1. Martin Luther King, Jr., said, ‘Everybody can be great because anybody can serve. You don’t have to have a college degree to serve. You don’t have to make your subject and verb agree to serve. You don’t have to know about Plato and Aristotle to serve. You don’t have to know Einstein’s Theory of Relativity to serve. You don’t have to know the Second Theory of Thermodynamics and Physics to serve. You only need a heart full of grace. A soul generated by love.’” 🦋
2. “The only way to deal with an unfree world is to become so absolutely free that your very existence is an act of
rebellion.” 🦋
3. “It is impossible to live without failing at something, unless you live so cautiously that you might as well not
have lived at all—in which case, you fail by default,” said J.K. Rowling. 🦋
4. “Leonardo da Vinci said, ‘One can have no smaller or greater mastery than mastery of oneself,’” 🦋
5. “With freedom, books, flowers, and the moon, who could not be happy?” —Oscar Wilde 🦋
6. Become a collector of awesome experiences instead of a consumer of material things. 🦋
7. “When the power of love overcomes the love of power, the world will know peace” 🦋
8. ‘Self-education is, I believe, the only kind of education there is.’ 🦋
9. The Latin root of the word ‘passion’ means to ‘suffer.’ 🦋
10. Tranquility is the new luxury of our society. 🦋
Here are 10 teachings from some of my favorite quotes from this magical book 5AM Club by Robin Sharma I just finished reading today!
Which one is your favorite of these 10? What are some of your favorite books/teachings and quotes from books that you’ve been reading lately? 🧚♀️
Next up: The Four Agreements 💡
plato theory 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳貼文
มีผู้สนใจในเวปเพจเสนอ ให้ผมเขียนสรุป "ทฤษฎีว่าด้วยกำเนิดรัฐ"
"ทฤษฎีว่าด้วยการกำเนิดรัฐ"
ทฤษฎีว่าด้วยรัฐที่กล่าวถึงการกำเนิดรัฐนั้นมีมาตั้งแต่กรีก นักปราชญ์การเมืองที่สำคัญสมัยนั้น ได้แก่ โสเกรติส (Socratis) เพลโต (Plato) และ อริสโตเติล (Aristotle) ซึ่งอริสโตเติล ได้พูดถึงรัฐได้ชัดเจนจนได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งรัฐศาสตร์ และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาการกฎหมายมหาชนมาก ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับความหมายของรัฐ กำเนิดรัฐ การจัดรูปแบบของรัฐ และความสิ้นสุดของรัฐไว้อย่างละเอียด อริสโตเติล ถือว่ารัฐเป็นประชาคมหรือที่รวมของบุคคลทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้ระเบียบกฎเกณฑ์ของประชาคมที่เรียกว่า “การปกครอง”
ซึ่งมีทฤษฎีที่อธิบายว่ารัฐเกิดขึ้นมาได้อย่างไร พบว่ามีทฤษฎีว่าด้วยรัฐมีอยู่หลายทฤษฎีด้วยกันแต่ทฤษฎีที่สำคัญและก็น่าสนใจมีอยู่ด้วยกัน 4 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเทวสิทธิ์ ทฤษฎีสัญญาประชาคม ทฤษฎีกำลังอำนาจ และทฤษฎีวิวัฒนาการ ดังนี้
1. ทฤษฎีเทวสิทธิ์
นักปราชญ์ในอดีตครุ่นคิดและถกเถียงกันมาในเรื่อง “การกำเนิดรัฐ” ซึ่งเมื่อสืบย้อนหลังไปแล้วจะเห็นว่าความคิดในทางศาสนาเข้ามามีอิทธิพลไม่น้อย ทำให้มีทฤษฎีหลายทฤษฎีซึ่งต่างก็ให้คำตอบไม่ตรงกัน ในยุคแรกเมื่อความเชื่อเรื่องพระเจ้ายังมีอิทธิพลอยู่มาก นักปราชญ์ก็เชื่อกันว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างมนุษย์ ประทานดินแดนแก่มนุษย์ ประทานอำนาจตั้งรัฐบาลปกครองดินแดนและบางครั้งก็ส่งตัวแทนมาใช้อำนาจปกครองแทนพระเจ้าเอง ทฤษฎีนี้เรียกว่า “ทฤษฎีเทวสิทธิ์” (Diving King Theory) มีสาระสำคัญ 3 ประการ ดังนี้
1. รัฐเป็นสถาบันซึ่งพระผู้เป็นเจ้าทรงสร้างขึ้นเหมือนกับที่ทรงสร้างโลกสร้างมนุษย์ทุกสิ่งทุกอย่างพระผู้เป็นเจ้าสร้างขึ้นรวมทั้งรัฐ
2. ผู้ปกครองไม่ว่าจะเรียกว่าพระมหากษัตริย์หรือจักรพรรดิก็ตามเป็นบุคคลซึ่งพระผู้เป็นเจ้าทรงแต่งตั้งขึ้นประทานให้แก่มนุษย์ มนุษย์ไม่ได้ร่วมกันตั้งผู้ปกครอง ผู้ปกครองมาจากสวรรค์ พระผู้เป็นเจ้าแต่งตั้งประทานมาให้แก่มนุษย์
3. เมื่อผู้ปกครองได้รับแต่งตั้งโดยพระผู้เป็นเจ้า เพราะฉะนั้นผู้ปกครองจึงไม่จำเป็นจะต้องรับผิดชอบต่อมนุษย์ในการปกครองมนุษย์ ต้องรับผิดชอบก็แต่เฉพาะต่อพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น
2. ทฤษฎีสัญญาประชาคม
สาระสำคัญของทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Contract Theory) ที่เสนอโดยนักปราชญ์ทุกท่านมีเหมือนกันอยู่ประการหนึ่งว่า “รัฐเป็นผลิตผลของข้อตกลงระหว่างมนุษย์” แต่เดิมดำรงชีวิตอยู่ในสภาวะธรรมชาติเป็นสภาวะที่ปราศจากผู้ปกครอง เพราะฉะนั้น ผู้ที่เสนอทฤษฎีสัญญาประชาคมทุกคนจะแบ่งประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน ช่วงแรก เป็นช่วงก่อนมีรัฐ และช่วงที่ 2 เป็นช่วงที่มีรัฐเกิดขึ้นแล้ว กล่าวคือ มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสภาวะธรรมชาติ (State of Nature) ในสภาวะธรรมชาตินี้อาจจะพูดได้ว่า เป็นสภาวะซึ่งไม่มีผู้ปกครองมนุษย์แต่ละคนดำรงชีวิตอยู่โดยกระทำการต่าง ๆ ได้ตามใจปรารถนา ไม่มีแม้กระทั่งกฎหมายที่กำหนดว่าอะไรถูกอะไรผิด อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ถ้ามีอยู่บ้างก็เป็นกฎธรรมชาติ ได้แก่ กฎเกณฑ์ทางกายภาพที่ว่า หิวก็ต้องรับประทาน ป่วยก็ต้องรักษา หนาวก็ต้องหาเครื่องนุ่งห่มห่อหุ้มร่างกายกับการดำรงชีวิตอยู่ในสภาวะธรรมชาติ นั่นคือ “ช่วงก่อนมีรัฐ” หลังจากนั้น เมื่อมนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสภาวะธรรมชาติได้ช่วงเวลาหนึ่งผ่านพ้นไป มนุษย์หันหน้าเข้าหากันและตกลงกันสถาปนาผู้ปกครองขึ้น โดยยอมตนอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของคนคนหนึ่งหรือคณะหนึ่ง เราเรียกว่า “ผู้ปกครอง” และให้คำมั่นสัญญาต่อกันและกันว่าแต่ละคนจะเคารพเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งคำบัญชาของผู้ปกครอง โดยมีสัญญาที่มนุษย์ตกลงกันว่าแต่ละคนจะเคารพเชื่อฟังผู้ปกครองและปฏิบัติตามคำสั่งคำบัญชาของผู้ปกครองที่เราเรียกว่า “สัญญาประชาคม” (Social Contract) ช่วงนี้เป็น “ช่วงที่มีรัฐเกิดขึ้น”
สาระสำคัญในประวัติศาสตร์ข้างต้นเกี่ยวสภาวะธรรมชาติของมนุษย์นักทฤษฎีนี้มีความเห็นร่วมกัน แต่สิ่งที่ผู้เสนอทฤษฎีนี้มีแตกต่างกันออกไปในรายละเอียด คือ ประเด็นปัญหาว่าอะไรจะมีเหตุจูงใจให้มนุษย์ละทิ้งการดำรงชีวิตอยู่ในสภาวะธรรมชาติและหันหน้ามาทำข้อตกลงจัดตั้งรัฐบาลหรือผู้ปกครองขึ้น อันนี้มีคำอธิบายที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งทฤษฎีสัญญาประชาคมสามารถอธิบายรูปแบบของทฤษฎีสัญญาประชาคมได้ ดังนี้
1. สัญญาจัดตั้งรัฐบาลหรือสถาปนาผู้ปกครอง (Governmental Contract) คือ สัญญาระหว่างราษฎรฝ่ายหนึ่งกับผู้ปกครองซึ่งอาจจะเป็นกษัตริย์หรือใครก็ได้อีกฝ่ายหนึ่งเป็นสัญญาระหว่างราษฎรกับผู้ปกครอง
2. สัญญาก่อตั้งสังคมการเมืองหรือสัญญาก่อตั้งสถาบันการเมือง (Institutional Contract) ในระหว่างบุคคลด้วยกันเราพบทฤษฎีสัญญาประชาคมในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งใน 2 รูปแบบ ทั้งในคำสอนของนักปราชญ์ตะวันตกและในคำสอนของนักปราชญ์ชาวตะวันออก อย่างเช่นในตำราว่าด้วยการปกครองของอินเดียโบราณเราก็พบคำสอนว่าด้วยสัญญาประชาคมรูปแบบที่ 1 หรือสัญญาก่อตั้งสัญญาระหว่างราษฎรกับผู้ปกครองใกล้เคียงกับในสมัยกลางในยุโรป
