เส้นทาง Moose Toys อาณาจักรของเล่น หมื่นล้าน จากออสเตรเลีย /โดย ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึงบริษัทของเล่น หลายคนคงจะคิดถึง Hasbro หรือไม่ก็ Mattel
แต่รู้ไหมว่า มีบริษัทของเล่นรายหนึ่งในออสเตรเลีย ที่ครั้งหนึ่งบริษัทมีปัญหาจนเกือบล้มละลาย แต่สุดท้ายก็สามารถพลิกกลับมามียอดขายโตกว่า 7,000%
ที่น่าสนใจคือ ชายที่เข้ามาปลุกปั้นอาณาจักรของเล่นนี้ให้ยิ่งใหญ่ คือชายที่ลี้ภัยมาจากเยอรมนี ข้ามน้ำข้ามทะเลกับครอบครัว มาก่อร่างสร้างตัว ณ แดนจิงโจ้แห่งนี้
แล้วเรื่องราวนี้ เป็นมาอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ชายที่เราพูดถึง เขามีชื่อว่า Manny Stul เกิดเมื่อปี 1949 ที่ค่ายผู้อพยพพลัดถิ่น ใกล้กับเมืองมิวนิก ในประเทศเยอรมนี
แต่ด้วยความที่พ่อและแม่ของเขาเป็นชาวโปแลนด์เชื้อสายยิว ที่เกิดในช่วงสงครามโลก ซึ่งไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับในเยอรมนี จึงทำให้ต่อมาครอบครัวของเขาต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ และข้ามน้ำข้ามทะเลมายังออสเตรเลีย
ครอบครัวของเขา มาตั้งรกรากอยู่ที่ Perth เมืองทางตะวันตกของออสเตรเลีย และทั้งพ่อและแม่ของเขา ต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อส่งให้ Manny ได้เรียนหนังสือ
ส่วนตัวของ Manny เอง เขาเป็นเด็กที่เรียนเก่งมาก จนได้ทุนการศึกษา แต่ตัวเขากลับไม่อยากจะสนใจในเรื่องการเรียนอีกแล้ว เพราะอยากทำงานหาเงินได้เร็ว ๆ จากที่เห็นพ่อแม่ลำบากมาตลอด
สุดท้าย Manny จึงตัดสินใจลาออกจากโรงเรียนตอนเขาอายุได้ 15 ปี เพื่อมาทำงานหาเลี้ยงตัวเองและครอบครัว
หลังจากทำงานเก็บเงินได้ก้อนหนึ่ง เขาก็ได้ให้รางวัลตัวเองด้วยการออกเดินทางไปเที่ยวยุโรป ซึ่งการไปเที่ยวครั้งนี้เอง ได้เป็นจุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจของเขา
เพราะในช่วงที่เขาไปเที่ยว เขาก็ได้พบกับ ชุดช้อนส้อม ที่ออกแบบสไตล์สแกนดิเนเวีย และเกิดเป็นไอเดียธุรกิจ ว่าอยากจะลองนำเข้าสินค้าจากแถบสแกนดิเนเวียมาขายในออสเตรเลีย
หลังจากกลับมาจากการเดินทางครั้งนั้น เขาก็อยากรีบมาทำธุรกิจตามที่คิดไว้ในทันที แต่ก็ติดปัญหาตรงที่ เขายังมีเงินทุนไม่มากพอ จึงต้องไปทำงานในไซต์ก่อสร้างเพื่อเก็บเงินเพิ่ม
ระหว่างทำงานในไซต์ก่อสร้าง เขาก็เกือบจะออกนอกลู่นอกทาง เพราะงานที่ทำนั้นหนักมาก ทำให้เขาเหนื่อยและเครียดมากจนติดเหล้าอย่างหนัก แต่เมื่อเขาดึงสติตัวเองกลับมาได้ เขาถอนตัวได้ทัน และกลับมาตั้งใจทำงานเก็บเงินอีกครั้ง
หลังจากมีเงินทุนเพียงพอ เขาก็ได้เริ่มต้นทำธุรกิจนำเข้าสินค้าในปี 1974 ที่มีชื่อว่า Skansen
นี่ถือได้ว่าการทำธุรกิจในครั้งนี้เริ่มต้นจากศูนย์อย่างแท้จริง เพราะเขาไม่รู้เลยว่าการทำธุรกิจต้องทำอย่างไรบ้าง
เขาเริ่มเรียนรู้ด้วยตัวเองจากจุดเริ่มต้น ตั้งแต่เดินทางไปติดต่อคู่ค้าเพื่อสร้างความสัมพันธ์ เรียนรู้การตั้งราคาขายสินค้า หรือแม้กระทั่งทำการขนส่งสินค้าด้วยตนเอง
