「麻煩度下體溫先」
明明溫度係數字,點解要五顏六色嘅體溫儀?視覺同管治有咩關系?
//人類學家詹姆斯・斯科特(James C. Scott)在《國家的視角》指出,國家由於無法視物,難以處理民眾,因而強推可讀性(legibility)。為了令現象變得容易解讀,從而作出計量和運算,國家首先需要收窄視野,將本來複雜而難而處理的現實簡化,只集中處理特定的部分,設立標準程序,以便記錄及監控。//
每個星期一嘅香港本地作家嘅Patreon文章,今日到輪到 Sample 樣本 雜誌編輯葉梓誦。
全文:
【客席作者葉梓誦文章】視覺與管治
https://bit.ly/3jq5hS1
#支持本地文化
2021年5月【客席作者:葉梓誦】為空洞作證:鑑證科學的歷史課題
https://bit.ly/3gd374W
***********************************
每日更新乞兒兜Patreon:
https://www.patreon.com/goodbyehkhellouk
MeWe:https://mewe.com/p/goodbyehkhellouk
Twitter:@ByeHKHiUK
IG:@goodbyehkhellouk
最近更新:
【客席作者葉梓誦文章】視覺與管治
https://bit.ly/3jq5hS1
巴士站「執到」的英國國防部機密文件
https://bit.ly/3dkzQ7v
英國衛生大臣宣布辭職,為老細、為政黨、為愛情?
https://bit.ly/3qt1hS0
***********************************
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
「legibility」的推薦目錄:
- 關於legibility 在 Goodbye HK, Hello UK Facebook 的最讚貼文
- 關於legibility 在 Facebook 的最讚貼文
- 關於legibility 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
- 關於legibility 在 コバにゃんチャンネル Youtube 的最佳貼文
- 關於legibility 在 大象中醫 Youtube 的最讚貼文
- 關於legibility 在 大象中醫 Youtube 的最佳解答
- 關於legibility 在 What is LEGIBILITY? What does LEGIBILITY mean ... - YouTube 的評價
legibility 在 Facebook 的最讚貼文
Today marks the 6th month
of working with the brand that I love. ⏳
Although I did mention briefly about @rado
and its connection with my family,
I thought I’d freshen up the story a little. 💭
I received my first @rado watch
on my birthday 9 years ago. 🎁
It was a gift from my mother,
and it was a watch she owned.
I used to travel a lot you see, 🌏
So, to have a part of her with me,
meant a lot to me.
My mother has one
that she owned for decades,
my dad and I
have the exact same Captain Cook,
and my brother
got himself one too last year.
This is a watch that has the right balance
of style, utility and legibility.
And it’s also a brand
that holds a special place with me. ♥
@Rado #RadoCaptainCook #Feelit
Video by the one and only @aunshots
legibility 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
ถาม-ตอบ เทคนิคการเขียนตำรา
สิทธิกร ศักดิ์แสง
เทคนิคการเขียนตำราผู้เขียน ได้รวบรวมมาจากงานเขียนของ ศ. ดร.ชุติมา สัจจานันท์ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าการเขียนตำรามีความสำคัญอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษาตำราเป็นผลงานวิชาการที่สำคัญที่มีความสำคัญต่อการศึกษา การเรียนการสอนตามหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ในฐานะเป็นเครื่องมือการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ การสื่อสารองค์ความรู้ การค้นพบทางวิชาการและเผยแพร่วิทยาการให้ปรากฏ ในสังคมความรู้และการเรียนรู้ ตำราจึงมีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางต่อการศึกษาและการให้ความรู้ทางวิชาการแก่ผู้สนใจทั่วไป
