเมิร์ซปัจจุบันในอินเดีย
Flipkart ส่วนแบ่งตลาด 31.9%
Amazon.com ส่วนแบ่งตลาด 31.2%
จะเห็นได้ว่า Flipkart ครองตลาดเหนือ Amazon อยู่เล็กน้อย
ซึ่งความจริงแล้ว ถ้านับรวม Myntra และ Jabong ที่มีแพลตฟอร์มแยกต่างหากด้วย ธุรกิจในเครือของ Flipkart จะมีส่วนแบ่งตลาดรวม 38.3%
ทีนี้ลองมาดูการเติบโตของรายได้ของ Flipkart
(บริษัทมีรอบบัญชีที่เริ่มต้นจาก 1 เมษายน ถึง 31 มีนาคม ปีถัดไป)
ปี 2016 รายได้ 58,331 ล้านบาท
ปี 2018 รายได้ 96,000 ล้านบาท
ปี 2020 รายได้ 153,000 ล้านบาท
สรุปได้ว่า ในวันนี้ Flipkart เป็นผู้นำตลาดอีคอมเมิร์ซของอินเดีย ที่มียอดขายระดับแสนล้านไปแล้ว
และก็คงต้องบอกว่า บริษัทยังมีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก
เพราะขณะนี้ แม้ชาวอินเดียเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตประมาณ 776 ล้านคน แต่ก็คิดเป็นแค่ราว 57% ของจำนวนประชากร ซึ่งค่อนข้างต่ำ ถ้าเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
อีกทั้งในแง่ของพฤติกรรมผู้บริโภคนั้น เมื่อปี 2019 ยอดขายอีคอมเมิร์ซ มีสัดส่วนเพียง 4.7% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด พูดง่าย ๆ คือ คนอินเดียส่วนใหญ่ยังนิยมซื้อของที่หน้าร้าน
ที่น่าสนใจคือช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียมีนโยบายชื่อว่า Digital India ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะสนับสนุนธุรกิจบนโลกออนไลน์มากขึ้น
จึงมีการคาดการณ์ว่า ในปี 2024 ยอดขายอีคอมเมิร์ซ จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็น 10.7% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด
แนวโน้มที่น่าสนใจนี้ ทำให้ธุรกิจ Flipkart ไปเข้าตา “Walmart” บริษัทเจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกัน
โดย Walmart ได้เข้าซื้อหุ้นของ Flipkart ในสัดส่วน 77% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 5.3 แสนล้านบาท เมื่อปี 2018 และมีการซื้อเพิ่มเป็น 82.1% ในเวลาต่อมา
นอกจากนั้น ยังมีบริษัทชื่อดังอีกหลายราย เข้ามาลงทุนใน Flipkart ด้วย ยกตัวอย่างเช่น
Tencent ถือหุ้น 5.1%, Microsoft ถือหุ้น 1.5% รวมไปถึง SoftBank Group ที่เคยถือหุ้นถึง 20% ก่อนที่จะตกลงขายไปให้กับ Walmart
ทั้งนี้ในการระดมทุนรอบล่าสุด เมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา
Flipkart ถูกประเมินมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 37,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท
และมีการคาดการณ์ว่า บริษัทเตรียมจะจดทะเบียน IPO เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงปลายปีนี้
ซึ่งอาจทำให้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท
เรื่องราวนี้คงเป็นแนวคิดที่ดีสำหรับการทำธุรกิจออนไลน์ว่า
ในบางตลาดที่คนอาจยังไม่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี แทนที่พฤติกรรมที่ปฏิบัติมาอย่างยาวนาน
เราคงต้องเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อน แล้วคอยปรับบริการให้เหมาะสม และขยับขยายเมื่อผู้บริโภคมีความพร้อม
เหมือนในกรณีของ Flipkart ที่เริ่มจากการขายหนังสือออนไลน์ ก่อนเข้าซื้อกิจการสินค้าประเภทอื่น ที่มั่นใจว่ามีลูกค้าใช้งานแพลตฟอร์มจริง ๆ ที่ทำให้ Flipkart ค่อย ๆ เป็นอาณาจักรอีคอมเมิร์ซที่ยิ่งใหญ่ของอินเดียในที่สุด..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://businesbsinspection.com.bd/history-and-rise-of-flipkart/
-https://www.bbc.com/news/business-57815431
-https://en.wikipedia.org/wiki/Binny_Bansal
-https://entrackr.com/2020/10/festive-sale-first-week-processed-gmv-worth-4-1-bn/
-https://www.statista.com/statistics/1053314/india-flipkart-revenue/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Flipkart
-https://www.ibef.org/industry/indian-retail-industry-analysis-presentation
อันดับ3ของโลก 在 Guy Haru Family Youtube 的最佳貼文
ในที่สุดทั้ง5คนก็เดินทางมาถึง แหล่งโอโซนที่ดีที่สุด อันดับ7ของโลก นั้นคือ ไร่ทองสมบูรณ์คลับ นี่แค่ภาระกิจแรกในการฝึกเป็นคาวบอยเท่านั้น ทั้งล้มลุก คลุกคลาน หัวทิ่มไม่เป็นท่า ดูสิ จะผ่านกันไปได้มั้ย...มาเป็นกำลังใจให้กับทั้ง5คนได้ในกุมารทราเวลซีซั่นใหม่กันนะพี่ๆ
