Chase Coleman ผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ ที่กำไรได้มากสุดในปีโควิด /โดย ลงทุนแมน
Bridgewater Associates ที่ก่อตั้งโดย Ray Dalio คือเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
และยังคงเป็นเฮดจ์ฟันด์ที่สร้างผลตอบแทนได้มากที่สุด นับตั้งแต่วันเริ่มจัดตั้งกองทุน
กองทุนแห่งนี้ สร้างผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งหมดกว่า 1.45 ล้านล้านบาท
แต่ในปี 2020 ที่ผ่านมา กองทุนนี้ก็ได้ขาดทุนไป 3.78 แสนล้านบาท
จากวิกฤติโรคระบาด ที่กระทบต่อมูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดบนโลก
แต่รู้หรือไม่ว่า ยังมีเฮดจ์ฟันด์ที่สามารถสร้างผลตอบแทนไปได้กว่า 3.25 แสนล้านบาท
ในช่วงเวลาเดียวกัน และถือเป็นผลตอบแทนของเฮดจ์ฟันด์ ที่สูงที่สุดในโลก
นั่นคือผลงานของกองทุน “Tiger Global Management”
ที่ก่อตั้งและบริหารกองทุนโดย “Chase Coleman”
แล้วเขาคนนี้ มีกลยุทธ์ในการลงทุนอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
เฮดจ์ฟันด์ คือกองทุนที่หาโอกาสทำกำไรได้อย่างหลากหลาย
เพราะไม่มีข้อจำกัดในด้านสินทรัพย์ที่เลือกลงทุน และกลยุทธ์ที่ใช้ลงทุน
ตัวอย่างประเภทของเฮดจ์ฟันด์ เช่น
กองทุนแบบ Long-short คือ กองทุนที่ทำกำไรจากราคาหลักทรัพย์ทั้งขาขึ้นและขาลง
กองทุนแบบ Long-only คือ กองทุนที่ทำกำไรจากราคาหลักทรัพย์ขาขึ้นเพียงอย่างเดียว
กองทุนแบบ Private คือ กองทุนที่ลงทุนในบริษัทที่ยังไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
ท่ามกลางวิกฤติโควิดในปี 2020
กองทุน Tiger Global Management หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “Tiger Global”
สามารถทำผลตอบแทนได้มากที่สุด ในบรรดาเฮดจ์ฟันด์ทั้งหมด
และทาง Tiger Global ก็มีกองทุนทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมา
แล้วแต่ละประเภท กองทุนมีผลตอบแทนอย่างไรบ้าง ?
กองทุนแบบ Long-only ทำผลตอบแทนได้ 65.1%
กองทุนแบบ Long-short ทำผลตอบแทนได้ 48.4%
ถ้ารวมกับผลตอบแทนจากกองทุนแบบ Private แล้ว
จะคิดเป็นผลตอบแทนรวมมูลค่ากว่า 3.25 แสนล้านบาท
ซึ่งผลงานในปีล่าสุดนี้ ก็ไม่ได้เป็นเรื่องบังเอิญ ที่ทำได้เพียงครั้งเดียว
เพราะถ้าลองดูผลงานของ Tiger Global ตั้งแต่ที่เริ่มก่อตั้งในปี 2001
Tiger Global มีผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิต่อปีกว่า 21% ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา
หรือคิดเป็นผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น 43 เท่า จากเงินลงทุนตั้งต้น
เทียบกับการเพิ่มขึ้น 5 เท่าของดัชนี S&P 500 ในช่วงเวลาเดียวกัน
ซึ่งถ้ารวมผลตอบแทนที่ทำได้ นับตั้งแต่วันเริ่มจัดตั้งกองทุน
จะคิดเป็นเงินกว่า 8.28 แสนล้านบาท
ในปัจจุบัน Tiger Global บริหารเงินอยู่กว่า 1.56 ล้านล้านบาท
โดยพอร์ตโฟลิโอ มีบริษัทที่ถือหุ้นอยู่เป็นสัดส่วนมากที่สุด 5 อันดับแรกก็คือ
