โอกาสของ มะพร้าวน้ำหอมไทย /โดย ลงทุนแมน
“Aromatic Coconut Water from Thailand is the Best in the World”
ซึ่งแปลว่า “น้ำมะพร้าวน้ำหอมของไทยนั้นดีที่สุดในโลก”
เป็นประโยคที่ผู้บริโภคต่างชาติหลายๆ คน พูดถึงมะพร้าวน้ำหอมของไทย
มะพร้าวน้ำหอม เป็นหนึ่งในสินค้าส่งออก
ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มชาวต่างชาติไม่น้อย
แล้วมะพร้าวน้ำหอมไทย กำลังมีโอกาส และ ความท้าทายในเรื่องอะไรบ้างในตอนนี้?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
มะพร้าว เป็นเป็นพืชในตระกูลปาล์ม
ซึ่งถ้าแบ่งตามวัตถุประสงค์ในการนำไปผลิตต่อ หรือบริโภค
จะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ซึ่งประกอบไปด้วย
1. มะพร้าวอุตสาหกรรม
2. มะพร้าวผลิตน้ำตาล
3. มะพร้าวเพื่อบริโภคผลสด
ซึ่งมะพร้าวน้ำหอม ถูกจัดเป็นมะพร้าวเพื่อบริโภคผลสด
ในปี 2017 มูลค่าตลาดน้ำมะพร้าวทั่วโลกเท่ากับ 65,000 ล้านบาท
และคาดว่าจะเติบโตถึง 249,000 ล้านบาท ในปี 2023 หรือเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่า ภายใน 6 ปี
ในปี 2018 ทั่วโลกมีผลผลิตมะพร้าวประมาณ 62 ล้านตัน
โดยประเทศที่มีผลผลิตมะพร้าวมากที่สุด 3 อันดับแรกของโลกคือ
1. อินโดนีเซีย 18.5 ล้านตัน
2. ฟิลิปปินส์ 14.7 ล้านตัน
3. อินเดีย 11.7 ล้านตัน
ขณะที่ในส่วนของประเทศไทยเรานั้น มีผลผลิตมะพร้าวทั้งหมด 0.81 ล้านตัน อยู่อันดับที่ 9 ของโลก ซึ่งไม่มากเมื่อเทียบกับประเทศที่ส่งออกอันดับต้นๆ
แม้ว่าในปัจจุบัน ประเทศไทยจะผลิตมะพร้าวน้อยกว่าอินโดนีเซียถึงเกือบ 10 ล้านตัน
แต่ถ้าพูดถึง “มะพร้าวน้ำหอม” ในสายตาชาวต่างชาติ
มะพร้าวน้ำหอมของไทย จะได้รับการยอมรับในเรื่องรสชาติ และคุณภาพที่ไม่แพ้ชาติใดในโลก
โดยความโดดเด่นของมะพร้าวน้ำหอมไทย คือเรื่อง “กลิ่น”
ที่มีความหอมมากกว่าคู่แข่งอย่างอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ทำให้มะพร้าวของไทยสามารถนำไปทำน้ำมะพร้าวพร้อมดื่มได้ดีกว่ามะพร้าวจากประเทศอื่น
ในประเทศไทยนั้น ภาคกลาง โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดราชบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และฉะเชิงเทรา ถือเป็นพื้นที่ที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอมมากในประเทศไทย
ทั้งนี้ มะพร้าวน้ำหอมในประเทศไทยจะมีราคาแพงขึ้นในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ของทุกปี
เนื่องจากเป็นช่วงที่อากาศร้อนจัด จนส่งผลให้มีผลผลิตออกมาน้อย
ขณะที่การปลูกมะพร้าวน้ำหอมแต่ละครั้ง
จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ปี แต่ก็สามารถเก็บผลผลิตได้นานมากกว่า 10 ปี
และเนื่องจากความต้องการมะพร้าวน้ำหอมในปัจจุปันยังมีอยู่ในระดับสูง
ทั้งจากการที่ธุรกิจการท่องเที่ยวของไทยที่เติบโตขึ้นในช่วงหลายปีก่อนหน้า
จากการขยายตัวของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
และจากความนิยมเครื่องดื่มที่ทำจากมะพร้าวน้ำหอมที่เพิ่มสูงขึ้น
รวมไปถึงการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมไปขายยังต่างประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดส่งออกไปจีนนั้น ซึ่งถือเป็นหนึ่งในตลาดที่นิยมบริโภคไม่เพียงแต่ทุเรียนและผลไม้อื่นๆ แต่ยังรวมไปถึงมะพร้าวน้ำหอมของไทยด้วย
ในประเทศไทยนั้น ผลผลิตมะพร้าวน้ำหอมของไทยในหนึ่งปีจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 700 ล้านลูก ซึ่งกว่า 50% จะถูกส่งไปขายที่ประเทศจีน