ซึ่งตัวของ Manny เองมองว่า สิ่งที่เขาเรียนรู้จากการเริ่มทำธุรกิจครั้งแรก คือความไว้วางใจ ความเชื่อใจกันระหว่างพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และนี่ก็ได้กลายมาเป็นหลักยึดสำคัญในการทำธุรกิจของเขาเรื่อยมา
หลังจากทำธุรกิจมาได้เกือบ 20 ปี ในช่วงปี 1994 ร้าน Skansen ก็ได้เติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายมาเป็น ธุรกิจร้านขายของขวัญและสินค้านำเข้า ชื่อดังในออสเตรเลีย
อย่างไรก็ตามในช่วงนั้น พ่อของเขาก็ได้เสียชีวิตลง ในขณะที่แม่ของเขาก็เริ่มมีอาการของโรคอัลไซเมอร์
Manny จึงตัดสินใจขายธุรกิจ Skansen ไปด้วยมูลค่าราว ๆ 567 ล้านบาท ให้กับ George Snow มหาเศรษฐีชาวออสเตรเลีย โดยเขาคิดว่า เขาจะวางมือจากการทำงานทุกอย่าง และหันไปทำฟาร์มในชนบทแทน
หลังไปใช้ชีวิตในชนบทได้ราว 5-6 ปี ต่อมาในช่วงปี 2000 Manny ก็เริ่มกลับมามองหาการลงทุนในบริษัทที่น่าสนใจ เพื่อต่อยอดเงินเก็บที่เขามีอยู่
ที่ปรึกษาทางการเงินของเขาจึงแนะนำให้เขาเข้าไปลงทุนในบริษัทที่ชื่อว่า “Moose Toys” ซึ่งเป็นบริษัทขายของเล่นเล็ก ๆ ที่มีพนักงานในตอนนั้นเพียง 10 คนเท่านั้น
Manny เองก็ลองศึกษาตัวธุรกิจดู และก็มองเห็นว่าบริษัทแห่งนี้มีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ในอนาคต จึงตัดสินใจทุ่มเงินเข้าไปซื้อกิจการ และหลังจากนั้นเขาก็ตัดสินใจหวนคืนกลับมาสู่วงการนักบริหารกิจการอีกครั้ง..
ช่วงแรกที่เขาเข้ามา Moose Toys ทำรายได้ได้ปีละประมาณ 134 ล้านบาท
เขาเริ่มเข้ามาปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานทั้งหมด ปรับโครงสร้างบริษัทใหม่ จ้างทีมพัฒนาสินค้าใหม่เข้ามา และหลังจากนั้น Moose Toys ก็ได้ออกสินค้าใหม่
จุดเปลี่ยนสำคัญของ Moose Toys คือการเปิดตัว Mighty Beanz ของรูปทรงคล้ายลูกปัด หรือเมล็ดถั่ว
ซึ่งกลายเป็นที่นิยมไปทั่วออสเตรเลีย และสามารถทำให้รายได้ของบริษัทเพิ่มจากหลักร้อยล้านบาท เป็นราว ๆ 1,400 ล้านบาท ในเวลา 4 ปี
หลังจากนั้นบริษัทก็ได้เริ่มขยายฐานการผลิตไปยังประเทศจีน และเริ่มขยับขยายไปทำตลาดในจีนและต่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ
อย่างไรก็ตาม การออกสินค้าใหม่ครั้งนั้น ก็ทำให้บริษัทต้องเผชิญกับปัญหาครั้งใหญ่ ที่ทำให้บริษัทเกือบล้มละลาย
เนื่องจากมีการรายงานว่า พบเด็กต้องเข้าโรงพยาบาล จากการพยายามอมและกลืน Mighty Beanz ซึ่งสารเคมีใน Mighty Beanz เมื่อสัมผัสกับน้ำลาย จะเปลี่ยนเป็นสารอันตรายต่อร่างกาย
เรื่องนี้ทำให้ Moose Toys ต้องเรียกคืนสินค้าทั้งหมดกว่า 40 ล้านชิ้น
รัฐบาลจีนสั่งห้ามนำเข้าหรือขายสินค้าของ Moose Toys ทุกชนิด
และ Moose Toys ถูกฟ้องร้องหลายคดี สร้างความเสียหายให้กับบริษัทเป็นอย่างมาก
เหตุการณ์ในครั้งนั้นกลายเป็นหายนะครั้งใหญ่ของบริษัท ชื่อเสียงที่สร้างมา กำลังจะถูกทำลายลงไปในทันตา
หลายคนคิดว่า Moose Toys ต้องล้มละลายแน่ ๆ แต่ Manny ไม่คิดแบบนั้น โดยเขาได้หันไปปรึกษากับทนายความที่มีชื่อว่า Leon Zwier
ซึ่งนอกจากทนาย Leon Zwier จะให้คำแนะนำและช่วยดูแลเรื่องข้อกฎหมายแล้ว
