BREAKING: จีนเจอปัญหา ขาดแคลนไฟฟ้าหนัก กระทบการส่งมอบ สินค้าทั่วโลก
จีนกำลังเจอกับวิกฤติด้านพลังงาน ที่ทำให้ประเทศขาดแคลนไฟฟ้า และส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมการผลิต และระบบซัปพลายเชนทั้งระบบ เนื่องจากจีนเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้ารายใหญ่ที่สุดของโลก
ซึ่งปัญหาดังกล่าวมีต้นตอมาจาก 2 ปัจจัยหลัก ๆ คือ
1) ทางการจีนต้องการลดมลพิษภายในประเทศ จึงได้ออกคำสั่งให้ 20 มณฑลของจีน จะต้องถูกตัดไฟบางส่วน เพื่อลดการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นต้นเหตุของการสร้างมลพิษ
พร้อมกับขอให้ประชาชนช่วยกันประหยัดไฟ และลดการใช้ไฟฟ้า
ซึ่งพื้นที่ดังกล่าว ที่ถูกสั่งให้ตัดไฟฟ้าบางส่วน ครอบคลุม GDP มากกว่า 66% ของประเทศ
และมาตรการนี้ ยังมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงงานผลิตสิ่งทอ, โรงงานอะลูมิเนียม
2) ราคาถ่านหินที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทำให้ต้นทุนการผลิตพลังงานไฟฟ้าสูงขึ้น โดยส่วนหนึ่งก็เพราะปัญหาที่จีนกับออสเตรเลียมีข้อพิพาทระหว่างกัน ซึ่งเดิมออสเตรเลียเคยส่งออกถ่านหินให้จีนเป็นจำนวนมาก แต่ในตอนนี้จีนต้องพยายามจัดหาถ่านหินจากแหล่งอื่นแทน
ในขณะที่หน่วยงานกำกับดูแลด้านราคาไฟฟ้าของจีน ก็มีการควบคุมค่าไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนและธุรกิจ ให้อยู่ในระดับต่ำ จึงทำให้โรงงานไฟฟ้าขึ้นราคาได้ไม่มาก
จนทำให้โรงงานไฟฟ้าประสบปัญหาขาดทุนในทุก ๆ หน่วยไฟฟ้าที่ผลิตออกมาได้
พอเรื่องเป็นแบบนี้จึงทำให้โรงงานไฟฟ้าเลือกที่จะชะลอการผลิตไฟฟ้า ซึ่งสวนทางกับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลกที่ต้องการสินค้าจากจีนในช่วงนี้
และนั่นก็เป็นที่มาของการขาดแคลนไฟฟ้าในประเทศจีนตอนนี้
ซึ่งถ้าถามว่า พลังงานไฟฟ้าจากการเผาถ่านหิน สำคัญกับจีนมากแค่ไหน ?
ก็ตอบได้เลยว่า คิดเป็นการผลิตพลังงาน 2 ใน 3 ของพลังงานที่จีนใช้ทั้งประเทศ..
