สรุปประเด็นจากห้อง Clubhouse
ทำไมเงินถึงไหลเข้ากองทุน ESG ถึง 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ?
Clubhouse BBLAM x ลงทุนแมน
ถ้าพูดถึง Theme การลงทุนพลังงานสะอาด หลายคนก็มักจะติดภาพความน่าเบื่อ และไม่ตื่นเต้น
แต่หลังจากที่ ลงทุนแมน ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์คือ คุณมทินา วัชรวราทร CFA®, Head of Investment Strategy กองทุนบัวหลวง ในวันพุธที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมา
ก็พบว่า Theme พลังงานสะอาด ไม่ได้น่าเบื่ออย่างที่หลายคนคิด นอกจากนั้นยังเป็น Theme ที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงรอบใหญ่ของโลก และยังเกี่ยวโยงกับหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่กำลังเติบโตในอนาคต อีกด้วย
ความน่าสนใจของเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร
ลงทุนแมนจะมาสรุปให้ฟังง่าย ๆ 9 ข้อ..
1. ทำไมกระแส ESG จึงกลายเป็นที่พูดถึงในตอนนี้ ?
พลังงานสะอาดคือ เทรนด์การลงทุนที่สำคัญมากในอนาคต และไม่ใช่แค่เทรนด์ระยะสั้น
สังเกตได้จากเม็ดเงินที่ไหลเข้ากองทุน ESG ทั่วโลกแตะ 1,000,000,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ อ่านว่า “1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ” เป็นครั้งแรก
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในยุโรป และการลงทุนใน ESG ยังให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย จึงเป็นหลักของการลงทุนที่เรียกว่า Green and Great Return
ถ้าเราลองมาดูผลตอบแทนของ กองทุน Pictet Global Environmental กองทุนรวมที่ลงทุนในธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นกองทุนหนึ่งที่ B-SIP เข้าไปลงทุน ก็ให้ผลตอบแทนดีในหลายไตรมาส
และหากลงทุนตั้งแต่ก่อตั้งกองทุนในปี 2014 ก็จะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีเท่ากับ 14.92% ถือว่าทำได้ดีกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนในดัชนีโลกที่มีทั้ง ESG และไม่มี ESG ที่ให้ผลตอบแทนเพียง 10%
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การลงทุนกองทุนที่ลงทุนในธุรกิจที่ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
ก็เป็นเพราะว่าบริษัทที่ยึดหลัก ESG จะมีคุณภาพทั้งด้านรายได้ กำไร และผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น ดีกว่า บริษัททั่ว ๆ ไป
ทำให้สามารถกำหนดราคาสูงขึ้นได้ ดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงานได้ง่าย รวมทั้งยังมีโอกาสด้านต้นทุนการกู้ยืมที่ถูกกว่า เสียดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า และธนาคารปล่อยสินเชื่อง่ายกว่าอีกด้วย
2. ทำไม พลังงานสะอาด จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรอบใหญ่ของโลก ?
สิ่งที่ทำให้ กองทุนบัวหลวงมองว่า พลังงานสะอาดจะไม่ใช่เทรนด์ระยะสั้น
ก็คือการสังเกตคลื่นนวัตกรรมเปลี่ยนโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมาแล้ว 5 คลื่นด้วยกัน นั่นคือ
- คลื่นที่ 1 คือ การปฏิวัติอุตสาหกรรม
- คลื่นที่ 2 คือ การเริ่มใช้พลังงานไอน้ำ
- คลื่นที่ 3 คือ การใช้รถยนต์แทนม้า
- คลื่นที่ 4 คือ การเดินทางโดยเครื่องบิน
- คลื่นที่ 5 คือ โลกออนไลน์ เช่น Microsoft, Facebook, Amazon, Netflix
สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่กินระยะเวลายาวนานหลายสิบปี และนำมาซึ่งกิจการขนาดใหญ่ที่มีความมั่งคั่งมากขึ้น
แต่ในโลกอีก 25 ปีข้างหน้า สิ่งที่จะกลายเป็นประเด็นสำคัญ และทั่วทั้งโลกกำลังเผชิญเหมือนกันอยู่ก็คือ “ภาวะโลกร้อน”
เพราะฉะนั้น คลื่นที่ 6 ก็คือ “เทคโนโลยีพลังงานสะอาด” ซึ่งจะเป็นหนึ่งเทรนด์ต่อจากนี้ไปอีก 25 ปี พร้อม ๆ กับ Robotics, Drones, AI, IoT สิ่งนี้เองที่จะเป็นแนวทางให้เราได้ว่า โลกในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางไหน แล้วเราควรจะลงทุนอะไรต่อไป
3. สัญญาณสำคัญที่ชี้ว่า โลกกำลังอยู่ในช่วงต้น คลื่นที่ 6 พลังงานสะอาด คืออะไร ?
