💴💕
โนกุจิ ฮิเดโยะ จากนักสู้ลูกชาวนาสู่ “คุณหมอผู้ยิ่งใหญ่ของโลก”..........การที่บุคคลหนึ่งจะมีภาพปรากฏบนธนบัตร หรือบนเหรียญเงินสกุลของประเทศต่างๆ นั่นหมายความว่าบุคคลผู้นั้นต้องมีชื่อเสียงเกียรติยศในคุณงามความดี ที่ผู้คนให้การยอมรับและยกย่องนับถือ
หากพิจารณาอย่างที่ถ้วน คงไม่มีผู้ใดคิดว่า
...เด็กชายผู้มือพิการ ลูกชาวนาอันต่ำต้อยในครอบครัวยากจนที่สุดในหมู่บ้าน ถูกผู้คนเหยียดหยามเสมอว่าเป็น คนโง่ เหลวไหล ชีวิตต้องมีแต่ความล้มเหลว ไม่มีทางก้าวออกจากชีวิตอันต้อยต่ำ จะปรากฏภาพสะท้อนเกียรติยศ-พิมพ์อยู่บนธนบัตร
นี่คือตำนานอันยิ่งใหญ่ของ นายแพทย์ และนักวิจัยแบคทีเรียชาวญี่ปุ่นชื่อก้องโลก ผู้มีความอดทน มุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค
ไม่ยอมแพ้แก่ความล้มเหลวที่เกิดครั้งแล้วครั้งเล่า
...ท่านคือบุคคลผู้อุทิศตนทางการแพทย์ซึ่งพยายามเอาชนะโรคร้ายทำลายชีวิตของผู้คนบนโลกนี้ นาม ฮิเดโยะ โนกุจิ (Hideyo Noguchi)
##########
ยิ่งต่ำต้อย ยิ่งอย่ายอมแพ้...ก้าวไปข้างหน้า เพื่อพิสูจน์ว่า ไม่ใช่คนเหลวไหลและชีวิตมีแต่ล้มเหลว
"ฉันจะไม่กลับมาที่บ้าน หากว่าฉันยังไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต”
หากประโยคนี้เป็นเพียงคำพูด ก็คงสลายไปอย่างรวดเร็วเมื่อเสียงพูดจบลงที่คำสุดท้าย แต่ประโยคนี้ปรากฏตลอดไป....
เพราะนี่คือ ร่องรอยแห่งความมุ่งมั่นและความหวังที่ โนกุจิ สลักเอาไว้เมื่ออายุประมาณ 19 ปี อยู่บนเสาไม้ต้นหนึ่งของบ้านเกิด ในเมืองอินาวาชิโระ จังหวัดฟุคุชิมะ ก่อนจะมุ่งหน้าสู่โตเกียวเพื่อเข้าศึกษาและสอบเป็นแพทย์ (รัฐบาลญี่ปุ่นอนุรักษ์บ้านเก่าๆ แห่งนี้เอาไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้และศรัทธา)
...ในโลกตะวันตกโดยเฉพาะประเทศในแถบแอฟริกา นายแพทย์ โนกุจิ คือบุคคลที่ผู้คนยกย่องสรรเสริญ จากการช่วยเหลือผู้คนที่เผชิญกับโรคระบาดร้ายแรง ที่ไม่อาจทำการรักษา หรือทำการรักษาได้ยา
รวมถึงผลงานเกียรติยศจากการสามารถเพาะเชื้อ (Spirochete Pallida) ต้นเหตุของโรคซิฟิลิส นำไปสู่การแยกเชื้อนี้ ออกจากผู้ป่วยโรคซิฟิลิสที่เป็นอัมพาตได้สำเร็จ ในประวัติศาสตร์การแพทย์
แต่ผลงานเหล่านี้ กลับไม่มีความสำคัญเท่า
...ความอดทนต่อความล้มเหลว
...ความอดกลั้นต่อการถูกประณามหยามเหยียด
...ความมุ่งมั่นต่อการเผชิญหน้ากับอุปสรรค และมรสุมชีวิตครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างไม่ย่อท้อ
เพราะสิ่งเหล่านี้หล่อหลอมเด็กชาย โนกุจิ มาตั้งแต่กำเนิด จนสามารถก้าวสู่หนทางเกียรติยศจากชีวิตลำเค็ญ เกินกว่าที่มนุษย์หนึ่งคนจะแบกรับไหว
##########
แม้ชาติกำเนิดต้อยต่ำ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นคน ด้อยค่า ตลอดไป
ปี ค.ศ 1876 ในจังหวัดฟุคุชิมะ ณ หมู่บ้านอินาวาชิโระ หมู่บ้านเล็กๆ ในหุบเขาอันห่างไกลซึ่งหล่อเลี้ยงด้วยวิถีเกษตรกรรม ความแตกต่างทางสถานภาพของผู้คนมีอยู่สองลักษณะ-หากไม่ร่ำรวยดั่งพ่อค้าคนกลาง หรือนายทุนก็ยากจนข้นแค้น เป็นชาวนาที่ถูกกดขี่และถูกเอารัดเอาเปรียบ