ดังนั้น เรื่องนี้จึงกลายเป็นวิกฤติครั้งใหญ่ของจีน ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
เพราะมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมเสื้อผ้า, สิ่งทอ และของเล่น จะได้รับผลกระทบหนัก เนื่องจากในช่วงปลายปีนี้ เป็นฤดูแห่งการช็อปปิง
ซึ่งตามปกติแล้ว ตอนนี้ก็ควรมีการเร่งการผลิต เพื่อให้ผลิตสินค้าได้ทันเวลา และเพียงพอต่อความต้องการ
นอกจากนี้ ผลกระทบของวิกฤติขาดแคลนไฟฟ้านี้ ยังลามไปถึงโรงงานที่ผลิตสินค้าให้กับบริษัทระดับโลก อย่าง Apple และ Tesla ด้วย
โดยเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ได้มีข่าวออกมาว่า ลูกค้าที่สั่งจอง iPhone 13 กับทาง Apple อาจต้องรอนานกว่า 1 เดือน
เนื่องจากติดปัญหาในระบบซัปพลายเชน ซึ่งส่วนหนึ่งก็มาจากโรงงานในจีน ที่ลดกำลังการผลิตลง ตามมาตรการของทางการจีน ที่ต้องการลดมลพิษ
ทั้งนี้ ด้านผู้ผลิตในจีน ได้ออกมาเตือนว่ามาตรการที่เข้มงวดดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
เพราะพื้นที่แค่ 3 มณฑล ซึ่งได้รับผลกระทบต่อมาตรการดังกล่าว เช่น เจียงซู, เจ้อเจียง และกวางตุ้ง รวมกัน
ก็คิดเป็นเกือบ 1 ใน 3 ของ GDP ทั้งประเทศแล้ว
นอกจากนี้ การลดกำลังการผลิตของโรงงานในจีน จะทำให้ร้านค้าหลายแห่งทั่วโลก มีปัญหาในการจัดการสินค้าในสต็อก ทำให้ของขาดตลาด และอาจทำให้สินค้าแพงขึ้น จนเกิดเงินเฟ้อได้
ซึ่ง ณ ตอนนี้ ตลาดโลกก็จะเริ่มรู้สึกถึงการขาดแคลนสินค้าต่าง ๆ ตั้งแต่สิ่งทอ, ของเล่น, เสื้อผ้า ไปจนถึงชิ้นส่วนเครื่องจักร
เรียกได้ว่า ส่งผลกระทบต่อซัปพลายเชนทั้งระบบ ในหลาย ๆ อุตสาหกรรม
แน่นอนว่าพอเรื่องเป็นแบบนี้ หลายสถาบันการเงิน จึงได้ออกมาปรับลดการคาดการณ์ GDP ของจีน ในปีนี้
เช่น ทางด้าน Nomura สถาบันการเงินของญี่ปุ่น ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของ GDP ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ เป็น 3% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 4.4%
ที่สำคัญคือ เรื่องนี้อาจส่งผลกระทบและลามมาถึงประเทศไทยด้วย
เพราะหากไปดูในปี 2020 ที่ผ่านมา มูลค่าสินค้าที่ไทยนำเข้าจากจีน สูงถึง 1.7 ล้านล้านบาท
โดยสินค้าที่นำเข้ามากที่สุด คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรต่าง ๆ
นอกจากนี้ ไทยยังมีสินค้าแฟชั่น ที่มีการนำเข้าจากจีนในปริมาณที่สูงมากเช่นกัน
ดังนั้น ถ้าโรงงานในจีนลดกำลังการผลิตลง จนสินค้าในตลาดมีน้อยลง หรือขาดตลาด
และราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ก็จะกระทบต่อการนำเข้าของประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
พอเห็นแบบนี้ ก็ยิ่งต้องลุ้นกันต่อไป ว่ารัฐบาลจีนจะแก้ปัญหานี้อย่างไรบ้าง
และประเทศไทย จะได้รับผลกระทบแค่ไหนจากวิกฤติไฟฟ้าของจีนในครั้งนี้..
References
-https://www.bloomberg.com/news/newsletters/2021-09-28/supply-chain-latest-china-s-power-curbs-to-hit-global-economy
-https://www.reuters.com/technology/many-apple-tesla-suppliers-halt-production-china-amid-power-pinch-2021-09-27/
-https://www.straitstimes.com/business/economy/chinas-electricity-shock-is-latest-supply-chain-threat-to-world
-https://tradingeconomics.com/thailand/imports/china
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過14萬的網紅Mars Hartdegen,也在其Youtube影片中提到,Meihuazhou, Jiaxing City, Zhejiang Province, China ??...
เจ้อเจียง 在 อายุน้อยร้อยล้าน Facebook 的最讚貼文
ฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วย “Travel Bubble” ท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ หลังยุค COVID-19 ที่หลายประเทศกำลังให้ความสนใจ!