- JD.com แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีน
- Microsoft บริษัทเทคโนโลยีสำหรับองค์กรครบวงจร
- Roblox แพลตฟอร์มเกมออนไลน์
- Sea Limited เจ้าของอีคอมเมิร์ซ Shopee และบริษัทเกม Garena
- Amazon อีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก
จากรายชื่อหุ้นเหล่านี้ คงพอเห็นภาพว่า Tiger Global
จะเน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยี แถมยังกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก
ครอบคลุมทั้งสหรัฐอเมริกา จีน แถมยังมีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดย Tiger Global จะเฟ้นหาบริษัทจากปัจจัยพื้นฐาน ที่ประเมินว่าอนาคตไกล
มีโอกาสสูงที่จะกลายเป็นผู้นำตลาด และจะเข้าไปลงทุนตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
ซึ่งกลยุทธ์นี้ อาจฟังดูไม่ได้โดดเด่นเท่าไรนักในปัจจุบัน
แต่ถ้าย้อนไปในช่วงที่ Tiger Global เริ่มลงทุน
มันคือช่วงที่เพิ่งผ่านวิกฤติดอตคอมปี 2000
แต่ผู้ก่อตั้ง Tiger Global กลับเป็นหนึ่งในคนที่ยังเชื่อมั่นในหุ้นเทคโนโลยี ว่าคือสิ่งที่จะมาเปลี่ยนโลกนี้ไปอย่างสิ้นเชิงได้จริง
ผ่านมา 21 ปี ก็ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าสิ่งที่ Tiger Global คาดการณ์ ถือว่าถูกต้อง
แล้วในยุคนั้น Tiger Global เริ่มลงทุนในบริษัทอะไรบ้าง ?
ในช่วงแรกที่เริ่มลงทุน หรือราวปลายปี 2002
Tiger Global เลือกลงทุนในหุ้นอินเทอร์เน็ตของประเทศจีน
ที่คล้ายกับ Yahoo ไม่ว่าจะเป็น Sina Corp., Sohu.com และ NetEase
ผ่านไปเพียงปีเดียว หุ้นทั้ง 3 บริษัทนี้พุ่งขึ้นไปกว่าหลายเท่าตัว
และตลอดช่วงที่ผ่านมา Tiger Global ก็ได้เข้าไปเป็นผู้ลงทุนตั้งแต่ช่วงแรก
โดยในบางบริษัทก็เริ่มลงทุนตั้งแต่เป็นสตาร์ตอัป
ซึ่งหลายบริษัทที่ Tiger Global เลือกลงทุน
ก็กลายมาเป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำในปัจจุบัน
อย่างเช่น Facebook, LinkedIn, Square, Spotify และ Xiaomi
อย่างไรก็ตาม Tiger Global เองเคยออกมายอมรับว่าตัดสินใจพลาดหลายครั้ง
อย่างเช่น พลาดการลงทุนใน Alibaba เพราะประเมินว่ามูลค่าสูงเกินปัจจัยพื้นฐาน
หรือการขายหุ้นที่ดีเร็วเกินไป อย่างเช่น Facebook, LinkedIn, Amazon และ Netflix
อีกความผิดพลาดที่สำคัญคือ การมีหุ้นกลุ่มธนาคารและหุ้นวัฏจักร
ในช่วงวิกฤติการเงินโลกปี 2008 ซึ่งบทเรียนครั้งนั้น
มีส่วนช่วยเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤติครั้งล่าสุดนี้
Tiger Global ไม่ได้เพียงแค่ผ่านพ้นไปได้ แต่ยังกลายเป็นผู้ชนะอีกด้วย
และผู้อยู่เบื้องหลังการลงทุนทั้งหมดของ Tiger Global ก็คือ “Chase Coleman”
พอเราไปมองประวัติของ Chase Coleman ก็ถือว่าน่าสนใจ
หลังจากเรียนจบในปี 1997 Coleman เริ่มทำงานเป็นนักวิเคราะห์กลุ่มเทคโนโลยี
ให้กับกองทุนที่ชื่อว่า “Tiger Management” ซึ่งถือเป็นเฮดจ์ฟันด์รุ่นบุกเบิกในสหรัฐอเมริกา