3. ทฤษฎีกำลังอำนาจ
ทฤษฎีกำลังอำนาจหรืออาจเรียกว่า “ทฤษฎีพละกำลัง” (Power Theory) ซึ่งเชื่อว่ารัฐเกิดขึ้นจากการยึดครองและการใช้กำลังบังคับ ทฤษฎีนี้เองที่นำไปซึ่งความเชื่อในเรื่องชาตินิยม และความคิดที่ว่ารัฐคืออำนาจซึ่งอยู่เหนือศีลธรรมทั้งปวง ทฤษฎีกำลังอำนาจสอนว่า รัฐเกิดขึ้นเพราะสงครามที่ทำให้ต้องมีการรบกันระหว่างเผ่าต่าง ๆ ในสมัยโบราณมีชนเผ่าต่าง ๆ ซึ่งทำมาหากิน คือ เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์อยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน ทำสงครามกันเพื่อเหตุผล 2 ประการ ดังนี้
ประการที่ 1 ต้องการแสวงหาดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ขยายดินแดนออกไป และเมื่อได้ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์มากขึ้นมันก็สามารถที่จะทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์เพื่อผลิตผลมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น
ประการที่ 2 การทำสงครามเพื่อให้ได้คนจากเผ่าอื่นมาเป็นทาสสำหรับใช้แรงงานในไร่นาหรือว่าในคอกปศุสัตว์ สภาวะสงครามระหว่างเผ่าอาจจะไม่ใช่สงครามที่โจมตีกันจริง แต่อาจจะต้องสร้างแสนยานุภาพทางทหารเพื่อป้องกันไม่ให้เผ่าอื่นมารุกรานหรือว่าสร้างแสนยานุภาพให้เกรียงไกรเพื่อจะไปรุกรานผู้อื่น นอกจากมีอำนาจในการทำสงครามการรบพุ่ง โดยสภาวะเช่นนี้สิ่งที่เราเรียกว่า “รัฐบาล” หรือ “ผู้ปกครอง” (Government) ก็ค่อย ๆ เกิดขึ้นและกลายมาเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็นผู้ปกครองโดยมีอำนาจที่จะออกคำสั่งให้คนในเผ่าเคารพและปฏิบัติตามรวมทั้งวินิจฉัยชี้ขาดกรณีพิพาทระหว่างคนในเผ่าเดียวกันเป็นเผ่าที่ดีที่สุด จึงเป็นเผ่าที่มีฐานะเหนือกว่าองค์กร สถาบันสมาคมใด ของประชาชนอยู่ในถานะเหนือหลักศีลธรรมทั้งปวง
จากทฤษฎีกำลังอำนาจนี้อธิบายว่า รัฐเกิดขึ้นจากกำลังอำนาจอย่างเดียวไม่ได้เกิดขึ้นจากปัจจัยอื่น ซึ่งเป็นคำสอนที่มีส่วนถูกอยู่มากแต่ว่าเป็นการมองด้านเดียว รัฐนอกจากเกิดขึ้นจากสงครามคือต้องใช้กำลังอำนาจรบพุ่งแล้วอาจเกิดขึ้นจากเหตุปัจจัยอื่นอีก ซึ่งทฤษฎีนี้นำไปสู่ความเชื่อในเรื่องชาตินิยม และความคิดที่ว่ารัฐ คือ อำนาจรัฐที่มีความชอบธรรมในตัวเองและอยู่เหนือศีลธรรมทั้งปวง ทฤษฎีนี้มีผู้นำแปรผันไปเป็นผลในทางปฏิบัติเป็นหลักฟาสซิสต์ของประเทศอิตาลีสมัยมุสโสเลนีและหลักนาซีของประเทศเยอรมนี สมัยฮิตเลอร์ เป็นต้น
4.ทฤษฎีวิวัฒนาการ
ทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolution Theory) อธิบายการเกิดขึ้นของรัฐโดยอาศัยเหตุปัจจัยหลายอย่างนอกจากสงครามแล้วยังมีเหตุปัจจัยหลายอย่าง เช่น ปัจจัยทางสายโลหิต ปัจจัยทางสัญชาติญาณ ปัจจัยทางเครือญาติ ปัจจัยการรวมเผ่า ปัจจัยการรวมเป็นชาติ เป็นต้น
ดังนั้น รัฐไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่การที่อยู่ ๆ มนุษย์ก็หันหน้ามาทำสัญญาแล้วก็จัดตั้งผู้ปกครองมันค่อย ๆ วิวัฒนาการเป็นระยะเวลาที่ยาวนานจากสังคมมนุษย์เริ่มรูปแบบแรก คือ ครอบครัวกลายเป็นโคตรตระกูล จากโคตรตระกูลกลายเป็นเผ่าจากเผ่ามารวมเป็นชาติและกลายเป็นรัฐ กล่าวคือ สมาชิกของสังคมมนุษย์สังคมนั้นเริ่มตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นภายในรัฐเริ่มตระหนักที่จะต้องเคารพเชื่อฟังคำสั่งคำบัญชาของผู้ปกครองและเวลาที่สมาชิกของสังคมซึ่งเป็นผู้ปกครองซึ่งตระหนักว่าตัวเองไม่อาจที่จะแยกตัวออกไปอยู่อย่างเป็นเอกเทศนอกรัฐได้ สังคมมนุษย์ซึ่งเป็นนั้นมันก็กลายมาเป็น “องค์การ” (Organization) กลายมาเป็นสมาคมซึ่งถือเป็นทฤษฎีว่าด้วยกำเนิดของรัฐที่สามารถให้เหตุผลการกำเนิดรัฐได้สมเหตุสมผลมากกว่าทฤษฎีอื่น ๆเมื่อพิจารณาศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการกำเนิดรัฐตามที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ผู้เขียนเห็นว่าแนวคิดการกำเนิดรัฐว่า รัฐเกิดจากการวิวัฒนาการของมนุษย์ตามทฤษฎีวิวัฒนาการน่าจะสมเหตุผลสมผลมากที่สุด โดยอาศัยปัจจัยหลายๆอย่าง คือ มนุษย์ในโลกนี้แยกกันอยู่เป็นรัฐ ๆ ตั้งบ้านอยู่ในดินแดนใดดินแดนหนึ่งที่มีอาณาเขตแน่นอน มีการแยกสมาชิกของสังคมออกเป็นผู้ปกครองและผู้ถูกปกครองและก็ผู้ปกครองแต่ละรัฐนั้นก็มีอำนาจสูงสุดเด็ดขาดไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของรัฐอื่น สิ่งที่สำคัญว่ารัฐเกิดขึ้นแล้วก็วิวัฒนาการจากรัฐในสมัยโบราณก็วิวัฒนาการขยายตัวเติบโตขึ้นมาจนเป็นรัฐสมัยใหม่ในปัจจุบัน
plato theory 在 sittikorn saksang Facebook 的最佳解答
ปรัชญากฎหมายตะวันตก
สำนักกฎหมายธรรมชาติ
ปรัชญากฎหมายธรรมชาติหรือสำนักกฎหมายธรรมชาติ (Nature Law School) ซึ่งเป็นเสมือนขั้วตรงข้ามกับทฤษฎีปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย (Positive Law School) โดยเป็นปรัชญากฎหมายที่มีกำเนิดมาก่อนหน้าปฏิฐานนิยมทางกฎหมายนับพันปีและเป็นปรัชญากฎหมาย ซึ่งยังมีบทบาทหรืออิทธิพลความคิดระดับหนึ่งในโลกปัจจุบัน โดยเฉพาะเมื่อมีวิกฤติการณ์ทางสังคมหรือการเมือง ขณะที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะระส่ำระส่ายปราศจากความเป็นธรรม หลายต่อหลายครั้งในอดีตที่ปรัชญากฎหมายธรรมชาตินี้ได้ถูกใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนเพื่อต่อสู้กับอำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม ตัวอย่างเช่น กรณีไทย 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้น
การปลูกฝังแนวความคิดนี้มีส่วนเกื้อหนุนการพัฒนาระบบการปกครองไปสู่ทิศทางที่เป็นประชาธิปไตย เช่น แนวคิดการประกาศอิสรภาพของอเมริกา ค.ศ.1776 การประกาศสิทธิมนุษยชนของฝรั่งเศส ค.ศ.1789 การมีประมวลกฎหมายแพ่งนโปเลียนหรือประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส (นับได้ว่าเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลก) ล้วนแต่ได้รับแนวความคิดของกฎหมายธรรมชาติอยู่มากล้นด้วยกัน
หากเริ่มต้นด้วยการพิจารณาที่ความหมายของคำว่า “กฎหมายธรรมชาติ” (Nature Law) เราจะพบว่าในความหมายทั่วไปนั้น กฎหมายธรรมชาติเป็นกฎหมายซึ่งบุคคลอ้างว่ามีอยู่ตามธรรมชาติ คือ เกิดมามีเอง โดยมนุษย์ไม่ทำขึ้นเป็นกฎหมายที่อยู่เหนือรัฐ และใช้ได้โดยไม่จำกัดกาลเทศะ
กฎหมายธรรมชาติเป็นกฎเกณฑ์อุดคติที่มีขึ้นเพื่อจัดให้เกิดความสมดุลอย่างมากที่สุดที่จะเป็นไปได้ ระหว่างปัจเจกชนกับกลุ่มส่วนรวม ระหว่างเสรีภาพส่วนบุคคลกับความเสมอภาคของทุกคน
การให้ความหมายต่างๆข้างต้น เมื่อพิจารณาแล้วคงมีความรู้สึกได้ถึงแง่มุมเชิงจิตนาการหรือการ
คิดฝันเกี่ยวกับกฎหมายอุดมคติซึ่งดูแล้วเข้าใจยาก
ผู้ศึกษาจึงจำเป็นต้องศึกษาให้ถึงแก่นของกฎหมายธรรมชาติ โดยมีประเด็นที่ต้องศึกษา เช่น
- อะไรคือธรรมชาติ
- เนื้อหาจริงๆ ของกฎหมายธรรมชาติคืออะไร
- ทำไมจึงต้องมีกฎหมายธรรมชาติ แยกต่างหากจากกฎหมายของรัฐ เป็นต้น
ดังนั้นเราจะเข้าใจในปรัชญากฎหมายธรรมชาติได้ถ่องแท้ได้นั้นเราจำเป็นต้องศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของปรัชญากฎหมายธรรมชาติในอารยธรรมตะวันตกให้เข้าเสียก่อน ซึ่งพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของปรัชญากฎหมายธรรมชาติ สามารถแยกอธิบายดังนี้
1. ยุคโบราณกรีกและโรมัน (500 BC. – 5 AD.)
2. ยุคมืด (5 AD. – 12 AD.) และยุคกลาง (12 AD – 16 AD)
3. ยุคฟื้นฟู (14 AD. – 16 AD.) ในยุคปฏิรูป (16 AD. 18AD.)
4. ยุคชาติรัฐนิยม หรือรัฐชาติ หรือรัฐสมัยใหม่ (18 AD. 19 AD.)