แต่หนึ่งชีวิตน้อยๆ ได้ถือกำเนิดขึ้นในครอบครัวชาวนาที่กล่าวกันว่า ยากจนที่สุดในหมู่บ้าน เพราะสามีผู้เป็นเสาหลักของครอบครัว เป็นคนสำมะเลเทเมา ไม่สนใจทำมาหากินและบังคับคู่เข็ญให้ผู้เป็นภรรยาอกทำงานแทนตน คนในหมู่บ้าน จึงกล่าวกันว่า เป็นโชคร้ายของเด็กคนนั้น ที่ได้เกิดมาในครอบครัวนี้ ซึ่งล้มเหลวในการใช้ชีวิต
แล้วโชคร้ายก็ปรากฏดังที่ผู้คนได้กล่าวขานกันล่วงหน้า ซึ่งในช่วงนั้น โนกุจิ หาได้ชื่อ โนกุจิ ฮิเดโยะ ไม่ แต่ได้ใช้ชื่อ เซซากุ ฮิเดโยะ ตามที่ผู้เป็นบิดามารดาตั้งให้
เมื่อมีอายุได้ประมาณ 1 ขวบกว่าๆ หนูน้อยได้พลัดตกลงไปในเตาหลุมที่ถ่านไฟร้อนระอุแดงฉานโชคดีที่ร่างกายส่วนใหญ่ไม่เป็นอะไร แต่มือข้างซ้ายกลับถูกไฟลวกอย่างรุนแรงจนนิ้วของเด็กตัวเล็กๆ หลอมติดกันจนใช้การไม่ได้ นำไปสู่ความพิการทางกาย
แต่ความพิการทางกายก็ไม่ได้ทำให้ปวดร้าวเท่ากับ ปมด้อยทางใจ ซึ่งอุบัติเหตุในครั้งนั้น ไม่ได้สร้างความเสียใจให้เกิดขึ้นกับ โนกุจิ เพียงคนเดียว แต่ยังรวมไปถึง หยดน้ำตาของผู้เป็นแม่ ที่ต้องทนเห็นลูกจะต้องถูกเหยียดหยามในหมู่เพื่อนฝูง ในสังคม และในชีวิต ไปอีกนานสักเท่าไหร่
ขณะที่ค่านิยมของชาวบ้านต่างเชื่อว่า เด็กคนนี้คงไม่สามารถทำงานเพื่อครอบครัวได้ โดยเฉพาะการทำไร่ ทำสวน ทำนา จะเป็นคนที่นำความล้มเหลวมาสู่ครอบครัวชาวนา ที่ต้องใช้แรงกายในการทำงาน เมื่อลูกชายกลายเป็นคนมือพิการ อนาคตก็ต้องจบลง
ไม่มีใครคิดว่า เด็กคนนี้ควรที่จะมีอนาคตที่ดีกว่านี้ ดีกว่าการเป็นเกษตรกรหรือชาวนาผู้ทุกข์ยากเหมือนคนรุ่นปู่ย่า ตายาย หรือ พ่อ แม่
ความเชื่อในลักษณะนี้ คือความเชื่ออันตรายในทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมใดๆ หรือสังคมของประเทศไหน เป็นการตีค่าของคนๆ หนึ่งที่ต้อยต่ำอยู่แล้วให้ต้อยต่ำลงไปอีก
เป็นการพยายามป้อนความเชื่อการตีค่านั้นให้คนๆ นั้นยอมรับ แทนที่จะมีการสร้างกำลังใจ หรือฉุดรั้งเขาออกมาสู่ความดำมืดเพื่อสัมผัสกับความเจริญของชีวิต
หนูน้อย โนกุจิ จึงจำเป็นต้องทนรับกับสภาพที่เกิดขึ้น ถูกเด็กๆ ในหมู่บ้านดูถูกเหยียดหยาม ถูกรังแก กลั่นแกล้ง จึงกลายเป็นเด็กไม่เอาไหน ทำให้เป็นเด็กที่ไม่มีอนาคตดีๆ รออยู่ข้างหน้า ไม่กล้าที่แม้แต่จะคิดจะทำจะอะไร ราวกับว่า มีสายตาของคนส่วนมากแอบซุ่มคอยที่ออกมา จนทำให้เขากลายเป็น ไอ้ขี้แพ้จอมล้มเหลว ในกลุ่มเด็กๆ
แต่โชคดีที่โนกุจิ มีคุณแม่คอยเป็นกำลังใจให้เสมอ แม้ท่านจะเป็นเพียงชาวนาที่ยากจน แต่กลับมองการณ์ไกล ไม่ได้มองเพียงแค่จะให้ลูกช่วยตัวเองทำนา แต่เธอมองไปข้างหน้า เพื่อให้ลูกประสบความสำเร็จ ด้วยการส่งเสริมให้ศึกษาเล่าเรียนเพื่ออนาคตที่ดี-ไม่ต้องตกระกำลำบากเหมือนคุณรุ่นปู่ย่า หรือรุ่นพ่อแม่
ในวัยประถม โนกุจิ ถูกจัดให้เป็นเด็กชายที่ไม่เอาไหนของโรงเรียนประถม มิตสึวะ ซึ่งนอกจากพิการแล้ว ยังถูกตราหน้าว่า เป็นเด็กเหลวไหลที่ไม่ตั้งใจเรียน
จึงสอบตกเกือบทุกครั้ง และเรียนหนังสือไม่ทันเพื่อนๆ คือสิ่งสำคัญที่ทำให้ เด็กคนหนึ่งจำเป็นต้องทำตัวให้ต้อยต่ำ และซ่อนความสามารถที่แท้จริงของตนเอง ไม่ให้ปรากฏ
ไม่มีใครรู้ว่า เด็กคนนี้ มีสติปัญญาที่เฉียบแหลม มีความอดทนไม่ย่อท้อ และทนต่อความกดดันจากปัญหาและอุปสรรค์ ต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาในชีวิตได้เกินกว่าเด็กวัยเดียวกัน