ถาม ตำราหมายถึงอะไร
ตอบ ความหมายของตำรา ตามเอกสารแนบท้าย ประกาศ กพอ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 ให้คำนิยามความหมายของตำรา
ตำรา หมายถึง งานวิชาการที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนทั้งวิชาหรือเป็นส่วนหนึ่งของวิขา ซึ่งเกิดจากการนำข้อค้นพบจากทฤษฎี จากงานวิจัยของผู้ขอหรือความรู้ที่ได้จากการค้นคว้าศึกษามาวิเราะห์ สังเคราะห์ รวบรวมและเรียบเรียง โดยมีมโนทัศน์ (มโนทัศน์ (Concept) หมายถึง ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับประเภทของสิ่งต่างๆ ตามความเข้าใจของแต่ละคน เช่น เข้าใจว่าสิ่งของลักษณะเช่นใดเรียกว่า “ของแข็ง” สิ่งของลักษณะเช่นใดเรียกว่า “สิ่งมีชีวิต” สิ่งมีชีวิตลักษณะเช่นใดเรียกว่า “แมว” คนลักษณะเช่นใดเรียกว่า “วีรชน” การกระทำลักษณะเช่นใดเรียกว่า “หว่านข้าว” ตลอดจนความคิดลักษณะเช่นใดเรียกว่า “วัตถุนิยม”) ที่ผู้เขียนกำหนดให้เป็นแกนกลาง ซึ่งสัมพันธ์กับมโนทัศน์ย่อยอื่นอย่างเป็นระบบ มีเอกภาพสัมพันธภาพและสารัตภาพตามหลักการเขียนที่ดี ใช้ภาษาที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการและให้ความรู้ใหม่อันเป็นความรู้สำคัญที่มีผลให้เกิดการเปลี่ยแปลงต่อวงวิชาการนั้นๆ ดังนั้นตำรา จึงต้องเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆได้
นอกจากความหมายของตำราตามคำนิยามเอกสารแนบท้ายประกาศ ก.พ.อ. ดังกล่าวแล้ว บันลือ พฤกษะวัน และดำรง ศิริเจริญ (2533 : 9) อธิบายไว้ว่า
1) หนังสือที่เขียน (แต่ง) แปลหรือเรียบเรียง ตรงกับหลักสูตรวิชาใดวิชาหนึ่งที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษา เช่น การประถมศึกษา หลักรัฐศาสตร์ เทคโนโลยีทางการศึกษา และอื่น ๆ เป็นต้น หนังสือดังกล่าว นิสิต นักศึกษาใช้เรียน และครูอาจารย์ใช้เป็นแนวทางในการสอนวิชานั้น ๆ
2) คู่มือการสอนวิชาต่าง ๆเช่นคู่มือครูสอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา คู่มือการถ่ายรูป หรืออื่น ๆ ซึ่งให้กับผู้เรียน (นิสิตนักศึกษา) หรือนิสิตนักศึกษานำไปใช้เชิงปฏิบัติได้
3)หนังสือที่เขียนเรื่องเฉพาะมีเนื้อหาสาระสำคัญเฉพาะเรื่องซึ่งผู้เรียนสนใจค้นคว้ารวบรวม เช่น เมืองพิษณุโลก วัดเก่าในเมืองพิจิตร และอื่น ๆ หนังสือประเภทนี้ก็จัดได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิชาที่สอนในมหาวิทยาลัย วิทยาลัยหรือเป็นสิ่งที่นิสิตนักศึกษา ครู อาจารย์ ให้ศึกษาค้นคว้าเพื่อความลึกซึ้งเฉพาะเรื่อง และเกี่ยวข้องกับวิชาใดวิชาหนึ่งที่เปิดสอนในสถาบันก็ถือว่าเป็นตำราได้เช่นกัน
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (2522: 6) ให้ความหมายว่า ตำรา คือ หนังสือซึ่งว่าด้วยความรู้ในสาขาใดสาขาหนึ่ง เขียนขึ้นโดยมีข้อมูลที่ได้กลั่นกรองแล้วจากสิ่งตีพิมพ์ปฐมภูมิและอื่น ๆ โดยมีจุดประสงค์ที่สำคัญเพื่อสอนให้รู้วิทยาศาสตร์ในสาขานั้น ๆ ตามระดับต่าง ๆ แล้วแต่จุดประสงค์ของตำรา ลักษณะของตำราควรมีความหนาอย่างน้อย 100 หน้ากระดาษพิมพ์ ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้คือ คำนำ สารบัญ สัญลักษณ์ และคำย่อที่ใช้ในตำรา เนื้อเรื่อง ภาคผนวก เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม คำอภิธานศัพท์ และดรรชนีเนื้อเรื่อง
ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ตำราเป็นหนังสือวิชาการ อาจเป็นงานเขียน เรียบเรียง หรือแปล ที่จัดทำเป็นรูปเล่มหนังสือวิชาการเพื่อให้ความรู้พื้นฐาน ความรู้เฉพาะด้าน เฉพาะเรื่อง ในสาขาใดสาขาหนึ่ง โดยเขียนขึ้นจากการค้นคว้า วิจัย เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าแก่ผู้ใช้
ถาม ลักษณะสำคัญของตำราเป็นอย่างไร
ตอบ ได้มีผู้แสดงความคิดเห็นลักษณะของตำราไว้อย่างกว้างขวาง ลักษณะที่ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญตามแนวความคิดนั้น คือในฐานะที่เป็นเครื่องช่วยสอน ตำราจะต้องเสนอเนื้อหาวิชาอย่างมีระเบียบแบบแผน ไม่ว่าเนื้อหาวิชาจะยุ่งยากสลับซับซ้อนอย่างไร ก็ควรจะต้องนำผู้อ่านไปสู่วัตถุประสงค์โดยเริ่มจากเรื่องง่าย ๆ เป็นพื้นฐานไปสู่เรื่องที่ยากซับซ้อนขึ้นจากเรื่องที่ผู้อ่านคุ้นเคยไปสู่เรื่องที่ผู้อ่านไม่คุ้นเคย และจากเรื่องที่เป็นรูปธรรมไปสู่เรื่องที่เป็นนามธรรม ควรมีคำจำกัดความของศัพท์ใหม่ ๆ และอธิบายอย่างละเอียดเมื่อเขียนถึงครั้งแรก แนวคิดที่เสนอต่อผู้อ่านค่อย ๆ พัฒนาขึ้นโดยให้อรรถาธิบายในรูปแบบต่าง ๆ แผนที่ แผนภูมิ ตาราง กราฟ จะต้องอยู่ในที่พอเหมาะกับเนื้อหาเพื่อช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น ทั้งนี้จะต้องระลึกเสมอว่าวัตถุประสงค์สำคัญของหนังสือ ตำรา คือการเสนอข้อเท็จจริงให้แนวความคิดขึ้นพื้นฐานเพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาค้นคว้าต่อด้วยตนเอง อย่างไรก็ดีมีข้อจำกัดอยู่ที่ว่าไม่สามารถให้ข่าวสารที่ทันสมัยได้เช่นเดียวกับ เอกสารสิ่งพิมพ์ประเภทวารสาร ฉะนั้นการแก้ไขปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไปจึงจำเป็นที่จะต้องรวมแนวความคิดจากวารสารและเอกสารใหม่ ๆ เพิ่มเติมลงไปด้วย (McCaffrey 1971: 210)
ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ (2523: 5-6) ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับลักษณะของตำราไว้ว่า
1.เป็นหนังสือที่มุ่งให้ความรู้ในการเขียนตำราผู้เขียนมุ่งให้ความรู้มากกว่าให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน แต่ถ้าผู้เขียนสามารถก็ควรมีวิธีเขียนที่ให้ความสะดวกแก่ผู้อ่าน
2.มีการลำดับขั้นตอน โดยไม่คำนึงถึงศิลปการประพันธ์ มุ่งให้ความสะดวกแก่การเรียนวิชาที่บรรจุอยู่ในหนังสือนั้น
3.ใช้ศัพท์และสำนวนที่มีความหมายเชิงวิชาการ ควรจะต้องมีการนิยามศัพท์ที่ให้ความหมายตามที่จะกำหนดเพื่อใช้ในการเรียนตำรานั้น และต้องใช้ศัพท์ในความหมายนั้นให้เสมอต้นเสมอปลายตลอดเรื่อง
4. ความรู้ที่บรรจุในหนังสือนั้นจะต้องเป็นความรู้ที่คนในวงการเดียวกันรับรองแล้ว ถ้ามีข้อความใดที่ยังอยู่ระหว่างการโต้แย้ง จะต้องบอกแง่คิดทั้งสองแง่หรือมากกว่าสองประเด็นนั้น หากข้อความใดเป็นข้อสังเกตของผู้เขียนเอง หรือข้อคิดเห็นของผู้ใดก็ตาม ผู้เขียนจะต้องบอกไว้