ในปี 2562 นั้น 3 ประเทศที่ถือเป็นตลาดส่งออกมะพร้าวน้ำหอมของไทยคือ
1. จีน ปริมาณการส่งออก 91,262 ตัน มูลค่าการส่งออก 2,270 ล้านบาท
2. สหรัฐอเมริกา ปริมาณการส่งออก 16,796 ตัน มูลค่าการส่งออก 537 ล้านบาท
3. ฮ่องกง ปริมาณการส่งออก 9,911 ตัน มูลค่าการส่งออก 198 ล้านบาท
ขณะที่ 9 เดือนแรกของปี 2563 นั้น มูลค่าการส่งออกมะพร้าวน้ำหอมไปจีนยังสูงถึง 2,828 ล้านบาท อันเนื่องมาจากความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตามจีนก็กำลังปลูกมะพร้าวเองเช่นกัน
ปัจจุบัน พื้นที่ปลูกมะพร้าวหลักของจีนอยู่ที่มณฑลไห่หนานตั้งอยู่ทางใต้สุดของประเทศ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่ถึง 90% ของพื้นที่ในการปลูกมะพร้าวทั้งประเทศ
โดยที่มณฑลไห่หนานมีพื้นที่ในปลูกต้นมะพร้าวประมาณ 250,000 ไร่ และให้ผลผลิตประมาณ 240 ล้านลูกต่อปี
ซึ่งจีนมีพื้นที่ในการเพาะปลูกมะพร้าวน้อย เนื่องจากภูมิอากาศของจีนที่ไม่เอื้อต่อการปลูกมะพร้าว เหมือนหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ปัญหาการขาดแคลนมะพร้าวในจีน ทำให้เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลจีนจึงพัฒนาโครงการสวนมะพร้าวที่มณฑลไห่หนานเพิ่มอีก 125,000 ไร่ เพื่อให้สามารถเพิ่มผลผลิตมะพร้าวให้มากกว่าตอนนี้
แต่ทั้งนี้ กว่าที่ผลผลิตมะพร้าวที่นี่จะเพิ่มขึ้นก็ต้องใช้เวลาอีกหลายปี และแม้ว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นในอนาคต ก็ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภคมะพร้าวในประเทศจีนที่ยังมีอยู่มาก
ปัจจุบัน จีนยังต้องมีการนำเข้ามะพร้าวจากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 2,500 ล้านลูกต่อปี สำหรับความต้องการของประชากรในประเทศกว่า 1.4 พันล้านคน
เรื่องนี้ก็นับว่า ยังเป็นโอกาสของเกษตรกรไทยที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอม ซึ่งถือเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอย่างมากโดยเฉพาะจากผู้บริโภคชาวจีนในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม รู้ไหมว่า ในช่วงระหว่างปี 2559-2562 พื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งหมดของประเทศไทยนั้นลดลงจาก 1.1 ล้านไร่ เหลือเพียง 0.85 ล้านไร่ ส่วนใหญ่เกิดจากผลผลิตที่ลดลงตามอายุ และสภาพต้นมะพร้าว
จึงทำให้เจ้าของสวนทำการตัดต้นมะพร้าวทิ้งเพื่อไปปลูกพืชอย่างอื่นแทน ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ยางพารา หรือปาล์มน้ำมัน
ซึ่งอาจเป็นความท้าทายของอุตสาหกรรมส่งออกมะพร้าวน้ำหอมของไทยไปยังตลาดที่มีความต้องการมากอย่างจีนในอนาคต
นอกจากนี้ ผลผลิตมะพร้าวที่ค่อยๆ ลดลงจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจแปรรูปอาหารจากมะพร้าว รวมทั้งธุรกิจปลูกกล้วยไม้ที่ใช้กาบและขุยมะพร้าวเป็นวัสดุในการปลูก ซึ่งธุรกิจเหล่านี้เป็นธุรกิจที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจพอสมควร
เรื่องนี้ จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้เกี่ยวข้องว่าจะช่วยพัฒนา และยกระดับอุตสาหกรรมมะพร้าวของไทยให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในวันนี้อย่างไร..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://copracoconuts.com/sustainability/why-coconut-water-from-thailand-is-the-best-in-the-world/