5. ยุคปัจจุบัน
ปรัชญากฎหมายธรรมชาติในแต่ละช่วงแต่ละยุคนี้อาจสะท้อนให้เราเห็นต่อไปถึงความเป็นอนิจจัง
ในบทบาทของปรัชญากฎหมายธรรมชาติได้อย่างดีและอาจจะทำให้เข้าธรรมชาติของกฎหมายด้วย
1.กฎหมายธรรมชาติยุคกรีกและโรมัน
แนวคิดเรื่องกฎหมายธรรมชาติได้ก่อตัวเป็นรูปร่างสำคัญ โดยปรัชญาเมธีกรีก ชื่อ เฮราคริตุส
(Haraclitus) 540 – 480 ก่อน ค.ศ. ผู้เป็นเจ้าของคำกล่าวอันเลื่องลือว่า “มนุษย์ไม่อาจกระโดดลงสู่กระแสธารได้สองครั้ง” เมธีผู้นี้ได้พยายามค้นหาสัจจะเกี่ยวกับธรรมชาติ โดยเฉพาะความจริงเกี่ยวกับแก่นสารของชีวิต ซึ่งเขาพบว่าธรรมชาติ คือ ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง แก่นสารของชีวิตคือธรรมชาติ และแก่นสารของชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยจุดหมายปลายทาง ระเบียบและเหตุผลอันแน่นอน ซึ่งไม่อาจผันแปรได้นับเป็นการยืนยันว่ากฎเกณฑ์ ซึ่งใช้เป็นตัวควบคุม “แก่นสารของชีวิต” นั้นย่อมปรากฏอยู่แล้วในธรรมชาติ มิได้เกิดขึ้นจากการบัญญัติหรือเจตจำนงของมนุษย์ผู้มีอำนาจคนใด โดยเป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นภววิสัย (Objective) หรือเป็นจริงอยู่เองโดยธรรมชาติซึ่งอยู่นอกหรืออยู่เหนือโครงสร้างอำนาจรัฐ
แนวคิดของ เฮราคริตุส ได้รับการสืบทอดแนวความคิดมายังบรรดานักคิดหลายคนในกลุ่มนักปรัชญากรีกโบราณนี้เรียกว่าพวก โสฟิสท์ (Sophists) อันเป็นกลุ่มที่ก่อตัวในช่วง 400-500 ปีก่อน คริสศักราช พวกโสฟิสท์ มีความคิดแตกต่างหลากหลายไม่สามารถหาลักษณะร่วมทั่วไปในความคิดของพวกนี้ เนื่องไม่มีพวกโสฟิสท์คนใดสร้างระบบคิดที่แน่นอน โสฟิสท์ จึงเป็นพวกแรกที่สนใจวิธีการใช้วาทะในการโต้เถียง
สมัยกรีกนั้นได้ปกครองในระบบทรราชย์ เต็มไปด้วยความอยุติธรรม และการกดขี่ข่มเหงกันบริบททางสังคม เช่นนี้เองที่เป็นตัวกระตุ้นหรือบันดาลใจให้พวก โสฟิสท์ บางคนได้อ้างเรื่องกฎหมายธรรมชาติขึ้นมาต่อต้าน คัดค้านการปกครองที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งคัดค้านให้ยกเลิกระบบอภิสิทธิ์และระบบทาสในยุคนั้น เนื่องจากเห็นว่ามนุษย์ล้วนมีความเท่าเทียมกันโดยธรรมชาติ
พวกโสฟิสท์ ชื่อ โซโฟครีส ได้เขียนหนังสือ ชื่อ แอนทีโกนี รัชกาลที่ 6 ทรงแปลเป็นไทยได้ตั้งชื่อเรื่องว่า อันตราคนี อันเป็นละครโศกนาฏกรรม ซึ่งบรรจุหลักการสำคัญในการแยกกฎหมายอันแท้จริงออกจากโครงสร้าง อำนาจของรัฐ และการยืนยันความเป็นโมฆะของกฎหมายแผ่นดินที่ขัดแย้งกับกฎหมายธรรมชาติ ยอมรับความตายในการต่อสู้กับกฎหมายของรัฐที่ไม่เป็นธรรม
ในเรื่อง พระเจ้าครีออน สั่งลงโทษ โปลีนิซัส ในฐานคนขายชาติ แอนทีโกนี ซึ่งเป็นน้องสาว ถือว่าคำสั่งนี้มิชอบด้วยความยุติธรรม เพราะขัดต่อเทวโองการ จึงถือว่าพระราชโองการผิดกฎหมาย (ของเทพเจ้า) พระเจ้าครีออน ถือว่าพระราชโองการ คือ กฎหมายและทุกคนต้องเคารพกฎหมาย หาไม่รัฐก็จะดำรงอยู่ไม่ได้ แอนทีโกนี ย้อนว่า ถ้าพระราชโองการขัดแห่งความยุติธรรมแล้ว พระราชโองการนั้นย่อมเป็นโมฆะจะบังคับใช้มิได้ แม้มนุษย์จะเป็นพระราชาก็ไม่สามารถออกกฎหมายมาลบล้าง หรืออยู่ให้เหนือกฎของสวรรค์อันมิได้ตราลงไว้ จากละครเรื่องนี้ จะเห็นได้ว่า แอนทีโกนี อยู่ฝ่ายนักทฤษฎีที่ถือว่ากฎหมายต้องเข้ากับกฎธรรมชาติ ส่วน พระเจ้าครีออน อยู่ฝ่ายนักทฤษฎีที่ถือว่ากฎหมายที่รัฐบาลบังคับใช้ ต้องมีการปฏิบัติตาม
แต่อย่างไรก็ตาม พวกโสฟิสท์ บางกลุ่มหรือหลายคนที่ปฏิเสธกฎหมายธรรมชาติ โดยเฉพาะ
ปีทาโกรัส (Pythagoras) เห็นว่าความจริงนั้นสิ่งที่เป็นธรรมชาติมีความหลากหลายไม่แน่นอนโดยเฉพาะปัญหาว่าอะไรดีอะไรชั่วเป็นเรื่องของแต่ละคนไม่มีมาตรฐานสากล เพราะมนุษย์จะมีโครงสร้างไม่เหมือนกัน สมองแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น การที่จะให้เหตุผลว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกย่อมแล้วแต่ละคน “เพราะมนุษย์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง” (Man is the measure of all things)
จากแนวคิดของ ปีทาโกรัส ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันมากเพราะเห็นว่าเป็นแนวคิดที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่สังคมได้ กล่าวคือถ้าสังคมไปยึดแนวคิดของ ปีทาโกรัส แล้วจะทำให้เกิดความระส่ำระส่ายในทางศีลธรรมเพราะทุกคนต้องเชื่อว่าผิดถูกอยู่ที่ตัวของเขาเอง
ดังนั้น จึงได้มีนักคิดอุดมคติที่เชื่อในเรื่องเกี่ยวกับจริยธรรมออกมาคัดค้านโต้แย้งกลุ่มโสฟิสต์ที่ปฏิเสธกฎหมายธรรมชาติ ซึ่งเป็นนักคิดสำคัญได้แก่ โสเกรติส เพลโต และอริสโตเติล
โสเกรติส (Socratis) มุ่งอบรมสั่งสอนผู้คนให้เข้าถึงความรู้ที่แท้จริง โดยอาศัยวิธีการสนทนาให้ข้อคิดในทางจารีต ขนบธรรมเนียม ศีลธรรมต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อคู่สนทนาพบว่าสิ่งซึ่งตนเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมชาติและรู้อย่างดีนั้น แท้จริงไม่ใช่อย่างที่ตนเข้าใจ โสเกรติส จะตั้งคำถามให้คู่สนทนาคิดให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและการตั้งคำถามดังกล่าว โสเกรติส สามารถที่จะชักนำให้คู่สนทนาเข้าถึงความรู้ที่ลึกซึ้งแท้จริงได้ที่เรียกว่าเป็น “วิภาษวิธี” (Dialectic)
ความรู้นั้นเป็นสิ่งที่สามรถอบรมสั่งสอน เมือผู้ใดมีความรู้ อย่างแท้จริงผู้คนจะดำเนินชีวิตไปตามตามบทสนทนาและเมื่อผู้ใดอย่างแท้จริงแล้วผู้คนจะดำเนินชีวิตไปตามหนทางแห่งความดี ย่อมดำเนินชีวิตถูกต้องตามคลองธรรม
แต่อย่างไรก็ตาม ชีวิตบั้นปลายของ โสเกรติส นั้นน่าศึกษามาก กับการยอมรับกฎหมายที่ตัวเองไม่มีความผิดในข้อหาสร้างเทพเจ้าขึ้นใหม่และบ่อนทำลายจิตใจของคนหนุ่มสาวกรีกสมัยนั้น โดนพิพากษาลงโทษดื่มยาพิษ การยืนยันของ โสเกรติส ที่ยอมรับโทษประหารชีวิต แม้จะประกาศว่าตนเองนั้นไม่มีความผิดและแม้ตนเองจะมีช่องทางหลบเลี่ยงโทษมหันต์ได้เพียงเพื่อความรักษาศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย อันเป็นหลักคุณธรรมของเขาว่า“ประชาชนทุกคนต้องเคารพปฏิบัติตามกฎหมายโดยไม่คำนึงว่า
กฎหมายนั้นจะเป็นธรรมหรือไม่ก็ตาม”
แม้หลักการของ โสเกรติส ดูออกจากตรงข้ามกับ แอนทีโกนี แต่ก็มีจุดร่วมในการยืนยันความเชื่อหรือหลักการที่คิดว่าถูกต้อง แม้จะต้องเอาชีวิตเข้าแลกก็ตาม
เพลโต (Plato) เห็นว่าพวกโสฟิสท์ ที่ไม่ยอมรับเรื่องกฎหมายธรรมชาตินั้นทำให้เกิดความเสื่อมในทางศีลธรรมและการหลงบูชาอำนาจ ในนครเอเธนส์สมัยนั้น เพลโต จึงได้พยายามแก้ไขด้วยการ อธิบายและปลูกฝังความคิดเรื่อง แบบ (Forms) หรือแม่พิมพ์ของสิ่งที่เป็นเอกสารหรือคุณธรรมอันเป็นสากลไม่มีการเปลี่ยนแปลง (ความดีถูกต้องที่เป็นสากล) (ทฤษฎีจิตนิยมเรื่อง “แบบ”) พร้อมกันนั้นเพลโตก็ได้แก้ไขตรรกะแห่งคำอธิบายเรื่องธรรมชาติมนุษย์ของพวก โสฟิสท์ ใหม่ด้วยการขยายรากฐานเชิงภววิทยา
(Ontological Foundation) ของคำว่าธรรมชาติดังกล่าวโดยยกระดับความหมาย “ธรรมชาติ” จากขอบเขตของความเป็นข้อเท็จจริงอันไม่แน่นอนเกี่ยวกับมนุษย์สู่ระดับของคุณค่านิยมถึงที่สุด และกำหนดให้สิ่งที่ถือว่าเป็น “ความเป็นจริง” ดำรงอยู่ แต่เฉพาะในโลกแห่งปัญญาเท่านั้น แนวคิดดังกล่าวของเพลโต เรียกว่า ทฤษฎีราชาปราชญ์ (The theory of Philosopher King) ซึ่งเป็นตัวทฤษฎีเน้นความสำคัญของตัวบุคคลค่อนข้างมาก คือ ตัวบุคคลที่เป็นราชาปราชญ์หรือผู้มีปัญญา
ทฤษฎีราชาปราชญ์ของ เพลโต แบ่งแยกออกเป็นวรรณะชนชั้นที่แตกต่าง ซึ่งอาจแยกได้ 4 ชนชั้น ดังนี้ คือ
1. ชนชั้นปกครอง Men of God ผู้ปกครองยุครัฐ
2. ชนชั้นทหาร Men of Silver คือ กองทัพที่จะอุ้มชูอำนาจ
3. ชนชั้นชาวนา หรือพ่อค้าวานิช ประชาชน
4. ชนชั้นช่างฝีมือ หรือพ่อค้าวานิช ประชาชน
การแบ่งแยกคนเป็นชนชั้นดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นความไม่ถูกต้อง ในขณะที่ เพลโต พยายามที่จะบอกว่านี่ คือ ธรรมชาติ เพราะมนุษย์เราโดยธรรมชาติมีความแตกต่างกัน บางคนอาจมีแนวความคิดสามารถทางด้านสติปัญญาเหนือคนอื่น บางคนอาจจะเหนือคนอื่นในแง่เกี่ยวกับความกล้าหาญหรือบางคนอาจจะเหนือความอดทนเป็นพิเศษซึ่งเหล่านี้จะเป็นความแตกต่างในตัวมนุษย์ นอกจากนั้น ทฤษฎีของ เพลโต ยังระบุไว้ด้วยว่าพวกชนชั้นนักปราชญ์ หรือพวกชนชั้นทหารนั้นจะต้องเป็นชนชั้นที่ไม่มีครอบครัวไม่สามารถมีหรือครอบครองทรัพย์สินส่วนตัว เพราะ เพลโต มองว่าการมีครอบครัวหรือทรัพย์สินส่วนตัวทำให้เกิดยึดติด ทำให้เกิดความโลภและการหมกมุ่นอยู่กับสิ่งพวกนี้ แล้วปัญญาจะไม่เกิด