ที่ถูกก่อตั้งในปี 1980 โดย “Julian Robertson” หนึ่งในตำนานผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันด์ยุคบุกเบิก
แต่ในปี 2000 หลังจาก Coleman ทำงานไปได้เพียง 3 ปี
Tiger Management กลับต้องปิดตัวลงเพราะบริษัทที่ Tiger Management
มีสัดส่วนการลงทุนมากที่สุดในขณะนั้น นั่นก็คือสายการบิน US Airways
ที่ประสบปัญหาทางการเงิน จนต้องยื่นล้มละลาย
Robertson จึงนำเงินที่เหลืออยู่หลังจากปิดกองทุน
ไปแบ่งให้กับเหล่าลูกทีมที่มีความสามารถโดดเด่น
เพื่อเป็นเงินทุนในการจัดตั้งกองทุนใหม่ และหนึ่งในนั้นคือ Coleman
Coleman ซึ่งขณะนั้นมีอายุเพียง 25 ปี
ได้ตัดสินใจจัดตั้ง Tiger Global Management
โดยใช้ชื่อ Tiger ต่อจากกองทุนของ Robertson ผู้เป็นเมนเทอร์ที่เขาเคารพ
ปัจจุบัน Coleman มีทรัพย์สินกว่า 3.22 แสนล้านบาท
ติดอันดับ 1 ใน 10 ผู้จัดการกองทุนที่รวยที่สุดในโลก
ด้วยอายุเพียง 46 ปี ซึ่งถือว่าอายุน้อยที่สุดในการจัดอันดับของ Forbes
และเป็นหนึ่งในผู้จัดการกองทุนมือฉมังอันดับต้นของโลกไปแล้ว
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
แต่เรียกได้ว่าเป็นหนังคนละม้วน
นอกจาก Coleman แล้ว เหล่าลูกทีมระดับหัวกะทิที่ได้รับเงินทุน
จาก Robertson ได้กลายเป็นเฮดจ์ฟันด์ชื่อดังในปัจจุบันอยู่หลายกองทุน
กองทุนกลุ่มนี้ จึงมีชื่อเรียกรวมกันว่า “Tiger Cubs” ที่เป็นผลผลิตมาจาก Tiger Management
โดยหนึ่งในสมาชิก Tiger Cubs ก็คือกองทุน Tiger Asia Management
ที่ก่อตั้งโดยลูกทีมของ Robertson ที่ชื่อว่า Bill Hwang
เขาคนนี้โดนปรับจากข้อหาการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลภายใน
และได้เปลี่ยนชื่อกองทุนมาเป็น “Archegos Capital Management”
ที่เพิ่งล้มละลายไปเมื่อไม่นานมานี้ จากกรณีโดนบังคับขายหุ้นรวมกันกว่า 6 แสนล้านบาทในวันเดียว
เรียกได้ว่า ลูกศิษย์ของ Robertson มีทั้งแบบประสบความสำเร็จสุดขั้ว และล้มเหลวสุดขั้ว เลยทีเดียว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.bloomberg.com/news/articles/2021-01-25/tiger-global-tops-hedge-fund-ranking-as-rentech-gets-booted
-https://www.institutionalinvestor.com/article/b1q8fxt5bh8wd6/This-Hedge-Fund-Made-the-Most-Money-for-Investors-Last-Year
-https://www.institutionalinvestor.com/article/b1qx3m96ts35s3/How-Chase-Coleman-Became-a-Hedge-Fund-Legend
-https://www.forbes.com/sites/jonathanponciano/2020/09/08/richest-hedge-fund-managers-2020/?sh=3e73d2d96910
-https://seekingalpha.com/article/4415324-tracking-chase-coleman-s-tiger-global-portfolio-q4-2020-update
同時也有2部Youtube影片,追蹤數超過531的網紅Humans Offshore Podcast離島人,也在其Youtube影片中提到,3D列印(3D printing)又稱積層製造,目的是將數位模型以高精度的材料堆疊呈現原始模型的細節與特徵。目前除了常見的樹脂成型技術之外,還有光固化3D列印、雷射燒結、熱融解積層製造、金屬3D列印與水泥列印。 吳岱軒學長師承陳珍誠老師,畢業於淡江大學建築系,在台灣建築師事務所工作兩年後前往QS ...