-https://mgronline.com/smes/detail/9630000033276
-https://en.wikipedia.org/wiki/Agriculture_in_Thailand#Coconuts
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_coconut_production
-http://www.agriman.doae.go.th/home/agri1/agri1.3/strategics_2554/04_coconut%202561-2579.pdf
-https://www.bangkokbanksme.com/en/coconut-agriculture-economy
-https://www.doa.go.th/hc/chumphon/wp-content/uploads/2020/02/aromatic-coconut.pdf
-http://www.fao.org/fileadmin/templates/rap/files/meetings/2013/131030-china.pdf
-https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/659157/659157.pdf&title=659157&cate=413&d=0
-http://www.agriinfo.doae.go.th/year60/plant/rortor/perennial/coconut.pdf
perennial plant 在 ลงทุนแมน Facebook 的精選貼文
โกโก้ พืชความหวังใหม่ ของเกษตรกรไทย / โดย ลงทุนแมน
60,000 - 80,000 ตัน คือปริมาณเมล็ดโกโก้แห้งที่ประเทศไทยต้องนำเข้าในแต่ละปี ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 1,700 ล้านบาท
การนำเข้าเมล็ดโกโก้เหล่านี้ ก็เพื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากโกโก้ ทั้งอาหาร ขนมหวาน ยาใช้ภายนอก และเครื่องสำอาง
เนื่องด้วยกำลังการผลิตเมล็ดโกโก้แห้งในประเทศไทย ปี 2562 มีอยู่เพียง 125 ตัน
ช่องว่างระหว่างกำลังการผลิตและความต้องการที่ห่างกันมาก จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับเกษตรกรไทย ในการที่จะกระจายผลผลิตทางการเกษตรออกไปจากพืชเศรษฐกิจเดิมๆ
การปลูกโกโก้จะเป็นความหวังใหม่ของเกษตรกรไทยได้อย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับประวัติของต้นโกโก้กันสักนิด
ต้นโกโก้เป็นพืชพื้นเมืองของแถบอเมริกากลาง โดยเฉพาะประเทศเม็กซิโก
สิ่งที่เป็นผลผลิตสำคัญของต้นโกโก้ก็คือ เมล็ดที่มีรสหวาน และอุดมไปด้วยสาร Theobromine ช่วยกระตุ้นระบบประสาท และทำให้สมองตื่นตัว
ในศตวรรษที่ 14 ชนพื้นเมืองของจักรวรรดิแอซเท็กมีการใช้เมล็ดโกโก้แทนเงินตราเนื่องจากเป็นสิ่งหายาก ในขณะที่ชนชั้นสูงจะนำเมล็ดมาต้มเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เรียกว่า ช็อกโกแลต
จนเมื่อชาวสเปนเดินทางมาค้นพบทวีปอเมริกา โกโก้จึงเริ่มแพร่หลายเข้าสู่ทวีปยุโรป จนเมื่อได้รับความนิยมมากขึ้น ชาวยุโรปได้นำต้นโกโก้ไปปลูกตามอาณานิคมเขตร้อนของตัวเองในทวีปแอฟริกา
ชาวฝรั่งเศสนำมาปลูกในอาณานิคมโกตดิวัวร์ ชาวอังกฤษนำมาปลูกในกานา
ส่วนทางฝั่งทวีปเอเชีย มีชาวดัตช์นำมาปลูกในอาณานิคมดัตช์อีสต์อินดีส์
ตามธรรมชาติของโกโก้ที่ต้องการแสงแดด และน้ำอย่างสม่ำเสมอ จึงเจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้น อาณานิคมเหล่านี้ตั้งอยู่แถบเส้นศูนย์สูตรพอดี จึงมีสภาพแวดล้อมเหมาะสมตามที่โกโก้ต้องการ ซึ่งส่งผลมาถึงยุคปัจจุบัน
ประเทศที่ให้ผลผลิตโกโก้มากที่สุดในโลก 3 อันดับแรก
ล้วนได้อานิสงส์จากการริเริ่มของอดีตเจ้าอาณานิคม
อันดับ 1 ไอวอรีโคสต์ หรือโกตดิวัวร์ ให้ผลผลิต 2,034,000 ตัน
อันดับ 2 กานา ให้ผลผลิต 883,652 ตัน
อันดับ 3 อินโดนีเซีย หรืออดีตดัตช์อีสต์อินดีส์ ให้ผลผลิต 659,776 ตัน
สำหรับในประเทศไทย มีการนำต้นโกโก้เข้ามาปลูกเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5
ต่อมามีการตั้งศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร และมีการพัฒนาจนได้โกโก้ “พันธุ์ลูกผสมชุมพร 1”
และกรมวิชาการเกษตรได้สนับสนุนให้มีการปลูกเป็นวงกว้าง ตั้งแต่ปี 2537