กองทุนบัวหลวงมองว่า Megatrends จะต้องมี 3 องค์ประกอบ คือ
1. ความร่วมมือระดับโลก
2. การเห็นด้วยจากรัฐบาล
3. ความร่วมมือภาคเอกชน
เมื่อครบทั้ง 3 องค์ประกอบนี้ เงินลงทุนก็จะหลั่งไหลมายังเทรนด์นั้น ๆ อย่างแน่นอน ซึ่งเทรนด์ ESG ตอนนี้มีครบทั้ง 3 องค์ประกอบเรียบร้อยแล้ว
เริ่มต้นด้วยความร่วมมือระดับโลกคือ ข้อตกลง Paris Agreement จาก UN
ที่ต้องการให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันภัยพิบัติต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน
ต่อมาคือ การขานรับนโยบาย จากรัฐบาลของประเทศมหาอำนาจ
เราได้เห็นประเทศต่าง ๆ ในยุโรปมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ เช่น
- European Green Deal เพื่อที่จะลดการปล่อยคาร์บอนให้เหลือศูนย์ ภายในปี 2050
- European Climate Law กฎหมายที่พูดถึงการลดการปล่อยมลพิษลงอย่างน้อย 55% ภายในปี 2030
นอกจากนี้มหาอำนาจอย่าง “สหรัฐอเมริกา” ก็ได้จัดตั้งแผนงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อม เช่น
- แผนที่ 1 วงเงิน 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการผลิตรถยนต์ EV และแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน
- แผนที่ 2 วงเงิน 5.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานพลังงานสีเขียว ซึ่งภายในปี 2035 สหรัฐอเมริกาตั้งเป้าจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 40% ของพลังงานทั้งหมด
ขณะเดียวกัน มหาอำนาจซีกโลกตะวันออกอย่าง “จีน” ที่แม้จะยังคงใช้พลังงานถ่านหินเป็นหลัก แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจะมีสัดส่วนพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปี 2035 เป็นต้นไป
โดยล่าสุดประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ยังกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม ไว้ในแผนการพัฒนาประเทศฉบับที่ 14 ซึ่งจะลดการปล่อยคาร์บอนต่อสัดส่วนของ GDP ลง 65% และจะเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน 25% ภายในปี 2030 อีกด้วย
หรือประเด็นรถยนต์ไฟฟ้า แม้ในปี 2020 ยุโรปขายรถยนต์ EV ไปแล้ว 1.3 ล้านคน ขณะที่จีนขายรถยนต์ EV ไปแล้ว 1.2 ล้านคัน แต่ก็มีการคาดการณ์ว่าจีนจะสามารถแซงหน้าและกินส่วนแบ่ง 20% จากตลาดรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2025 ได้ไม่ยากเลย
4. แล้วภาครัฐและภาคเอกชน เชื่อมั่นใน Megatrends เรื่องพลังงานสะอาด แค่ไหน ?
ผลสำรวจของ UBS หรือธนาคารเพื่อการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของสวิตเซอร์แลนด์
ที่ได้สอบถามองค์กรต่าง ๆ ว่าอยากลงทุนใน Theme อะไรเป็นอันดับหนึ่ง
ปรากฏว่า 2 ใน 3 ตอบว่า จะลงทุนในพลังงานสะอาด เพราะเป็นปัญหาที่โลกเราต้องแก้ไข และยังให้ผลตอบแทนที่ดีด้วย
ซึ่งหากลงทุนในด้านพลังงานทดแทนเป็นระยะเวลา 5 ปี เมื่อเทียบกับการลงทุนในพลังงานแบบเก่า
จะเห็นว่า ผลตอบแทนแตกต่างกันค่อนข้างมาก จุดนี้เองที่บอกว่ามันคือ Green and Great Return
นอกจากนี้กองทุนใหญ่ ๆ ก็ประกาศเข้ามาลงทุนในเรื่องพลังงานสะอาดเช่นกัน
เช่น Cathie Wood ผู้จัดการกองทุน ETF ARK
ประกาศว่าจะทำกองทุน ETF ใหม่ ที่ใช้ ESG Score ทั้งสามด้าน
คือ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล
โดยจะไม่ลงทุนในบริษัทที่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม หรือไม่ส่งผลดีต่อสังคม
ขณะเดียวกัน กองทุนมหาวิทยาลัย Harvard ที่มีขนาด 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ประกาศหยุดการลงทุนในบริษัทที่ผลิตพลังงานฟอสซิลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
รวมทั้งบริษัทผลิตน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Saudi Aramco ก็ประกาศลงทุนในพลังงานสะอาด
โดยลงทุนในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในซาอุดีอาระเบีย
นอกจากนี้ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ยังวางเป้าหมายประเทศว่าจะใช้พลังงานสะอาดให้ได้ 50% ภายในปี 2030 และจะไม่ได้ลงทุนแค่พลังงานลมและแสงอาทิตย์ แต่ยังลงทุนในพลังงานไฮโดรเจน อีกด้วย
5. แล้วอะไรคือ ความเสี่ยงของเทรนด์ ESG และพลังงานสะอาด ?
ความเสี่ยงของ ESG พลังงานสะอาดอย่างแรกคือ กองทุนที่เสนอขายเป็น ESG จริงหรือไม่ แล้วมีมาตรฐานขอบเขตการลงทุนด้านพลังงานสะอาดที่ชัดเจนจริง ๆ หรือไม่
ความเสี่ยงที่สองคือ ต้องระวังว่าบริษัทที่เกี่ยวกับพลังงานสีเขียวนี้ มีราคาแพงไปแล้วหรือยัง มีฟองสบู่ที่เรียกว่า Green Bubble จากเม็ดเงินที่เข้าไปลงทุน 1.65 แสนล้านในปี 2019 และอีกกว่า 3.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 อยู่หรือไม่
ดังนั้น วิธีการลงทุนที่สำคัญ คือ การเลือกกองทุนที่ใส่ใจเรื่อง Valuation และใช้เรื่องมูลค่ามาเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสำคัญในการลงทุน
6. แล้วเราควรเลือกลงทุนใน ธุรกิจพลังงานสะอาด อย่างไร ?
เราลองมาดูตัวอย่างธุรกิจที่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า การขนส่ง การทำการเกษตร ว่าจะสามารถ Green and Great Return ไปพร้อมกับการให้ผลตอบแทนที่ดีได้จริงหรือไม่
เริ่มต้นที่ Orsted บริษัทพลังงานลมนอกชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดในโลกของเดนมาร์ก เดิมทีเคยเป็นบริษัทพลังงานถ่านหินเก่าแก่มาตั้งแต่ปี 1972 โดย 85% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากฟอสซิล
จากนั้นในปี 2008 ก็พลิกธุรกิจครั้งใหญ่มาสู่เส้นทางพลังงานสะอาด โดย 85% ของการผลิตไฟฟ้ามาจากพลังงานสีเขียว และเดินทางสู่การเป็นบริษัทพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดของโลกได้สำเร็จ
ซึ่งรู้หรือไม่ว่า กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ หรือ GULF บริษัทพลังงานของไทย ก็ได้ร่วมลงทุนใน Orsted เช่นกัน เพราะมองเห็นนวัตกรรมของพลังงานลมที่ดีที่สุดในโลกของ Orsted โดย 1/3 ของพลังงานลมของโลก มาจากบริษัทนี้
ที่น่าสนใจก็คือ ราคาของพลังงานลม ถูกกว่า ราคาพลังงานของถ่านหินไปเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2018 และยังคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 พลังงานลมและแสงอาทิตย์จะเป็นแหล่งพลังงานที่ถูกที่สุดในโลก
ในแง่ของ Green and Great Return อย่าง Orsted เริ่มเข้าตลาดปี 2016 ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ราคาปรับตัวขึ้นเฉลี่ย 96% ต่อปี
ขณะเดียวกันยังมีรายได้เติบโตเฉลี่ย 30% ต่อปี และจะเป็นเช่นนี้ต่อเนื่องไปอย่างน้อยถึงปี 2050 ส่วนหนึ่งเป็นเพราะยังมีโอกาสขยายตลาดไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อีกมาก เช่น อินเดีย ญี่ปุ่น
7. ธุรกิจพลังงานสะอาดที่ไม่พูดไม่ได้ในตอนนี้ ก็คือ EV ?
