รู้จัก G7 ขั้วมหาอำนาจโลก ที่กำลัง แลกหมัดกับจีน /โดย ลงทุนแมน
1,228 ล้านล้านบาท คือ GDP ในปีที่ผ่านมา ของ 7 ประเทศ ในกลุ่ม G7 รวมกัน
2,620 ล้านล้านบาท คือ GDP ในปีที่ผ่านมา ของทุกประเทศในโลกรวมกัน
เท่ากับว่าขนาดเศรษฐกิจของเพียงแค่ 7 ประเทศในกลุ่มนี้
คิดเป็น “เกือบครึ่ง” ของขนาดเศรษฐกิจโลกในปีที่ผ่านมา
ทั้ง ๆ ที่มีประชากรรวมกันแค่ประมาณ 773 ล้านคน หรือประมาณ 10% ของประชากรโลกเท่านั้น
กลุ่ม G7 มีประเทศอะไรบ้าง เกิดขึ้นมาอย่างไร
แล้วทำไมถึงบอกว่ากำลังแลกหมัดกับจีน ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
แคนาดา
ฝรั่งเศส
เยอรมนี
อิตาลี
ญี่ปุ่น
สหราชอาณาจักร
สหรัฐอเมริกา
นี่คือรายชื่อ 7 ประเทศ ที่รวมตัวกันเป็น “Group of Seven” หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า กลุ่ม G7
ซึ่งถ้าเราลองไปเปิดดูตัวเลข GDP ของแต่ละประเทศ ทั้ง 7 รายชื่อนี้ จะอยู่ใน Top 10 ของประเทศที่ GDP มากสุดในโลก
และถ้าเอา GDP ของ 7 ประเทศมาบวกรวมกัน
ก็จะคิดเป็น 47% ของขนาดเศรษฐกิจโลก
นอกจากจะมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กันทุกประเทศแล้ว
รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรในประเทศเหล่านี้
ก็ล้วนแล้วแต่อยู่แนวหน้าของโลกทั้งสิ้น
พูดง่าย ๆ ว่า นี่คือสมาคมประเทศร่ำรวย อย่างแท้จริง..
แล้วประเทศเหล่านี้ มารวมตัวกันได้อย่างไร ?
จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งกลุ่มนี้อย่างเป็นทางการ ต้องย้อนกลับไปในช่วงปี 1973
ช่วงนั้นมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น นั่นคือ วิกฤติการณ์น้ำมัน หรือ “Oil Shock”
สรุปเหตุการณ์แบบคร่าว ๆ ก็คือ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น ไปมีปัญหากับกลุ่ม OPEC ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก
ปัญหาที่ว่าก็คือ 4 ประเทศนี้ ไปสนับสนุนอิสราเอล ที่กำลังทำสงครามกับกลุ่มชาติอาหรับ ที่ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นสมาชิกกลุ่ม OPEC
พอเรื่องเป็นแบบนี้ กลุ่ม OPEC จึงระงับการส่งออกน้ำมันไปยังประเทศที่สนับสนุนอิสราเอล ทำให้ประเทศเหล่านี้เจอวิกฤติขาดแคลนน้ำมัน และราคาน้ำมันพุ่งสูงหลายเท่าตัวในช่วงเวลาไม่นาน ซึ่งทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศ ไปจนถึงระดับทวีป และระดับโลก เป็นปัญหาลูกโซ่ตามมา
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่เริ่มลุกลามเป็นวงกว้างไปในระดับโลก
ทำให้ 6 ประเทศมหาอำนาจในตอนนั้น
ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, เยอรมนี (สมัยนั้นยังเป็น เยอรมนีตะวันตก), ฝรั่งเศส, ญี่ปุ่น และอิตาลี
จัดการประชุมร่วมกันอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในปี 1975
เพื่อหาทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกไปข้างหน้า
และตกลงกันว่า “เราจะมาร่วมหารือกันแบบนี้ทุก ๆ ปีต่อจากนี้”
อีกหนึ่งปีต่อมา มีอีกชาติมหาอำนาจเข้าร่วมกลุ่ม นั่นก็คือ แคนาดา
เป็นอันสรุปว่า Group of Seven หรือ G7 ครบองค์ประชุมตั้งแต่ปี 1976 เป็นต้นมา..
