#ความลับของของเล่นเซอร์ไพรส์
.
มีเหตุการณ์ที่สร้างความรำคาญให้หมอเสมอ
เวลาที่ไปซื้อของกับลูกสาว
เด็กน้อยมักจะเรียกร้องอยากได้ ไข่เซอร์ไพรส์
ที่มีขนม และของเล่นเล็กๆแถมมาในไข่
เรามักจะต่อรองกัน ไม่ได้ซื้อให้ทุกครั้ง
แต่บางครั้งก็จำเป็นเพราะเป็นการตกลงกันไว้ก่อน
.
แล้วเราจะได้เห็นความตื่นเต้น
ตอนเด็กแกะไข่ เพื่อแกะเอาของเล่นเล็กๆ
ออกมาชื่นชม
แน่นอน...ของเล่นชิ้นนั้น
ก็จะตั้งทิ้งไว้ ในวันรุ่งขึ้น😑
.
ตอนนี้เธอโตพอที่หมออนุญาตให้ดู
youtube ได้แบบกำหนดเวลา
VDO โปรดก็มักจะเป็น การแกะของเล่นโชว์
และแล้วตุ๊กตา LOL ก็เข้ามาในใจ
เด็กบ้านนี้ มุ่งมั่นในการเก็บ star chart
เพื่อให้ให้ LOL มาเชยชมสักตัว
วันที่ไข่พลาสติกกลมๆอยู่ในมือ
เป็นวันที่เธอมีความสุขที่สุด
บรรจงแกะพลาสติก ออกทีละชั้น
ได้สติกเกอร์เล็กๆ ก็ยิ้ม ได้แผ่นคำใบ้ก็ตื่นเต้น
ต้องแกะประมาณ 5 ชั้น
ถึงจะได้เห็นตุ๊กตาตัวเล็กๆข้างใน
สามีหมอถึงกับร้องเสียงหลง
เมื่อรู้ราคาตุ๊กตาตัวเล็กๆนี้!!
🤣🤣
.
พอได้เห็นยอด view ของคนที่ทำ VDO จำพวก unboxing ของเล่น
หมอก็คิดว่า #เด็กทั้งโลกคงเป็นเหมือนกัน
นี่มันเป็นปรากฏการณ์ชัดๆ
.
เลยไปหาข้อมูล พบว่า ฝั่งตะวันตก เค้าก็มีความกังวลเกี่ยวกับการที่เด็กติด VDO พวกแกะของเล่น หรือ การที่ของเล่นจำพวกมีเซอร์ไพรส์ข้างในทำให้เด็กซื้อของเล่นเกินความจำเป็น
อยากแกะแต่ ไม่อยากเล่น (มากเท่าแกะกล่อง)
.
หมอถึงขั้น กลับไปอ่านตำราเรื่องการทำงานของสมองพื้นฐานว่าเกิดอะไรขึ้นกับสมองเด็ก?
.
👉และนี่คือสิ่งที่อยากเขียนเล่าให้ฟัง🤔🤔
.
👉ทำไมเด็กๆชอบของเล่นเซอร์ไพรส์?
คำตอบข้อนี้ไม่ยาก
สมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเฉพาะมนุษย์
มีความ #อยากรู้อยากเห็น เป็นต้นทุน
เพราะเราต้องการค้นหาว่า
สิ่งไหนทำให้เราอยู่รอด
สิ่งไหนทำให้เราอันตราย
สิ่งที่เราไม่รู้ ไม่เห็น ทำให้เราสงสัย
#สมองจะกระตุ้นให้เราเข้าไปค้นหา
จริงๆสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนทุกวัย
แต่ผู้ใหญ่มีประสบการณ์เก่ามากกว่า
เราจึงสามารถให้สมองส่วนเหตุผล
ดึงประสบการณ์เก่ามายับยั้งพฤติกรรมได้ดีกว่า
ว่ากันจริงๆ ของเล่นเซอร์ไพรส์ที่เราคิดว่าเป็นเรื่องของเด็กๆ
แต่จริงๆ มนุษย์ทุกคน ชอบแกะกล่อง
เด็กๆ ก็แกะของเล่น แกะกล่องของขวัญ
ผู้ใหญ่ แกะกล่องพัสดุที่เพิ่ง CF ออนไลน์มา (จะเหมือนในรูปรึเปล่าน๊า🤣🤣)
♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡♡
👉ถ้าเด็กอยากได้ของเล่น แล้วทำไมหลังแกะกล่อง ของเล่นนั้นกลายเป็นขยะอย่างรวดเร็ว?