ลักษณะพิเศษของโนกุจิ ได้ปรากฏออกมาในครั้งหนึ่ง และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในชีวิต เมื่อเจ้าหนูได้เขียนเรียงความเรื่อง แม่ของฉัน ส่งครูประจำชั้น คะแนนที่ได้รับสร้างความแปลกใจให้กับเพื่อนๆ ทุกคน เพราะหนูน้อยได้คะแนนเต็ม 100เป็นครั้งแรกในชีวิต
เป็นกำลังใจให้ โนกุจิ ตั้งใจศึกษาเล่าเรียน จนผลการเรียนดีขึ้น ทั้งจากการมุ่งมั่นตั้งใจฟังคุณครูสอนในชั่วโมงเรียน และจุดเทียนหรือตะเกียงอ่านหนังสือในตอนกลางคืนมากกว่าเพื่อนๆ คนอื่นเป็นประจำทุกวัน
ในที่สุดโนกุจิ ก็ได้ฉายฉานประกายแห่งความมุ่งมั่นเพื่อลบปมด้อยของตนเอง จนสามารถได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ นำไปสู่การเหยียดหยามและกลั่นแกล้งที่ลดน้อยลง ถึงขนาดบางครั้งในเวลาที่คุณครูติดธุระ โนกุจิ ซึ่งศึกษาตำรามาล่วงหน้า ก็มักจะมอบหมายให้สอนเพื่อนๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม
พิจารณาได้ว่า แม้ใครๆ ก็ตามที่อาจถูกประณามหยามเหยียด จนถูกครหาว่าเป็นเหลวไหล นั้นหากมีโอกาสที่แสดงความสามารถ หรือได้รับการยอมรับบางประการ ก็จะเป็นกำลังใจให้เขามุ่งมั่น หาทางเพื่อให้ตนเองได้รับการยอมรับในระดับขั้นต่อๆ ไป ซึ่งจะกลายเป็นสิ่งที่ทำให้เขาหยัดยืนอย่างมั่นคง ไม่กลับมาสู่หนทางเดิมๆ
แต่ถึงแม้จะได้รับการยอมรับจากเพื่อนๆ และครูอาจารย์ ก็ใช่ว่าชีวิตในโลกของความเป็นจริงจะดีขึ้น เพราะการเป็นคนเก่ง หรือการสอบได้คะแนนดีไม่มีความหมายสำหรับชาวบ้านในชุมชนเกษตรกรรม
ในทุกๆ วันที่หนูน้อยโนกุจิ ต้องเดินข้ามภูเขาเพื่อไป-กลับโรงเรียนด้วยระยะทางหลายสิบกิโลเมตรมักจะพบกับคำถามเชิงดูถูกเหยียดหยามของชาวบ้านว่า
“ทำไมต้องไปเรียนหนังสือ อยู่บ้านช่วยแม่ทำนา เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย ไม่ดีกว่าหรือ”
คือสิ่งที่หนูน้อยต้องอดทนมากกว่าการที่ในตอนพักกลางวันไม่มีข้าวกิน จนต้องแอบหลบเพื่อนๆ ไปหาน้ำจากลำธารใกล้ๆ โรงเรียนมาดื่มกินให้พออิ่ม
หนูน้อยก็เอาชนะตนเองและคำครหาของชาวบ้านมาได้ จนสามารถเข้าเรียนต่อชั้นประถมปลาย ในโรงเรียน อินาวาชิโระ จากความช่วยเหลือของคุณครู ซาคาเอะ โคบายาชิ
ในช่วงแรกๆ โนกุจิ ยังคงถูกเพื่อนๆ ในโรงเรียนแห่งใหม่ที่แตกต่างจากเพื่อนๆ ในโรงเรียนเก่ากลั่นแกล้งอยู่เสมอ โดยเฉพาะสิ่งที่เผชิญอยู่บ่อยครั้งคือการเหยียดหยามเรื่องความยากจนข้นแค้น ไม่มีแม้แต่หนังสือเรียน
ทว่าโนกุจิ ไม่ยอมแพ้ เพราะหากยอมแพ้ ก็จะกลับกลายเป็นคนเหลวไหลไม่เอาไหน ชีวิตในอนาคตที่ต้องการ สิ่งที่ดีกว่านี้อาจจะล้มเหลว ดังนั้นความยากจนจึงไม่สมควรที่จะเป็นอุปสรรคขวางกันโอกาสทางการศึกษา
ในแต่ละเทอมเมื่อจะขึ้นชั้นเรียนใหม่ โนกุจิ จะแก้ปัญหาด้วยปัญญาด้วยการขอยืมทำเนียบศิษย์เก่าจากคุณครู จากนั้นจึงเดินทางไปบ้านศิษย์เก่าเหล่านั้น เพื่อขอแบบเรียนที่เขาต้องใช้
แม้จะมันจะฉีกขาดหรือผุพัง แต่ โนกุจิ ก็จะพยายามรวบรวมมาให้ได้มากที่สุด เพื่อนำมาเปรียบเทียบ ตรวจสอบและเย็บติดกัน จนได้แบบเรียนที่น่าภาคภูมิใจกว่าใช้เงินซื้อ เพราะมาจากความทระนงของเด็กหนุ่มที่ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค์ เพราะหมุดหลักสำคัญของชีวิต คือการได้รับการศึกษา