โดยหลักการแล้วรัฐในอุดมคติของ เพลโต จึงเป็นรัฐที่ปกครองด้วยบุคคลซึ่งว่าฉลาดปราชญ์เปรื่องที่สุด และเพียบพร้อมด้วยคุณธรรม มิใช่รัฐที่ปกครองด้วยกฎหมาย หรือด้วยหลักนิติธรรม
อย่างไรก็ตามในช่วงสุดท้ายของชีวิต เพลโต จากประสบการณ์ในเชิงลบประจักษ์จากความพยายาม ที่จะสถาปนารัฐอุดมคติขึ้นมานั้น ความเป็นจริงแล้วคงไม่มีนักปราชญ์หรือผู้มีปัญญาอย่างดีเลิศขึ้นมาปกครองได้
จากความขมขื่นดังกล่าว อริสโตเติล (Aristotle) ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ เพลโต อริสโตเติล เห็นถึงความบกพร่องในความคิดของ เพลโต และไม่เห็นด้วยกับแบบจำลองของรัฐในอุดมคติ อริสโตเติล ให้เหตุผลว่า แม้ว่าเราจะสามารถ หามนุษย์ที่ฉลาดปราดเปรื่องหรือบริสุทธิ์เพียบพร้อมดั่งพระเจ้า ตามทัศนะของเพลโตก็ตามรัฐนั้นก็ยังต้องปกครองด้วยกฎหมายอยู่นั่นเอง และกฎหมายที่เหมาะสมในการปกครองสังคมก็คือกฎหมายธรรมชาติหรือความยุติธรรมโดยธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม อริสโตเติล เห็นด้วยกับ เพลโต ในประเด็น การเข้าถึงกฎหมายธรรมชาติ โดยอาศัยปัญญาอันบริสุทธิ์หรือเหตุผลที่เป็นอิสระ
อริสโตเติล เชื่อว่าเหตุผล (Reason) ของมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ คุณค่าที่ธรรมชาติได้ให้ความสามารถใช้เหตุผลมาแก่มนุษย์อันแตกต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่น คือ มนุษย์ต้องกระทำให้สอดคล้องกับคุณธรรมที่สำคัญ ได้แก่
1)คุณธรรมรู้แจ้งซึ่งได้แก่ เหตุผลและความรู้
2)คุณธรรมทางจริยธรรมได้แก่ การกระทำชอบ ความกล้าหาญ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และคุณสมบัติอื่นที่ดี
อริสโตเติล จะมองกฎหมายธรรมชาติในแง่เป็นกฎหมายอุดมคติที่มีการพัฒนา สภาพความเป็นกฎหมายจนถึงจุดสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตาม สภาพความเด็ดขาดสูงสุดที่ละเมิดมิได้ของกฎหมายธรรมชาติ ตามทัศนะของ อริสโตเติล ไม่ได้พูดไว้ ในกรณีความขัดแย้งระหว่างหลักกฎหมายธรรมชาติหรือหลักความยุติธรรม กับกฎหมายส่วนบัญญัติ หรือกฎเกณฑ์ที่รัฐตราออกมาใช้บังคับในการปกครอง ผลทางกฎหมายจะเป็นอย่างไรจะถือว่าเป็นโมฆะหรือไม่ อริสโตเติล ไม่ได้กล่าวถึง เพียงแต่ยอมรับว่าเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมของรัฐ
สำนักสโตอิคกับกฎหมายธรรมชาติ (Stoic School) จากความคิดของ อริสโตเติล ซึ่งเชื่อในเรื่องของเหตุผลของมนุษย์ว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ หรือเป็นดั่งเครื่องมือที่สามารถนำไปสืบค้นเกณฑ์อันเป็นสากลธรรมชาติ ความคิดดังกล่าวของ อริสโตเติล มีอิทธิพลสืบเนื่องมาถึงสำนักสโตอิค (Stoic School) ซึ่งก่อตั้งในราว 300 กว่าปีก่อนคริสศักราช โดยมี เซโน (Zeno : 350-260 B.C.) เป็นผู้ก่อตั้งสำนักนี้
ข้อสังเกต ปรัชญาความคิดของสำนักดังกล่าวนี้มีอิทธิพลความคิดที่มีผลต่อเนื่องจนถึงยุคปฏิวัติในฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1789
สำนักสโตอิค มีแนวคิดพื้นฐานว่าในจักรวาลซึ่งโลกมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งนั้น ประกอบด้วย แก่นสาร (Substance) และ เหตุผล (Reason) หรือความเป็นเหตุผลนี้จะเป็นเสมือนกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่มีลักษณะแน่นอน, ทั่วไปหรือเป็นระเบียบสม่ำเสมอ ซึ่งคอยควบคุมความเป็นไปของจักรวาลมนุษย์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งในธรรมชาติของจักรวาลและเป็นสัตว์โลกที่รู้จักคิดใช้เหตุผล จึงย่อมถูกกำหนดควบคุมโดย เหตุผลอันเป็นสากล เหตุผลในฐานะเป็นพลังทางจักรวาลจึงเข้าไปครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งเป็นพื้นฐานของกฎหมายและความยุติธรรมด้วย กฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือกฎหมายธรรมชาติจึงย่อมถือเป็นสิ่งเดียวกับกฎเกณฑ์แห่งเหตุผล โดยเหตุนี้จึงย่อมเข้าถึงกฎหมายธรรมชาติได้ด้วยการใช้เหตุผลของเขาเองและเหตุผลนี้เอง ที่ทำให้มนุษย์แตกต่างไปจากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
ดังนั้นในทรรศนะของสโตอิค
1. มนุษย์มิได้เกิดมาเพื่อแสวงหาความสุขหรือความสะดวกสบาย แต่มนุษย์จำต้องยอมทนทุกข์
ทรมานกับการปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกต้อง
2.การดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ต้องเป็นไป อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติ, สอดคล้องกับเหตุผลหรือคุณงามความดี และที่สำคัญมนุษย์ควรจะมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างมีอิสระ จากอารมณ์ความรู้สึกหรือตัณหาต่าง ๆ พยายามต่อสู้ เพื่อบรรลุถึงความสงบสันติหรือกลมกลืนอย่างรอบด้านภายในใจ ที่เรียกว่า “ธรรมชาตินิยม” (Natural Law)
ความเชื่อในเรื่องการดำรงชีวิต ซึ่งสอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งมีความเสมอภาคกัน โดยไม่จำกัดสัญชาติหรือเผ่าพันธุ์ คำสอนเช่นนี้จึงเป็นความเชื่อในเรื่องสากลนิยม (Cosmopolitan Philosophy) ไม่ให้ยึดติดในเชื้อชาติ, เผ่าพันธุ์, หรือศาสนา สอนให้คนมีจิตใจกว้างขึ้นและยอมรับเรื่องความเสมอภาคของมนุษย์ทุกคนรวมทั้งเรื่องความเป็นสากลของกฎหมายธรรมชาติ
ในแง่นี้เองที่เราพบว่าอุดมคติสูงสุดของสำนักสโตอิค อยู่ที่เรื่องรัฐแห่งโลก (World – State) หรือโลกนิยม โดยที่มนุษย์ทุกคนจะอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและเป็นธรรม
ซิเซโร (Cicero) ซึ่งเป็นชาวโรมันแต่ไปศึกษาที่เอเธนส์ จึงได้รับปรัชญาแนวความคิดสโตอิคมาอย่างมากและที่สำคัญ ซิเซโร เป็นผู้มีส่วนร่วมอย่างมากในพัฒนาหลักนิติศาสตร์ของโรมันบนรากฐานปรัชญาสำนักสโตอิค ซิเซโร ได้เขียนอธิบายกฎหมายธรรมชาติไว้ว่า
“กฎหมายที่แท้จริง คือ เหตุผลที่ถูกต้อง กลมกลืนสอดคล้องกับธรรมชาติ, แผ่ซ่านในทุกสิ่งทุกอย่าง สม่ำเสมอ นิรันดร เป็นกฎหมายที่ก่อให้เกิดหน้าที่โดยคำสั่งให้กระทำและงดเว้นจากความชั่ว โดยข้อห้ามของกฎหมายเป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธ์ที่จะไม่พยายามบัญญัติกฎหมายให้ขัดแย้งกับกฎหมายนี้ เป็นสิ่งไม่อาจยกเลิกหรือทำให้เสื่อมคลาย อันที่จริงแล้วไม่ว่าจะเป็นวุฒิสภาหรือประชาชนก็ตามหาอาจหลุดพ้นจากความผูกพันของกฎหมายนี้ไม่ได้ และไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะพึ่งพาสิ่งอื่นหรือบุคคลอื่นนอกจากตัวเราเองที่จะเป็นผู้แสดงออกหรือตีความกฎหมาย,กฎหมายนี้ไม่เป็นอย่างหนึ่งที่กรุงโรมหรือเป็นอีกอย่างหนึ่งที่เอเธนส์ ไม่เป็นอย่างหนึ่งในขณะนี้ หรืออีกอย่างหนึ่งในเวลาต่อมา แต่เป็นกฎหมายประการเดียวที่เป็นนิรันดร ไม่เปลี่ยนแปลงและมีผลผูกพันทุกชาติทุกภาษาทุกยุคทุกสมัยตลอดกาล “
จากคำกล่าวของ ซิเซโร (Cicero) สรุปได้ว่ากฎหมายธรรมชาติมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. กฎหมายธรรมชาติเป็นเรื่องเหตุผลที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ดังคำที่ว่า “กฎหมายที่แท้จริง คือ เหตุผลที่ถูกต้อง”
2. กฎหมายธรรมชาติมีลักษณะทั่วไป ดังข้อความที่ว่า “แผ่ซ่านไปยังทุกสิ่งทุกอย่าง” ซึ่งแสดงว่ากฎเกณฑ์ธรรมชาติหรือกฎหมายธรรมชาตินั้นเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป เหตุผลหรือหลักเกณฑ์นั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ได้อยู่เหนือหรือแยกออกจากสิ่งต่าง ๆ
3.กฎหมายธรรมชาติผูกพันทุกคนให้ต้องปฏิบัติตาม ดังข้อความที่ว่า “เป็นกฎหมายที่ก่อให้เกิด
คำสั่งบังคับให้ทุกคนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามและเป็นข้อห้ามมิให้คนทำชั่ว”
4.กฎหมายธรรมชาติมีคุณค่าเหนือกว่ากฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้น ดังข้อความที่ว่า “เป็นหน้าที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่เราจะไม่พยายามบัญญัติกฎหมายให้ขัดกับกฎหมายนี้ กฎหมายนี้จะถูกลดค่าหรือยกเลิกมิได้” ในแง่นี้กฎหมายธรรมชาติมีสถานเป็นกฎหมายในอุดมคติ
