“10 ธันวา : ความรู้ความเข้าใจรัฐธรรมนูญ”
ประเทศไทยหลังจากการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” มาเป็น “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ”
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมา 20 ฉบับ ตามลำดับ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศจิกายน 2494) ถูกยกเลิกการรัฐประหาร
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)
8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกการรัฐประหาร
14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - 22 พฤษภาคม 2557) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม 2557 - 6 เมษายน 2560)
20. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (6 เมษายน 2560 - ปัจจุบัน)
ความรู้ความเข้าใจในตัวรัฐธรรมนูญ
ในอดีต มีประชาชนในสมัยพ่อเฒ่า เมื่อ 87 ปี ที่แล้ว พ่อเฒ่าเล่าว่า ประชาชนในสมัยนั้นเข้าใจว่า วันที่ 10 ธันวา ที่มีการเฉลิมฉลองวันรัฐธรรมนูญนั้น คือ การเลี้ยงฉลองวันเกิด ลูกชาย พระยาพหลพยุหเสนา ที่ ชื่อ รัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ให้มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และให้มีรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 ฉบับถาวร ประกาศใช้ วันที่ 10 ธันวาคม 2475 ถือ เป็น “วันรัฐธรรมนูญ” ของประเทศไทย นั้นไม่มีความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเลย
และจนมาถึงวันนี้ปัจจุบัน 87 ปี ความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยก็ยังชนบท (ล้าหลัง) อยู่ “รัฐบาลที่เปลี่ยนเสื้อผ่านทางรัฐธรรมนูญ 2560 จาก คสช. มาเป็นรัฐบาลพลเรือน น่าจะรู้ดีครับ”
6ตุลาคม2549 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
“10 ธันวา : ความรู้ความเข้าใจรัฐธรรมนูญ”
ประเทศไทยหลังจากการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจาก “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” มาเป็น “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ”
รัฐธรรมนูญ ฉบับแรกของไทย มีชื่อว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475" จากนั้น ก็ได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญมา 20 ฉบับ ตามลำดับ ดังนี้
1. พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 (27 มิถุยายน - 10 ธันวาคม 2475)
2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม (ไทย) พุทธศักราช 2475 (10 ธันวาคม 2475 - 9 พฤษภาคม 2489) ถูกยกเลิกเพราะล้าสมัย
3. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 (9 พฤษภาคม 2489 - 8 พฤศจิกายน 2490) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
4. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญตุ่มแดง หรือ รัฐธรรมนูญใต้ตุ่ม (9 พฤศจิกายน 2490 - 23 มีนาคม 2492)
5. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 (23 มีนาคม 2492 - 29 พฤศจิกายน 2494) ถูกยกเลิกการรัฐประหาร
6. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495 (8 มีนาคม 2495 - 20 ตุลาคม 2501) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
7. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 (28 มกราคม 2502 - 20 มิถุนายน 2511)
8. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511 (20 มิถุนายน 2511 - 17 พฤศจิกายน 2514) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
9. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 (25 ธันวาคม 2515 - 7 ตุลาคม 2517)
10. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517 (7 ตุลาคม 2517 - 6 ตุลาคม 2519) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
11. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 (22 ตุลาคม 2519 - 20 ตุลาคม 2520)
12. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 (9 พฤศจิกายน 2520 - 22 ธันวาคม 2521)
13. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (22 ธันวาคม 2521 - 23 กุมภาพันธ์ 2534) ถูกยกเลิกการรัฐประหาร
14. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 (1 มีนาคม - 9 ตุลาคม 2534)
15. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 (9 ธันวาคม 2534 - 11 ตุลาคม 2540) ถูกยกเลิกหลังตรารัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
16. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ฉบับประชาชน (11 ตุลาคม 2540 - 19 กันยายน 2549) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
17. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 (1 ตุลาคม 2549 - 24 สิงหาคม 2550)
18. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 (24 สิงหาคม 2550 - 22 พฤษภาคม 2557) ถูกยกเลิกโดยการรัฐประหาร
19. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 (22 กรกฎาคม 2557 - 6 เมษายน 2560)
20. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (6 เมษายน 2560 - ปัจจุบัน)
ความรู้ความเข้าใจในตัวรัฐธรรมนูญ
ในอดีต มีประชาชนในสมัยพ่อเฒ่า เมื่อ 87 ปี ที่แล้ว พ่อเฒ่าเล่าว่า ประชาชนในสมัยนั้นเข้าใจว่า วันที่ 10 ธันวา ที่มีการเฉลิมฉลองวันรัฐธรรมนูญนั้น คือ การเลี้ยงฉลองวันเกิด ลูกชาย พระยาพหลพยุหเสนา ที่ ชื่อ รัฐธรรมนูญ แสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ให้มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และให้มีรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 ฉบับถาวร ประกาศใช้ วันที่ 10 ธันวาคม 2475 ถือ เป็น “วันรัฐธรรมนูญ” ของประเทศไทย นั้นไม่มีความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเลย และจนมาถึงวันนี้ปัจจุบัน 87 ปี ความรู้ความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยก็ยังชนบท (ล้าหลัง) อยู่
“รัฐบาลที่เปลี่ยนเสื้อผ่านทางรัฐธรรมนูญ 2560 จาก คสช. มาเป็นรัฐบาลพลเรือน น่าจะรู้ดีครับ”
6ตุลาคม2549 在 sittikorn saksang Facebook 的精選貼文
"กฎอัยการศึกที่เกี่ยวเนื่องกับการรัฐประหาร"
รศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ความหมายของกฎอัยการศึก
