“พ่อรวยสอนลูก” 2021
ช่วงนี้อยู่บ้าน มีเวลานั่งเปิดอ่านหนังสือเก่าๆ ที่เคยแปล เคยเขียน เล่มหนึ่งที่ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานหนังสือของผม ก็คือ Rich Dad Poor Dad หรือ “พ่อรวยสอนลูก” โดย โรเบิร์ต คิโยซากิ
ผ่านเวลา 20 ปี หนังสือเล่มนี้ยังติดอันดับขายดี แถมเนื้อหาก็ยังร่วมสมัย ใช้ได้ไม่ตกยุค ได้เปิดอ่านอีกรอบ เลยอยากสรุปประเด็นที่มองเห็น เมื่อเทียบกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ในมุมมองของตัวเอง เผื่อเป็นประโยชน์กับน้องๆ รุ่นใหม่ที่กำลังเริ่มต้นศึกษาเรื่องเงิน จะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกสักนิดจากการอ่านหนังสือเล่มนี้
6 บทเรียนของพ่อรวย กับยุค 2021 ในมุมมองผู้แปลและเรียบเรียง
1. คนรวยไม่ทำงานเพื่อเงิน
เอาเข้าจริงข้อนี้หลายคนแปลความผิด คิดว่าคนรวยทำงานไม่มุ่งหวังเงินหรือผลตอบแทน จริงๆ แล้วไม่ใช่นะครับ (เวลาทำงานเราก็ควรได้ผลตอบแทนสมน้ำสมเนื้อกับเนื้องานนั่นแหละ) แต่คำว่า คนรวยไม่ทำงานเพื่อเงิน ในที่นี้หมายถึง “คนรวยไม่ติดพันธนาการทางการเงิน” ต่างหาก
ซึ่งพันธนาการที่สำคัญที่สุด ก็คือ การเป็นหนี้จน หนี้ที่ทำเราต้องเหนื่อย ต้องดิ้นรน เพราะเป็นหนี้ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้ และเมื่อไหร่ที่เราติดกับดักหนี้พวกนี้ เราจะคิดถึงแต่ “เงิน” ทำอะไรก็ต้องเอาเงินเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เงินไม่ทำ ได้น้อยไม่ทำ (ขยันเพราะหนี้เยอะ กับขยันเพราะอยากสร้างชีวิตให้มั่นคงเร็วๆ ไม่เหมือนกัน)
คนเราเมื่อมี “หนี้” เป็นพันธนาการ วิสัยทัศน์การเงินจะสั้นลง เหลือแค่ไม่เกิน 30 วัน เพราะครบเดือนก็จะถูกติดตามทวงถามกันอีกแล้ว ก็เลยฝันไปไกลหรือคิดไปไกลกว่านั้นไม่ได้ สถานการณ์หนี้ครัวเรือนบ้านเราที่แตะระดับ 90% คือ อันตรายที่บอกเราว่า คนจำนวนไม่น้อยกำลังตกอยู่ในสภาวะแบบนี้
ถ้าคุณไม่มีหนี้ หรือมีภาระหนี้ในระดับที่ควบคุมได้ (กระแสเงินสดต่อเดือนยังเป็นบวก) คุณจะไม่ติดกับดักความคิดเรื่องเงิน และมีโอกาสต่อยอดไปได้ไกลและได้เร็วกว่า ดังนั้นหมั่นควบคุมระดับหนี้ให้ดี อย่าให้เงินผ่อนชำระหนี้ต่อเดือน (DSR) สูงเงินไปนะครับ
2. แยกให้ออกว่าอะไร คือ “ทรัพย์สิน” อะไร คือ “หนี้สิน”