เมื่ออายุได้ 16 ปี คุณครู ซาคาเอะ และเพื่อนร่วมชั้นเรียนของโนกุจิ ต่างก็ช่วยกันเรี่ยไรเงินเป็นค่าผ่าตัดรักษามือซ้ายเพื่อหวังจะให้เด็กหนุ่มผู้มุ่งมั่นคนนี้มีอนาคตที่ดีขึ้น จากการลงมีดผ่าตัดโดยนายแพทย์ คานาเอะ วาตานาเบะ ผู้สำเร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา การผ่าตัดในครั้งนี้ให้ผลไม่ดีนัก แต่ก็พอใช้งานได้
นี่จึงเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ของ โนกุจิ เพราะเด็กหนุ่มได้ค้นพบเป้าหมายของชีวิต นั่นก็คือความใฝ่ฝันที่จะเป็นแพทย์ เพื่อหาทางรักษามือซ้ายของตนเอง สิ่งสำคัญกว่า คือความหวังที่จะช่วยเหลือเจือจุนผู้ยากไร้ที่เจ็บป่วย เพราะตัวเขาเองก็คือผู้ยากไร้เช่นกัน แต่หนทางไม่ได้ราบรื่น และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยสำหรับลูกชาวนาจนๆ
##########
อยู่ที่เรียนรู้ อยู่ที่แสวงหา และ อยู่ที่ยอมรับที่จะ “สู้”
เมื่อเรียนจบการศึกษาชั้นมัธยม แม้จะไม่มีทุนรอนสำหรับศึกษาวิชาการแพทย์ ในมหาวิทยาลัยชั้นนำ แต่โนกุจิกลับไม่ย้อท่อ มุ่งมั่นเดินหน้าเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จที่ใฝ่ฝัน แม้จะต้องเสียเวลาไปบ้าง
แต่นั่นก็คือการหาประสบการณ์ชีวิตและวิชาชีพ ที่ไม่สามารถค้นหาได้ในสถาบันการศึกษา และ “หากแสดงฝีมือและความมุ่งมั่นให้ผู้อื่นได้ประจักษ์” ก็จะสามารถใช้ “เส้นสาย” เพื่อต่อยอดความสำเร็จ
ด้วยสายตาที่มองการณ์ไกล โนกุจิ ตัดสินใจเดินทางไปยังโรงพยาบาล ไคโย ในเมือง ไอสึวากามัตสึ เพื่อขอนายแพทย์คานาเอะ วาตานาเบะผู้ผ่าตัดมือซ้ายและเป็นผู้จุดประกายให้เขาก้าวเดินตามบนเส้นทางนี้รับเข้าทำงานในโรงพยาบาล เพื่อ “ศึกษาทางตรง-ลงสนามจริง”
เมื่อนายแพทย์ คานาเอะ เข้าใจถึงความมุ่งมั่นของเด็กหนุ่ม จึงให้โอกาสพิสูจน์ความมุ่งมั่น ด้วยการมอบตำแหน่งผู้ช่วยแพทย์ให้รับผิดชอบ
โนกุจิ พยายามศึกษา ซึมซับและตักตวงความรู้ให้ได้มากที่สุดควบคู่ไปกับการฝึกฝนทักษะทางด้านภาษาเยอรมัน อังกฤษ และฝรั่งเศส
จนเป็นที่ชื่นชมในความสามารถและความพยายาม ได้รับคำแนะนำจากคณะแพทย์ ให้เข้าเรียนคณะแพทย์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัยชั้นนำ
แต่อุปสรรค์สำคัญ ได้เกิดขึ้น เพราะ โนกุจิ ขาดทุนทรัพย์ที่จะใช้ในการศึกษา ทว่าเพราะความดี ความรับผิดชอบ ที่โนกุจิ ได้สร้างสมเอาไว้ในโรงพยาบาล ไคโย
จึงนำไปสู่การที่เด็กหนุ่มได้รับคำแนะนำให้เดินทางไปโตเกียว เพื่อหาลู่ทางและขอคำแนะนำจาก โมริโนะสุเกะ จิวากิ ทันตแพทย์จาก โรงเรียนทันตแพทย์ทากายามะ ซึ่งเคยได้ร่วมงานกันมาแล้วในโรงพยาบาล ไคโยซึ่งปัจจุบันคือ มหาวิทยาลัยทันตแพทย์โตเกียว
ทันตแพทย์ จิวากิ ได้ให้โนกุจิ เข้าศึกษาวิชาแพทย์ศาสตร์ที่ โรงเรียนกวดวิชาไซเซ ทว่าเด็กหนุ่มลูกชาวนาผู้มาจากบ้านนอก มีมือซ้ายที่แม้จะไม่ดูพิการมากแต่ก็ยังคงเป็นที่น่ารังเกียจ ดูแววได้ว่าต้องล้มเหลวกับการเรียนแพทย์ สมัยนั้นคือศาสตร์ชั้นสูงสำหรับคนชั้นสูงที่จะเข้าเรียนได้
นอกจากไม่เป็นที่พอใจของเพื่อนๆ จึงถูกนักเรียนแพทย์คนอื่นๆ ต่อต้าน กลั่นแกล้งอยู่เสมอ เพื่อตัดกำลังใจ รวมทั้งไม่เป็นที่สบอารมณ์ของกลุ่มอาจารย์ ที่รักศักดิ์ศรีของวิชาชีพแพทย์เพราะคนต้อยต่ำอย่างเขาไม่สมควรที่จะมาเป็นลูกศิษย์
