การลงทุน แบบกระจาย VS แบบโฟกัส แบบไหนดีกว่ากัน? /โดย ลงทุนแมน
“อย่าเอาไข่ทุกฟองที่มีไปใส่ในตะกร้าใบเดียว”
“Don't put all your eggs in one basket”
เป็นสำนวนที่พูดกันบ่อยในโลกการลงทุน
ในแง่ของการลงทุน สำนวนนี้จะมีความหมายในเชิงเปรียบเทียบว่า
การลงทุนลงแรงให้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว ถ้าพลาดขึ้นมาเราอาจได้รับความเสียหายอย่างหนัก
แต่ในขณะเดียวกันก็มีบางคนบอกว่า
ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนมากกว่าคนอื่น
ก็ควรจะโฟกัสไปที่การทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียวหรือไม่กี่อย่าง
สรุปแล้วแนวคิดแบบไหน ดีกว่ากัน?
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟัง
╔═══════════╗
อีกครั้งกับกรณีศึกษาธุรกิจมากมายที่จะช่วยเปิดกว้างมุมมองความรู้ของคุณ
ใน ลงทุนแมน 13.0 เล่มล่าสุด สั่งซื้อได้แล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
การลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง (Diversified Investment) คือ การแบ่งเงินเพื่อไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความหลากหลาย
เช่น ถ้าเรามีเงินอยู่หนึ่งก้อน เราอาจนำไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล 20%, หุ้นกู้ 30%, หุ้น 40% และอีก 10% ฝากไว้ในธนาคาร
ที่ต้องทำแบบนี้ ก็เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ชนิดเดียว เช่น ถ้าเรานำเงินทั้งก้อนไปลงทุนในหุ้นเพียงอย่างเดียว ถ้าเกิดปัญหากับบริษัทที่เราลงทุน เราก็อาจจะขาดทุนในปริมาณมากจากการลงทุนในบริษัทนั้นได้
หรือถ้าเราจำกัดให้เหลือเพียงแค่การลงทุนในหุ้น
การกระจายการลงทุนในตลาดหุ้นที่ง่ายที่สุด
ก็คือการนำเงินไปลงทุนในกองทุนรวมดัชนี (Index Fund)
ยกตัวอย่างในประเทศไทย เช่น กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นที่อยู่ใน SET50 หรือก็คือกองที่ลงทุนในหุ้นที่มีขนาดใหญ่ 50 อันดับแรกในตลาดหุ้นไทย
ในต่างประเทศ เช่น กองทุนรวมที่ลงทุนในหุ้นที่อยู่ใน S&P 500 ซึ่งเป็นกองที่ลงทุนในหุ้นที่มีขนาดใหญ่ 500 อันดับแรกในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา
ข้อดีของการกระจายการลงทุนในลักษณะนี้ก็คือ
ถ้าเราลงทุนในระยะเวลาที่นานมากพอ
โดยเฉลี่ยแล้วเราจะได้ผลตอบแทนที่ดีในระดับหนึ่งซึ่งใกล้เคียงกับตลาด
และโอกาสที่จะขาดทุนหนักๆ จากการลงทุนจะมีน้อย
ตัวอย่างของเรื่องนี้ เช่น ดัชนี S&P 500 ที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยถึงปีละ 10% ในช่วงปี 1965-2019
หมายความว่า ถ้าเราลงทุนด้วยเงิน 1 ล้านบาท ในปี 1965 ในกองทุนรวมที่กระจายการลงทุนในหุ้นที่อยู่ในดัชนี S&P 500 ผ่านไป 54 ปี เงินลงทุนของเราจะเติบโตเป็น 172 ล้านบาท
ซึ่งสำหรับหลายคน ผลตอบแทนในระดับนี้ ก็คงจะเป็นที่น่าพอใจมากแล้ว..