เขายังแนะนำให้ Manny เดินทางไปงานรวมของเล่นที่ฮ่องกง เพื่อไปเชื่อมสัมพันธ์ สร้างคอนเน็กชันทางธุรกิจ กับกลุ่มธุรกิจร้านจัดจำหน่ายรายใหญ่ เพื่อหาตลาดใหม่ให้กับ Moose Toys
Manny เริ่มเดินหน้าหาคู่ค้าและคอนเน็กชันให้กับบริษัท Moose Toys โดยเริ่มต้นจากการอธิบายให้คู่เจรจาทุกคนเข้าใจ ว่าธุรกิจของเขากำลังเจอปัญหาอะไรอยู่ อย่างตรงไปตรงมา
จากนั้นเขาก็ยื่นข้อเสนอที่ดึงดูดใจคู่เจรจา เช่น จะมอบส่วนลดพิเศษให้เป็นระยะเวลาหนึ่ง หากตกลงเป็นคู่ค้ากับ Moose Toys
ซึ่งกลยุทธ์ในครั้งนั้นก็ประสบความสำเร็จ มีผู้จัดจำหน่ายมากกว่า 30 ราย จากหลายประเทศ ตกลงเป็นคู่ค้ากับ Moose Toys
หลังจากการเจรจาทางธุรกิจสำเร็จไปได้ด้วยดี Manny ก็เดินทางกลับมาออสเตรเลีย เพื่อมาชี้แจงต่อหน่วยงานด้านสุขภาพ ว่าของเล่นจาก Moose Toys นั้นมีความปลอดภัย
Manny ถึงกับเอาตัวเองเป็นการรับประกัน โดยเขาได้บอกว่า หากยังตรวจพบสารอันตรายในของเล่นจาก Moose Toys ให้ฟ้องเอาผิดเขาในคดีอาญาได้เลย
หลังจากนั้นมา ความเชื่อมั่นของบริษัทก็ค่อย ๆ ฟื้นกลับมา บริษัทมีตลาดใหม่ ๆ ในหลายประเทศเพิ่มขึ้นมา และยอดขายของบริษัทก็เริ่มกลับมาเติบโตอย่างก้าวกระโดดได้อีกครั้ง
สรุปภาพรวมแล้ว ภายใต้การบริหารของ Manny Stul ในช่วงเวลา 15 ปี ตั้งแต่ปี 2000-2015 ยอดขายของ Moose Toys เติบโตจาก 134 ล้านบาท เป็น 9,600 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นกว่า 7,000%
ซึ่งนั่นทำให้เขา ได้รับรางวัล Ernst & Young Entrepreneur of the Year for Australia ในปี 2016 อีกด้วย
ในปัจจุบัน Manny Stul ถูกประเมินโดย Forbes
ว่ามีมูลค่าทรัพย์สินอยู่ประมาณ 33,000 ล้านบาท
และกลายมาเป็น หนึ่งในมหาเศรษฐีที่รวยที่สุด ในออสเตรเลีย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.theaustralian.com.au/weekend-australian-magazine/how-manny-stul-created-the-moose-toys-empire/news-story/76d05b78b7f2a1bb4bbc90cb14a4ff50
-https://www.afr.com/life-and-luxury/how-manny-stul-overcame-disaster-to-save-moose-toys-20160422-gocvr0
-https://www.linkedin.com/pulse/from-toy-year-near-bankruptcy-rebounding-top-global-company-hall
-https://www.youtube.com/watch?v=wjxgQM5Yohc
-https://www.forbes.com/profile/manny-stul/?sh=549dd9bd1bf0
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「forbes global 2000」的推薦目錄:
- 關於forbes global 2000 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
- 關於forbes global 2000 在 Facebook 的精選貼文
- 關於forbes global 2000 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
- 關於forbes global 2000 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
- 關於forbes global 2000 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
- 關於forbes global 2000 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