แต่ความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อ และอดทนอดกลั้นของ โนกุจิ ทำให้เขาทำการเข้าทดสอบความรู้ทางด้านการแพทย์ภาคแรก ซึ่งมีแต่ผู้ที่ชิงชังและต้องการว่าเขาจะทำคะแนนได้สักเท่าไหร่กัน กลับต้องทำให้คนเหล่านี้ ต่างตกตะลึงอย่างคาดไม่ถึง เพราะลูกชาวนาจนๆ คนนี้สามารถสอบผ่านโดยทำคะแนนได้เป็นอันดับหนึ่ง
การที่ โนกุจิ สอบได้ใบประกอบวิชาชีพเป็นแพทย์อย่างเต็มตัวในขณะที่มีอายุเพียงแค่ 20 ปี จึงเป๋นเรื่องที่เป็นไปได้ อย่างไม่เหลือเชื่อ นี่จึงเป็นครึ่งทางชีวิตที่เขาฝ่าฝันมายาวนานจนสำเร็จ
แต่สำหรับคนผู้โชคร้าย และไม่เคยได้รับอะไรมาง่ายๆ อุปสรรคขั้นต่อมากำลังท้าทายเขาอยู่ เพราะมือซ้ายไม่สามารถใช้งานเพื่อเยียวยา หรือรักษาผู้ป่วยได้ตามที่เขาต้องการ
นายแพทย์ โนกุจิ ซึมเศร้า แต่ไม่หมดหวังและคิดหาทางแก้ ในที่สุดตัดสินใจผ่าตัดมือซ้ายเป็นครั้งที่สอง และครั้งนี้ เขาก็สามารถใช้งานเพื่อคนไข้ผู้ทุกข์ทนและเจ็บป่วยได้อย่างเต็มที่ สมกับหน้าที่การเป็นแพทย์ ที่โนกุจิไขว่คว้ามาได้อย่างน่ายกย่อง
ก้าวต่อมาของวิชาชีพได้ดำเนินมาสู่ปี พ.ศ. 2440 นายแพทย์ โนกุจิ ได้รับมอบหมายให้เป็นอาจารย์ประจำในโรงเรียน ทันตแพทย์ทากายามะ ตามมาด้วยการเข้าทำงานเป็นผู้ช่วยที่โรงพยาบาล จุนเทนโด ที่นี่ นายแพทย์ โนกุจิ ได้พบกับสิ่งที่สนใจ นั่นก็คือ
การวิจัยเชื้อโรคที่สร้างอันตรายและโรคภัยไข้เจ็บให้กับผู้คน จึงตัดสินใจเข้าทำงานที่สถาบันวิจัยโรคระบาดของ ชิบะซาบุโร่ คิตะซาโตะ ซึ่งเต็มไปด้วยนักวิจัยชั้นหัวกะทิจากมหาวิทยาลัย โตเกียวเทโคคุหรือ มหาวิทยาลัยโตเกียว ในปัจจุบัน และนายแพทย์ โนกุจิ ได้มุ่งมั่นสู่หนทางการเป็นนักวิจัยทางแบคทีเรีย นับแต่นั้นเป็นต้นมา
แน่นอนว่า ลูกชาวนายากจนคนนี้ ย่อมได้รับการดูถูกเหยียดหยามจากนายแพทย์ ที่เป็นชนชั้นสูง และมาจากตระกูลที่มีชื่อเสียง เหมือนที่เคยประสบมาจาก โรงเรียนกวดวิชาไซเซ
แต่เนื่องจากความรู้ทางภาษาอังกฤษที่ได้ศึกษาด้วยตนเองสมัยที่เป็นผู้ช่วยอยู่ในโรงพยาบาลไคโย จึงได้รับมอบหมายจากทางสถาบันให้เป็นล่ามให้กับ ไซมอน เฟลกซ์เนอร์ ศาสตราจารย์ทางด้านพยาธิวิทยา แห่งมหาวิทยาลัย จอห์น ฮอปกิ้นส์ ซึ่งเดินทางมาดูงานที่ญี่ปุ่น
เฟลกซ์เนอร์ ถูกใจโนกุจิ และได้ชักชวนให้ไปศึกษาความรู้เพิ่มเติม เผชิญกับโลกกว้างยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งนายแพทย์ โนกุจิ กำลังรอเวลาและหาโอกาสที่จะไล่ตามความฝันในดินแดนอันห่างไกลเช่นกัน
ในปี พ.ศ. 2441 นายแพทย์ โนกุจิ ได้ทราบข่าวว่าภรรยาของ ซาคาเอะ โคบายาชิ คุณครูผู้มีพระคุณได้ล้มป่วย เขาจึงรีบกลับไปยังบ้านเกิด
และระหว่างรอดูอาการนั้น โนกุจิมีโอกาสได้อ่านนวนิยายเรื่อง
"จิตใจนักเรียนในยุคปัจจุบัน" ผลงานการประพันธ์ของ โชโย สึโบอุจิ และได้พบว่า เซซากุ โนโนกุจิ (Nonoguchi Seisaku)
ตัวเอกในนิยายเรื่องนี้ซึ่งมีนิสัยเกกมะเหรกเกเรและเหลวไหล มีชื่อคล้ายกับตน (เซซากุ ฮิเดโยะ) จึงรู้สึกไม่ดีที่มีชื่อคล้ายกัน เมื่อเป็นดังนั้น คุณครู ซาคาเอะจึงได้ตั้งชื่อใหม่ว่า
"ฮิเดโยะ" มีความหมายว่า "ผู้เก่งกล้าของโลก"