คนที่อ่านหนังสือพ่อรวยสอนลูก จะท่องได้เหมือนกันหมด “ทรัพย์สิน” คือ สิ่งที่ทำให้เงินไหลเข้ากระเป๋า “หนี้สิน” คือ สิ่งที่ทำให้เงินไหลออกจากกระเป๋า ซึ่งหลักคิดนี้ก็ยังใช้ได้จนถึงปัจจุบันนะ ไม่ล้าสมัย
คำถามสำคัญ คือ ท่องได้แล้วเราเคยสังเกตการจัดเงินของตัวเองหรือเปล่าว่า แต่ละวันเงินที่เราหามาได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงนั้น จ่ายไปกับอะไรบ้าง มีไหลไปสะสมเป็นทรัพย์สินบ้างหรือเปล่า หรือส่วนใหญ่จ่ายไปกับค่าใช้จ่าย (ใช้แล้วหมดไป) และหนี้สิน (ใช้แล้วเป็นภาระระยะยาว)
(ทรัพย์สินได้แก่อะไรบ้าง เงินฝาก สลากออมทรัพย์ พันธบัตร หุ้นกู้ หุ้นสหกรณ์ หุ้น ทองคำ กองทุนรวม อสังหาฯ ธุรกิจที่เราไม่ต้องลงมือทำ ลิขสิทธิ์ เหรียญดิจิทัล ฯลฯ)
จะดูว่าคนเราแยกออกไหม ว่าอะไรเป็นทรัพย์สิน-หนี้สิน อาจดูได้จาก อัตราส่วนเงินออมเงินลงทุน ของเขาก็ได้ ว่ามีมากน้อยแค่ไหน ถ้าเดือนหนึ่งหาเงินได้ 100 บาท จ่ายให้ตัวเอง (Pay Yourself) โดยการนำไปออมและลงทุน เกิน 10 บาท อันนี้ถือว่าเข้าใจจริง เพราะนำไปปฏิบัติสม่ำเสมอ (ถ้าถึงระดับ 20% ได้จะเฟี้ยวมาก)
แต่ถ้าออมและลงทุนได้ไม่ถึง 10% ของรายได้ที่หาได้ อันนี้เรียก ทฤษฎีแน่น ปฏิบัตินุ่มนิ่ม ผลลัพธ์ไม่ต้องบอกก็รู้กัน
นอกจากนี้ทุกปี เราอาจลองคำนวณหา ความมั่งคั่งสุทธิ (Net Worth) โดยนำทรัพย์สินรวมทั้งหมดที่มี ลบออกด้วยหนี้สินทั้งหมดในชื่อเราดู ว่าผลลัพธ์สุดท้ายเป็นบวกมั้ย และบวกเพิ่มขึ้นทุกปีหรือเปล่า ถ้าความมั่งคั่งสุทธิเป็นบวก และบวกเพิ่มขึ้นทุกปี อันนี้ถือว่ามีแววครับ
3. สร้างธุรกิจของตัวเอง
ในบทเรียนที่ 3 นี้ เอาเข้าจริงไม่ได้หมายความว่า ให้ทุกคนสร้างธุรกิจของตัวเองหรอกนะครับ ผมคุยกับโรเบิร์ตตอนแปลหนังสือ แกบอกว่าสังเกตดูสิ “ทรัพย์สิน” ทุกอย่างก็อยู่ในรูปธุรกิจทั้งหมดนั่นแหละ ธุรกิจทั่วไปแน่นอนว่าเป็นธุรกิจอันนี้ชัด อสังหาฯให้เช่า ก็คือ ธุรกิจจัดหาที่พักให้แก่ผู้คน ลิขสิทธิ์หนังสือ ก็ถูกนำมาจัดพิมพ์และจัดจำหน่ายในธุรกิจส่ิงพิมพ์ หรืออย่างในปัจจุบัน วิดีโอที่ Youtuber อัพโหลดกัน (เป็นทรัพย์สิน) ก็อยู่ในธุรกิจโฆษณา
ดังนั้นถ้าคุยสะสมอะไรที่มีมูลค่าเพิ่ม หรือให้กระแสเงินสดได้ ก็มองเป็น “ธุรกิจ” ได้ (ฝากเงินธนาคาร ก็เหมือนเราทำธุรกิจสินเชื่อเหมือนกันนะ!)
