ข่าวประชาสัมพันธ์..
รู้จักกระดุมเม็ดแรกของความสำเร็จ บนตลาดอีคอมเมิร์ซ
นี่คือช่วงเวลาที่เศรษฐกิจทั่วโลกต้องเผชิญวิกฤติโควิด 19 แต่ตลาด "อีคอมเมิร์ซ" กลับโตสวนกระแส รวมไปถึงการเติบโตของ “โซเชียลคอมเมิร์ซ” ที่วันนี้กำลังกลายเป็นธุรกิจกระแสหลักของคนไทย
และยังพบว่าตลาดอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซ จะยังเติบโตอีกมากจากปีที่ผ่านมาที่มีมูลค่าสูงถึง 270,000 ล้านบาท
ทั้งหมดนี้มีปัจจัยสำคัญจากวิกฤติโควิด 19 ที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คน ให้หันมาจับจ่ายซื้อสินค้ากันบนออนไลน์ ส่งผลให้แบรนด์สินค้า และ SMEs ต้องหันมาเปิดช่องทางขายทางออนไลน์เพิ่มขึ้น
โดยพบว่าช่องทางที่คนไทยนิยมซื้อสินค้าออนไลน์มี 3 ช่องทางคือ เว็บไซต์ของแบรนด์, โซเชียลคอมเมิร์ซ และอีมาร์เก็ตเพลซ
จาก “ทางเลือกสู่ทางรอด” เมื่ออีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซเป็นความหวัง และทางรอด จึงทำให้ ผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่ กลาง เล็ก มองหาวิธีการที่จะช่วงชิง โอกาสสู่ทางรอดธุรกิจ ท่ามกลางวิกฤติที่ยังไม่มีจุดสิ้นสุดครั้งนี้
แต่ท่ามกลางโอกาสบนอีคอมเมิร์ซและโซเชียลคอมเมิร์ซ ยังพบ Pain Point หรือข้อจำกัดที่ยังแก้ไม่ตกของเหล่าผู้ประกอบการที่อาจจะต้องกุมขมับคิดกันหลายรอบก่อนจะเริ่มก้าวเท้าเข้าสู่การขายในโลกออนไลน์ ตั้งแต่ความรู้ความเข้าใจในการเริ่มต้นและทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ทีมงานที่จะมาดูแลการขายในออนไลน์ เงินทุนที่ต้องใช้เพื่อขยายช่องทางออนไลน์
วันนี้ ลงทุนแมน เลยขอชวนมาทำความรู้จักทางลัดสู่ “อีคอมเมิร์ซ” และ “โซเชียลคอมเมิร์ซ” ที่จะทำให้คุณติดกระดุมเม็ดแรกของเส้นทางความสำเร็จ ในการขายบนออนไลน์ได้อย่างไม่พลาดเป้า
ข้อแรกที่คุณต้องรู้! โดยเฉพาะในวันที่หลายคนตั้งคำถามว่า “เว็บไซต์ยังจำเป็นอยู่มั้ยในตอนนี้” เพราะด้วยความนิยมของโซเซียลคอมเมิร์ซ และความเฟื่องฟูของการขายสินค้าผ่านอีมาร์เก็ตเพลส สิ่งที่เราพบคือ เว็บไซต์เป็นอีกหนึ่งช่องทางขายที่ทำเม็ดเงินมหาศาลให้กับผู้ประกอบการ!
ซึ่งตรงกับการสำรวจพฤติกรรมนักช้อปคนไทยโดย Google เมื่อเดือนมกราคม 2021 ที่ระบุว่า การซื้อของบน Brand.com หรือเว็บไซต์ของร้านค้าจะมีมากกว่าการซื้อจาก อีมาร์เก็ตเพลสถึง 1.2 เท่า เป็นเพราะการซื้อจากเว็บไซต์ของร้านค้าโดยตรงจะได้รับ เงื่อนไขและบริการหลังการขายที่ดีกว่า รวมถึงผู้ซื้อรู้สึกมั่นใจได้ว่าสินค้าที่ซื้อเป็น ของแท้!
จากตรงนี้ก็คงจะเป็นคำตอบให้ผู้ประกอบการได้ว่า “เว็บไซต์ยังจำเป็น...มาก” ตราบใดที่คนยังใช้ Search Engine ค้นหาข้อมูล เว็บไซต์ก็ยังเป็นสิ่งที่จำเป็น และอย่าลืมว่าเว็บไซต์คือพื้นที่ที่เราเป็นเจ้าของเต็มตัว ไม่เหมือนโซเชียลมีเดีย
จึงทำให้เราสามารถทำ Google Analytics เพื่อเก็บข้อมูลเชิงสถิติทั้งหมดเกี่ยวกับเว็บไซต์ของเรา แล้วนำมาต่อยอดในการทำการตลาด หรือการใช้ data ของลูกค้าที่เข้ามาชมมาซื้อของไปทำ CRM ต่อได้ รวมไปถึงเว็บไซต์ยังเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์การซื้อขายได้แบบ seamless เพราะแค่เพียงคุณทำเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษเพิ่มเติมมันก็สามารถสร้างโอกาสทางธุรกิจให้คุณได้ทั่วโลก!