5. ข้อความใด ซึ่งยังไม่เป็นที่ประจักษ์แพร่หลายในวงวิชาการ ที่หนังสือนั้นนำมากล่าวไว้ ผู้เขียนจะต้องบอกแหล่งที่มาของความรู้นั้น เพื่อผู้อ่านจะทดสอบไว้ และสามารถค้นคว้าหาความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นต่อไปได้
ปิฎฐะ บุนนาค (2523: 32-37) ได้กล่าวถึงลักษณะของตำราไว้ดังนี้
1.รูปเล่มควรจะเป็นแบบลักษณะมาตรฐานสากลทั่ว ๆ ไป มีสภาพคงทนพอสมควร
2.การจัดลำดับเนื้อหาสาระหรือบทต่าง ๆ ในเล่มควรเป็นไปด้วยดี สะดวกในการค้นคว้า มีสารบัญ หรือดรรชนี เพื่อค้นคว้าหารายละเอียดได้ง่าย
3.ใช้ภาษาถ้อยคำ และศัพท์เทคนิคให้เหมาะสมกับระดับของผู้อ่าน เขียนตรงกับวัตถุประสงค์ในการแต่งหนังสือ ใจความกะทัดรัดได้ความแน่นอน ศัพท์เทคนิคภาษาไทยที่ใช้ควรวงเล็บภาษาต่างประเทศไว้ด้วย เพื่อจะได้เข้าใจความหมายที่ถูกต้อง
4.หากมีรูปภาพเขียน ภาพถ่าน รูปแผนภูมิ กราฟ อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้จัดวางหน้าในลักษณะที่ใกล้เคียงหรือสัมพันธ์กับเรื่อง หรือเนื้อหาสาระ แต่ละรูปควรมีเลขที่เรียงลำดับไว้เพื่อสะดวกแก่ผู้ใช้ ภาพทุกชนิดจะต้องชัดเจน และเน้นส่วนสำคัญที่ต้องการเน้น
5.มีเอกสารอ้างอิงให้ทราบว่าข้อความหรือเนื้อหาสาระในหนังสือนั้น ได้ยึดถือหรือได้ข้อมูลมาจากไหนบ้าง เพื่อให้ผู้อ่านตามไปหาเอกสารอ้างอิงตรวจสอบดู หรือให้รู้รายละเอียดในเอกสารอ้างอิงนั้นมากขึ้น
6.เนื้อหาสาระเชื่อถือได้ นำไปปฏิบัติได้ เกิดประโยชน์ตามต้องการ
ถาม ลักษณะที่ดี ของการเขียนตำรา เป็นอย่างไร
ตอบ เมื่อทราบถึงลักษณะของตำราดังกล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นลักษณะด้านวิธีการนำเสนอและเนื้อหา ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการเขียนหนังสือวิชาการ เพราะด้วยตำราและหนังสือวิชาการที่มีคุณภาพนั้นนอกจากในเนื้อหาสาระที่เชื่อถือได้แล้ว ผู้เขียนจะต้องมีความสามารถ ความชำนาญ และความเข้าใจเป็นอย่างดีในเรื่องที่ตนเขียน ผู้เขียนที่ได้รับการศึกษาอบรมมาในเรื่องที่เขียน รวมทั้งเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ด้วยแล้วจะทำให้ข้อมูลที่เขียนนั้นเป็นสิ่งที่น่าเชื่อถือ อันเป็นคุณลักษณะตำราที่ดี
ปรีชา ช้างขวัญยืน (2539) อธิบายลักษณะของตำราที่ดีสรุปได้ว่าควรให้ความรู้ใหม่ ทั้งการค้นพบและการเข้าใจทางวิชาการในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นผลิตผลจากการศึกษาของผู้เขียนเองเป็นผลจากการวิจัยเฉพาะเรื่อง หรือการนำผลการวิจัยเฉพาะเรื่องหรือการนำผลการวิจัยมาประมวลแยกแยะประเด็นและเสนอแนวคิด ข้อมูลที่ปรากฏควรมีความแคบแต่ลึก เพราะการศึกษาสมัยใหม่จะไม่เป็นแบบสำเร็จรูปอยู่ในตำราเล่มเดียวอีกต่อไป มีเนื้อหาซึ่งเป็นพื้นความรู้ การวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ตำราเฉพาะเรื่องส่วนมากจะโยงเนื้อหาและแนวคิดกับแนวคิดต่อเนื่องกันลงไปในทางลึก ส่วนตำราพื้นฐานจะโยงเนื้อหาสำคัญและเรื่องหลักทางวิชานั้นในแนวกว้าง การเขียนตำราแนวลึกควรจำกัดเนื้อหาให้เหลือเฉพาะส่วนที่สัมพันธ์กับเรื่องหลักที่ผู้เขียนพิจารณาโดยตรง