- 關於forbes global 2000 在 Forbes Lists: The Global 2000 - YouTube 的評價
- 關於forbes global 2000 在 Aptiv is listed in the The Forbes Global 2000, an... - Facebook 的評價
forbes global 2000 在 Facebook 的精選貼文
BlackRock ETFs hold $384 million of shares in Bitcoin mining firms
กองทุน BlackRock ทุ่มทุน! เกือบ 400 ล้านเหรียญ ในหุ้นเหมืองขุด Bitcoin !!
By SAMUEL HAIG
จากเอกสารที่ยื่นต่อ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า BlackRock ได้ลงทุนเกือบ 400 ล้านดอลลาร์ในหุ้น Riot Blockchain และ Marathon Digital Holdings
BlackRock เป็นผู้จัดการกองทุนข้ามชาติ มีมูลค่ากว่า 9 ล้านล้านเหรียญ ได้เปิดเผยว่า บริษัทได้ทำการลงทุน ในบริษัทขุด Bitcoin ( BTC ) ชั้นนำ 2 แห่ง ที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
การยื่นข้อมูลต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์อเมริกา ข้อมูลจาก Forbes แสดงให้เห็นว่า BlackRock ถือหุ้น 6.71% ใน Marathon Digital Holdings และ 6.61% ของ Riot Blockchain
การลงทุนโดยรวม มีมูลค่าเกือบ 384 ล้านดอลลาร์ โดย BlackRock ได้ซื้อหุ้น Marathon มูลค่าเกือบ 207 ล้านดอลลาร์ และหุ้นของ Riot มูลค่า 176 ล้านดอลลาร์
ตามข้อมูลของ ETF.com iShares Russell 2000 ETF ของ BlackRock ได้ถือหุ้นใน Marathonและ Riot มากกว่า กองทุน ETF อื่น ๆ ในขณะที่ iShares Russell 2000 Value ETF อยู่ในอันดับที่สาม ของ ranks
นี่ไม่ใช่การลงทุนครั้งแรกของ BlackRock ในสินทรัพย์ดิจิทัล โดยบริษัทได้ยื่นคำร้องต่อ SEC ในเดือนมกราคม สำหรับกองทุนสองแห่ง เพื่อ Bitcoin futures ก่อนที่จะเปิดเผยในเดือนเมษายนว่า BlackRock Global Allocation Fund ได้ ซื้อ 37 BTC เป็น futures contracts จาก Chicago Mercantile Exchange
หุ้นการขุด Bitcoin กลายเป็นการลงทุนที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในขณะที่ ราคา BTC เพิ่มขึ้นกว่า 288% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา หุ้นของ Marathon เพิ่มขึ้น 754% และ Riot ก็เพิ่มขึ้น 848%
Fidelity Group และ Vanguard Group เป็นหนึ่งในบริษัทขนาดใหญ่ ที่ได้รับการเปิดเผยอย่างมีนัยสำคัญต่อภาคการขุด BTC ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา
โดย ETF Total Stock Market ของ Vanguard และ information Technology ETF อยู่ในอันดับที่ 4 และ 5 ของกองทุนที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 และ 5 จากการถือครอง RIOT
ขณะที่ Small-Cap ETF และ Small-Cap Growth ETF ของบริษัท คือ ผู้ถือ ETF รายใหญ่อันดับ 4 และ 5 ของหุ้น MARA ตาม ETF.com
สำหรับนักลงทุนที่ สนใจ ข้อมูลการลงทุนเชิงลึก
จากบทวิเคราะห์ระดับโลก รวมหลักแสนต่อปี
สามารถ สมัครเข้าดูได้ที่ห้องเรียนวงในครับ
สนใจ คอมเม้นใต้บทความได้เลย
--------------------------------
แอดปลา
forbes global 2000 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