「spotify podcast ranking」的推薦目錄:
- 關於spotify podcast ranking 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳貼文
- 關於spotify podcast ranking 在 Engadget Facebook 的最佳貼文
- 關於spotify podcast ranking 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
- 關於spotify podcast ranking 在 Humans Offshore Podcast離島人 Youtube 的精選貼文
- 關於spotify podcast ranking 在 Goresh Youtube 的最佳貼文
- 關於spotify podcast ranking 在 [問題] Spotify Podcast 排名消失?? - iOS - PTT生活資訊討論 的評價
- 關於spotify podcast ranking 在 Spotify Stats for Podcasters [Full Tutorial] - YouTube 的評價
spotify podcast ranking 在 Engadget Facebook 的最佳貼文
The podcast charts are now also available on the web.
spotify podcast ranking 在 ลงทุนแมน Facebook 的最讚貼文
สรุปภาพรวม อุตสาหกรรม “กองทุนรวม” ในประเทศไทย /โดย ลงทุนแมน
รู้ไหมว่า กองทุนรวมกองแรกในประเทศไทย
เกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อ 44 ปีที่แล้ว
และตลอดเวลาที่ผ่านมา อุตสาหกรรมกองทุนรวม
มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก
จนวันนี้มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวมทั้งหมดในประเทศไทย
คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของ GDP ประเทศไทยแล้ว
แล้วอุตสาหกรรมกองทุนรวมของไทย เติบโตแค่ไหน ในช่วงที่ผ่านมา ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
อ้างอิงจากเว็บไซต์ของ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (AIMC)
กองทุนรวมกองแรกของไทย คือ “กองทุนสินภิญโญ” ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2520
ที่มีผู้ดูแลกองทุนคือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี
ด้วยขนาดกองทุน 100 ล้านบาท และมีอายุโครงการ 10 ปี
หลังจากนั้นมา กองทุนรวม ก็ค่อย ๆ เป็นที่รู้จักมากขึ้น
ในฐานะทางเลือกในการลงทุน ของนักลงทุนทั้งรายเล็กและรายใหญ่ในไทย
แต่จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมกองทุนรวมในประเทศไทย เกิดขึ้นในปี 2544
เมื่อรัฐบาลในสมัยนั้น มีมติให้จัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ
หรือ Retirement Mutual Fund (RMF)
โดยมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อ ส่งเสริมให้คนไทยให้ความสำคัญกับการออมระยะยาว โดยสร้างแรงจูงใจให้คนอยากลงทุนใน RMF ด้วยการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุน
หลังจากกองทุน RMF ก่อตั้งมาได้ 3 ปี
ในปี 2547 กองทุนรวมหุ้นระยะยาว
หรือ Long-Term Equity Fund (LTF) ก็ถูกจัดตั้งตามมา
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันในประเทศ ส่งเสริมการลงทุนระยะยาวในหุ้น พร้อมทั้งให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่คนที่ซื้อกองทุน LTF
แต่ปัจจุบัน ทางรัฐบาลได้ยกเลิกสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนในกองทุน LTF แล้ว แม้ว่า เรายังสามารถลงทุนในกองทุน LTF ได้ก็ตาม
โดยที่มีการจัดตั้งกองทุน Super Saving Fund หรือ SSF ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว ที่มีความยืดหยุ่นในการไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศของกองทุนมากขึ้น
และผู้ซื้อก็ยังได้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีด้วย
ต้องบอกว่า กองทุนประหยัดภาษีทั้งกองทุน RMF และ LTF นับเป็นจุดเปลี่ยนและเครื่องมือสำคัญ ที่ทำให้คนไทยหันมาลงทุนในกองทุนรวมมากขึ้น