ต่อมา นายแพทย์ โนกุจิ ได้ถูกส่งไปทำงานที่ด่านกักกันโรค เมืองท่าโยโกฮามะ และได้ตรวจพบตรวจเชื้อกาฬโรคในเลือดของผู้ป่วย ทำให้นายแพทย์ โนกุจิ ได้รับคัดเลือกให้เป็น หนึ่งในคณะแพทย์จากนานาประเทศ เพื่อยับยั้งกาฬโรคที่กำลังระบาดอย่างหนักในประเทศจีน เพื่อให้การช่วยเหลือพี่น้องแดนมังกรจำนวนมาก ที่กำลังเผชิญหน้ากับโรคระบาดร้ายแรงแห่งยุคสมัย
การได้เปิดโลก และออกสู่โลกกว้างเป็นครั้งแรกในประเทศจีนนี่เอง ที่ได้ได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติของ นายแพทย์ โนกุจิ อีกครั้ง นั่นก็คือทัศนคติที่ว่า
การเป็นแพทย์ที่ดี ไม่ใช่การทำหน้าที่เพื่อตนเอง หรือเพื่อคนในประเทศ แต่การช่วยเหลือผู้คนทุกคนที่เจ็บป่วยบนโลกใบนี้ หมายถึง “มนุษย์ธรรม” ซึ่งเป็นสิ่งที่แพทย์ควรกระทำ
ด้วยทัศนคติเช่นนี้ นายแพทย์ โนกุจิ จึงตัดสินใจมุ่งศึกษาหาความรู้ทางด้านการแพทย์ และโรคร้ายต่างๆ เพิ่มเติมด้วยการตัดสินใจก้าวสู่โลกที่กว้างกว่า
ออกรอนแรมเดินทางสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2443 ตามคำสัญญาที่ให้ไว้กับ ศาสตราจารย์ ไซมอน เฟลกซ์เนอร์
...แต่นายแพทย์ โนกุจิ ไม่รู้เลยว่า เขาจะกลับมาประเทศบ้านเกิดได้เพียงไม่กี่ครั้ง เพราะทั้งชีวิตต่อจากนั้น ต้องรอนแรม ศึกษาค้นคว้า วิจัยในดินแดนต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะในดินแดนอันแสนลำบาก
##########
สู่การสร้างผลงานระดับโลก
เมื่อก้าวสู่ดินแดนอเมริกาด้วยตัวเปล่า มีแต่เพียงความรู้ทางการแพทย์ที่สั่งสมเป็นทุนทรัพย์ที่ติดตัวไปจนตาย และไม่เคยใช้แล้วหมดไป
นายแพทย์ โนกุจิ ได้รับการรับรองโดย กับ ศาสตราจารย์ ไซมอน เฟลกซ์เนอร์ ให้ได้รับทุนช่วยเหลือในการศึกษาวิจัยในด้านแบคทีเรียวิทยา
ในช่วงเวลานี้ คือช่วงเวลาที่ นายแพทย์ โนกุจิ ต้องเรียนรู้และปรับตัวกับระบบการทำงานที่เคร่งครัดในแบบอเมริกัน รวมทั้งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ล้ำหน้ากว่าญี่ปุ่น ต้องเร่งทำเวลาศึกษาค้นคว้าด้วยการตักตวงเอาไว้ให้เร็ว และมากที่สุด จนทำให้บางช่วงเวลา ต้องพบกับความเหนื่อยล้า และท้อแท้
แต่สิ่งที่ทำให้ลูกชาวนานที่อดทนมายาวนาน และก้าวมาไกลเกินกว่าที่ใฝ่ฝันไว้ มีกำลังใจ คือความรักและความปรารถนาดีของคุณแม่ผู้ให้กำเนิด ซึ่งแม้จะอยู่ห่างกันสักเท่าไหร่
แต่ นายแพทย์ โนกุจิ ก็ยังเขียนจดหมายถึงท่านอยู่เสมอ และนึกถึงรอยยิ้มรวมทั้งความภาคภูมิใจของท่าน ที่ได้สัมผัสกับการประสบความสำเร็จของลูก
เมื่อเขียนมาถึงตรงนี้ ผู้เขียนอยากจะถามผู้อ่านว่า คุณผู้อ่านเคยทำให้คุณพ่อ คุณแม่ มีรอยยิ้ม หรือภาคภูมิใจกับความสำเร็จในบางสิ่งบางอย่างที่เคยกระทำมาบ้างไหม
หาก “มี” ให้ลองนึกถึงใบหน้าที่อิ่มเอมของท่าน
หาก “ไม่มี” และคิดว่า “ชีวิตของตนเองทำไมจึงเหลวไหล”
ก็ควรสะบัดความเหลวไหลนั้นทิ้งไป เพื่อค้นหาเส้นทาง หรือ เวทีที่จะทำให้พบกับความสำเร็จของชีวิต ที่คุณพ่อ คุณแม่ จะได้ภาคภูมิใจ ไม่ปวดร้าวไปกับความล้มเหลวของคุณ
เวทีชีวิตและการเรียนรู้ ในอเมริกา คือสิ่งท้าทายความสามารถและการยอมรับใมตัวตนคนต่างชาติ โดยเฉพาะคนผิวเหลืองชาวเอเชีย ซึ่งมักจะได้รับการดูถูกเหยียดหยาม
แต่นายแพทย์ โนกุจิ ก็ใช้ความสามารถ ความมุ่งมั่น สร้างสิ่งที่เรียกว่า “ความเชื่อ” ให้กับกลุ่มนายแพทย์และนักวิจัยนานาชาติในประเทศอเมริกา ให้การยอมรับในผลงานการค้นคว้าวิจัย