แต่ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่ดีมากขึ้นไปอีก
ก็มีอีกทางเลือกที่น่าสนใจ นั่นก็คือ “การลงทุนแบบโฟกัส (Focus Investment)”
ถ้าพูดถึงเฉพาะการลงทุนในตลาดหุ้น
การลงทุนแบบโฟกัส จะเป็นการเน้นการลงทุนไปในหุ้นไม่กี่ตัว
และมูลค่าที่ลงทุนไปในบริษัทเพียงไม่กี่บริษัทเหล่านั้น จะมีสัดส่วนสูงเมื่อเทียบกับมูลค่าการลงทุนทั้งหมด
การลงทุนแบบนี้ จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงกว่าแบบกระจายความเสี่ยง แต่ก็ต้องแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงกว่าด้วยเช่นกัน
การลงทุนแบบโฟกัสที่ว่า จึงเหมาะกับนักลงทุนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านการลงทุนเป็นอย่างดี และหนึ่งในนั้นคือนักลงทุนระดับโลกอย่าง “วอร์เรน บัฟเฟตต์”
ถ้าเราลองมาดูพอร์ตการลงทุนของบริษัท Berkshire Hathaway บริษัทดำเนินธุรกิจโดยการเข้าไปลงทุนด้วยการถือหุ้นในบริษัทอื่น ที่มี CEO คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์
ปัจจุบัน สัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทต่างๆ ของ Berkshire Hathaway ใน 5 อันดับแรกคือ
1. Apple บริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในโลก สัดส่วนต่อพอร์ตการลงทุน 44%
2. Bank of America 1 ใน 4 ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา สัดส่วนต่อพอร์ตการลงทุน 11%
3. Coca-Cola ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำอัดลมที่ใหญ่ที่สุดในโลก สัดส่วนต่อพอร์ตการลงทุน 9%
4. American Express ผู้ให้บริการบัตรเครดิตรายใหญ่ของโลก สัดส่วนต่อพอร์ตการลงทุน 7%
5. Kraft Heinz ผู้ผลิตอาหารแบรนด์ดัง และซอสมะเขือเทศแบรนด์ Heinz สัดส่วนต่อพอร์ตการลงทุน 5%
จะเห็นว่า มูลค่าเงินลงทุนของ Berkshire Hathaway กว่า 76% ที่มีมูลค่ากว่า 6.3 ล้านล้านบาท ถูกโฟกัสไปที่บริษัทเพียงแค่ 5 บริษัท เท่านั้น
และที่น่าสนใจก็คือ การลงทุนในหุ้นเพียงไม่กี่ตัวแบบนี้ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นสิ่งที่เขาทำมาแล้วอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยที่ตัวเขายังไม่มีชื่อเสียงด้วยซ้ำ
รู้ไหมว่า นับตั้งแต่ปี 1965-2019 หุ้น Berkshire Hathaway ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยมากถึงปีละประมาณ 20.3% ซึ่งมากกว่าผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีในช่วงเดียวกันของดัชนี S&P 500 ถึงเท่าตัว
ถึงตรงนี้ ถ้าถามว่า การลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง กับ แบบโฟกัส แบบไหนดีกว่ากัน และเราควรเลือกลงทุนแบบไหน?
ประเด็นหลักของเรื่องนี้อยู่ที่ว่า แต่ละบุคคลมีความรู้ความเข้าใจในการลงทุน และความสามารถในการรับความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
ถ้าเรามีความรู้และความสามารถในการลงทุนยังไม่มากนัก
การลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง ก็อาจเป็นแนวทางที่น่าสนใจเพื่อป้องกันไม่ให้เงินลงทุนของเราได้รับความเสียหายหนัก
แต่สำหรับนักลงทุนมืออาชีพ อย่างเช่น วอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่มีความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์ในด้านการลงทุน และสามารถยอมรับและจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้
ก็อาจเลือกใช้การลงทุนอีกแบบ ที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า
นั่นก็คือ การลงทุนแบบโฟกัส นั่นเอง..