เมื่อสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลายและมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงได้มีการผ่อนปรนมาตรการเคอร์ฟิว ภาครัฐจึงจำเป็นต้องออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยกระตุ้นให้ภาคธุรกิจ และเศรษฐกิจของประเทศกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น หลังจากที่รายได้ต้องหยุดชะงักเป็นเวลาหลายเดือน
.
ซึ่ง “Travel Bubble” การท่องเที่ยวระหว่างประเทศรูปแบบใหม่ คือหนึ่งในมาตรการสำคัญที่หลายคนเชื่อว่าเป็นจะทำให้เศรษฐกิจฟื้นฟู และสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศได้อย่างมหาศาล
.
Travel Bubble หรือคำนิยามในภาษาไทยว่า “ระเบียงท่องเที่ยว” เป็นการท่องเที่ยวที่จับคู่กลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ และสถานการณ์ภายในประเทศเริ่มคลี่คลายดีขึ้น เพื่อเปิดให้มีการเดินทางระหว่างกัน โดยที่ไม่ต้องมีการกักตัว 14 วัน แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารสุขที่รัดกุม ซึ่งอาจมีเงื่อนไขอื่น ๆ ที่แตกต่างกันตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลของแต่ละประเทศ
.
แม้น่าสนใจ แต่ไม่ใช่ว่าทุกประเทศจะสามารถทำได้ ซึ่งจะพิจารณาจากสถานการณ์การระบาดในประเทศ เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ไม่มีผู้ติดเชื้อแล้ว หรือมีจำนวนผู้ติดเชื้อน้อยลงในจำนวนใกล้เคียงกันระหว่างประเทศคู่ตกลง หรือง่ายๆ ก็คือ ต้องมีความเชื่อมั่นการจัดการสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งกันและกัน ไม่เช่นนั้นจากจุดประสงค์ที่ต้องการสร้างรายได้ให้ประเทศ อาจกลายเป็นการสร้างการระบาดครั้งใหม่ที่ใหญ่กว่าเดิมก็ได้
.
กลุ่มประเทศที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ได้มีการเริ่มทำ Travel Bubble ไปบ้างแล้ว รวมถึงยังมีกลุ่มประเทศที่กำลังจะเริ่มทำด้วยเช่นกัน
.
1.กลุ่มประเทศแถบทะเลบอลติก ยุโรปตะวันออกกลาง
ได้แก่ ลัตเวีย ลิทั่วเนีย เอสโตเนีย
ที่อนุญาตให้ทุกคนเดินทางได้อย่างเสรี โดยเริ่มทำเมื่อวันที่ 15 พ.ค.63
.
2.สิงคโปร์กับจีน (แค่มณฑลเซี่งไฮ้, กวางตุ้ง, เจ้อเจียง, เทียนจิน, เจียงซู และฉงชิ่ง เท่านั้น)
อนุญาตเฉพาะนักธุรกิจ/ข้าราชการที่มีใบอนุญาต ใบรับรองสุขภาพเท่านั้น โดยเริ่มทำเมื่อวันที่ 6 มิ.ย.63
.
3.กลุ่มสแกนดิเนเวีย
ได้แก่ นอร์เวย์ และเดนมาร์ก (ยกเว้นสวีเดน ที่จำนวนผู้ป่วยยังสูง และมีการใช้วิธีปล่อยให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่)
โดยเริ่มทำเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.63
.
4.กลุ่มสหภาพยุโรป
ได้แก่ เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ ออสเตรีย โดยเริ่มทำ Travel Bubble เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน
.
5.กลุ่มทรานส์แทสมัน
ได้แก่ นิวซีแลนด์ และ ออสเตรเลีย โดยยังไม่มีกำหนดเริ่มทำแน่ชัด แต่อาจจะเริ่มทำในเดือน ก.ย.63
.