ในช่วงแรก ตัวแทนของแต่ละประเทศที่เข้าร่วมประชุม ยังเป็นเพียงแค่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
แต่หลัง ๆ มาเรื่องที่ประชุมกันแต่ละปี ไม่ได้จำกัดอยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจเท่านั้น
ยังรวมไปถึงเรื่องความมั่นคงทางการทหาร, โรคระบาด, สุขอนามัย, การศึกษา ไปจนถึงปัญหาความยากจน และเรื่องที่กำลังเป็นประเด็นระดับโลกในแต่ละปี
ทำให้ต่อมา ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำประเทศ จะเป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม
โดยในแต่ละปี กลุ่ม G7 ก็มักจะเชิญหลายประเทศนอกกลุ่ม และตัวแทนจากองค์กรระหว่างประเทศอย่าง EU, World Bank และ IMF ให้มาเข้าร่วมการประชุม ตามวาระที่สำคัญของช่วงเวลานั้น
เช่น ในปี 2008 มีการเชิญตัวแทนประเทศในเอเชียอย่าง เกาหลีใต้และอินโดนีเซีย ให้เข้าร่วม เพื่อแลกเปลี่ยนสถานการณ์เศรษฐกิจในเอเชีย
หรือในปี 2011 ที่มีการเชิญหลายประเทศในทวีปแอฟริกาอย่าง กินี, ไนเจอร์, โกตดิวัวร์ และตูนิเซีย ให้มาร่วมพูดคุยเรื่องปัญหาความยากจนในแอฟริกา
และล่าสุด การประชุม G7 ในปีนี้ ก็เพิ่งจัดขึ้นเมื่อ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมาที่สหราชอาณาจักร
โดยสมาชิกในกลุ่มก็มีข้อตกลงร่วมกันในหลายเรื่อง อย่างเช่น
- ตกลงจะร่วมกันมอบวัคซีนอย่างน้อย 1,000 ล้านโดส ให้ประเทศรายได้ต่ำที่ต้องการวัคซีนเร่งด่วน
- เริ่มต้นผลักดันประเทศในกลุ่มและนอกกลุ่ม ให้มีการเก็บภาษีขั้นต่ำ 15% กับบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ เพื่อยุติปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีผ่านการนำบริษัทไปจดทะเบียนในประเทศที่เก็บภาษีอัตราต่ำ
แต่เรื่องที่เป็นไฮไลต์สุดของการประชุมครั้งนี้
คือการเปิดตัวโครงการ “Build Back Better World” หรือ B3W
โครงการที่สหรัฐอเมริกาและพันธมิตรในกลุ่ม G7 ใช้เป็นคำประกาศกร้าวว่า
จะไม่ยอมให้คู่แข่งคนสำคัญอย่าง “จีน”
ก้าวขึ้นมามีอิทธิพล หรือก้าวมาเป็นอีกขั้วมหาอำนาจโลกได้ง่าย ๆ
ก่อนหน้านี้เราได้ยินกันมาตลอด ว่าจีนมีโครงการ “Belt and Road Initiative” หรือ BRI
ซึ่งเป็นเหมือนการขยายอิทธิพลและสร้างพันธมิตรผ่านการไปร่วมลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศต่าง ๆ ตามเส้นทางสายไหมที่เคยรุ่งเรืองในอดีต จากตะวันออกของโลกคือจีน ไปสู่ฟากโลกตะวันตก
ส่วนโครงการ B3W ของสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร G7 ก็จะเน้นเข้าไปมีส่วนร่วมและสนับสนุนการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในกลุ่มประเทศรายได้น้อยถึงรายได้ปานกลาง ตั้งแต่ตะวันตก ลากยาวไปตะวันออก
และ G7 เคลมว่า B3W ของพวกเขา พิเศษกว่า BRI ของจีน
เพราะของที่สร้างโดยการสนับสนุนของ G7 จะมีคุณภาพกว่า
มีกระบวนการสร้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมกว่า
ไม่มีทุจริตคอร์รัปชัน สนับสนุนภาคเอกชนให้มีส่วนร่วม
ไม่มีเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชน สนับสนุนความเท่าเทียม และที่สำคัญคือสนับสนุนโดยกลุ่มนิยมประชาธิปไตย อย่าง G7..