ส่วนการเขียนตำราแนวกว้าง ควรจำกัดความลึกซึ้งของเรื่องที่พูดแต่ละเรื่องไม่ให้ศึกษาหรือลงรายละเอียดมากเกินไป ผู้เขียนควรให้ความรู้ลึกซึ่งเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี ให้ความรู้ใหม่ มีการตีความ การวิพากษ์วิจารณ์แบบใหม่ การเสนอความคิดเห็นใหม่หรือทฤษฏีใหม่ หลายแง่หลายมุม มีการอ้างอิงอย่างมีคุณภาพ หมายถึงการอ้างอิงอย่างมีจุดหมายเท่าทีจำเป็นและอ้างอิงถึงต้นตอของความรู้เมื่อนำผลงานหรือแนวคิดของผู้อื่นมาใช้ก็ควรอ้างอิงอย่างถูกต้องตามแบบแผนสากล ภาษาที่ใช้ในการเขียนควรเป็นภาษามาตรฐาน แจ่มแจ้ง ชัดเจน กระชับรัดกุม รูปเล่มควรมีขนาด 8 หน้ายกหรือ A4 มีส่วนประกอบของตำราครบถ้วน มีเครื่องมือช่วยอธิบายเนื้อหา เช่น ตาราง แผนภูมิ รูปภาพ แผนที่ เพื่อช่วยให้เข้าใจเนื้อหาดียิ่งขึ้น
ตำราที่ดีตามหลักการที่นำเสนอโดยบันลือ พฤกษะวัน และดำรง ศิริเจริญ (2533) คือ ตำราที่มีความลึกซึ้งในการเขียน ให้ความรู้แปลก ๆ ใหม่ ๆ เขียนจากการผสมผสานผลการวิจัยหลาย ๆ เรื่อง เนื้อหาวิธีหรือเรื่องราวที่เสนอจะต้องเป็นปัจจุบัน แสดงให้เป็นวิวัฒนาการของเนื้อหา เรื่องราว ให้ความรู้ ความจริง เป็นความจริงที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่ผ่านการตรวจสอบ ระบุแหล่งอ้างอิงในการเขียน ช่วยขยายประสบการณ์แก่ผู้อ่านอย่างกว้างขวาง มีส่วนประกอบในการนำเสนอได้แก ภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ ซึ่งจะให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาได้อย่างชัดเจนมากขึ้น มีลักษณะที่ประกอบด้วยคำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง สรุป การอ้างอิงอย่างมีระบบ
ถาม เทคนิควิธีการเขียนตำราให้เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการมีขั้นตอนและวิธีการอย่างไร
ตอบ. การเขียนตำรามีขั้นตอนและเทคนิคการเขียนเช่นเดียวกับการเขียนงานเขียนทางวิชาการโดยทั่วไป แต่เนื่องจากตำราเป็นผลงานทางวิชาการหรือหนังสือวิชาการที่มีความสำคัญ ผู้เขียน ผู้เรียบเรียง หรือผู้แปลจึงต้องมีความรู้และประสบการณ์สูงในเรื่องที่เขียน มีการศึกาค้นคว้าอย่างลึกซึ้ง และมีความสามารถในการเรียบเรียงและนำเสนอ อย่างไรก็ดีตำราที่ดีมีประเด็นที่ควรพิจารณาดังนี้
1. การเลือกเรื่อง ตำราที่น่าสนใจควรมีเอกลักษณ์หรือจุดเด่น ซึ่งแตกต่างจากตำราที่ปรากฎโดยทั่วไปในตลาดหนังสือ เอกลักษณ์หรือจุดเด่นอาจเริ่มตั้งแต่ การเลือกเรื่อง ซึ่งนำไปสู่การตั้งชื่อเรื่อง การกำหนดกรอบแนวคิด ขอบเขตของเรื่อง โครงเรื่อง เนื้อหาสาระ และการนำเสนอ
2.การตั้งชื่อเรื่อง และการกำหนดขอบเขตของเรื่อง. ชื่อเรื่องของตำรา ควรใช้ภาษาวิชาการ ชัดเจน เข้าใจง่าย ระบุขอบเขตเนื้อหา หรือกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น. ภาษาอังกฤษสำหรับครูการเขียนเพื่อการสื่อสารธุรกิจ
มีข้อสังเกต ว่าตำราที่มีขอบเขตที่เหมาะสม แคบแต่ลึก จะน่าสนใจกว่าตำราที่กว้างและผิวเผิน
