“เล่าเรื่องในอดีต : 7 ปีนักกีฬาทุนมวยสากลฯของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์"
สิทธิกร (เรืองศักดิ์) ศักดิ์แสง
หลังจากเรียนจบ ม.6 แบบทุลักทุเล (แก้ 0 หลายวิชา เพราะไม่เรียนหนังสือ ชอบเที่ยวโดยเฉพาะการเข้าป่ากับเพื่อนๆ) เข้าเรียนต่อที่มหาวิทาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะนิติศาสตร์ โควต้า นักกีฬาทุนมวยสากลสมัครเล่น (ไม่ต้องเสียค่าเทอม แต่ค่าใช้จ่ายอื่น ค่าที่พัก ค่ากิน ค่าใช้อื่นๆในการเรียนต้องจัดการเอง) (ผลงานมวยสากลในระดับโรงเรียน แชมป์กีฬาจังหวัด เหรียญทองแดงเยาวชนแห่งชาติ รุ่นเปเปอร์เวท (42 ก.ก.)
ปีแรก ปี 2536 ผมเข้าแข่งขันกีฬามหาลัยแห่งประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าภาพ มวยสากลสมัครเล่นแข่งที่ มาบุญครอง ผมต่อยในรุ่นพินเวท 100 ปอนด์ (45 ก.ก.) ผมได้เหรียญทอง เหรียญเดียวของทีมมวยสากลฯ ม.ธุรกิจ ต่อย 4 ครั้ง ในรอบชิงผมชิงกับ มหาลัยแม่โจ้ ผมชนะคะแนนน กลับมามหาลัยได้เสื้อสามารถของมหาลัยในปีนั้น ทางมหาลัยให้เงินรางวัลด้วย อาจารย์ ผู้บริหารของมหาลัยได้รู้จักผมโดยเฉพาะ ท่านอาจารย์ไสว สุทธิพิทักษ์ (ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อดีตเลขาเสรีไทย สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2) ท่านได้มอบรางวัลและเสื้อสามารถให้กับผมด้วย รู้สึกเป็นเกียรติกับผมเป็นอย่างมาก
ปีที่ 2 ปี 2537 แข่งที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ผมต่อยในรุ่นพินเวท ต่อย 4 ครั้ง ได้เหรียญทอง แต่ในครั้งนี้ อุปสรรคมาก ในรอบแรกผมต่อยชนะ (อดีตแชมป์เยาวชนแห่งชาติและผมเคยพ่ายแพ้เขาในรอบรองชนะเลิศกีฬาเยาวชนแห่งชาติใน ปี 2535) และผมชนะแก้มือได้ ในรอบรองชนะเลิศ ผมต่อยกับเจ้าภาพธรรมศาสตร์ ในยกที่ 2 ต่อยโดนหัวเขารู้สึกเจ็บกระดูกข้อมือด้านขวาขึ้นมา และที่สำคัญผมถนัดขวาด้วย ยกที่ 3 ผมต้องต่อยหมัดซ้ายอย่างเดียวและเขาเดินต่อยไม่หยุด แต่ก็ชนะได้ ในรอบชิงชนะเลิศผมต้องพันผ้าแล้วต้องฉีดสเปรย์ให้มือข้างขวาให้มันในเวลาขึ้นชก ผมชิงกับ ม.เกริก นักมวยสโมสรกองทัพอากาศ ผมชนะน๊อคยกแรกไม่ถึง 10 วินาที ของยกแรก ด้วยการชก 3 หมัด ทิ้งซ้ายหน้า พร้อมอัปคัตซ้าย และต่อยขวาตรงปลายคาง ร่วงสลบ นับว่าเป็นการโชคดีที่ไม่ยืดเยื้ออันตรายกับผม (ครั้งนี้ผมได้รับบาดเจ็บจากการชกมวย คือ กระดูกข้อมือนิ้วโป้ง ขวาแตกต้องเข้าเฝือก)ในปีนั้นผมก็ได้รับเสื้อสามารถของมหาลัยอีก ชื่อเสียงผมในมหาลัยและระดับประเทศในกีฬามวยสากลรู้จักผม ในระดับสโมสรชวนไปอยู่แข่งให้กับสโมสร ในการชิงแชมป์ประเทศไทย แข่งกีฬาแข่งกีฬาแห่งชาติ แต่ผมก็ปฏิเสธ
อนึ่งกองเชียร์ของผมที่สำคัญทีมรักบี้ของมหาลัย
ปี 3 ปี 2538 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นเจ้าภาพ เป็นปีที่รุ่งเรืองของผม ผมชนะได้เหรียญทอง 3 ปีติดต่อกัน ชนะพระนครเหนือ ไม่มีนักกีฬามวยสากลสมัครในระดับกีฬามหาลัยแห่งประเทศไทย ในขณะนั้นทำได้ ผมเป็นคนแรก ได้รับรางวัลจากมหาลัย เงิน สร้อยคอ เกียรติบัตร เสื้อสามารถ