เราทราบดีอยู่แล้วว่า หนทางลดปัญหามลภาวะจากการใช้รถยนต์ก็คือ การหันมาใช้รถยนต์ EV หรือรถไฟฟ้า แต่สงสัยไหมว่า ทำไมเทรนด์นี้จึงกลายเป็นโอกาสลงทุนมหาศาลในอนาคต
จากข้อมูลคาดการณ์ว่า ยอดขายรถยนต์ EV จะเพิ่มขึ้น 18 เท่าในอีกสิบปีข้างหน้า แสดงว่าอาจเพิ่มขึ้นสองเท่าทุก ๆ ปี ซึ่งในอนาคตรถยนต์ทั่วโลกจะกลายเป็นรถยนต์ EV อย่างน้อย 80%
เหตุผลก็เพราะว่า ราคารถยนต์ไฟฟ้าจะถูกลงเรื่อย ๆ สังเกตได้จาก ลิเทียมไอออนแบตเตอรี่ ที่มีราคาถูกลง 88% เมื่อเทียบกับสิบปีก่อน หากราคายังคงลดลงเรื่อย ๆ ก็เชื่อว่า ราคารถยนต์ EV และรถยนต์สันดาป จะมีระดับราคาใกล้เคียงกัน
นอกจากนี้ นโยบายของประเทศแถบยุโรปยังให้ความสำคัญเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยจะยกเลิกการขายรถยนต์สันดาปแล้วจริง ๆ เช่น สวีเดน ประกาศยกเลิกในปี 2025 หรืออังกฤษ ก็ประกาศยกเลิกในปี 2035
พอเป็นแบบนี้ แบรนด์รถยนต์ต่าง ๆ จึงต้องปรับตัวกันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์เก่าแก่อย่าง Honda, Toyota หรือแบรนด์ใหม่อย่าง Tesla, BYD, XPeng แม้กระทั่งค่ายเก๋าอย่าง Harley-Davidson, Porsche ก็ต้องปรับตัวตามเช่นกัน
ที่น่าสนใจก็คือ การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมรถยนต์รอบนี้ ทิศทางเงินลงทุนไม่ใช่แค่ส่วนของรถยนต์ EV เพียงอย่างเดียว แต่จะไปถึง Supply Chain ต่าง ๆ ทั้งหมด เช่น
- บริษัทผลิตแบตเตอรี่
- บริษัทชิป Semiconductor
- บริษัท Software ที่ทำ ADAS (รถยนต์ไร้คนขับ Autonomous Driving) และบริษัท Simulation ทำการจำลองการขับรถ
ทีนี้ลองมาดูตัวอย่างธุรกิจรถยนต์ EV ที่กองทุน B-SIP เข้าไปลงทุนกันบ้าง
XPeng อ่านว่า เสี่ยวเผิง เป็นบริษัทรถยนต์ EV เน้นตลาดระดับกลางเเละระดับสูงในจีน ที่เรียกได้ว่าท้าชนกับ Tesla ได้เลย เช่น รถยนต์ EV รุ่น XPeng P7 ที่มีราคาเปิดตัวล้านกว่าบาท ชาร์จหนึ่งครั้งจะวิ่งได้ 700 กิโลเมตร โครงสร้างต่าง ๆ มาจากการออกแบบของวิศวกรที่มาจาก Apple, Tesla
XPeng ยังใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ อย่าง 5G, AI ซึ่งตอนนี้ก็มีเทคโนโลยี Autonomous Driving เรียบร้อยแล้ว และยังใช้แบตเตอรี่ของ CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่จีนที่ใหญ่ที่สุด ที่เพียงใช้เวลา 30 นาที ก็สามารถชาร์จได้ 80% อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ กองทุน B-SIP จึงไม่พลาดที่จะเข้าไปลงทุน IPO ปีที่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจพลังงานสะอาดที่มี Green and Great Return เลยทีเดียว
8. นอกจาก พลังงานลม และรถยนต์ EV ยังมีธุรกิจไหนจะเป็นเทรนด์อนาคตได้อีกบ้าง ?