╔═══════════╗
อีกครั้งกับกรณีศึกษาธุรกิจมากมายที่จะช่วยเปิดกว้างมุมมองความรู้ของคุณ
ใน ลงทุนแมน 13.0 เล่มล่าสุด สั่งซื้อได้แล้ววันนี้ที่
Lazada: https://www.lazada.co.th/products/130-i1587474257-s4309842746.html
Shopee: https://shopee.co.th/Longtunman-หนังสือลงทุนแมน-13.0-i.116732911.7453767586
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.berkshirehathaway.com/2019ar/2019ar.pdf
-http://www.moneychimp.com/features/market_cagr.htm
-https://warrenbuffettstockportfolio.com/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Berkshire_Hathaway
-https://www.simplysafedividends.com/intelligent-income/posts/37-top-10-pieces-of-investment-advice-from-warren-buffett
heinz wiki 在 馬德里台灣鄉民團《Taiwaneses en Madrid》 Facebook 的精選貼文
【揭秘西班牙絞喉酷刑】繯首死刑椅(Garrote vil)
今天介紹的這個東東似乎有點殘酷與兒童不宜,不過考量到也是文化的一部份,還請各位鄉民多多見諒。
不想閱讀的人請勿往下拉~~~~~
------------------------------------------------
繯首死刑椅是西班牙1820年時開始採用的刑具,在象徵西班牙民主體制的1978年西班牙憲法(Constitución española de 1978)通過後,這台刑具曾一度合法化,直到1995年才被完全廢除。其原理是利用螺旋技術; 早期是請劊子手用繩子套住受刑人的脖子,而絞繩後方綁著一支短棍,隨著劊子手轉動把柄,絞繩便會將受刑人的頸部緊緊勒住,使其窒息而死。
Garrote vil最早的文獻記錄可追溯到羅馬共和國時期,當時參與羅馬喀提林(Lucius Sergius Catilina)陰謀叛變者之一的政治家雷恩圖盧斯(Publius Cornelius Lentulus Sura),在叛變失敗後與其它謀反者,在未經正式審判,就被執政官西塞羅判以繯首死刑椅處死。
事實上,在中世紀,所謂「斬首」這種死的痛快的死刑是保留給有貴族身份的人使用(那兒怪怪的~~); 但對於那些該死的暴民、惡棍,則是採用Garrote將他們勒死。在西班牙殖民時期,Garrote也一度被西班牙人用在古巴、波多黎各及菲律賓等地。
由於Garrote的製造十分容易,在十九世紀時成為十分普遍的刑具,特別是在1832年4月24日國王斐迪南七世廢除吊頸死刑後; 基於人道考量,吊頸被認為十分殘忍,死刑犯會掙扎一段時間後才死掉。隨後1852年,西班牙人將將繯首架機械化,將原本的絞繩改為螺絲釘,以固定死刑犯的頭部; 一方面能幫劊子手省力,一方面也希望能減少受刑人的痛苦。但事實上,仍是十分痛苦的死去。
西班牙最後一次採用此刑具為1974年,處死了加泰羅尼亞無政府主義者Salvador Puig Antich及德國人Heinz Ches(本名是Georg Michael Welzel),為佛朗哥執政的末期。
參考文章:
http://es.wikipedia.org/wiki/Garrote_vil
http://www.muyhistoria.es/…/ique-era-y-como-funcionaba-el-g…
heinz wiki 在 我是張國立 Facebook 的最佳貼文
關於自戀式憤怒,這是奧裔美國心理學家Heinz Kohut的理論,他生於二十世紀初,猶太人。認為自戀過度者,自我保護的心理特別強烈,若是遭遇侵害則會有異於常人的反擊或甚至報復性行動。於是像我對戶長說,今天的鹽加多了,那麼明天我可能吃不到鹽而是吃到砒霜啦。
http://en.wikipedia.org/wiki/Heinz_Kohut,敬請參考。
heinz wiki 在 Introducing the Heinz Marz Edition - YouTube 的推薦與評價
Tomatoes from Mars soil conditions? Yes, we have contact… and the mission report to show for it! See how our new Heinz Marz Edition went ... ... <看更多>
heinz wiki 在 Heinz Lammerding – Wikipedia - Pinterest 的推薦與評價
Save space on your device. Sign up. Visit. Save. Explore · Education · Subjects. Division, Etat Major, Revolution, Statue, Bordeaux, Monsters, Tulle, Death. ... <看更多>