ขณะที่โฆษกสถานทูตจีนประจำกรุงลอนดอน
ก็โต้กลับมติประชุมของกลุ่ม G7 ทันทีว่า
ให้เลิกกล่าวอ้าง กล่าวหาจีนในเรื่องต่าง ๆ เสียที
และยังโต้กลับในทำนองที่ว่า “มันหมดยุคที่โลกถูกนำโดยบางกลุ่มประเทศไปแล้ว”
จะเห็นว่า 2 ขั้วอำนาจโลกในตอนนี้ กำลังปล่อยหมัดหนักแลกใส่กันไปมา อย่างไม่มีใครยอมใคร
เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายครองอำนาจโลกแต่เพียงผู้เดียวได้โดยง่าย
ฝ่ายหนึ่งคือกลุ่มมหาอำนาจโลกเดิมอย่าง G7
ที่ยังคงมีความสำคัญมากกับทั้งโลก ไม่ว่าจะเรื่องเศรษฐกิจ เทคโนโลยี และขนบธรรมเนียมโลกแบบเดิมที่ทั่วโลกคุ้นชินมาหลายทศวรรษ
ส่วนอีกฝ่ายคือจีน ที่เป็นประเทศคู่ค้าของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศในกลุ่ม G7 เอง และขนาดเศรษฐกิจของจีนกำลังจะขึ้นแท่นเบอร์ 1 ของโลกแซงหน้าสหรัฐอเมริกาในเร็ว ๆ นี้
ในขณะเดียวกันจีนก็กำลังเดินหน้าท้าชิงความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม
และเดินหน้าสร้างพันธมิตร สร้างอิทธิพลตามแผนที่วางไว้
ปิดท้ายด้วยเรื่องที่น่าสนใจ
ในอดีต G7 เคยขยายเป็น G8 โดยอีกประเทศที่เพิ่มเข้ามาคือ รัสเซีย ที่เข้าร่วมตั้งแต่ปี 1997
แต่หลังจากที่รัสเซียทำการผนวกไครเมียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย ในปี 2014
ก็ทำให้ประเทศสมาชิกที่เหลือไม่พอใจ และไม่เชิญรัสเซียเข้าร่วมการประชุมอีกเลย..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://statisticstimes.com/economy/projected-world-gdp-ranking.php
-https://www.g7uk.org/what-is-the-g7/
-https://en.wikipedia.org/wiki/1973_oil_crisis
-https://www.blockdit.com/posts/60c89d166ea44e0c5adf9455
-https://thestandard.co/g7-summit-summary/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Group_of_Seven
-https://www.whitehouse.gov/briefing-room/statements-releases/2021/06/12/fact-sheet-president-biden-and-g7-leaders-launch-build-back-better-world-b3w-partnership/
-https://www.ndtv.com/world-news/small-groups-dont-rule-the-world-china-cautions-g7-2462751
imf wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
เศรษฐกิจเวียดนาม จะแซงไทย จริงหรือ? /โดย ลงทุนแมน
“อีกไม่นานเศรษฐกิจเวียดนามจะแซงประเทศไทย”
ประโยคนี้ จะกลายเป็นความจริง จริงหรือไม่?
ทุกวันนี้ เศรษฐกิจของเวียดนามกับไทย
ห่างไกล หรือ ใกล้เคียงกัน แค่ไหนกันแน่?
และอะไร คือสัญญาณเตือน ที่ทำให้ช่วงนี้ เราได้ยินกันบ่อยขึ้นว่า
เศรษฐกิจของเวียดนาม กำลังจะแซงไทย
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เริ่มต้นกันที่ เศรษฐกิจของ 2 ประเทศ มีความแตกต่างกันมากแค่ไหน
ปี 2019 ประเทศไทยมีขนาดเศรษฐกิจ 16.4 ล้านล้านบาท ใหญ่เป็นอันดับที่ 22 ของโลก ประชากรมีรายได้เฉลี่ยคนละ 236,000 บาทต่อปี อยู่อันดับที่ 82 ของโลก
ขณะที่เวียดนาม ในปี 2019 มีขนาดเศรษฐกิจ 7.9 ล้านล้านบาท อยู่อันดับที่ 44 ของโลก ประชากรมีรายได้เฉลี่ยคนละ 82,000 บาท อยู่อันดับที่ 135 ของโลก
และด้วยรายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนไทยในระดับนี้ ทำให้ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper middle income country)
ขณะที่เวียดนาม ปัจจุบันยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับต่ำ (Lower middle income country)
สรุปแล้ว ในตอนนี้เศรษฐกิจไทยยังคงใหญ่กว่าเวียดนาม 2 เท่า
ขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีของคนไทย ก็มากกว่าของเวียดนามเกือบ 3 เท่า
เห็นแบบนี้แล้ว เราอาจสรุปได้ว่า
เศรษฐกิจของประเทศไทยในตอนนี้
ยังนำหน้าเวียดนามอยู่พอสมควรเลยทีเดียว
แต่รู้ไหมว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม มากกว่าไทยถึง 2 เท่า
ในช่วงปี 2009-2019 เศรษฐกิจไทย เติบโตเฉลี่ยปีละ 3%
ขณะที่เศรษฐกิจของเวียดนามเติบโตเฉลี่ยปีละ 6%
สำหรับปีนี้ การระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ไทยและเวียดนาม
หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะติดลบประมาณ 6.4%
ส่วนเศรษฐกิจเวียดนาม จะยังคงเติบโตที่ 2.4%
แต่ถ้าสมมติว่า โรคระบาดนี้ผ่านพ้นไป
ถ้าเราให้เศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศ กลับมาเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยเดิมเหมือนกับช่วงปี 2009-2019
คือไทยเติบโตเฉลี่ยปีละ 3% และเวียดนามเติบโตเฉลี่ยปีละ 6%
หมายความว่า กว่าที่ขนาดเศรษฐกิจเวียดนามจะแซงไทย ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 24 ปี จากวันนี้..
แต่ถ้าลองมองให้ลึกลงไปที่พื้นฐานเรื่องต่างๆ
ก็จะพบว่า เวียดนามกำลังเติบโตด้วยศักยภาพเพิ่มมากขึ้นทุกที
ปัจจุบัน เวียดนามมีประชากรกว่า 97 ล้านคน
มากเป็นอันดับที่ 15 ของโลก และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 111 ล้านคนในอีก 30 ปีข้างหน้า
ขณะที่ไทย มีประชากรประมาณ 69 ล้านคน
มากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก และคาดว่าประชากรไทยจะไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะอยู่ที่ 60-69 ล้านคน ในอีก 30 ปีข้างหน้า
ส่วนอายุเฉลี่ยของคนเวียดนามในวันนี้คือ 32 ปี ขณะที่อายุเฉลี่ยของคนไทยคือ 40 ปี
จำนวนประชากรในอนาคตของเวียดนามที่มากกว่าไทย
และอายุเฉลี่ยของคนเวียดนามที่น้อยกว่าไทย
อาจทำให้เวียดนามได้เปรียบกว่าประเทศไทยในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านแรงงานเพื่อการผลิต
ปี 2020 เวียดนามมีจำนวนแรงงานเท่ากับ 58 ล้านคน
ขณะที่ของประเทศไทยอยู่ที่ 38 ล้านคน
ปริมาณแรงงานที่อายุน้อยและมีจำนวนมาก จึงทำให้ต้นทุนค่าแรงของเวียดนามต่ำกว่า เมื่อเทียบกับประเทศไทย
ค่าแรงขั้นต่ำของเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 132-190 บาทต่อวัน
ขณะที่ค่าแรงขั้นต่ำของไทยอยู่ที่ประมาณ 313-336 บาทต่อวัน
ต้นทุนแรงงานที่ต่ำ เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่ดึงดูดให้บริษัทต่างชาติย้ายฐานการผลิตไปลงในเวียดนามหลายรายในช่วงที่ผ่านมา ยกตัวอย่างเช่น
Samsung บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จากเกาหลีใต้
LG บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่จากเกาหลีใต้
Foxconn บริษัทผู้ผลิตและรับผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้กับ Apple
Panasonic บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่จากญี่ปุ่น
ซึ่งนอกจากปัจจัยเรื่องค่าแรงแล้ว ยังอาจมีอีกหลายๆ ปัจจัย ที่ทำให้เวียดนามสามารถดึงดูดเงินลงทุนเข้าประเทศได้ เช่น ทักษะแรงงาน และกฎหมาย กฎเกณฑ์ที่เอื้อต่อการย้ายฐานการผลิตเข้ามาลงทุนในประเทศ
ส่วนเรื่องการไหลเข้าของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ หรือ Foreign direct investment (FDI) อย่างเช่นเงินลงทุนสำหรับตั้งโรงงานการผลิต ก็เป็นอีกตัวเลขที่น่าสนใจ
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลไปยังเวียดนาม
ในปี 2011 อยู่ที่ 222,000 ล้านบาท
ในปี 2019 อยู่ที่ 465,000 ล้านบาท
ขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลเข้ามาประเทศไทย
ในปี 2011 อยู่ที่ 74,100 ล้านบาท
ในปี 2019 อยู่ที่ 189,000 ล้านบาท
ขณะที่ของประเทศไทย หลังจากที่ยอด FDI เคยขึ้นไปสูงสุดที่ 477,000 ล้านบาท ในปี 2013 ก็ยังไม่เคยกลับไปจุดนั้นอีกเลยจนถึงวันนี้
มาถึงตรงนี้ ก็ต้องบอกว่า มีโอกาสไม่น้อยที่เวียดนามจะเติบโตต่อเนื่องอีกนานพอสมควร และยังอาจโตด้วยอัตราเฉลี่ยประมาณ 6% ต่อปี
และถ้าเศรษฐกิจไทยโตด้วยอัตราเฉลี่ยที่น้อยกว่าเดิม
เศรษฐกิจเวียดนาม อาจไล่ตามไทย ได้เร็วมากขึ้น
เช่น จาก 24 ปี เหลือ 20 ปี หรืออาจใช้เวลาน้อยกว่านั้น ถ้าเศรษฐกิจไทยอยู่กับที่..
ซึ่งคำถามที่ว่า เศรษฐกิจเวียดนาม จะแซงไทย จริงหรือ?
คำตอบคือ ถ้าช่วง 5-10 ปีนี้ ก็คงจะยังเป็นเรื่องยาก
แต่ถ้าในระยะยาว 20-30 ปี ข้างหน้า ก็ต้องยอมรับว่า “มีความเป็นได้” เหมือนกัน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://data.worldbank.org/country
-https://en.wikipedia.org/wiki/Developing_country
-GDP growth (annual %) | Data (worldbank.org)
-https://e.vnexpress.net/news/business/economy/vietnam-gdp-growth-to-be-among-world-s-highest-in-2020-imf-4194065.html#:~:text=The%20International%20Monetary%20Fund%20has,percentage%20points%20to%202.4%20percent.
-https://www.thailand-business-news.com/economics/81636-thai-bank-revised-up-2020-gdp-forecasts-to-6-4-and-projected-2021-growth-at-3-3.html
-https://www.worldometers.info/world-population/population-by-country/
-https://www.statista.com/statistics/444584/average-age-of-the-population-in-vietnam/#:~:text=The%20median%20age%20in%20Vietnam,to%2041%20years%20by%202050.
-https://tradingeconomics.com/vietnam/labor-force-total-wb-data.html#:~:text=Labor%20force%2C%20total%20in%20Vietnam,compiled%20from%20officially%20recognized%20sources.
- https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=638&language=eng
-https://www.vietnam-briefing.com/news/vietnams-competitive-minimum-wages-how-fares-with-regional-peers.html/#:~:text=This%20year%20Vietnam%20increased%20its,%24190%20depending%20on%20the%20region.
-https://vietnamtimes.org.vn/more-foreign-manufacturers-move-to-vietnam-amid-covid-19-pandemic-19842.html#:~:text=Specifically%2C%20multinational%20companies%20such%20as,Vietnam%20rather%20than%20in%20China.
-https://www.reuters.com/article/uk-foxconn-vietnam-apple-exclusive/exclusive-foxconn-to-shift-some-apple-production-to-vietnam-to-minimise-china-risk-idUKKBN2860XN
-https://data.worldbank.org/indicator/BX.KLT.DINV.CD.WD?locations=VN
-https://data.worldbank.org/indicator/BX.KLT.DINV.CD.WD?locations=TH
imf wiki 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
เซเนกัล จากอดีตเมืองท่าค้าทาส สู่ความท้าทายในปัจจุบัน /โดย ลงทุนแมน
ช่วงศตวรรษที่ 15 ถึงศตวรรษที่ 19 เปรียบเสมือนฝันร้ายของชาวแอฟริกัน
มหาอำนาจในยุคล่าอาณานิคมต่างเดินทางมาแอฟริกาเพราะต้องการ “แรงงานทาส”
หนึ่งในแหล่งค้าทาสที่สำคัญในสมัยนั้น คือประเทศที่มีเมืองหลวงตั้งอยู่ตะวันตกสุดของทวีปแอฟริกา...
Continue ReadingSenegal from former slave traffickers to current challenges / by Investing Man
The 15th to 19th century is like an African nightmare.
The power of colonial hunting era came to Africa because they wanted ′′ slave labor ′′
One of the major source of slave traffickers in those days is the country with capital in Africa's continent's far west.
named ′′ Republic of Senegal ′′
What story is this country going through
Investing man will tell you about it.
╔═══════════╗
cuddle Update the situation and economic situation with Blockdit
There's a podcast to listen to on the go.
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Senegal name comes from Portuguese that means part of the water.
Due to the west land of the country adjacent to the Atlantic Ocean.
Senegal Capital called ′′ Dakar ′′ located west of the country and west of Africa.
Location is conducive to maritime trade
Dakar becomes the center of West Africa's major trade.
The first nation to set up a trade station is Portugal, the world colonial in the early era.
To exchange goods with African capitalists
Especially ′′ slave labor ′′
To apply to labor in Brazilian cane farm, Portugal colonies in those days.
Slaves in the African continent will be brought to Dakar.
Then boarded to an island called Gory.
A small island 3 km from Dakar city in the Atlantic Ocean.
To wait for exchange with another product
This island place is called ′′ House of Slaves
After Portugal, the power of those days took over this island.
Both England, Netherlands
To export slaves to labor in their colony
But the nation that influences Senegal the most is France.
The year of July. Prof. 1659 West African area becomes a French colony.
This includes Senegal
France set Dakar to be a trade hub with West African countries.
And got the right to occupy Gory Island from Netherlands.
To export slaves to labor in South North America.
And set up a city to expand trade at the Senate River's mouth.
300 km from Dakar city, north along the coastline.
Name this city ′′ St. Louis ′′
France lays the foundation for Senegal as a trade goal to Africa.
Build a railroad between Dakar and St. Louis for shipping.
Also laying the education foundation for locals
To help with product trade
By the founding of the University in Dakar and St. Louis
That's why Senegal uses French in government language.
And use Saefa fringe as the main currency of the country.
And then the 5 century slavery trade ended in mid 19th century.
Later in July Prof. 1960 Senegal is also free from the French colony.
Been ruling the country with president and local government since then.
Even Senegal is a major economic hub of West Africa.
But due to over half of the country, the upper part is in the Sahara Desert.
Making space for farming is limited
So relying on large amounts of foreign food imports and energy.
Assembled with main export products like mineral phosphate. Products from peanut oil fishery are low value.
Government loaned a lot of foreign debt to spend.
And intervene in domestic product prices to low levels.
Senegal is missing the account balance. Keep walking.
Poor in the year. Prof. 1994 Senegal government needs economic reform.
Starting from decreasing 50 % of Zefa's money, causing domestic inflation to 32 % immediately because imported products have higher prices.
From the beginning Senegal used a fixed exchange rate tied to the Euro, it changed to the floating exchange rate.
Reducing government price interventions
And receive subsidy from IMF and other countries like France, USA.
Even the economy can move on.
But Senegal is still missing the account balance. Keep walking.
From relying on foreign imports and subsidies all the time.
Year 2016, lack of accounting. 4.2 % of GDP.
Year 2017, lack of accounting. 7.3 % of GDP.
Year 2018, lack of accounting. 6.9 % of GDP.
So, so
Senegal challenge right now
How to manage resources and value goods in the country
To be more dependent on yourself.
No need to wait for foreign aid all the time.
From Senegal's story, a lesson that we learned.
Although most African countries now have better status from the past with the slave trade.
But these countries are going to have a small economic size.
Because of lack of exportable product development at high value
And rely on importing from foreign goods
Most developed countries are the opposite.
Importing products will be imported to produce high value goods to export.
Trick it's up to what these countries do
To be free from this problem
Which, if possible, will eventually make the economy equal to other countries..
╔═══════════╗
cuddle Update the situation and economic situation with Blockdit
There's a podcast to listen to on the go.
Blockdit.com/download
╚═══════════╝
Follow to invest in man at
Website - longtunman.com
Blockdit-blockdit.com/longtunman
Facebook-@[113397052526245:274: lngthun mæn]
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram-instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://www.worldbank.org/en/country/senegal/overview
-https://www.britannica.com/place/Senegal
-https://en.wikipedia.org/wiki/Senegal
-https://tradingeconomics.com/senegal/current-account-to-gdp
-https://www.britannica.com/place/Goree-Island
-https://www.britannica.com/topic/transatlantic-slave-tradeTranslated
imf wiki 在 The IMF architecture - Sirius-sfi/aas-imf Wiki 的推薦與評價
Concepts. Main actors. Operator. Contractor. Service provider. Service components. Specification model endpoint. Actors store their aspect models in a ... ... <看更多>