Chase Coleman ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ที่กำไรได้มากสุดในปีโควิด /โดย ลงทุนแมน
Bridgewater Associates ที่ก่อตั้งโดย Ray Dalio คือเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
และยังคงเป็นเฮดจ์ฟันด์ที่สร้างผลตอบแทนได้มากที่สุด นับตั้งแต่วันเริ่มจัดตั้งกองทุน
กองทุนแห่งนี้ สร้างผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งหมดกว่า 1.45 ล้านล้านบาท
แต่ในปี 2020 ที่ผ่านมา กองทุนนี้ก็ได้ขาดทุนไป 3.78 แสนล้านบาท
จากวิกฤติโรคระบาด ที่กระทบต่อมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดบนโลก
แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีเฮดจ์ฟันด์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนไปได้กว่า 3.25 แสนล้านบาท
ในช่วงเวลาเดียวกัน และถือเป็นผลตอบแทนของเฮดจ์ฟันด์ ที่สูงที่สุดในโลก
นั่นคือผลงานของกองทุน “Tiger Global Management”
ที่ก่อตั้งและบริหารกองทุนโดย “Chase Coleman”
แล้วเขาคนนี้ มีกลยุทธ์ในการลงทุนอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เฮดจ์ฟันด์ คือกองทุนที่หาโอกาสทำกำไรได้อย่างหลากหลาย
เพราะไม่มีข้อจำกัดในด้านสินทรัพย์ที่เลือกลงทุน และกลยุทธ์ที่ใช้ลงทุน
ตัวอย่างประเภทของเฮดจ์ฟันด์ เช่น
กองทุนแบบ Long-short คือ กองทุนที่ทำกำไรจากราคาหลักทรัพย์ทั้งขาขึ้นและขาลง
กองทุนแบบ Long-only คือ กองทุนที่ทำกำไรจากราคาหลักทรัพย์ขาขึ้นเพียงอย่างเดียว
กองทุนแบบ Private คือ กองทุนที่ลงทุนในบริษัทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ท่ามกลางวิกฤติโควิดในปี 2020
กองทุน Tiger Global Management หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “Tiger Global”
สามารถทำผลตอบแทนได้มากที่สุด ในบรรดาเฮดจ์ฟันด์ทั้งหมด
และทาง Tiger Global ก็มีกองทุนทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมา
แล้วแต่ละประเภท กองทุนมีผลตอบแทนอย่างไรบ้าง ?
กองทุนแบบ Long-only ทำผลตอบแทนได้ 65.1%
กองทุนแบบ Long-short ทำผลตอบแทนได้ 48.4%
ถ้ารวมกับผลตอบแทนจากกองทุนแบบ Private แล้ว
จะคิดเป็นผลตอบแทนรวมมูลค่ากว่า 3.25 แสนล้านบาท
ซึ่งผลงานในปีล่าสุดนี้ ก็ไม่ได้เป็นเรื่องบังเอิญ ที่ทำได้เพียงครั้งเดียว
เพราะถ้าลองดูผลงานของ Tiger Global ตั้งแต่ที่เริ่มก่อตั้งในปี 2001
Tiger Global มีผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิต่อปีกว่า 21% ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
หรือคิดเป็นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น 43 เท่า จากเงินลงทุนตั้งต้น
เทียบกับการเพิ่มขึ้น 5 เท่าของดัชนี S&P 500 ในช่วงเวลาเดียวกัน
ซึ่งถ้ารวมผลตอบแทนที่ทำได้ นับตั้งแต่วันเริ่มจัดตั้งกองทุน
จะคิดเป็นเงินกว่า 8.28 แสนล้านบาท
ในปัจจุบัน Tiger Global บริหารเงินอยู่กว่า 1.56 ล้านล้านบาท
โดยพอร์ตโฟลิโอ มีบริษัทที่ถือหุ้นอยู่เป็นสัดส่วนมากที่สุด 5 อันดับแรกก็คือ