เริ่มต้นด้วยเรื่องใกล้ตัว อย่างอาหารที่เรียกว่า “Beyond Meat” ซึ่งเป็นธุรกิจผู้ผลิตอาหารคล้ายเนื้อที่ไม่ได้มาจากเนื้อจริง ๆ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมเรื่องปัญหาดิน ปัญหาน้ำ และปัญหามลพิษ
โดยในปี 2050 คาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก 2.8 พันล้านคน และจะตามมาด้วยปริมาณอาหารที่ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
หากเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จำเป็นต้องใช้พื้นที่เลี้ยงสัตว์และปัจจัยต่าง ๆ มากกว่าการปลูกพืชอย่างมาก เช่น การเลี้ยงวัว จะใช้ที่ดินมากกว่า 18 เท่า รวมทั้งใช้น้ำและพลังงานมากกว่า 10 เท่า และยังจะปล่อย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซมีเทน ออกมาจากร่างกายอีกด้วย
จึงไม่แปลกใจเลยว่า สัดส่วน 79% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการเกษตรมาจาก “การเลี้ยงสัตว์”
ปัจจุบัน Beyond Meat กำลังขยายฐานลูกค้าได้ดี สังเกตได้จากแบรนด์อาหารต่าง ๆ ที่หันมานำเสนอผลิตภัณฑ์จาก Beyond Meat มากขึ้นทั่วสหรัฐอเมริกา
เช่น แมคโดนัลด์, เอแอนด์ดับบลิว, Dunkin'
และยังกระจายไปตามร้านสะดวกซื้อ ที่เราสามารถซื้อกลับไปปรุงอาหารที่บ้านได้เองอีกด้วย
Beyond Meat กลายเป็นบริษัทที่น่าจับตามอง และเข้า IPO ในปี 2019 ที่มีมูลค่าบริษัท 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาในปีนี้มูลค่าบริษัทเพิ่มขึ้นมาเป็น 9.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นสองเท่ากว่า ๆ ภายในสองปี นอกจากนี้ยังมีรายได้ปี 2020 เติบโต 36% อีกด้วย
นอกจากธุรกิจอาหารแล้ว ก็ยังธุรกิจอื่น ๆ ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เช่น
- Schneider Electric เป็นบริษัทผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ลิฟต์ ที่มีการคำนวณการใช้งานแบบประหยัดพลังงาน ซึ่งในอนาคตหากอาคารไหนเป็นอาคารประหยัดพลังงาน ก็จะสามารถเรียกค่าเช่าสูงขึ้นได้
- Equinix เป็นบริษัทโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของโลก เป็นศูนย์จัดเก็บข้อมูลที่ไม่สามารถหยุดทำงานได้ ต้องใช้ไฟตลอดทั้งวันทั้งคืน ปัจจุบันบริษัทสามารถใช้พลังงานหมุนเวียน 92% ของพลังงานทั้งหมด
- Ansys เป็นบริษัทจำลองผล จำลองสถานการณ์สำหรับรถยนต์, เครื่องบิน และอื่น ๆ เพื่อช่วยลดปริมาณการสูญเสียทรัพยากรในช่วงของการทดสอบ
เช่น Dyson แบรนด์เครื่องเป่าผมของผู้หญิง ทำให้แห้งเร็วขึ้นและดีขึ้น
Ansys เข้ามาช่วยคำนวณทิศทางลม, ลมแรง และค้นหาประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยใช้ซอฟต์แวร์จำลองผลการทดสอบ ช่วยประหยัดทรัพยากร และประหยัดต้นทุนไปได้อย่างมาก
สรุปแล้ว แค่ Theme พลังงานสะอาดอย่างเดียว ก็ทำให้เราเห็นโอกาสของธุรกิจหลากหลายสาขา
ไม่ว่าจะเป็น การผลิตไฟฟ้าที่จะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนด้วยพลังงานลม
หรือจะเป็นการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์ที่จะเปลี่ยนทั้ง EV Supply Chain
รวมทั้ง การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนด้วยอุตสาหกรรมอาหาร และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือมากขึ้น นั่นเอง
9. แล้วเราจะเข้าถึงโอกาสการลงทุนในบริษัทเหล่านี้ได้อย่างไร ?
กองทุน B-SIP เป็นหนึ่งกองทุนเพื่อตอบโจทย์การลงทุนในพลังงานสะอาดโดยตรง และมีจุดเด่นด้วยสไตล์การลงทุนของกองทุนบัวหลวง ที่จะเฟ้นหาธุรกิจดีมีคุณภาพและเติบโต ซึ่งจะสร้างความแตกต่างจากกองทุนอื่นทั่วไป นั่นคือ
1. เน้นลงทุนธุรกิจรักษาสิ่งแวดล้อม ที่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ในอนาคตที่เรียกว่า Green and Great Return นั่นเอง
2. มองว่าเทรนด์รักษาสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด จะเป็น Megatrends ของโลกที่เพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น จึงเชื่อว่า Theme นี้มีความน่าสนใจและสามารถลงทุนระยะยาวได้
3. เปลี่ยนภาพจำว่า การลงทุนในพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อมไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นน่าเบื่อหรือหุ้นโครงสร้างพื้นฐานเสมอไป
เพราะการลงทุนของ B-SIP ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นเติบโต มีนวัตกรรม มีเทคโนโลยี และยังคำนึงถึงการประเมิน Valuation ด้วย
ถ้าฉายภาพใหญ่ ๆ ก็คือ กองทุน B-SIP จะลงทุนทั้งในฝั่ง Global Environmental Opportunities และ Clean Energy นั่นเอง
โดยฝั่ง Global Environment จะมีสัดส่วนธุรกิจเทคโนโลยี 40% นอกจากนั้นจะเป็นบริษัทอุตสาหกรรม, กลุ่มวัสดุก่อสร้าง และกลุ่มเคมีภัณฑ์
ซึ่งจะมีรูปแบบลงทุน Active Management เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างหุ้นเติบโตและหุ้นคุณค่า
ส่วนในฝั่งของพลังงานสะอาด จะมีสัดส่วนธุรกิจเทคโนโลยี 48% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะได้เข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรม EV ทั้ง Supply Chain ราว 33% ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทฝั่งสหรัฐอเมริกา และยุโรป เพราะเป็นผู้นำเรื่องเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
เช่น Orsted ธุรกิจพลังงานลมนอกชายฝั่งมากว่า 10 ปี มีเทคโนโลยีน่าสนใจ และยังมีโอกาสขยายตลาดได้อีกมาก
ทั้งหมดนี้ จึงสะท้อนได้ว่า กองทุน B-SIP เป็นอีกหนึ่งช่องทางลงทุนใน Theme พลังงานสะอาดที่จะสร้างการเติบโตในระยะยาวได้แบบ Green and Great Return นั่นเอง..