3. การกำหนดโครงเรื่อง โครงเรื่องเปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของงานก่อสร้าง ซึ่งผู้เขียนหรือผู้เรียบเรียงสามารถกำหนดให้น่าสนใจ มีเอกลักษณ์หรือจุดเด่นได้เช่นเดียวกับการออกแบบ โครงเรื่องแสดงให้เห็นถึงขอบเขตของเรื่องและกรอบแนวคิด ซึ่งย่อมต้องมีข้อมูลจากการเลือกเรื่อง ชื่อเรื่อง และจุดมุ่งหมายของเรื่อง ทั้งจุดมุ่งหมายทั่วไป และจุดมุ่งหมายเฉพาะ รวมถึงกลุ่มเป้าหมายและประเภทของตำรา
โครงเรื่องเป็นกรอบกำหนดการคัดเลือกข้อมูล และการนำเสนอ โครงเรื่องที่ดีนำมาสู่ความสมบูรณ์ ลุ่มลึกของเนื้อหา ความแจ่มแจ้ง ชัดเจน ในการลำดับความคิด การนำเสนอและการอ่าน
4. เนื้อหาและการนำเสนอเนื้อหา ซึ่งเนื้อหา คือ “หัวใจของตำรา” ในการประเมินคุณภาพของตำราหรือหนังสือวิชาการที่เป็นงานเขียนหรือเรียบเรียง โดยทั่วไปจะมุ่งเน้นที่เนื้อหา กล่าวคือ เนื้อหาควรเสนอความรู้ใหม่หรือองค์ความรู้ใหม่ มีความถูกต้อง ความทันสมัย ความสมบูรณ์ ลุ่มลึกของเนื้อหา
การนำเสนอเนื้อหา มีวิธีการนำเสนอ โดยการบรรยาย อธิบาย การอ้างเหตุผล การใช้ภาษาที่เป็นภาษาวิชาการที่ดี กะทัดรัด ชัดเจน อ่านง่าย มีเอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตภาพ รวมทั้งมีเครื่องมือช่วยอธิบาย เช่น ภาพประกอบ ตาราง แผนภูมิ แผนภาพ แผนที่ ที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มความเข้าใจและความน่าสนใจ
อนึ่ง มีข้อสังเกตในด้านเนื้อหาและการนำเสนอเนื้อหาตำรานั้น จะต้องมีการศึกษาค้นคว้าอย่างลึกซึ้ง จึงต้องนำเสนอในหลายแง่มุม มีการวิเคราะห์ประเด็นจำแนกแยกแยะ เชื่อมโยงกรอบแนวคิด ทฤษฏี และเสนอความเห็น แนวคิด อันทำให้เกิดความรู้ใหม่ อันเป็นจุดเด่นของตำราหรือหนังสือวิชาการนั้น ตำราหลายเรื่องเขียนหรือเรียบเรียงจากผลการวิจัย ทำให้เนื้อหาที่เกิดจากการค้นพบทางวิชาการใหม่ ๆ นอกจากนี้ยังต้องมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
5. ส่วนประกอบและรูปเล่มของตำรา ซึ่ง ตำราประกอบด้วยส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนท้าย และในแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้
ส่วนนำ ประกอบด้วย ใบรองปก หน้าปกใน คำนำ สารบาญ
ส่วนเนื้อหา แบ่งเป็นบทและเรื่อง
ส่วนท้าย ประกอบด้วย บรรณานุกรม ภาคผนวก ประวัติผู้เขียนและหนังสือต่างประเทศมักจะมีดรรชนี (Index) ท้ายสุด
เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหา จุดเน้นที่สำคัญในเรื่องส่วนประกอบของตำราที่ควรให้ความสำคัญ คือหน้าปกในควรมีข้อมูลทางบรรณานุกรมที่สมบูรณ์ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับผู้จัดพิมพ์ สำนักพิมพ์ หรือสถาบันที่พิมพ์ รวมทั้งรายละเอียดการจัดพิมพ์ เช่น โครงการตำราของมหาวิทยาลัย เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้แสดงถึงความเชื่อถือได้ของตำราหรือหนังสือวิชาการนั้นได้ เพราะสำนักพิมพ์หรือสถาบันที่มีมาตรฐานจะมีกระบวนการพิจารณาและควบคุมคุณภาพก่อนการจัดพิมพ์
ครั้งที่พิมพ์และปีที่พิมพ์ แสดงถึงความทันสมัยและความแพร่หลาย ถ้ามีการพิมพ์และปรับปรุงหลายครั้ง ข้อมูลในส่วนนี้เป็นประโยชน์ในการประเมินคุณค่าและความทันสมัยของเนื้อหาด้วย