ปีที่ 4 ปี 2539 ความพ่ายแพ้ครั้งแรก มวยสากลสมัครเล่นกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ด้วยการแพ้คะแนน กับนักมวยทีมชาติชุด บี จากพระนครเหนือ ในรอบรองชนะเลิศ ในปีนั้นได้แค่เหรียญทองแดง รู้สึกเสียใจ แต่สิ่งที่ดีใจ คือ สอบเข้าเรียนต่อ ป.โท ได้และได้รับทุนกีฬามวยต่อ
ปีที่ 5 ในปี 2540 เรียน ป.โท ปีแรก และผมก็ได้ทำงานที่ ทบวงมหาวิทยาลัย กองบริการการศึกษา (ปัจจุบัน คือ สกอ.) ผมได้มีโอกาสได้แก้มือ ในรอบชิงเหรียญทองกับพระนครเหนือทีมชาติ ชุดบี และผมก็ชนะแก้มือได้ และได้ถูกเรียกตัวเก็บตัวทีมชาติ เพื่อคัดตัวไปแข่งซีเกมส์ที่บรูไนท์ และผมก็สละสิทธิ์ เพราะต้องการมีเวลาเรียน ป.โท รวมทั้งลาออกจากงานด้วย
ปีที่ 6 2541 เรียนป.โท ปีที่ 2 แข่งที่เกษตศาสตร์ กำแพงแสน ความพ่ายแพ้ในกีฬามวยสากลระดับมหาลัย ก็เกิดกับผมอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ รับไม่ได้ โดยแพ้ในรอบรองชนะเลิศให้กับ ทรงศักดิ์ แก่นท้าว (เหรียญทองซีเกมส์ 5 สมัย) คือ ต่อยไปคะแนนไม่ขึ้น แพ้แบบสูสี ได้ทำการประท้วงแต่ก็ไร้ผล รู้เสียใจมากและที่สำคัญในครั้งนี้ได้ซ้อมและเตรียมตัวดีมากกว่าทุกครั้ง
ปีที่ 7 ปี 2542 ป.โท ปี 3 ปีสุดท้ายที่สามารถแข่งให้กับมหาลัยและแข่งกีฬามหาลัยแห่งประเทศไทย ตามที่กำหนดไว้ ไว้ คือ ป.ตรี ไม่เกิน 4 ปี ป.โท ไม่เกิน 3 ปี ในปีนี้ ผมลงแข่ง 3 รายการ ชิงแชมป์ประเทศไทย กีฬาแห่งชาติและกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย แต่ผมเน้นมุ่งให้ความสำคัญกับ กีฬามหาลัยแห่งประเทศไทย
-กีฬาแห่งขาติ
เริ่มต้นกีฬาแห่งชาติ เกาะแก้วเกมส์ ที่ระยองเจ้าภาพ ผมต่อยให้เขต 3 สุรินทร์ คือ ไปคัดเพื่อเป็นตัวแทนเขต 3 สุรินทร์ ผมคัดชนะแชมป์เก่า เขต 3 อุบลที่ได้เหรียญทองกีฬาแห่งชาติที่ จังหวัดตรัง เมื่อปีก่อน ผมไปคัดแทบไม่ได้ซ้อมเลย แต่จังหวะมันให้ผมเลยชนะ เป็นตัวแทนเขต 3 และผมได้ตกลงกับสุรินทร์ ว่าได้เหรียญทองขอ 50,000 บาท ถ้าเหรียญรางวัลอื่นไม่ขอรับ ส่วนการซ้อมค่าทีพัก ดำเนินการเอง และในครั้งนี้ผมรับผิดชอบหมด และ ผมได้เข้าชิงเหรียญทองกับ แก้ว พงษ์ประยูร (อดีตเหรียญเงินโอลิมปิค) ลงแข่งให้เขต 6 เพชรบูรณ์ และก็ชนะได้เหรียญทอง (ผมลงแข่งครั้งเดียวกีฬาแห่งชาติ)
- ชิงแชมป์ระเทศไทย
ผมลงแข่งในนามสโมสรโอสถสภา โดยคนทำทีม พี่กบ ฐากูร ผ่องสุภากับครูผ่อง ทวี อัมพรมหา (ข่าวผ่อง สิทธิชูชัย) ในครั้งนั้นผมแทบไม่ได้ซ่อมสักเท่าไหร่ ชนะถึงรอบรองชนะเลิศ มี 4 คน คือ ผม ทรงศักดิ์ แก่นท้าว (สโมสรกองทัพอากาศ) แก้ว พงษ์ประยูร (สโมสรกองทัพภาคที่ 3) และ ไสว ไกรศรี (สโมสรกองทัพบก) ทั้ง 3 คน เก็บตัวให้กับทีมชาติทั้งหมด นอกจากผม ในรอบรองชนะเลิศผมแพ้ ทรงศักดิ์ แก่นท้าว ซึ่งใน 2 ยกแรกต่อยสู้ผมไม่ได้เลย แต่ยก 3 โดนต่อยท้องช๊อตครับเรียบร้อยตัวแข็งทื่อหนีไม่ออก แต่พอลงมาจากเวที ทรงศักดิ์ แก่นท้าว ยอมรับในฝีมือการต่อยของผม ว่าในประเทศในเวลานี้ไม่มีใครสู้ผมได้ ถ้าผมมีร่างกายที่สมบูรณ์ และทรงศักดิ์ แก่นท้าว ก็แพ้ในรอบชิงให้กับ ไสว ไกรศรี ที่ชนะ แก้ว พงษ์ประยูร ในรอบรอง (ผมลงแข่งชิงแชมป์ประเทศไทย 2 ครั้ง ครั้งแรก ถอนตัวในรอบที่ 3 ไม่สบาย ครั้งที่2 แพ้รอบรอง)
- กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และเป็นครั้งสุดท้ายของผมและตั้งใจที่จะเลิกต่อยมวยสากลด้วยผมจึงตั้งใจซ้อมเต็มที่ ในรอบแรกเจอของแข็ง เลยกับอดีตแชมป์เยาวชนแห่งชาติ ของเกษตรศาสตร์ แต่ก็ชนะแบบสบาย ในรอบที่ 2 รอบ 16 คน ต่อยชนะสบาย รอบทึ่ 3 รอบ 8 คนก็ไม่เหนื่อย แต่ในรอบรองชนะเลิศ เจอของหนักแชมป์ประเทศไทย ไสว ไกรศรี แข่งให้ม.ศรีปทุม และผมชนะ ในรอบชิง ผมต่อยกับแชมป์เยาวชนแห่งชาติ ของพระนครเหนือเขามีความสด เรามีความเก๋า สูสีมากและชนะด้วยหมัดสุดท้ายและผมก็ได้รับชัยชนะมวยสากลสมัครในครั้งสุดท้าย (กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย 7 ครั้ง ได้ 5 เหรียญทอง 2 เหรียญทองแดง)
สรุป ผมต่อยสากลครั้งแรกชนะและครั้งสุดท้ายชนะ ในระยะ 12 ปี 2530-2542
「อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์」的推薦目錄:
- 關於อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
- 關於อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 在 BeamSensei Facebook 的最佳解答
- 關於อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
- 關於อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 在 สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ TU Senate - Facebook 的評價
- 關於อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 在 รีวิวชีวิตการเป็นอาจารย์ที่ธรรมศาสตร์ - YouTube 的評價
อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 在 BeamSensei Facebook 的最佳解答
หนังสือเล่มแรกในชีวิตของบีมค่ะ 😍😍😍
ตีพิมพ์แล้ว ขายวันแรกวันนี้ !!! 😎📚📚📚
*เหมาะกับทุกคนที่เรียนญี่ปุ่นชั้นต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นนักเรียนม.ปลาย*
“Lecture สรุปเข้มญี่ปุ่น ม.ปลาย” สำนักพิมพ์ Ganbatte 🇯🇵
เขียนโดยบีมจาก BeamSensei และอิซากะ บันทึกภาษาไทยของผม !!!
ราคา 239.- บาท 💰
ซื้อได้ที่ร้านหนังสือทั่วไปหรือทางออนไลน์ รายละเอียดเข้าไปดูกันก่อนทางนี้เลย >>> 📚
https://www.ganbattebook.com/books/detail/630/
*ไม่ใช่แค่สำหรับนักเรียนม.ปลายเท่านั้น เหมาะสำหรับใครก็ได้ที่เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นจบแล้ว หรือกำลังเรียนอยู่ ไว้อ่านทบทวนกัน มีทั้งสรุปคำช่วย - ไวยากรณ์ – คำศัพท์เลยค่ะ 🥰
มีทั้งเปรียบเทียบเรื่องที่ชวนสับสน วิธีการใช้ ประโยคตัวอย่างเยอะมากๆ
อะไรที่บีมคิดว่าตอนบีมเรียนแล้วบีมไม่มั่นใจ บีมจับมาใส่หมดเลย
ลองคิดว่าถ้าเป็นตัวเองแล้วอยากจะอ่านหนังสือสรุปแบบไหน
แล้วจินตนาการก็ออกมาเป็นเล่มนี้ค่ะ !