同時也有8部Youtube影片,追蹤數超過14萬的網紅Roger Films,也在其Youtube影片中提到,Tower Unite เกมแนว Simulation อัพเดตแล้วจ้า วันนี้คาสิโนเปิดก็เลยพาเพื่อนไปเที่ยวกันซะหน่อยค่ะพวกเธอ สำหรับใครที่สงสัยว่าเกมนี้เล่นยังไงสามารถดูคลิปก่...
「simulation คือ」的推薦目錄:
- 關於simulation คือ 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於simulation คือ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的精選貼文
- 關於simulation คือ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
- 關於simulation คือ 在 Roger Films Youtube 的最讚貼文
- 關於simulation คือ 在 Shorty Bluejova Youtube 的最佳解答
- 關於simulation คือ 在 Shorty Bluejova Youtube 的最佳貼文
- 關於simulation คือ 在 การสร้างแบบจำลองเบื้องต้นด้วย Arena - YouTube 的評價
- 關於simulation คือ 在 ️PLC simulation คือ การจำลอง หรือทดสอบการทำงานของ ... 的評價
- 關於simulation คือ 在 Digital Simulation คืออะไร?... - Upright Simulation 的評價
- 關於simulation คือ 在 เกม simulation คือวอลเลย์บอล u23 ชิงแชมป์โลก 2015 V1.9.13 的評價
simulation คือ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的精選貼文
"หรือเราต้องฉีดวัคซีนเยอะเกิน 100% ? ถึงจะรับมือโควิด สายพันธุ์เดลต้าได้"
ต่อเนื่องจากประเด็นที่มีการพูดว่า ประเทศไทยเรา วางแผนจะฉีดวัคซีนโรค COVID-19 ให้ได้ 50 ล้านคน เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) หยุดการแพร่ระบาดได้
แต่ก็เกิดการโต้แย้งตามมาว่า มันเป็นตัวเลขที่เพียงพอจริงหรือเปล่า ? โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ประเทศไทยเรา มีการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลต้า (delta) และใช้วัคซีนที่ประสิทธิภาพไม่ได้สูงมากด้วย
เลยไปลองหาบทความ ที่เกี่ยวกับการที่ "นักระบาดวิทยา" ในประเทศสหรัฐอเมริกา เขาวิเคราะห์ว่าจะต้องฉีดวัคซีนเท่าไหร่ ถึงจะรับมือกับสายพันธุ์เดลต้าได้.. เผื่อจะมาเทียบกับประเทศไทยเราครับ
1. ศูนย์ CDC (The Centers for Disease Control and Prevention) ของสหรัฐอเมริกาเปิดเผยข้อมูล "เบื้องต้น" ว่า เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลต้านั้น อาจจะมีค่า basic reproductive number (R0) อยู่ระหว่าง 6 ถึง 9
- ค่า R0 เป็นตัวเลขทางระบาดวิทยา แสดงถึงจำนวนคนโดยเฉลี่ยที่ติดโรค ได้จากผู้ติดเชื้อ 1 คน ถ้าประชากรนั้นไม่มีภูมิคุ้มกันกับเชื้อโรคเลย
- ค่า R0 ของโรคหวัดตามฤดูกาล และไข้หวัดใหญ่ มีค่าระหว่าง 1 ถึง 2 ขณะที่ค่า R0 ของโรคอีสุกอีใส มีค่าระหว่าง 12 ถึง 18
- โรค COVID-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม มีค่า R0 ประมาณ 3 แต่ตอนนี้ CDC ระบุว่าสายพันธุ์เดลต้านั้น มีค่า R0 สูงกว่าเดิมมาก และได้อัพเดตไกด์ไลน์เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา ให้ทุกคน (ทั้งที่ฉีดวัคซีนแล้ว และยังไม่ฉีด) ควรใส่หน้ากากอนามัย เมื่ออยู่ในอาคาร หรือในที่ชุมชน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค
2. แต่จริงๆ แล้ว ในทางระบาดวิทยานั้น มีอีกค่าหนึ่งที่สำคัญจะต้องคิด คือ ค่า effective reproductive number หรือ Re (pronounced arr-ee)
- ค่า Re นั้น เปรียบเสมือนค่า R0 ที่เอาไปใช้จริงในสถานการณ์จริงของโลก (real-world scenario) โดย Re จะเป็นตัวเลขที่บอกถึงอัตราการระบาดของโรค เมื่อมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น การที่ประชาชนใส่หน้ากากอนามัย การเว้นระยะห่างทางสังคม และการฉีดวัคซีน ทำให้ค่า Re ไม่ได้เป็นค่าคงที่แบบค่า R0 แต่จะเปลี่ยนไปตามเวลาและสถานที่ ที่มีระดับภูมิคุ้มกันและมาตรการควบคุมแตกต่างกันไป
- เราประมาณค่า Re ได้จากการเอาค่า R0 มาคูณด้วยอัตราส่วนของประชากร ที่อ่อนแอต่อการเป็นโรคนั้น (หรือคูณด้วย "1" ลบอัตราส่วนของประชากรที่ได้รับวัคซีนเรียบร้อยแล้ว) ตามสมการ Re = R0(1-x*v) เมื่อ X เป็นเปอร์เซ็นต์ของประชากรที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว และ v ประสิทธิภาพของวัคซีน
3. เป้าหมายของการควบคุมโรค ไม่ใช่เรื่องการทำให้ผู้ติดเชื้อกลายเป็น 0 คน แต่จะพยายามทำให้ค่า Re เท่ากับ 1 เพราะถ้ามีค่ามากกว่า 1 ก็แสดงว่าโรคกําลังระบาด ขยายตัวออก จะมีผู้ป่วยมากขึ้น
- ถ้าเชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ดั้งเดิม มีค่า R0 ประมาณ 3 และวีคซีน mRNA (เช่น ของ บ. ไฟเซอร์ และ บ. โมเดิร์นน่า) มีประสิทธิภาพในการป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตประมาณ 95%
- ถ้าสามารถฉีดวัคซีนนี้ได้ครบทุกคน (ในสหรัฐอเมริกา) ค่า Re สำหรับสายพันธุ์ดั้งเดิม จะมีค่า = 3*0.05 = 0.15 ซึ่งค่าต่ำมากๆ ดีมากๆ
- แต่ข้อมูลเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ที่ผ่านมา มีประชาชนชาวสหรัฐอเมริกาประมาณ 58% ที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 โดส และประมาณ 50% ของประชากรที่ได้รับวัคซีนครบโดส
- ขณะที่วัคซีนเอง ก็ไม่ได้เพอร์เฟค นั่นคือ ประมาณ 47% คนอเมริกันที่ได้รับการปกป้องด้วยวัคซีน จะทำให้ค่า Re ที่คำนวณได้อยู่ที่ประมาณ 1.6 (ซึ่งมีค่าสูงกว่า 1) และแสดงว่ายังมีการแพร่ระบาดเกิดขึ้นได้ แต่สถานการณ์ก็ดีขึ้นเยอะ (ทำให้รัฐบาลประกาศให้ถอดหน้ากากได้)
4. แต่โชคร้าย ที่สายพันธุ์เดลต้า ซึ่งกำลังแพร่ระบาดขณะนี้ มีค่า R0 ประมาณ 6 - 9 และมีแนวโน้มว่าประสิทธิภาพของวัคซีนต่อสายพันธุ์ดังกล่าว จะมีค่าต่ำลง
- สมมุติกำหนดให้ค่า R0 = 8 แล้ววัคซีน mRNA มีประสิทธิภาพลงมาที่ประมาณ 85% (คือมีประชากรที่อ่อนแอต่อการเป็นโรคอยู่ 53%) ค่า Re ต่อสายพันธุ์เดลต้า จะมีค่าสูงถึง "5" แม้ว่าจะฉีดวัคซีนไปครบโดส ถึงครึ่งนึงของประชากรแล้วก็ตาม !
