เนบิวลานายพราน (Orion Nebula: M42)
เนบิวลานายพราน หรือ Orion Nebula เป็นเนบิวลาที่สว่างที่สุดเนบิวลาหนึ่งบนท้องฟ้า สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ปรากฏเป็นดาวพร่ามัวดวงกลางของดาวสามดวงในดาบของนายพราน (ดูรูปได้ในคอมเม้นต์)
เมื่อส่องด้วยกล้องโทรทรรศน์แล้ว เราจะพบว่าส่วนที่สว่างที่สุดของเนบิวลานายพรานนั้นประกอบไปด้วยดาวฤกษ์สี่ดวงบริเวณกึ่งกลางที่คอยส่องสว่างระบบเนบิวลานี้ ดาวสี่ดวงนี้เรียงกันคล้ายรูปสี่เหลี่ยมคางหมู จึงเรียกว่า "Trapezium" ซึ่งเป็นดาวฤกษ์มวลมากที่เพิ่งเกิดใหม่ ดาวเหล่านี้จึงลุกสว่างด้วยพลังงานที่สูง สะท้อนแสงเนบิวลารอบนอกออกมาเป็นแสงสีฟ้าในลักษณะของเนบิวลาสะท้อนแสง (emission nebula)
ถัดออกมาจาก trapezium เราจะพบว่าเนบิวลานายพรานนั้นเต็มไปด้วยฝุ่นและแก๊สที่รายล้อมไปในห้วงอวกาศ ฝุ่นและแก๊สเหล่านี้นั้น ความจริงแล้วกินพื้นที่เป็นบริเวณที่กว้างกว่านี้มาก และปกคลุมไปเกือบตลอดทั่วทั้งกลุ่มดาวนายพราน เราเรียกว่า "Orion Molecular Cloud Complex" อย่างไรก็ตาม เราสามารถสังเกตเห็นได้เฉพาะส่วนที่ได้รับพลังงานจากดาวเพียงเท่านั้น
ในเมฆโมเลกุลเหล่านี้นั้น องค์ประกอบที่มีมากที่สุดก็คือธาตุไฮโดรเจน เมื่อธาตุไฮโดรเจนได้รับพลังงานจะปลดปล่อยอิเล็กตรอนออกมา และเมื่ออิเล็กตรอนนี้รวมเข้ากับไฮโดรเจนอีกครั้งหนึ่ง ก็จะปลดปล่อยแสงออกมาในรูปของเส้นสเปกตรัมของไฮโดรเจน ในหมู่สเปกตรัมทั้งหลายนี้ เส้นที่ปล่อยแสงในช่วงที่ตามนุษย์สามารถมองเห็นได้ เป็นปริมาณมากที่สุด ก็คือเส้นหลักของ Balmer Series ที่ความยาวคลื่น 656 นาโนเมตร เป็นแสงสีแดงเรื่อๆ ที่ปกคลุมไปทั่วเนบิวลานั่นเอง
เนบิวลานายพรานนี้ เป็นหนึ่งในวัตถุท้องฟ้าที่มีการสังเกตกันมากที่สุด และมีการศึกษากันอย่างถี่ถ้วน การศึกษาการรวมตัวกันของกลุ่มเมฆโมเลกุลในเนบิวลานายพรานนี้เอง ที่ช่วยทำให้เราเข้าใจถึงกระบวนการรวมตัวของกลุ่มฝุ่นและแก๊สในเอกภพ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ทุกดวงที่สว่างไสวในยามค่ำคืน
Search
balmer series 在 Balmer series for ionized lithium - Physics Stack Exchange 的推薦與評價
The initial formula used seems correct, but R should be the Rydberg constant for that particular nucleus. R=1.0973731×107(mnucmnuc+me),. ... <看更多>