แต่ถ้าเราสร้างธุรกิจขึ้นมาได้เองจริงๆ อันนี้ก็ถือว่า “โคตรเฟี้ยว”
อย่างไรก็ดี โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยแนะนำใครให้ลาออกจากงานมาลุยงานประจำเลยนะครับ เพราะมันมีความเสี่ยงมาก ที่จะแนะนำคือ ให้เร่ิมสร้างงานที่ 2 อาชีพที่ 3 ธุรกิจที่ 4 เริ่มทำจากเล็กๆ ลองผิดลองถูกในระดับความเสี่ยงที่พอรับได้ก่อน แล้วค่อยๆ พัฒนาระบบของกิจการไป สร้างรายได้หลายทางแบบ Multi-Income Stream จนธุรกิจของเราเริ่มเป็น “ทรัพย์สิน” และเมื่อรายได้ทางที่ 2, 3 และ 4 ของเราเริ่มใกล้เคียงกับงานประจำ ค่อยพิจารณากันอีกที
ทั้งนี้การสร้างธุรกิจของตัวเอง (งานฟรีแลนซ์ต่างๆ นี่ก็ใช่นะ) กับโจทย์โลกการเงินในยุคปัจจุบัน อาจไม่ได้มองแค่เรื่องอยากรวยเร็ว แต่ผมมองเรื่อง “ความมั่นคง” ทางรายได้ ที่ในยุคนี้มีความเสี่ยงจากแต่ก่อนมาก การมีงาน 2,3,4 หรือมีธุรกิจตัวเองไว้ควบคู่ไปด้วย เป็นตัวช่วยทำให้เราสามารถ “ควบคุม” อนาคตทางการเงินของตัวเองได้ (เหมือนที่โรเบิร์ตชอบพูด Control Your Financial Future) โดยไม่ต้องขึ้นกับคนอื่น เป็นสิ่งที่ “ต้องทำ” (a must) ไม่ใช่ “ควรทำ” อีกต่อไปแล้วครับ
4. เข้าใจเรื่องภาษี
“ภาษี” คือ รายจ่ายที่ใหญ่ที่สุดตัวหนึ่งของชีวิต ยิ่งคุณมีรายได้เยอะ มีทรัพย์สินเยอะ คุณจะเข้าใจความหมายของประโยคนี้ได้ดี
***แต่ช้าก่อน ผมไม่ได้บอกหรือพูดว่า คนรายได้น้อยไม่ได้เสียภาษีนะ (อย่าคิดไปเองสิ) เพราะคนเราเสียภาษีกันทุกคน อย่างน้อยก็ภาษีจากการบริโภค อย่างภาษีมูลค่าเพิ่ม
ไม่ว่าอย่างไร คนเราไม่ควรหลีกเลี่ยงหรือหนีภาษี เพราะนั่นเป็นเรื่องผิดกฎหมาย สิ่งที่เราควรทำ คือ การศึกษาข้อกำหนดและกฎหมายภาษี ที่เกี่ยวข้องกับ “ตัวเรา” เพื่อเราสามารถวางแผนภาษีได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย (ย้ำ! ถูกต้องตามกฎหมาย)
หลายคนอ่านหนังสือพ่อรวยสอนลูก แล้วตีความไปว่า ควรเปิดบริษัท เพราะประหยัดภาษีกว่า อันนี้บอกเลยว่าไม่แน่นะครับ ที่ดีคือ เราควรคำนวณภาษีให้เป็น แล้ววางแผนดีกว่าไปยึดอะไรเป็นหลักตายตัวแบบนั้น
ข้อนี้ไม่มีอะไรจะแนะนำมากไปกว่า จงเรียนรู้และเข้าใจภาษีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของเรา (ฐานบริโภค ฐานรายได้ และฐานทรัพย์สิน) คิดคำนวณภาษีและวางแผนภาษีตัวเองให้เป็น ไม่ว่าจะคุณจะทำงานประจำ ทำงานฟรีแลนซ์ หรือเป็นเจ้าของกิจการ เพื่อให้สามารถประหยัดภาษีและลดรายจ่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพราะมันคือ “สิทธิ” ที่คุณพึงได้ครับ