--------------------------------------------
จริงๆแล้วบีมไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า หนังสือเล่มแรกของบีมจะเป็นวิชาการแบบนี้เลยนะ 555
คิดไว้ว่าจะเป็นเรื่องของตัวเองฟรุ้งฟริ้งมุ้งมิ้งง่ะ ✨
ขอเล่าความหลังก่อนจะออกมาเป็นเล่มนี้ให้ฟังก่อนนะคะ T^T
บีมไม่เคยบอกในเพจเลยว่าเขียนหนังสืออยู่ จริงๆบีมแอบทำมา 2 ปีแล้วแหละ ตั้งแต่ 2018 ปลายๆปี
คือว่าบีมก็มีงานอื่นๆต้องทำด้วย เลยต้องแบ่งเวลาหนักมากๆ ชีวิตบีมวนอยู่แค่ ไปญี่ปุ่น กลับมาเขียนหนังสือๆๆๆแบบนี้ตลอดเกือบสองปี กว่าจะสำเร็จได้ แก้แล้วแก้อีกแก้แล้วแก้อีก ใช้เวลานานมากๆเลย จนได้งอกออกมาให้ทุกคนได้ซื้อกันค่ะ 🌻
ในโอกาสที่หนังสือออกขายเป็นวันแรกวันนี้
ก่อนอื่นเลยบีมมีคนที่บีมอยากขอบคุณมากมายเลยค่ะ
🍁【สำนักพิมพ์ Ganbatte】
ขอบคุณมากๆที่มอบโอกาสให้ บีมได้เขียนหนังสือเล่มแรกในชีวิต
ปล.ตั้งแต่เริ่มเขียนยันหนังสือออก ยังไม่เคยไปสำนักพิมพ์เลยเนี่ย 555
🍁【อาจารย์ ดร.ปิยะนุช วิริเยนะวัตร์】
ขอบพระคุณอาจารย์ปิยะนุชเป็นอย่างสูง ที่เป็นผู้ตรวจทานเนื้อหาให้หนังสือเล่มนี้
รวมถึงคำชี้แนะต่างๆค่ะ
(อาจารย์ ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
🍁【อิซากะ】
ถ้าไม่มีอิซากะ เล่มนี้ก็งอกไม่ออกแน่ๆ ฮ่าๆๆๆ เพราะว่าเป็นหนังสือที่เราทำด้วยกันไง บีมตั้งใจจะเขียนร่วมกับเจ้าของภาษา ขอบคุณนะที่ช่วยกันเขียนมันออกมา
ผลงานของเราสองคนออกมาวางขายครั้งแรกของโลกแล้วแหละ แงๆๆดีใจจัง
(ระหว่างช่วงที่เขียนตบตีกันไปหลายรอบเลย555+)
🍁【น้องหนูดี】
น้องหนูดี บก.ประจำเล่มนี้ ถึงแม้เราจะยังไม่เคยเจอกัน ขอบคุณน้องมากที่อดทนกับพี่ เดี๋ยวแก้ เดี๋ยวนู่น เดี๋ยวนี่ เดี๋ยวนั่น แต่น้องไม่บ่นเลย ประทับใจ
🍁【พี่แตม】
จุดเริ่มต้นของหนังสือเล่มนี้ก็คือพี่แตม ไม่อยากเชื่อว่าจะได้ทำงานกับรุ่นพี่ที่สนิทกันตอนเป็นเด็กประถม อะเมซิ่งมาก ขอบพระคุณที่มอบหมายและไว้วางใจให้หนูทำนะคะ
🍁【ตัวเอง】
สุดท้ายนี้ขอบคุณตัวเองที่ไม่ย่อท้อนะ ได้ประสบการณ์ใหม่ในชีวิตมากมาย ขอให้ขายดีนะ
---------------------------------------------------------------
ช่วยอุดหนุนหนังสือเล่มนี้ของพวกเรากันด้วยนะคะ !!!!!!!!
ช่วยทำให้ติด best seller ที !!!