5.กฎหมายธรรมชาตินี้มีอยู่ภายในจิตใจของคน ข้อความที่ว่า “ไม่ว่าจะโดยวุฒิสภาหรือประชาชน เราก็ไม่สามารถที่จะถูกปลดปล่อยให้พ้นจากกฎหมายนี้ได้ ไม่มีความจำเป็นอะไรที่จะพึ่งบุคคลอื่น หรือสิ่งอื่นนอกจากตัวของเราเองที่จะเป็นผู้แสดงออกให้เห็นหรือตีความกฎหมายธรรมชาตินี้” แสดงให้เห็นว่า กฎหมายธรรมชาตินี้เป็นสิ่งที่อยู่ในใจของคนสามารถรู้ได้เอง จึงไม่ต้องไปศึกษาหรือไต่ถามจากคนอื่น เป็นการยืนยันว่ามนุษย์มีความสามารรถที่จะค้นพบว่าอะไรผิดอะไรถูก ไม่มีพลังอื่นใดจากภายนอกมาบังคับให้ต้องมาเช่นนั้น
6.กฎหมายธรรมชาติมีลักษณะสากลและไม่เปลี่ยนแปลง ดังข้อความที่ว่า “กฎหมายนี้ไม่เป็นอย่างหนึ่งที่กรุงโรม หรือเป็นอีกอย่างหนึ่งที่เอเธนส์ไม่เป็นอย่างหนึ่งในขณะนี้หรือเป็นอย่างอื่นในเวลาต่อมา เป็นกฎหมายประการเดียวที่เป็นนิรันดร ไม่เปลี่ยนแปลงและมีผลผูกพันทุกชาติทุกภาษาตลอดกาล”
การวิเคราะห์วิจารณ์ยุคกรีกโบราณเป็นยุคแรกเริ่มแห่งปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ซึ่งมีลักษณะเป็นอภิปรัชญามากเกินไปและไม่มีการผ่อนปรนในการบังคับใช้กฎเกณฑ์ต่างๆ ทำให้ไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่นอนว่ากฎเกณฑ์ใดมีความยุติธรรมและสามารถนำไปใช้ในสังคมได้ เพราะเป็นนามธรรมที่อยู่ภายในจิตใจของบุคคล
2. ปรัชญากฎหมายธรรมชาติในยุคมืด (5 AD–12 AD) และยุคกลาง (12 AD–14 AD)
นับแต่จักรวรรดิ์ โรมันอันยิ่งใหญ่ได้ล่มสลายในศตวรรษที่ 5 ยุโรป ก็ได้เข้าสู่ยุคมืดและยุคกลาง อันยาวนานเกือบ 900 ปี ซึ่งมีลักษณะพื้นฐานในทางสังคมแบบศักดินา ภายใต้การครอบงำของศาสนจักรโรมันคาทอลิคที่มีสังฆราชแห่งกรุงโรมเป็นประมุข
ในช่วงยุคมืดของยุโรป สังฆราชสำคัญ ๆ แห่งกรุงโรม อาทิ เช่น แอมโบรส (Ambrose) ออกุสติน (Augustine) และเกรกอรี (Gregory) ได้ทำการพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรัชญากฎหมายธรรมชาติ ให้สอดคล้องกับหลักคำสอนในคริสต์ศาสนา โดยนำแนวคิดของสำนักสโตอิคมาผสมผสานกับความเชื่อทางศาสนาคริสต์ในเรื่องบาปโดยกำเนิด (Original Sin) ของมนุษย์ชาติและนำคติความเชื่อของฝ่ายคริสต์ศาสนามาแทนที่ “เหตุผล” ในฐานะเป็นกฎหมายสูงสุดของจักรวาล
เซนต์ ออกุสติน (ST. Augustine) เป็นผู้เสนอความคิดเห็นว่ากฎหมายที่ไม่ถูกต้องตามศาสนาเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับไม่ได้ ดังนั้นจึงบังคับให้รัฐอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนา ตั้งแต่นั้นมากฎหมายในยุโรปก็มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับกฎของศาสนาซึ่งก็ยังผลประโยชน์ให้กับประชาชนเช่นกัน เนื่องจากกฎของศาสนาบังคับไม่ให้ผู้มีอำนาจกดขี่ข่มเหงประชาชน
ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างศาสนจักรกับอาณาจักรซึ่งต่างพยายามอ้างอำนาจในการตราหรือตีความกฎหมายต่าง ๆ และจุดขัดแย้งนี้นับว่าเป็นเหตุจูงใจอันสำคัญอย่างมากในการพัฒนาปรัชญากฎหมายธรรมชาติ
เซนต์ โทมัส อไควนัส (ST.Thomas Aquinas) (1226 – 1274) เป็นนักบวชและนักปรัชญาชาวอิตาเลียน ผู้สร้างงานนิพนธ์ชิ้นสำคัญ เรื่อง “Suma Theologica” ซึ่งเป็นการเชื่อมวิธีคิดแบบเหตุผลนิยม (Rationalism) กับเจตนานิยม (Voluntarism) เข้าด้วยกันโดยนำเอาปรัชญาของอริสโตเติล มาสังเคราะห์กับปรัชญาทางคริสต์ศาสนา ในขณะที่อริสโตเติล ยืนยันว่ามนุษย์สามารถค้นพบกฎหมายธรรมชาติได้โดย อาศัย “เหตุผล“ ในตัวมนุษย์เอง
อไควนัส ก็ได้พยายามเชื่อมโยงเรื่อง “เหตุผล” (Reason) ดังกล่าวเข้ากับ “เจตจำนง” (Will) ของพระเจ้า โดยถือว่า หรือการนำเอาเหตุผลของมนุษย์มาเชื่อโยงกับหลักธรรมของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งเขาเชื่อว่าเหตุผลที่สูงกว่า เหตุผลที่สมบูรณ์ถูกต้องมากกว่าซึ่งใช้เป็นเครื่องมือ ในการค้นหากฎหมายธรรมชาตินั้นปรากฏอยู่ใน “เหตุผลของพระเจ้า” (Divine Reason) หรือ “เจตจำนงของพระเจ้า” ซึ่งถือว่ามีความบริสุทธิ์ถูกต้องมากกว่า “เหตุผล” ของมนุษย์ซึ่งอาจมีความผิดพลาดได้และจากจุดนี้เองที่ทำให้เขาสรุปว่า “หลักธรรมโองการหรือเจตจำนงพระเจ้าคือที่มากฎหมายธรรมชาติ” (Christian Natural Law)
การเชื่อมระหว่างเหตุผลเข้ากับเจตจำนงของพระเจ้า อไควนัส ได้แบ่งแยกกฎหมายออกเป็น
4 ประเภท คือ
1. กฎหมายนิรันดร (Lex aeterna / EternalLaw)
2. กฎหมายธรรมชาติ (Lex naturalis / Natural Law)
2. กฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ (Lex divina / Divine Law)
3. กฎหมายของมนุษย์ (Lex humana / Human Law)
กฎหมายนิรันดร จัดว่าเป็นกฎหมายสูงสุด ซึ่งเป็นเหตุผลหรือปัญญาอันอันศักดิ์สิทธิ์ที่คอยบงการความเคลื่อนไหวหรือการกระทำทั้งปวงในจักรวาล และมีเพียงพระเจ้าเท่านั้นที่ล่วงรู้ถึงกฎหมายนี้มนุษย์ทั่วไปอาจหยั่งรู้ได้โดยตลอด
กฎหมายธรรมชาติ กฎหมายธรรมชาติถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายนิรันดรที่สามารถเข้าถึงได้โดยอาศัย “เหตุผล” อันเป็นคุณสมบัติธรรมชาติที่พระเจ้าประทานให้ ซึ่งมีหลักธรรมอันเป็นมูลฐานที่สุดก็คือ “การทำความดีและละเว้นความชั่ว” ที่มีอยู่ภายในตัวของเราเอง
กฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ หมายถึง กฎเกณฑ์หรือหลักธรรมต่าง ๆ ที่ถูกจารึกไว้ในคัมภีร์ไบเบิล
(Bible)
กฎหมายของมนุษย์ หมายถึง กฎหมายที่มนุษย์บัญญัติขึ้นมาใช้ในสังคม ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายที่สูงกว่าก่อนหน้า อไควนัส เห็นว่าหากกฎหมายของมนุษย์เรื่องใดมีหน้าที่ไม่เป็นธรรมและขัดต่อกฎหมายธรรมชาติ ย่อมไม่ถือว่าเป็นกฎหมาย แต่เป็นความวิปริตของกฎหมายซึ่งอยู่หางไกลจากลักษณะของกฎหมายที่มีจุดมุ่งหมายให้พลเมืองเป็นคนดี อไควนัส เห็นว่ากฎหมายที่ไม่เป็นธรรมอาจเกิดขึ้นได้หลายกรณี อาทิ เช่น
1. กฎหมายมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ส่วนรวม แต่หากเป็นการตอบสนองต่อกิเลสตัณหาของผู้ออกกฎหมาย
2. กฎหมายบัญญัติขึ้นเกินกว่าอำนาจของผู้ออก
3.เป็นกฎหมายที่กำหนดภาระแก่คน อย่างไม่เสมอภาค
ข้อ 1 – 2 ซึ่ง อไควนัส ถือเป็นโมฆะโดยเด็ดขาดและประชาชนไม่จำต้องคารพเชื่อฟังข้อ 3 หากยึดเอาคุณธรรมเรื่องความรอบคอบเป็นหลักแล้วประชาชนอาจจำต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมเช่นนี้เพื่อความเป็นธรรมในการหลีกเหลี่ยงความสับสนวุ่นวายในสังคม
การแบ่งแยกกฎหมายออกเป็น 4 ประเภทนี้ จึงนับว่าเป็นการประนีประนอม ระหว่างความคิดของกรีกกับความคิดของคริสเตียน และได้แก้ปัญหาลำดับชั้นของกฎหมาย ซึ่งมีมาแต่โบราณว่าความยุติธรรมตามธรรมชาติ กับ ความยุติธรรมที่มนุษย์สมมุติขึ้น (กฎหมายที่บัญญัติขึ้น) ควรจะมีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดย อไควนัส ได้เน้นว่า กฎหมายมนุษย์จะต้องสอดคล้องกับกฎหมายธรรมชาติ ถ้ากฎหมายมนุษย์ขัดต่อกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายมนุษย์ไม่มีค่าเป็นกฎหมาย เป็นการเน้นหลักกฎหมายลำดับสูงกว่า (Higher law) กล่าวคือ กฎหมายธรรมชาติและกฎหมายศักดิ์สิทธิ์เป็นกฎหมายที่สูงกว่ากฎหมายบ้านเมืองของมนุษย์ถ้ากฎหมายบ้านเมืองเองขัดต่อกฎหมายธรรมชาติ หรือขัดต่อกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ กฎหมายนั้นย่อมไร้ผลและราษฎรย่อมมีสิทธิไม่เชื่อฟังผู้ปกครองได้ (The Right of Disobedience) ทั้งนี้เพราะราษฎรย่อมมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายธรรมชาติและกฎหมายศักดิ์สิทธิ์เหนือสิ่งอื่นใด
ความคิดของ อไควนัส จึงมีฐานะเสมือนข้อต่อทางความคิดกฎหมายธรรมชาติที่เน้นความสำคัญของ เหตุผล ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรีก คือ ตั้งแต่ เพลโต อริสโตเติล สโตอิคและสมัยโรมันถ่ายทอดต่อมาในสมัยกลางอย่างไม่ขาดสาย และส่งทอดต่อไปจนถึงสมัยใหม่ในภายหลังอย่างไม่ขาดตอน
การวิเคราะห์วิจารณ์ยุคมืดให้ความสำคัญกับศาสนา (โดยเฉพาะศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค) มาก ความขัดแย้งอันเกิดขึ้นและเป็นการล่วงละเมิดอำนาจของศาสนา ถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องต่อต้านอำนาจรัฐ ทำให้ศาสนามีอิทธิพลในการปกครองรัฐในการปกครองประชาชน ดังนั้นการกระทำใดของผู้ปกครองนั้นต้องไม่ขัดต่อหลักศาสนา ทำให้การปกครองนั้นอยู่ภายใต้อำนาจผู้นำทางศาสนา หรือเรียกว่า ยุคศาสนจักรครอบงำอาณาจักร