5 คนรวยสร้างเงินได้เอง
ต้นฉบับภาษาอังกฤษใช้คำว่า “The Rich Invent Money” ผมก็ไม่กล้าแปล Invent ว่า “ประดิษฐ์” (ออกแนวพิมพ์แบงค์) กลัวมีปัญหา 555 จะให้ใช้คำว่า “คิดค้น” ก็ออกแนววิทยาศาสตร์ไป หัวใจสำคัญของบทเรียนนี้ ก็คือ คนรวยสร้างเงินจาก “ไอเดีย” ได้นั่นเอง
โดยโรเบิร์ตเน้นในหนังสือว่า คนที่จะสร้างเนื้อสร้างตัวให้มั่งคั่ง ต้องรู้จักวิธีแปลง “ไอเดีย” ให้เป็น “ธุรกิจ” ที่ทำเงินให้ตัวเอง โดยใช้เงินตัวเองไม่มาก หรือไม่ใช้เงินตัวเองเลย (ในหนังสือใช้คำว่า “พลังทวี” หรือ Leverage)
ซึ่งการใช้ Leverage ที่ว่านี้ ก็มีอยู่หลากหลายวิธี ตั้งแต่วิธีดั่งเดิมอย่างการใช้สินเชื่อสถาบันการเงิน การเข้าหุ้นส่วน การหยิบยืมคนใกล้ตัว (พ่อแม่ลงทุนให้) การใช้สิทธิส่งเสริมจากภาครัฐ (Grant) กลุ่มทุนร่วมลงทุน (Venture Capital) การระดุมทุนผ่านประชาชนอย่าง Crowd Funding และปัจจุบันที่ไปถึงการใช้พลังทวีจากเหรียญดิจิทัลแล้ว
เข้าสู่ปี 2021 การ Leverage อาจไม่ใช่การใช้พลังทวีจากเงินทุนอย่างเดียวก็ได้ เพราะบางครั้งธุรกิจก็สามารถขยายกิจการด้วยกำไรของตัวเอง ดังนั้น เครื่องมืออีกตัวที่ช่วยให้ธุรกิจเติบโต ก็คือ พลังทวีจากการตลาด (Marketing Leverage) อย่างโซเชียลมีเดีย และเครื่องมือออนไลน์อื่นๆ อีกมาย
ทั้งหมดทั้งมวลเริ่มจากจุดเริ่มต้นในข้อที่ 3 ก็คือ เริ่มสร้างงาน อาชีพ หรือธุรกิจ เพื่อเป็นแหล่งรายได้ที่ 2, 3 และ 4 แล้วค่อยๆต่อยอดไป คิด-ลงมือทำ-เรียนรู้ เพื่อพัฒนาเครื่องผลิตเงิน (ธุรกิจ) ของเรา ให้เติบโตและสามารถเลี้ยงดูค่าใช้จ่ายเราได้ โดยพักจากการทำงานได้บ้าง (มีอิสรภาพการเงิน)
6. คนรวยทำงานเพื่อเรียนรู้
ข้อนี้คนก็ตีความและเข้าใจผิดไปเยอะนะครับ ทำงานเพื่อ “เรียนรู้” ในที่นี้ ไม่ได้หมายความ เรียนเยอะเรียนแยะ เรียนกันจัง แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการทำให้ “ทรัพย์สิน” เติบโต จริงอยู่ว่าการพัฒนาตัวเองเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็ต้องมี “ทิศทาง” ที่ถูกต้องด้วย
ถ้าคุณเป็นนักลงทุน สิ่งที่คุณจะต้องเรียนรู้ ก็คือ หลักและวิธีการลงทุน ความเข้าใจในทรัพย์สินที่เลือกลงทุน ธรรมชาติของตลาด