และสำหรับประเทศไทย ด้วยความสำเร็จในการควบคุมโรคและรับมือกับการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้เป็นอย่างดี ไม่พบผู้ติดเชื้อเพิ่มภายในประเทศเป็นเวลากว่า 3 สัปดาห์ ทำให้ตอนนี้ไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศ ที่หลายประเทศสนใจเพื่อเลือกเข้าไปในฟองสบู่แห่งการท่องเที่ยว ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับภาครัฐว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร และรอดูกันต่อไปว่าประเทศไทยจะเข้าร่วมจับกลุ่มประเทศไหนบ้าง ซึ่งถ้าเลือกประเทศที่ดีๆ เศรษฐกิจไทยก็จะสามารถกลับมาฟื้นตัว และสร้างรายได้เข้าประเทศได้อย่างมหาศาล
(ที่มา : Business Traveller, Travel weekly, BBC, ไทยคู่ฟ้า)
#อายุน้อยร้อยล้าน #ryounoi100lan
#อายุน้อยร้อยล้านNEWS
#TravelBubble #ระเบียงท่องเที่ยว #COVID-19 #เศรษฐกิจไทย
เจ้อเจียง 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ประเทศไทย กำลังเนื้อหอมใน Travel Bubble /โดย ลงทุนแมน
ปัจจุบัน โควิด-19 ยังคงระบาดหนักอยู่ในหลายประเทศ
แต่ก็มีหลายประเทศเช่นกัน ที่เริ่มควบคุมสถานการณ์ได้แล้ว
ถ้าต่างฝ่ายต่างต้องปิดประเทศแบบนี้กันไปอีกเป็นปี
ก็คงจะมีหลายคนต้องลำบากหนัก โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว
เช่น สายการบิน โรงแรม
จึงมีการเดินทางระหว่างประเทศรูปแบบใหม่เกิดขึ้น
ที่เรียกว่า “Travel Bubble”
แล้ว Travel Bubble คืออะไร
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟังแบบเข้าใจง่ายๆ
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Travel Bubble แปลตรงๆ ก็คือ ฟองอากาศของการท่องเที่ยว
ด้านในของฟองอากาศ คือ ประเทศที่มีการจับคู่ หรือรวมกลุ่มกัน
เพื่อให้มีการเดินทางระหว่างกันได้โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการกักตัว (State Quarantine) 14 วัน
แต่ใช่ว่าทุกประเทศจะสามารถเข้าไปอยู่ด้านในฟองอากาศนี้ได้
เพราะด้านในของแต่ละฟอง ต้องเป็นคู่หรือกลุ่มประเทศที่สามารถควบคุมการระบาดของโควิด-19 ได้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ และยินยอมให้ไปมาหากัน
เพราะฉะนั้น ประเทศที่ยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูง และยังคุมสถานการณ์ได้ไม่ดีพอ
ก็จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในฟองอากาศเหล่านั้น
ส่วนประเทศในฟองอากาศแต่ละฟอง อาจมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปตามแต่ตกลง
เช่น ต้องมีใบรับรองว่ามีสุขภาพแข็งแรงไม่มีการติดเชื้อ หรืออนุญาตเฉพาะการเดินทางเพื่อทำธุรกิจหรือธุระจำเป็นเท่านั้น
เท่ากับว่า ไม่จำเป็นต้องรอให้มีวัคซีน หรือรอให้เชื้อไวรัสหมดไป
กลุ่มประเทศที่พร้อม ก็สามารถกลับมาเปิดประเทศให้ไปมาหาสู่กันได้
เพื่อช่วยให้หลายฝ่ายที่ได้รับผลกระทบจากการปิดประเทศ ค่อยๆ ฟื้นตัวกลับมา
แล้วการทำ Travel Bubble มันเกิดขึ้นแล้วหรือยัง?