ถ้าลองมาดูมูลค่าสินทรัพย์ของทั้ง 2 กองทุน ตั้งแต่ปี 2547-2562
- มูลค่าสินทรัพย์ของ RMF เพิ่มขึ้นถึง 24 เท่า จากประมาณ 12,238 ล้านบาท มาอยู่ที่ 304,306 ล้านบาท
- มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุน LTF ก็เติบโตระเบิด โดยเพิ่มขึ้นถึง 72 เท่าจากประมาณ 5,634 ล้านบาท มาอยู่ที่ 406,416 ล้านบาท
ขณะที่มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวมทั้งหมดในไทย ตั้งแต่ปี 2547-2562
ก็เพิ่มขึ้นจาก 681,356 ล้านบาท มาเป็น 5,389,707 ล้านบาท
หรือเติบโตเกือบ 8 เท่า ในช่วง 15 ปี ที่ผ่านมา
ในปัจจุบัน มีจำนวนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
ที่ได้รับใบอนุญาต การจัดการกองทุนรวมในประเทศไทย ทั้งสิ้น 26 บริษัท
และมีจำนวนกองทุนรวมให้เลือกลงทุนได้มากกว่า 2,051 กองทุน
ซึ่งถ้าหากย้อนกลับไปในปี 2544 หรือปีแรกที่มีการจัดตั้ง RMF
ในตอนนั้น ยังมีจำนวนบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนในประเทศไทยอยู่เพียง 14 บริษัท
และมีจำนวนกองทุนในตลาดให้ลงทุนได้เพียง 285 กองทุนเท่านั้น
อีกคำถามที่น่าสนใจก็คือ แล้ววันนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ไหนในประเทศไทย ที่มีมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวม มากที่สุด 3 อันดับแรก ?
เรื่องนี้ ลงทุนแมนก็ไปค้นมาและพบว่า สิ้นปี 2563 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ที่มีมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวมมากสุด 3 อันดับแรกก็คือ
1. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวม 1,111,625 ล้านบาท
2. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวม 941,830 ล้านบาท
3. บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง มูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวม 725,703 ล้านบาท
ซึ่งทั้ง 3 บลจ. นี้ มีสัดส่วนมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุน
รวมกันแล้ว คิดเป็นประมาณ 52% ของมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวมทั้งหมดในไทย
โดยทั้ง 3 รายนั้น เป็นบริษัทจัดการกองทุนรวม
ที่อยู่ในเครือ 3 ธนาคารพาณิชย์รายใหญ่ของประเทศไทย
คือ ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงเทพ
แล้วผลประกอบการของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เป็นอย่างไร ?
บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย
ปี 2561 รายได้รวม 8,276 ล้านบาท กำไร 2,810 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 8,269 ล้านบาท กำไร 2,843 ล้านบาท
บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์
ปี 2561 รายได้รวม 6,394 ล้านบาท กำไร 1,377 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 6,355 ล้านบาท กำไร 1,492 ล้านบาท
บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บัวหลวง
ปี 2561 รายได้รวม 4,804 ล้านบาท กำไร 1,529 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้รวม 4,855 ล้านบาท กำไร 1,598 ล้านบาท
เมื่อดูตัวเลขแล้วก็อาจบอกได้ว่า
ธุรกิจจัดการกองทุนรวม ก็น่าจะมีรายได้ที่แน่นอนในระดับหนึ่ง
ที่เป็นแบบนี้ ก็เนื่องมาจาก รายได้หลักของบริษัทจัดการกองทุนมาจากรายได้ค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการบริหารจัดการ
ซึ่งค่าธรรมเนียมที่ว่านี้ จะได้รับจากลูกค้าแน่นอน ไม่ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ จะเป็นอย่างไร แต่ก็อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามผลการดำเนินงานของแต่ละกองทุนในปีนั้น ๆ
และในอนาคต เมื่อคนไทยมีความรู้ทางการเงินมากขึ้นเรื่อย ๆ
ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะมีเม็ดเงินอีกมหาศาล
ที่จะไหลเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมกองทุนรวมมากขึ้นอีก..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ปัจจุบัน บริษัทจัดการกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ BlackRock Funds
ที่มีมูลค่าสินทรัพย์ของกองทุนรวมภายใต้การบริหารจัดการอยู่ประมาณ 261 ล้านล้านบาท
ซึ่งมูลค่านี้ใหญ่กว่ามูลค่า GDP ประเทศญี่ปุ่น เกือบเท่าตัว..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่านและนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://www.set.or.th/yfs/main/download/YFS2017_YFSCamp_FinPL_Reading02.pdf
-http://oldweb.aimc.or.th/home.php
-https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1
-https://mutualfunddirectory.org/latest-directory-ranking-here/
spotify podcast ranking 在 Humans Offshore Podcast離島人 Youtube 的精選貼文
3D列印(3D printing)又稱積層製造,目的是將數位模型以高精度的材料堆疊呈現原始模型的細節與特徵。目前除了常見的樹脂成型技術之外,還有光固化3D列印、雷射燒結、熱融解積層製造、金屬3D列印與水泥列印。
吳岱軒學長師承陳珍誠老師,畢業於淡江大學建築系,在台灣建築師事務所工作兩年後前往QS ranking 世界排名第四的ETH Zurich瑞士聯邦理工研讀建築與數位製造碩士學位。學院裡面結合了建築師、結構工程師、programmer 、robotics 、數學家以及幾何分析師。ETH一直在數位建築的領域擔任領跑者。
畢業後,吳岱軒學長決定繼續朝向鑽研數位製造在大型尺度的應用,目前任職於荷蘭witteveen+bos 擔任computational design specialist 專注於建築尺度的3D水泥列印。並派駐在新加坡與當地政府合作3D水泥列印的應用以及製造。
建築尺度的3D水泥列印目前尚未完成普及及商業化、因為這項技術不只需要注意水泥材料特性的調整、當地氣候環境的分析,還需要設計及營造團隊的技術整合與管理,更重要的是需要政府單位的支持與法規的修正。
若你對3D列印有興趣,想要了解3D水泥列印的現在進行式、與其中的挑戰和困難。歡迎來和離島人一起向大型3D數位水泥列印的專家 吳岱軒請益。
Ep010- 大型3D數位水泥列印的專家 吳岱軒
- 淡江大學建築系
- 台灣建築師事務所工作兩年
- 瑞士聯邦理工(ETH)建築與數位製造碩士
- 荷蘭witteveen+bos 擔任computational design specialist 專注於建築尺度的3D水泥列印。
- 目前派往新加坡與當地政府合作3D水泥列印的應用以及製造
#離島人 #吳岱軒 #水泥列印
#podcast #humansoffshore
#播客 #經驗分享
#淡江建築 #ETH #瑞士聯邦理工
#concrete3Dprinting #荷蘭 #新加坡
-----------
🎬 Youtube | https://bit.ly/ho_youtube
🎙 參與錄音 | http://bit.ly/humansoffshore_interviewform
🎧 收聽 on Spotify | http://bit.ly/podcast_humansoffshore
👉🏼 Follow us on Instagram | http://bit.ly/humansoffshore_ig
👉🏼 Follow us on Facebook | http://bit.ly/humansoffshore_fb
spotify podcast ranking 在 Goresh Youtube 的最佳貼文
Bebop's channel: https://www.youtube.com/channel/UCBA_RbXXmCI1cgf572zdv3Q
For business inquiries please e-mail: Goresh127@gmail.com
https://twitter.com/Goreshx
Check out the Dokkan & Legends podcast with episodes available on Spotify here: https://t.co/nQyIzqzaHD?amp=1
Huge shoutout to Kuwa for creating the thumbnail for this video. His Twitter can be found here: https://twitter.com/mugenkuwa
Huge thanks to Sora for creating the side art
Sora's Twitter: https://twitter.com/SoraSSB
spotify podcast ranking 在 [問題] Spotify Podcast 排名消失?? - iOS - PTT生活資訊討論 的推薦與評價
小弟最近發現排名消失了,而且我最愛的台通分類在社會版卻沒有從首頁內找到社會這類別,大家有這 ... 7樓 → cliff2001: Spotify Podcast 每次都推薦一堆怪怪的頻道. ... <看更多>