แต่ถ้าคุณทำธุรกิจ ทักษะที่จำเป็นต่อความสำเร็จ (สังเกตใช้คำว่า “ทักษะ” เพราะมากกว่าแค่ “รู้” แต่ต้อง “ทำได้”) ก็คือ 1) การขายและการตลาด 2) การบริหารกระแสเงินสด 3) การจัดการระบบ (Operation) และ 4) การบริหารบุคลากร
ทุกครั้งที่จะศึกษาอะไร ตอบคำถามตัวเองเพื่อเช็คทิศทางก็ดีครับ ว่าสิ่งที่เราเรียนจะ “ช่วยให้ธุรกิจและการลงทุนของเราดีขึ้นได้อย่างไร?” จะได้โฟกัสกับการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ก่อน และไม่ทำให้การเรียนรู้สะเปะสะปะเกินไป
นอกจากสิ่งที่เรียนรู้แล้ว วิธีการเรียนรู้ (How to Learn) ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก โรเบิร์ตจะเน้นเรื่องของการ “ลงมือทำ” เรียนรู้จากประสบการณ์จริง การแก้ปัญหาจริงเป็นสำคัญ และนำไปสู่ทัศนคติต่อการเรียนรู้ที่ยอดเยี่ยม ที่ผมเองก็ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ “เมื่อเจอปัญหา จงรู้ไว้เลยว่า นั่นคือโอกาสที่จะช่วยให้เราเก่งขึ้น”
ปัญหา --> แก้ปัญหา --> ทักษะในด้านนั้นที่สูงขึ้น
ปัญหาการเงิน ---> ลงมือแก้ปัญหา ---> ความฉลาดทางการเงินที่สูงขึ้น ---> จัดการเรื่องเงินได้ดีขึ้น
และหมุนเป็นวงจรเรียนรู้ไปไม่มีวันจบสิ้น เหมือนที่วันนี้ผ่านมา 20 ปีเศษแล้ว ผมก็ยังต้องเรียนรู้เรื่องทรัพย์สินใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่บนโลกเราเสมอ (เด็กรุ่นใหม่เก่งกันจังวุ้ย)
หวังว่าบทสรุปจากการนั่งอ่านหนังสือ Rich Dad Poor Dad หรือพ่อรวยสอนลูกอีกรอบ และเล่ามุมมองกับโลกที่หมุนไปเร็วเหลือเกินในฐานะผู้แปล จะเป็นประโยชน์กับทุกท่านบ้าง ไม่มากก็น้อย
#TheMoneyCoachTH
ไม่ใช่ ของเรา 在 Facebook 的精選貼文
จงเลือกคบคนที่
”เกรงใจ”
ในความ”ใจดี”ของเรา
ไม่ใช่ “ได้ใจ”
ในความ “ใจดี” ของเรา
.
ig : chain_saharath
ไม่ใช่ ของเรา 在 Trainer Nalisa ชีวิตยิ่งใหญ่ ถามใจให้เป็น Facebook 的最佳解答
จะคบใคร ก็ "ดูกันให้ดีๆ" เลือกให้นานๆ
.
ดูคนที่เขา "จริงใจ"
คนที่เขาอยาก "รักจริง"
.
#ไม่ใช่ คนที่ #รักสนุก
เอาแต่ "เล่น" ไปวันๆ
.
แต่ เป็นคนที่เขา #พร้อม
จะเดินไปข้างหน้าด้วยกัน
.
ที่เป็นทั้ง #ความสุข
และความ #สบายใจ
.
เป็นจุดปลอดภัย
ในชีวิตของเรา
.
ให้ #รัก มันเป็น...
"เรื่องดีๆ" ใน #ชีวิต ของเรา
.
อยากเรียนรู้วิธี "เลือกคนให้เป็น" เพื่อให้สบายใจ
กดลิงก์นี้แล้วมา “พุดคุย” กันนะคะ
ที่ https://bit.ly/3dVH4zK
หรือ Add LINE : @trainernalisa
.
#คำคมหนัง #คำคม #หนังไทย
#onegative #รักออกแบบไม่ได้