- ดังนั้น ประเทศสหรัฐอเมริกาจำเป็นจะต้องฉีดวัคซีนกับประชากรให้ได้เพิ่มมากกว่านี้ เช่น ถ้าฉีดได้ถึง 75% ค่า Re จะลดลงมาที่ต่ำกว่า "3" เป็นระดับที่มาตรการทางสาธารณสุข เช่น การใส่หน้ากากอนามัย ไปจนถึงการหยุดดำเนินงานของธุรกิจต่างๆ จะเพียงพอที่ควบคุมการระบาดได้
5. สำหรับกรณีของประเทศไทยเรา ซึ่งมีการใช้วัคซีนประสิทธิภาพปานกลางอยู่แล้ว อย่างกลุ่มวัคซีนแบบไวรัลเวกเตอร์ (วัคซีน astrazeneca) และวัคซีนเชื้อตาย (วัคซีน sinovac และ sinopharm)
- วัคซีนเหล่านี้ก็จะมีประสิทธิภาพลดต่ำลงเช่นกัน เมื่อเจอกับสายพันธุ์เดลต้า
- คำถามที่ฝากไปสำหรับ "คนที่ชอบคำนวณ" ก็คืออย่างนี้เราจะต้องฉีดวัคซีนให้ได้ครบโดส เป็นจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์ของประชากร ถึงจะทำให้ค่า Re ลงมาเหลือ 3 ได้ จากที่เคย Re เท่ากับ 8 สำหรับสายพันธุ์เดลต้า
- ใครคิดได้เท่าไหร่ ลองแชร์คำตอบกันนะครับ (แต่จะไม่แปลกใจเลย ถ้าคำนวณออกมาแล้วได้เกิน 100% ฮะๆ)
ภาพประกอบ จาก https://www.npr.org/sections/health-shots/2021/02/18/967462483/how-herd-immunity-works-and-what-stands-in-its-way เป็นภาพการทำ simulation จำลองว่า จำนวน % การฉีดวัคซีน จะช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด สายพันธุ์ที่ระบาดง่าย ได้มากน้อยแค่ไหน
ข้อมูล จาก https://slate.com/technology/2021/08/delta-variant-covid-masks-vaccines-boosters.html
simulation คือ 在 อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ Facebook 的最讚貼文
พาดหัวข่าวแบบนี้ คนตกใจหมดเลย .. "นาซาเตือน แม้แต่ระเบิดนิวเคลียร์ ก็ไม่สามารถหยุดดาวเคราะห์น้อยที่จะมุ่งหน้ามายังโลกได้" !?