BeamSensei
อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
การเดินทางพบอาจารย์เพื่อขอคำชี้แนะในการเขียนผลงานทางวิชาการเพื่อใช้ในการเรียนการสอน
ผมได้ลาราชการ วันที่ 8 -10 มิถุนายน 2563 และขอไปราชการ วันที่ 11 -18 มิถุนายน 2563 เพื่อไปหาอาจารย์ศึกษาหาความรู้นอกห้องเรียนและไม่สามารถศึกษาได้ในตำรา แต่สามารถหาได้ จากประสบการณ์ของอาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านการเขียนผลงานทางวิชาการ เพื่อขอคำชี้แนะนำไปปรับใช้กับชีวิตนักวิชาการ และไปศึกษาค้นคว้าในห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ห้องสมุดเหล่านี้มาหนังสือ/ตำราให้เราค้นคว้าในการเขียนหนังสือ/ตำราทางกฎหมายมหาชนเป็นอย่างดี
วันที่ 8 มิถุนายน 2563 เดินทางไปธรรมศาสตร์ ขอคำชี้แนะจากอาจารย์ 2 ท่าน ดังนี้
ท่านที่ 1 ขอคำชี้แนะ จาก ศาสตราจารย์ ดร. อุดม รัฐอมฤต
อาจารย์คนแรก ที่ผมไปหาเช้าวันจันทร์ ที่ 8 มิถุนายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กับคำคำชี้แนะ การเขียนหนังสือ ตำรา งานวิจัย
มองจุดเสริมเพิ่มเติมการเขียน เนื้อหาในเชิงอรรถ และการให้งานมันดีคุณภาพ ต้องพยายามหัดเขียน ข้อความที่สรุปได้ และกระชับ ใช้คำที่เข้าใจง่าย ที่ทุกคนเข้าใจ
และการเขียนหนังสือ ตำรา แบบคิดรวบยอด และสิ่งหนึ่งเป็นสิ่งที่ควรพัฒนา คือ ภาษา หารประสบการณ์ ความรู้หลักสูตรอบรม หรือประกาศนียบัตรก็ควรหมั่นศึกษาเพิ่มเติมนะเพื่อพัฒนาตนเองให้มีมุมมองที่กว้างยิ่งขึ้น และการพบปะผู้คนที่มีประสบการณ์ละเรื่อง สามารถนำไปปรับใช้ในงานของตนเองได้ และสามารถที่มีองค์ความรู้ที่จะถ่ายทอดต่อคนรุ่นต่อ ๆ ไป ได้ จากคำชี้แนะของอาจารย์ ทำให้มีความคิดมุ่งที่จะตอบตอบโจทก์ คือ
1. ทำอย่างไร เขียนอย่างไร ให้คนอ่านเข้าใจง่ายในหนังสือตำรา
2.การเขียนเนื้อหาในหนังสือ ตำรา ต้องเขียนให้ครบถ้วนในเรื่องนั้นๆ อะไรที่เขียนในเชิงอรรถถ้ามันสำคัญเอามาใส่ในเนื้อหาเสีย มันจะช่วยให้คนอ่านเข้าใจง่ายกว่าอยู่เชิงอรรถ แต่ไม่สำคัญหรือจำเป็นแต่เราอยากให้คนอื่นอ่านสามารถเขื่อมโยงเนื้อหาได้ก็ใส่ในเชิงอรรถ ได้ เหมือนเดิม
3. การพัฒนาด้วยการศึกษาหลักสูตรระยะสั้น ต่างๆ ที่เป็นศาสตร์ต่อยอดควรศึกษา เพื่อประโยชน์ความรู้ พบปะผู้คนที่มีประสบการณ์ละเรื่อง สามารถนำไปปรับใช้ในงานของตนเองได้
ท่านที่ 2 ช่วงบ่าย 8 มิถุนายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สนทนากับอาจารย์ ในฐานะรุ่นพี่ คนชุมพรบ้านเดียวกัน ผศ.ธีระ สุธีวรางกูร ในบทสนาเรื่องนิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริงกับนิติศาสตร์เชิงคุณค่า ถ้าเปรียบเทียบสำนักคิดกฎหมายนิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริงอิทธิพลสำนักกฎหมายปฏิฐานนิยมตัวชูโรง ส่วนนิติศาสตร์เชิงคุณค่ามีสำนักกฎหมายธรรมชาติตัวชูโรง การสนทนาทำให้ผมมีมุมมองความคิดเพิ่มขึ้นและควรให้ความสำคัญกับนิติศาสตร์เชิงคุณค่าให้มากขึ้น ว่าเราควรมองกึ่งกลางระหว่างนิติศาสตร์เชิงคุณค่ากับนิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริงหรืออาจเป็นการหลอมรวมกัน