แต่อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาที่ผ่านมา การปลูกโกโก้ในไทยกลับไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากปัจจัยหลายประการ ทั้งคุณภาพผลผลิตที่ยังไม่ดีพอ ราคาต่อกิโลกรัมที่ไม่สูงนัก
และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ ยังไม่มีตลาดรองรับที่เพียงพอ เกษตรกรถูกบริษัทหลอกให้นำพันธุ์มาปลูก และถูกปล่อยปละละเลย ไม่มีการรับซื้อผลผลิตตามตกลง
โกโก้จึงมีการปลูกอย่างจำกัดมาก ในจังหวัดที่มีภูมิอากาศเอื้ออำนวย มีฝนตกชุก เช่น ในเขตจังหวัดจันทบุรี และนครศรีธรรมราช
แต่อย่างไรก็ตาม ในปี 2560 ก็ได้มีการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา ควบคุมโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการออกเป็นกฎหมายให้เกษตรกรสามารถฟ้องร้องเอาผิดแก่บริษัทได้ กรณีที่ผิดสัญญาไม่รับซื้อผลผลิต
เมื่อรวมกับการสนับสนุนของกระทรวงเกษตรฯ ที่ส่งเสริมให้ปลูกโกโก้แทนสวนยางพาราที่มีอายุมากกว่า 25 ปีและให้น้ำยางน้อย จึงมีการขยายพื้นที่เพาะปลูกโกโก้มากขึ้นในแถบภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยในปี 2562 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกโกโก้ 1,547 ไร่
จังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกโกโก้มากที่สุดในประเทศไทย 3 อันดับแรก ได้แก่
อันดับ 1 จังหวัดเชียงราย มีพื้นที่ปลูก 270 ไร่
อันดับ 2 จังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ปลูก 252 ไร่
อันดับ 3 จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่ปลูก 166 ไร่
ข้อดีของการปลูกโกโก้ก็คือ ปลูกได้ง่าย มีโรคจากแมลงน้อย ระยะเวลาให้ผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 2 ปี มีอายุยืนให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ถึง 60 ปี สามารถขึ้นใต้ร่มเงาต้นไม้อื่นๆ จึงสามารถปลูกแซมกับต้นไม้ชนิดอื่นๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น ลำไย ทุเรียน หรือยางพารา
ในส่วนของตลาดรองรับ ขณะนี้ก็เริ่มมีหลายกิจการของคนไทยที่นำโกโก้ไทยมาใช้ในการแปรรูป เช่น บริษัท โกโก้ไทย 2017, PARADAi Crafted Chocolate & Cafe และ Kad Kokoa
รวมไปถึงการส่งออกไปยังต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบของยาใช้ภายนอก และเครื่องสำอาง โดยจุดหมายปลายทางยอดนิยมของโกโก้ไทยก็คือ ประเทศญี่ปุ่น และฝรั่งเศส
พื้นที่ปลูกโกโก้ส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นพื้นที่เพาะปลูกใหม่ จึงยังไม่ถึงเวลาให้ผลผลิต
ทำให้ผลผลิตในประเทศไทยปี 2562 จึงมีเพียง 125 ตัน เท่านั้น ซึ่งนับว่ามีน้อยมาก เมื่อเทียบกับความต้องการทั้งใน และต่างประเทศที่มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ช่องว่างนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญสำหรับเกษตรกรที่ต้องการกระจายผลผลิตจากพืชเศรษฐกิจเดิมๆ
และหาโอกาสสร้างแหล่งรายได้ใหม่
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับสินค้าเกษตร ก็คือ การมีตลาดรองรับที่เพียงพอ
โดยเฉพาะสินค้าอย่างโกโก้ การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากต้นน้ำสู่ปลายน้ำมีความสำคัญอย่างมาก
มีหลายประเทศที่ประสบความสำเร็จในการต่อยอดผลิตภัณฑ์จากโกโก้
ตัวอย่างที่น่าสนใจที่สุดคือ ประเทศเบลเยียม
