เส้นทางพายุ “โกนเซิน” 5 โมงเย็นที่ผ่านมาครับ
*ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
พายุโซนร้อนกำลังแรง “โกนเซิน”
ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 11 กันยายน 2564
เมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้ (11 ก.ย. 64) พายุโซนร้อนกำลังแรง “โกนเซิน” บริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 145 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม หรืออยู่ที่ละติจูด 15.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
และกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็วประมาณ 13 กม./ชม. คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองดานัง ประเทศเวียดนามในวันพรุ่งนี้ (12 ก.ย. 64) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงตามลำดับ
ในขณะที่ร่องมรสุมกำลังแรง พาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้
พื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้
วันที่ 12 กันยายน 2564 บริเวณที่มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคตะวันออก: จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด
วันที่ 13 กันยายน 2564 บริเวณที่มีฝนตกหนักบางแห่ง
ภาคเหนือ: จังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร พิษณุโลก ตาก และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดนครพนม สกลนคร มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี และกาญจนบุรี
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด
อนึ่ง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร และอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน
ควรงดออกจากฝั่ง จนถึงวันที่ 14 กันยายน 2564
จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 17.00 น.
อุตรดิตถ์ 24 ชั่วโมง 在 Drama-addict Facebook 的最讚貼文
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ได้คาดการณ์ปริมาณฝนตก (ONE MAP) ร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และตรวจสอบพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ของกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรธรณี พบว่าในช่วงวันที่ 12-16 กันยายน 2564 มีพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังอุทกภัย ดังนี้
เฝ้าระวังน้ำหลาก ดินถล่ม บริเวณภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา อำนาจเจริญ มุกดาหาร และอุบลราชธานี ภาคตะวันตก จังหวัดกาญจนบุรี ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้ จังหวัดระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต และกระบี่
เฝ้าระวังระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นล้นทางระบายน้ำล้น ส่งผลกระทบพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำ ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำแม่มอก จังหวัดลำปาง อ่างเก็บน้ำมูลบน ลำพระเพลิง และลำแชะ จังหวัดนครราชสีมา อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และประแสร์ จังหวัดระยอง และอ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา จังหวัดปราจีนบุรี และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 54 แห่ง ประกอบด้วย ภาคเหนือ จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำสันหนอง ห้วยช้าง แม่ค่อม แม่ไฮ แม่ต่ำ แม่เรียง น้ำแหง ห้วยลึก และแม่ท้อ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 26 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำสวย น้ำเลย ห้วยทรายขมิ้น ห้วยส้มป่อย น้ำพรม แก่งเลิงจาน หนองบ่อ ห้วยส้มโฮง ห้วยกะเบา ห้วยหินลับ ห้วยไร่ ห้วยทา ห้วยขาหน้า ห้วยถ้ำแข้ ห้วยเดือนห้า ห้วยโดน ห้วยละมืด ลำตะโคง ห้วยใหญ่ ลำเชียงสา บ้านสันกำแพง ห้วยบะอีแตน ลำเชียงไกรตอนบน ลำเชียงไกรตอนล่าง หนองกก ห้วยเพลียก ภาคตะวันออก จำนวน 16 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำศาลทราย ห้วยตู้ ทับลาน คลองระโอก เขาระกำ บ้านมะนาว ด่านชุมพล วังปลาหมอ คลองสะพานหิน ห้วยชัน ท่ากะบาก คลองเกลือ ช่องกล่ำล่าง คลองส้มป่อย คลองสีเสียด และคลองวังบอน ภาคใต้ จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยไทร คลองหยา และบางเหนียวดำ
เฝ้าระวังระดับน้ำในลำน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นล้นตลิ่ง และท่วมขังบริเวณที่ลุ่มต่ำ
3.1 ภาคเหนือ บริเวณแม่น้ำน่าน จังหวัดน่าน และจังหวัดอุตรดิตถ์ แม่น้ำยม จังหวัดแพร่ และสุโขทัย แม่น้ำเข็ก และแม่น้ำแควน้อย จังหวัดพิษณุโลก แม่น้ำป่าสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ แม่น้ำสะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี แม่น้ำปิง คลองวังเจ้า และคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร
3.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณแม่น้ำพอง แม่น้ำเลย จังหวัดเลย แม่น้ำชี ช่วงอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ และแม่น้ำมูล ช่วงอำเภอพิมาย และลำเชียงไกร อำเภอโนนไทย โนนสูง จังหวัดนครราชสีมา แม่น้ำยัง จังหวัดร้อยเอ็ด
3.3 ภาคกลาง บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท สิงห์บุรี และอ่างทอง แม่น้ำน้อย และคลองโผงเผง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
3.4 ภาคตะวันออก บริเวณแม่น้ำปราจีนบุรี อำเภอเมือง และอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
เฝ้าระวังแม่น้ำโขง บริเวณจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างฉับพลัน