วันที่ 9 มิถุนายน 2563 เดินทางพบอาจารย์ขอคำชี้แนะ 2 ท่านดังนี้
ขอคำชี้แนะ ศ.พิเศษ ดร.กมลชัย รัตนสกาววงศ์
9 มิถุนายน 2563
เช้า 9 โมง ไปบ้าน ศ.(พิเศษ) กมลชัย รัตนสกาววงศ์ แถวแยกแคราย นนทบุรี ท่านอาจารย์มีข้อคิดที่ลึกซึ้ง มีองค์ความรู้ในหลักคิดวิธีคิดในทางกฎหมายปกครอง เป็นอย่างมาก เป็นผู้ยกร่างพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 ทำให้ทราบถึงแนวคิดปรัชญาของกฎหมายจะมีความแตกต่างไปจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง 2542
เช่น “กฎ” ถึงแม้จะเขียนเหมือนกันอธิบายเหมือกันแต่วัตถุประสงค์ของกฎหมายต่างกัน
“กฎ” ในวิธีปฏิบัติฯ เป็นการเขียนอธิบายว่า “กฎ” คือ พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น ที่เป็นการทั่วไปไม่เฉพาะเพาะเจาะจง เหล่านี้จะไม่อยู่ใน พรบ.วิธีปฏิบัติฯ เป็นการเตะออกไป
ส่วน “กฎ” ในพรบ.จัดตั้งศาลที่เขียนเหมือนกันกับวิธีปฏิบัติฯ เพื่อไม่ให้ขัดแย้งกันและเขียนเพื่อให้ศาลได้ตีความขยายความไปอีก เป็นแค่ตัวอย่างให้เห็นว่า “กฎ” คือ แบบนี้แบบนั้น
อีกเรื่องหนึ่ง คือ คำนิยามของกฎหมาย นั้น คือ การเขียนเพื่อให้รู้ ไอนั่น ไอนี่ คือ อะไร มันไม่ได้ตายตัว มันมีเลยคำอยู่ 2 คือ คำว่า “หมายถึง” กับ คำว่า “หมายความรวมถึง” 2 คำนี้จะมีความแตกต่างกัน
คำว่า “หมายถึง” เป็นการอธิบายประโยค หรือ จำกัดความ
คำว่า “หมายความรวมถึง” เป็นการเขียนเพื่ออธิบายกว้างๆ เพราะในอนาคตเราไม่สามารถคาดการณ์ได้ สามารถให้ศาลใช้ ตีความกฎหมาย หรือที่เรียกว่า สร้างหลักกฎหมายได้
และที่สำคัญงานวิจัยเกี่ยวกับสถานะและลำดับชั้นของพระราชกฤษฎีกาก็มาจากการชี้แนะวิธีคิดของอาจารย์ เมื่อได้ทำงานวิจันก็นำงานวิจัย มามอบให้กับอาจารย์ ขอคำชี้แนะจากอาจารย์อีกครั้ง เพื่อที่จะต่อยอดงานวิจัย บูรณาการงานวิจัยสู่การเรียนการสอนพัฒนาเป็นหนังสือต่อไป
ขอคำชี้แนะ ศาจารย์ ดร.คณิต ณ นคร
ได้สนทนากับอาจารย์หลายๆเรื่อง แต่ที่จำได้และอยู่ในความคิดผมอยู่เสมอ
เรื่อง “จริยธรรความเป็นครูนักกฎหมาย”
อาจารย์เล่าว่า สมัยที่ท่านสอนพิเศษที่จุฬาฯ ให้นักศึกษาทำรายงานและเขียนในคำนำรายงานของนักศึกษาน่าสนใจว่า
“ขณะที่ผู้เขียนกำลังทำรายงานฉบับนี้ได้มีปัญหาเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นในบ้านเมือง ครูบาอาจารย์หลายท่านทำให้ผู้เขียนท้อถอยในการศึกษา เพราะรู้สึกว่าการศึกษากฎหมายที่สูงขึ้นไม่อาจปทำให้เกิดให้ความถูกต้องในจิตใจสูงขึ้นตามไปด้วย”
ประโยคนี้อาจารย์ท่านบอกว่า นักศึกษาได้กล่าวถึงการทำหน้าที่ของครูกฎหมายบางคนที่ใช้ความรู้ด้านกฎหมายใช้ในทางเพื่อประโยชน์ตนเอง เป็นการกระทำที่ผิดหลักศีลธรรมของกฎหมาย
อาจารย์ บอกว่า ทำให้อาจารย์ต้องเตือนตนเองเสมอว่า “คงไม่มีอะไรที่เลวร้ายสำหรับการเป็น “อาจารย์ผู้สอนกฎหมาย” เท่ากับความไม่เคารพนับถือของนินิตนักศึกษา”