รวมถึงทัศนะและวิธีคิด ได้อย่างน่าชื่นชมและน่ายกย่อง ทำให้ได้ก้าวขึ้นสู่นายแพทย์นักวิจัยด้านแบคทีเรียที่มีชื่อเสียงของอเมริกาในที่สุด
แต่นายแพทย์ โนกุจิ ไม่หลงอยู่กับชื่อเสียงเกียรติยศ จึงได้พยายามบากบั่นค้นคว้าวิจัยอย่างหนัก เพื่อสร้างผลงานที่ดีกว่า เพราะนั่นคือการขจัดความทุกข์จากความเจ็บป่วยของมนุษย์ชาติ โดยเฉพาะผู้ยากไร้และทุกข์ทน จึงนำไปสู่การคิดค้นวิธีการทดลองวิจัยรูปแบบใหม่ที่ออกแบบขึ้นมาเอง
นำไปสู่ความสำเร็จด้วยการ ค้นพบเชื้อโรคหลายชนิดที่ทำให้เกิดโรคระบาดต่างๆ อย่างรวดเร็วติดต่อกัน จนทำให้ท่านได้รับการยกย่องในฐานะแพทย์ และนักวิจัยแนวหน้าของโลก
โดยเฉพาะความสามารถในการเพาะและจัดการกับเชื้อ สไปโรขีต อันเป็นสาเหตุของโรคซิฟิลิสได้เป็นผลสำเร็จ
ความสามารถอันเอกอุ ทำให้ นายแพทย์ผู้เป็นชาวญี่ปุ่นสามารถเข้า เขาทำงานในสถาบันวิจัย ร็อกกี้เฟลเลอร์ (The rockefeller institute for medical research) อันเป็นสถาบันการวิจัยทางการแพทย์ ที่มีชื่อเสียงระดับโลก
โดยได้ร่วมทำงานกับนักวิจัยชั้นนำทั่วโลก และได้ออกเดินทางไปเกือบทั่วโลก ในแดนกันดารที่ต้องเยียวยาชีวิตผู้คนให้หายทุกข์ยากจากโรคระบาด
แต่มนุษย์ทุกคนต้องมีครอบครัว และต้องสร้างครอบครัวใหม่ นายแพทย์โนกุจิ ได้พบรักกับ แมรี่ หญิงสาวชาวอเมริกัน ซึ่งเธอยอมรับ และเข้าใจชีวิตการทำงานของที่ลำบากตรากตรำและต้องเดินทางอยู่เสมอ ของนายแพทย์ โนกุจิ โดยไม่ขัดขวางการทำงานเพื่อวงการแพทย์ แด่มนุษย์ชาติเลยแม้แต่น้อย และยังคอยช่วยเหลือ เป็นกำลังมาตลอด 30 กว่าปีโดยมีกันและกันอยู่ในหัวใจเสมอ แม้จะไม่มีลูกด้วยกันก็ตาม
ต่อมานายแพทย์ โนกุจิ ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตสาขาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเกียวโต ในปี พ.ศ. 2454 และสาขาวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ในปี พ.ศ. 2457
ในปีพ.ศ. 2458 ซึ่งนายแพทย์ โนกุจิ มีอายุเพียง 39 ปี ได้รับเกียรติยศอันยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิต ของเด็กลูกชาวนาจนๆ ด้วยการกลับมารับ รางวัลสมเด็จพระจักรพรรดิ (The Imperial Award) จากราชวิทยาลัยแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิญี่ปุ่น เป็นความภาคภูมิใจให้เกิดขึ้นกับผู้เป็นแม่ และอาจารย์รวมทั้งผู้ให้โอกาสแก่เขาในช่วงเวลายากไร้ในวัยเยาว์
เพียงแต่การกลับมาในครั้งนี้ เป็นครั้งสุดท้ายที่นายแพทย์ โนกุจิ จะได้พบกับผู้เป็นแม่ เพราะการกลับไปอเมริกานั้น จะต้องจากคุณแม่ไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ
ในปีพ.ศ.2461 ในช่วงเวลาที่ นายแพทย์ โนกุจิ พำนักอยู่ใน เอกวาดอร์ (Ecuador) เพื่อศึกษาการระบาดของโรค ไข้เหลือง(Yellow Fever) ซึ่งพบกับความสำเร็จอีกครั้ง จากการค้นพบเชื้อต้นเหตุของไข้เหลือง ซึ่งมีสาเหตุมาจาก ยุง
โดยอาการของโรคนั้นได้แก่ อาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อร่วมกับปวดหลัง ปวดศีรษะ หนาวสั่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน จากนั้นก็หายไปชั่วคราว แล้วจะกลับมาเป็นอย่างหนัก ทำให้ตัวจะเหลือง ตาเหลือง ปวดท้อง อาเจียน มีเลือดออกจากปาก จมูก ตา กระเพาะอาหาร ทำให้อาเจียน และถ่ายเป็นเลือด จนถึงไตวาย