ก่อนอื่นให้นึกถึงเหตุการณ์ในขณะที่
นักกีฬาวิ่ง ประจำลู่วิ่ง แล้ว
กรรมการพูด “1..2..3..ระวัง..ไป”
ขณะที่ได้ยินคำนั้น
นักวิ่งจะตื่นตัว กล้ามเนื้อ การเต้นของหัวใจ
สายตา พร้อมจะพุ่งออกไป
คำพูดของกรรมการ “#เป็นรหัสที่นักกีฬารู้ว่าเค้าต้องทำอะไรเมื่อได้ยิน”
สมองก็เช่นกัน
สมองหลายล้านเซลล์
ทำงานร่วมกันได้ ต้องมีชุดคำสั่งหลายรูปแบบ
หนึ่งในนั้น คือการหลั่งสารบางอย่าง
เรียกว่าสารสื่อประสาท
.
สารสื่อประสาทที่ชื่อว่า #โดปามีน เมื่อหลั่งออกมา
จะบอกร่างกายว่า ตอนนี้ ร่างกายต้องตื่นตัว
ตื่นตัวเพื่อค้นหาสิ่งใหม่ๆ ได้กินอาหาร
ได้เจอคนที่ชอบ ได้ทำสิ่งที่ใช่
กระตุ้นให้ร่างกายเกิดพฤติกรรมตอบสนองความต้องการนั้น
พอได้รับการตอบสนอง
ร่างกายจะหลั่งสารที่ทำให้รู้สึกพึงพอใจ
โดปามีน เป็นสารสำคัญที่ให้ร่างกาย
รู้สึกมีความสุข (reward pathway)
ประสบการณ์ที่มี รู้สึกมีความสุข จะถูกจดจำเอาไว้
และทำให้เราอยากมีประสบการณ์นั้นซ้ำๆ
.
เห็นของเล่นเซอร์ไพรส์ >>อยากรู้ว่าข้างในมีอะไร >> โดปามีนหลั่งในสมอง
>>ตื่นเต้น>>ได้แกะของเล่น>>ความสุข
ความสุข สัมพันธ์กับ การได้แกะ มากกว่า
ได้เล่นของเล่นที่อยู่ข้างใน
ดังนั้น ของเล่นในมือเด็ก หลังจากได้แกะแล้ว ดึงดูดความสนใจของเด็กได้น้อยกว่าตอนก่อนแกะมาก
.
👉ต้องกังวลแค่ไหนกับพฤติกรรมนี้ของลูก?
ผลิตภัณฑ์สมัยใหม่ ไม่ได้ "ปัง" ด้วยความบังเอิญ
แต่มีการศึกษาวิทยาศาสตร์สมอง
หรือจิตวิทยาพฤติกรรมอยู่เบื้องหลัง
ขอให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจ ว่าสมองเด็กไวกับความอยากรู้อยากเห็นมากกว่าผู้ใหญ่
แต่เมื่อมันเกี่ยวข้องกับ
วงจรรางวัลของสารสื่อประสาท
มันก็ทำให้ติดได้เช่นกัน
(เป็นวงจรเดียวกับที่เราเรียนเรื่อง หมาน้ำลายไหลเมื่อได้ยินกระดิ่ง)
ไม่ใช่ว่า สมองเด็กอย่างเดียว ผู้ใหญ่บางคน ก็เสพติดความสุขจากอะไรบางอย่าง
(ในกรณีของหมอ การซื้อหนังสือ😅😅)
ดังนั้น คำแนะนำ ที่เป็นความเห็นส่วนตัว ก็คือ
👉 ซื้อให้ได้ (ตามกำลัง) แต่คงต้องเป็นการตกลงไว้ก่อน #ทางสายกลางดีเสมอ เหมือนที่บ้านนี้ซื้อให้ในบางครั้ง แต่เด็กก็ฉลาดมากพอที่จะขอ อากง อาม่า หรือใครก็ตามที่หลงกล ซึ่งสิ่งนั้น บ้านนี้ยกประโยชน์ให้ เพราะถือว่าได้ใช้ปัญญาในการต่อรอง หรือใช้ EF โดยตั้งโจทย์ว่า ทำอย่างไรถึงจะได้มา (ค่อยมาสอนผิด ถูก เหมาะสมหรือเหมาะสมกันทีหลัง) แต่การที่ซื้อให้ทุกครั้ง หรือ ทำเหมือนการซื้อเป็นเรื่องผิดและห้ามเด็ดขาด โดยส่วนตัว หมอคิดว่า ตึง/หย่อนเกินไป