เรื่อง “จริยธรรมครูกฎหมาย” ที่อาจารย์ คณิต ณ นคร เล่าให้ผมฟังนี้ ทำให้ผมคิดและเตือนตนเองอยู่เสมอ ว่าไม่ควรนำความรู้ของตนเองไปเพื่อประโยชน์ตนเอง ในการ
กระทำที่ผิดศีลธรรม
เรื่องที่ 2 การกระทำทางกฎหมาย
อาจารย์คณิต ณ นคร กล่าวว่า การกระทำทางกฎหมาย นั้นมีอยู่ 3 ประการ คือ
1.การกระทำทางรัฐบาล (Regieungsakt/Government Act) เป็นเรื่องนโยบาย
2. การกระทำทางบริหาร (Verwaltungsakt/Administrative Act) เป็นเรื่องของฝ่ายบริหาร
3.การกระทำในทางยุติธรรม (Justizakt/Justice Act) เป็นการกระทำในคดีของผู้พิพากษาหรือตุลาการและการกระทำในคดีของอัยการ
อาจารย์ อธิบายต่อว่าการกระทำหน้าที่ขององค์กรต่างๆ นักกฎหมายไทยดูยังจะแยกแยะไม่ออกระหว่าง “การกระทำทางรัฐบาล” กับ “การกระทำในทางปกครอง” และ การกระทำในทางยุติธรรม”
“การกระทำทางในทางปกครอง” หากมีความผิดพลาดใดๆ เกิดขึ้น กรณีก็จะนำไปสู่ศาลปกครอง ส่วน “การกระทำทางรัฐบาล” เป็นเรื่องนโยบาย จึงไม่มีการเยียวยาทางศาล เพราะเป็นเรื่องการเมือง หากเกิดผิดพลาดในเรื่อง “นโยบาย” ก็จะมีผลกระทบต่อรัฐบาลในการเลือกตั้งในครั้งต่อไป นี่คือรากฐานของระบอบประชาธิปไตยที่สังคมไทยเราใฝ่หา
ในประเด็นนี้ ผมได้สนทนาแลกเปลี่ยนความคิด ในเรื่อง “การกระทำทางกฎหมาย” กับอาจารย์ ว่า คำว่า “กฎหมาย” ในความหมายของรัฐธรรมนูญ คือ กฎหมายในระดับกฎหมายบัญญัติ รวมไปถึงกฎหมายลำดับรอง
ดังนั้น การกระทำทางนิติบัญญัติ การกระทำทางตุลาการ การกระทำทางบริหาร ทั้ง 3 การกระทำเหล่านี้ ใช้อำนาจกระทำทางกฎหมาย หรือไม่
1. การกระทำทางนิติบัญญัติ ถิอ เป็นกระทำทางรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอำนาจในการตรากฎหมาย ถือว่าไม่ใช่การกระทำทางกฎหมาย (อาจารย์เห็นด้วยกับผมว่าถูกต้อง)
2. การกระทำทางบริหาร แยก ออกมาได้ 2 ลักษณะ คือ
1) การใช้อำนาจทางรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการกระทำทางนโยบาย หรือ เรียกว่า การกระทำทางรัฐบาล ถือ ว่าไม่ใช่การกระทำทางกฎหมาย
(ในกรณีนี้ อาจารย์ คณิต ณ นคร เห็นว่าเป็นการกระทำทางกฎหมาย แต่ผมคิดไปอีกแบบว่า การใช้อำนาจฝ่ายบริหารในฐานะรัฐบาล มีอยู่ ได้ 2 ลักษณะ คือ ลักษณะที่ 1 การกระทางนโยบายตามรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่การกระทำทางปกครอง เป็นกระทำทางรัฐบาล ลักษณะที่ 2 การทำทางตามกฎหมาย เช่น มติคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจตามกฎหมาย ถือเป็นการกระทำทางปกครอง)
2) การใช้อำนาจทางบริหาร อาจารย์คณิต ณ นคร เรียกว่า “การกระทำในทางบริหาร” เป็นการกระทำที่ใช้อำนาจตามกฎหมายระดับกฎหมายบัญญัติ และกฎหมายลำดับรอง แยกออก 2 ลักษณะ
(1) การกระทำในทางปกครอง ที่ใช้อำนาจทางปกครอง กรณีนี้ขึ้นสู่ศาลปกครอง ยกเว้น การกระทำทางปกครอง บางประเภทที่กฎหมายกำหนดไม่ให้อยู่ในศาลปกครอง (กรณีนี้อาจารย์ คณิต ณ นคร บอกว่า กฎหมายไทยไม่จะถูกต้อง ควรอยู่ในอำนาจศาลปกครอง)