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง บริเวณพื้นที่จุดเสี่ยงและพื้นที่ที่ยังคงสถานการณ์น้ำท่วมขังอยู่
ปรับแผนบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 หรือเกณฑ์ควบคุมสูงสุด (Upper Rule Curve) ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ พร้อมพิจารณาบริหารจัดการเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำ และบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำและรองรับน้ำหลาก และเร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ สำหรับคลองชายทะเลให้พร่องน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 30 เพื่อรองรับฝนตกหนักในพื้นที่และน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน
หากเกิดน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ใด ให้พิจารณาปรับลดการระบายน้ำอ่างเก็บน้ำต่างๆ ให้มากที่สุด และใช้อาคารชลศาสตร์จัดจราจรน้ำ เพื่อลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัย และเร่งระบายน้ำเพื่อให้สถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว
ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงและความสามารถใช้งานของอ่างเก็บน้ำ อาคารบังคับน้ำ และติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเตรียมความพร้อมรับน้ำหลาก ป้องกันน้ำท่วม ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เตรียมแผนเผชิญเหตุรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนได้ทันที
ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้าให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์
ประกาศ ณ วันที่ 11 กันยายน 2564. – สำนักข่าวไทย
อุตรดิตถ์ 24 ชั่วโมง 在 Facebook 的精選貼文
บขส.กลับมาเปิดบริการ 1 กย.นี้ 26 เส้นทางครับ
#ร่วมแรงร่วมใจฝ่ามหันตภัยโควิด
#บขส.พร้อมเปิดให้บริการเดินรถเส้นทางภาคเหนือ-อิสาน-ใต้ รวม 26 เส้นทาง 1 กันยายนนี้ ย้ำคุมเข้มความปลอดภัย ทั้งพนักงาน รถโดยสาร และสถานีขนส่งฯ ตามมาตรการป้องกันโควิด-19 อย่างเคร่งครัด
ดร.สัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (2019) มีมติเห็นชอบมาตรการผ่อนคลายเพื่อป้องกันและควบคุมโควิด-19 ตามระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร โดยยังคงพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด ไว้เช่นเดิม และให้คงมาตรการทางสังคม เช่น การห้ามออกนอกเคหะสถานในเวลา 21.00 - 04.00 น. และในส่วนของการเดินทางข้ามจังหวัดจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ให้ระบบขนส่งสาธารณะจำกัดจำนวนผู้โดยสาร ไม่เกิน 75% นั้น
ในส่วน บขส. ตนได้สั่งการไปยังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้ง ฝ่ายธุรกิจเดินรถ และฝ่ายบริหารการเดินรถ เตรียมความพร้อมของรถโดยสาร พนักงาน และสถานีขนส่งฯ ให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงคมนาคมและกรมการขนส่งทางบก เพื่อให้พร้อมเปิดให้บริการประชาชน ในวันที่ 1 กันยายนที่จะถึงนี้
สำหรับเส้นทางที่จะเปิดให้บริการ ประกอบด้วย เส้นทางภาคเหนือ จำนวน 8 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ – คลองลาน, กรุงเทพฯ – หล่มเก่า, กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ (ข), กรุงเทพฯ – ทุ่งช้าง, กรุงเทพฯ – อุตรดิตถ์, กรุงเทพฯ – แม่สอด , กรุงเทพฯ – แม่สาย และกรุงเทพฯ - ป่าแดด – เชียงของ
เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก จำนวน 10 เส้นทาง ประกอบด้วย กรุงเทพฯ – หนองบัวลำภู, กรุงเทพฯ – นครพนม, กรุงเทพฯ - เลย – เชียงคาน, กรุงเทพฯ – สุรินทร์, กรุงเทพฯ – บุรีรัมย์, กรุงเทพฯ – อุบลราชธานี, กรุงเทพฯ – มุกดาหาร, กรุงเทพฯ – รัตนบุรี, กรุงเทพฯ - จันทบุรี – ตราด และกรุงเทพฯ - สระบุรี
เส้นทางภาคใต้ จำนวน 8 เส้นทาง ประกอบด้วย เส้นทางกรุงเทพฯ (หมอชิต 2) - ตะกั่วป่า – โคกกลอย, กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – ภูเก็ต, กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – กระบี่, กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) - ตรัง – สตูล, กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – เกาะสมุย, กรุงเทพฯ (หมอชิต 2) – หาดใหญ่, กรุงเทพฯ – สงขลา และ กรุงเทพฯ – สุไหงโกลก
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ ขอความร่วมมือผู้ใช้บริการ ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุข D-M-H-T-T-A อาทิ เว้นระยะระหว่างกัน , หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น , สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา , ล้างมือบ่อย ๆ , ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชันไทยชนะ กรณีไม่สามารถใช้แอปพลิเคชันได้ สามารถกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด และหากเคยไปในพื้นที่เสี่ยง หรือสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลในกลุ่มเสี่ยง ขอให้ใช้มาตรการกักตนเอง (Self-quarantine) อย่างเคร่งครัด เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ในวงกว้าง
นอกจากนี้ผู้ใช้บริการสามารถจองตั๋วล่วงหน้าเดินทางกับ บขส. ได้ ผ่าน website บขส. https://tcl99web.transport.co.th/Home , ร้าน 7-Eleven เคาน์เตอร์เซอวิส ทุกสาขา หรือตัวแทนจำหน่ายตั๋วของ บขส. และสามารถชำระค่าโดยสาร บขส. โดยใช้สิทธิ์โครงการคนละครี่ง ผ่านแอปพลิเคชัน “เป๋าตังค์” ได้ โดยสิทธิ์ดังกล่าวไม่สามารถใช้กับการจองตั๋วล่วงหน้าได้ และไม่สามารถยกเลิก/คืน/เปลี่ยนแปลงตั๋วได้ทุกกรณี สอบถามข้อมูลการเดินทางเพิ่มเติม ได้ที่ ช่องจำหน่ายตั๋วรถโดยสารของ บขส. ทั่วประเทศ และ Call Center1490 เรียก บขส. ตลอด 24 ชั่วโมง