ดังนั้นเว็บไซต์จึงถือเป็นกระดุมเม็ดแรก ของความสำเร็จในการก้าวเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซของผู้ประกอบการที่ในวันนี้การพึ่ง เฉพาะอีมาร์เก็ตเพลสหรือการเปิดเพจยิง ad ปั๊มยอดขายอาจไม่ใช่คำตอบเดียว อีกต่อไป
และนี่จึงเป็นเหตุผลที่จะพาทุกคนมารู้จัก SHOPLINE สตาร์ทอัพผู้อยู่เบื้องหลัง ความสำเร็จของร้านค้าออนไลน์ทั้งแบรนด์ใหญ่และ SMEs กว่า 250,000 รายทั่วโลก ที่เรียกตัวเองว่า Global Smart Commerce Enabler หรือ ผู้ให้บริการระบบจัดการ ร้านค้าบนอีคอมเมิร์ซและโซเซียลคอมเมิร์ซแบบครบวงจร
โดยเปิดตัวครั้งแรกในปี 2013 ที่ประเทศฮ่องกง ก่อนที่จะเดินหน้าขยายการให้บริการในประเทศต่าง ๆ อาทิ จีน ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย ที่เริ่มต้นธุรกิจด้วยแนวคิดที่จะปลดล็อกข้อจำกัดให้กับทุกธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดอีคอมเมิร์ซ!
และล่าสุด SHOPLINE ได้เข้ามาเปิดตัวในประเทศไทยอย่างเป็นทางการแล้ว พร้อมด้วยการพัฒนาบริการในรูปแบบ Total Solution สำหรับการทำ E-commerce และ Social Commerce ให้สามารถจัดการได้อย่างง่ายดายบนแพลตฟอร์มเดียว
โดยครอบคลุมบริการตั้งแต่การเปิดเว็บไซต์ร้านค้าออนไลน์แบบ DIY Website ที่จะทำให้การทำเว็บไซต์ที่เคยเป็นเรื่องยุ่งยากกลายเป็นเรื่องง่าย ด้วย Design Template ให้เลือกหลากหลาย สามารถเพิ่มข้อมูลสินค้าได้เองอย่างง่ายดาย รวมถึงระบบจัดการหลังบ้านทั้งการจัดการออเดอร์ การจัดการสต็อกสินค้า การชำระเงิน และการเก็บรวบรวม data ที่ถือเป็นหัวใจหลักในการทำการตลาดในโลกยุคปัจจุบัน มาวิเคราะห์ให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปทำโปรโมชั่น กิจกรรมส่งเสริมการขาย และ CRM ได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ
รวมถึงสามารถเชื่อมกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ เพื่อทำให้การควบคุมการทำงานของแต่ละช่องทางการขายทำได้อย่างง่ายดายทั้ง Google, Facebook, LINE OA และอื่น ๆ อีกทั้งสามารถรองรับการใช้งานได้มากกว่า 18 สกุลเงิน ซึ่งอันนี้ตอบโจทย์มากสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างฐานลูกค้าที่ไม่ใช่แค่เฉพาะชาวไทย และการขยายธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศในอนาคต
ซึ่งบริการ E-commerce Solution ของ SHOPLINE ถือเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดเอเชียที่โดดเด่นทั้งการเป็นโซลูชั่นที่ใช้งานง่ายทันสมัยมีประสิทธิภาพ และสามารถช่วยปลดล็อกข้อจำกัดของผู้ประกอบการในการทำเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ใช้งานได้จริงในราคาค่าบริการที่ทุกคนจับต้องได้
ในขณะเดียวกันสำหรับโซเชียลคอมเมิร์ซที่เป็นช่องทางขายที่กำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยเพราะพฤติกรรมนักช้อปคนไทยที่ชื่นชอบการพูดคุยสอบถามรายละเอียดสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อ จึงทำให้ช่องทางโซเชียลมีเดียมีบทบาทในการซื้อขายสินค้ามากขึ้นทั้งทาง Facebook Messenger, Instragram และ LINE OA รวมถึงการซื้อผ่านการไลฟ์สด
ซึ่งพบว่ามีผู้ประกอบการจำนวนมากต้องการเริ่มขายสินค้าผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซ และรวมไปถึงผู้ประกอบการที่ได้เริ่มทำโซเชียลคอมเมิร์ซแล้วแต่ต้องเผชิญกับความยุ่งยากในการจัดการออเดอร์ที่เข้ามาในหลากหลายช่องทาง การใช้เวลากับการตอบคำถาม หรือพูดคุยกับลูกค้าแต่ละรายกว่าจะปิดยอดขายได้