3. ปรัชญากฎหมายธรรมชาติยุคฟื้นฟู (14 AD - 18 AD) หรืออาจเรียกว่า กฎหมายธรรมชาติสมัยใหม่
เมื่อยุโรปเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 14 ถึง16 อำนาจและความคิดทางศาสนจักรเสื่อมถอยลง ความคิดของสำนักกฎหมายธรรมชาติก็มิได้เสื่อมคลายลง แต่ความเชื่อเรื่องกฎหมายธรรมชาติกลับฟื้นฟูรุ่งเรื่องอย่างมหาศาล ในศตวรรษที่ 17-18 (Secular natural Law) ซึ่งเน้นธรรมชาติของมนุษย์ (Human Nature) ว่ามี “สติปัญญาหรือมีเหตุผล” และเหตุผลในธรรมชาติของมนุษย์นี้ เป็นรากฐานของกฎหมายธรรมชาติซึ่งมีนักคิดที่สำคัญ ได้แก่ ฮิวโก โกรเชียส (Hugo Grotius 1583 –1645) พูเฟนดอร์ฟ (Samuel Purfendorf :1632 – 1694 ) โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobber :1588 – 1679) สปินโนซา (Benedict Spinoya : 1632 – 1677) จอห์น ล๊อค (John Lacke : 1632 – 1704) มองเตสกิเออ (Baron Charlers Louis de Montesquieu : 1689 – 1755) รุสโซ (Jean Jacques Rousseau : 1712 – 1778) หรือวูล์ฟ (Christian Wolff : 1679 – 1754) เป็นต้น
ข้อสังเกต ในยุคนี้เองที่ ฮิวโก โกรเชียส (Hugo Grotius) นักกฎหมายชาวฮอลแลนด์ได้นำเอาหลักกฎหมายธรรมชาติบางเรื่องมาใช้สร้างเป็นรากฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ ควบคุมกิจการและกติกาในการทำสงครามต่างๆ ระหว่างรัฐชาติที่เกิดขึ้นใหม่ๆ จนทำให้ โกรเชียส ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของกฎหมายระหว่างประเทศ แนวคิดของ โกรเชียส ในปรัชญากฎหมายธรรมชาติจะเน้นในเรื่องเหตุผลและสติปัญญาของมนุษย์ ในฐานะที่มาของกฎหมายธรรมชาติ โดยถือว่าเหตุผลและสติปัญญานี้ปรากฏอยู่ในธรรมชาติของมนุษย์เอง
แนวความคิดกฎหมายธรรมชาติสมัยใหม่ มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อระบบกฎหมายสมัยใหม่ของยุโรปตะวันตก โดยทำให้กฎหมายสมัยใหม่เป็นที่มีเหตุผลและคำนึงถึงมนุษยธรรม คนธรรมดาสามารถทำความเข้าใจได้ด้วยเหตุผล เห็นได้จากประมวลกฎหมายฉบับต่างๆ ในยุโรป เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ประมวลกฎหมายแพ่งออสเตรีย ประมวลกฎหมายทั่วไปของอาณาจักรปรัสเซีย เมื่อพิจารณาประวัติความคิดของกฎหมายธรรมชาติสมัยใหม่แล้ว เราอาจแบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ
ยุคที่ 1 ยุคจัดระบบกฎหมายใหม่
ความคิดกฎหมายธรรมชาติในช่วงนี้ เป็นความพยายามที่จะใช้เหตุผลตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สามารถเข้าใจได้ มาจัดระบบกฎหมายบ้านเมือง (Positive Law) ใหม่แทนความคิดและความเชื่อของศาสนาจักร ซึ่งกลายเป็นพลังทางความคิดที่ช่วยเกื้อหนุนการสร้างชาติของรัฐสมัยใหม่ซึ่งเป็นรัฐฆราวาส
(Secular State) คือ รัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเป็นอิสระจากศาสนจักร เพราะการสร้างชาติจำเป็นต้องมีระบบราชการประจำที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานซึ่งต้องอาศัยกฎหมายทั้งสิ้น นักคิดที่สำคัญ ในยุคนี้ ได้แก่ โกรเชียส, โทมัส ฮ๊อบส์, และพูเฟนดอร์ฟ
ข้อสังเกต แนวความคิดยุคนี้ ความคิดแบบปัจเจกชนนิยม (Imdividualism) ได้เริ่มก่อตัวและแพร่หลายมาก
ดังนั้น นักคิดในสมัยนี้จึงต้องเสนอทฤษฎีสัญญาประชาคม (Social Contract Theory) ขึ้นอธิบายว่า สังคมอื่นการยินยอมนี้ก่อให้เกิดความผูกพันและสัญญาประชาคมขึ้น แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีสัญญาประชาคมในยุคนี้ คือ โทมัส ฮอ๊บส์ ได้มองมนุษย์ในแง่ร้าย คือ เห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์ไม่มีเหตุผล จึงสนับสนุนอำนาจอันสมบูรณ์เด็ดขาดของผู้ปกครอง ความคิดนี้จึงสนับสนุนระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาด ส่วนทฤษฎีสัญญาประชาคมอีกแง่หนึ่งคือมองมนุษย์ในแง่ดี จะอธิบายในแนวความคิดในวิจารณ์
ยุคที่ 2 ยุควิเคราะห์วิจารณ์
ยุคนี้เป็นยุคของการใช้เหตุผลตามธรรมชาติมาแยกและหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย ในเวลาเดียวกันก็ใช้เหตุผลตามธรรมชาติวิจารณ์การกระทำที่ไม่ชอบด้วยเหตุผลของผู้ปกครองในสมัยนั้น ความคิดกฎหมายธรรมชาติในยุคนี้เน้นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเอกชนและการปกครองที่มีอำนาจจำกัด มองว่ามนุษย์มีความสามารถใช้สติปัญญาและเหตุผลในการเข้าใจกฎหมายธรรมชาติ และสามารถบัญญัติกฎหมายตามหลักเหตุผลของกฎหมายธรรมชาติได้อย่างไม่จำกัด
ทฤษฎีสัญญาประชาคมในยุคนี้จึงมีความแตกต่างจากยุคก่อน คือ มองมนุษย์ในแง่ดี ซึ่งได้แก่ แนวคิดของจอห์น ล๊อค ซึ่ง ล๊อค มองว่ามนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลและมีสัญชาติญาณอยากอยู่ร่วมกันเป็นสังคม โดยทุกคนจะโอนอำนาจบางส่วนของตน ได้แก่ อำนาจการบังคับการตามกฎหมายธรรมชาติให้แก่ผู้ปกครองหรือรัฐ ซึ่งได้จัดตั้งตามสัญญาแต่ทุกคนยังคงสงวนสิทธิในชีวิต ทรัพย์สินและเสรีภาพอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์ หากผู้ปกครองไม่ปฏิบัติตามสัญญาประชาชน ย่อมมีสิทธิอันชอบธรรมที่จะปฏิวัติล้มล้างผู้ปกครองได้
ส่วนแนวความคิดของคนอื่น คือ คริสเตียน โทมัสซุย เสนอให้มีการแยกแยะระหว่างกฎหมายกับศีลธรรมออกจากกัน โดยอธิบายว่า กฎหมายเป็นเรื่องรัฐ ดังนั้นจะบังคับได้เฉพาะการกระทำของคนที่แสดงออกมาภายใน หรืออีกนัยหนึ่ง คือ กฎหมายต้องลงโทษการกระทำของคนมิใช่ความคิดของคน
แนวความคิดของ รุสโซ ซึ่ง รุสโซ มองว่ามนุษย์มีธรรมชาติที่ดี มีจิตใจโอบอ้อมอารีไม่เห็นแก่ตัว ในสภาวะธรรมชาติของมนุษย์มีสิทธิเสรีภาพอย่างไม่จำกัด แต่ไม่มีความมั่นคงในสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาติ เพื่อให้เกิดหลักประกันในสิทธิเสรีภาพมนุษย์จึงตกลงทำสัญญาประชาคม สละสิทธิเสรีภาพที่ไม่จำกัดเมื่อมาอยู่รวมกันเป็นสังคม ซึ่งมีสิทธิเสรีภาพที่ถูกจำกัดภายใต้กฎหมาย แนวความคิดของ รุสโซ นั้นต่อต้านการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ข้อสังเกต แนวคิดการมอบสิทธิเสรีภาพให้แก่ผู้ปกครองนั้น ล๊อคกับรุสโซ มีความคิดแตกต่างกันคือ ของ ล๊อค จะมอบสิทธิบางส่วนให้ผู้ปกครองแต่ของ รุสโซ จะมอบสิทธิเสรีภาพที่ไม่จำกัดคือทั้งหมด เมื่อมาอยู่รวมกันในสังคม
แนวคิดของ มองเตสกิเออ ซึ่ง มองเตสกิเออเป็นนักคิดชาวฝรั่งเศสได้รับอิทธิพลแนวความคิดในเรื่องการจำกัดอำนาจมาจาก จอห์น ล๊อค ความคิดของ มองเตสกิเออ ที่สำคัญปรากฏอยู่ในหนังสือ ชื่อ “เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย” (The Spirit of the Laws) ซึ่งได้อธิบายเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of Powers) และการถ่วงดุลอำนาจ (Check and Balance) เพื่อจำกัดอำนาจผู้ปกครอง เพราะ มองเตสกิเออ มองว่ามนุษย์ทั้งหลายมีแนวโน้มที่จะใช้อำนาจในทางที่ผิด เพื่อป้องกันการใช้อำนาจโดยมิชอบดังกล่าวจะต้องจัดระบบให้มีการแบ่งแยกอำนาจกล่าวคือ จะต้องแยกอำนาจการตรากฎหมาย (นิติบัญญัติ) ออกจากอำนาจบังคับการตามกฎหมาย (อำนาจบริหาร) และให้อำนาจพิจารณาพิพากษาคดี (อำนาจตุลาการ) แยกเป็นอิสระจากอำนาจออกกฎหมายและบังคับการตามกฎหมาย และให้แต่ฝ่ายคอยตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน (Checks and Balance)
ยุคที่ 3 ยุคการสังเคราะห์ความคิดและสรุปผล
ในยุคนี้เป็นช่วงเวลาการนำความคิด กฎหมายธรรมชาติซึ่งได้แยกแยะวิเคราะห์ในรายละเอียดแล้วมาบัญญัติเป็นกฎหมายบ้านเมือง (Positive Law) ในลักษณะของกฎหมายลายลักษณ์อักษร โดยอาศัยอำนาจรัฐสมัยใหม่หรืออาจกล่าวได้ ว่าเป็นยุคของปฏิรูปกฎหมายธรรมชาติมาเป็นกฎหมายบ้านเมือง หลักแห่งสิทธิเสรีภาพ เสมอภาค ซึ่งปรากฏเป็นรูปธรรม รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาค.ศ.1789 หลังการประกาศอิสรภาพ ปี ค.ศ 1776 พ้นจากอาณานิคมอังกฤษ รัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสหลังการปฏิวัติใหญ่ ค.ศ. 1789 รวมทั้งประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส ค.ศ. 1804 เป็นต้น