👉 ถ้าลูกโตกว่านี้สักนิด จะสอนเรื่องการตลาดพื้นฐานให้เค้าฟัง พลิกวิกฤติเป็นโอกาสซะเลย คนผลิตสินค้า ก็อยากจะขายได้มากๆ เราเป็นผู้บริโภคจะทำอย่างไร ต่อการกระตุ้นนั้น หรือถ้าเราเป็นผู้ผลิต เราจะทำอย่างไรให้ขายได้ (LOL แพงแสนแพง แต่ขายได้ 800 ล้านตัวทั่วโลก OMG อุทานเหมือนชื่อบริษัทเลยทีเดียว)
👉มองเด็กอย่างเข้าใจ เด็กทุกยุคชอบแกะของ surprise ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย
และอย่ามาอ้างว่า....ไม่เค๊ย (เสียงสูง)
จำได้หรือไม่ สมัยเราเด็กๆ (ยุค 90)
เราก็ซื้อถุงเท้ายี่ห้อที่แถมของเล่น ซื้อขนมที่เราไม่ชอบกินเพื่อให้ได้การ์ดพลังต่างๆ
ซื้อลูกอมฮาร์ทบีท เพราะอยากแกะว่าข้างในเขียนว่าอะไร
ทุกวันนี้ เราก็หนักกว่าลูกซะอีก โดปามีนหลั่งหนักมาก ตอนค้นหาสินค้าออนไลน์ กับโปร 10-10 11-11 12-12 😁
บางครั้งกล่องไปรษณีย์มาส่ง ยังไม่รู้ตัวเลยว่ากดสั่งซื้อไปตอนไหน
.
ประเด็นเรื่องการดู VDO พวก unboxing
หมอคิดว่า คงใช้กฎเหมือนกับการดูหน้าจอสำหรับเด็กโดยทั่วไป
คือ กำหนดเวลาในการดู และดูด้วยกัน (ถ้านั่งอยู่ด้วยไม่ได้ ก็อยู่ในบริเวณที่รู้ว่าลูกดูอะไรอยู่)
.
ท้ายที่สุดแล้ว คำว่า "เด็กสมัยนี้" มันไม่มีอยู่จริง
เพราะสมองของเด็กยุคไหน ก็ทำงานเหมือนกัน
สิ่งแวดล้อมภายนอกต่างหาก คือสิ่งที่เปลียนไป
แต่ถ้าคิดให้ดี เราจะเห็นจุดร่วมของพฤติกรรมของลูก กับเราในอดีต
.
และทิ้งท้ายไว้ว่า "มองเด็กอย่างเข้าใจ" และ ทางสายกลางดีที่สุด
.
หมอแพม
ในรูปคือ สาวน้อย LOL ที่เด็กบ้านนี้ได้มาจากการสะสมแต้มใน star chart+ของขวัญวันเกิด และวันสำคัญต่างๆ
(เรื่อง reward กับพฤติกรรมเด็ก แล้วแต่บ้านไหนจะมองนะคะ มีทั้งสองฝั่ง pro&con แต่บ้านนี้ใช้หลายๆอย่างผสมกัน )
Search
เป็นรหัสที่นักกีฬารู้ว่าเค้าต้องทำอะไรเมื่อได้ยิน 在 หมอแพมชวนอ่าน - #ความลับของของเล่นเซอร์ไพรส์ . มีเหตุการณ์ที่ ... 的推薦與評價
คำพูดของกรรมการ “#เป็นรหัสที่นักกีฬารู้ว่าเค้าต้องทำอะไรเมื่อได้ยิน” สมองก็เช่นกัน สมองหลายล้านเซลล์ ทำงานร่วมกันได้ ต้องมีชุดคำสั่งหลายรูปแบบ ... <看更多>