(2) การกระทางกฎหมายที่ไม่ได้ใช้อำนาจทางปกครอง เช่น ปฏิบัติการทางปกครอง (การกระทำทางกายภาพ) การกระทำทางอาญา (ในกรณีนี้อาจารย์บอกว่า เป็นการกระทำทางกฎหมายปกครอง ควรอยู่ในอำนาจศาลปกครองเช่นกัน)
3) การใช้อำนาจตุลาการ รวมไปถึงการทำของอัยการ เป็นการกระทำที่ใช้อำนาจตามกฎหมาย ในกระบวนการยุติธรรม การพิจารณาคดี
สุดท้าย อาจารย์ คณิต ณ นคร ได้สรุปว่า แม้ท่านไม่ใช่นักกฎหมายปกครอง เป็นนักกฎหมายอาญา แต่ท่านได้ศึกษากฎหมายปกครองเพื่อที่สามารถพูดคุยกับหลานชายของท่านเรียนกฎหมายที่ธรรมศาสตร์ จึงต้องศึกษากฎหมายปกครองด้วย ในมุมมองของท่าน กล่าวถึงการศึกษากฎหมายปกครอง ของประเทศไทยเรา มี อยู่ 2 ค่าย คือ ค่ายฝรั่งเศส กับค่ายเยอรมัน ซึ่งในประเทศฝรั่งเศส กฎหมายปกครองมาจากการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ คือ วิวัฒนาการมาจากที่ปรึกษาแห่งรัฐ วิวัฒนาการด้วยคำพิพากษาศาลปกครอง แต่ในประเทศเยอรมันกฎหมายปกครองเกิดขึ้นจาการบัญญัติเป็นกฎหมายในลักษณะของกฎหมายเทคนิค การใช้การตีความกฎหมาย ซึ่งประเทศไทยเราก็ “กฎหมายปกครองเกิดขึ้นจากการบัญญัติขึ้นมา” เช่นเดียวกับประเทศเยอรมัน เราควรนำแนวทางกฎหมายปกครองเยอรมันมาใช้น่าจะเหมาะสมกว่า และให้ผมได้ไปศึกษาให้ลึกซึ้งเพื่อหาเหตุผล เขียนกฎหมายปกครองให้กระจ่างชัดต่อไป
วันที่ 11 มิถุนายน 2563
ขอคำชี้แนะจาก ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
วันที่ วันพฤหัสที่ 11 มิถุนายน 2563 ขอคำชี้แนะจาก ศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในเรื่องของการเขียนผลงานทางวิชาการอย่างไรให้มีคุณภาพที่สามารถขอตำแหน่งศาสตราจารย์ได้ ท่านอาจารย์แนะนำว่า
1. เขียนตำรา/ หนังสือ ต้องเป็นสาขาวิชาที่เราขอตำแหน่งทางวิชาการโดยตรง เพื่อที่จะไม่ให้ก่อให้เกิดปัญกาการตีความในภายหลังที่ต้องทำหนังสือชี้แจง จะทำให้เราเสียเวลาและเสียความรู้สึก
2.การเขียนหนังสือ/ ตำรา ควรจะต้องมีข้อมูลต่างประเทศมาศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วย จะทำให้งานของมีคุณภาพมากขึ้น
3.ข้อมูลงานวิจัยเราสามารถนำมาเขียนในหนังสือ/ตำราได้ แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่มาจากการศึกษาในระดับหลักสูตรของตน เช่น วิทยานิพนธ์ นำมาเขียนเป็นหนังสือ/ตำรา ไม่ได้ อาจถือเป็นหนึ่งของการศึกษาที่ไม่อาจนำมาเขียนเป็นหนังสือ/ตำราได้
อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 在 รีวิวชีวิตการเป็นอาจารย์ที่ธรรมศาสตร์ - YouTube 的推薦與評價
อยากมาแชร์ให้ทุกคนฟังว่าการเป็น อาจารย์ มันส์ขนาดไหน ... นักศักษา ยาม มม ที่มหาลัย ข่าวเมาท์ต่างๆที่เราเจอ รวมถึงเหตุผลว่าทำไมลาออกจ้าา ... ... <看更多>
อาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 在 สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ TU Senate - Facebook 的推薦與評價
สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ TU Senate, Amphoe Khlong Luang. 978 likes · 1 was here. สภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2563. ... <看更多>