เบลเยียมเป็นประเทศเขตหนาว ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของทวีปยุโรป มีการปลูกโกโก้ในประเทศน้อย จึงต้องนำเข้าโกโก้เป็นจำนวนมาก คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 21,570 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าการนำเข้าโกโก้ของไทยกว่า 12 เท่า
โกโก้ที่เบลเยียมนำเข้ามา จะถูกแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งอาหาร ขนมหวาน เครื่องสำอาง
โดยเฉพาะขนมหวานอย่างช็อกโกแลต
การส่งออกช็อกโกแลตของเบลเยียมเพียงอย่างเดียว คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 94,290 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่ามูลค่าโกโก้ที่นำเข้ากว่า 4 เท่า
ก็เป็นที่น่าติดตามว่า โกโก้จะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นพืชเศรษฐกิจใหม่
สำหรับเกษตรกรไทยได้หรือไม่
ความต้องการสูงอาจเป็นโอกาสที่น่าสนใจ
แต่สิ่งที่น่าสนใจยิ่งกว่า ก็คือ เราจะทำอย่างไร?
ให้พืชเศรษฐกิจสามารถสร้างมูลค่าต่อไป ได้อย่างยั่งยืน..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-https://worldpopulationreview.com/country-rankings/cocoa-producing-countries
-http://tradereport.moc.go.th/Report/Default.aspx?Report=MenucomTopNRecode&Option=4&Lang=Th&ImExType=0
-http://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดข่าว/ข่าว%20สศก./34079/TH-TH
-https://www.kaset1009.com/th/articles/177027-สศก.-หนุน-
-http://www.kasetnumchok.com/การปลูกโกโก้/
-http://www.agriinfo.doae.go.th/year62/plant/rortor/perennial/cocoa.pdf
-https://www.pds-news.com/รายละเอียด/สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่_Und_2_Und_จ_Dot_ราชบุรี_Und__Und_แนะปลูกโกโก้แซมพืชหลัก_Und_อีกหนึ่งทางเลือกของเกษตรกร
-https://www.visualcapitalist.com/cocoa-a-bittersweet-supply-chain/
perennial plant 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
ล็อกดาวน์ สมุทรสาคร มีผลอย่างไร กับเศรษฐกิจไทย /โดย ลงทุนแมน
“เมืองประมง ดงโรงงาน ลานเกษตร เขตประวัติศาสตร์”
คือคำขวัญของจังหวัด “สมุทรสาคร”
จังหวัดเล็กๆ ที่มีพื้นที่เพียง 872 ตารางกิโลเมตร
เล็กเป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย
ถึงแม้จะเล็ก แต่ก็เป็นจังหวัดเล็กพริกขี้หนู
เพราะจากคำขวัญประจำจังหวัด ทำให้รู้ว่า สมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่มีภาคเศรษฐกิจอย่างครบครัน
ทั้งภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการต่างๆ
แต่จากสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ที่เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง ในช่วงที่ผ่านมา
จนเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม มีการรายงานผู้ติดเชื้อในจังหวัดสมุทรสาคร รวมเป็น 548 ราย
ทำให้ต้องมีการประกาศ ปิดหลายสถานที่ ในจังหวัดสมุทรสาครอีกครั้ง
จนหลายคนกลัวว่าจะบานปลายจนกระทบกับเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศ
แล้วจังหวัดสมุทรสาคร มีความสำคัญอย่างไรกับเศรษฐกิจไทย?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
บทความนี้เริ่มต้นด้วยคำขวัญประจำจังหวัด
ลงทุนแมนจึงขอเล่าเรื่องราวของจังหวัดสมุทรสาครตามคำขวัญประจำจังหวัด
แต่จะขอเล่า ตามลำดับจากคำหลังสุด และมาจบที่คำแรกสุด
เริ่มจากคำว่า “เขตประวัติศาสตร์”..
