เพิ่มเติมเรื่องแสงซินโครตรอน อธิบายง่ายๆ ซิงโครตรอน คือการเอาอนุภาค เช่น อิเล็คตรอน มาเร่งความเร็วจนเกือบจะมีความเร็วเท่าแสง แล้วอิเล็คตรอนปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มีอำนาจทะลุทะลวงสูง และสามารถเอาไปประยุกต์ในด้านวิทยาศาสตร์ นิติวิทยาศาสตร์ การแพทย์ โบราณคดี อุตสาหกรรม บลาๆ ได้หลากหลาย เราเรียกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านี้ว่า แสงซินโครตรอน และเมื่อปล่อยให้แสงซิงโครตรอนพุ่งไปชนกับตัวอย่างที่เราต้องการตรวจ การกระเจิงแสง การดูดกลืนแสง การปลดปล่อยแสง การเรืองรังสี ของสารแต่ละอย่างที่เป็นองค์ประกอบในตัวอย่างนั้นๆ ก็จะถูกเก็บข้อมูลไปประมวลในคอมพิวเตอร์ จนรู้ว่าในตัวอย่างนั้นๆมีสารอะไรเป็นองค์ประกอบบ้าง
รูปแบบการเอาแสงซิงโครตรอนไปประยุกต์ เช่น มีการใช้แสงซิงโครตรอน ศึกษากระจกของวัดพระแก้ว จนรู้องค์ประกอบว่า กระจกที่ใช้ประดับวัดพระแก้ว มีธาตุไหนเป็นองค์ประกอบ ทำให้ จนท ที่เกี่ยวข้อง สามารถผลิตกระจกที่สีเหมือนกับของเดิมเด๊ะๆ มาใช้ในการบูรณปฎิสังขรณ์ในอนาคตได้
หรืออย่างในแง่อุตสาหกรรม เคยมีประเด็นที่ กุ้งจากไทย ส่งออกไป ตปท แล้วเจอ ตปท โวยว่าเจอจุดขาวที่เปลือกกุ้ง เป็นการปนเปื้อนสารเคมีหรือกุ้งเป็นโรคอะไรรึเปล่า ก็มีการเอากุ้งที่ว่า มาตรวจด้วยแสงงซินโครตรอน จนเจอว่า ไอ้จุดขาวนั่น เป็นการหดตัวของเปลือกกุ้งจากการแช่แข็ง ไม่ใช่โรคหรือสารเคมีอะไรทั้งนั้น กุ้งที่ส่งออกไปก็ไม่ถูกตีกลับ ต่างชาติก็รับไปขายกันต่อตามปรกติ
ส่วนในแง่การใช้งานกับนิติวิทยาศาสตร์ นอกจากเคสที่ญี่ปุ่นที่เล่าไป ยังมีการประยุกต์ใช้อีกหลายรูปแบบมาก
ยกตัวอย่างเช่น เคสเหญิงวัยรุ่น จมน้ำเสียชีวิตที่นิวเซาท์เวลล์ในปี 1988 มีผู้ต้องสงสัยที่ตำรวจคาดว่าน่าจะเป็นคนร้าย แต่ยังไม่มีพยานหลักฐานมัดตัวชัดเจน จนกระทั่งเวลาผ่านไป 17ปี เทคโนโลยีเกี่ยวกับแสงซินโครตรอนได้รับการพัฒนามากขึ้น จึงมีการเอา เศษดินที่ติดอยู่กับรองเท้าของกลาง และผลการวิเคราะห์ธาตุของดินด้วยแสงซิงโครตรอน ก็พบว่าเป็นดินจากจุดเดียวกับที่พบศพเด๊ะๆ จนนำไปสู่การดำเนินคดีเอาผิดคนร้ายใน 17 ปีให้หลัง เมื่อมีหลักฐานยืนยันว่า คนร้ายอยู่ในจุดเดียวกับที่ๆพบศพแน่ๆ
ใครสนใจอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับแสงซินโครตรอนเพิ่มเติม เชิญที่เพจ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) SLRI
https://www.facebook.com/SLRI.THAILAND
อ้างอิง
http://www.smectech.com.au/ACMS/ACMS_Conferences/ACMS23/Program/Abstracts/S2-02%20Fitzpatrick%20et%20al.pdf
https://www.slri.or.th/th/what-is-synchrotron-light/forpeople.html
https://www.mhesi.go.th/images/STBookSeries/BS015SynchrotronLight.pdf
同時也有10000部Youtube影片,追蹤數超過2,910的網紅コバにゃんチャンネル,也在其Youtube影片中提到,...
slri 在 Drama-addict Facebook 的精選貼文
สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) SLRI โพสเรื่องการใช้แสงซินโครตรอนคลี่คลายคดีที่ ญป ครับ
slri 在 Cherprang BNK48 Facebook 的最讚貼文
เปิด 10 เทรนด์ ทางเทคโนโลยีที่กำลังมาแรง ปี 2019
.