นอกจากนี้การสลัดตัวออกจากอิทธิพลของศาสนาคริสต์ (นิกายคาทอลิค) แล้วความเปลี่ยนแปลงในลักษณะสำคัญของปรัชญากฎหมายธรรมชาติในยุคนี้เองที่มีการเน้นระบบแห่งกฎหมายทางกฎหมายซึ่งเป็นรูปธรรมและมีรายละเอียดมากขึ้น ขณะเดียวกันในอีกด้านหนึ่งมีการพัฒนาจุดเน้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากเรื่องธรรมชาติของมนุษย์เชิงสังคมไปสู่เรื่อง “สิทธิธรรมชาติ” (Natural Rights) ของมนุษย์หรือความปรารถนาความต้องการของมนุษย์ ในแง่ปัจเจกบุคคล กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ การเพิ่มบทบาทความคิดแบบปัจเจกชนนิยมมากขึ้น ในตัวเนื้อหาของปรัชญากฎหมายธรรมชาติและนอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงวิธีวิเคราะห์ธรรมชาติของมนุษย์ในแบบอภิปรัชญา (ซึ่งมองธรรมชาติที่จุดแห่งสัมบูรณภาพของความเป็นมนุษย์) มาสู่การวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์หรือจิตวิทยาที่เน้นการสังเกตในเรื่องข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของมนุษย์หรือกฎแห่งความเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งมีอิทธิพลต่อมนุษย์ ด้วยเหตุนี้ในศตวรรษที่ 18–19 ซึ่งมีความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และสังคมวิทยา บวกกับความเป็นชาตินิยมสูง อันเป็นพื้นฐานอันสำคัญให้ลัทธิอรรถประโยชน์และทฤษฎีปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย เริ่มก่อตัวขึ้นอย่างมั่นคงในฐานะปฏิปักษ์กับสำนักกฎหมายธรรมชาติ เริ่มจากช่วงนี้เองที่กฎหมายธรรมชาติได้ถูกผลักไสให้เป็นเรื่องศีลธรรม ศาสนามากกว่าที่จะเป็นกฎหมายอันแท้จริงของรัฐ ความเชื่อถือศรัทธาในปรัชญากฎหมายธรรมชาติเริ่มเสื่อมลงด้วยสาเหตุดังกล่าวข้างต้น
การวิเคราะห์วิจารณ์ ยุคฟื้นฟูกับยุคกฎหมายธรรมชาติสมัยใหม่หันมาให้ความสนใจด้านปัจเจกชนและสิทธิมนุษยชนมากขึ้น โดยพ้นจากการครอบงำของศาสนาและมุ่งล้มล้างระบบศักดินา ให้ความสำคัญกับกฎหมายที่เป็นธรรม จึงก่อให้มีการปฏิวัติสังคมในอังกฤษ อเมริกา หรือฝรั่งเศส ได้อาศัยปรัชญาหรือตรรกะของกฎหมายธรรมชาติเข้าเป็นเหตุผลรองรับความชอบธรรมของการก่อการหรือสนับสนุนเรื่องสิทธิธรรมชาติในการล้มล้างรัฐ และมีผลกระทบด้านกฎหมาย อิทธิพลของปรัชญากฎหมายธรรมชาตินำไปสู่การตอกย้ำความสำคัญของเนื้อหาของกฎหมายที่เป็นธรรม
4.ปรัชญากฎหมายธรรมชาติยุครัฐชาติหรือยุครัฐสมัยใหม่ (19AD) (ยุคความเสื่อมของปรัชญากฎหมายธรรมชาติ)
คำว่า “รัฐ” (State) นั้นเป็นคำใหม่เพิ่มขึ้นในศตวรรษที่ 19 ซึ่งแต่ก่อนมีแต่คำว่า “ชาติ” (Nation) ที่มาจากกลุ่มคนที่มีชาติพันธ์เดียวกัน สืบเชื้อสายโดยสายเลือดเดียวกัน หรือเกิดความรู้สึกร่วมกัน ซึ่งในยุโรปมีพื้นดินใกล้เคียง ความสัมพันธ์ก็มีมากขึ้นทั้งด้านสันติภาพและสงคราม ดังนั้นการเคลื่อนย้ายผู้คนมาอีกชาติหนึ่งไปยังอีกชาติหนึ่งก็เกิดขึ้น เกิดลักษณะผสมผสานระหว่าเชื้อชาติ คำว่า รัฐ ก็เกิดขึ้นมา ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 อย่างรวมกันเป็น รัฐ คือ
-มีดินแดน ที่แน่นอนว่าตั้งอยู่ในส่วนไหนของโลก
-มีประชากรที่อยู่ประจำไม่ใช่พวกเร่ร่อน
-มีอำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐ
-มีรัฐบาล(ผู้ปกครองรัฐ)
ในยุโรปเรียกชื่อว่า รัฐกับชาติยุโรป ปะปนกันแต่ใช้คู่ขนานกันว่า ชาติรัฐหรือรัฐชาติ ดังนั้น รัฐชาติ (Nation State)คือ ความคิดความเป็นชาตินิยมและเน้นในเรื่องความสำคัญในการปกครอง จุดนี้เองเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญอีกอันหนึ่งของกฎหมายธรรมชาติในความเสื่อมของปรัชญากฎหมายธรรมชาติ
สาเหตุที่ทำให้ปรัชญากฎหมายธรรมชาติในยุคนี้เสื่อม อย่างน้อย 2 ประการคือ
ประการที่ 1 สืบเนื่องจากแนวความคิดของกฎหมายนั้นเป็นแนวความคิดที่เป็นปัจเจกชนนิยม เน้นความสำคัญของแต่ละบุคคลที่ปรากฏในประมวลกฎหมายแพ่ง (เช่นประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส) ที่เป็นตัวแทนของกฎหมายธรรมชาติ เพราะเน้นความสำคัญของแต่ละบุคคล สิทธิส่วนบุคคลกลายเป็นชาตินิยม เกิดการขัดแย้งหรือต่อสู้ทางความคิดกับปัจเจกนิยม
ตัวอย่าง เช่น การจะจากลูกเมียไปรบหรือป้องกันชาติ ถ้าไม่ไปก็แสดงความเป็นปัจเจกชนสูง แต่ถ้าสละครอบครัวไปรบก็เป็นเรื่องชาตินิยม ความคิดสองอย่างนี้ ได้ต่อสู้กันทางความคิด ในช่วงนี้มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้คนหันมานิยมชาติมากกว่าปัจเจกชนที่เป็นทางความคิดของกฎหมายธรรมชาติ
ประการที่ 2 ที่ทำให้กฎหมายธรรมชาติเสื่อมความนิยม สืบเนื่องจากการเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์แผนใหม่ ค้นพบอะไรใหม่ๆมากมาย ที่เรียกว่า “ลัทธิประจักษ์วาท” (Empiricism) คือ แนวคิดที่นิยมการทำอะไรที่ชัดเจนเห็นภาพ สัมผัสได้ จับต้องได้ ที่มันเกี่ยวกับกฎหมายธรรมชาติก็คือลัทธิประจักษ์วาทไม่เห็นด้วยกับกฎหมายธรรมชาติ เพราะว่ากฎหมายธรรมชาติเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความเชื่อ ส่วนจะพิสูจน์ได้จริงหรือไม่ กฎหมายธรรมชาติไม่ได้เน้น เพราะฉะนั้นเมื่อเน้นความจริงที่พิสูจน์ได้ ก็เป็นการกระทบกระเทือนถึงกฎหมายธรรมชาติโดยตรง ความคิดความเชื่อต่อกฎหมายธรรมชาติจึงถูกลดความนิยมลงและตรงนี้เองจึงเกิดแนวคิดปฏิฐานนิยมทางกฎหมายหรือสำนักกฎหมายปฏิฐานนิยมหรือสำนักกฎหมายบ้านเมือง
การวิเคราะห์วิจารณ์ ยุคความเสื่อมของปรัชญากฎหมายธรรมชาติยุคนี้ เป็นความเสื่อมเนื่องมาจากอิทธิพลทางวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์คิดค้นหาข้อสรุปได้ซึ่งแตกต่างไปจากแนวความคิดทางอุดมคติที่ไม่สามารถหาข้อสรุปได้ และที่สำคัญอิทธิพลของปรัชญาทางการเมืองที่สำคัญ เช่น โทมัส ฮ๊อบส์ ฌอง โบแดง เป็นต้น นำไปสู่การมีแนวคิดปฏิฐานนิยมทางกฎหมายขึ้นมา เพื่อมาหักล้างแนวคิดกฎหมายธรรมชาติ
5. ปรัชญากฎหมายธรรมชาติยุคปัจจุบัน
เป็นแนวคิดของนักคิดรุ่นปัจจุบันที่พยายามอธิบายกฎหมายธรรมชาติในเชิงกระบวนการสร้างกฎหมาย และหลักกฎหมายภายใต้ศีลธรรมซึ่งเป็นแนวคิดที่สำคัญ คือ แนวความคิดของ ฟุลเลอร์, จอห์นฟินนิส ,โรแนล ดวอกิ้น เป็นต้น
แนวความคิดของ ฟุลเลอร์ (Lon Luvois Fuller ค.ศ. 1902 – 1978) ฟุลเลอร์ได้พยายามเน้นสิ่งที่เป็นศีลธรรมในเชิงระบบกฎหมาย ฟุลเลอร์ ได้จำแนกศีลธรรมภายในกฎหมายหรือกฎหมายธรรมชาติในเชิงกระบวนการ ออกเป็นหลักการ 8 ข้อดังนี้ คือ
1.กฎหมายจะต้องมีลักษณะทั่วไปในฐานะที่เป็นกฎเกณฑ์ซึ่งใช้เป็นหลักชี้นำการกระทำต่างๆโดยเฉพาะ
2.กฎเกณฑ์ดังกล่าวจะต้องพิมพ์เผยแพร่ ให้ปรากฏแก่สาธารณะหรืออย่างน้อยก็ต่อบุคคลทุกคนที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์นี้
3.กฎเกณฑ์ต้องไม่มีผลย้อนหลัง
4.กฎเกณฑ์ต้องมีลักษณะชัดแจ้งและสามารถเป็นที่ยอมรับ
5.กฎเกณฑ์จะต้องไม่ขัดแย้งกัน
6.กฎเกณฑ์จะต้องไม่เป็นการกำหนดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
7.กฎเกณฑ์จะต้องมีความมั่นคง แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยเกินไป
8.ต้องมีการกลมกลืนระหว่างกฎเกณฑ์ที่ถูกประกาศใช้กับการบังคับใช้กฎเกณฑ์นั้นเป็นความจริง อันเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมายและตัวบทกฎหมายที่ประกาศใช้ด้วย
เงื่อนไขทั้ง 8 ประการนี้ ฟุลเลอร์ อธิบายว่าเป็นเสมือนศีลธรรม ภายในกฎหมาย หรือ “กฎหมายธรรมชาติในเชิงกระบวนการ” กล่าวโดยสรุป คือ ฟุลเลอร์ ได้พยายามเน้นมิติของกระบวนการเพื่อที่จะนำไปสู่ความเป็นกฎหมายอันสมบูรณ์แท้จริงโดยไม่ได้เน้นที่เนื้อหาสาระ
แนวความคิดของจอห์น ฟินนิส (John Finnis) จอห์น ฟินนิส เป็นนักกฎหมายธรรมชาติรุ่นใหม่ที่ได้พยายามอธิบายกฎหมายธรรมชาติในเชิงที่มีความซับซ้อนโดยได้กล่าวถึง สมมุติฐาน 2 ประการ คือ
1.รูปแบบพื้นฐานแห่งความมั่นคงรุ่งเรืองของมนุษย์ (Basic Forms of Human Flourishing)
2.วิธีพื้นฐานที่จำเป็นของความชอบด้วยเหตุผลในเชิงปฏิบัติ (Basic Methodological Requirments of Practical Reasonableness)