สมุทรสาครเดิมมีชื่อว่า “บ้านท่าจีน” เป็นชุมชนค้าขายมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ด้วยความที่ชุมชนตั้งอยู่ปากแม่น้ำท่าจีน จึงมีชาวจีนนำเรือสำเภาเข้ามาจอดเทียบท่าค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าและอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ต่อมาชุมชนก็ได้เติบโตขึ้นและถูกเปลี่ยนชื่อเป็น “สมุทรสาคร” ในสมัยรัชกาลที่ 4
พอมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้ง “สุขาภิบาลท่าฉลอม” ซึ่งเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งแรกของประเทศไทยที่ตำบลท่าฉลอม ในปี พ.ศ. 2448 ความเจริญรุ่งเรืองจากการค้าขายทำให้สมุทรสาครได้รับการจัดตั้งเป็นจังหวัดในอีก 8 ปีต่อมา
และด้วยทำเลที่เหมาะสม อยู่ริมอ่าวไทย ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร และมีระบบคมนาคมที่สะดวกเชื่อมต่อได้หลายจังหวัด สมุทรสาครจึงเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม มาตั้งแต่ พ.ศ. 2512
โดยในช่วงแรกเป็นอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ต่อมาก็เป็นอุตสาหกรรมสิ่งทอ
ก่อนจะขยายจนกลายเป็นเขตอุตสาหกรรมที่หลากหลายและสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดสมุทรสาคร หรือ GPP ในปี 2561
อยู่ที่ 406,245 ล้านบาท เป็นอันดับ 6 จากทั้งหมด 77 จังหวัด
และคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 3% ของ GDP ประเทศไทยทั้งประเทศ
โดยโครงสร้าง GPP ของจังหวัดสมุทรสาคร จะมาจากภาคอุตสาหกรรมมากที่สุดอยู่ที่ 70%
ภาคบริการ, ค้าขาย 25% และภาคการเกษตร ป่าไม้ และประมง 5%
ทำให้เมื่อหารด้วยจำนวนประชากรรวมประชากรแฝงที่มีอยู่ประมาณ 1 ล้านคน
ชาวจังหวัดสมุทรสาครจะมี GPP ต่อหัว อยู่ที่ 389,818 บาทต่อปี หรือ 32,485 บาทต่อเดือน
สูงเป็นอันดับที่ 8 ของประเทศไทย
ลำดับต่อมา “ลานเกษตร”
แม่น้ำท่าจีนเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงจังหวัดสมุทรสาคร
จังหวัดนี้แบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบ้านแพ้ว
และอำเภอกระทุ่มแบน
ความอุดมสมบูรณ์ทำให้เขตอำเภอบ้านแพ้วและกระทุ่มแบนเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรหลายชนิด ทั้งมะพร้าวน้ำหอม มะนาว ข้าวและกล้วยไม้
โดยภาคการเกษตร มีสัดส่วนประมาณ 5% ของ GPP จังหวัดสมุทรสาคร
แต่หากไม่นับภาคประมงแล้ว ภาคการเพาะปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์ จะมีสัดส่วนเพียง 0.5% ของ GPP จังหวัด
ถึงแม้จะมีสัดส่วนมูลค่าที่ไม่มาก แต่สมุทรสาครก็เป็นแหล่งเพาะปลูกไม้ผลที่สำคัญของประเทศไทย
โดยเฉพาะมะพร้าวน้ำหอม สมุทรสาครเป็นแหล่งปลูกมะพร้าวน้ำหอมอันดับ 2 ของประเทศ
ให้ผลผลิตในปี 2562 ถึง 104,894 ตัน และมีสายพันธุ์ขึ้นชื่อไปทั่วโลกอย่าง
มะพร้าวน้ำหอมบ้านแพ้ว
นอกจากไม้ผล สมุทรสาครยังเป็นแหล่งปลูกไม้ดอก โดยเฉพาะกล้วยไม้ ที่ปลูกมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศ โดยให้ผลผลิต 12,253 ตัน ในปี 2562
ลำดับต่อมา และถือเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด คือ “ดงโรงงาน”
ด้วยทำเลที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ และเป็นจุดเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งที่สำคัญ
ระหว่างภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคใต้ สมุทรสาครจึงมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่มากกว่า 6,000 แห่ง และเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร
และนิคมอุตสาหกรรมสินสาคร
ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วนถึง 70% ของ GPP จังหวัด
โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่องจากภาคการเกษตรและประมง เช่น
อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ อุตสาหกรรมพลาสติก
อุตสาหกรรมห้องเย็น ไปจนถึงอุตสาหกรรมต่อเรือ
และท้ายที่สุด “เมืองประมง”
สมุทรสาครตั้งอยู่ติดกับอ่าวไทย และไม่ไกลจากตลาดใหญ่อย่างกรุงเทพฯ และปริมณฑล
จังหวัดนี้จึงเป็นแหล่งธุรกิจการประมงขนาดใหญ่ครบวงจร ซึ่งมีทั้งการทําประมงทะเล
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไปจนถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากภาคประมงมากมาย
โดยมีสะพานปลาสมุทรสาคร ซึ่งเป็นสะพานปลาเพียง 1 ใน 4 แห่งของประเทศไทย
เป็นศูนย์กลางการขนถ่ายและจำหน่ายอาหารทะเลที่สำคัญ
ด้วยความที่การทำประมง เป็นงานหนัก และมีกลิ่นเหม็น จึงไม่เป็นที่นิยมของแรงงานไทยมากนัก ทำให้สมุทรสาครเป็นจังหวัดที่มีแรงงานต่างด้าวมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ โดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานสัญชาติเมียนมา ซึ่งคาดว่ามีอยู่ประมาณ 250,000 - 300,000 คน
แต่อย่างไรก็ตาม ความต้องการอาหารทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้มีการลักลอบเข้ามาของแรงงานต่างด้าวอย่างผิดกฎหมายจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญของจังหวัดสมุทรสาครมาเป็นเวลานาน และด้วยสาเหตุนี้เอง ที่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาดของโควิด 19 ระลอกนี้
หากจะกล่าวกันตามตรง การล็อกดาวน์จังหวัดสมุทรสาครย่อมส่งผลให้เศรษฐกิจของจังหวัดหยุดชะงัก โดยเฉพาะภาคการประมง การค้าอาหารทะเล การขนส่งสินค้าทั้งจากภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ไปจนถึงภาคบริการอื่นๆ
ถึงแม้จังหวัดสมุทรสาคร จะมีขนาดเศรษฐกิจเพียง 3% ของประเทศไทย
แต่ด้วยความที่ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ศูนย์กลางเศรษฐกิจของประเทศเพียง 30 กิโลเมตร
ย่อมมีการติดต่อค้าขายระหว่างคนทั้งสองจังหวัดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้..
ด้วยสถานการณ์ของไทยในเวลานี้
ทุกคนก็คงทราบดีว่าเศรษฐกิจของเรา มีความเปราะบางเพียงใด
แต่ในเมื่อเรื่องนี้มันเกิดขึ้นแล้ว
เราทุกคน ก็คงต้องกลับมาให้ความสำคัญกับการใส่หน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ
หลีกเลี่ยงสถานที่แออัดให้มากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้กันอีกครั้ง
และก็หวังว่า ทุกคนจะปลอดภัย และทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดี..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
References
-http://www.industry.go.th/samutsakhon/index.php/activityreport/2016-06-03-15-12-25/22079-20160210142613994/file
-http://ecocenter.diw.go.th/index.php/samut-sakhon-3
-https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=5628&filename=gross_regional
-http://oaezone.oae.go.th/assets/portals/19/fileups/zone10/files/ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม/2562/รายงานปี62/รายงานภาวะฯ%20จังหวัดสมุทรสาคร%20ปี%202562%20และแนวโน้ม%20ปี%202563.pdf
-http://www.agriinfo.doae.go.th/year60/plant/rortor/perennial/coconut2.pdf
-https://thainews.prd.go.th/th/news/print_news/TNSOC6103050010013
-https://www.fishmarket.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=755&Itemid=119
-
perennial plant 在 350 Perennial plants ideas - Pinterest 的推薦與評價
Nov 8, 2018 - Explore Jolanta Liepina's board "Perennial plants" on Pinterest. See more ideas about plants, perennial plants, perennials. ... <看更多>