เชื่อว่าในปี 2019 จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายในวงการเทคโนโลยี มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปบ้าง ถ้าพร้อมแล้วแสงซินโครตรอนรวม 10 เทรนด์ ไว้ให้ด้านล่างแล้วครับติดต่ามอ่านกันได้เลย
.
1. พลาสติกชีวภาพ (bioplastics for a circular economy)
คือพลาสติกย่อยสลายได้ เพราะตัวโครงสร้างถูกผลิตขึ้นจากวัสดุจากธรรมชาติอย่างพืช แต่แน่นอนว่าก็ยังมีกระแสยิงกลับมาว่า มันไม่แข็งแรงพอสำหรับการใช้งาน นักวิจัยจึงหาทางแก้ไข เพื่อช่วยเพิ่มความเเข็งแรงให้ทนมากยิ่งขึ้น โดยใช้กากใยจากของเสียทางการเกษตร อย่าง เซลลูโลสหรือลิกนิน
.
2. หุ่นยนต์ที่เป็นเพื่อนกับมนุษย์ (social robots)
เมื่อก่อนคงเป็นเรื่องน่าขำที่หุ่นยนต์ของเล่นคู่ใจของเด็กๆ จะกลายมาขับเคลื่อนโลก แต่พอมาปัจจุบันเราคงขำกันไม่ออกเพราะ มนุษย์ได้พิสูจย์ให้เห็นแล้วว่าศักยภาพของหุ่นยนต์ไม่ได้เป็นแค่เพื่อนเล่นเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้ช่วยชีวิตประจำวันของเรา คอยช่วยเราดูแลผู้สูงอายุ สอนหนังสือเด็ก ที่เป็นแบบนั้นเพราะมันสามารถรับรู้เสียง สีหน้า และอารมณ์ของคนได้ สามารถแปลคำพูดและท่าทาง รวมถึงรู้จักที่จะสบตาคนและประมวลผลเพื่ออยู่รวมและช่วยเหลือ
.
3. เมทัลเลนส์ (Metalenses)
ได้เกิดขึ้นมาจากข้อจำกัดของเลนส์บนสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ แต่ข้อจำกัดได้หมดไปเมื่อความก้าวไกลของฟิสิกส์ได้ขยับขึ้นมาอีกขั้น อย่าง ‘เมทัลเลนส์’ เลนส์ขนาดบางเบา และเล็กกว่าเดิม ซึ่งในอนาคตคาดว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ อาจจะมีไซส์ที่เล็กลงแต่ศักยภาพมากกว่าเป็นคูณสอง
.
4.การยับยั้งโปรตีนที่ผิดปกติ (disordered proteins as drug targets)
ความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้ โรคมะเร็ง ซึ่งเกิดจากโปรตีนที่เรียกว่า Intrinsically Disordered Proteins ( IDPs) สามารถทำการรักษาได้แล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ โปรตีนชนิดนี้ไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน ทำให้มันสามารถเปลี่ยนรูปได้ และส่งผลให้การรักษาไม่สำเร็จ ซึ่งต่างจากเวลานี้
.
5. ปุ๋ยอัจฉริยะ (smarter fertilizers)
Smart Farm เกษตรอัจฉริยะกำลังคึกคักในหลายพื้นที่ นักวิจัยจึงพัฒนาปุ๋ยชนิดใหม่ที่ใช้สารอย่างไนโตรเจนและสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาก เนื่องจากก่อนหน้านี้ปุ๋ยจะมีส่วนผสมอันตรายอย่างแอมโมเนีย ยูเรีย และโปแตสเซียมที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ อีกทั้งปุ๋ยรุ่นใหม่นี้ยังทำให้พืชดูดซับสารอาหารได้ดีกว่าด้วย
.