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
ติดตามสามยอดกุมารและบ้านเราได้ที่
? FANPAGE
https://www.facebook.com/guyharufamily/
?GHF SHOP
Blanket (ผ้าห่ม) : https://bit.ly/3hVtbjF
Bucket Hat (หมวกบัคเก็ต) : https://bit.ly/32VuV8m
สามารถสั่งซื้อได้ทาง Inbox Fanpage ได้เลย
?LINE Sticker
https://line.me/S/sticker/7067566
?สนใจติดต่อโฆษณา :
E-mail : guyharufamily@gmail.com
⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀⠀
#guyharufamily #กุมารTravel #3ยอดกุมาร #คิรีน #ไนร่า #เอเดน #suprakobkids #kirinsuprakob #nyrasuprakob #adensuprakob #ไร่ทองสมบรูณ์คลับเขาใหญ่
อันดับ3ของโลก 在 Bundit Ungrangsee บัณฑิต อึ้งรังษี Youtube 的最佳解答
ทำไมแอปเปิ้ลถึงได้สร้างรายได้มหาศาล กลายเป็นบริษัทอันดับ 1 อันดับ 2 ของโลก ภายในเวลาไม่กี่ปี คุณคิดดูบริษัทกำลังจะเจ๊งไปสักพักนึงแล้วด้วย
=====
▼ ติดตามผมออนไลน์ได้ที่นี่:
► Youtube: http://bit.ly/ตามผมที่นี่ได้ครับ
► Facebook: https://www.facebook.com/BunditUngrangsee
► Instagram: https://www.instagram.com/bundit.official/
► Line@Bundit: http://line.me/ti/p/%40mdl4971x
► Website: http://bundit.org/
=====
▼ สนใจผลงานต่างๆ ราคาพิเศษ มาได้ที inbox page:
► Facebook: https://www.facebook.com/BunditUngran...
=====
▼ สนใจผลงาน ในรูปแบบต่างๆ ได้ที่:
► หนังสือ (Books): http://bundit.org/product-category/product/book/
► หนังสือเสียง (Audiobooks): http://bundit.org/product-category/product/audio-books/
► ดนตรี (Musics): http://bundit.org/product-category/all-music/
► คอร์สัมมนา (Grand Box Set) ในรูปแบบ VDO: http://bundit.org/product-category/grand-box-set-seminar/
► ฟังความรู้ออนไลน์ (iAudio course): http://online.bundit.org/
► คอร์สเรียนออนไล์ (iSeminar): http://bundit.org/product-category/seminar/online/
► Website: http://bundit.org/
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
OFFICE : 026892459
TEL&LINE ID : 0990031550 คุณนู
TEL&LINE ID : 0613898855 คุณพิตต้า
TEL&LINE ID : 0982501221 คุณหญิง
==============================
#มีProductหลายๆLevel #ทำให้ลูกค้าต้องซื้อคุณตลอด #จงเป็นผู้เชี่ยวชาญ
อันดับ3ของโลก 在 CarDebuts Youtube 的精選貼文
Great Wall Motors (GWM) เล็งส่ง Haval (ฮาวาล) ขึ้นเป็นแบรนด์ SUV อันดับ 1 ของโลก ภายใน 5 ปี พร้อมเผยจุดขายทำไมคนไทยต้องเลือกซื้อ Haval SUV
รถ SUV (Sport Utility Vehicle) กำลังกลายเป็นเมกะเทรนด์ทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ด้วยไลฟ์สไตล์ และรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้รูปแบบความนิยม ในการขับรถเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย โดยรถ SUV นับได้ว่า เป็นรถที่ตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น ได้มากที่สุดในยุคนี้ ดังจะเห็นได้จากจำนวนของรถ SUV ที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด บนท้องถนนในเมืองไทยและต่างประเทศ โดยในประเทศไทย มียอดขายรวมของรถ SUV (ซึ่งรวมถึง PPV) ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ภายในระยะเวลาสามปีที่ผ่านมา สูงถึง 30% โดยในปี พ.ศ. 2562 มียอดขาย SUV อยู่ที่ 125,593 คัน สอดคล้องกับเทรนด์การใช้งานรถ SUV ทั่วโลก ที่เพิ่มขึ้นจาก 35 ล้านคันในปี พ.ศ. 2553 สู่ 200 ล้านคัน ในปี พ.ศ. 2562 หรือเติบโตกว่า 471%
เกรท วอลล์ มอเตอร์ (GWM) เล็งเห็นถึงความสำคัญ ของเทรนด์การใช้ชีวิตของผู้คน ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงพัฒนารถยนต์และเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ให้ได้มากที่สุด และหนึ่งในนั้นก็คือ การสร้างแบรนด์รถ SUV อย่าง HAVAL (ฮาวาล) ที่ครองใจผู้ใช้รถ จนสามารถขึ้นแท่นเป็นแบรนด์รถ SUV อันดับ 1 ของประเทศจีน ติดต่อกัน ถึง 88 เดือน (ข้อมูลอัปเดต ก.ย. 63) และกลายเป็น Top 3 แบรนด์รถ SUV ระดับโลก พร้อมยอดขายทะลุ 5 ล้านคันทั่วโลก ในปีที่ผ่านมา