ข้อมูลเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number: ISBN)ผู้เขียนหรือผู้จัดพิมพ์สามารถขอเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือได้จากหอสมุดแห่งชาติ ซึ่งจะกำหนดเลขให้หนังสือแต่ละเล่ม เป็นการจดทะเบียนหนังสือและเลขมาตรฐานสากลดังกล่าวโดยทั่วไปจะพิมพ์ไว้ที่ด้านหลังหน้าปกใน
ข้อมูลบัตรรายการในเล่ม ผู้จัดพิมพ์หรือสำนักพิมพ์หลายแห่งจัดทำข้อมูลบัตรรายการไว้ในด้านหลังหน้าปกใน ซึ่งเป็นข้อมูลสำหรับห้องสมุดด้วย
นอกจากนี้ควรให้ความสนใจในเรื่องกระดาษ รูปเล่มของตำรา ควรใช้กระดาษดีโดยทั่วไปจะใช้กระดาษปอนด์ ปกใช้กระดาษหนาพอสมควร มีการออกแบบปกที่สื่อสารให้สอดคล้องกับเนื้อหาสาระ เน้นความเรียบง่าย ไม่ต้องมีหลายสี ขนาดของตำราโดยทั่วไปมีขนาดเอ 5 (53/4นิ้ว x81/4 นิ้ว) หรือ เอ 4 (81/4 นิ้ว x113/4นิ้ว)
ถาม การประเมินระดับคุณภาพของตำรามีเกณฑ์กำหนดไว้อย่างไร
ตอบ ตามเอกสารแนบท้าย ประกาศ กพอ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 ไว้ดังนี้
“ระดับดี” เป็นตำราที่มีเนื้อหาสาระถูกตัองสมบูรณ์และทันสมัย มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา
“ระดับดีมาก “ ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
1.มีการสังเคราะห์และเสนอความรู้หรือวิธีการที่ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ
2.มีการสอดแทรกความคิดริเริ่มและประสบการณ์หรือผลงานวิจัยที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
3.สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้
“ระดับดีเด่น “ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
1.มีลักษณะเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
2.มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดและค้นคว้าต่อเนื่อง
3.เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องในระดับชาติและ/ หรือระดับนานาชาติ
ถาม งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตำรากับตำราได้หรือไม่ เกี่ยวข้องอย่างไร
ตอบ งานวิจัยเกี่ยวข้องกับตำราแสดงให้เห็นถึงลักษณะที่ดีของตำราในแง่มุมต่าง ๆ ที่ได้มาจากการวิเคราะห์สังเคราะห์ เกิดองค์ความรู้ใหม่ในตำรา จึงถือว่ามีความสำคัญอน่างมาก
ถาม ข้อบกพร่องในการเขียนตำรา ส่วนใหญ่จะมีข้อบกพร่องในเรื่ิงใด
ตอบ ตำราบางส่วนยังมีวิธีการอ้างอิงเอกสารที่ไม่ถูกต้องตามหลักการอ้างอิง ตลอดจนรูปแบบการลงบรรณานุกรม ยังไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ข้อมูลของตำราบางส่วนยังไม่ทันสมัย ควรมีการจัดพิมพ์ฉบับแก้ไข ปรับปรุงใหม่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
ขาดเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการค้นหาความหมาย คือ อภิธานศัพท์ เนื่องจากมีศัพท์ต่างประเทศปนอยู่เป็นจำนวนมาก ควรมีการรวบรวมความหมายของคำศัพท์นั้น มาไว้ด้วยกัน
กระดาษที่ใช้ส่วนมากแม้จะมีคุณภาพดี แต่บางเล่มกระดาษบางเห็นตัวอักษรของด้านหลัง ทำให้ความกระจ่างชัดในการอ่าน (legibility) ลดลง