- JD.com แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีน
- Microsoft บริษัทเทคโนโลยีสำหรับองค์กรครบวงจร
- Roblox แพลตฟอร์มเกมออนไลน์
- Sea Limited เจ้าของอีคอมเมิร์ซ Shopee และบริษัทเกม Garena
- Amazon อีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก
จากรายชื่อหุ้นเหล่านี้ คงพอเห็นภาพว่า Tiger Global
จะเน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี แถมยังกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก
ครอบคลุมทั้งสหรัฐอเมริกา จีน แถมยังมีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดย Tiger Global จะเฟ้นหาบริษัทจากปัจจัยพื้นฐาน ที่ประเมินว่าอนาคตไกล
มีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นผู้นำตลาด และจะเข้าไปลงทุนตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
ซึ่งกลยุทธ์นี้ อาจฟังดูไม่ได้โดดเด่นเท่าไรนักในปัจจุบัน
แต่ถ้าย้อนไปในช่วงที่ Tiger Global เริ่มลงทุน
มันคือช่วงที่เพิ่งผ่านวิกฤติดอตคอมปี 2000
แต่ผู้ก่อตั้ง Tiger Global กลับเป็นหนึ่งในคนที่ยังเชื่อมั่นในหุ้นเทคโนโลยี ว่าคือสิ่งที่จะมาเปลี่ยนโลกนี้ไปอย่างสิ้นเชิงได้จริง
ผ่านมา 21 ปี ก็ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าสิ่งที่ Tiger Global คาดการณ์ ถือว่าถูกต้อง
แล้วในยุคนั้น Tiger Global เริ่มลงทุนในบริษัทอะไรบ้าง ?
ในช่วงแรกที่เริ่มลงทุน หรือราวปลายปี 2002
Tiger Global เลือกลงทุนในหุ้นอินเทอร์เน็ตของประเทศจีน
ที่คล้ายกับ Yahoo ไม่ว่าจะเป็น Sina Corp., Sohu.com และ NetEase
ผ่านไปเพียงปีเดียว หุ้นทั้ง 3 บริษัทนี้พุ่งขึ้นไปกว่าหลายเท่าตัว
และตลอดช่วงที่ผ่านมา Tiger Global ก็ได้เข้าไปเป็นผู้ลงทุนตั้งแต่ช่วงแรก
โดยในบางบริษัทก็เริ่มลงทุนตั้งแต่เป็นสตาร์ตอัป
ซึ่งหลายบริษัทที่ Tiger Global เลือกลงทุน
ก็กลายมาเป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำในปัจจุบัน
อย่างเช่น Facebook, LinkedIn, Square, Spotify และ Xiaomi
อย่างไรก็ตาม Tiger Global เองเคยออกมายอมรับว่าตัดสินใจพลาดหลายครั้ง
อย่างเช่น พลาดการลงทุนใน Alibaba เพราะประเมินว่ามูลค่าสูงเกินปัจจัยพื้นฐาน
หรือการขายหุ้นที่ดีเร็วเกินไป อย่างเช่น Facebook, LinkedIn, Amazon และ Netflix
อีกความผิดพลาดที่สำคัญคือ การมีหุ้นกลุ่มธนาคารและหุ้นวัฏจักร
ในช่วงวิกฤติการเงินโลกปี 2008 ซึ่งบทเรียนครั้งนั้น
มีส่วนช่วยเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติครั้งล่าสุดนี้
Tiger Global ไม่ได้เพียงแค่ผ่านพ้นไปได้ แต่ยังกลายเป็นผู้ชนะอีกด้วย
และผู้อยู่เบื้องหลังการลงทุนทั้งหมดของ Tiger Global ก็คือ “Chase Coleman”
พอเราไปมองประวัติของ Chase Coleman ก็ถือว่าน่าสนใจ
หลังจากเรียนจบในปี 1997 Coleman เริ่มทำงานเป็นนักวิเคราะห์กลุ่มเทคโนโลยี
ให้กับกองทุนที่ชื่อว่า “Tiger Management” ซึ่งถือเป็นเฮดจ์ฟันด์รุ่นบุกเบิกในสหรัฐอเมริกา