จาก Pain Point เหล่านี้จึงเป็นที่มาในการพัฒนา Social Commerce Solution ที่สมบูรณ์แบบที่สุดของ SHOPLINE และนำมาเปิดให้บริการที่เมืองไทยเป็นครั้งแรก เพื่อช่วยให้การจัดการ ร้านค้าบนโซเชียลคอมเมิร์ซทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และสะดวกยิ่งขึ้น
โดยระบบการจัดการร้านค้าบนโซเชียลคอมเมิร์ซของ SHOPLINE มาพร้อมฟีเจอร์ที่โดดเด่นมากมาย อาทิ Shopline Live App ระบบตัวช่วยแม่ค้าออนไลน์ในการ live-streaming เก็บทุกคอมเมนต์ในการ live สรุปยอดอัตโนมัติ การขายสินค้า แบบครบวงจรที่สามารถช่วยจัดการออเดอร์ ตอบกลับลูกค้า และระบบการชำระเงิน อีกทั้งระบบการจัดการข้อความจากลูกค้า โดยมี Chatbot เพื่อการตั้งค่าคำถามที่ ถูกถามบ่อย โดยสามารถเชื่อมต่อกับ Facebook Messenger และ LINE OA ได้
การเปิดให้บริการของ SHOPLINE ในประเทศไทยครั้งนี้ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย ในช่วงเวลาผู้ประกอบการไทยกำลังกุมขมับกับวิกฤติโควิด 19 ระลอกใหม่ว่า จะปรับกลยุทธ์ธุรกิจอย่างไร โดยเฉพาะผู้ที่กำลังจะปรับกลยุทธ์มาเน้นการขายออนไลน์อย่างเต็มรูปแบบ
การเข้ามาเปิดให้บริการ SHOPLINE โซลูชั่นอีคอมเมิร์ซและโซเซียลคอมเมิร์ซ ในเวลานี้จึงนับเป็นหนึ่งตัวช่วยที่จะช่วยปลดล็อกผู้ประกอบการไทยจากข้อจำกัดต่างๆ เปรียบเสมือนกระดุมเม็ดแรกในการคว้าความสำเร็จบนอีคอมเมิร์ซและ โซเซียลคอมเมิร์ซนับจากนี้
ติดต่อ SHOPLINE ได้สามช่องทางคือ
Line: @Shoplineth
โทรศัพท์: 0946538866 หรือ 0818292797
และสามารถลงทะเบียนในลิงค์ต่อไปนี้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ https://consultation.shopline.co.th/earn
「facebook messenger template」的推薦目錄:
facebook messenger template 在 Rabbie 創業兔 Facebook 的最佳解答
臉書帝國
Facebook Messenger Platform 2.2 來了!
.
.
📌 重點整理 📌
.
1️⃣ Broadcast API (Open Beta)
只要有 pages_messaging_subscription 權限 (應該是針對那些有訂閱服務的媒體),就能對所有開啟的對話 (open conversations) 發送訊息。此外,也能針對符合指定自訂標籤 (custom labels) 的對話來發送訊息。
.
2️⃣ Customer Chat Plugin (Closed Beta)
Facebook 開放原生網頁嵌入聊天外掛啦!
現在可以將原生的對話框嵌入在包含行動版網頁上,消費者就能在你的網站服務延續在 Facebook 或 Messenger 內的對話了,包含之前的聊天記錄也能都看得到。第三方做網頁嵌入外掛的如果沒有提供更多的加值服務的話,看來會被這個給影響到。
目前開放申請 Closed Beta
https://www.facebook.com/help/contact/183001548938810
.
3️⃣ Media Template
所有可以上傳到粉絲專頁的影音多媒體 (純音訊還不行) 都能在 Messenger 內利用 attachment ID 或 Facebook URL 發送。重點是還能自己加一個 CTA 按鈕。
.
4️⃣ Sponsored Messages
現在廣告主能在廣告管理員將 Messenger 作為一種廣告活動目標了,透過購買 Messenger 廣告能將訊息發送給互動過的用戶來做再行銷。這不受到 24 小時 Contact Window 的限制。
.
5️⃣ Handover Protocol
終於離開 Beta 啦!
所有 Messenger Platform 開發者都能利用 Handover Protocol 來控制在不同的 Facebook App 間做到切換,且不僅支援新版的粉絲專頁收件匣連舊版的都在 11 月中會支援。
.
6️⃣ Page-level Feedback
粉絲專頁管理員能夠在粉絲專頁的「Messenger Reviews」頁籤內看到該粉專的 Bot 的評論與評分。
.
7️⃣ Messaging Insights API
可以透過 API 拿到「開啟的對話數」、「被回報的對話數」以及「被封鎖的對話數」三個新的數據。粉絲專頁管理員也能直接從粉絲專頁洞察報告的「Message」頁籤看到這些數據與圖表。
.
8️⃣ Built-in NLP
內建支援 11 種語言 (中文!、德文、法文、荷蘭文、義大利文、波蘭文、葡萄牙文、羅馬尼亞文、西班牙文及越南文) 的自然語言處理,包含自動的「時間日期」、「地點」、「金額」、「電話」和「Email」 entity 的在地化。
.
9️⃣ Message Tags
增加了兩個 tag - PARING_UPDATE 及 APPLICATION_UPDATE 提供給「非行銷用途」可在 24 小時 Contact Window 外發送。
.
.
#還順便幫忙戳了一下og更新
#MessengerPlatform
#FacebookMessenger