ก็ต้องตอบว่า มีทั้งกลุ่มที่เริ่มทำแล้ว และกลุ่มที่กำลังจะเริ่ม
กลุ่มที่เริ่มทำ Travel Bubble แล้ว ประกอบด้วย
1. กลุ่มประเทศแถบทะเลบอลติก ในยุโรปตะวันออก
ประกอบด้วย ลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย
กลุ่มนี้อนุญาตให้ประชากรทุกคนเดินทางไปมาได้อย่างเสรี
และเริ่มทำ Travel Bubble แล้ว ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม
2. คู่ระหว่างสิงคโปร์กับบางมณฑลในจีน
อนุญาตให้เฉพาะนักธุรกิจหรือข้าราชการที่มีใบอนุญาต และใบรับรองสุขภาพเท่านั้น
โดยมณฑลในจีนที่จับกลุ่มกับสิงคโปร์ คือ เซี่ยงไฮ้ กวางตุ้ง เจ้อเจียง เทียนจิน เจียงซู และฉงชิ่ง
กลุ่มนี้เริ่มทำ Travel Bubble แล้ว ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน
กลุ่มที่กำลังจะเริ่มทำ Travel Bubble เช่น
1. กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย
ประกอบด้วย นอร์เวย์และเดนมาร์ก
ยกเว้น สวีเดน ที่ยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้อสูง และใช้วิธีปล่อยให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity)
กลุ่มนี้จะเริ่มทำ Travel Bubble ในวันที่ 15 มิถุนายน
2. กลุ่มประเทศในทะเลแทสมัน
ประกอบด้วย นิวซีแลนด์ กับ ออสเตรเลีย
กลุ่มนี้จะเริ่มทำ Travel Bubble ในเดือนกันยายน
3. กลุ่มประเทศในยุโรป
ประกอบด้วย เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ ออสเตรีย
กลุ่มนี้จะเริ่มทำ Travel Bubble ในวันที่ 15 มิถุนายน
นอกจากกลุ่มประเทศที่ว่ามานี้
ยังมีอีกหลายกลุ่ม ที่อยู่ในช่วง “กำลังพิจารณา” เพื่อเปิดให้มีการเดินทางในรูปแบบนี้
รวมถึง “ประเทศไทย”
ซึ่งการเปิดให้มีการเดินทางระหว่างประเทศในรูปแบบฟองอากาศนี้
ถ้าเราลงทุนสร้างมาตรฐานการควบคุมให้ดี ก็จะช่วยจำกัดความเสี่ยงของการระบาดระลอก 2 ได้
และจะช่วยให้ภาคการท่องเที่ยวของไทย ฟื้นตัวกลับมาได้ไม่น้อย
ด้วยความสำเร็จในการรับมือการระบาดของโควิด-19 ของไทย
ประเทศไทยตอนนี้กำลังเนื้อหอม และเป็นที่หมายตาของหลายประเทศในการถูกเลือกเข้าไปในฟองสบู่ลูกต่างๆ ที่เกิดขึ้น
คำถามที่สำคัญคือ
ประเทศไหนดีพอจะมาอยู่ใน Bubble เดียวกับเรา
และเราจะได้ประโยชน์อย่างไรในการอยู่ Bubble เดียวกับประเทศนั้น
เลือกประเทศดีๆ แล้วไทยจะได้ประโยชน์มหาศาลจากฟองสบู่ลูกนี้
เพราะเรากำลังเป็น “คนสวย” ที่เลือกได้..
╔═══════════╗
อัปเดตสถานการณ์และภาวะเศรษฐกิจกับ Blockdit
มีพอดแคสต์ให้ฟังระหว่างเดินทางด้วย
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.nytimes.com/2020/06/05/travel/europe-reopening-tourism-covid.html
-https://www.bbc.com/news/world-europe-52673373
-https://www.theguardian.com/world/2020/may/27/australia-new-zealand-travel-bubble-jacinda-ardern-says-plan-will-be-presented-in-june-coronavirus
-https://www.smithsonianmag.com/travel/five-things-know-about-travel-bubbles-180974983/
-https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/884192
-https://www.wonderfulpackage.com/article/v/1306/
เจ้อเจียง 在 Mars Hartdegen Youtube 的精選貼文
Meihuazhou, Jiaxing City, Zhejiang Province, China ??