.. คือ มันไม่ได้กำลังมีดาวเคราะห์น้อยจริงๆ พึ่งชนโลกนะ เค้าแค่จำลองสถานการณ์ (ทำ simulation) ในคอมพิวเตอร์กัน 😂😂
ในเนื้อข่าวจริงๆ บอกว่า นักวิทยาศาสตร์องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ได้ข้อสรุปจากการ "ทดลองจำลองเหตุการณ์" เพื่อหาวิธีปกป้องโลกของเรา จากการถูกดาวเคราะห์น้อยขนาดยักษ์พุ่งชนโลก ว่าถึงแม้จะใช้ระเบิดนิวเคลียร์ ก็ไม่สามารถจะหยุดยั้งดาวเคราะห์น้อยที่จะพุ่งชนโลกได้ (แต่ในแบบจำลอง ไม่ใช่จะมีมาพุ่งชนจริงๆ)
ลองอ่านคำอธิบายเพิ่มเติม จากสถาบันดาราศาสตร์แห่งชาตินะครับ (จาก https://www.facebook.com/148300028566953/posts/4159786517418264/?app=fbl)
“ดาวเคราะห์น้อย 2021 PDC กำลังพุ่งตรงมายังโลก เรามีเวลาแค่หกเดือนที่จะรับมือกับมัน”
นี่คือ #สถานการณ์จำลอง ที่ตั้งขึ้นเพื่อฝึกการรับมือต่อกรณีฉุกเฉิน และการวางแผนเพื่อจัดการภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
การจำลองสถานการณ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมวิชาการออนไลน์ด้านการป้องกันดาวเคราะห์ (Planetary Defense Conference) ในวันที่ 26-30 เมษายน พ.ศ. 2564 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยจากทั่วโลกเข้าร่วม
“2021 PDC” ดาวเคราะห์น้อยสมมติที่สร้างขึ้นให้เหมือนกับดาวเคราะห์น้อยจริง ๆ โดยสร้างสถานการณ์ว่า มีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยดวงนี้เมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2564 และมีค่าความเสี่ยงที่จะพุ่งชนโลกสูงมากในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 ซึ่งมีเวลาแค่หกเดือนในการคิดแผนรับมือ นับว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทายมากเนื่องจากมีข้อมูลที่น้อยและมีระยะเวลาในการรับมือไม่มากนัก
เพื่อหาทางออกในโจทย์ปัญหานี้ จึงแบ่งขั้นตอนของแผนการรับมือออกเป็น 4 วัน (ตามจำนวนวันที่จัดประชุมวิชาการ) แต่ละวันอยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่การค้นพบดาวเคราะห์น้อย 2021 PDC จนถึงวันที่มันจะพุ่งชนโลก ซึ่งแต่ละวันมีรายละเอียดดังนี้
#วันที่1 จำลองสถานการณ์ของวันที่ 19 เมษายน 2564 วันแรกที่ค้นพบ
เริ่มต้นที่หอดูดาว Pan-STARRS ยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์น้อย ตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า “2021 PDC” และประมาณระยะห่างจากโลกไว้ที่ 35 ล้านกิโลเมตร เนื่องจากมีข้อมูลน้อยมาก จึงยังไม่สามารถระบุขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางที่แน่นอนได้ คาดว่ามีขนาดตั้งแต่ 35 ถึง 700 เมตร ซึ่งเป็นค่าที่ความแม่นยำค่อนข้างต่ำมาก และมีโอกาส 5% ที่จะพุ่งชนโลกในวันที่ 20 ตุลาคม 2564 นับว่าเป็นอัตราที่สูงมากเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์น้อยที่เคยเข้าใกล้โลกทั้งหมด พื้นที่เสี่ยงต่อการพุ่งชนกินพื้นที่ถึง 2 ใน 3 ของพื้นผิวโลก จึงเริ่มมีการหารือถึงความเป็นไปได้ที่จะเบี่ยงเบนวิธีโคจรของมันออกไป เช่น ส่งนิวเคลียร์เพื่อให้แรงระเบิดเบี่ยงเส้นทางของดาวเคราะห์น้อย
#วันที่2 จำลองสถานการณ์ของวันที่ 2 พฤษภาคม 2564
นักดาราศาสตร์สรุปว่า 2021 PDC จะพุ่งชนโลกในวันที่ 20 ตุลาคมนี้อย่างแน่นอน สามารถระบุตำแหน่งพุ่งชนได้แคบลง คือ บริเวณทวีปยุโรป และบริเวณแอฟริกาเหนือ แต่ข้อมูลทางกายภาพ เช่น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ที่จะส่งผลต่อความรุนแรงในการชนยังไม่สามารถระบุได้ ต้องรอให้ดาวเคราะห์น้อยเข้าใกล้โลกมากกว่านี้ แล้วสังเกตการณ์ด้วยเรดาร์จึงจะได้ข้อมูลมากขึ้น และยังมีข้อสรุปที่สำคัญ คือ ระเบิดนิวเคลียร์ที่มีความรุนแรงพอจะเบี่ยงเบนดาวเคราะห์น้อยได้นั้น ไม่สามารถสร้างเสร็จทันภายในระยะเวลา 6 เดือน
#วันที่3 จำลองสถานการณ์ของวันที่ 30 พฤษภาคม 2564
หลังจากนักดาราศาสตร์จากทั่วโลกช่วยกันติดตาม 2021 PDC ทำให้ข้อมูลมากเพียงพอจะประมาณพื้นที่เสี่ยงที่แคบลงได้คือบริเวณประเทศเยอรมนี เช็กเกีย ออสเตรีย สโลวีเนีย และโครเอเชีย และคาดว่ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 30 ถึง 500 เมตร หากใช้ขนาดเฉลี่ยของดาวเคราะห์น้อยทั่วไปคือ 136 เมตร พุ่งชนบริเวณดังกล่าว จะทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างมากถึง 250 กิโลเมตร และอาจมีผู้ได้รับอันตรายจำนวนมากถึง 6.6 ล้านคน
#วันที่4 จำลองสถานการณ์ของวันที่ 14 ตุลาคม 2564 หกวันก่อนการพุ่งชน
ขณะตอนนี้ 2021 PDC อยู่ห่างจากโลกแค่ 3.9 ล้านกิโลเมตร (ประมาณ 10 เท่าของระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงจันทร์) ซึ่งเป็นระยะทางที่สามารถใช้เรดาร์สังเกตการณ์ดาวเคราะห์น้อยได้ พบว่ามีขนาดประมาณ 105 เมตร เล็กว่าที่เคยประมาณไว้ และสามารถระบุพื้นที่พุ่งชนได้แคบลง อยู่บริเวณรอยต่อของประเทศเยอรมนี เช็กเกีย และออสเตรีย ช่วยให้อพยพผู้ที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวออกไปได้ทัน
สถานการณ์จำลองดาวเคราะห์น้อยสมมติ 2021 PDC ทำให้องค์กรอวกาศต่าง ๆ พัฒนาแนวทางเก็บข้อมูลวัตถุใกล้โลก (Near Earth Object) การบริหารจัดการและการตัดสินใจในสถานการณ์ฉุกเฉิน แสดงให้เห็นว่าควรมีความร่วมมือกันอย่างไรเพื่อรับมือหากมีดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลกจริง
งานประชุมวิชาการออนไลน์ด้านการป้องกันดาวเคราะห์ในครั้งนี้เป็นการจำลองสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นจริง และนอกจากนี้วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 นาซาจะส่งยาน DART ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบเทคโนโลยีในการเบี่ยงเบนเส้นทางของดาวเคราะห์น้อย สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/1180-nasa-dart-65803-didymos
เรียบเรียง : สิทธิพร เดือนตะคุ - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ สดร.