กฎอัยการศึก (martial law) เป็นกฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สำหรับประกาศใช้เมื่อมีเหตุจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง ซึ่งในเขตที่ประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอำนาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปรามหรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน
ลักษณะของกฎอัยการศึก
ในปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกพุทธศักราช 2457 เป็นกฎหมายจำกัดสิทธิพลเมืองฉบับแรกๆ ของประเทศไทยได้ประกาศใช้ในสถานการณ์พิเศษ ที่จำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1.สถานการณ์พิเศษที่เกี่ยวเนื่องกับการจลาจลหรือสงคราม
2.สถานการณ์พิเศษที่เกี่ยวเนื่องกับการรัฐประหาร
3.สถานการณไม่สงบภายในราชอาณาจักร (เช่น สถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
การประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก กฎอัยการศึกมักกำหนดเป็นการชั่วคราวเมื่อรัฐบาลหรือข้าราชการพลเรือนไม่อาจทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของรัฐ อาจจะประกาศใช้ในลักษณะ ดังนี้
1.การประกาศใช้พระราชบัญัติกฎอัยการศึกใช้ที่ใดที่หนึ่ง เช่น การประกาศในท้องที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักรไทยเป็นต้น การประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกในลักษณะนี้ ฝ่ายที่ดำเนินการไปต้องรายงานให้รัฐบาลทราบหลังจากดำเนินการประกาศใช้
2.การประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกทั่วทั้งประเทศ ซึ่งการประกาศใช้ทั้งประเทศส่วนมากจะใช้ควบคู่ไปกับการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลและฉีกรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญนอกวิถีทางรัฐธรรมนูญ กล่าวคือ เป็นการประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกเต็มขั้น นายทหารยศสูงสุดจะยึด หรือได้รับแต่งตั้ง เป็นผู้ว่าการทหารหรือเป็นหัวหน้ารัฐบาลฉะนั้น จึงเป็นการถอดอำนาจทั้งหมดทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการของรัฐบาล
การประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกที่เกี่ยวเนื่องกับการรัฐประหาร
เมื่อพิจารณาศึกษาจะพบว่า มีการประกาศกฎอัยการศึก ที่เกี่ยวเนื่องกับการรัฐประหารซึ่งถือว่าเป็นการประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกเต็มขั้นมีทั้งสิ้น 8 ครั้ง ด้วยกัน ดังนี้
ครั้งที่ 1 เนื่องจากการก่อรัฐประหารภายใต้การนำของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2500 เวลา 23.00 น. ใช้บังคับทุกจังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 74 ตอนที่ 76 ต่อมาประกาศยกเลิกจนครบทุกจังหวัด เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2501
ครั้งที่ 2 เนื่องจากการก่อรัฐประหารโดย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2501 เวลา 21.13 น. บังคับใช้ทุกจังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 81 ต่อมาประกาศยกเลิก 37 จังหวัด เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2514
ครั้งที่ 3 เนื่องจากการรัฐประหารโดย จอมพล ถนอม กิตติขจร ประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514 เวลา 20.11 น. ใช้บังคับทุกจังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 88 ตอนที่ 124 ต่อมาได้มีประกาศยกเลิก 41 จังหวัด เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2517 จนกระทั่งต่อมาในเวลาไล่ๆ กันก็ประกาศยกเลิกอีก 2 จังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 50
ครั้งที่ 4 เนื่องจากการรัฐประหารโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 เวลา 09.10 น. ใช้บังคับทุกจังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 93 ตอนที่ 120
ครั้งที่ 5 เนื่องจากการรัฐประหารโดย พลเรือเอก สงัด ชลออยู่ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 เวลา 18.00 น. คงให้ใช้บังคับกฎอัยการศึกตามที่ประกาศเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ต่อไป และต่อมาได้มีประกาศยกเลิก 30 จังหวัด เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2527 เวลา 06.00 น. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 101 ตอนที่ 104
ครั้งที่ 6 เนื่องจากการรัฐประหารโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ประกาศใช้เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 เวลา 11.30 น. ใช้บังคับทุกจังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 32 ต่อมาได้มีประกาศยกเลิก 52 จังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 77 และต่อมาได้ประกาศยกเลิกอีก 1 จังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 242 ก
ครั้งที่ 7 เนื่องจากการรัฐประหารโดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เวลา 21.05 น. ใช้บังคับทุกจังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 123 ตอนที่ 95 ก ต่อมาได้มีประกาศยกเลิก 35 จังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 124 ตอนที่ 7 ก และต่อมาได้มีประกาศยกเลิกอีก 27 จังหวัด แต่ประกาศใช้บังคับเพิ่มเติม 9 จังหวัด ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 5 ก
ครั้งที่ 8 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ได้ลงนามในประกาศกองทัพบก ฉบับที่ 1/2557 เรื่องการประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก ประกาศใช้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2557 เวลา 03.00น. เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และนำความสงบสุขกลับคืนสู่ประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ายโดยเร็ว จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 2 และมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการประกาศพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกที่เกี่ยวเนื่องการรัฐประหาร
เมื่อพิจารณาศึกษาจะพบว่า ในจำนวน 7 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1-7 จะต้องมีการรัฐประหารล้มล้างรัฐบาลเก่าฉีกรัฐธรรมนูญแล้วประกาศใช้กฎอัยการศึก แต่ในครั้งที่ 8 (ครั้งล่าสุด) นั้นได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึกก่อนแล้วทำการรัฐประหาร นับว่าเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในการประกาศพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก