แปะป้าย ตีตรา การทำลายคุณค่าและศักดิ์ศรี ด้วยปลายนิ้ว....
คำว่า “แปะป้าย” อาจเป็นแสลงในไทยว่าด้วยเรื่องของการกล่าวหาคนอื่นว่าเป็นคนแบบไหนโดยคนดังกล่าวอาจไม่ได้ร้องขอ แต่ในความเป็นจริงคำว่า “แปะป้าย” กลับไม่ใช่แสลงเฉพาะในประเทศเรา
.
แต่เป็นคำมาตรฐานที่ต่างประเทศเช่นกันจากคำว่า Labelization
คือ การพูดถึงหรือการตัดสินคนหนึ่งคน ด้วยคุณสมบัติหรือลักษณะเพียงด้านหนึ่งเพียงเดียวที่เขาเป็นแบบ Stereotype
.
และต่อมาก็ได้พัฒนาจนกลายมาเป็น Labeling theory
เพื่อใช้ในการวงการอาชญากรรมเพื่อให้เราแยกแยะ จดจำและใช้อธิบายพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ และความน่าจะเป็นในการเกิดอาชญากรรม
.
แต่ในประเทศไทยโดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีความเห็นต่างทางการเมืองกำลังระอุ โดยเฉพาะในเวลาที่ทุกลมหายใจของแต่ละ feed บนหน้า Social Network กำลังร้อนแรง การแปะป้ายก็ดูจะกลายเป็นเรื่องปกติที่แสนธรรมดาที่หลายคนเริ่มคิดว่าใครๆเค้าก็ทำกัน.......
.
คำถามคือ แล้วเราต้องทำอย่างที่ใครเค้าก็ทำกันจริงหรือ ทั้งที่ในความเป็นจริง มนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นปัจเจกและไม่ได้ถูกวัดกันด้วยแนวความคิดหรือเหตุการณ์เพียงด้านเดียว
.
จากอดีตตั้งแต่ยุคของ ม๊อบมือถือ (พฤษภาทมิฬ) ม๊อบเสื้อเหลือง ม๊อบเสื้อแดง ม๊อบนกหวีด จนถึงปัจจุบัน เราก็จะได้ยินการแปะป้ายจากสื่อและใน social network อยู่เสมอ ยิ่งในยุคตั้งแต่ 2000 เป็นต้นมา การไม่แสดงออกหรือการเห็นต่างจากกลุ่มหลักก็อาจไม่ใช่ทางรอดบนโลกที่ทุกคนมีพื้นที่สื่ออย่าง Social Network และแน่นอนที่เราอาจต้องเคยโดนใครซักคนแปะป้ายให้กับในสิ่งที่เราไม่ได้เลือกหรือยังไม่ได้เลือก
.
ซี่งนั้นก็คงไม่ใช่ความรู้สึกที่ดีนัก นี่คือคำแนะนำจากประสบการณ์ในการใช้ชีวิตให้มีความสุขจากความเห็นต่างทางการเมืองบน Social Network ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
.
1) เข้าใจถึงความแตกต่างและวัฒนธรรมของเรา :
ของต่างประเทศอาจมีเรื่องของความต่างด้านสีผิว เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ต้นปีมีเรื่อง จอร์จ ฟลอยด์ เมื่อวานมีเรื่องของจาค็อบ เบลคมาอีกละ แต่ของไทยมองไปทางไหนก็ดำแดงหรือขาวเหลืองคล้ายๆ กัน แต่สิ่งที่สร้างความต่างในปัจจุบันของเรากลับกลายเป็นเรื่องแนวความคิด ซึ่งต้องมาเข้าใจกันก่อนว่า วิธีคิดของแต่ละคนนั้นโดยหลักแล้วไม่ได้มีผิดหรือมีถูกแบบ absolute เพราะมันก็เป็นเพียงเรื่องของชุดความรู้ชุดหนึ่งที่เราแต่ละคนเสพมาต่างกรรม ต่างวาระ แล้วเราก็เลือกเชื่อมันในมุมที่ต่างกัน ซึ่งตรงนี้มันไม่ใช่เรื่องแปลกและมันไม่ได้บอกว่าคนที่คิดต่างคืออาชญากร มันไม่ได้บอกว่าใครต่ำกว่า หรือใครโง่กว่า มันบอกแค่เพียงว่าเค้าคิดไม่เหมือนเรา ก็แค่นั้น
.
2) ศึกษาข้อมูลให้มากพอเพื่อให้เข้าใจว่าอะไรคือข้อเท็จจริงและอะไรคือข้อกล่าวหา :
อันนี้ถือเป็นงานยากชิ้นหนึ่งแต่เป็นก็เป็นส่วนสำคัญที่สุดเพราะมันจะทำให้เรามีสติอยู่กับข้อเท็จจริง บนกระแสที่ใครๆ ก็เป็นสื่อได้ ยิ่งปัจจุบันสื่อแต่ละสำนักก็ดูเหมือนจะมีความเชี่ยวชาญและมีจุดยืนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน สิ่งที่เราควรทำก็คือการถามตัวเองกับข้อมูลที่เราเสพนั้นๆว่า “แหล่งข่าวมีที่มาจากไหน“ “ข้อมูลนี้เกิดขึ้นเมื่อไหร่” “ทำไมมันจึงเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น” การตั้งคำถามกับข้อมูลต่างๆ และเรียนรู้ที่จะแยกความแตกต่างระหว่าง ข้อเท็จจริง vs ข้อกล่าวหา จะทำให้เรามีภูมิต้านทานในการถูกแปะป้ายมากขึ้น
.
3) ถามตัวเองบ่อยๆว่าเราคือใคร ภายใต้เหตุผลและข้อมูลที่เรามี :
อย่างที่เกริ่นไว้ในข้อแรกว่าแต่ละคนอาจเสพข้อมูลมาต่างกรรมต่างวาระ และหลายๆครั้งคนทุกคนก็จะเลือกเชื่อในมุมที่ตัวเราเองสบายใจ แต่สิ่งที่เราควรทำมากไปกว่านั้นคือ การถามตัวเองดีๆว่า เราเชื่อเรื่องนี้เพราะอะไร เพื่ออะไร และมันทำให้เรามีคุณค่า (value) ไปในทิศทางไหน และสิ่งนี้แหละที่จะทำให้เรารู้ว่าเราอยากติดป้ายชื่อแบบไหนไว้หน้าบ้าน ซึ่งป้ายนั้นอาจไม่ได้ตรงกับป้ายใดๆเลยที่ปลิวไปมาอยู่บน Social Network
.
4) นอกจากปุ่ม unfriend เรายังมีปุ่ม unfollow : เป็นเรื่องตลกที่ในช่วงเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา ที่ใครก็บอกเลิกคบกันได้เพียงแค่ติดป้ายไม่เหมือนกันเพียงชั่วพริบตาแม้จะคบกันมาเกือบชั่วอายุ ซึ่งเราคงต้องยอมรับกันว่าเมื่อถึงจุดหนึ่ง Social Network จะพัดกระแสข้อมูลที่เราอยากเสพและป้ายต่างๆ ปลิวเข้ามาใน feed เราดุจซึนามิตามอัลกอริทึมของระบบ
ถ้าโชคดีมีข้อมูลพอ เราจะสามารถแยกแยะเรื่องราวเหล่านั้นโดยไม่ถูก negative energy ทำร้าย แต่ถ้าภูมิคุ้มกันเรายังไม่แข็งแรง การ unfollow ก็จะเป็นการหยุดข้อมูลที่ไม่อยากเสพได้โดยไม่จำเป็นต้อง unfriend ในชีวิตจริง
.
5: ปล่อยวางหรือจะเรียกว่า ช่างแม่ง ก็ได้ ถ้านั่นจะทำให้โลกในตอนเช้าสวยขึ้น :
เพราะคุณไม่ใช่ มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก หรือ แจ็ก ดอร์ซี เจ้าของ Twitter ที่จะมีปุ่มกดปิด acct คนที่เห็นต่าง แต่คุณคือ ”ตัวคุณเอง” ที่สามารถห้ามไม่ให้ตัวเองใส่ใจกับเรื่องราวที่กวนใจและควรเรียนรู้ที่จะเข้าใจคำว่า agree on disagree เพื่อให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์กับคนรอบๆ ตัวให้มากขึ้น เพราะบางครั้งมันก็เป็นแค่เรื่องบางเรื่อง อาหารบางอย่าง เพลงบางเพลงที่เราไม่ได้ชอบเหมือนกัน แต่มันยังมีเรื่องอื่นๆ อีก 108-1009 ที่เรายังพูดคุยกันได้
.
และถ้าสุดท้ายถ้ายังไม่รู้สึกดีขึ้นนี่คือคำแนะนำขั้น ultimate ที่ได้ผลที่สุดคือ
ปิดมือถือ ปิดคอม แล้วออกไปสัมผัสลมนอกหน้าต่างบ้าง
Pi_Rush the Sirus
#peoplepersona
#เขย่งก้าวกระโดด
#labelization #แปะป้าย
labeling theory 在 labeling theory | Concepts, Theories, & Criticism | Britannica 的相關結果
labeling theory, in criminology, a theory stemming from a sociological perspective known as “symbolic interactionism,” a school of thought based on the ... ... <看更多>
labeling theory 在 Labeling Theory - Simply Psychology 的相關結果
Labeling theory is an approach in the sociology of deviance that focuses on the ways in which the agents of social control attach ... ... <看更多>
labeling theory 在 Labeling theory - Wikipedia 的相關結果
Labeling theory posits that self-identity and the behavior of individuals may be determined or influenced by the terms used to describe or classify them. ... <看更多>