6. การประชุมทางไกลร่วมกัน (collaborative telepresence)
เชื่อไหมว่าต่อจากนี้ไปการประชุมทางไกลจะเชื่อมโยงคนทั้งสองสถานที่ได้ไม่ใช่แค่เห็นหน้ากัน แต่นั่นหมายถึงจับมือทักทายกันได้ด้วยเพราะ เทคโนโลยีล่าสุดจะนำ AR กับ VR มารวมกัน ประกอบกับเซ็นเซอร์ล้ำสมัยผสานไปกับเทคโนโลยี 5G เพียงเท่านี่ถึงแม้จะอยู่กันคนละซีกโลกก็สามารถเจอและสัมผัสกันได้เสมือจริงแล้ว มิหน้ำซ้ำยังล้ำไปถึง หมอตรวจอาการคนไข้ได้เลย
.
7. บล็อกเชนติดตามอาหาร (advanced food tracking and packaging)
เทคโนโลยีบล็อกเชนจะเปลี่ยนโลกของอาหารให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สมัยอดีตในแต่ละปีจะมีคน 600 ล้านคนทั่วโลกบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนเข้าไป และนักวิจัยใช้เวลานานกว่าจะหาต้นตอของสารนั้นเจอ แต่พอมีบล็อกเชนเข้ามา เทคโนโลยีนี้จะติดตามได้ภายในไม่กี่นาที ทั้งติดตามกระบวนการขนส่งอาหาร และช่วยระบุวันที่อาหารหมดอายุได้อย่างแม่นยำที่สายตามนุษย์ไม่สามารถทำได้
.
8. เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ปลอดภัยขึ้น (safer nuclear reactors)
แค่ได้ยินชื่อว่า นิวเคลียร์ ใครๆก็หวาดกลัวเพราะไม่รู้ว่าเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จะระเบิดมาตอนไหน ถึงแม่จะเป็นพลังงานที่ดีไม่ปล่อยก๊าซพิษ แต่ก็หลีกเลี่ยงความกลัวดังกล่าวไม่ได้ ซึ่งในเร็วๆนี้ นิวเคลียร์จะเป็นพลังงานที่ทุกคนอุ่นใจมากขึ้น เพราะปลอดภัย ด้วยเทคโนโลยีใหม่จะช่วยลดโอกาสในการเกิดความร้อนในเครื่องลงและไม่ก่อให้เกิดไฮโดรเจน
.
9. ระบบการเก็บข้อมูลใน DNA (DNA data storage)
โลกที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลดิจิทัลจึงมากล้นมหาศาล หากเรายังไม่มีการพัฒนาการเก็บข้อมูลแน่นอนว่า ข้อมูลก็อาจจะสูญหาย เหตุนี้จึงทำให้เกิดงานวิจัยทดลองเก็บข้อมูลใน DNA และโชคดีที่พบว่ามันใช้พลังงานน้อยมากเมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ และจัดเก็บได้มากกว่า ดูเหมือนว่า DNA จะเก็บข้อมูลดิจิทัลอันมหาศาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
.
10. แหล่งจัดเก็บพลังงานหมุนเวียน (utility-scale storage of renewable energy)
ในวันข้างหน้าจะมีการพัฒนาแบตเตอรี่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากแบตเตอรี่เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จัดเก็บพลังงานหมุนเวียน เหตุที่ต้องพัฒนาเป็นเพราะว่า ปัญหาของพลังงานหมุนเวียนคือการจัดเก็บพลังงาน จะแก้ไขได้ก็ต้องหาเครื่องมือที่สามารถจัดเก็บพลังงานหมุนเวียนได้อย่างเต็มศักยภาพ แบตเตอรี่จึงเป็นคำตอบของโจทย์นี้
.
ที่มา
http://www3.weforum.org/…/WEF_Top_10_Emerging_Technologies_…
MNltg-wKdLY-aC04yjuGhdA7Xd4PDl-_WJA1KyM6S14PB8
.
ติดตามความรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อการพัฒนาธุรกิจและคุณภาพชีวิต
อย่าลืม กด Like หรือ See First เพจนี้ไว้นะครับ
และเรายังมีวิดีโอ กับเนื้อหาดีๆ อีกมากมายรออยู่
อย่าลืมกด Subscribe Channel ของเราที่
https://www.youtube.com/user/SLRIpr?sub_confirmation=1
สาระและวิทยาศาสตร์สนุกๆ จะปลุกความรู้ให้ชีวิต
______________________________
ติดต่อขอใช้บริการได้ที่ ซินโครตรอนไทยแลนด์ เซ็นทรัลแล็บ
Synchrotron Thailand Central Lab
โทร. 044-217040 ต่อ 1602-5
โดย สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)
Synchrotron Light Research Institute (Public Organization)
www.slri.or.th
#ซินโครตรอนไทยแลนด์เซ็นทรัลแล็บ #สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน #SLRI