ภาพประกอบที่ไม่ชัดเจน พร่ามัว ยังมีอยู่บ้าง ตาราง หรือแผนภูมิเล็ก มีรายละเอียดภายในไม่ชัดเจน
การเข้าเล่มบางส่วนไม่แข็งแรงทนทาน หลุดง่ายไม่เหมาะต่อการหยิบอ่านบ่อยครั้ง
ถาม การประเมินค่าตำรา โดยหลักเขามีเกณฑ์ประเมินอย่างไร
ตอบ ชุติมา สัจจานนท์ และคณะ(2542) พัฒนาเกณฑ์การประเมินค่าตำรา พบว่ามีประเด็นหลักตามลำดับค่าคะแนนดังนี้
เนื้อหาสาระ ผู้เขียนและผู้จัดพิมพ์ ผู้จัดทำ การนำเสนอ รูปเล่ม และการพิมพ์ รวมทั้งค่าคะแนนในประเด็นย่อยใกล้เคียงกัน ซึ่งสอดคล้องกับความหมายและลักษณะของตำราที่ดีมีคุณภาพตามแนวทางที่นำเสนอโดย ชุติมา สัจจานันท์ (2533) บันลือ พฤกษะวัน และดำรง ศิริเจริญ (2533) ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ (2523) ปรีชา ช้างขวัญยืน (2539) ปิฏฐะ บุนนาค (2523)
นอกจากนี้การกำหนดคะแนนเกณฑ์การประเมินค่าตำรา ประเด็นย่อยหลายประเด็นมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ประเด็นเนื้อหาสาระของตำรา ให้คะแนนสูงในด้านการเสนอองค์ความรู้ ทรรศนะ หรือประเด็นใหม่ การเสนอแนวคิดเชิงวิเคราะห์และสังเคราะห์ มีความถูกต้อง มีข้อมูล และหลักฐาน มีความทันสมัย มีความลึกซึ้งครบถ้วนสมบูรณ์ การกำหนดคะแนนเช่นนี้สอดคล้องกับลักษณะของตำราที่ดีมีคุณภาพตามเกณฑ์ของทบวงมหาวิทยาลัย (2542) ปรีชา ช้างขวัญยืน (2539) เกณฑ์การคัดเลือกตำราเพื่อจัดพิมพ์ของโครงการส่งเสริมการแต่งตำราของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ การมอบรางวัลตำรา TTF Award ของมูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศไทย และผลการวิจัยของ ฉวีวรรณ สวัสดี (2521) ซึ้งล้วนเน้นประเด็นเนื้อหาสาระเป็นหลัก
การประเมินคุณค่าตำราจากผลการวิจัยที่นำเสนอโดยชุติมา สัจจานันท์และคณะ (2542:240-243) ครอบคลุม 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ ผู้เขียนและผู้จัดพิมพ์ เนื้อหาสาระ การนำเสนอ และรูปเล่มและการพิมพ์ โดยประเด็นเนื้อหาสาระมีคะแนนมากที่สุด ประเด็นผู้เขียนและผู้จัดพิมพ์ และประเด็นการนำเสนอ มีคะแนนรองลงมาเท่ากัน ส่วนประเด็นรูปเล่มและการพิมพ์ มีคะแนนน้อยที่สุด
สรุป
ตำราเป็นผลงานทางวิชาการที่สำคัญประการหนึ่ง มีความหมาย ลักษณะและเทคนิคการเขียนแบบงานเขียนทางวิชาการ ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ทฤษฎี และหลักการทางวิชาการวิชาชีพ การศึกษาค้นคว้า หาความรู้ และประสบการณ์ทั้งทางวิชาการและเทคนิคการ ตำรามีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ การค้นพบทางวิชาการ และเผยแพร่วิทยาการให้เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการเรียน การสอนตามหลักสูตรการศึกษาและการให้ความรู้ทางวิชาการแก่ผู้อ่านและสังคม การประเมินและการพิจารณาคุณค่าของตำราจึงเป็นแนวทางที่ผู้เขียนตำราควรให้ความสำคัญเพื่อให้มีการเขียนผลงานตำราที่มีคุณภาพและคุณค่าตามหลักวิชาการ
legibility 在 What is LEGIBILITY? What does LEGIBILITY mean ... - YouTube 的推薦與評價
http://www.theaudiopedia.com What is LEGIBILITY? What does LEGIBILITY mean? LEGIBILITY meaning ... ... <看更多>