แม้จะพบสาเหตุของโรค นายแพทย์ โนกุจิ ยังไม่สามารถหาทางป้องกัน หรือเอาชนะโรคนี้ได้ จึงทำให้ต้องศึกษาค้นคว้าให้มากกว่าเดิม
การมุมานะอย่างหนักในดินแดนแอฟริกา ที่มีการแพร่ระบาดอย่างรุนแรง มาพร้อมกับข่าวเศร้า ที่ทางสถาบัน ร็อกกี้เฟลเลอร์ รับเรื่องมาจากญี่ปุ่นและส่งตรงมายัง เอกวาดอร์ อย่างร้อนรนผ่านโทรเลขฉบับหนึ่ง ที่มีข้อความสั้นๆ แต่สร้างความรู้สึกปวดร้าวให้เกิดขึ้นกับผู้รับและผู้ส่งว่า
“คุณแม่ ชิกะ ได้เสียชีวิตแล้วด้วยโรคชรา”
ท่านได้เสียชีวิต ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2461 รวมอายุ 65 ปี ทำให้ นายแพทย์ โนกุจิ อยู่ในความเศร้าโศกเสียใจอยู่พักใหญ่ ที่ตลอดทั้งชีวิตไม่ค่อยได้มีเวลาดูแลท่าน มุ่งมั่นเอาชนะโรคร้ายที่คร่าชีวิตมนุษย์ชาติ แต่ที่สุดแล้ว นายแพทย์ โนกุจิ ได้รับคำปลอบใจจากผู้คนรอบข้างเกือบทุกคนว่า
“คือการเสียสละเพื่อส่วนรวม และวิญญาณของคุณแม่ชิกะ คงจะปลาบปลื้ม และภูมิใจ ที่นายแพทย์โนกุจิ เสียสละอย่างยิ่งใหญ่ มากกว่าจะคำนึงถึงความสุขของตนเอง”
จึงเป็นสาเหตุที่ นายแพทย์ โนกุจิ กลับมาลุกขึ้นสู้ โดยเฉพาะความต้องการเอาชนะโรคไข้เหลืองให้ได้ จึงมุโหมงานอย่างหนัก ด้วยการเป็นอาสาสมัครเดินทางสู่ทวีป แอฟริกาอีกครั้ง และจบชีวิตลงด้วย โรคไข้เหลืองที่ท่านต้องการจะเอาชนะให้ได้
กลายเป็นความเศร้าโศกและความสุญเสียครั้งยิ่งใหญ่ในวงการแพทย์ ด้วยการจากไปในวัยเพียง 51 ปี วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ณ กรุงอัคคร่า ประเทศกาน่าในปัจจุบัน
ซึ่งแม้ในช่วงเวลาสุดท้ายของชีวิต แม้จะเจ็บป่วยเจียนตาย แต่ท่านก็ยังพยายามค้นคว้าจนถึงที่สุด
ปัจจุบันร่างไร้วิญญาณของท่าน ได้ถูกส่งกลับมาที่อเมริกา ณ. สุสานวู้ดลอว์น(Woodlawn Cemetery) ในนิวยอร์ค ซึ่งเป็นสุสานอันทรงเกียรติที่สุดสำหรับบุคคลผู้ประสบความสำเร็จ และที่หลุมศพของ นายแพทย์ โนกุจิ มีป้ายสลักว่า
"สมาชิกแห่งสถาบันวิจัยทางการแพทย์ร็อกกี้เฟลเลอร์ ผู้อุทิศตนเพื่อวิทยาศาสตร์ มีชีวิตอยู่และจากไปเพื่อมวลมนุษยชาติ"
แต่สิ่งสำคัญที่สุด ที่นายแพทย์ โนกุจิ ได้สลักเอาไว้บนโลกใบนี้ คือ การสร้างคุณค่าของคนหนึ่งคน ผ่านประวัติชีวิตอันทรงคุณค่าของท่าน ที่เริ่มจากจุดต่ำสุดจากการเป็น เด็กเหลวไหล เพราะการถูกเหยียดหยามประณาม กลายเป็นการเอาชนะความล้มเหลว
จนกลายเป็นหนึ่งบุคคลสำคัญของโลก อันสะท้อนคุณค่าของความอดทน เชื่อมั่น และฝ่าฟันไป เพราะเพียงแค่ ประโยคสั้นๆ แต่ทรงอมตะที่ท่านมอบไว้ว่า...
“ความอดทนนั้นมีรสขม แต่ผลของมันมีรสหวาน”
คือสิ่งที่เป็นความจริงที่สุด ในการใช้ชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบัน
...........................................
เหลวไหล หมายถึง 在 นกแสก นกผี ปีศาจ เหลวไหลทั้งเพ ตอน 2 - YouTube 的推薦與評價
คนไทยเชื่อกันว่า นกแสก คือ นกแห่งความตาย ความเชื่อนี้ นำความตายมาสู่นก. ... <看更多>
เหลวไหล หมายถึง 在 สำมะเลเทเมา หมายถึง ประพฤติเหลวไหล เช่นกินเหล้าเมายา เป็นต้น ... 的推薦與評價
สำมะเลเทเมา หมายถึง ประพฤติเหลวไหล เช่นกินเหล้าเมายา เป็นต้น ตัวอย่าง เขาชอบสำมะเลเทเมา กลางวันเล่นม้ากลางคืนกินเหล้า. #238. ... <看更多>