ทั้งสองตัวนี้ถือเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นในการค้นหาสิ่งที่เป็นเสมือนกฎหมายธรรมชาติ กฎหมายที่ดีหรือกฎหมายที่ถูกต้อง ฟินนิส พยายามวาดภาพให้เห็นว่าคุณค่าพื้นฐานแห่งความมั่นคงและความรุ่งเรืองต่าง ๆ ในชีวิต เช่น ความรู้ความบันเทิงและอีกสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นวิธีการพื้นฐานที่จำเป็นเชิงวิชาการ คือ การที่จะคิดค้นหาสิ่งที่จำเป็น ความถูกต้องจะต้องมีวิธีการในการใช้ความผิด วิธีการนี้ คือ การแสวงหาความดีงามแผนการชีวิตอันเป็นระบบ การไม่เลือกค่านิยม การไม่เลือกตัวบุคคลตามอำเภอใจ เป็นต้น
ส่วนการที่จะค้นคว้าว่า อะไรคือความยุติธรรม อะไรคือกฎหมายที่ถูกต้องยุติธรรม ก็ต้องเอาเงื่อนไข 2 ประการ เข้ามาผสมผสานกัน กล่าวคือ อีกแง่หนึ่งจะมองคล้ายกับสิ่งที่เป็นคุณค่าหรือเป้าหมายของชีวิตสังคม ขณะเดียวกันอีกแง่หนึ่งต้องวางเรื่องเกี่ยวกับสิ่งจำเป็นในเชิงวิชาการ เมื่อรวมกันแล้วจะนำไปสู่สิ่งที่เป็นกฎหมายธรรมชาติในท้ายที่สุด
แนวคิดกฎหมายธรรมชาติปัจจุบัน โรแนล ดวอกิ้น (Ronald Dworkin) เชื่อว่าถึงแม้แต่เดิมระบบกฎหมายได้ให้หลักประกันแก่ธุรกิจเอกชนและทรัพย์สินของเอกชนเป็นอย่างมากก็ตาม แต่ในปัจจุบันเมื่อมีความจำเป็นเกิดขึ้นก็อาจแก้ไขระบบกฎหมายเสียใหม่ให้เหมาะสมขึ้นก็ได้ เพราะเหตุผลในตัวกฎหมายย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและสถานที่ ดวอกิ้น เห็นว่าการเขียนกฎหมายให้อำนาจรัฐที่จัดระเบียบเศรษฐกิจอย่างกว้าง ๆ นั้นย่อมทำได้
ทฤษฎีของ ดวอกิ้น มีข้อเสีย คือ ตรงที่คิดที่จะให้อำนาจรัฐ แต่ไม่สร้างกลไกในการใช้ดุลพินิจไว้ให้เหมาะสม ทำให้การใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่มีอุปสรรคในการปฏิบัติและเจ้าหน้าที่จะไม่กล้าใช้อำนาจ
ปรัชญากฎหมายธรรมชาติในยุคปัจจุบันมีบทบาทต่อสังคม 2 ลักษณะ คือ
1.ทฤษฎีกฎหมายที่สนับสนุนอุดมคติทางกฎหมายเชิงจริยธรรม เนื่องจากความเชื่อเรื่อง หลักคติที่อยู่เหนือกฎหมายของรัฐ เป็นการยืนยันความเชื่อเรื่อง “ความยุติธรรม” และ “ความสัมพันธ์ที่จำต้องมี” ระหว่างกฎหมายกับความยุติธรรมหรือหลักศีลธรรม จริยธรรมต่างๆ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ถือว่าหลักความยุติธรรมหรือ หลักกฎหมายอุดมคติซึ่งแน่นอน เป็นสากลหรือใช้ได้กับทุกสถานที่ ซึ่งกฎหมายธรรมชาติยุคปัจจุบันมีลักษณะผ่อนปรน และประนีประนอมมากขึ้น
2.ทฤษฎีกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิซึ่งสนับสนุนเรื่องสิทธิมนุษยชน จากเดิมมุ่งเน้นสิทธิของปัจเจกชนในแง่สิทธิของราษฎรและสิทธิการเมือง ได้มีการพัฒนาไปสู่สิทธิทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม การพัฒนาสันติภาพ หรือการอนุรักษ์คุณภาพของสิ่งแวดล้อม
การวิเคราะห์วิจารณ์ ยุคปัจจุบันกฎหมายธรรมชาติฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง มีรูปธรรมมากขึ้นและมีลักษณะเป็นการผ่อนปรนประนีประนอม แต่ยังความสำคัญของกฎหมายธรรมชาติอยู่ที่ศีลธรรมกับกฎหมาย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าการหันหาแนวความคิดกฎหมายธรรมชาติอีกครั้งหนึ่งนั้นมีสาเหตุ 3 ประการ คือ
ประการแรก การที่นักวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์เองได้ยอมรับอย่างกล้าหาญว่า แท้ที่จริงวิทยาศาสตร์ก็เป็นศาสตร์ที่อาศัยสมมติฐานเช่นกัน หาใช่เป็นศาสตร์ที่แน่นอนจนถึงกับทำให้มนุษย์สามารถบรรลุสัจธรรมได้ทุกอย่าง
ประการที่สอง คือ ความล้มเหลวของนักกฎหมายปฏินิฐานนิยมทางกฎหมายที่ไม่อาจให้คำตอบได้ว่า วิธีการของตนนั้น จะสามารถแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในสังคมอันเกิดจากเทคนิคและวิธีการทางกฎหมายของตนได้อย่างไร
ประการที่สาม การยอมรับว่าการพัฒนาระบบกฎหมายนั้นจำเป็นนำค่านิยมทางสังคมมาเป็นแนวทางด้วย การยอมรับดังกล่าวนี้ทำให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีหลักการกว้างๆ และยืดหยุ่นเพียงพอสำหรับการใช้กฎหมาย โดยตระหนักว่าการใช้เหตุผลทางกฎหมายนั้น ควรมีลักษณะเป็นการสร้างสรรค์และต้องไม่ยึดติดกับถ้อยคำของกฎหมายเพียงอย่างเดียว
สรุป
ปรัชญากฎหมายธรรมชาติตะวันตก เมื่อพิจารณารากเหง้าไปถึงช่วง 2 พันปีกว่ามีก่อนอารยธรรมกรีกโบราณโดยจารีตประเพณี พิจารณากฎหมายในแง่เป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับทั้งความยุติธรรมและจริยธรรม ปรัชญากฎหมายธรรมชาติของกรีกโบราณหรือเรียกว่าบุคคลคลาสสิค ก็จัดอยู่ในกระแสความคิดดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภายหลังปรัชญากฎหมายธรรมชาติจะมีการอธิบายความกันอยู่หลายแนวแต่ละยุค หากการเน้นเราอาจสรุปสิ่งที่เป็นหลักการสำคัญในกฎหมายธรรมชาติ ได้เป็นข้อ ๆ ดังนี้ คือ
1.(เชื่อว่า) มีสิ่งที่เป็นหลักคุณค่าสัมบูรณ์ (Absolute values) และอุดมคติซึ่งเกิดขึ้นจากหลักคุณค่าเหล่านั้น ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นเกณฑ์พื้น (Touchstones) ในการตรวจสอบความสมบูรณ์แห่งกฎหมายต่าง ๆ
2.ในธรรมชาติมีระเบียบอันแน่นอนหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยความมีเหตุผล (Rational) ซึ่งมนุษย์สามารถรับรู้ได้ (โดยอาศัยเหตุผลในธรรมชาติของมนุษย์) ดังนั้นบรรทัดฐานแห่งการกระทำของมนุษย์จึงอาจพิจารณาว่า “กฎแห่งธรรมชาติ” (Law of Nature) (กฎหมายธรรมชาติ)
3.หากสังเกตตรวจสอบและเข้าใจได้อย่างถูกต้องธรรมชาติจักให้เกณฑ์บรรทัดฐานซึ่งทำให้เราสามารถตระหนักได้ถึงหลักคุณค่า อันมีเนื้อหาที่สามารถหยั่งรู้ได้เป็นนิรันดร์และสากล และจากหลักคุณค่านี้เองซึ่งเราอาจช่วยให้เราได้มาซึ่งข้อกำหนดเชิงคุณค่า (Valuestatement) อันถูกต้องเหมาะสม
4.สิ่งที่ดี/มีคุณประโยชน์ คือ สิ่งที่สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ สิ่งที่เลว ชั่วร้าย คือ สิ่งที่ขัดแย้งกับธรรมชาติ
5.กฎหมายซึ่งขาดไร้ความสมบูรณ์ทางศีลธรรมถือเป็นความผิดบกพร่องและไม่เป็นธรรม เป็นกฎหมายธรรมชาติสร้างความเป็นโมฆะแก่คำประกาศกฎหมายบางบทบัญญัติขึ้น (Positive Law) (อย่างไร้ศีลธรรม) และวางเกณฑ์อุดมคติซึ่งกฎหมายที่บัญญัติขึ้นควรบรรลุเป้าหมาย
กฎหมายธรรมชาติ ภาพรวมของกฎหมายธรรมชาตินั้นเป็นปรัชญาที่มีบทบาทสำคัญที่พยายามโน้มน้าวให้ผู้ปกครอง นักกฎหมายได้เห็นความสำคัญของคุณค่าศีลธรรมหรือคุณค่าของสิ่งที่เป็นความยุติธรรมว่าต้องมีในกฎหมาย นอกจากนั้นปรัชญาสายนี้ยังมีบทบาทในการส่งเสริมและผลักดันแนวความคิดเรื่อง สิทธิมนุษยชน (Human Right)
หนังสือและเอกสารอ่านเพิ่มเติม
หนังสือ
จรัญ โฆษณานันท์ “นิติปรัชญา” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2538
จรัญ โฆษณานันท์ “สิทธิมนุษยชนไร้พรมแดน ปรัชญากฎหมายและความเป็นจริงทางสังคม” กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์นิติธรรม,2545
ปรีดี เกษมทรัพย์ “นิติปรัชญา ภาคสองบทนำทางประวัติศาสตร์” คณะกรรมการบริการทางวิชาการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,2526
รองพล เจริญพันธ์ “นิติปรัชญา” กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2528
สมยศ เชื้อไทย “ความรู้นิติปรัชญาเบื้องต้น” กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน,2536
เอกสารและวารสาร
ปรีดี เกษมทรัพย์ “กฎหมายคืออะไรในแง่นิติปรัชญา”วาสารนิติศาสตร์,ฉบับที่ 3 ปีที่ 11,2523
วิชา มหาคุณ “ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ หลักยุติธรรมแห่งกฎหมาย”วารสารดุลพาหเล่มที่ 2 ปีที 27 มีนาคม-เมษายน2523
plato theory 在 Plato: A Theory of Forms | Issue 90 | Philosophy Now 的相關結果
Plato says that true and reliable knowledge rests only with those who can comprehend the true reality behind the world of everyday experience. In order to ... ... <看更多>
plato theory 在 The Theory of Forms by Plato: Definition & Examples - Study ... 的相關結果
In basic terms, Plato's Theory of Forms asserts that the physical world is not really the 'real' world; instead, ultimate reality exists beyond ... ... <看更多>
plato theory 在 Theory of forms - Wikipedia 的相關結果
The theory of Forms or theory of Ideas is a philosophical theory, concept, or world-view, attributed to Plato, that the physical world is not as real or ... ... <看更多>