อ้างอิง :
[1] NASA to Participate in Tabletop Exercise Simulating Asteroid Impact, www.nasa.gov
[2] NASA to Participate in Tabletop Exercise Simulating Asteroid Impact, www.jpl.nasa.gov
[3] Planetary Defense Conference Exercise – 2021, www.cneos.jpl.nasa.gov
[4] Deep (fake) impact, www.blogs.esa.int
------
ภาพข่าว จาก https://www.thairath.co.th/news/foreign/2084216
simulation คือ 在 Roger Films Youtube 的最讚貼文
Tower Unite เกมแนว Simulation อัพเดตแล้วจ้า วันนี้คาสิโนเปิดก็เลยพาเพื่อนไปเที่ยวกันซะหน่อยค่ะพวกเธอ สำหรับใครที่สงสัยว่าเกมนี้เล่นยังไงสามารถดูคลิปก่อนหน้าได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=yl8BHA6UE14
Roger Films คือ สตูดิโอที่เริ่มเกิดจากการสร้างหนังจากเกมส์ The Sims ตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 ปัจจุบันหันมาทำคลิปมโนเกม (แคสเกม)
โดยมีนำนักพากย์หลักของช่อ ชาคริต มาเป็นผู้แคส โดยจะมีวลีฮิตติดปากอาธิ พวกเธอ นะคะคุณ อ่อยอ่อย อว๊ายๆ
สนใจลงโฆษณาและติดตามเราได้ที่ ทางเฟสบุ๊กแฟนเพจ
Facebook Fanpage : http://www.facebook.com/RogerFilms
ช่องยูทูปของเรา
Youtube Channel : http://www.youtube.com/iamteyroger
simulation คือ 在 Shorty Bluejova Youtube 的最佳解答
เกมมือถือ エルハズ (ELHAZ) เป็นเกมแนว Simulation RPG สร้างเมืองพร้อมพัฒนาตัวละครไปพร้อมๆ กัน ระบบเกมนี้จะแปลกว่าในเกมแนวเดียวกันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการจัดทีมที่ต้องจัดแยกออกจากกันชัดเจน คือ ทีมลงเจี้ยน ทีมป้องกันเมือง และทีมบุกเมือง และยังมีระบบสนับสนุนการเล่นมากมายไปดูกันเลยดีกว่า !!
เกมนี้ใช้เนื้อที่มากกว่า 420MB
วิธีโหลดเกมมือถือญี่ปุ่น: http://www.nngtv.com/p/qoo.html
หรือจะ Download ผ่าน Store ก็ได้ แต่ต้องเป็น ID ญี่ปุ่น
- Android: https://play.google.com/store/apps/details?id=com.intivsoft.android.jp.elhaz
- iOS: https://itunes.apple.com/jp/app/id1094649139
ดูเกมมือถืออื่นๆ ได้ที่
- เกมมือถือญี่ปุ่น: http://goo.gl/s3W96l
- เกมมือถืออินเตอร์: http://goo.gl/wDkGoh
- เกมมือถือไทย: http://goo.gl/0I7I5U
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
- ติดตามข่าวสารและติดต่อเราได้ที่: https://www.facebook.com/nngamingtv
- เว็บหลักของเรา: www.nngtv.com
- สนับสนุนทุนให้พวกเราได้ที่ http://goo.gl/3Jn74l
- เล่น Android ใน PC: http://www.nngtv.com/p/app-android-pc.html
#shortybluejova
simulation คือ 在 Shorty Bluejova Youtube 的最佳貼文
COOKING MAMA Let's Cook! เป็นเกมมือถือแนวทำอาหารจากซีรีย์ชื่อดังอย่าง COOKING MAMA ณ บัดดี้เปิดให้บริการในเวอร์ชันมือถือแล้วทั้ง iOS และ Android เกมนี้ยังเล่นเหมือนๆ เดิม คือ MAMA ทำอาหารให้ PAPA ในกระบวนการทำอาหารจะมีบอกตลอดว่าต้องทำอย่างไร พยายามให้สุดความสามารถด้วยหละ !! *เมื่อเข้าเกมจะมีการ Download ข้อมูลเพิ่มเติม ใช้พื้นที่มากกว่า 60MB*
โหลดเกมใน Store ได้เลย
- Android: https://play.google.com/store/apps/details?id=jp.co.ofcr.cm00
- iOS: https://itunes.apple.com/app/id987360477
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
- ติดตามข่าวสารและติดต่อเราได้ที่: https://www.facebook.com/nngamingtv
- สนับสนุนทุนให้นายช็อตตี้: http://goo.gl/3Jn74l
- วิธีเล่น Android ใน PC 1: http://youtu.be/3M5HBocIrTA
- วิธีเล่น Android ใน PC 2: http://youtu.be/yQHa26aCP4M
- เกมมือถือญี่ปุ่น: https://www.facebook.com/mbg.jp
- คนแคสเกมมือถือ: https://www.facebook.com/ThaiMGCaster
#shortybluejova
simulation คือ 在 ️PLC simulation คือ การจำลอง หรือทดสอบการทำงานของ ... 的推薦與評價
PLC simulation คือ การจำลอง หรือทดสอบการทำงานของโปรแกรม โดยไม่มี hardware จริงๆ ไม่มี PLC จริงๆ...โปรแกรมจะทำงานบนคอมพิวเตอร์...ซึ่งคุณสามารถ Force... ... <看更多>
simulation คือ 在 Digital Simulation คืออะไร?... - Upright Simulation 的推薦與評價
Digital Simulation คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร? ร่วมมาหาคำตอบได้ที่งานนี้ ลงทะเบียนเข้างานฟรี!!! สนใจสอบถามเพิ่มเติม Click : https://lin.ee/nUVgny8... ... <看更多>
simulation คือ 在 การสร้างแบบจำลองเบื้องต้นด้วย Arena - YouTube 的推薦與評價
การจำลองสถานการณ์ ( Simulation ) | การสร้างแบบจำลองเบื้องต้นด้วย Arena. 24K views · 5 years ago ...more. คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม. ... <看更多>