ที่ถูกก่อตั้งในปี 1980 โดย “Julian Robertson” หนึ่งในตำนานผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ยุคบุกเบิก
แต่ในปี 2000 หลังจาก Coleman ทำงานไปได้เพียง 3 ปี
Tiger Management กลับต้องปิดตัวลงเพราะบริษัทที่ Tiger Management
มีสัดส่วนการลงทุนมากที่สุดในขณะนั้น นั่นก็คือสายการบิน US Airways
ที่ประสบปัญหาทางการเงิน จนต้องยื่นล้มละลาย
Robertson จึงนำเงินที่เหลืออยู่หลังจากปิดกองทุน
ไปแบ่งให้กับเหล่าลูกทีมที่มีความสามารถโดดเด่น
เพื่อเป็นเงินทุนในการจัดตั้งกองทุนใหม่ และหนึ่งในนั้นคือ Coleman
Coleman ซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียง 25 ปี
ได้ตัดสินใจจัดตั้ง Tiger Global Management
โดยใช้ชื่อ Tiger ต่อจากกองทุนของ Robertson ผู้เป็นเมนเทอร์ที่เขาเคารพ
ปัจจุบัน Coleman มีทรัพย์สินกว่า 3.22 แสนล้านบาท
ติดอันดับ 1 ใน 10 ผู้จัดการกองทุนที่รวยที่สุดในโลก
ด้วยอายุเพียง 46 ปี ซึ่งถือว่าอายุน้อยที่สุดในการจัดอันดับของ Forbes
และเป็นหนึ่งในผู้จัดการกองทุนมือฉมังอันดับต้นของโลกไปแล้ว
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
แต่เรียกได้ว่าเป็นหนังคนละม้วน
นอกจาก Coleman แล้ว เหล่าลูกทีมระดับหัวกะทิที่ได้รับเงินทุน
จาก Robertson ได้กลายเป็นเฮดจ์ฟันด์ชื่อดังในปัจจุบันอยู่หลายกองทุน
กองทุนกลุ่มนี้ จึงมีชื่อเรียกรวมกันว่า “Tiger Cubs” ที่เป็นผลผลิตมาจาก Tiger Management
โดยหนึ่งในสมาชิก Tiger Cubs ก็คือกองทุน Tiger Asia Management
ที่ก่อตั้งโดยลูกทีมของ Robertson ที่ชื่อว่า Bill Hwang
เขาคนนี้โดนปรับจากข้อหาการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายใน
และได้เปลี่ยนชื่อกองทุนมาเป็น “Archegos Capital Management”
ที่เพิ่งล้มละลายไปเมื่อไม่นานมานี้ จากกรณีโดนบังคับขายหุ้นรวมกันกว่า 6 แสนล้านบาทในวันเดียว
เรียกได้ว่า ลูกศิษย์ของ Robertson มีทั้งแบบประสบความสำเร็จสุดขั้ว และล้มเหลวสุดขั้ว เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-01-25/tiger-global-tops-hedge-fund-ranking-as-rentech-gets-booted
-https://www.institutionalinvestor.com/article/b1q8fxt5bh8wd6/This-Hedge-Fund-Made-the-Most-Money-for-Investors-Last-Year
-https://www.institutionalinvestor.com/article/b1qx3m96ts35s3/How-Chase-Coleman-Became-a-Hedge-Fund-Legend
-https://www.forbes.com/sites/jonathanponciano/2020/09/08/richest-hedge-fund-managers-2020/?sh=3e73d2d96910
-https://seekingalpha.com/article/4415324-tracking-chase-coleman-s-tiger-global-portfolio-q4-2020-update
forbes global 2000 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的精選貼文
forbes global 2000 在 大象中醫 Youtube 的精選貼文
forbes global 2000 在 大象中醫 Youtube 的最佳貼文
forbes global 2000 在 Aptiv is listed in the The Forbes Global 2000, an... - Facebook 的推薦與評價
... <看更多>
forbes global 2000 在 Forbes Lists: The Global 2000 - YouTube 的推薦與評價
... <看更多>